Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179805
ทั้งหมด:13491037
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องน่ารู้ : รถจักรไอน้ำที่เคยใช้การใน รฟท.
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องน่ารู้ : รถจักรไอน้ำที่เคยใช้การใน รฟท.
Goto page Previous  1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 25/07/2011 8:11 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณพี่ตึ๋งที่นำประวัติรถจักรไอน้ำรถไฟไทยในอดีตมาเล่าให้สมาชิกทราบความเป็นมาของรถไฟไทยที่สมาชิกชื่นชอบและรักรถไฟได้ทราบกันครับ....
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 25/07/2011 8:40 am    Post subject: Reply with quote

ยังไม่จบตอนครับ คุณนพ ยังขาดเรื่องราวของรถจักรดีเซลและรถดีเซลราง ถึงจะสมบูรณ์ (ในสมัยนั้น) Razz
Back to top
View user's profile Send private message
boatteam
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 05/04/2010
Posts: 910
Location: แจ้งวัฒนะ หลักสี่ ปากเกร็ด

PostPosted: 25/07/2011 10:16 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณพี่ตึ๋ง ครับ ขอมูลดีๆแบบนี้หาอ่านได้ยากจริงๆ
Razz Razz
_________________
สถานีบ้านเกิดอรัญประเทศ สุดเขตแดนสยามฝั่งตะวันออก
Back to top
View user's profile Send private message
digimontamer
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/05/2009
Posts: 487

PostPosted: 26/07/2011 7:21 am    Post subject: Reply with quote

ขอบพระคุณมากๆครับผม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2011 10:11 am    Post subject: Reply with quote

น่าจะรวมกับโผบัญชีรถจักรไอน้ำ ที่ผมรวบรวมมาด้วยท่าจะดีนะครับ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 28/07/2011 10:24 am    Post subject: Reply with quote

ดีเฮียวิศ....สมาชิกใหม่ๆจะได้ความรู้ครับ
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 28/07/2011 10:25 am    Post subject: Reply with quote

ที่นำมาลง ยังเป็นข้อมูลจากข้อเขียนในขณะนั้นซึ่งไม่สมบูรณ์ครับ เฮียวิศ

ถ้าจะให้สมบูรณ์ เราต้องนำมานั่งรื้อจัดทำกันใหม่ แล้วปล่อยให้ download นั่นแหละ Razz
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/04/2016 7:49 am    Post subject: Reply with quote

ไต่ไปบนรางประวัติศาสตร์ ภารกิจชุบชีวิต 'รถจักรไอน้ำ'
เดลินิวส์ วันพุธที่ 27 เมษายน 2559 เวลา 6:46 น.

Click on the image for full size

ไต่ไปบนรางประวัติศาสตร์ ภารกิจชุบชีวิต 'รถจักรไอน้ำ' “โรงรถจักรธนบุรี” แม้ยุคอดีตได้รับความเสียหายแต่ก็ซ่อมแซมจนตอนนี้ใช้เป็นสถานที่เก็บและ “ชุบชีวิต” หนึ่งในสิ่งที่สะท้อนประวัติศาสตร์... “รถจักรไอน้ำ”...

แผ่นฟ้าเหนือโรงซ่อมรถไฟ สถานีรถไฟบางกอกน้อย เคยถูกขึงด้วยเครื่องบินรบฝ่ายสัมพันธมิตร ระเบิดโปรยลงมาลูกแล้วลูกเล่า หวังปิดบัญชีจุดยุทธศาสตร์... วันเวลาแห่งไฟสงครามผ่านไป ถึงปัจจุบัน ที่ “โรงรถจักรธนบุรี” แม้ยุคอดีตได้รับความเสียหาย แต่ก็ซ่อมแซม จนตอนนี้ใช้เป็นสถานที่เก็บ และ “ชุบชีวิต” หนึ่งในสิ่งที่สะท้อนประวัติศาสตร์...

“รถจักรไอน้ำ”...

