RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179994
ทั้งหมด:13491226
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวเกี่ยวกับ "ที่ดิน" ของ "รฟท."
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 197, 198, 199  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2007 1:20 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.จ้างประเมินทรัพย์สินที่ดินเซ็นทรัล

Dailynews- Feb 19, 2007

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรม การพิจารณาการต่อสัญญาเซ็นทรัล ซึ่งมี นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเมื่อวันที่ 14 ก.พ. ที่ผ่านมา ที่ประชุมได้สั่งการให้ รฟท. ไปทำการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาขึ้นมา 2 บริษัท เพื่อทำการประเมินทรัพย์สินบริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และโรงแรมโซฟิเทลเซ็นทรัลใหม่ ให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงว่า ราคาทรัพย์สิน และที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวควรจะมีราคาเท่าไร หลังจากนั้น จะนำข้อมูลมาพิจารณาการต่อสัญญาให้เซ็นทรัล

“ สาเหตุที่จะต้องว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษามา 2 บริษัท เพื่อจะได้ข้อมูลอย่างละเอียดว่า เป็นอย่างไร จากนั้น คณะกรรมการจะประชุมหารือเพื่อหาข้อสรุปให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นปี 50 โดยการพิจารณาต่อสัญญาให้เซ็นทรัลหรือไม่นั้น เชื่อว่า คณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ และคำนึงถึงผลประโยชน์ของ รฟท. เป็นหลัก”

ทั้งนี้ หลังจากที่ได้รับข้อมูลครบถ้วนแล้ว จะเชิญผู้บริหารเซ็นทรัลมาเจรจาเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนให้กับ รฟท. ว่า จะเพิ่มขึ้นได้มากน้อยแค่ไหน โดยในช่วงระยะเวลา 28 ปี ที่เซ็นทรัลเช่าที่ดินของ รฟท. ได้จ่ายค่าเช่าให้ รฟท.ปีละ 3 ล้านบาทเท่านั้น และจ่ายค่าเช่าเป็น 7 ล้านบาทในสิ้นปี 51


อย่างไรก็ตามสัญญาจะต้องเรียกเซ็น ทรัลมาเจรจาต่อรองราคาให้แล้วเสร็จก่อน แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้จำเป็นต้องเปิดประมูลหาเอกชนรายใหม่เข้ามาดำเนินการ ซึ่งที่ผ่านมาเซ็นทรัลได้เสนอเงื่อนไขให้รื้อถอนร้านค้าบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้า ออกทั้งหมด เพื่อจะขยายการก่อสร้างห้างสรรพสินค้าบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มเติม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/02/2007 12:27 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นทรัลฯ จะเจรจา รฟท.ต่อสัญญาเซ็นทรัล ลาดพร้าวให้เสร็จปีนี้

มติชน วันที่ 20 ก.พ. 2550

นายสุทธิชาติ จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร-ทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เปิดเผยว่า บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา ( CPN ) เตรียมที่จะเจรจากับการรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) เพื่อขอต่อสัญญาเช่าที่ดินบริเวณห้างฯ เซ็นทรัล ลาดพร้าว ออกไปอีก 30 ปี หลังจะครบกำหนดเช่าวันที่ 18 ธ.ค.2551 โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้

" ขณะนี้ยังไม่ได้เจรจากัน ทางการรถไฟฯ ต้องมาประเมินราคาและทรัพย์สิน ตอนนี้ยังรออยู่ ซึ่งคิดว่าจะได้ข้อสรุปเสร็จภายในปีนี้ หากจะเสนอ จะเสนอต่อสัญญา 30 ปี " นายสุทธิชาติกล่าว.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2007 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. งัดที่ดิน 100 แปลงออกประมูล โกยรายได้หลังตั้งบริษัทลูกแล้วเสร็จ
Than Setthakij - Feb 25-28, 2007

การรถไฟฯ เร่งมือรังวัดที่ดินที่มีศักยภาพทั่วประเทศกว่า 100 แปลง ออกประมูล ทั้งในกทม.และต่างจังหวัด รอจังหวะตั้งบริษัทลูกแล้วเสร็จ เฉลี่ย 1 - 5 ไร่/แปลง ชี้ เอกชนสนใจเช่าระยะยาว เพียบ ทั้งทำอาพาร์เมนต์ /อาบอบนวด/ ศูนย์การค้า/อาคารพาณิชย์

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) เปิดเผยกับ" ฐานเศรษฐกิจ " ว่า ขณะนี้ ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่แต่ละสายงานลงพื้นที่สำรวจ และรังวัดแปลงที่ดินของ รฟท. ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ( กทม.) และตามต่างจังหวัด ที่ มีศักยภาพ และสามารถนำออกประมูลให้เอกชนเช่าระยะยาวพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ อย่างเร่งด่วน ก่อนที่บริษัทลูกของ รฟท.จะได้รับอนุมัติ และเริ่มดำเนินงาน

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า มีที่ดินจำนวน ไม่ต่ำกว่า 100 แปลง ที่มีศักยภาพ เฉลี่ยแปลงละ 1 - 5 ไร่ และมีแปลงเล็ก แปลงน้อยที่อยู่ตามสถานีต่างๆ ที่สามารถแบ่งซอยออกมาให้เอกชนเช่า โดยในเขตพื้นที่ กทม. ที่ได้รังวัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ บริเวณริมถนนวัฒนธรรม หรือถนนเทิดพระเกียรติ จำนวน 2 แปลง เฉลี่ยแปลงละประมาณ 1 ไร่เศษ ซึ่งอยู่ใกล้กับสำนักผังเมืองเดิม หรือใกล้กับศูนย์วัฒนธรรม และตรงกันข้ามกับสถานอาบอบนวด ยูโทเปีย ซึ่งที่ดินบริเวณดังกล่าวมีศักยภาพเหมาะสำหรับพัฒนาเป็นห้างสรรสินค้า อาบอบนวด สถานบันเทิง และย่านพาณิชยกรรมต่างๆ

ขณะนี้ มีเอกชนสนใจ 4 - 5 ราย เพื่อจะนำไปพัฒนา ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการต้องตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ดี เนื่องจากปัจจุบัน ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร 2549 ค่อนข้างเข้มงวดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน แม้ว่าจะเป็นที่ดินของหน่วยงานราชการที่กำหนดเป็นพื้นที่สีน้ำเงิน แต่เมื่อจะนำไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ ทั้ง รฟท และเอกชน จะต้องขออนุญาตตามการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองด้วย ซึ่งส่วนใหญ่จะเสนอขอใช้พื้นที่เป็นพาณิชยกรรม หรือพื้นที่สีแดง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีที่ดินที่อยู่ระหว่างรังวัด ซึ่งอยู่บริเวณ ใกล้กับสถานีขนส่งหมอชิต 2 มี 2 - 3 แปลง ได้แก่ แปลงที่อยู่ติดกับอู่รถทัวร์นครชัยแอร์ จำนวน 3 - 4 ไร่ ที่ดินแปลงที่อยู่บริเวณหัวมุมสะพานข้ามแยกรัชวิภา จำนวน 1 ไร่เศษ เป็นต้น ซึ่งทำเลดังกล่าว เหมาะที่จะพัฒนาเป็นอาพาร์ทเม้นท์ ที่พักอาศัย ให้เช่าระยะยาว ซึ่งความสูงต้องไม่เกิน 7 ชั้น ไม่เกิน 1,000 - 2,000 ตารางเมตร ตามกฎหมายควบคุมอาคาร กฎหมายผังเมือง และระเบียบของ รฟท.เอง เนื่องจากย่านดังกล่าว ใกล้กับแหล่งงานหลายแห่ง อีกทั้งยังใกล้กับสถานีขนส่ง มีผู้โดยสารค่อนข้างมาก หากพัฒนาโครงการดังกล่าว จะมีความเหมาะสมกว่า หากจะนำไปพัฒนาเป็นศูนย์การค้า โรงแรม ไม่เหมาะ เพราะทำเลไม่ดี เนื่องจากอยู่ในมุมอับ และเส้นทางคมนาคมย่านนั้น ค่อนข้างคับแคบ ไม่เหมือนทำเลย่าน ลาดพร้าว รัชดา เป็นต้น

