RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181582
ทั้งหมด:13492820
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - แผนที่ทางหลวงประเทศไทย (ฉบับเก่าๆ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

แผนที่ทางหลวงประเทศไทย (ฉบับเก่าๆ)
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 27, 28, 29  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> พักผ่อนหย่อนใจ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 28/12/2011 9:11 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณทั้ง อ.หม่อง และคุณ sakkosol ที่ค้นภาพมาร่วมแจมครับ Razz

สำหรับเส้นทางช่วงชุมพร - ระนอง สมัยที่ผมเดินทางไปเที่ยวภูเก็ต ราวช่วงปี 2515 สะพานบนเส้นทางได้ปรับเปลี่ยนเป็นเส้นทาง คสล.หมดแล้ว ยกเว้นสะพาน คสล.เก่าที่ยังแข็งแรงอยู่ จะไม่เปลี่ยนแปลง และยังทันเห็นสะพาน คสล.เดิม ที่ข้ามแม่น้ำปากจั่น ที่ อ.ละอุ่น จ.ระนอง ด้วย (ตอนนี้คงถูกรื้อทิ้งไปแล้ว)

มาแปลกตาในช่วงหลัง ที่เห็นภาพสะพาน คสล.ใหม่ สร้างแทนสะพานเดิมที่น้ำตกปุญญบาล

สำหรับเส้นทางสายพังงา - ทับปุด - อ่าวลึก ผมยังไม่เคยเห็นครับ อ้อ... เส้นทางเดิมลักษณะนี้จะมีให้เห็นอีกช่วงหนึ่ง คือทางหลวงหมายเลข 403 ช่วง ทุ่งสง - ช่องเขา ที่ยังเป็นลักษณะเดิม ในขณะที่เส้นทางช่วงช่องเขา - ร่อนพิบูลย์ ถูกแนวเส้นทางสายเอเซีย หมายเลข 41 ตัดทับไปจนถึงช่วงทางแยกเข้าเมืองนครศรีธรรมราช
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 28/12/2011 10:14 am    Post subject: Reply with quote

มาขึ้นเส้นทางในภาคเหนือกันก่อน

Click on the image for full size

เริ่มจากภาคเหนือตอนล่างครับ เส้นทางสายหลักของภาคเหนือตอนล่าง นอกจากถนนพหลโยธิน ช่วงผ่าน จ.ตาก แล้ว เห็นจะไม่พ้นถนนจรดวิถีถ่อง ระหว่าง จ.ตาก - จ.สุโขทัย - อ.สวรรคโลก และถนนมิตรภาพ (สายที่ 2) ระหว่าง จ.พิษณุโลก - อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ นอกจากนั้นจะเป็นเส้นทางสั้นๆ จาก อ.ศรีสัชนาลัย ไป จ.อุตรดิตถ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเมืองปิดทางรถยนต์ในขณะนั้น ชาวอุตรดิตถ์ จึงนิยมขึ้นรถไฟ ไม่แพ้ชาวพิษณุโลก และชาวพิจิตร

เส้นทางที่ออกจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ ที่ไกลที่สุด เห็นจะเป็นเส้นทางไป อ.ท่าปลา และ อ.น้ำปาด แต่ทว่า ที่ตั้งตัวอำเภอท่าปลาในแผนที่นั้น ยังไม่ได้ย้ายจากริมแม่น้ำน่านมาอยู่ในนิคมสร้างตนเองลำน้ำน่าน เพราะเขื่อนผาซ่อม (เขื่อนสิริกิติ์) อยู่ระหว่างการก่อสร้างครับ

อีกสายหนึ่งที่น่าสนใจคือทางหลวงหมายเลข 7 ช่วง อ.ศรีสัชนาลัย - อ.เด่นชัย ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นถนนลงหิน อันเป็นที่เข็ดขามของนักขับรถยนต์ต่างถิ่น ที่พลัดเข้ามาสู่ถนนสายนี้ จนเกือบเป็นถนนร้างโดยปริยาย Razz

แถมปั๊มน้ำมันกลางทาง ก็ไม่ได้มีเกลื่อนกลาดเหมือนทุกวันนี้ด้วยสิ จะไปไหนมาไหนต้องเติมน้ำมันให้เต็มถังก่อน ไม่งั้นคงกินข้าวลิงในป่าแน่ๆ ครับ

