View previous topic :: View next topic |
Author |
Message |
Mongwin
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/09/2007 Posts: 47045
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา
|
Posted: 19/12/2011 9:52 am Post subject: |
|
|
black_express wrote: | |
ขอนำภาพถ่ายทางอากาศวันที่ 24 ธ.ค. 2495 (เกือบ 60 ปีมาแล้ว) มาเพื่อเปรียบเทียบกับแผนที่ครับ
มุมบนซ้ายของภาพคืออนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
บุคลากรของการรถไฟในยุคก่อน มีความตั้งใจและสนใจประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่งครับ สังเกตได้จากเอกสารครบรอบ 50 ปี 72 ปี ที่พี่ตึ๋งนำมาถ่ายทอดให้ได้ชมกัน
น่าเสียดายที่ระยะหลัง ขาดแคลนบุคคลที่ให้ความสนใจ ผลงานที่ออกมาจึงด้อยคุณภาพลงเป็นอย่างมากครับ (เห็นได้จากหนังสือ 100 ปีรถไฟไทย) แม้แต่รายงานประจำปี ก็สู้ยุคเก่าไม่ได้เลย |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 19/12/2011 11:12 am Post subject: |
|
|
ข้อสังเกตส่วนตัวผม จากสรุปรายงานสมัยก่อน มักจะเป็นแบบร่ายยาว มีภาพประกอบเพียงเล็กน้อยครับ น้อยครั้งมากที่จะมีแผนที่และแผนผังประกอบ เช่น ในโอกาสครบรอบ 50 ปีกรมรถไฟหลวง ซึ่งถือว่าเป็นช่วงครบรอบเวลาสำคัญครับ อ.หม่อง
ส่วนสรุปรายงานสมัยนี้ อาจเนื่องจากระบบการพิมพ์ที่มีสีสัน ทันสมัยขึ้น แต่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมาก มักจะเน้นเรื่องสถิติ รูปภาพ และข้อมูลประกอบมากกว่า
ขอบคุณสำหรับภาพถ่ายทางอากาศประกอบครับ แต่แผนที่บริเวณโรงงานมักกะสันในยุคปัจจุบัน ผมยังไม่ได้ลงในตอนนี้นะครับ (ไม่น่าเชื่อเลยว่า บริเวณทุ่งนาแถวย่านดินแดง แถมยังมีโรงทำปุ๋ยจากขยะของเทศบาลนครกรุงเทพในเวลาต่อมา กลายเป็นชุมชนเมืองไปหมดแล้ว)
Last edited by black_express on 21/12/2011 8:53 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
mozart
3rd Class Pass
Joined: 04/03/2010 Posts: 205
Location: คูคต ปทุมธานี
|
Posted: 19/12/2011 3:47 pm Post subject: |
|
|
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ ได้ดูภาพเก่าๆ แล้วรู้สึกดีจัง _________________
|
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 20/12/2011 9:10 pm Post subject: |
|
|
โรงงานมักกะสัน (2)
การบูรณะโรงงานมักกะสัน
(The Rehabitation of Makkasan Workshop)
ภารกิจอันต้องเร่งกระทำหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสิ่งที่สำคัญและหนักมากสำหรับกรมรถไฟยิ่งกว่าในยุคสมัยใดๆ และโดยเฉพาะโรงงานมักกะสันซึ่งถูกทำลายไปเป็นส่วนมาก จึงต้องรีบบูรณะอาคารโรงงาน เครื่องมือเครื่องจักรกลให้กลับเข้าสภาพใช้การได้ดีอย่างเดิม และบรรดารถจักรและรถพ่วงซึ่งใช้งานอยู่ตามเขต แขวง ได้รับความชำรุดเสียหายหนัก จึงตกเป็นภาระของโรงงานที่จะต้องทำการซ่อมอย่างรีบด่วน เพื่อให้รถออกใช้การบริการประชาชนและหารายได้ต่อไป
ดังนั้น ในปี พ.ศ.2490 ทางกรมรถไฟจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง เพื่อจัดสร้างอาคารและขยายโรงงานมักกะสัน อันประกอบด้วย
1. หลวงวิฑูรวิธีกล วิศวกรใหญ่ฝ่ายการช่างกล เป็นประธานกรรมการ
2. หลวงประสิทธิกลมัย วิศวกรหัวหน้ากองไฟฟ้า เป็นกรรมการ
