RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179872
ทั้งหมด:13491104
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 30, 31, 32  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2010 10:05 am    Post subject: Reply with quote

กทม.เล็งจับมือสนข.ดัน'โมโนเรล'
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 01 ตุลาคม 2010 เวลา 10:35 น.

ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,571 3-6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กทม.เล็งสร้างโมโนเรลเส้นทางแยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว-สวนจตุจักร เพื่อรองรับการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อ-ย่านพหลโยธิน พร้อมเร่งผลักดันอีก 2-3 เส้นทาง ปิ๊งไอเดียเตรียมจับมือสนข.แก้ปัญหาจราจรศูนย์ราชการ ดึง "นอร์ธปาร์ค - แกรนด์คาแนลแลนด์" ผุดโมโนเรลรองรับ ลงทุนเส้นทางละไม่เกิน 25,000 ล้านบาท ด้าน สนข.เล็งจัดระบบเส้นทางเข้า-ออกพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ มอบ กทพ.เร่งศึกษาการก่อสร้างทางด่วนเชื่อมด่วนขั้นที่ 2 และจัดระบบเส้นทางรถโดยสารบขส.และขสมก.

ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่ากำลังเร่งศึกษาเส้นทางโมโนเรลพื้นที่ย่านพหลโยธิน- จตุจักรเพื่อรองรับการเติบโตของพื้นที่ดังกล่าว อีกทั้งเพื่อเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรที่นับวันจะมีความหนาแน่นมากขึ้นโดยเฉพาะที่กทม.เปิดตลาดนัดโดยได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) กทม.ศึกษาความเหมาะสมแล้วโดยล่าสุดทราบว่าได้ประสานกับกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาคือบริษัทไทยเอนยิเนียริ่งคอนซัลแตนทส์ จำกัด บริษัท เทสโก้ จำกัด และบริษัท เอพซิลอน จำกัด เร่งศึกษาแล้วคาดว่าจะสามารถสรุปผลได้ในปี 2554 ก่อนเร่งก่อสร้างเพื่อเปิดให้บริการในปี 2555 โดยจะมอบหมายให้บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัดทำหน้าที่บริหารจัดการโครงการดังกล่าว

"รูปแบบโมโนเรลบนทางวิ่งยกระดับไปตามเกาะกลางถนนหรือฟุตบาท เส้นทางรอบให้ครอบคลุมย่านจตุจักร-พหลโยธินมีทั้งสิ้นจำนวน 9 สถานี คือ

1. สถานีรัชดาภิเษก (ติดสถานีรัชดาภิเษกรถใต้ดิน)
2. สถานีศาลอาญา
3. สถานีจันทรเกษม
4. สถานีรัชโยธิน (เชื่อม SCB Park เมเจอร์รัชโยธิน)
5. สถานีกำแพงเพชร 2
6. สถานีหมอชิต
7. สถานีสวนสมเด็จ
8. สถานีกำแพงเพชร (ถนนกำแพงเพชร) และ
9. สถานีสวนจตุจักร

แนวเส้นทางเริ่มต้นจากแยกรัชดาฯ-ลาดพร้าว วิ่งไปตามถนนรัชดาภิเษก ผ่านศาลอาญา ตัดผ่านถนนพหลโยธิน ผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ ข้ามถนนวิภาวดีรังสิต เลี้ยวซ้ายเข้าถนนกำแพงเพชร 2 ผ่านสถานีขนส่งหมอชิตใหม่ แล้วเลี้ยวซ้ายเดินรถเป็นวงรอบสวนจตุจักรเพื่อมุ่งสู่สถานีรัชดาภิเษก รวมระยะทางประมาณ 11.7 กิโลเมตร และคาดว่าจะรองรับผู้ใช้บริการได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 5,000 คน"

ดร.ธีระชน กล่าวว่านอกจากนี้ กทม.ยังเตรียมเจรจากับศูนย์ราชการ และภาคเอกชน ได้แก่ กลุ่มนอร์ธปาร์คและกลุ่มแกรนด์คาแนลแลนด์เพื่อก่อสร้างรถโมโนเรลให้บริการพื้นที่โดยรอบศูนย์ราชการ เนื่องจากปัจจุบันพบว่าการเดินทางยังไม่ต่อเนื่องกันอีกทั้งยังมีปัญหาการจราจรหนาแน่นมากขึ้นโดยเฉพาะบนถนนแจ้งวัฒนะ ซึ่งในเบื้องต้นบริษัทแกรนด์คาแนลแลนด์ฯยินดีให้การสนับสนุนทั้งการก่อสร้างสถานีด้านถนนวิภาวดีรังสิตและลานจอดรถที่มาจอดก่อนเดินทางด้วยโมโนเรลเข้าสู่ศูนย์ราชการ

สำหรับแนวเส้นทางศูนย์ราชการจะเริ่มต้นจากสถานีภายในศูนย์ออกทางพื้นที่นอร์ธปาร์คผ่านจุดใกล้ๆ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เลี้ยวซ้ายมุ่งสู่ถนนวิภาวดีรังสิต ผ่านพื้นที่แกรนด์คาแนลแลนด์หรืออาจเลี้ยวเข้าไปหมู่บ้านการเคหะฯ วกออกสู่ถนนวิภาวดีรังสิตช่องทางคู่ขนานเลียบคันคลอง ผ่านสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เลี้ยวซ้ายเข้าถนนแจ้งวัฒนะ ผ่าน TOT ก่อนวกเข้าสู่ศูนย์ราชการไปสิ้นสุดที่สถานีเริ่มต้น ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร

ดร.ธีระชน กล่าวอีกว่าผู้บริหารกทม.ต้องการร่วมดำเนินการกับภาคเอกชนโดยต้องการให้สนับสนุนพื้นที่สร้างลานจอดหรือศูนย์ซ่อมบำรุงตลอดจนการก่อสร้างสถานีขึ้น-ลงเนื่องจากต้องใช้พื้นที่จำนวนมาก จะหลีกเลี่ยงการเวนคืนให้น้อยที่สุดใช้งบประมาณให้น้อยที่สุดแต่จะมอบผลตอบแทนด้านการโฆษณาบนสถานีให้เอกชนผู้ให้การสนับสนุนตลอดอายุสัมปทาน

"แผนงานการลงทุน กทม.ได้ตั้งงบประมาณก่อสร้างในปีงบประมาณ 2554 รองรับไว้แล้วแต่ยังไม่เพียงพอจึงเลือกใช้วิธีการขอรับการสนับสนุนร่วมกับภาคเอกชนควบคู่กันไปด้วย ส่วนแผนการที่เตรียมไว้อาจจะใช้วิธีการออกพันธบัตรมาระดมทุนหรือให้เอกชนเข้ามาลงทุนแต่ละโครงการ โดยกทม.ค้ำประกันเงินกู้ให้ แล้วกทม.ใช้วิธีการผ่อนจ่ายคืนเอกชนภายหลัง

ซึ่งการเร่งผลักดันโมโนเรลเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทาง ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลรวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาการจราจร โดยเฉพาะรถไฟฟ้าโมโนเรลจะบรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 10,000-15,000 คนต่อเที่ยว ส่วนงบประมาณดำเนินการในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เส้นทางละไม่เกิน 25,000 ล้านบาท เพราะรถไฟฟ้าโมโนเรลใช้เสารางเดี่ยว ซึ่งแต่ละเส้นทางล้วนป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบหลักได้ทันที"

ด้านนายประณต สุริยะ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยว่าจากการที่รัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมเร่งเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อในอีกไม่กี่ปีนี้จึงได้เตรียมก่อสร้างทางด่วนเชื่อมต่อด่วนขั้นที่ 2 จากสถานีกลางได้ทันที โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.)อยู่ระหว่างการศึกษา นอกจากนั้นยังมีแผนปรับปรุงเส้นทางเดินรถบขส.และรถขสมก.ใหม่ทั้งหมดให้สามารถขนคนได้จากพื้นที่ภายในศูนย์ออกสู่ภายนอกได้รวดเร็วขึ้นเนื่องจากพื้นที่เริ่มมีสภาพการจราจรหนาแน่นแต่สภาพถนนคับแคบไม่สามารถขยายเพิ่มได้อีกแล้ว

"จะส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นโดยเฉพาะระบบราง เช่น รถไฟฟ้าหรือรถโมโนเรล ตลอดจนรถขสมก.และรถแท็กซี่ ส่วนในอนาคตภายหลังจากเปิดให้บริการศูนย์บางซื่ออย่างเป็นทางการแล้ว สนข.จะติดตามผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเพื่อพิจารณาหามาตรการจัดระบบอำนวยการจราจรให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวต่อไป"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/01/2011 9:14 pm    Post subject: Reply with quote

ดอง'โมโนเรล' จุฬาฯ-สยาม'ลอยฟ้า
หน้า- อสังหาฯ-คมนาคม
เขียนโดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 28 ธันวาคม 2010 เวลา 10:31 น.
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,596
30 ธันวาคม พ.ศ. 2553 - 1 มกราคม พ.ศ. 2554


หลังจากกรุงเทพมหานคร (กทม.)ได้เสนอโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือโมโนเรล เฟส1 สาย"จุฬาฯ-สยาม" ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ต่อ นายเชาวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(มท.1 ) เมื่อเดือนกันยายน 2553 ที่ผ่านมา และผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติก่อสร้างแบบโครงสร้างลอยฟ้าแทนการก่อสร้างแบบมุดลงใต้ดินตามมติครม.เมื่อปี 2538 ที่เดิมกำหนดให้สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า ในรัศมี 25 ตารางกิโลเมตร หรือเขตกรุงเทพฯชั้นใน ต้องมุดลงใต้ดินเนื่องจากอาจบดบังทัศนียภาพ

อย่างไรก็ดี จนถึงปัจจุบัน เรื่องยังดองอยู่ที่กระทรวงมหาดไทยและเข้าใจว่า กทม.ต้องรอลุ้นในต้นปี 2554 อีกครั้ง จากเดิม กทม.สามารถดำเนินเรื่องต่อเนื่องทันทีโดยเฉพาะการออกแบบและวางแผนก่อสร้าง แต่หากต้องรออนุมัติจากครม.ก็ต้องรอต่อไปไม่สามารถทำอะไรต่อได้

มองว่ากระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และกทม.มีความขัดแย้งกันมาโดยตลอด ทั้งเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ที่มีการยื้อแย่งโครง
การรับผิดชอบ และ การที่กทม.ไม่ให้พื้นที่บางส่วนบริเวณ สำนักงานเขตบางเขนเพื่อก่อสร้าง สถานี จนกระทั่งล่าสุด "โมโนเรล" ที่ถูกดองเรื่อง ส่วนหนึ่งเนื่องจากปมลึกเกิดจากความขัดแย้งระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคภูมิใจไทย แม้จะเป็นสายสั้นๆ แต่มองว่าเป็นโครงการเชื่อมต่อที่สำคัญและมีมากถึง 3เฟส หากเฟสแรกไม่ผ่านการพิจารณาเท่ากับว่าต้องยกเลิกโครงการทั้ง 3 เฟส เพราะหากก่อสร้างแบบมุดลงใต้ดิน งบบานปลายแน่

อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติ โครงการ เฉพาะที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อที่ 15 ไร่ ที่จะสร้างเป็น"เดโป" หรือ อู่ซ่อมบำรุง /จอดและจร และ แผนพัฒนาเชิงพาณิชย์เท่านั้น แม้จะมีความล่าช้าแต่กทม.ก็ต้องอดใจรอเพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยที่กำกับดูแลกทม.