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ตามต่างจังหวัด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรังวัดที่ดินที่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 2 - 3 ไร่ ที่สามารถพัฒนาเป็นศูนย์การค้า เป็นย่านพาณิชยกรรมได้ และที่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ฯลฯ รวมแล้ว 100 กว่าแปลงดังกล่าว ส่วนที่ดินริมสถานีรถไฟที่จะซอยย่อยๆ ให้เช้าเป็นตารางเมตร มีอยู่หลายพื้นที่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรังวัดเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2007 10:15 pm    Post subject: Reply with quote

สนช.ไล่บี้ รฟท. ระงับการเจรจาสัญญาเช่าที่ดินเซ็นทรัล ลาดพร้าว

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 1 มีนาคม 2550 18:54 น.

กมธ.คมนาคม สนช. มีมติส่งเรื่องถึง รฟท. ขอให้ระงับการเจรจาต่อสัญญาเช่าที่ดินกับเซ็นทรัลลาดพร้าว หลังพบความไม่โปร่งใสในการเจรจา และอาจขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดในการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ ขณะที่ประธานบอร์ด รฟท.ไม่สนใจ เชื่อการเจรจากับเซ็นทรัล เป็นไปตามระเบียบ และข้อกฎหมายทุกประการ

หลังประชุมคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช.) นายสมชาย มีเสน โฆษกคณะกรรมาธิการฯ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมติให้ส่งเรื่องไปที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) ระงับการเจรจาต่อสัญญาการเช่าที่ดินบริเวณสามเหลี่ยมพหลโยธิน หรือบริเวณห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว ในปัจจุบัน บนพื้นที่จำนวน 48 ไร่ กับบริษัท เซ็นทรัล อินเตอร์พัฒนา จำกัด อย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากพบความไม่โปร่งใสในการเจรจา และอาจขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดในการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าก่อนหน้านี้ เซ็นทรัล จะทำสัญญากับ รฟท. นานถึงปี 2581 หรืออีก 30 ปีข้างหน้า แต่อัยการสูงสุดและคณะกรรมการกฤษฎีกา เคยวินิจฉัยตัดสินว่า บริษัทเซ็นทรัล ไม่ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 และไม่ได้เจรจาต่อสัญญากับ รฟท.ในช่วงเวลาที่กำหนด จึงส่งผลให้ รฟท. ไม่มีข้อผูกพันใด ๆ ที่จะให้เซ็นทรัลเช่าที่ดินต่อไปได้ พร้อมกันนี้ คณะกรรมาธิการ เห็นว่า รฟท. ควรเปิดให้มีการประมูลเพื่อให้แข่งขัน และเกิดความเป็นธรรมกับ รฟท.มากที่สุด

นายสมชาย กล่าวว่า เรื่องนี้จะเป็นตัวอย่างสำหรับกรณีที่ รฟท. จะต้องคิดค่าเช่าที่ดินที่ รฟท. มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น บริเวณริมถนนรัชดาภิเษก หากเรื่องนี้สำเร็จ จะมีการเปิดประมูลคิดสัญญาเช่าใหม่อีกหลายแห่ง และ รฟท. จะได้รายได้ส่วนนี้มากขึ้นจะสามารถนำไปสนับสนุนกิจการ รฟท. ส่วนอื่นที่ขาดทุนอยู่ เช่น การบริหารขบวนรถไฟ และอาจทำให้ รฟท.มีรายได้จากการประมูลให้เช่าที่ดินประมาณ 2,000 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ ปี 2544 รฟท.เคยให้บริษัท ริชาร์ต อลิส บริษัทประเมินที่ดินประเมินว่า หาก รฟท.ต่อสัญญาไปอีก 30 ปี ที่ดินเหล่านั้นจะสร้างมูลค่าให้กับ รฟท.ได้ถึง 16,000 ล้านบาท

นายสมชาย กล่าวด้วยว่า ในวันศุกร์ที่ 9 มีนาคมนี้ จะเชิญนายศิวะ แสงมณี ประธานกรรมการ รฟท. นายถวิล สามนคร รักษาการผู้ว่าการ รฟท. และผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจง หากไม่สามารถมาได้ คณะกรรมาธิการฯ จะเดินทางไปพบที่ รฟท.ในวันนั้นเช่นกัน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากคณะกรรมาธิการฯ สั่งให้ระงับการเจรจา เพื่อจะตรวจสอบเรื่องนี้ให้โปร่งใส

ด้าน นายศิวะ แสงมณี ประธานกรรมการ รฟท. กล่าวว่า ยังไม่รับทราบมติของคณะกรรมาธิการฯ และยืนยันว่าขณะนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับเซ็นทรัล และมั่นใจว่าการเจรจายังเป็นไปตามระเบียบ และข้อกฎหมายทุกอย่าง เรื่องนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา และอัยการสูงสุดยืนยันกลับมาแล้วว่า ให้ รฟท. เจรจากับเซ็นทรัลก่อนหากจะมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาเป็นรายอื่น จึงไม่เข้าใจว่าเหตุใดคณะกรรมาธิการฯ จึงมีมติเช่นนั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2007 12:04 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟท.อนุมัติ 400 ล้านตั้งบริษัทลูกบริหารที่ดิน

Bangkokbiznews 8 มีนาคม 2550 เวลา 19:34:55

นายศิวะ แสงมณี ประธานกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้ ( 8 มีนาคม ) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการตั้ง บริษัทลูก เพื่อทำหน้าที่บริหารสินทรัพย์และที่ดินของ รฟท. ตามแนวทางที่สถาบันวิจัย นโยบายเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งเป็นที่ปรึกษาเสนอ โดยจะใช้ชื่อบริษัทว่า บริษัทรถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ทำหน้าที่บริหารพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ และที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในกิจการรถไฟ

ทั้งนี้ บริษัทดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนประมาณ 400 ล้านบาท โดย รฟท. เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด แม้ว่าจะทำให้บริษัทมีการบริหารงานเหมือนรัฐวิสาหกิจ แต่เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องความคล่องตัวในการทำงาน ส่วนรูปแบบการบริหารงานของบริษัทลูก ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยมีแนวทางเลือก เช่น การเช่าช่วงที่ดินต่อจาก รฟท. แล้วนำที่ดินดังกล่าวไปบริหารจัดการ หรือการรับจ้าง รฟท. ไปบริหารจัดการทรัพย์สิน หรือ การจอยท์เวนเจอร์ โดยการร่วมทุนกับบริษัทอื่นเพื่อพัฒนาที่ดิน

ส่วนบุคลากรที่จะปฏิบัติงานในบริษัทลูกนั้น จะต้องมีการสรรหากรรมการผู้จัดการเหมือนรัฐวิสาหกิจทั่วๆ ไป และจะบริหารภายใต้กำกับการดูแลของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งการทำงานจะแบ่งเป็นระยะ คือ