3. หลวงสุขวัฒน์สุนทร วิศวกรหัวหน้ากองแบบแผน เป็นกรรมการ
4. นายอาชว์ กุญชร ณ อยุธยา วิศวกรหัวหน้ากองโรงงาน เป็นกรรมการ
5. หลวงพิศาลมารควิทูร วิศวกรบำรุงทางหัวหน้าเขต 1 เป็นกรรมการ
คณะกรรมการได้ร่วมประชุมกันหลายครั้ง ประธานกรรมการจึงได้เสนอแผนผังรูปโครง (General Layout) ของโรงงานมักกะสันที่จะบูรณะใหม่นี้ขึ้น มีรายละเอียด รูปลักษณะอาคารและการติดตั้งเครื่องจักรกลประจำแต่ละโรง สำหรับจำนวนเงินที่จะสร้าง ก็จะได้เสนอขอเจรจาทาบทามจากกระทรวงการคลังต่อไป
การกู้เงินธนาคารโลกครั้งที่ 1 เพื่อโครงการบูรณะรถไฟ
เนื่องจากวงเงินที่จะใช้ในการซ่อมบูรณะและฟื้นฟูกิจการรถไฟในหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ จะต้องใช้เงินจำนวนมาก เพราะกรมรถไฟฯ ได้ประสบความเสียหายอย่างหนักที่สุด จึงเพื่อให้ฟื้นฟูกิจการให้กลับสู่สภาพเดิมโดยรีบด่วน รัฐบาลไทยได้เปิดการเจรจากู้เงินจากธนาคารโลกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2493
การเจรจาเป็นผลสำเร็จภายในวงเงิน 3,000,000 เหรียญอเมริกัน ทำสัญญากู้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2493 และในเงินจำนวนนี้ ได้นำมาใช้สำหรับบูรณะโรงงานมักกะสัน 1,800,000 เหรียญอเมริกัน เพื่อการจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือกลจากต่างประเทศ
การบูรณะโรงงานมักกะสันหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเรื่องที่ธนาคารโลกถือว่าสำคัญอย่างยิ่งและจะต้องจัดทำโดยเร็ว เพื่อจะได้ซ่อมรถจักร รถโดยสาร และรถสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการ
ในการดำเนินการนี้ ธนาคารโลกได้แนะนำให้กรมรถไฟฯ ดำเนินการสอบราคาว่าจ้างบริษัทที่มีวิศวกรชำนาญในงานแขนงนี้มาสำรวจ ออกแบบวางผังอาคารโรงงาน ตลอดจนกำหนดชนิดและขนาดของเครื่องจักร เครื่องมือกล และที่ตั้งของเครื่องดังกล่าวให้ถูกต้องตามหลักวิชา และแนวปฏิบัติงานแบบใหม่ ในที่สุดโดยคำแนะนำและเห็นชอบด้วยของธนาคารโลก ได้ตกลงจ้างบริษัท De Leuw , Carther & Company (Engineers) Chicago ., USA. เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2493
บริษัท De Leuw , Carther & Co. ได้ส่งวิศวกรมาสำรวจที่โรงงานมักกะสัน 2 นาย คือ Mr. T.C. Fredrick , Chief Engineer และ Mr. H.A. Watson , Chief Mechanical Engineer. ใช้เวลา 23 วัน ในการสำรวจสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1) สำรวจจำนวนรถจักรและล้อเลื่อน
2) ศึกษากระบวนการซ่อมและบำรุงรักษารถเหล่านั้น
3) สำรวจเครื่องจักร เครื่องมือกล ในโรงต่างๆ ที่มีอยู่
4) ความสามารถทำงานของโรงงานต่างๆ
5) ขนาดของโรงและย่านจอดรถ
เนื่องจากเมื่อ พ.ศ.2492 วิศวกรรถไฟไทย ได้วาง General Layout ของโรงงานมักกะสัน และรายงานสภาพของโรงต่างๆ ที่เหลืออยู่เมื่อหลังสงครามโลก ตลอดจนได้กำหนดวางแผนสำหรับสร้างโรงใหม่ ย่านจอดรถตลอดจนเครื่องมือกลที่จำเป็นสำหรับโรงงานนั้นไว้แล้ว ซึ่งรายงานดังกล่าวนี้ ได้ใช้เป็นหลักแก่วิศวกรของบริษัท De Leuw , Carther & Co. บริษัทได้กำหนดแผนโรงงานมักกะสันให้เป็นไปตามระบบของรถไฟอเมริกัน กล่าวคือ การซ่อม และบำรุงรักษารถจักรและล้อเลื่อน กับการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้เพื่อป้อนให้แก่โรงซ่อมตลอดจนเครื่องจักรเครื่องมือกลที่จำเป็นให้รวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้สะดวกง่ายที่สุดสำหรับระบบการขนส่งภายใน