ต่อเรื่องนี้ ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. ออกมาตอกย้ำว่า เดินหน้าต่อแน่ โมโนเรล สายแรก "จุฬาฯ-สยาม" ซึ่งมั่นใจว่าครม.จะอนุมัติ ให้ก่อสร้างในรูปแบบลอยฟ้า เพราะ เป็นช่วงสั้นๆเพียง 1.5 กิโลเมตร และ อ้างถึงโครงการส่วนต่อขยายสายสีเขียว บีทีเอส ช่วง สนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเสของกทม.ที่ครม.อนุมัติให้เป็นแบบลอยฟ้า ทั้งที่ อยู่ในรัศมี 25 ตารางกิโลเมตร และ ขออนุมัติหลังจาก มติครม.ปี 2538 แต่ โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบีทีเอส ช่วง สนามกีฬาฯ-ยศเส กทม.ได้เสนอ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ยกเลิกโครงการออกไป ก่อนหน้านี้แล้ว เพราะระยะทางสั้นๆไม่คุ้มทุนค่าก่อสร้าง

อีกโครงการหนึ่งที่ ครม.เคยมีมติให้ สร้างโครงสร้างบางช่วงแบบลอยฟ้า คือ "แอร์พอตลิงค์" ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ช่วงพญาไท ต่อเชื่อมกับ รถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งอยู่ในรัศมี 25 ตารางกิโลเมตร เพราะอยู่ในขอบข่ายเพียงสั้นๆหากทำแบบมุดลงใต้ดินจะต้องเสียงบประมาณมาก

สำหรับ โมโนเรล สาย" จุฬาฯ-สยาม" การออกแบบรายละเอียดจะต้องดูความเหมาะสมของแต่ละสถานี และ เน้นความสวยงาม ที่สำคัญ ช่วงนี้มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อเชื่อมต่อ กับรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ที่สถานีสามย่าน และรถไฟฟ้าบีทีเอสที่สถานีสยามและสนามกีฬาแห่งชาติ โดยจะช่วยให้ ผู้โดยสารหรือ บรรดาขาช็อปไม่ต้องเดินไกล เพื่อต่อเชื่อม เพื่อใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีสยามและ รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที ที่สถานีสามย่าน โดยสามารถใช้โมโนเรล เดินทางเชื่อมถึงกันได้อย่างรวดเร็วและช่วยไม่ให้การจราจรติดขัดอีกด้วย

ส่วนงบประมาณลงทุนก็ไม่มาก วงเงินเพียง กว่า 2,000 ล้านบาท เท่านั้น และถือว่าคุ้มค่าที่จะมีผู้โดยสารใช้บริการ เกือบ 10,000 รายต่อวัน ซึ่งประกอบด้วย 3 สถานี ได้แก่สถานีสามย่าน สถานีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถานีปลายทางสยาม ผ่านย่านใจกลางแหล่งช็อปปิ้งสำคัญๆ อาทิ สยามสแควร์ สยามพารากอน สยามดิสคัฟเวอรี่ มาบุญครองฯลฯ

โครงการนี้ จะเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรด้วยระบบขนส่งมวลชนตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดย โมโนเรล สยามสแควร์ -จามจุรีสแควร์ จะผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างภายใน 2 ปีนี้ หรือกำหนด วางศิลาฤกษ์ในเดือนธันวาคม 2554 และก่อสร้างพร้อมเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2555

ส่วน"เดโป" ศูนย์ซ่อมและบำรุง ซึ่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ให้พื้นที่บริเวณสามย่าน กทม. รวมถึงจัดสรรพื้นที่พัฒนาศูนย์ราชการ ปทุมวัน จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ย่านสามย่าน บริเวณจามจุรีสแควร์ให้กทม.เข้าดำเนินการ 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโรงจอดและอู่ซ่อมบำรุง หรือเดโป โครงการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ามวลชนรางเดี่ยว หรือ โมโนเรล เส้นทางสยาม-สามย่าน(จามจุรีแสควร์) จำนวน 5 ไร่ โครงการก่อสร้างศูนย์ราชการ 5ไร่ และโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะอีก 5ไร่ ทั้งนี้ โครงการศูนย์ราชการ จะเป็นโครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานแห่งใหม่ แทนพื้นที่เดิม ที่หมดสัญญากับทางจุฬา ฯไปนานแล้ว อีกทั้งบริเวณดังกล่าวมีพื้นที่เล็กเกินไป โดยสำนักงานเขตปทุมวันแห่งใหม่ จะเป็นอาคารสูงชั้นล่างจะเป็นที่จอดรถดับเพลิงของสถานีดับเพลิงบรรทัดทอง ส่วนอาคารชั้นอื่นๆ นอกเหนือจากนี้จะเปิดพื้นที่ให้เอกชนเช่าพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ให้กับกทม. ส่วนเฟสที่ 2 เส้นบรรทัดทองและเฟส 3 เส้นทางอังรีดูนังต์ ทยอยลงทุนในปีถัดๆไป (ดูแนวสายทางประกอบ)

