RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181511
ทั้งหมด:13492749
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ทางรถไฟของบริษัท ป่าไม้ศรีมหาราชา จำกัด ลงทะเลไปเกาะลอยตรงไหน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ทางรถไฟของบริษัท ป่าไม้ศรีมหาราชา จำกัด ลงทะเลไปเกาะลอยตรงไหน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2011 2:06 am    Post subject: Reply with quote

^^^
เห็นรถจักรรถไฟป่าไม้ศรีราชทั้งที เราก็น่าจะดู Plate Number และ Production Number ด้วยสิครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2011 1:07 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อหลายปีก่อน เจอหนังสือ เรื่อง บริษัทศรีมหาราชา จำกัด: ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของบริษัททางธุรกิจ แห่งแรกในภาคตะวันออก ที่คุณภารดี มหาขันธ์จาก มหาวิทยาลัยบูรพา ได้เรียบเรียงขึ้น และสงมอบให้หอสมุดแห่งชาติ ปี 2541
เสียดายที่ไม่ได้ค้นในเชิงลึกเพราะเวลาจำกัด แต่ก็ได้ทราบว่า

1. เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ได้ขอสัมปทานป่าไม้กระยาเลยที่ศรีราชา 5ปี หลังจากที่ได้เคยสำรวจเมื่อคราวไปพักรักษาตัวที่เกาะลอย ศรีราชา เมื่อปี 2438 - โดยกำหนดสัมปทาน ระหว่างนองคล้าทางทิศตะวันออก ถึงตำบลโรงโป๊ะ ทางทิศตะวันตก และ ทางเหนือจากเขาหุบบอน ถึง ทางใต้ที่เขาหลัง โดยแบ่งขายที่ 100 ไร่ แถว ตำบลบางรักที่ซื้อจาก พระประมาญ แล้วตัดถนนประมวญและถนนสุุรศักดิ์ และ ขายที่บริเวณดงตาล (ข้างหัวลำโพง) ประมาณ 100 ไร่เศษ ให้ พระยาอินทราธิบดีศีหราชรองเมือง (ที่มาของถนนรองเมือง) ในราคาวาละ 10 สลึง สัญญาอนุมัติเมื่อ 23 ตุลาคม รศ. 121 (2445)

2. ต่อมาทุนรอนไม่พอจนต้องกู้พระคลังข้างที่และ ชาเตอร์แบงค์ (ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ในปัจจุบัน) โดยชาเตอร์แบงค์ ของให้ยืดสัมปทานจาก 5 ปี เป็น 30 ปี แต่กรมพระยาดำรงราชานุภาพท่านไม่เห็นด้วยที่ จะให้ ตำบลบางพระ และ ศรีราชาอยู่ในมือต่างชาติ เลยให้แต่ ขยายสัญญาสัมปทานหลังจาก 5 ปี แทน

ในระหว่างที่ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีไปราชการปราบเงี้ยวปล้มเมืองแพร่ หลวงอุดรภัณฑ์พาณิชย์ (นายอากร เต็ง) ดูแลกกิจการ แต่ หลวงอุดรภัณฑ์พาณิชย์ (นายอากร เต็ง) ได้มอบให้พระโสภณเพชรรัตน์ (เจ้าสัวกิมเซ่งหลี) และ หลวงจิตจำนงค์ดำเนืนการ แต่ ทั้งสองให้ พระยามหิบาลดำเนินการแทน และ เวลานั้นได้ขยายพื้นที่สัมปทาน ไปถึงคลองบางโปร่ง ทางตะวันออก บ้านจอมเทียนทางทิศตะวันตก ทิศเหนือจดเขาหินสูง ทิศใต้จดแหลมฉบัง แต่กระนั้น ก็ยังไม่ได้ผลดีเพราะ

1. การตัดไม่ไม่มีหลักเกณฑ์ว่าจะตัดไม้ไหนก่อนหลัง ตัดไม้่ขนาดไหนก่อน ไม่มีการกำหนดเขตแน่นอน
2. บัญชีรายรับรายจ่ายไม่มีหลักฐานแน่นอน