Last edited by black_express on 26/12/2011 9:18 am; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 20/12/2011 9:17 pm Post subject: |
|
|
ในปี พ.ศ.2494 บริษัท De Leuw , Carther & Co. ได้วางผังสำหรับการก่อสร้างอาคารต่างๆ ภายในบริเวณโรงงาน เพื่อให้สามารถทำการซ่อมรถจักรและล้อเลื่อนต่างๆ ได้ต่อปี ดังนี้ คือ
รถจักรไอน้ำ 120 คัน
รถจักรดีเซล 36 คัน
รถโดยสาร 300 คัน
รถสินค้า 3,000 คัน
และกำหนดให้มีการก่อสร้างอาคารต่างๆ ขึ้นใหม่ทั้งหมด 15 อาคาร เป็นจำพวกโรงซ่อมและบำรุงรักษาพวกหนึ่ง และโรงผลิตอุปกรณ์อีกพวกหนึ่ง ในเนื้อที่รวม 58,226 ตารางเมตร ประมาณค่าก่อสร้างอาคาร 3,538,000 US $ และกำหนดวงเงินสำหรับซื้อเครื่องมือกลประจำโรงและอุปกรณ์ต่างๆ ประมาณ 2,462,000 US $ โดยจะนำเงินกู้จากธนาคารโลก 1,800,000 US $ มาใช้จ่ายในการนี้ ส่วนที่เหลือเป็นเงินที่จะต้องสมทบจากการรถไฟฯ
อาคารที่กำหนดให้ก่อสร้างขึ้นใหม่ ในด้านซ่อมและบำรุงรักษา (Repair & Maintenance Shops) รวม 6 โรง คือ โรงซ่อมรถจักรดีเซล โรงซ่อมรถจักรไอน้ำ (รวมโรงซ่อมหม้อน้ำและรถลำเลียง) โรงล้อ โรงซ่อมรถโดยสาร โรงซ่อมรถบรรทุก 1 โรงซ่อมรถบรรทุก 2 และในด้านเกี่ยวกับผลิต (Manufacturing Shops) มี 9 โรง คือ โรงเครื่องมือกลผลิต โรงเบ็ดเตล็ด โรงเหล็ก โรงแบตเตอรี โรงผลิตสี โรงหล่อ โรงกระสวน โรงฟื้นของเก่าและโรงทองเหลือง (รวมโรงเชื่อม)
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ออกแบบวางผังให้โรงซ่อมทุกโรงอยู่ติดกับถนนประธานของโรงงานที่จะเข้าไปสู่ย่านจอดรถ ส่วนกลุ่มโรงผลิตให้อยู่ใกล้หน่วยโรงซ่อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสะดวกแก่การขนอุปกรณ์ให้โรงซ่อม นอกจากนั้น บริษัทฯ ได้กำหนดย่านคลังเก็บพัสดุให้อยู่ในที่ๆ เคยกำหนดเดิมเป็นโรงล้อ และกำหนดสถานที่ตึกอำนวยการ โรงอาหาร และตึกประชุม
Last edited by black_express on 21/12/2011 8:39 am; edited 1 time in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 20/12/2011 9:23 pm Post subject: |
|
|
ในปี พ.ศ.2494 นี้เอง ขณะที่โรงงานมักกะสันกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของบริษัท De Leuw Carther & Co. การรถไฟฯ ก็ได้รับความช่วยเหลือจาก Economic Cooperation Administration (E.C.A.) ของสหรัฐอเมริกา โดยส่ง Mr. E.R.Ewin วิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาร่วมงานบูรณะโรงงานกับวิศวกรของการรถไฟฯ ทางด้านโรงงานมักกะสันเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2494
ท่านผู้นี้ได้ร่วมมือให้ความช่วยเหลือแก่กิจการโรงงานอย่างจริงใจ และได้พิจารณาให้ได้รับความช่วยเหลือทางด้านวัสดุเพื่อใช้ในการซ่อมหลายประการ อาทิเช่น ถ่านโค้ก 400 ตัน ล้อพร้อมเพลา 1,000 ชุด หมุดย้ำ เหล็กฉาก เหล็กแผ่นต่างๆ เหล็กรั้งในหม้อน้ำ (Boiler Stays) เหล็กท่อน เหล็กร่องและท่อต่างๆ ตลอดจนอะไหล่สำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร รวมเป็นเงิน 893,524 US $