แม้จะมีการเมืองภายใน ระหว่างพรรคภูมิใจไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขัดแย้งกันเสมอมา แต่ สิ่งที่ควรคำนึงคือ การแก้ปัญหาจราจรโดยรวม เพื่อประชาชน และมั่นใจว่า "โมโนเรล"เฟสแรก ช่วง"จุฬาฯ-สามย่าน" จะ วางศิลาฤกษ์วันที่ 5 ธันวาคม 2554 และเปิดให้บริการ ปี 2555 อย่างแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2011 11:24 am    Post subject: Reply with quote

สรุปแบบพร้อมประมูลโมโนเรลพระราม 9 งบหมื่นล้านเสนอผู้บริหารก.พ.นี้
ข่าวกรุงเทพ
เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 18 มกราคม 2554 เวลา 9:45 น

นายวัชรินทร์ บรรพต ผู้อำนวยการกองขนส่ง สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) เปิดเผยว่า หลังจากที่สจส.ได้ว่าจ้างบริษัทฯ ที่ปรึกษาศึกษาโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง (โมโนเรล) สาย มหาวิทยาลัยรามคำแหง-ซอยทองหล่อ ซึ่งได้จัดการสัมมนารับฟังความเห็นไปแล้ว 2 ครั้ง และที่ปรึกษาอยู่ระหว่างการปรับแบบตามข้อเสนอแนะของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการเกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะมีการปรับแนวเส้นทางบางส่วนที่เดิมจะมีส่วนของเส้นทางทับซ้อนอยู่ในแนวคลองกะจะ บริเวณถนนพระราม 9 ที่หลายฝ่ายกังวลเรื่องของระบบการระบายน้ำ และข้อกังวลในส่วนของพื้นที่ทางเดินเลียบคลองที่จะติดปัญหาเสาตอม่อโครงการในบริเวณดังกล่าว จึงได้ปรับแนวไปใช้พื้นที่เขตทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นระยะทางประมาณ 400 เมตร ซึ่งช่วงดังกล่าวไม่มีตำแหน่งของสถานีฯ โดยในพื้นที่แนวสายทางส่วนที่เหลือใช้ตามรูปแบบที่ได้มีการศึกษาเดิมทั้งหมด

สำหรับโครงการโมโนเรลอีก 2 สาย คือ
สาย กทม.2–ซอยโยธี และ
สายบางนา–สุวรรณภูมิ

อยู่ระหว่าง การแก้ไขรายละเอียดสัญญา เนื่องจากมีปรับเปลี่ยนแนวเส้นทาง ซึ่งต้องเพิ่มงบประมาณอีกราว 10 ล้านบาท

ทั้งนี้โครงการรถโมโนเรลสายมหาวิทยาลัย รามคำแหง–พระราม 9 เริ่มจากสนามกีฬาราชมังคลา กีฬาสถาน วิ่งตามถนนรามคำแหง 24 เลี้ยวซ้ายเข้า ถนนถาวรธวัช เข้าพื้นที่เขตทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เลี้ยวเข้าถนนพระราม 9 จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรพระราม เลี้ยวขวาเข้าถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยทองหล่อ ไปสิ้นสุดที่บริเวณปากซอยทองหล่อ 4 ระยะทาง 11 กิโลเมตร มีทั้งหมด 9 สถานี คือ

สถานีมหาวิทยาลัยรามคำแหง,
ราชมังคลากีฬาสถาน,
ถาวรธวัช,
แยกรามคำแหง,
เพชรพระราม,
ประเสริฐมนูกิจ,
ทองหล่อ 20,
ทองหล่อ 10 และ
สถานีทองหล่อใกล้กับรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีทองหล่อ

โดยทางที่ปรึกษาจะสรุปผลการศึกษา ทั้งหมดให้กับ สจส. ได้ในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อนำเสนอผู้บริหาร พิจารณาเดินหน้าต่อไป ซึ่งไม่มีการเวนคืนที่ดินของประชาชน จากการศึกษาตลอดสายทางรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 6,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
งบโครงการ 10,500 ล้านบาท แบ่งเป็น
ค่าจัดทำเอกสารประกวดราคาและควบคุมงานก่อสร้าง 260 ล้านบาท
ค่าก่อสร้างงานโครงสร้างพื้นฐาน 6,505 ล้านบาท
ค่างานระบบรถไฟฟ้า 3,735 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/02/2011 1:05 pm    Post subject: Reply with quote

‘โมโนเรล’ รถไฟฟ้าไชส์เล็ก ข้อดีมีเยอะแต่ไม่ถูกใจผู้กุมนโยบาย

คอลัมน์ Lead
หน้า คมนาคม/ลอจิสติกส์
สยามธุรกิจ
ฉบับที่ 1173 ประจำวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2554




ระบบรถไฟฟ้าขนาดเบา หรือรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือ “โมโนเรล” แล้วแต่ว่าจะเรียก ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้รับความสนใจจากผู้กุมนโยบายมากนักไม่ว่าจะเป็นกระทรวงคมนาคม หรือแม้แต่รัฐบาล อาจเป็นเพราะเป็นโครงการที่ใช้งบประมาณไม่มากเท่าโครงการ รถไฟฟ้าหนัก... แต่ช่วงหลังๆ มานี้เริ่มมีการพูดถึงมากขึ้น

สืบเนื่องจากบรรดากูรูผู้เชี่ยวชาญด้านการคมนาคม ต่างออกมาแนะนำให้เมืองใหญ่อย่าง กรุงเทพมหานคร ควรจะพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองอย่าง โมโนเรลดีกว่า เพื่อมาเชื่อมต่อกับโครงข่ายรถไฟฟ้าระบบรางที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เพื่อรับส่งและกระจายผู้โดยสารจากสถานีรถไฟฟ้าสายหลัก