“ขอหวูดหน่อย!!!” ...เสียงชาวบ้านสองข้างรางรถไฟตะโกนบอกพนักงานขับหัวรถจักรไอน้ำ ด้วย “เสียงหวูด” ที่ทุ้มหวาน...เป็นเสน่ห์ ถ้าชาวบ้านไม่ได้ยิน ถือว่าหัวรถจักรมาไม่ถึง นี่เป็นเสียงเรียกร้องที่ บุญยิ่ง กระจ่างศรี พนักงานรถจักร 7 โรงรถจักรธนบุรี ต้องเจอทุกครั้งที่ขับหัวรถจักรไอน้ำ ที่ปัจจุบัน “เหลือเพียง 5 คัน” ที่ยังวิ่งได้

เทคนิค “การชักหวูด” สมัยก่อน จะทำให้เสียงเป็นลูกคลื่นมีสูง-ต่ำ “รถจักรไอน้ำรุ่นโมกุล (C56)” เสียงจะหวานกว่ารุ่นอื่น ๆ ซึ่งการชักหวูดของรถจักรไอน้ำต้องเป็นคนที่ทำเป็น แต่ละคนก็มีการชักเสียงหวูดต่างกัน เช่นบางคนจะมีการกระตุกเสียง หรือดึงเสียงสั้น-ยาว โดยระบบการทำงานจะ “เหมือนการเป่าแซกโซโฟน” ถ้าเป่ามากเสียงก็ดังมาก

เช่นเดียวกับ “ควัน” ที่ออกจากปล่องหน้ารถ ต้องรู้เทคนิค จึงจะทำให้ควันออกมาเป็น “สีเทานวล” แต่ถ้าคนไม่ชำนาญ ควันจะดำ และออกมามากจนคนนั่งโบกี้หลัง ๆ ต้องสำลักควันกันตลอดทาง

“หัวรถจักรไอน้ำ” ที่ “อนุรักษ์” ไว้ มีความต่างตรงเชื้อเพลิง คือ มีหัวรถจักรที่ ใช้ฟืน และ ใช้น้ำมันเตา โดยฟืนก็ต้องลำเลียงฟืนไปด้วย ส่วนน้ำมันเตา ช่างควบคุมไฟกับพนักงานขับต้องเข้าใจกัน ถ้าคนควบคุมฉีดน้ำมันมาก จะเกิดควันเสียมาก

การเป็นพนักงานขับหัวรถจักรไอน้ำได้ ต้องเป็นคนที่มีความสนใจรายละเอียดค่อนข้างสูง เช่น ต้องเข้าใจระบบการทำงานของหัวรถจักรไอน้ำ ว่าพอเปิดคันบังคับการ เมื่อสร้างไอน้ำ ไอน้ำพวกนี้จะไปอยู่ที่หอส่วนกลางของหัวรถจักร เมื่อเปิดลิ้นช่องที่ถ่ายเทไอน้ำ จะต้องค่อย ๆ ผ่านกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพของไอน้ำ แล้วรถถึงจะเริ่มวิ่งได้ ถ้าคนไม่รู้ พอเปิดลิ้นของไอน้ำแล้ว เห็นรถไม่วิ่ง ยิ่งเปิดกว้างขึ้นอีก พอถึงรอบที่รถจะวิ่งได้ตัวล้อของรถจะดิ้น เหมือนรถออกตัวล้อฟรี ทำให้ “รางรถไฟ” เสียหาย

เส้นทางที่ขับยาก คือ ทางขึ้นเขา ต้องวางแผนล่วงหน้า ต้องมีการควบคุมแรงดันไอน้ำ พนักงานขับต้องมีความเข้าใจกระบวนการสร้างไอน้ำ ไม่ใช่เปิดไอน้ำอย่างเดียว เพราะเมื่อเปิดจนสุดแล้วหัวรถจักรจะวิ่งไม่ได้ ซึ่งด้วยการสร้างไอน้ำใหม่ไม่ใช่เรื่องง่าย พนักงานที่ควบคุมไฟกับพนักงานขับจึงต้องมีความเข้าใจระหว่างกัน ต้องรู้จัก “เลี้ยงไอน้ำ”

การขึ้นทางลาดชัน พนักงานขับต้องมีความเข้าใจว่า ต้องเลี้ยงไอน้ำไว้เท่าไหร่ ถึงจะขึ้นทางนั้น ๆ ได้ ถ้ากะไม่ดี ขึ้นทางลาดชันไปไม่สุด ก็ต้องถอยลงมา เพื่อสร้างแรงส่งใหม่ ต่างจากหัวรถจักรสมัยนี้ที่ถ้าขึ้นไปแล้วติดก็เร่งเครื่องต่อได้

หัวรถจักรไอน้ำแบบโมกุล (C56) ขับยากที่สุด เพราะต้องเตรียมฟืน เดี๋ยวนี้ฟืนที่มีส่วนใหญ่ไม่ใช่ไม้ที่มีความหนาแน่นสูง เลยทำให้การเผาไหม้สร้างพลังงานไม่ค่อยดี โดยตอนนี้ฟืนที่นำมาใช้เป็น “ไม้หมอนรางรถไฟ” ที่ผุแล้ว นำมาผ่าครึ่งเพื่อใช้งาน