ในระยะต่อมา E.C.A. ได้ส่งวิศวกรมาช่วยเหลืออีกผู้หนึ่ง คือ Mr.J.J. Daughherty แต่ท่านผู้นี้ได้มาช่วยปฏิบัติงานในโรงงานมักกะสันเพียงระยะสั้น คือตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2494 ถึงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2494
ในการพิจารณาโครงการบูรณะโรงงานของบริษัท De Leuw , Carther & Co. การรถไฟฯ ได้พิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยวิศวกรของการรถไฟฯ เอง ได้เห็นว่า หากจะดำเนินการตามข้อเสนอของบริษัททั้งหมดแล้ว ย่อมจะต้องใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่จะหางบประมาณมาให้ได้ เพราะจะต้องรื้อโรงเก่าซึ่งถึงแม้จะถูกทำลายเสียหายจากการสงคราม เช่น โรงซ่อมรถโดยสาร และโรงซ่อมรถสินค้า แต่ก็ยังพอซ่อมบูรณะดัดแปลงแก้ไขเสียใหม่ได้
จึงการรถไฟฯ โดยวิศวกรหัวหน้ากองโรงงาน และวิศวกรผู้เชี่ยวชาญจาก E.C.A. แห่งสหรัฐอเมริกา คือ Mr. Earl R. Ewin ได้ร่วมกันพิจารณาแก้ไขแผนผังซึ่งเคยเสนอโดยบริษัท De Leuw Carther & Co. นั้นใหม่ มาเป็นดังที่เห็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้
โดยเฉพาะการวางผังภายในโรงและขนาดของโรง เช่น โรงซ่อมรถจักรดีเซล โรงล้อ โรงหล่อ และโรงกระสวน โรงหม้อน้ำ เป็นต้น Mr. Earl R. Ewin เป็นผู้จัดดำเนินการ โดยความเห็นชอบของวิศวกรหัวหน้ากองโรงงาน นายอาชว์ กุญชร ณ อยุธยา โดยตรง ซึ่งต่อมาทางการรถไฟฯ ได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวิศวกรอำนวยการแผนงานบูรณะโรงงานมักกะสันด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง
ซึ่งการรถไฟฯ ก็ได้เสนอแผนงานแก้ไขนี้ต่อธนาคารโลก และก็ได้รับความเห็นชอบด้วยดี ในปี พ.ศ.2495 นั้น โดยธนาคารโลก ได้ส่งคณะวิศวกรอันมี Mr. Marshall และ Mr. Watson มาร่วมพิจารณาที่กรุงเทพฯ ด้วย
ในปีเดียวกันนี้ การรถไฟฯ ได้รับความช่วยเหลือจากองค์การส่งเสริมความมั่นคงร่วมกันแห่งสหรัฐอเมริกา (Matual Security Agency M.S.A.) (E.C.A. เดิม) ส่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซลขนาด 500 KW. 2 เครื่อง เพื่อติดตั้งในโรงกำเนิดไฟฟ้ากำลัง นอกจากนี้ ได้ส่งวิศวกรของโรงงานมักกะสัน 2 คน และเจ้าหน้าที่ของการรถไฟฯ สาขาอื่นๆ อีกหลายคน ไปศึกษาและดูงานที่สหรัฐอเมริกาคนละ 1 ปีด้วย
Last edited by black_express on 20/12/2011 10:11 pm; edited 2 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 20/12/2011 9:31 pm Post subject: |
|
|
การก่อสร้างอาคารใหม่ของโรงงานมักกะสัน
งานขั้นแรกได้แก่การก่อสร้างโรงไฟฟ้าต้นกำเนิดกำลังซึ่ง Mr. Earl R. Ewin ผู้เชี่ยวชาญของ MSA. เป็นผู้ออกแบบวางผัง ส่วนตัวอาคารและแบบก่อสร้างคงเป็นวิศวกรฝ่ายโยธาของการรถไฟฯ ซึ่งได้เริ่มลงมือก่อสร้างในปลายปี พ.ศ.2494 และได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเครื่องละ 500 กิโลวัตต์ ที่ MSA. มอบให้ 2 เครื่อง
ซึ่งต่อมาภายหลัง การรถไฟฯ ได้จัดซื้อเครื่องขนาดเดียวกันอีก 1 เครื่อง รวมเป็น 3 เครื่องด้วยกัน ติดตั้งที่โรงไฟฟ้ากำลังนี้ เพื่อจะได้นำพลังกระแสไฟฟ้าป้อนเครื่องจักรกลต่างๆ ของโรงงานมักกะสัน และได้ช่วยจ่ายกระแสไฟฟ้ากำลังนี้ให้แก่การไฟฟ้าสามเสนด้วยในเวลากลางคืน