กระทรวงคมนาคม, กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา จึงมีแนวคิด ที่จะนำระบบรถไฟฟ้าโมโนเรลเข้ามาใช้รับส่งผู้คนที่ต้องการหนีปัญหารถติด

โดยในส่วนของกระทรวงคมนาคมได้มีการปรับแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูใหม่ โดยเปลี่ยนมาเป็น ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล เพราะจะดำเนินงานได้เร็วกว่ารถไฟฟ้าปกติ เนื่องจากแผน แม่บทเดิมรถไฟฟ้าสายนี้ จะเปิดบริการปี 2562 เพื่อรองรับการจราจรศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ แน่นอนว่า ผู้คนที่สัญจรผ่านไปเส้นทางนี้ก็ต้องทนรถติดไปอีก 8 ปี

ดังนั้น การปรับแผนในครั้งนี้จะส่งผลให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู สามารถ ดำเนินการได้รวดเร็วขึ้นมาก โดย “สุพจน์ ทรัพย์ล้อม” ปลัดกระทรวงคมนาคม บอกว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูจะเริ่มเปิดประมูลในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2554 นี้ ด้วยวงเงินประมาณ 34,000 ล้านบาท

ส่วนทางด้าน กทม.นั้น หลังจากที่ได้รับรู้ข้อมูลเรื่องรถไฟฟ้าโมโนเรลจาก กูรูต่างๆ แล้ว ก็ได้เร่งขีดเส้นทางรถไฟฟ้า โมโนเรลสายใหม่ในทันทีเช่นกัน และในเวลาเพียงไม่นานโครงการรถไฟฟ้าโมโนเรลสายแรกก็ได้ประกาศออกมาให้ทราบทั่วกันว่า จะดำเนินการก่อสร้างสายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสยามสแควร์ ก่อน โดยจะวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 นี้ และจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2555

และสายที่ 2 ก็ตามมา คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหงพระราม 9 ระยะทาง 11 กิโลเมตร มูลค่า 10,500 ล้านบาท ซึ่งในเบื้องต้นได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ไปศึกษาความเป็นไปได้ และรับฟังข้อเสนอ แนะของประชาชนแล้ว โดยล่าสุดทางกทม.ได้จัดการสัมมนารับฟังความเห็นไปแล้วถึง 2 ครั้ง และที่ปรึกษาอยู่ระหว่างการปรับแบบตามข้อเสนอแนะของประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนั้น ก็ยังมีโครงการใหม่ทยอยตามมาอีก 2 สาย คือ สาย กทม.2ซอยโยธี และสายบางนา-สุวรรณภูมิ ซึ่งโครงการอยู่ระหว่างการแก้ไขรายละเอียด สัญญา เนื่องจากยังมีปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางอยู่

ขณะที่เมืองพัทยานั้น ยังอยู่ระหว่าง การศึกษารายละเอียดและความเป็นไปได้ที่จะทำรถไฟฟ้าโมโนเรลเช่นกัน แต่ก็มีประชาชนออกมาคัดค้านเนื่องจากมีความ กังวลว่าจะบดบังทัศนียภาพของเมือง ส่วนระยะเวลาในการศึกษารายละเอียดต่างๆ นั้น “อิทธิพล คุณปลื้ม” นายกเมืองพัทยา บอกว่า อาจต้องใช้เวลาอย่าง เร็วที่สุดประมาณ 8 เดือนหรือช้าที่สุดประมาณ 2 ปี เพื่อให้ประชาชนสามารถแสดงความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวได้อย่างเต็มที่

เมื่อผู้กำนโยบายและงบประมาณ เริ่มเห็นด้วย ก็เป็นโอกาสของพ่อทันที ที่พร้อมจะขายสินค้า โดย บริษัท ฮิตาชิ จำกัด หนึ่งในผู้ผลิตรถไฟฟ้าและเทคโนโลยี โมโนเรล ก็เตรียมเข้ามาขยายตลาดการลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรลในประเทศไทยทันที โดยได้ร่วมกับสมาคมรถไฟฟ้ารางเดี่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น จัดสัมมนารถไฟฟ้าโมโนเรล เมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยเชิญตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), กทม. ฯลฯ รับฟัง

“มร.กาคุ ซูซูกิ” รองประธานและเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฮิตาชิ บอกว่า กรุงเทพฯ จำเป็นต้องก่อสร้างระบบขนส่ง มวลชนภายในเมืองอย่างเร่งด่วน เพื่อแก้ไขปัญหาจราจร และทราบว่าได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างรถ ไฟฟ้าโมโนเรลทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด บริษัทเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้แก่กรุงเทพฯ ด้วยการเสนอระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับจุดเด่นรถไฟฟ้าโมโนเรลของฮิตาชิ คือ บริษัทมีประสบการณ์ในระบบโมโนเรล สามารถออกแบบรถที่มีความจุผู้โดยสารน้อย หรือมากก็ได้ ด้วยประสบการณ์ด้านขนส่งมวลชนกว่า 40 ปี สามารถออกแบบเส้นทางที่มีวงเลี้ยวแคบ ทางโค้งรัศมี 60 เมตร ความชันสูง 6%

ว่ากันว่า ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกมีการระบบรถไฟฟ้านี้กว่า 49 เมือง เพื่อแก้ไขปัญหาการเดินทางอันมาจากปัญหาจราจรติดขัด ซึ่งรถไฟฟ้าโมโนเรลมี ข้อดีอยู่ 3 ข้อ คือ 1..เป็นระบบที่มีสมรรถนะในการขนส่งผู้โดยสารได้ 10,000-30,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง ขึ้นอยู่กับรูปแบบของระบบ ควบคุมการเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติทำให้มีความปลอดภัยสูง