1. ระยะ 1 ถึง 3 ปีแรก จะเข้าบริหารจัดการที่ดินแปลงใหญ่ ในเขตกรุงเทพ เช่น บริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว และย่านรัชดา
2. ระยะ 4 ถึง 5 ปี จะเริ่มเข้าบริหารที่ดินต่างจังหวัด ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่ๆ และ
3. ระยะ 5 ถึง 10 ปี จะเป็นบริหารที่ดินของ รฟท ทั่วประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2007 5:13 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ ทวงคืนที่เช่าคลังน้ำมันเชลล์ - เอสโซ่

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3878 (3078)

การรถไฟฯ เตรียมยึดคืนที่ดินผืนงามริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านช่องนนทรี 277 ไร่ ย้ำชัด สิ้นเดือนธันวาคมปีนี้ ไม่ต่อสัญญาให้บริษัทค้าน้ำมันยักษ์ใหญ่ " เชลล์ - เอสโซ่ " แน่ เล็งนำมาปัดฝุ่นพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มปั๊มรายได้ ลุ้น ครม.ไฟเขียวตั้งบริษัทบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งพอร์ต ด้านผู้เช่าขอเวลารื้อย้ายอีก 2 ปี รื้อย้าย

นายศิวะ แสงมณี ประธานคณะกรรมการ ( บอร์ด ) การรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.ฟ.ท.) เปิดเผย " ประชาชาติธุรกิจ " ว่า จากที่พลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้นโยบายเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาที่ดินของการรถไฟฯ โดยมีเป้าหมายที่จะให้จัดระเบียบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้นำที่ดินที่มีอยู่ไปใช้ประโยชน์ตามศักยภาพเพิ่มรายได้ให้กับการรถไฟฯ โดยเฉพาะที่ดินแปลงใหญ่ๆ ที่กระจายอยู่ทั้งในกรุงเทพมหานคร ( กทม.) และต่างจังหวัด การรถไฟฯ จึงได้นำสัญญาการเช่าที่ดินที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2550 มาทบทวนใหม่ทั้งหมด

" หลังตรวจสอบสัญญา การรถไฟฯ มีแนวทางชัดเจนที่จะไม่ต่อสัญญาเช่าที่ดินแปลงใหญ่บริเวณช่องนนทรี ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่จะหมดสัญญาในวันที่ 31 ธันวาคม 2550 นี้ กับผู้เช่ารายเดิม แต่จะนำที่ดินแปลงนี้มาพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้มากขึ้น คงไม่ให้ทำเป็นคลังน้ำมันเหมือนเดิม เพราะปัจจุบันกลายเป็นที่ดินใจกลางเมืองไปแล้ว "

แหล่งข่าวจากการรถไฟฯ เปิดเผยว่า ที่ดินของการรถไฟ บริษัทช่องนนทรี มีขนาดพื้นที่ 277 ไร่ ปัจจุบันมีผู้เช่าอยู่ทั้งหมดประมาณ 5 ราย เป็นการเช่าเพื่อสร้างคลังน้ำมัน ผู้เช่ารายใหญ่ คือ บริษัท เอสโซ่ จำกัด พื้นที่เช่า 85 ไร่ และ บริษัท เชลล์ จำกัด พื้นที่เช่า 56 ไร่ สร้างเป็นคลังน้ำมัน ที่เหลือเป็นผู้เช่ารายกลาง รายเล็ก อาทิ บริษัทอุตสาหกรรมถังโลหะไทยฯ บริษัท ส.บรรทัดไทยฯ และบริษัทยูนิแก๊สฯ เป็นการเช่าระยะยาว 30 ปี โดยการรถไฟฯ ได้ค่าเช่าเป็นรายปี ปีละ 10 กว่าล้านบาท เมื่อเทียบกับศักยภาพของพื้นที่แล้ว ถือว่าถูกมาก ไม่ต่างจากสัญญาเช่าของกลุ่มเซ็นทรัลฯ ย่านพหลโยธิน

" ตอนนี้ เราแจ้งเรื่องการไม่ต่อสัญญาให้ผู้เช่าทราบแล้วว่า จะไม่ต่อสัญญาให้ ซึ่งผู้เช่ายินดีจะย้ายออกไปหาที่ใหม่ "

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า แม้สัญญาเช่าจะครบกำหนดวันที่ 31 ธันวาคม 2550 นี้ แต่กว่าการรถไฟฯ จะได้รับที่ดินคืน ต้องใช้เวลาอีก 2 ปี คือ ปี 2552 เนื่องจากในการรื้อย้าย ผู้ประกอบการแจ้งว่าต้องใช้เวลานานเป็นปีกว่าจะแล้วเสร็จ นอกจากนี้ จะต้องจัดทำแผนการรื้อย้ายเสนอให้การรถไฟฯ เห็นชอบก่อน จึงจะรื้อย้ายได้

" การรถไฟฯ กำลังจะว่าจ้างที่ปรึกษามาดูว่า ที่ดินผืนนี้จะพัฒนาในรูปแบบไหน จะให้เอกชนพัฒนาหรือให้เช่า คงต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง จึงจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งน่าจะไล่เลี่ยกับระยะเวลาที่ได้ที่ดินคืนมาพอดี เรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเร่งรัดสั่งการให้เร่งจัดทำแผนแม่บทมาเสนอโดยเร็วที่สุด "

สำหรับเรื่องการบริหารจัดการที่ดินของการรถไฟฯ ขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้มีการจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อเข้ามาบริหาร โดยได้เสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ให้กับคณะรัฐมนตรี ( ครม.) พิจารณา หากจัดตั้งบริษัทลูกได้สำเร็จ จะสามารถเดินหน้าเรื่องการพัฒนาที่ดินได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นที่ดินย่านมักกะสัน เนื้อที่ 571 ไร่ ย่านพหลโยธิน เนื้อที่ 2,235 ไร่ ที่ดินย่านบางซ่อน เนื้อที่ 168 ไร่ ฯลฯ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2007 8:55 am    Post subject: Reply with quote

เลิกสัญญา กทม.ฐานค้างค่าเช่า300 ล. " ร.ฟ.ท." หักดิบยึดคืนตลาดสวนจตุจักร

ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3883 (3083)

บอร์ดการรถไฟฯเร่งยิก หาข้อสรุปร่วมกับ กทม.ไม่ได้ ไม่ให้ต่อสัญญาเช่าที่ดินตลาดสวน จตุจักร ย่านพหลโยธิน เล็งยึดคืนพื้นที่กว่า 1 แสน ตร.ม. มาบริหารเอง หลังถูกหักดิบไม่จ่ายค่าเช่าส่วนที่ปรับเพิ่ม ค้างอยู่บานกว่า 300 ล้าน เตรียมชง " ธีระ ห้าวเจริญ " ไฟเขียว ออกโรงแจงผู้ค้ารายย่อยไม่กระทบ หวั่นโดนต้าน ด้าน อ.ต.ก.ยอมเคลียร์หนี้ค้าง 58 ล้าน ได้ต่อสัญญาเช่าที่ดินตลาด อ.ต.ก.เพิ่มอีก 10 ปี