Click on the image for full size

สำหรับเส้นทางหลวงในภาคเหนือตอนบนจะเห็นว่า มีเส้นทางลาดยางเพียงไม่กี่สาย เช่น ถนนยันตรกิจโกศล ระหว่าง อ.เด่นชัย - แพร่ - น่าน ถนนพหลโยธินช่วง ลำปาง - งาว และช่วง พะเยา - เชียงราย (แต่ยังเป็นถนนลาดฝุ่นอยู่หลายช่วง) และเส้นทางหลวงหมายเลข 3 จาก อ.เถิน - ลี้ - ป่าซาง - ลำพูน - เชียงใหม่ (แต่ลาดยางจริงๆ เห็นจะเป็นช่วง อ.ป่าซาง - เชียงใหม่ ครับ) และอีกเส้นทางหนึ่ง ที่เป็นเส้นทางลาดยางตลอดสายคือ ถนนโชตนา ระหว่างเชียงใหม่ ถึง อ.ฝาง

ส่วน จ.แม่ฮ่องสอนนั้น ทราบว่า ทางสำนักงาน รพช.กำลังก่อสร้างเส้นทางสายแม่มาลัย ส่วนเส้นทางสาย อ.แม่สะเรียง นั้น ยังอยู่ระหว่างก่อสร้างไปเรื่อยๆ โดยกรมทางหลวง ตามกำลังงบประมาณในแต่ละปี จนกว่าจะลาดยางครบตลอดสาย

นอกนั้น ยังเป็นเส้นทางลงหิน ราดฝุ่นแทบทั้งหมด และทางหลวงระหว่างลำปาง - เชียงใหม่ อยู่ระหว่างก่อสร้าง ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ครับ

ที่น่าสนใจอีกเส้นทางหนึ่ง คือเส้นทางยุทธศาสตร์สายเชียงราย - เทิง - เชียงของ ซึ่งก่อสร้างโดยบริษัทผู้สร้างถนนมิตรภาพ มารับงานนี้สร้างเป็นถนนผิวจราจรราบเรียบ แต่เป็นทางลูกรังตลอดสายครับ ทำเอาผู้โดยสารที่เดินทางไปมาต้องเป็นฝรั่งหัวแดงนับสิบปี ก่อนที่จะเป็นเส้นทางลาดยางในทุกวันนี้

แถมอีกนิด ใครที่จะไปยัง อ.ดอกคำใต้ ในสมัยนั้น เส้นทางระหว่างพะเยา - ดอกคำใต้ - จุน - เชียงคำ - เทิง ยังเป็นเส้นทางลูกรังเช่นกัน ทำให้ผมแทบไม่เชื่อสายตาตัวเองที่ชุมชน อ.ดอกคำใต้ อันแสนจะแห้งแล้งสมัยก่อน ในปัจจุบันกลายเป็นชุมชนหนาแน่นระดับเทศบาลเมืองไปแล้ว พอๆ กับทางหลวงช่วงดังกล่าวกลายเป็นทางลาดยางแอสฟัลติกราบเรียบกว้างขวางขนาดสี่ช่องทางทีเดียว

แล้วค่อยมาต่อเส้นทางช่วงภาคอีสานนะครับ...


Last edited by black_express on 28/12/2011 10:11 pm; edited 4 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
sakkosol
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 06/12/2007
Posts: 58
Location: บ้านบางเนียง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา

PostPosted: 28/12/2011 10:15 am    Post subject: Reply with quote

ขออนุญาตนำคลิปวิดีโอที่ผมเคยถ่ายเส้นทางช่วงเขานางหงส์ เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วมาให้ชมครับ



จะเห็นถึงสภาพถนนที่ค่อนข้างแคบ ไม่มีไหล่ทาง ถ้ารถเสียทีนี่ ไม่อยากจะคิดเลยครับ Rolling Eyes
_________________
พ่อน้องต้นข้าวครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website MSN Messenger
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 28/12/2011 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

ถนนแบบนี้ล่ะครับ ที่เข้าลักษณะทางหลวงแบบเก่า หากให้ใครๆ เขาลองทายดู คงนึกไม่ถึงว่าเป็นถนนเพชรเกษม Smile

จากลักษณะผิวจราจร คาดว่าน่าจะเป็นการลาดยางแบบ slurry shield หรือเทผิวที่ผสมเสร็จแบบ asphaltic แต่ผมว่าน่าจะเป็นแบบแรกมากกว่า หากจะได้บรรยากาศแบบดั้งเดิมจริงๆ ต้องเป็นแบบลาดยางด้วยมือ แล้วสาดหินเกล็ดทับ เวลารถวิ่งผ่านจะรู้สึกเหมือนนั่งเรือฝ่าลูกคลื่นเล็กๆ หรือแล่นทับยางหนาปึกเป็นช่วงๆ นั่นแหละครับ Razz