2.ตัวรถและโครงสร้างมีขนาดเล็กและเบา ทำให้ก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ราคา ถูกกว่าโครงสร้างทางวิ่งยกระดับของระบบขนส่งมวลชนแบบรางชนิดอื่นๆ มีรัศมีวงเลี้ยวของตัวรถที่น้อยกว่า ระบบรถไฟฟ้าขนาดเบาและรถไฟฟ้าขนาดหนัก ทำให้เวนคืนที่ดินน้อยกว่า

และ 3.โครงสร้างทางวิ่งมีลักษณะโปร่ง ทำให้เกิดผลกระทบต่อทัศนียภาพใต้ทางยกระดับน้อย เพราะโครงสร้างจะมีเงาบดบังพื้นที่ด้านล่างไม่มาก ใช้ล้อยางทำให้มีเสียงดังน้อยกว่าระบบขนส่งมวลชนที่ใช้รางเหล็กและล้อเหล็ก

ถึงแม้ว่าประเทศไทยยังไม่มีรถไฟฟ้าโมโนเรล แต่เราก็มีแผนจะสร้างรถไฟฟ้ามานานมากแล้ว แต่อุปสรรคของไทยก็มีมากมายเช่นกัน จึงทำให้แผนการดำเนินงานอยู่เพียงในเปเปอร์ ดังที่รู้กันในนาน “เจ้าพ่อเสือกระดาษ” เมื่อโครงการไม่ได้ลงมือทำสักที แน่นอน ว่า เวลาเปลี่ยน ต้นทุนการก่อสร้างก็จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาซึ่งต้นทุนมีแต่จะเพิ่มหนักขึ้นทุกวัน เงินเฟ้อของประเทศก็เพิ่มขึ้นทุกปี

ระบบรถไฟฟ้าโมโนเรล แม้จะเป็นรถไฟฟ้าขนาดรอง แต่มีความปลอดภัย งบประมาณก็ไม่มากนัก ที่สำคัญยังช่วยให้ประชาชนสามารถเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัดบนท้องถนนได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ควรจะเร่งดำเนินการโดยเร็ว ที่สำคัญขอให้เห็นแก่ประโยชน์ ของประเทศชาติและประชาชนมาก่อนผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องก็แล้วกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2011 10:06 am    Post subject: Reply with quote

ที่ปรึกษาชงสร้างสกายวอลค ระหว่างรอโมโรเรลจุฬา-สยาม
โดย ผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ 10 กุมภาพันธ์ 2554 16:27 น.


รถไฟฟ้าขนาดเบาหรือโมโนเรล ยังคงอยู่ในกระแสที่กรุงเทพมหานคร(กทม.)จะนำมาก่อสร้างในระบบขนส่งมวลชนในเขตเมือง เนื่องจากเห็นว่าใช้งบลงทุนที่ไม่สูงและใช้เวลาก่อสร้างเร็ว อีกทั้งไม่ต้องใช้พื้นที่ก่อสร้างมาก เพราะอาศัยพื้นที่เกาะกลางถนนในการวางราง โครงการโมโรเรล เส้นทางนำร่องจุฬา-สยาม มูลค่าลงทุนประมาณ1,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมถนนพระราม1กับถนนพระราม4 จะเป็นโครงการแรกที่ใช้ระบบโมโรเรล โดยกทม.ตั้งเป้าว่าจะปักเสาเข็มให้ได้ภายในปี 2554 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ10เดือน และทดสอบระบบ 2 เดือน ก่อนเปิดให้บริการในวันที่ 5 ธันวาคม 2555 ดูท่าจะเจอโรคเลื่อนหลังจากที่ติดเรื่องข้อกำหนดเรื่องการก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดินในรัศมี 25กม. ในเขตเมือง ซึ่งกทม.จะต้องเสนอเรื่องขอยกเว้นและขออนุมัตก่อสร้างโครงการให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติ

รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเคหะการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะปรึกษาจุฬาฯในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการ กล่าวถึง ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าขนาดเบาหรือ โมโนเรล(Monorail) เส้นทางจุฬาฯ-สยามระยะทาง 1.5 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางนำร่องว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้ทางกรุงเทพมหานคร(กทม.) นำเรื่องเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติโครงการและขอยกเว้นข้อกำหนดให้สามารถก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดินในรัศมี 25 กม. ซึ่งยังไม่มีความคืบหน้า ดังนั้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เป็นประโยชน์ของคนในพื้นที่ในการเดินทางตนในฐานะปรึกษาจุฬาฯในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการจะเสนอให้กทม.พิจารณาอนุมัติให้มีการก่อสร้างเส้นทางยกระดับ หรือสกายวอลคก่อนเพื่อให้ประชาชน นักศึกษา ได้ใช้ประโยชน์ ในระหว่างที่รอการอนุมัติก่อสร้างการรถไฟฟ้าโมโรเรล

อย่างไรก็ตาม การขอยกเว้นข้อกำหนดให้สามารถก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดินในรัศมี 25 กม.หากครม.เห็นชอบและอนุมัติโครงการ ขั้นตอนจากนี้เข้าสู่กระบวนการขอสิ่งแวดล้อม(EIA) ทั้งนี้รถไฟฟ้าโนโรเรลเส้นทางดังกล่าวจะเป็นระบบรถไฟฟ้าระบบรองที่จะรองรับผู้ใช้บริการไปยังรถไฟฟ้าบีทีเอส