ทำให้ บริษัท กิมเซ่งหลีของหลวงอุดรภัณฑ์พาณิชย์ ต้องออกเงินแทนบริษัทศรีมหาราชาถึง 750000 บาท และ เมื่อ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีกลับจากราชการปราบเงี้ยวปล้มเมืองแพร่ บริษัท กิมเซ่งหลี ให้ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ชำระหนี้ 5 แสนบาท แต่กว่าจะชำระหมด ต้องเสียดอกเบี้ยถึงสองครั้งเป็นเงืิน 16000 บาท

ตอนหลังเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ความช่วยเหลือจาก นาย เอฟ วี เค เซนิช ผู้จัีดการโรงเลื่อยลาซีเอเชียติก ช่วยทำตลาดไม้แปรรูปให้ศรีมหาราชา ที่สุดก็ได้ ลูกค้าจาก ห้างบมเบย์เบอร์มา สั่งไม้หมอน 1 แสนท่อน บริษัทคลาก ต้อการไม้หน้าทำสะพาน 1400 ตัน หร้างแจกอาดัมยีจากเมืองท่าการาจีขอสั่งไม้หมอนขนาด ยาว 10 ฟุต กว้าง 10 นิ้ว หน้า 5 นิ้วเอาไปทำไม้หมอนทางรถไฟ พอกู้สถานการณ์ไปได้บ้าง

อย่างไรก็ตาม การทำไม้กระยาเลย จะใช้วิธีเดียวกันกับการทำป่าไม้สัก ไม่ได้ เนื่องจากไม้กระยาเลยหนักกว่าน้ำ ท่อนซุงไม้กระยาเลยจะจมน้ำ แทนที่จะลอยน้ำเหมือนไม้สัก ทำให้ชักลากจากคลองบางละมุงไปออกทะเล แล้วน้ำไปแปรรูปที่โรงเลื่อยที่ศรีราชาไม่ได้ ต่อ มาจึงทำทางรถไฟป่าไม้ เพื่อชักลากไม้แทน โดย[color=darkred][b] จากนั้นในปี 2448 เริ่มทางรถไฟยาว 5 ไมล์ (8.04672 กิโลเมตร) สิ้นเงินไป 125000 บาท และ สร้างโรงเลื่อย เครื่องจักร และที่พักอีก 260000 บาท เพื่อชักลากไม้ และในปี 2449 สร้างทางรถไฟไปถึงหุบบอน เพราะหุบบอนเป็นแหล่งไม้ตะเคียน ที่ทั้งยาว (ไม้ตะเคียน 7 วา ไม้สัก 5 วา) ทนแดดทนฝนและเหนียวกว่าไม้สัก - ตัวทำเงินให้บริษัทศรีมหาราชา นอกนั้นเป็นไม้แดง ไม้ยาง และ ไม้ตะแบก ไม้ตะแบก ไม่ยาง และ ไม้ตะเคียนเป็นตัวทำเงินโดยเฉพาะไม้ตะแบกที่ทนดีกว่าไม้สิงคโปร์

Click on the image for full sizeClick on the image for full size
การทำไม้ของศรีมหาราชา ปี 2451
ภาพจาก The twentieth Century Impression of Siam
แสดงใน: อุตสาหกรรมป่าไม้ และช้างงานในประวัติศาสตร์