เส้นทางสมัยก่อน จะไม่มีไหล่ทาง เวลารถยนต์เสีย จะจอดแอบซ้ายชิดขอบทาง จากนั้นก็ตัดกิ่งไม้ริมทางมาวางเตือนเป็นระยะๆ ให้รถที่วิ่งผ่านไปมารู้โค้ต หากเป็นช่วงกลางคืนก็ดูดน้ำมันดีเซลจากถัง เทลงใส่กระป๋องเล็กๆ วางเป็นแถวเหมือนวางกิ่งไม้ช่วงกลางวัน ฉีกเอาเศษผ้าขี้ริ้วหย่อนเป็นเชื้อไฟในกระป๋องแล้วจุดให้แสงสว่าง ดูคล้ายๆ งานวันลอยกระทงกลายๆ นั่นแหละ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/12/2011 10:52 pm    Post subject: Reply with quote

เราข้ามมาดูทางหลวงในภาคอีสานกันบ้างนะครับ...

Click on the image for full size

สำหรับภาคอีสาน ยังมีเส้นทางหลวงสายสำคัญเพียงไม่กี่สายเท่านั้น เส้นทางที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็นแนวถนนมิตรภาพในปัจจุบัน ช่วง จ.นครราชสีมา - หนองคาย โดยมีเส้นทางแยกสายสำคัญคือถนนแจ้งสนิท จาก อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ไปยัง จ.มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ไปสู่ จ.อุบลราชธานี

อีกเส้นทางหนึ่งแยกจาก จ.ขอนแก่น ไปทิศตะวันออก บรรจบกับถนนถีนานนท์ จาก จ.มหาสารคาม ที่ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เข้าสู่ตัวจังหวัด และข้ามเทือกเขาภูพาน ลงสู่ จ.สกลนคร ส่วนทางซีกตะวันตก มีถนนมะลิวัลย์ จาก จ.ขอนแก่น ผ่าน อ.ชุมแพ ก่อนขึ้นเหนือ สู่ อ.ภูกระดึง วังสะพุง ไปยัง จ.เลย และสุดชายแดนไทยอีกแห่งหนึ่งที่ อ.เชียงคาน

ที่ จ.อุดรธานี มีถนนนิตโยไปยัง จ.สกลนคร บรรจบถนนถีนานนท์ ก่อนที่จะอ้อมหนองหารไปสุดชายแดนไทยริมแม่น้ำโขงที่ จ.นครพนม และอีกเส้นทางหนึ่งที่ยังไม่ครบตามโครงการ ถือถนนจาก จ.อุดรธานี ข้ามเขาภูพานน้อยไปยัง อ.หนองบัวลำภู ในสมัยนั้น ซึ่งถือว่าเป็นอำเภอที่ค่อนข้างเงียบเหงา จนกระทั่ง ผกค.เกิดความฮึกเหิม ถึงกับบุกเข้ายิงสถานีตำรวจภูธรประจำอำเภอนั่นแหละ Razz

Click on the image for full size

ส่วนเส้นทางเลาะริมโขงตลอดสายในสมัยนั้น ยังไม่มี มีเพียงเส้นทางเดี่ยวโดด แยกจากถนนสายอุดรธานี - สกลนคร ที่บ้านพังโคน ขึ้นเหนือไปจด อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ชายแดนริมโขงอีกแห่งหนึ่งของไทย

จนกระทั่งเข้าสู่ยุค ผกค.พัฒนา Razz เส้นทางต่างๆ ในภาคอีสานถึงได้รับการพัฒนาจนอาจเรียกได้ว่า ภาคอีสาน มีโครงข่ายถนนมากที่สุดในประเทศไทย


Last edited by black_express on 30/12/2011 7:29 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/12/2011 11:12 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ทางภาคอีสานตอนกลางนั้น เส้นทางสายสำคัญที่ปรากฎในแผนที่คือถนนแจ้งสนิท จาก จ.นครพนม เลาะริมโขงผ่าน อ.ธาตุพนม - มุกดาหาร - เลิงนกทา อำนาจเจริญ ลงไปสู่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีรถแล่นผ่านไปมาบนเส้นทางสายนี้กันค่อนข้างหนาแน่นทีเดียว