“หากครม.อนุมัติก่อสร้างรถไฟฟ้า กทม.ก็สามารถปรับมาเป็นรางรถไฟฟ้าโมโรเรลได้ ซึ่งจะเป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากกว่ารถไฟฟ้าจะก่อสร้างคงใช้เวลา4-5 ปี ดังนั้น กทม.ควรพัฒนาทางเชื่อมเพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการ”รศ.มานพกล่าว

ส่วนโครงการรถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ที เส้นทางนำร่องและเส้นทางในอนาคตนั้น รศ.มานพกล่าวว่า กทม.ควรมองว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ทั้งคนใช้บริการและผู้ใช้ถนนได้รับประโยชน์เท่าๆกัน ซึ่งในหลักการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนมีหลายรูปแบบ เช่น รถเมล์ด่วนพิเศษบีอาร์ทีที่เดิมเป็นการแบ่งช่องจราจรมาทำเป็นเส้นทางพิเศษก็อาจจะปรับมาเป็นลอยฟ้าโดยเพิ่มเงินลงทุนอีกเล็กน้อย แต่สามารถรักษาเวลาในการเดินทางเป็นต้น อีกทั้งในอนาคตหากมีระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าก็อาจมีการปรับเปลี่ยนเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าหรือรถเมล์ไฟฟ้า โดยการเพิ่มรางเข้าไป ได้อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 14/02/2011 11:28 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นผ่านก.ม.ดัน'โมโนเรลแกรนด์สแควร์'
เขียนโดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
หน้า อสังหา Real Estate - อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 12:32 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,609 13 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แหล่งข่าวระดับสูงจากบริษัท แกรนด์คาแนล แลนด์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล ในพื้นที่โครงการแกรนด์สแควร์ พระราม 9 โดยคาดว่า กฎหมายด้านโยธาธิการและงานจราจร จะผ่านออกมา ซึ่งล่าสุดทราบว่าบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด(เคที)จะนำเสนอผู้บริหารกรุงเทพมหานคร(กทม.) เพื่อให้ความเห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินโครงการตามกฎหมายอย่างถูกต้องภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้

"ได้รับทราบจากเคทีว่า บริษัทที่ปรึกษาได้ออกแบบความเหมาะสมเสร็จแล้ว รอขั้นตอนนำเสนอผู้บริหาร กทม.ให้ความเห็นชอบ เกี่ยวกับงานโยธาและการจราจร ซึ่งโครงการนี้บริษัทได้เตรียมงบประมาณกว่า 800 ล้านบาทในการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรล ระยะทางประมาณ 8.5 กิโลเมตร เพื่อบริการผู้อยู่อาศัยในโครงการและผู้ที่ใช้เส้นทางผ่านพื้นที่โครงการแกรนด์สแควร์ พระราม 9 ซึ่งในอนาคต จะมีการก่อสร้างอาคารต่างๆเกิดขึ้นหลายอาคาร เพื่อให้เป็นย่านธุรกิจแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ จึงต้องสร้างระบบขนส่งมวลชนรองรับตั้งแต่วันนี้"

แหล่งข่าวยืนยันว่าระบบขนส่งมวลชนแบบโมโนเรล จะช่วยให้เกิดการเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนหลักที่รัฐบาลดำเนินการอยู่แล้ว อาทิ รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ รถเมล์โดยสาร ขสมก. มากกว่าที่จะให้ใช้รถโดยสารส่วนบุคคล ซึ่งไม่ยุ่งยากในการจัดสร้างและใช้พื้นที่น้อย แต่ขนคนได้มาก จะมีประมาณ 4-5 สถานี ขนาด 1-2 ราง เชื่อมต่อกับอาคารต่าง ๆ โดยแนวเส้นทางจะเริ่มจากพื้นที่ด้านข้างอาคารแกรนด์เบ็ลอเวนิว คอนโดมิเนียม ซึ่งอยู่ใกล้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย(อสมท) ผ่านอาคารต่าง ๆ ไปสิ้นสุดใกล้ ๆ แยกพระราม 9 ที่เชื่อมต่อไปยังรถไฟฟ้าใต้ดิน และในอนาคต กทม.มีแผนสร้างสกายวอล์กเชื่อมต่อไปยังสถานีเพชรบุรีและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ที่สถานีมักกะสันอีกด้วย

ทั้งนี้โครงการแกรนด์สแควร์พระราม 9 ประกอบด้วยโครงการอาคารสำนักงานเกรดA พื้นที่เช่าประมาณ 66,000 ตารางเมตรและอาคารห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซาพระราม 9 โครงการแกรนด์เบ็ล คอนโดมิเนียมพักอาศัยจำนวน 8 อาคาร(ตั้งแต่ 27-43 ชั้น) ประมาณ 2,204 ยูนิต และยังดำเนินโครงการ เบ็ลสกาย คอนโดมิเนียมพักอาศัย 8 ชั้น 17 อาคาร ตั้งอยู่ริมถนนโลคัลโรด ใกล้กับศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ขนาดพื้นที่ดิน 35 ไร่ จำนวน 3,300 ยูนิต

ด้านนายอรวิทย์ เหมจูฑะ รองผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.)กทม.กล่าวว่าสจส.ได้มอบหมายให้เคทีไปดำเนินการสร้างสกายวอล์ก ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่แยกนานาไปจนถึงซอยแบริ่งภายใต้งบประมาณ 2,000 ล้านบาทโดยอยู่ระหว่างการขอกู้เงินจากสถาบันการเงินตามขั้นตอน คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมนี้เพื่อเริ่มก่อสร้างต่อไป