ต่อมาในปี 2451 ก็ต้อง ให้ห้างบอเนียว เป็นผู้ถือหุ้น โดยห้างบอเนียว ได้จ่ายสด 3 แสนบาท ให้เงินยืม 1 แสนบาท และ สัญญาจะให้กู้ 9 แสนบาทเพื่อเป็นทุน ทำให้ต้องจัดการเป็นแบบบริษัทจำกัดตามเงื่อนไขที่ตกลังกันไว้กับห้างบอเนียว โดยชำระหนี้ห้่างกิมเซ่งหลี โดยการขายที่ดิน ไป 350000 บาท และ ออกหุ้น 1500 หุ้นเป็นเงิน 150000 บาทเพื่อเอาไปใช้หนี้ส่วนที่เหลือ และ นำทุนที่ได้ไปขยายกิจการ สร้างสะพานไปเกาะ ลอย ขยายทางรถไฟ ไปจนได้ระยะทาง 30 กิโลเมตร ตอนแรกทำไปแค่หนองค้อ ระยะทาง 9.75 ไมล์ (15.6911 กิโลเมตร) มีเดิน 3 ขบวน โดยสั่งรถจักรไอน้ำจากที่ต้อไปนี้

1. รถจักร บรัชอิเล็กตริคัลเนยีเนียร์ (ที่ขายรถจักรสับเปลี่ยนเบอร์ 61-65) ขนาด 30 แรงม้า ใช้งานมาแล้ว 5 ปี
2. รถจักรของ ห้างเฮาวาดอิสเทิน ขนาด 11-12 แรงม้าสำหรับขนไม้เข็มและ ไม้ลงเรือ

จากนั้นได้ทำสะพานบรรทุกไม้ลงเรือได้ตลอดทั้งเวลาน้ำขึ้นน้ำลง เป็นสะพานไม้ยาว 3500 ฟุต (1.0668 กิโลเมตร) นับแต่โรงเลือยจนยาวเลยเกาะลอยไป 500 ฟุต (154.4 เมตร)
เสาตอม่อสะพาน เป็นสะพานไม้ชั้นดี เช่นไม้พันจำ ไม้โคนสมอ ไม้พะวาดำ ไม่มะขามกราย ไม้เสม็ดแดง ไม้แต้ว ไม้เฉียวพร้า ไม้หว้าใหญ่ ไม้มุนชี ไม่มะแพน ไม่กระทั่งหัน ไม้ยางแดง ขนาด 10-24 นิ้ว ส่วน ไม้ตัวสะพานเป็นไม่้ยางเหลี่ยม สะพานกว้าง 14 ฟุต ปลายสะพานกว้่าง 34 ฟุต มีราว 2 ทาง มีหลักตามทางเพื่อสะดวกต่อการบรรทุกไทม้ที่ปลายสะพาน มีเครื่องไม้ 2 เครื่อง สำหรับยกไม้หนัก 3-6 ตัน

นอกจากนี้ ตั้งโรงเลื่อนเพิ่มอีก 2 โรง ให้เลื่อยไม้ได้วันละ 2พันลูกบาศก์ฟุต และ อื่น เป็นเงินถึง 1 ล้าน 7 แสนบาท

ในปี 2451 ก็ ได้ขยายสัมปทานป่าไม้ถึงพนัสนิคม และ เมืองแกลง รวม 960000 ไร่ โดย 2 ใน 3 อยู่ที่พนีัสนิคม แต่ต้องเส้นที่ชายฝั่ง 200 เส้น ให้ชาวบ้านเพาะปลูกได้

แม้ไม้จากศรีมหาราชาจะขายดีแต่มีปัญหาเรื่องการส่งมอบล่าช้าทำให้คนหันไปซื้อไม้่สิงคโปร์ ที่ ตัดจากป่ามลายู และ ป่า แถวเกาะสุมาตรา ที่มาเร็วทันใจกว่า

ต่อมาปี 2456 ได้ขอต่อสัญญาสัมปทานป่าไม้ศรีราชา และ ก็ได้อนุมัติปี 2458

12 มิถุนายน 2464 ห้างบอเนียวขอให้ บริษัทศรีมหาราชาชำระหนี้ 5 แสนบาทใน 1 เดือน จนเป็นความถึงขั้นฟ้องล้มละลาย คราวนี้ ศรีมหาราชาชนะความ เลยฟ้องกลับ ทีั่สุด ก็ตกลงกันได้ว่าให้ห้างบอเนียว คืมสัมปทานแล้วบริืษัทศรีมหาราชาจะจ่าย 3 แสนบาท ใน 5 ปี โดย 2 ปีแรก ไม่คิดดอกเบี้ย ปีที่ 3-4 คิดร้อยละ 6 และ ปีที 5 คิดร้อนยละ 8 ซึ่งห้างบอเนียวได้คืนสัมปทานให้เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2465

จากนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ต้องวิ่งเต้นเอา บ้านและหุ้นของท่านไปจำนองเอาเงินมาบริหารกิจการต่อไป ตอนหลังได้ นำเจ้านายหลายพระองค์ที่เป็นสหายเป็นผู้ถือหุ้น และเป็นถึงพระสัสสุระในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสียด้วย แต่ภายหลังได้ขัดแย้งกันเพราะ เจ้านายพระองค์นั้นเห็นว่า เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ไม่ชำนาญด้านธุรกิจ ถ้าปล่อยให้ทำไปจะมีแต่เข้าเนื้อ ดังที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยมีพระกระแสตำหนิติเตียน เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เรื่องการบริหารจัดการที่ผิด และ เรื่องการช่วยใช้หนี้เพื่อนผู้ถือหุ้นที่เป็นหนีั้หลวง (เจ้าของห้างกิมเซ่งหลี) และ ลงทุนไปหนักแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และ ที่สุดก็ เจ้าท่านนั้นก็เสนอให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกเลิกบริษัท ศรีมหาราชาเสีย เพราะ ผู้บริหาร (เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี) เลอะเลือน จน เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีต้องทำฎีกาเสนอ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ต่าง

ที่สุดเมื่อ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปี 2474, พระคลังข้างที่ต้องเข้าถือหุ้นบริษัทศรีมหาราชาแทน โดยให้ในหลุย คีรีวัต เป็นผู้บริหาร เพราะ เจ้านายพระองค์นั้นได้เลือกให้มาบริหารแทน


Last edited by Wisarut on 08/08/2015 4:55 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2011 3:38 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้ได้ดูหนังสืองานศพของพระยาอนุภาพไตรภพทำให้ทราบว่า ในปี 2485 บริษัทศรีมหาราชาได้ทำทางรถไฟ ยาว 72 กิโลเมตร โดยทำเป็นทางตรงจากศรีราชาไปทับโคบุตร 17 กิโลเมตร ที่เหลืออีก 55 กิโลเมตรเป็นทาง รูปโค้งก้นหอย ที่ทับเสด็จ ทั้งที่ทำทางจากทับโคบุตรไปพันเสด็จโดยตรงจะยาวเพียง 12 กิโลเมตร

ดังนั้นพระยาอนุภาพไตรภพ จึงให้รื้อราง ที่เป็นก้นหอย ออกไปแล้ววางรางใหม่ให้ตรงดังนี้

1. ทางตรงจากทับโคบุตรไปพันเสด็จ 12 กิโลเมตร โดยอาศัยทางที่มีอยู่แล้ว 4 กิโลเมตร ทางดิน 4 กิโลเมตร เลยทำแต่งานดิน อีก 4 กิโลเมตร เลยวางรางเพียง 8 กิโลเมตร เพราะ ช่วงพันเสด็จสามารถตัดป่าได้อีก 30 ปี

2. ให้ทำทาง จาก ทับโคบุตร ไป บ้านบึง 26 กิโลเมตร และ ต่อจากบ้านบึงไปป่าตาลดำอีก 5 กิโลเมตร รวมเป็น 31 กิโลเมตร โดยมห้ทำทางไปป่าตาลดำก่อน โดนใช้รถแท็กเตอร์กรุยทาง แต่ รางดันขาดมือ ต้องเอารางจากลพบุรีมาวางอีก 8 กิโลเมตร

ตอนสัมปทานหมดอายุปี 2485 ก็มีข้อถกเถียงกันระหว่างกรมป่าไม้กับกลาโหม จนที่สุด พระยาอนุภาพไตรภพลาออก เพราะ โรคความดันโลหิตสูงกำเริบ เมื่อปี 2487
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 26/06/2011 5:15 am    Post subject: Reply with quote