เช่นเดียวกับช่างที่โยนฟืนเข้าเตา ถ้าไม่เป็น จะแน่นเตาทำให้การเผาไหม้ไม่ดี ถ้าเก่ง ๆ จะโยนฟืนให้เป็นคอกรูปกากบาท เมื่อการเผาไหม้ดีก็ไม่ต้องเติมฟืนบ่อย และยังมีช่องลม ซึ่งถ้าขี้เถ้าในเตามีมากจนไปอุด การเผาไหม้จะไม่ดีเพราะไม่มีแรงลมดูด

หัวรถจักรไอน้ำแต่ละรุ่นแต่ละแบบที่อนุรักษ์ไว้ มีความคลาสสิกต่างกัน แต่สำหรับแบบโมกุล (C56) ชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น จะชอบหัวรถจักรไอน้ำรุ่นนี้มาก เพราะถือเป็นกำลังหลักในการลำเลียงช่วง “สงครามโลก”

Click on the image for full size

การอนุรักษ์-การดูแลรักษา วิโรจน์ จิตประสพเนตร สารวัตรงานรถจักรธนบุรี โรงรถจักรธนบุรี เล่าว่า หัวรถจักรที่เก็บไว้ตอนนี้มี 5 คัน ผลิตในญี่ปุ่นทั้งหมด โดยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นมีอิทธิพลสูงด้านหัวรถจักรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้หยุดวิ่งหัวรถจักรไอน้ำทั่วประเทศเมื่อปี 2522 ซึ่งหัวรถจักรที่ดูแลรักษาไว้ ตอนนี้ก็มี...

แบบแรก “รถจักรไอน้ำแบบโมกุล (C56)” มี 2 คัน เป็นรถขนาดเล็ก ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง นำเข้ามาในไทยปี 2489 สั่งเข้ามา 46 คัน หัวรถจักรแบบนี้เป็น “รถจักรประวัติศาสตร์” สมัยที่ญี่ปุ่นสร้างทางรถไฟเพื่อจะไปยังเมียนมา สายกาญจนบุรี ขณะที่มีหัวรถจักรบางส่วนได้นำเข้ามาใช้ช่วงหลังสงคราม เนื่องจากญี่ปุ่นนำ “หัวรถจักรไอน้ำ” นี้มาจ่ายแทน “ค่าปฏิกรรมสงคราม”

หัวรถจักรเก่าต้องมีตารางการดูแล หากรถจอดอยู่นิ่ง ๆ ต้องมีการติดเครื่องตามวันที่กำหนด รถทุกคันไม่มีการถ่ายน้ำออก แต่น้ำที่อยู่ในท่อของหัวรถจักรก็จะมีเคมีผสม เพื่อไม่ให้ท่อเกิดการสึกกร่อนเร็ว การดูแลหัวรถจักรต้องให้ความสำคัญทั้งระบบ เช่น เครื่องชักไอน้ำ ที่ต้องใช้น้ำเพื่อจะชักไอเข้าไปภายในหม้อน้ำ ถ้าเอาน้ำเย็นไปเติมในหม้อน้ำที่ยังร้อนจะทำให้ระบบการขับเคลื่อนรถมีความเร็วตกไป ถ้าดูแลไม่ดี จะมีขี้ตะไคร่ไปเกาะ ทำให้เวลาใช้งานไม่สามารถชักน้ำเข้าไปในหม้อน้ำได้

หัวรถจักรไอน้ำเวลาใช้งานจริง ไม่ใช่จะเติมน้ำให้เต็มหม้อน้ำ เพราะจะเปลืองเชื้อเพลิง ต้องกะว่าควรใช้การต้มน้ำปริมาณเท่าไหร่เพื่อให้พอเหมาะกับกำลังที่จะต้องใช้ และยิ่งหัวรถจักรมีความเก่า จะต้มน้ำในปริมาณมากเหมือนเดิมไม่ได้

“สิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลหัวรถจักรไอน้ำ คือ หม้อน้ำ ต้องไม่ให้มีการร้าวหรือรั่ว เพราะเมื่อใช้งานจะมีแรงอัด ถ้าใช้งานไปแล้วหม้อน้ำเกิดแห้งจะเกิดความร้อนจนหม้ออาจระเบิด จึงมีวิศวกรคอยดูแลอย่างใกล้ชิดมากที่สุด”