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.ฟ.ท.) เปิดเผย " ประชาชาติธุรกิจ " ว่า ขณะนี้การรถไฟฯ กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูลเสนอ พลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พิจารณายกเลิกสัญญาเช่าที่ดินระหว่างการรถไฟฯกับกรุงเทพมหานคร ( กทม.) โดยจะไม่ต่ออายุสัญญาเช่าพื้นที่ย่านพหลโยธิน บริเวณตลาดนัดจตุจักร เนื้อที่ 109,180 ตร.ม. ที่ กทม.ใช้เป็นสถานที่จัดตลาดจตุจักรให้ต่อไปอีก เนื่องจากที่ผ่านมานอกจาก กทม.จะผิดสัญญา โดยไม่ยอมรับค่าเช่าที่จะปรับเพิ่มขึ้นแล้ว ไม่ยอมจ่ายค่าเช่าพื้นที่ที่ค้างอยู่กว่า 300 ล้านบาท

" ปีที่ผ่านมา เราเคยเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเรื่องนี้รอบหนึ่งแล้ว แต่มีการปฏิรูปการปกครอง และมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคมได้ส่งเรื่องคืนให้การรถไฟฯทบทวน จากนั้นนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ชี้ขาดอีกครั้ง ขณะนี้เรากำลังทำเรื่องเสนอกระทรวง โดยเสนอให้กระทรวงหารือกับ กระทรวงมหาดไทย เพื่อหาข้อยุติในเบื้องต้นก่อน"

แหล่งข่าวกล่าวว่า เรื่องนี้ทางคณะกรรมการ ( บอร์ด) ของการรถไฟฯ มีนโยบายเร่งรัดมาให้หาข้อยุติโดยเร็ว เพราะนอกจากปัญหาพื้นที่เช่าบริเวณตลาดนัดจตุจักรแล้ว ยังมีพื้นที่บริเวณตลาด อ.ต.ก.ที่หมดสัญญาไปแล้ว เดิมการรถไฟฯ ไม่ต้องการต่อสัญญาเช่าเช่นเดียวกัน แต่องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร ( อ.ต.ก.) ยอมจ่ายหนี้ค่าเช่าพื้นที่ที่ค้างอยู่ประมาณ 58 ล้านบาทให้ และยอมรับอัตราค่าเช่าพื้นที่ใหม่ที่การรถไฟฯ ขอเก็บในอัตรา 600 บาท / ตร.ม. / ปี การรถไฟฯ จึงต่อสัญญาเช่าให้ อ.ต.ก. อีก 10 ปี

สำหรับสัญญาเช่าตลาดนัดจตุจักรมีอายุ 25 ปี นับตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2530 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2555 กรณีต้องการบอกเลิกสัญญา การรถไฟฯ จะต้องแจ้งให้ กทม.ทราบก่อนล่วงหน้า 5 ปี โดยพื้นที่ทั้งหมด กทม.ได้นำที่ดินไปใช้ประโยชน์ 2 ส่วน คือปลูกสร้างอาคารสำนักงานสูง 3 ชั้น พื้นที่ 1,038 ตร.ม. คิดค่าเช่า 136 บาท / ตร.ม. / ปี ปรับเพิ่ม 10% ของอัตราค่าเช่าครั้งสุดท้ายทุกระยะ 3 ปี ซึ่งในส่วนนี้ไม่มีปัญหา

ส่วนที่ 2 เป็นตลาดนัดพื้นที่ 108,142 ตร.ม. คิดค่าเช่าเป็นเงินปีละ 1.6 ล้านบาท เฉลี่ย ตร.ม.ละ 15 บาท / ปี เมื่อครบ 5 ปี สัญญาระบุว่า ผู้ให้เช่าและผู้เช่า จะต้องประชุมหารือร่วมกัน เพื่อปรับปรุงค่าเช่าที่ดินใหม่ จริงๆ แล้ว การรถไฟฯ จะต้องปรับค่าเช่าเพิ่ม ตั้งแต่ช่วง 5 ปีก่อน คือระหว่างวันที่ 2 มกราคม 2544 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2549 แล้ว โดยได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่าง 2 ฝ่าย เพื่อกำหนดแผนในการพัฒนา และบริหารจัดการตลาดร่วมกัน แล้วแบ่งรายได้หรือผลกำไรจากการดำเนินการให้การรถไฟฯ

แต่ปรากฏว่า การเจรจาไม่ได้ข้อยุติ และ กทม. ยังยืนยันจ่ายค่าเช่าในอัตราเดิม ขณะเดียวกันปัจจุบันทั้ง 2 ฝ่าย อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อขอปรับอัตราค่าเช่าพื้นที่ ช่วงตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 1 มกราคม 2555 ซึ่งยังไม่มีแนวโน้มว่า จะสามารถตกลงกันได้เช่นเดียวกัน เพราะ กทม.ไม่ยอมรับค่าเช่าที่ขอปรับขึ้นจาก 32 บาท / ตร.ม. เป็น 600 บาท / ตร.ม. คิดเป็นค่าเช่า 64 กว่าล้านบาท / ปี โดยขอจ่าย 32 บาท / ตร.ม. เท่าเดิม และยังค้างชำระค่าเช่าอยู่อีกกว่า 300 กว่าล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่การรถไฟฯ ไม่ต้องการต่อสัญญาเช่าที่ดินกับ กทม. เพราะการรถไฟฯต้องการนำที่ดินดังกล่าวมาบริหารจัดการเอง โดยจะให้บริษัทบริหารทรัพย์สิน ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่จะตั้งขึ้นมาบริหารจัดการ เพราะมองว่าจะมีรายได้เข้ามามากกว่าปล่อยให้ กทม.เช่าพื้นที่

เนื่องจากปัจจุบัน สภาพพื้นที่โดยรอบตลาดนัดสวนจตุจักร เปลี่ยนแปลงไปมาก นอกจากนี้ ยังมีมูลค่าสูงขึ้น เพราะอยู่ในเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นการรถไฟฯ จะไม่เข้าไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ยังคงให้ผู้ค้ารายเดิมเช่าค้าขายได้ต่อไปอีก เพียงแต่ต้องการให้บริษัทลูกเข้าไปบริหารจัดการแทน กทม.ที่ไม่ทำตามสัญญา โดยเฉพาะข้อตกลงที่จะมีการปรับอัตราค่าเช่าในแต่ละปี

" สัญญาที่ทำไว้ไม่ค่อยรัดกุม ไม่กำหนดชัดเจนว่า แต่ละปีจะปรับค่าเช่าขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์ กลับเปิดช่องให้มีการประชุมหารือกันระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า ทำให้ต่างฝ่าย ต่างประเมินไปคนละทาง สุดท้ายก็ไม่ได้ข้อยุติร่วมกัน " แหล่งข่าวกล่าว

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2007 8:09 pm    Post subject: Reply with quote

นครหาดใหญ่ทุ่ม 98 ล้านผุด 'แลนด์มาร์ก'ในที่รฟท.

โดย ผู้จัดการรายวัน 10 ตุลาคม 2550 23:18 น.