ปี 2489 บริษัทศรีราชาทุนจำกัดก็ตกอยูในสถานะลำบากต้องขายกิจการ ทั้งหมดให้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นเงิน 2 ล้าน 7 แสน 7 หมื่นบาท โดยให้คุณเฉลิม เชี่ยวสกุล (ลูกเขยจอมพลผิน ชุนหวัณ - 2459-2545) เป็นผู้บริหาร ต่อมามอบให้ คุณปราโมทย์ พึ่งสุนทร (สมาชิกคณะราษฎร์ - เพื่อนอาจารย์ปรีดี และ ได้บริหารงานทั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ เวทีราชดำเนิน) บริหาร โดยให้ คุณเฉลิม เชี่ยวสกุล เป็นเลขานุการ และ คุณวุธ วีระไวทยะ (พี่เขยของคุณปราโมทย์ พึ่งสุนทร) บริหารโรงเลื่อย

ในการตั้งบริษัทขึ้นใหม่นั้นให้เปลี่ยนจากบริษัทศรีราชาทุนจำกัดเป็นบริษัทศรีมหาราชาจำกัด เมื่อ 13 มกราคม 2490 โดยเป็นโรงงานผลิตไม้แปรรูปและ และจำหน่ายแม้แปรรูป ตั้งที่เลขที่ 39 ถนนเจิมจอมพล อำเภอ ศรีราชา ชลบุรี ทุนจดทะเบียน 4 ล้านบาท หักเป็นค่าซื้อกิจการ 2 ล้าน 7 แสน7หมื่นบาท บาท เหลือทุนดำเนินการ 1 ล้าน / แสน - หมื่นบาท มีสำนักงานที่ถนนพระอาทิตย์

จากการตรวจสอบพบว่า ถ้าต้องผลิตไม้แปรรูปไม่ต่ำกว่า 1200 ตันต่อเดือน จึงจะมีกำไรแต่มีเลื่อยนอนเลื่อยเดียว ทุดโทรมมาก แม้ซ้่อมให้ใช้ได้ก็ใช้ได้อีก 2-3 ปี ต้องซื้อเลื่อยนอนใหม่ 4 สะพานเพื่อเลื่อยผลัดละ 8 ชั่วโมงได้ 6 ผลัด

ทางรถไฟทางได้ยาว 73 กิโลเมตร (ทางจาก โรงงานที่ศรีราชไปทับโคบุตร 17 กิโลเมตร ทางจากทัีบโคบุตร ไปถึงป่าตาล แถว คลองใหญ่ อำเภอบ้านบึง 31 กิโลเมตร และ ทางจากทับโคบุตรไปพันเสด็จ 25 กิโลเมตร - แสดงว่าระหว่างปี 2487-89 ทำทางเพิ่มอีก 13 กิโลเมตรเพื่อชักลากไม้มากอีก) แต่ ทรุดโทรม หมอนไม้ร้อยละ 80 ผุ ต้องหาไม้หมอนมาเปลี่ยน 5หมื่นท่อน แต่ถ้าจะให้ลากไม้ได้เดือนละ 1000 ท่อนก็ต้องสร้างทางใหม่ 20กิโลเมตร -และ สำรวจพบอีกว่า มีทางจากโรงงวาน

รถจักร 6 คันมีที่ใช้งานได้ 2 คันแต่ไม่ค่อยดีนัก นอกนั้น ใช้งานไม่ได้เพราะไม่มีเครื่องอาไหล่

รถทรักซ์ มี ใช้ได้ 42 คู่แต่โทรมเต็มที ถ้าจะใช้ลากไม้ 1000 ท่อนต่อเดือน ต้องมีใช้ได้อย่างน่้อย 140 คู่