ในโรงไฟฟ้ากำลังนี้ ได้ติดตั้งเครื่องทำลมอัดขนาด 1,000 Cubic foot/min. ที่ซื้อมาใหม่และเครื่องทำลมอัดของเดิมขนาด 500 Cubic foot/min. ได้ย้ายมาจากโรงซ่อมรถจักรไอน้ำ เพื่อรวมกันทำลมอัดจ่ายทั่วทั้งโรงงาน
ได้สร้างถังเก็บน้ำคอนกรีตขนาดจุ 250 ลบ.ม. และติดตั้งสูบน้ำขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 500 Gallon/min. และภายในโรงไฟฟ้าของโรงงานนี้ ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำสำหรับใช้ในการดับเพลิง 2 เครื่อง ขนาดเครื่องละ 500 Gallon/min. เครื่องหนึ่ง ใช้แรงหมุนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และอีกเครื่องหนึ่ง ใช้เครื่องยนต์เบนซิน
โรงกำเนิดกำลังไฟฟ้านี้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2494 และได้ทำพิธีเปิดดำเนินการเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ.2495
อาคารโรงซ่อมและผลิตอุปกรณ์ที่ได้ดำเนินการก่อสร้างตามแบบแผนเป็นไปตามลำดับดังนี้คือ โรงฟื้นของเก่า โรงเบ็ดเตล็ด โรงล้อ โรงซ่อมรถจักรดีเซล โรงซ่อมรถโดยสาร และเครื่องมือกลรถโดยสาร โรงซ่อมรถบรรทุก 1 และ 2 และเครื่องมือกลรถบรรทุก โรงหล่อและกระสวน โรงช่างไม้รวมกับโรงเลื่อย และโรงบุหนัง เนื่องจากอาคารโรงใหม่เหล่านี้ดำเนินการก่อสร้างได้โดยไม่ต้องรอการรื้อถอนโรงเก่าออก
โรงต่างๆ ดังกล่าวนี้สร้างเสร็จในปลายปี พ.ศ.2497 และติดตั้งเครื่องจักรเครื่องมือกลที่ได้จัดซื้อมาใหม่ เข้าประจำแต่ละโรงที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว
สำหรับโรงอื่นๆ ที่เหลืออยู่ เป็นโรงเก่าที่รื้อเพื่อสร้างใหม่และบางโรงก็บูรณะใหม่ให้ดีขึ้น โรงต่างๆ นี้ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อต้นปี พ.ศ.2500 รวมทั้งได้ติดตั้งเครื่องจักรเครื่องมือกลในโรงเหล่านี้ด้วย
Last edited by black_express on 21/12/2011 8:41 am; edited 3 times in total |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 20/12/2011 9:42 pm Post subject: |
|
|
ค่าใช้จ่ายในการบูรณะโรงงานมักกะสัน
การบูรณะโรงงานมักกะสันโดยใช้เงินกู้ของธนาคารโลก และได้เริ่มต้นก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2494 เป็นต้นมาดังได้กล่าวไว้แล้วนั้น เป็นจำนวนเงิน ดังนี้
1. เงินกู้ธนาคารโลก ครั้งที่ 1 จำนวน 1,800,000 US $ เฉพาะการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือกล
2. เงินสมทบจากการรถไฟฯ ตั้งแต่เริ่มจนการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวนประมาณ 84,400,000 บาท
3. อุปกรณ์และเครื่องมือกลที่ได้รับความช่วยเหลือจาก ECA. MSA. และ FOA. (ซึ่งเป็นองค์การเดียวกัน) เป็นเงินงบประมาณ 1,000,000 US $ (ทั้งนี้มิได้รวมถึงทุนที่ได้รับจาก MAS. ให้วิศวกรและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของการรถไฟฯ ไปดูงานและศึกษางานที่สหรัฐอเมริกา)
สภาพโรงงานมักกะสันภายหลังการบูรณะเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ.2500 บริเวณภายในโรงงานมักกะสัน เมื่อการบูรณะโรงงานแล้วเสร็จ มีเนื้อที่ดังนี้
ความยาว จากทิศตะวันออก (ตั้งแต่ลำคลองสามเสน) จดทิศตะวันตก (ถนนราชปรารภ) ระยะ 2.4 กม.