นอกจากนี้ยังได้ว่าจ้างบริษัท เทสโก้ จำกัด วงเงิน 20 ล้านบาทเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าแบบไลต์เรลเส้นทางบางนา-สนามบินสุวรรณภูมิแล้วเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อรถไฟฟ้าบีทีเอสที่แยกบางนา เช่นเดียวกับเส้นทางรามคำแหง-พระราม 9 และเส้นทางกทม.2-ซอยรางน้ำ-สะพานขาว ซึ่งอยู่ระหว่างการเร่งรัด
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 14/02/2011 12:40 pm    Post subject: Reply with quote

พูดถึงเรื่อง sky walk ทำให้ผมนึกถึงนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง "โลหะนคร" ซึ่ง Isaac Isamov เป็นผู้เขียน ซึ่งแปลงเป็นภาพยนต์เรื่อง I Robot กล่าวถึงระบบขนส่งมวลชนในมหานครนิวยอร์ค ที่ผู้สัญจรไปมานั้น จะใช้ระบบทางเลื่อนในการเดินทาง คงคล้ายๆ กับทางเลื่อนในอาคารสนามบินสุวรรณภูมินั่นแหละ

sky walk จะเป็นทางเลื่อนขนาดใหญ่ และมีความยาวมาก แบ่งเป็นหลายช่องทาง โดยทางเลื่อนที่มีความเร็วต่ำจะอยู่ชิดขอบทาง ผู้เดินทางจะใช้วิธีก้าวลงไปบนทางเลื่อน แล้วก้าวข้ามไปยังทางเลื่อนแถบในๆ ที่มีความเร็วสูงขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งมีความเร็วสูงสุดพอๆ กับรถยนต์ที่ขับด้วยความเร็ว 70 ไมล์/ชม.

เส้นทางเลื่อนนั้น จะแบ่งกันเด็ดขาดระหว่างขาไป - ขากลับ โดยมีรั้วสูงระดับเอวกั้นไว้ตลอดระยะ

เมื่อจะใกล้ถึงจุดหมายหรือถึงสถานีเปลี่ยนเส้นทาง ผู้เดินทางจะก้าวเปลี่ยนทางเลื่อนที่มีความเร็วต่ำลงตามลำดับ ก่อนขึ้นสู่ทางเดินปกติ นัยว่ามีประสิทธิภาพมาก จนกระทั่งไม่ต้องใช้รถยนต์ และบริเวณถนนเดิมนั้น ใช้เฉพาะรถฉุกเฉินหรือรถดับเพลิงเท่านั้น

แต่ข้อเสียก็มีมากเช่นกัน เพราะมีกรณีอุบัติเหตุคนชนกันจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต และข้าวของตกหายจำนวนมากบนทางเลื่อนจนเป็นเรื่องปกติประจำวัน

ผมว่าพูดนอกเรื่องไปมากแล้ว ขอกลับเข้าเรื่องดีกว่า Razz
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/02/2011 12:53 pm    Post subject: Reply with quote

ถ้าทางเลื่อน 70 กม./ชม. เกิดเจอปัญหาหยุดกระทันหัน น่ากลัวจริง ๆ ครับพี่ตึ๋ง
คนคงกลิ้งไปด้วยความเฉื่อยแน่ ๆ ถ้าไม่รัดเข็มขัดยึดไว้

แนวคิดคล้าย ๆ รถไฟที่ไม่ต้องจอดสถานีของจีนนะครับ
http://www.youtube.com/watch?v=p9Ig19gYP9o
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 14/02/2011 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

ก็..นิยายเขาบอกว่ามีประสิทธิภาพมาก คงตัดปัญหาเรื่องนี้ไปได้ครับ Razz

แต่ที่น่ากลัวตรงที่มีกลุ่มเด็กซนๆ เล่มเกมส์โดยไล่ล่ากันบนทางเลื่อนนี้แหละ แถมมีกระโดดข้ามราวกั้นไปยังทางเลื่อนอีกด้านที่สวนกันด้วยความเร็วสูง หากพลาด ไปโดนกลุ่มคนบนทางเลื่อนที่สวนมา ผลเป็นอย่างไรคงไม่ต้องเดานะครับ

แถมพระเอกเราเคยเป็นเซียนเรื่องเกมส์ผาดโผนนี้อีกด้วย ก่อนที่จะมาเป็นตำรวจ และทำงานร่วมกับคู่หูที่เป็นหุ่นยนต์สืบคดีฆาตกรรมนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2011 4:03 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งรัดสายสีชมพู 11 เอกชนสนใจชิงคอนซัลต์
โดยทีมข่าวกทม. ไทยรัฐออนไลน์
24 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 05:15 น.

11 เอกชนสนใจชิงการเป็นที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ารางเดียวสายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. ที่จะยื่นซองประกวดราคา 16 มีนาคมศกนี้ ได้แก่

1. บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด
2. บริษัท ออเรคอน คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
3. Bombardier Inc.
4. บริษัท ปัญญา คอนซัลแต้นส์ จำกัด
5. บริษัท เอเอ็มพี คอนซัลแต้นส์ จำกัด
6. บริษัท ไทย เอ็มเอ็ม จำกัด
7. บริษัท เชนี่ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
8. บริษัท ซี คอนซัลท์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
9. บริษัท แอสดีคอน คอร์ปอเรชั่น จำกัด
10. บริษัท เอินส์ท แอนด์ ยัง คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด และ
11. บริษัท มิตรสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มิตซุย (ประเทศไทย))

โครงการนี้กะจะเสร็จเปิดการเดินรถ ปลายปี 2559
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 30, 31, 32  Next
Page 3 of 32

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©