อีกเส้นทางหนึ่งคือทางหลวงสายสีคิ้ว - ด่านขุนทด - ชัยภูมิ - ภูเขียว - ชุมแพ ซึ่งเป็นเส้นทางสายสำคัญด้านซีกตะวันตกของภาคอีสานครับ

ส่วนเส้นทางช่วงผ่านทุ่งกุลาร้องไห้นั้น ยังเป็นถนนดิน จนกระทั่งรัฐบาลได้ก่อสร้างทางหลวงสายร้อยเอ็ด - เกษตรวิสัย - ท่าตูม - สุรินทร์ แล้วเสร็จในภายหลัง พร้อมกับการปรับปรุงระบบชลประทาน และพัฒนาที่ดินเป็นการใหญ่ จึงสามารถพลิกแผ่นดินให้กลายเป็นดินแดนแห่งข้าวหอมมะลิอันมีชื่อเสียงของประเทศไทยได้สำเร็จ

Click on the image for full size

เส้นทางหลวงสายย่อยอีกเส้นทางหนึ่ง คือเส้นทางจาก อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี ตัดถนนแจ้งสนิทที่ อ.อำนาจเจริญ ก่อนมุ่งหน้าตรงไปทิศตะวันออกสู่ริมแม่น้ำโขงที่ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ซึ่งนับว่า จ.อุบลราชธานี สมัยก่อน มีพื้นที่กว้างขวางจนแทบกล่าวได้ว่า เป็นจังหวัดใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย


Last edited by black_express on 30/12/2011 7:31 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 29/12/2011 11:42 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ย้อนมายังถนนมิตรภาพกันอีกครั้งหนึ่งนะครับ หากมองตามหมายเลขทางหลวงสาย 21 แล้ว จะแตกต่างจากแนวถนนมิตรภาพในปัจจุบันโดยจะแยกขวาผ่านสามแยกบ้านดงเค็ง บ้านทุ่งสองห้อง ก่อนจะวกไปทางซ้ายเข้าสู่แนวถนนมิตรภาพ ที่ อ.พล จ.ขอนแก่น

หากจะมีใครถามว่าบ้านดงเค็งนั้นอยู่ที่ไหน ? ขอตอบว่า ปัจจุบันนี้คือที่ตั้งตัว อ.ประทาย จ.นครราชสีมา นั่นเองครับ

Click on the image for full size

ผ่านจังหวัดในภาคอีสานตอนล่าง ที่ค่อนข้างอาภัพเรื่องถนนหนทางในขณะนั้น (แต่ไม่อาภัพเส้นทางรถไฟ) คือ จ.บุรีรัมย์ สุรินทร์ และ ศรีสะเกษครับ เมื่อมองตามเส้นทางทั้งสามจังหวัดดังกล่าว ทำให้ผมคิดว่า หากประเทศไทยยังยึดถือนโยบายเสด็จในกรมฯ ที่กำหนดให้เส้นทางรถไฟเป็นเส้นทางหลัก และเส้นทางถนนเป็นตัวป้อนระบบการขนส่งให้กับทางรถไฟแล้ว คงจะมีภาพดังที่เห็นๆ นี้แหละครับ

แต่ทั้งนี้ เส้นทางรถไฟอาจมีทั่วทุกจังหวัดในภาคอีสานขึ้นมาแทนกระมัง ?

ถ้ามองดูด้าน จ.อุบลราชธานี ที่น่าสนใจคือเส้นทางสายวารินชำราบ - พิบูลมังสาหาร - ช่องเม็ก แนวเส้นทางยังไม่อ้อมหลบอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำโดมน้อย (เขื่อนสิรินธร) ที่สร้างในภายหลัง จะเป็นแนวตรงเกือบตลอดเส้นทาง

หากใครสังเกตเส้นทางดีๆ แล้ว ตรงช่วงถนนหลบไปทางด้านท้ายตัวเขื่อน จะมีเส้นทางลูกรังยาวตรงไปสู่บริเวณอ่างเก็บน้ำ แล้วหายมุดไปยังใต้อ่าง ก่อนที่จะโผล่มาบรรจบเส้นทางปัจจุบันอีกครั้งหนึ่งตรงใกล้บ้านช่องเม็ก ด่านชายแดนทางบกที่ไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำโขงเช่นด่านอื่นๆ ครับ