ความกว้าง จากทิศเหนือ ทิศใต้ ระยะโดยเฉลี่ย 280 เมตร
ฉะนั้น เป็นเนื้อที่ของโรงงานมักกะสันทั้งหมด 672,000 ตารางเมตร หรือ 420 ไร่ ประกอบด้วยย่าน (Track yard) เนื้อที่ 280,000 ตารางเมตร และเขตโรงงานซ่อม (รวมถนนและทางเท้า ลานเก็บวัสดุสิ่งของ ฯลฯ) เนื้อที่ 392,000 ตารางเมตร อาคารตึกและโรงซ่อมต่างๆ พร้อมค่าก่อสร้างแต่ละอาคารปรากฎในบัญชีแนบ
นอกจากนั้น ยังได้จัดสร้างสิ่งที่จำเป็นต่างๆ อาทิเช่น วางรางในย่าน วางข้างในและภายในโรงสร้าง บ่อสะพานเลื่อนระหว่างโรงต่อโรง สร้างถนน ลานเก็บล้อ ลานเก็บสิ่งของต่างๆ ภายนอกโรงซ่อม เช่น ถ่าน เหล็กถลุง เศษเหล็ก (Scrap) สร้างถังน้ำ วางท่อน้ำใช้ และน้ำบริโภค ท่อลมอัด (Compressed Air) ทางระบายน้ำ โรงสูบน้ำ และโรงฝึกงานสำหรับนักเรียนช่างฝีมือ ตลอดจนสุขาได้จัดให้มีตามแบบใหม่ทั้งสิ้น
สำหรับในด้านการจัดหาเครื่องมือกลและเครื่องใช้ที่จำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและให้ได้ผลงานตามที่กำหนด ปรากฎมีจำนวนเครื่องต่างๆ ที่ได้จัดซื้อเพิ่มเติมและแทนเครื่องที่ชำรุดและเครื่องที่มีอายุใช้การนานแล้ว ไปติดตั้งและใช้ตามโรงซ่อมและโรงผลิตต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1. เครื่องมือกลชนิดและขนาดต่างๆ จำนวน 216 เครื่อง
2. เครื่องมือกลประเภทเคลื่อนที่ได้ จำนวน 67 เครื่อง
3. เครื่องมือกลพิเศษ เช่น เครื่องตรวจและเครื่องที่ใช้เฉพาะงาน จำนวน 50 เครื่อง
4. เครื่องมือกลทุ่นแรง เช่น Fork Lift Truck Elevator และ Conveyor จำนวน 27 เครื่อง
5. เครื่องยกและสะพานเลื่อน Hoist Crane และ Traverser จำนวน 48 เครื่อง
ความสามารถในการซ่อมรถจักรและล้อเลื่อนหลังจากบูรณะโรงงานมักกะสันแล้ว สูงกว่าเดิมหลายเท่าตัว ดังปรากฎผลเฉพาะการซ่อมหนักรถจักรและรถพ่วงเมื่อ พ.ศ.2501 มีดังนี้
ก) รถจักรไอน้ำ เดือนละ 10 คัน เดิมซ่อมได้ 4-5 คัน
ข) รถจักรดีเซลไฟฟ้า เดือนละ 5 คัน เดิมซ่อมได้ 1 คัน
ค) รถโดยสาร เดือนละ 25 คัน เดิมซ่อมได้ 8-10 คัน
ง) รถบรรทุก เดือนละ 200 คัน เดิมซ่อมได้ 50 คัน |
|
Back to top |
|
|
black_express
1st Class Pass (Air)
Joined: 24/03/2006 Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ
|
Posted: 20/12/2011 9:54 pm Post subject: |
|
|
โรงงานมักกะสันในยุคปัจจุบัน