Click on the image for full size
รูปแบบโครงการจัตุรัสนครหาดใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชัน ที่เทศบาลฯหวังว่าจะเป็นแลนด์มาร์กสำคัญในอนาคต


ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เทศบาลนครหาดใหญ่เดินหน้าโครงการจัตุรัสนครหาดใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชัน ใช้ 98 ล้าน ปรับปรุงตลาดพลาซ่า 1-2-3 และตลาดสดริมทางรถไฟ รวมทั้งปรับภูมิทัศน์บริเวณหน้าหอนาฬิกาให้เป็นแลนด์มาร์กของนครหาดใหญ่ พลิกเมืองหาดใหญ่สู่สากล ประธานบอร์ ร.ฟ.ท.เผยยินดีให้เช่าที่ 17 ไร่ ในราคาถูกเพื่อพัฒนาเป็นตลาดน่าซื้อ และสร้างบ้านมั่นคงล้างภาพชุมชนแออัด ย้ำห้ามให้เอกชนเช่าช่วงต่อเด็ดขาด

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา นายศิวะ แสงมณี ประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)นายสนธิ เตชานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายไพร พัฒโน นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ และนายชาญ ลีลาภรณ์ รองนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันแถลงข่าวโครงการจัตุรัสนครหาดใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราชัน ที่ หอประชุมเทศบาลนครหาดใหญ่ อาคารพลาซ่า 1

นายไพร กล่าวว่า การพัฒนาหาดใหญ่ให้ก้าวสู่ความเป็นสากลมากขึ้น จำเป็นจะต้องแก้ไขปัญหาเก่าๆ ให้ลุล่วงไปได้เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้แก่ชาวหาดใหญ่ และแขกที่มาเยี่ยมเยือน โดย เทศบาลฯมีแผนการดำเนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณหน้าหอนาฬิกา การปรับปรุงตลาดพลาซ่า 1-2-3 ปรับปรุงโรงภาพยนตร์พลาซ่า เป็นหอประชุมนครหาดใหญ่ ซึ่งในส่วนนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว เหลือเพียงย้ายที่ค้าขายของพ่อค้าแม่ค้าบริเวณด้านล่างให้เป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น

จัดงบ 98 ล้านสร้างแลนมาร์ก 'นครหาดใหญ่'

สำหรับโครงการจัตุรัสนครหาดใหญ่ เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาราชัน ที่เทศบาลฯกำหนดขึ้นโดยหวังให้พื้นที่โครงการทั้งหมดได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ยกระดับคุณภาพของตลาดน่าซื้อให้ได้มาตรฐานแก้ปัญหาแผงลอยริมฟุตบาธ ส่งเสริมการประชุมระดับนานาชาติ ส่งเสริมการค้าขายและการท่องเที่ยวเป็นแลนด์มาร์กของนครหาดใหญ่ และส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยของตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ รวมทั้งดึงดูดผู้เดินทางมาเยี่ยมนครหาดใหญ่ ให้ต้องแวะเข้าไปชมหรือจับจ่ายซื้อของในพื้นที่โครงการดังกล่าวหลังจากที่ได้รับการพัฒนาแล้ว


Click on the image for full size

โครงการตลาดน่าซื้อ


แผนงานทั้งหมด ประกอบด้วย 1.โครงการปรับภูมิทัศน์บริเวณหอนาฬิกาตลาดพลาซ่า ใช้งบประมาณ 27,000,000 บาท โดยจุดนี้จะถือเป็นแลนด์มาร์กของนครหาดใหญ่ เนื่องจากนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหอนาฬิกา คือจุดศูนย์กลางสำคัญในการเดินทางเข้าออกนครหาดใหญ่ หรือเป็นจุดนัดพบของประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ โครงการอยู่ระหว่างประกวดราคาก่อสร้าง
2.โครงการปรับปรุงโรงภาพยนตร์พลาซ่าเป็นหอประชุมนครหาดใหญ่ ใช้งบประมาณ 32,000,000 บาท โดยเทศบาลฯได้ปรับปรุงโรงภาพยนตร์พลาซ่า ที่ปิดให้บริการไปเกือบ 10 ปี ให้กลับมาเป็นหอประชุมรองรับการประชุมและการแสดงด้านศิลปะต่างๆ การดำเนินงานคืบหน้าไปแล้ว 90 เปอร์เซ็นต์

3.โครงการปรับปรุงพลาซ่า 2 เป็นตลาดจำหน่ายสินค้าทั่วไป ใช้งบประมาณ 3,275,000 บาท ขณะนี้ได้ผู้รับจ้างแล้ว อยู่ในระหว่างปรับปรุงตัวอาคาร

4.โครงการปรับปรุงพลาซ่า 3 เป็นตลาดสด ใช้งบประมาณ 14,835,000 บาท โดยพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ที่มีปัญหามากว่า 10 ปี เป็นโครงการของผู้บริหารเทศบาลฯชุดเก่า ที่หวังสร้างให้เป็นตลาดสดซื้อขายสินค้าครบวงจร และระหว่างการก่อสร้างได้มีการย้ายที่ให้พ่อค้าแม่ค้าไปขายของบริเวณริมทางรถไฟ เป็นการชั่วคราว แต่ครั้นอาคารพลาซ่า 3 สร้างเสร็จ พ่อค้าแม่ค้าเหล่านั้นกลับไม่ยินยอมย้ายเข้าไปขายของภายในตลาดพลาซ่า 3 เนื่องจากการออกแบบอาคารไม่เหมาะสม ตัวอาคารทึบ ไม่เหมาะที่จะเป็นตลาดสำหรับขายสินค้าสด รวมทั้งปัญหาเรื่องการแย่งชิงผลประโยชน์กัน เป็นปัญหายืดเยื้อมาจนปัจจุบัน ขณะนี้โครงการดำเนินการไปแล้ว 50 เปอร์เซ็นต์

5.โครงการก่อสร้างตลาดน่าซื้อริมทางรถไฟ ใช้งบประมาณ 21,000,000 บาท พื้นที่ริมทางรถไฟนี้ปัจจุบันเป็นชุมชนแออัดตลาดสดที่ไร้ระเบียบ และมีปัญหาเรื่องสุขอนามัยอย่างมาก แต่เดิมเทศบาลฯทำสัญญาเช่าระยะสั้นจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้พ่อค้าแม่ค้าใช้เป็นที่ขายของชั่วคราว เพื่อย้ายไปขายในอาคารพลาซ่า 3 แต่เมื่อถึงกำหนดพ่อค้าแม่ค้าไม่ยอมย้าย และได้ยึดพื้นที่ดังกล่าวขายของเรื่อยมาในฐานะผู้บุกรุก และมีผู้พยายามทำสัญญาเช่ากับ ร.ฟ.ท.เพื่อบริหารพื้นที่ดังกล่าวในรูปแบบธุรกิจ แต่พ่อค้าแม่ค้าก็ไม่เห็นด้วยทั้งหมด และยังเป็นปัญหามาจนทุกวันนี้ เทศบาลนครหาดใหญ่จึงเข้ามาพัฒนาให้เป็นตลาดน่าซื้อ โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการประกวดราคาก่อสร้าง

นอกจากนี้ยังมีแผนงานโครงการปรับภูมิทัศน์ และก่อสร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยในโครงการบ้านมั่นคง 400 ครัวเรือน ให้แก่ประชาชนที่บุกรุกปลูกสร้างที่อยู่อาศัยในเขตที่ดินรถไฟในปัจจุบัน รวมทั้งโครงการพิพิธภัณฑ์นครหาดใหญ่ เพื่อรวบรวมเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองหาดใหญ่ไว้เป็นฐานข้อมูลสำหรับการค้นคว้าศึกษาด้วย โดยทั้ง 2 โครงการนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบตัวอาคาร


Click on the image for full size

บริเวณหน้าหอนาฬิกา


'ร.ฟ.ท.' ให้เช่าที่ 17 ไร่ - ย้ำห้ามให้เอกชนเช่าช่วงต่อ

นายศิวะ แสงมณี ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตนขอแสดงความยินดีต่อชาวหาดใหญ่ที่จะมีการพัฒนาพื้นที่ริมทางรถไฟให้เป็นตลาดน่าซื้อ ถูกสุขลักษณะ และเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น แม้ว่าจริงๆ แล้วที่ดินที่กันไว้ให้เป็นสมบัติของ ร.ฟ.ท.เป็นไปเพื่อการขยายเส้นทางรถไฟในอนาคต ซึ่งอาจจะเป็นโครงการรถไฟรางคู่ หรือไฮสปีด เทรน แต่นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันพบว่ามีการบุกรุกพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.จำนวนมาก และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ และหลายพื้นที่มีการปลูกสร้างอาคารที่อยู่อาศัยอย่างถาวร

"พื้นที่ริมทางรถไฟ ก่อนถึงสถานีชุมทางหาดใหญ่ ซึ่งมีสภาพเป็นตลาดสด และชุมชนแออัด มีภูมิทัศน์ที่ไม่สวยงาม ทั้งๆ ที่เปรียบเสมือนประตูของเมืองหาดใหญ่ จึงควรมีการพัฒนาตลาดและชุมชนไปด้วยในตัว หากมีชุมชนแออัดตลาดก็ไม่น่าซื้อ ร.ฟ.ท.จึงให้เช่าพื้นที่ดังกล่าวสร้างตลาดให้น่าซื้อ รวมทั้งจัดพื้นที่สำหรับสร้างโครงการบ้านมั่นคงให้แก่ชาวบ้านอยู่อาศัยอย่างมีคุณภาพ รวมพื้นที่ทั้งหมด 17 ไร่ และห้ามให้เอกชนเช่าช่วงต่อโดยเด็ดขาด พ่อค้าแม่ค้าที่ขายของให้ทำสัญญาเช่าโดยตรงกับเทศบาลฯ หากเทศบาลนครหาดใหญ่ทำสำเร็จก็จะมีการนำรูปแบบนี้ไปใช้ในที่อื่นๆ ต่อไป โดยร.ฟ.ท.ให้เทศบาลนครหาดใหญ่เช่า ซึ่งจะมีการต่อสัญญาในทุกๆ 10 ปี " นายศิวะ กล่าวและว่า

แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีเอกชนมาขอเช่าพื้นที่จำนวน 5 ไร่ เพื่อพัฒนาตลาดในลักษณะเดียวกัน แต่ได้มีการยกเลิกสัญญาไปแล้วตามกฎหมาย เนื่องจากผู้เช่าไม่สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2007 8:10 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นทรัลฯ มั่นใจ รฟท.ต่อสัญญา เตรียมพันล. รีโนเวต รร.ลาดพร้าว

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 ตุลาคม 2550 09:29 น.


กลุ่มเซ็นทรัลมั่นใจ รถไฟต่อสัญญาให้แน่ เตรียมควักกระเป๋าเกือบ 1,000 ล้านบาท รีโนเวต หากได้ไฟเขียว พร้อมปั้นบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ที่เซ็นทรัลเวิลด์ เป็นศูนย์กลางการจัดงานไมซ์ใจกลางกรุง เจาะตลาดไมซ์ และ ห้างร้านเขมือบส่วนแบ่งธุรกิจรับจัดงานในย่านเดียวกัน นำร่องใช้กลยุทธราคาท้าให้ลอง

นายธีระยุทธ จิราธิวัฒน์ รองประธานอาวุโส ฝ่ายบริหารโครงการ โรงแรม และ รีสอร์ท ในเครือ “เซ็นทารา” บริษัท โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯได้เตรียมงบประมาณไว้เกือบ 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้รีโนเวต โรงแรม โซฟิเทล ลาดพร้าว หากได้รับการต่อสัญญาจากการรถไฟก็จะรีบดำเนินการทันที เพราะปัจจุบัน โรงแรมดังกล่าว มีอายุการใช้งานเกือบ 30 ปีแล้ว ซึ่งอุปกรณ์หลายอย่างก็ต้องเสื่อมไปตามกาลเวลา

“สิ่งที่เราจะปรับปรุงคือเรื่องของเทคโนโลยีด้านการประหยัดพลังงาน เช่น เครื่องปรับอากาศ และ อื่นๆ ตลอดจน อุปกรณ์ในห้องพัก และไฟฟ้า โดยเราเชื่อมั่น 100% ว่าจะสามารถต่อสัญญากับการรถไฟได้ เพราะนั่นคือสิ่งที่เราต้องการ”

อย่างไรก็ตาม สัญญาฉบับปัจจุบัน ที่บริษัททำไว้กับการรถไฟจะหมดอายุในปลายปี 2551 ฉะนั้นอย่างช้าที่สุด ในกลางปีหน้าต้องทราบแน่ชัดแล้วว่าบริษัทจะได้ต่อสัญญาหรือไม่ ซึ่งความจริงต้องทราบตั้งแต่ปีนี้แล้ว แต่ที่ผ่านมาอาจติดอุปสรรคบางอย่าง เรื่องความเข้าใจที่ไม่ตรงกันของตัวบุคคล แต่ก็ไม่มีปัญหาอะไรมาก

ในส่วนของ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ซึ่งขณะนี้ได้ทยอยเปิดให้บริการในส่วนของบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์แล้ว และ ในกลางปีหน้าจะเริ่มเปิดให้บริการในส่วนของห้องพัก

ชูกลยุทธ์ราคาเรียกลูกค้า
ด้านนโยบายการทำตลาดให้แก่บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ บริษัทฯวางเป้าหมายไว้ 2 กลุ่มหลัก คือ 1.กลุ่มประชุมสัมมนา จัดเอ็กซิบิชัน นิทรรศการต่างๆ ตลอดจนมีตติ้ง ซึ่งเราเรียกกลุ่มนี้ว่าตลาดไมซ์ (MICE) ที่มาจากต่างประเทศ และ 2. กลุ่มบริษัทห้างร้านที่อยู่ในเมือง หรือย่านธุรกิจ เช่นงานเปิดตัวสินค้า งานพบปะลูกค้า แถลงข่าว หรืองานแต่งงาน เป็นต้น โดยบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ มีพื้นที่รวมกว่า 10,000 ตารางเมตร จุคนได้กว่า 6,000 คน สามารถแบ่งเป็นห้องประชุมย่อยได้กว่า 20 ห้อง และห้องแกรนด์บอลรูม

“ยอมรับว่ากลุ่มที่ 2 เป็นลูกค้าใหม่ ซึ่งโรงแรมที่ลาดพร้าวยังไม่มี เนื่องจากติดโลเกชั่นชานเมือง แต่เซ็นทรัลเวิลด์ ได้เปรียบที่มีโลเกชั่นอยู่ใจกลางเมืองย่านธุรกิจ เราจึงต้องการเจาะกลุ่มนี้ โดยหวังจะเข้ามาร่วมมีส่วนแบ่งทางการตลาดกับโรงแรมในย่านนี้ด้วย”

กลยุทธ์สำคัญ ที่บริษัทฯจะนำมาใช้เบื้องต้น คือเรื่องของอัตราค่าจัดเลี้ยง ซึ่งอาจจะถูกกว่าคู่แข่งในย่านเดียวกันราว 50-100 บาท ต่อแขก 1 คน ส่วนการอำนวยความสะดวก หรือบริการอื่นๆ ก็แล้วแต่ธีมงานและข้อตกลง โดยในปี 2551 ขณะนี้มียอดบุ๊คกิ้งเพื่อจัดงานแล้สราว 100 งานตลอด 12 เดือน ทั้งงานเล็กและงานใหญ่ โดยมีงานใหญ่ระดับอินเตอร์เนชั่นแนลราว 8 กรุ๊ป ซึ่งตรงนี้จะใช้ทั้งห้องพัก และ ในส่วนของห้องจัดเลี้ยง เช่นงาน ประชุมสัตวแพทย์โลก ผู้ร่วมประชุมกว่า 1,000 คน และ งานประชุมแพทย์ช่องปาก อีกกว่า 800 คน เป็นต้น