เส้นทางในภาคอีสานตอนใต้ที่สำคัญ คือเส้นทางสายโชคชัย - เดชอุดม ยังไม่ได้ก่อสร้างครับ ถึงจะแล้วเสร็จ ก็ไม่ได้เลียบริมเส้นทางรถไฟเช่นสายหนองคาย ทำให้ทางรถไฟสายอุบลราชธานี ยังผูกใจลูกค้าอย่างแน่นเหนียวมาจนถึงทุกวันนี้

นอกจากจะมีเส้นทางหลวงทั่วประเทศแล้ว แผนที่ฉบับนี้ยังบรรจุแผนที่เส้นทางในกรุงเทพฯ ให้แก่ผู้ใช้แผนที่สมัยนั้นอีกด้วย ซึ่งผมจะได้นำเสนอต่อไปในช่วงหลังปีใหม่ 2555 ครับ

แต่ตอนนี้ หลายๆ ท่านคงถือโอกาสกลับไปเยี่ยมบ้านกันหลายรายแล้ว ขออวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ มีโชคมีชัยทั้งไปและกลับด้วยนะครับ... Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/12/2011 8:56 am    Post subject: Reply with quote

บ้านเขว็ก คือ บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิในปัจจุบันหรือเปล่าครับ
ได้เห็นสะกด การันต์ของชื่อสถานที่ต่าง ๆ ไม่เหมือนปัจจุบันหลายแห่งเลยครับ
สถานที่บางแห่ง ก็ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนเลย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 30/12/2011 9:31 am    Post subject: Reply with quote

อ่ะ..ครับ อ.หม่อง Razz สมัยโน้นยังไม่มีการตรวจทานชื่อสถานที่ต่างๆ ให้แน่นอนก่อนนำลงเขียนในแผนที่ ชื่อเลยแปร่งๆ เมื่ออ่านเจอครับ

ดูกันง่ายๆ จากชื่อ อ.บ้านด่าน ที่อยู่ติดแม่น้ำโขงในเขต จ.อุบลราชธานี ที่ตั้งของตัวอำเภอ ไม่ผิดหรอกครับ แต่ถ้าติดตามจากหนังสืออักขรานุกรมภูมิศาสตร์ของราชบัณฑิตยสถาน ชื่ออำเภอนี้ถูกเปลี่ยนไปเป็นของกิ่งอำเภอใหม่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน แล้วเปลี่ยนอีกหนหนึ่งเป็น อ.ศรีเมืองใหม่ ในภายหลัง

ส่วน อ.บ้านด่าน นั้น กรมการปกครองได้เปลี่ยนตามชื่อของเมืองดั้งเดิม เป็น อ.โขงเจียม


Last edited by black_express on 30/12/2011 9:43 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 30/12/2011 9:37 am    Post subject: Reply with quote

มีเขื่อนพองหนีบด้วย อิอิ

--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา : เขื่อนพองหนีบ หรือ เขื่อนอุบลรัตน์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "เขื่อนพองหนีบ" นับเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ แห่งแรก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เดิมชื่อ “โครงการน้ำพอง”

ปี 2503 “โครงการน้ำพอง” ได้รับการพัฒนาก่อสร้างเป็นอันดับแรกที่ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น โดยได้รับความร่วมมือจากกองทุนพิเศษ แห่งสหประชาชาติ ในปี 2503 ได้เริ่มงานก่อสร้างโครงการในปี 2507 โดยทำพิธีวาง ศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2507

งานก่อสร้างแล้วเสร็จในปลายปี 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อน เมื่อวันที่14 มีนาคม 2509

กลางปี 2512 ได้รวมการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง คือ การไฟฟ้ายันฮี, การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ และการไฟฟ้าลิกไนต์ เข้าด้วยกัน ทำให้เขื่อนอุบลรัตน์ อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน.

เขื่อนพองหนีบ หรือ เขื่อนอุบลรัตน์ ปิดกั้นแม่น้ำพองสาขาย่อยของแม่น้ำชี ตัวเขื่อนเป็นหินถมแกนดินเหนียว ยาว 885 เมตร สูง 32 เมตร สันเขื่อนกว้าง 6 เมตร อ่างเก็บน้ำมีความจุ 2,263 ล้านลูกบาศก์เมตร ผลิตไฟฟ้าได้ 55 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมง

ที่มา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> พักผ่อนหย่อนใจ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4 ... 27, 28, 29  Next
Page 3 of 29

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©