ภายในอาณาเขตของโรงงานที่มีเนื้อที่ 435 ไร่ ในปัจจุบันได้ก้าวหน้าในด้านกิจการซ่อมรถจักรและล้อเลื่อน (และได้เริ่มงานสร้างล้อเลื่อนในปี 2510) ตลอดจนทำการผลิตเครื่องประกอบและอุปกรณ์นานาชนิดของรถดังกล่าว นับได้ว่าเป็นโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่ใหญ่มากแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีเครื่องจักรและเครื่องมือกลที่ทันสมัยติดตั้งตามโรงต่างๆ มีผู้ปฏิบัติงานจำนวนมาก และสามารถดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของกองลากเลื่อน ฝ่ายการช่างกล ฝ่ายการเดินรถ และฝ่ายอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภายหลังจากที่การบูรณะโรงงานมักกะสันได้เสร็จสิ้นแล้ว กองลากเลื่อนได้จัดตั้งโรงงานซ่อมในส่วนภูมิภาคขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระในการซ่อมจากโรงงานมักกะสัน ปัจจุบันนี้ โรงงานทั้ง 3 แห่งในส่วนภูมิภาค คือที่ ทุ่งสง นครราชสีมา และอุตรดิตถ์ สามารถดำเนินการซ่อมบางประเภทให้แก่รถจักรและล้อเลื่อนได้ เป็นการช่วยภาระในการซ่อมรถของโรงงานมักกะสันได้มาก
ในปัจจุบัน ทางโรงงานมักกะสันสามารถดำเนินการซ่อม ประกอบ ดัดแปลง รถจักรและล้อเลื่อน ได้ดังนี้คือ
รถจักรไอน้ำ ประมาณ 65 คัน/ปี
รถจักรดีเซล ประมาณ 265 คัน/ปี
รถโดยสาร ประมาณ 350 คัน/ปี
รถสินค้า ประมาณ 2,500 คัน/ปี
ในเวลาเดียวกันนี้ โรงงานมักกะสันได้พัฒนากิจการภายในไปแล้ว ดังนี้
1) เพิ่มโรงศูนย์เครื่องมือการกล ให้เป็นที่รวมของการผลิตและการซ่อมเกี่ยวกับเครื่องมือตัด (Cutting Tools) โดยจัดตั้งโรงนี้ที่โรงฟื้นของเก่า และโยกย้ายโรงฟื้นของเก่า ไปแบ่งเขตจากโรงเหล็ก 2 ซึ่งเป็นอาคารชั่วคราว และพร้อมกันนั้น ได้จัดหาและติดตั้งเครื่องมือกลที่จำเป็นต่างๆ ให้แก่ศูนย์เครื่องมือการกลนี้ เพื่อให้ดำเนินการไปตามสมตามความมุ่งหมาย
2) จัดตั้งศูนย์บริการขนส่ง (Centralized Transportation System) เป็นหน่วยขนส่งของเพื่อรับใช้ทั่วทั้งโรงงาน เพื่อมิให้เสียเวลาของการขนส่งของแต่ละโรงและการขนส่งของได้เป็นไปโดยไม่สับสน และสามารถวิ่งตามเส้นทางจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง อย่างมีระเบียบ
3) ปรับปรุงและวางระเบียบในการใช้ประโยชน์เครื่องมือกล เพื่อที่จะพัฒนาให้เครื่องมือกลมีประสิทธิภาพใช้งานเหมาะสมกับประเภทและรักษาคุณภาพของผลผลิต รวมทั้งปรับปรุงในแง่ Economic Justification
4) ปรับปรุงการงานของโรงหล่อและกระสวน เช่น ปรับปรุงการผลิตแท่งห้ามล้อให้เพียงพอแก่การใช้งานของกองลากเลื่อนและให้มีคุณภาพสูง ทั้งนี้ ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการหล่อโดยเฉพาะ ซึ่งองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเซีย (APO) อันเป็นองค์การที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอยู่ ได้ให้ความช่วยเหลือส่ง Mr. Koichiro Tarao วิศวกรผู้เชี่ยวชาญงานหล่อของการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น มาให้การแนะนำ ซึ่งนับว่าได้ผลเป็นที่พอใจมาก