สะพานรถไฟ อยู่สภาพชำรุด ต้องซ่อมหนักร้อยละ 80 เพราะ ไม้ผุ

รถแทร็กเตอร์ลากไม้ 2 คันใช้การไม่ได้

วินซ์ลากไม้ มี 5 เครื่องแต่ใช้ได้จริง 2 เครื่อง

นอกจากนี้ พบถ้าจะให้มีทุนเลี้ยงตัวได้ต้องกู้เงินจากเทเวศน์ประกันภัย (ในเครือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) 8 แสนบาท เพื่อให้มีทุน 2 ล้าน 3 หมื่นบาท แล้วจัดการตัดไม้กระบาก ไม้ชุมแพรก และ ไม้ชัน ที่ แต่เดิมบริษัทไม่ได้ตัดเพราะ เห็นว่าไม่มีราคา แต่งานนี้ต้องสร้างเครื่องเลื่อยอีก 1 สะพาน เพื่อแปรรูป ไม้กระบาก ไม้ชุมแพรก และ ไม้ชัน ขายผ่านเอเยนต์ คือ บริษัทซีโนบริติช และ ทำไม้ที่ ตำบลห้วยเจตมูล (12 กม. จากโรงเลื่อย) และ ที่หุบบอน (25 กิโลเมตรจากโรงเลื่อย) เลื่อยไม้ได้เดือนละ 4-500 ตัน

ต่อมาปี 2493 ได้นำกำไร มา สะสมเป็นทุนหมุนเวียนได้ 2700955.40 บาท และ ขอกู้เงินจาก สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 2 ล้าน 4 แสนบาท เอาไปใช้หนี้เทเวศน์ประกันภัย 8 แสนบาท และ นำไปส่วนที่เหลือเป็นทุน ทำให้มีทุนเพิ่มเป็น 4300955.40 บาทแล้วนำไปปรับปรุงโรงเลื่อยให้เลื่อยไม้ได้เดือนละ 800 ตัน ต่อมาได้ เลื่อยนอนสำหรับเลื่อยไม้ในเวลากลางคืนอีก 2 สะพาน ทำให้สามารถเลื่อยไม้ได้ เดือนละ 1200 ตัน มีกำไรปีละ 2 ล้านบาท

ปี 2495 ได้ เปลี่ยนเครื่องกำลังจากเครื่องจักรไอน้ำขับด้วยเพลากลาง ที่มีปัญหาสายพานขาดเมื่อไหร่ก็ต้องหยุดงานทั้งโต๊ะ มาเป็นเครื่องไฟฟ้า และ ทุกโต๊ะใช้งานด้วยไฟฟ้า ทำให้ต้องยืมเงินอีก 3 ล้าน 6 แสนบาท รวมเป็น 6 ล้านบาท ทำให้เลื่อยไม้เพิื่มเป็น 1500-2000 ตันต่อเดือน ทำกำไรได้ดีกว่าเดิม
...
ต่อมาปี 2517 ได้รับสัมปทานป่าไม้ที่จันทบุรี และ ปราจีนบุรี แทนสัมปทานป่านไม้ที่ บ้านบึงและหนองใหญ่ซึ่งหมดอายุ ราวๆ ปี 2514 - 2518 ก็เลยเลิกทางรถไฟป่าไม้นั้นเสีย และ 2 พฤศจิกายน 2527 เลิกกิจการบริษัทศรีมหาราชาเพราะ ค่าเงินผันผวน ตอนเปลี่ยนจาก 23 บาท ต่อดอลลาร์เป็น 27 บาทต่อดอลลาร์ ทำ ให้ขาดทุน 250 ล้านบาท
...