ด้านผลประกอบการ 9 เดือนแรก เติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้ แม้ช่วงต้นปี ผลประกอบการจะลดลงไปมาก จากเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัย ซึ่งธุรกิจโรงแรม ตลาดที่ลดมากๆ คือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปลายปีนี้ ยอดบุ๊คกิ้ง ของเซ็นทารา เริ่มดีขึ้นตามลำดับ ล่าสุด เซ็นทารา ที่ สมุย กระบี่ และ ภูเก็ต มียอดจองตั้งแต่เดือน พ.ย.ไปถึงปีใหม่ เต็ม 100% ส่วนใหญ่เป็นตลาดยุโรป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/10/2007 10:33 am    Post subject: Reply with quote

ร้องรถไฟไล่-ชุมชนช่างสิบหมู่จตุจักร

อยู่มา20ปี คนรู้จักดี ฝีมือยอด อ้างจะรื้อ ทำให้ใหม่


Click on the image for full size

เสียดาย - สภาพชุมชนผู้ค้าเครื่องเรือนโบราณ ตรงข้ามตลาดนัดจตุจักร ซึ่งตัวแทนชุมชนเข้าร้องทุกข์ "ข่าวสด" ว่าถูกทางการรถไฟฯ ขับไล่ออกจากพื้นที่อย่างไม่เป็นธรรม บรรดาลูกค้าบ่นเสียดายถ้าต้องโดนรื้อถอนไป ตามข่าว


ผู้ค้าเครื่องเรือน-ของเก่าตรงข้ามจตุจักร ร้องถูกรถไฟไล่ที่อ้างจะขยายถนน-สร้างอาคารให้ใหม่ให้นายทุนเช่า พอเจรจากันได้กลับผุดอาคารผิดจากแบบที่ตกลงกันไว้ ไม่เหมาะกับอาชีพของผู้เช่า แถมยังเปิดลานจอดรถที่เคยยอมจะให้เป็นที่ซ่อมโต๊ะเก้าอี้ ฯลฯ กลับให้คนอื่นเช่าเพิ่มอีก จนบรรดาร้านค้าไม่มีที่ซ่อมสินค้า ไม่มีน้ำประปา ขณะที่บรรดาลูกค้าของเก่าหลายรายที่ซื้อขายกันมากว่า 20 ปี บ่นเสียดาย เพราะถือเป็นชุมชนช่างสิบหมู่ระดับชาวบ้านและเป็นแหล่งค้าของเก่าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 25 ต.ค. นางพรทิพย์ โกกิฬา ทนาย ความจากสำนักกฎหมายรักธรรม พร้อมตัวแทนกลุ่มผู้ค้าเครื่องเรือนโบราณข้างตลาดจตุจักร เดย์แอนด์ไนท์ พลาซ่า ตรงข้ามตลาดนัดจตุจักร ถ.กำแพงเพชร 2 เขตจตุจักร กทม. เข้าร้องทุกข์ข่าวสดว่า ถูกการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ขับไล่ออกจากพื้นที่ซึ่งทำกินและอยู่อาศัยมากว่า 20 ปี อย่างไม่เป็นธรรม โดยระบุว่ากลุ่มผู้ค้าเครื่องเรือนโบราณมีอยู่ทั้งหมด 190 ร้าน เข้ามาเช่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวตั้งแต่ปี 2528 โดยเช่าต่อจากหจก.เสริมวิศวกรรม ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานในการบริหารที่ดินดังกล่าวจากร.ฟ.ท.อีกต่อหนึ่ง ทั้งหมดเริ่มทำธุรกิจจากการซื้อขายของเก่าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องเรือนเก่า รวมถึงรับซ่อมแซมเครื่องเรือนโบราณ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ และนับว่าเป็นแหล่งซื้อ-ขาย และซ่อมแซมเครื่องเรือนโบราณใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ

นายวัชรินทร์ หัตถ์เสนะ อายุ 48 ปี แกนนำกลุ่มผู้ค้า เปิดเผยว่า เมื่อปี 2533 ร.ฟ.ท.ฟ้องร้องหจก.เสริมวิศวกรรม เพื่อเรียกคืนสิทธิการบริหารที่ดินดังกล่าว พร้อมให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกจากพื้นที่ จากนั้นร.ฟ.ท.พยายามที่จะล้อมรั้วปิดกั้นพื้นที่ แต่กลุ่มผู้ค้าทั้งหมดไม่ยอมขอเรียกค่าชดเชยโดยให้จัดสถานที่ทดแทน เบื้องต้นร.ฟ.ท.จะตั้งเต็นท์ให้ แต่กลุ่มผู้ค้าไม่ยอม พยายามเจรจาต่อรองและต่อสู้เรียกร้องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาปี 2541 ร.ฟ.ท.มาไล่ที่อีกครั้งโดยใช้หมายบังคับคดีเมื่อปี 2533 พร้อมบอกว่าจะหาที่ชดเชยให้ กลุ่มผู้ค้าจึงแจ้งกลับไปว่าต้องจัดหาสถานที่ให้ได้ก่อนจึงพร้อมจะย้ายออก แต่ร.ฟ.ท.ยืนยันว่าจะต้องย้ายออกทันที จึงยื่นเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมและสำนักนายกรัฐมนตรี จนมีคำสั่งให้ระงับการรื้อถอนชั่วคราว

"ต่อมาปี 2544 ร.ฟ.ท.เรียกพวกผมทั้งหมดไปเซ็นหนังสือยินยอมให้รื้อย้าย เมื่อก่อสร้างอาคารชดเชยแล้วเสร็จ บริเวณที่ดินซึ่งอยู่ด้านหลังพื้นที่เดิม โดยบอกว่าจะปลูกสร้างอาคารให้พวกผมทั้งหมดเช่าสำหรับค้าขายและอยู่อาศัยตามเดิม โดยจะสร้างเป็นอาคารชั่วคราว 1 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอยขนาด 28 ตารางเมตร พร้อมน้ำประปา ไฟฟ้า และลานจอดรถ หลังทำข้อตกลงแล้วร.ฟ.ท.กลับหายเงียบไป ต่อมาปี 2547 ร.ฟ.ท.มาปิดหมายบังคับคดีอีกครั้งให้กลุ่มผู้ค้าย้ายออกจากพื้นที่ทันที ทั้งที่ยังไม่มีการก่อสร้างอาคารชดเชยตามข้อตกลงที่เคยทำไว้ บอกเพียงว่าจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการขยาย ถ.กำแพงเพชร 2 จากนั้นขอทำข้อตกลงว่า หากพวกผมยอมย้ายออกจะก่อสร้างอาคารชดเชยให้เสร็จภายในเวลา 6 เดือน หลังจากเจรจาต่อรองกัน พวกผมยอมให้รื้อย้ายทั้งหมด 76 ห้อง ที่อยู่ริมถนน เพื่อขยายถนนตามความจำเป็น โดยร้านที่ถูกรื้อถอนต้องนำสินค้าที่มีไปฝากขายและพักอาศัยตามร้านข้างเคียงเพื่อรอเวลาที่อาคารตามข้อตกลงจะสร้างเสร็จ แต่จนถึงปัจจุบันอาคารดังกล่าวยังก่อสร้างไม่เสร็จ ทั้งที่เวลาผ่านมานานถึง 3 ปีแล้ว" แกนนำกลุ่มผู้ค้ากล่าว