แบบต่อมา “รถจักรไอน้ำแบบแปซิฟิก” รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ผลิตโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ขนาดรถจะใหญ่ขึ้น ประเทศไทยสั่งรถรุ่นนี้เข้ามาหลังแบบโมกุล (C56) 2 ปี รุ่นนี้มีการสั่งเข้ามา 30 คัน โดยตอนนี้ มีการอนุรักษ์ไว้ 2 คัน มีการปรับแต่งให้ใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง ต่างจากรุ่นก่อนที่ใช้ฟืน หัวรถจักรแบบแปซิฟิกเดิมใช้งานวิ่งไปสายใต้ ช่วงหาดใหญ่ สุไหงโก-ลก เพราะสามารถวิ่งได้ระยะไกลกว่า ไม่ต้องจอดคอยรับฟืนเหมือนรถจักรไอน้ำแบบโมกุล (C56)

อะไหล่ของหัวรถจักรเหล่านี้เลิกผลิตหมดแล้ว จึงต้องใช้จากรถเก่าที่ปลดระวางและจอดโชว์อยู่ที่ต่าง ๆ แต่บางอย่างก็พอหาซื้อได้ เช่นท่อไฟ ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ เป็นท่อที่ไม่มีตะเข็บ แต่ขึ้นรูปของท่อมาทั้งตัวเลย ซึ่งทำให้มีราคาสูง

และรถอีกแบบคือ “รถจักรไอน้ำแบบมิกาโด” รุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนนี้ อนุรักษ์ไว้ 1 คัน นี่ก็ผลิตโดยญี่ปุ่น นำเข้ามาในไทยปีเดียวกับแบบแปซิฟิก โดยเป็นหัวรถจักรใหญ่ที่สุดที่เก็บไว้ มีแรงม้ามากที่สุด เคยสั่งเข้ามาในไทย 70 คัน

การนำ “รถจักรไอน้ำ” ออกงานแต่ละครั้ง ทีมงานที่ขับต้องช่วยกันทำความสะอาดหัวรถจักร ใช้น้ำมันมะพร้าวขัดในส่วนของตัวถังรถให้ขึ้นเงา โดยเฉพาะส่วนที่เป็นทองเหลือง ขณะที่ การดัดแปลงรถที่อนุรักษ์นั้น จะเปลี่ยนทุกอย่างไม่ได้ เช่น “เสียงหวูด” ถ้าดัดแปลงมาก เสียงจะเหมือนรถไฟในปัจจุบัน ซึ่งเสียงหวูดและอีกหลายสิ่งของหัวรถจักรเก่านั้น “มีเอกลักษณ์”

แม้การใช้งาน “หัวรถจักรไอน้ำ-รถจักรไอน้ำ” ปัจจุบันจะนำออกมาใช้วิ่งปีละไม่กี่ครั้งในวันสำคัญต่าง ๆ แต่ก็ยังคง “โดดเด่นด้วยคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์” ทำให้เห็นถึง “ร่องรอยแห่งความทรงจำ...บนรางแห่งประวัติศาสตร์”... ที่มีทั้ง “น้ำตา” และ “รอยยิ้ม”.

ศราวุธ ดีหมื่นไวย์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 27/04/2016 8:42 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณ อ.เอก มากครับสำหรับเกร็ดข้อมูลสำคัญนี้ Razz
Back to top
View user's profile Send private message
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 27/04/2016 7:53 pm    Post subject: Reply with quote

Laughing หลังจากที่นำรถจักรไอน้ำมาวิ่งในวันสำคัญ ผมเคยได้กลับมาย้อนยุค ใช้บริการรถพิเศษด้วยรถจักรไอน้ำ ๒ ครั้ง ครับ
ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากิจการรถไฟ ฯ ผมสังเกตุว่า รถจักรไอน้ำ
ติดตรายี่ห้อ คาวาซากิ น่าจะเรียกว่ารถจักรคาวาซากิ มากกว่ารถจักรแปซิฟิค นะ ครับ

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

ดูจากเนมเพลท จนถึงปีนี้ ๖๖ ปีแล้วนะ ครับ กับรถจักรไอน้ำ หมายเลข ๘๒๔ แต่เรียวแรงยังดีอยู่

Wink คาวาซากิ เป็นชื่อรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อหนึ่งด้วย ปัจจุบัน เลิกผลิตไปแล้ว แต่ยังมีรถเก่า ๆ วิ่งอยู่บ้าง ครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3  Next
Page 2 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©