ตอนช่วงขอต่อสัปทานแถวบ้านบึง หนองใหญ่ นั้น ก็มีเรื่องต่อสู้กัน ถึงเลือดถึงเนื้อ ซึ่งดูรายละเอียดได้ที่นี่
http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=79%3Aseub&catid=23%3A2009-11-02-06-29-09&Itemid=37&limitstart=2
Back to top
View user's profile Send private message
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 26/06/2011 8:10 am    Post subject: Reply with quote

เฮียหมี....อ่านมาแล้วสงสัยว่าแล้วเดี๋ยวนี้เป็นบริษัทศรีมหาราชา แถวอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เปลี่ยนเป็นขายที่นอนใช่ไหมครับ... Question
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/06/2011 8:33 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณคุณวิศรุตมากครับ สำหรับการแบ่งปันข้อมูลทางประวัีติศาสตร์ Very Happy

พี่นพครับ บริษัท ศรีมหาราชา จำกัด ปัจจุบันทำธุรกิจที่นอนใยมะพร้าว ตราสายรุ้ง นั่นแหละครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42629
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2011 5:03 am    Post subject: Reply with quote

นี่ยังขาดข้อมูลจาก Thesis เด็กจุฬาปี 2523 เกี่ยวกับบริษัทศรีมหาราชาเพราะ มีภาพดีๆ เกี่ยวกะรถไฟป่าไม้ศรีราชาเสียด้วย ไม่งั้นจะได้ภาพที่กว้างและลึกกว่านี้อีกเยอะ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/06/2011 11:31 am    Post subject: Reply with quote

พอมีหัวข้อ Thesis ไหมครับ ผมค้นทางเว็บของหอสมุดจุฬาฯ ไม่เจอ

เจอแต่เล่มนี้ ไม่ทราบคุณวิศรุตเคยพลิก ๆ ดูบ้างไหมครับ ว่าน่าสนใจหรือเปล่า

Title จดหมายเหตุและสารคดี / บริษัท ศรีมหาราชา จำกัด
Imprint [ม.ป.ท. : ม.ป.พ.], 2510
LOCATION CALL # STATUS
CL 674.8 ศ173จ CHK SHELVES
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
siriwadhna
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/10/2009
Posts: 126

PostPosted: 30/06/2011 9:13 pm    Post subject: Reply with quote

ขอเขียนรายงาน และบันทึกช่วยจำให้กับตัวเองครับ

วันนี้ได้คุยกับคนเก่าแก่ของศรีราชามา ได้ใจความสำคัญคือ

"ท่าเรืออยู่ที่ร้านตำโชว์" สมัยก่อนเกาะลอยเป็นเหมือนสันทราย และไม่มีสะพานรถไฟ โดยเรือจะมาเทียบที่ตำแหน่งร้านดังกล่าว เพื่อรับซุงจากรถไฟ

ซึ่งขัดกับภาพถ่ายที่เราเห็นกัน

ส่วนอาคารหลังคาเขียวที่ร้านตำโชว์ สมัยก่อนเรียกว่าปลายสะพาน คนชอบไปนั่งเล่น หรือตกปลากัน ตอนหลังก็สร้างเป็นเรือนรับรองศรีมหาราชาขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นอาคารเดียวกันกับที่เห็นในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ร้านถ่ายรูปเก่าแก่ที่อาจจะมีภาพถ่ายเก่าๆอยู่ชื่อ "ร้านไทยสยาม" แต่อาเจ็กท่านแก่แล้ว ตอนนี้เป็นรุ่นลูกทำอยู่ คนศรีราชาท่านนี้แนะนำให้ลองนัดพบกับอาเจ็กดู เผื่อฟลุ๊กได้รูปเด็ด
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/06/2011 9:32 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับที่ช่วยบันทึกข้อมูลไว้ และแนะนำแหล่งข้อมูลครับ

- ดีใจที่ผมวิเคราะห์ได้ถูกต้องว่า สะพานรถไฟอยู่ที่ร้านตำโชว์ครับ
- หลังปี 2490 สะพานคงจะพังจากพายุ และไม่ีมีการซ่อมแซมอีกต่อไป รื้อออกครับ
- ในแผนที่ปี 2513 ไม่มีสะพานแล้ว
- ในภาพถ่ายทางอากาศปี 2518 เกาะลอยก็ยังเป็นสันทรายอยู่ครับ
- ภาพถ่ายสะพานที่เราเห็นกัน ถ่ายในปี 2490 ครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7  Next
Page 4 of 7

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©