นายวัชรินทร์กล่าวอีกว่า กระทั่งช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัท จินตนา สถาปัตย์ จำกัด เข้ามาดำเนินการก่อสร้างอาคารตามที่ร.ฟ.ท.ตกลงไว้ แต่เมื่อตรวจสอบแบบแปลนและโครงสร้างของอาคารดังกล่าว พบว่าผิดไปจากที่ร.ฟ.ท.ตกลงไว้กลับกลุ่มผู้ค้า เพราะอาคารดังกล่าวก่อสร้างเป็นอาคารถาวรขนาด 2 ชั้น ชั้นบนทำเป็นลานจอดรถ ชั้นล่างแบ่งพื้นที่ออกเป็นห้องทั้งหมด 221 ห้อง พื้นที่ 21 ตารางเมตรเท่านั้น ที่สำคัญคือก่อสร้างเป็นอาคารทึบ ทำให้ระบบระบายอากาศไม่ดีพอและจะเป็นปัญหามากสำหรับงานซ่อมแซมสินค้า เพราะต้องมีการเลื่อยไม้ ไสไม้ ทาสี ทำให้ไม่สามารถทำงานได้หากย้ายเข้าไป แต่กลุ่มผู้ค้ายังไม่อยากทำให้ร.ฟ.ท.มองว่าเล่นแง่ไม่ยอมย้ายเข้า จึงตกลงกันเองว่าจะใช้ลานจอดรถด้านหน้าอาคารเป็นจุดศูนย์รวมในการซ่อมแซมสินค้า

"แต่ปรากฏว่าลานจอดรถบริเวณนั้นถูกนำไปก่อสร้าง แบ่งเป็นล็อกเพื่อให้เช่า และภายในอาคารยังไม่มีระบบประปาตามที่ร.ฟ.ท.ตกลงไว้ ทำให้ไม่สามารถใช้เป็นที่พักอาศัยได้ จึงอยากร้องขอร.ฟ.ท. ขออยู่ที่เดิมต่อไป และพร้อมที่จะจ่ายผลประโยชน์ให้แก่ร.ฟ.ท.เท่าที่จะได้รับจากนายทุนเอกชนที่มาเช่าพื้นที่ใหม่ เนื่องจากผู้ค้าทั้งหมดนอกจากจะใช้ร้านค้าทำธุรกิจแล้วยังใช้อยู่อาศัยด้วย ที่สำคัญคืออยู่มานานกว่า 20 ปี มีความผูกพันกับพื้นที่และเป็นศูนย์กลางการซ่อมแซมเครื่องเรือนโบราณที่มีชื่อเสียงรับรู้กันทั่วไป" นายวัชรินทร์กล่าว

ด้านนายพลรัต พุทธิวิสุทธิ์ศักดิ์ อายุ 47 ปี เจ้าของธุรกิจเคมีชุบโลหะ หนึ่งในลูกค้าของชุมชนเครื่องเรือนโบราณ กล่าวว่า ชุมชนแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งค้าขายที่รวบรวมสินค้าโบราณ มีตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเรือนหรือแม้แต่เรือนไทยโบราณ หากต้องการช่างฝีมือในการปลูกสร้างหรือซ่อมแซมตามแบบโบราณ การเข้าเดือย แกะสลัก ฝังมุก ลงรักปิดทอง รวบรวมอยู่ในชุมชนแห่งนี้ครบถ้วน เป็นเหมือนชุมชนช่างสิบหมู่ในระดับชาวบ้าน เป็นที่รู้จักไปทั่วโลกมีลูกค้าชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก ลูกค้าหลักของชุมชนจะเป็นคนที่รักของเก่า หรือนำของเก่าที่มีอยู่มาซ่อมแซมใหม่ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตามรูปแบบเดิม บรรดาศิลปินสาขาต่างๆ ผู้กำกับทั้งละครทีวีและภาพยนตร์หากต้องการบรรยากาศแบบโบราณจะมาเช่าเครื่องเรือนโบราณหรือว่าจ้างช่างในชุมชนไปสร้างอุปกรณ์ประกอบฉากที่ต้องการ

อาจารย์สุดสาคร ชายเสม ศิลปินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และอาจารย์วีระธรรม ตระกูลเงินไทย ซึ่งทำงานถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังมานำเครื่องเรือน โบราณจากที่ชุมชนนี้ไปใช้งาน และมักพานักศึกษามาดูเพื่อเรียนรู้ศิลปะจากเครื่องเรือนโบราณที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งท่านได้ให้ความเห็นว่าชุมชนนี้ไม่น่าที่จะต้องล่มสลายไป เพราะว่าเป็นแหล่งของโบราณที่หาไม่ได้อีกแล้ว

นายวรพจน์ ประพนธ์พันธุ์ เจ้าของร้านโอลด์เล้ง ผับชื่อดังย่านอาร์ซีเอ กล่าวว่า ชุมชนแห่งนี้ถือเป็นรากสำหรับของเก่าของโบราณ ไม่ว่าใครต้องการอะไรที่แห่งนี้มีให้ทุกประเภท เป็นศูนย์รวมของไม้ เครื่องลายคราม และคนในชุมชนมีความผูกพันกับสถานที่คล้ายชุมชนหวั่งหลีที่ถูกรื้อไปก่อนหน้านี้ ไม่อยากให้ผู้ที่มีอำนาจมองแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้า ที่เมื่อเห็นว่าจะสร้างผลประโยชน์ที่เป็นรูปของรายได้จะทุบทำลายสถานที่ซึ่งมีคุณค่าไปเพียงอย่างเดียว และที่แห่งนี้น่าจะเป็นชุมชนของเก่าแห่งสุดท้ายของกรุงเทพฯ ที่เหลืออยู่ หากต้องถูกทำลายไปเป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก เพราะคนในชุมชนไม่ได้มองแต่เรื่องการค้าเพียงอย่างเดียว จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้อย่างเป็นกันเอง แม้จะไม่ได้เข้ามาซื้อสินค้าคนในชุมชนต่างยินดีให้ความรู้กับทุกคนที่เข้ามาเยือน

นางพรทิพย์กล่าวด้วยว่า หากยึดตามกฎหมาย ร.ฟ.ท.ใช้คำสั่งบังคับคดีของศาลเมื่อปี 2533 น่าจะหมดอายุความไปนานแล้ว ไม่สามารถบังคับให้ชาวชุมชนย้ายออกได้ ความจริงชาวชุมชนและกลุ่มผู้ค้าทุกคนไม่ต้องการดื้อดึงอะไร แต่อาคารใหม่ที่ผู้รับเหมาการก่อสร้างของร.ฟ.ท.สร้างนั้น ไม่สามารถใช้เป็นที่อยู่อาศัยและประกอบกิจการได้ตามที่ร.ฟ.ท.ทำข้อตกลงไว้ก่อนหน้านี้ จึงต้องร้องผ่าน "ข่าวสด" ขอความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายให้ช่วยพิจารณา เพื่อขออยู่ที่เดิมและพร้อมจะจ่ายค่าตอบแทนให้ตามที่ร.ฟ.ท.ต้อง การ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 197, 198, 199  Next
Page 2 of 199

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©