จึงในระหว่างปี พ.ศ.2504-2509 ได้ตั้งงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องมือกลสำหรับหล่อแท่งห้ามล้อในระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ผลผลิตแท่งห้ามล้อเพียงพอกับปริมาณใช้งานของล้อเลื่อน และความเร็วของขบวนที่เพิ่มขึ้น ตามแผนพัฒนาของการรถไฟฯ และได้จัดส่งพนักงานไปศึกษาดูงานในด้านนี้โดยเฉพาะ จากผลการประกวดในการจัดซื้อส่งของตามระเบียบของการรถไฟฯ ได้ตกลงซื้อเครื่องมือกลดังกล่าวส่วนหนึ่งและติดตั้งเสร็จใช้การได้สมบูรณ์เมื่อ 21 มกราคม 2512 แล้ว นับว่าเป็นเครื่องมือกลผลิตที่ทันสมัยที่สุดของโรงหล่อในปัจจุบัน
5) ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการซ่อมและผลิตแหนบรับน้ำหนักของรถบรรทุกสินค้า เนื่องจากผลงานของการซ่อมและผลิตแต่ก่อนๆ ยังอยู่ในระดับต่ำ อายุใช้งานค่อนข้างสั้น จึงต้องส่งเข้ามารับการซ่อมในเวลาอันรวดเร็วเกินควร โรงงานมักกะสันจึงต้องปรับปรุงอุปกรณ์ในการผลิตที่มีอยู่เดิม และสร้างอุปกรณ์เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งแก้ไขวิธีการ (Process) ของงานนี้ ทำให้สามารถผลิตแหนบได้เพียงพอแก่การใช้ ประหยัดกว่าจัดซื้อจากภายนอก
6) เริ่มการผลิตอุปกรณ์เครื่องยาง เนื่องจากการจัดซื้อยางสำเร็จรูปจากภายนอกนั้น นอกจากมีราคาสูงแล้ว คุณภาพยังไม่ใคร่สม่ำเสมอ ฉะนั้น จึงได้ทดลองผลิตเครื่องยางใช้เอง โดยค้นคว้าวิธีผสมยาง รีดยาง เพื่อปรับปรุงผลิตอุปกรณ์เครื่องยางที่ใช้กับรถจักรและล้อเลื่อนได้โดยไม่ต้องพึ่งโรงงานเอกชนภายนอก
ในการนี้ โรงงานได้ว่าจ้างผู้ชำนาญงานยาง และผสมยางไว้เพื่อดำเนินงาน และแนะนำให้ผู้ปฏิบัติงานของโรงงาน ได้รับความรู้และความชำนาญงาน การผลิตอุปกรณ์เครื่องยางนี้ ดำเนินการอยู่ในโรงฟื้นของเก่า และในระหว่างนี้ อยู่ในระหว่างการดำเนินงานเพื่อก่อสร้างอาคารโรงผลิตยางและพลาสติก โดยเฉพาะต่างหากแล้ว
..................
(จบตอนที่ 2) |
|
Back to top |
|
|
Oonza
3rd Class Pass (Air)
Joined: 02/12/2008 Posts: 379
Location: ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
|
Posted: 20/12/2011 10:45 pm Post subject: |
|
|
รอรับชมต่อครับ พี่ตึ๋ง ไม่นึกเลยว่าเมื่อก่อน โรงงานมักกะสันยิ่งใหญ่ขนาดนี้ สามารถสร้าง ซ่อม บำรุงรักษาล้อเลื่อนได้เก่งขนาดนี้ เสียดายที่ตอนนี้ความสามารถนี้เริ่มลดลง _________________ ว่าที่เรืออากาศตรีอ้นซ่า....
|
|
Back to top |
|
|
|