Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180608
ทั้งหมด:13491843
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ขุ-ด อ่านว่า ขุด ครับ วันนี้มาว่าด้วยเรื่องรถจักรไอน้ำมั่ง
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ขุ-ด อ่านว่า ขุด ครับ วันนี้มาว่าด้วยเรื่องรถจักรไอน้ำมั่ง
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 01/12/2007 1:28 pm    Post subject: วิชาเทคโนโลยีไอน้ำ Reply with quote

ไอน้ำอิ่มตัวและไอดง

เมื่อมาถึงขั้นนี้ ก็คงต้องบรรยายกันในเชิงวิชาการกันนิด ๆ แล้วกันนะครับว่า ไอน้ำอิ่มตัว กับ ไอดง นั้นต่างกันอย่างไร ก่อนอื่นก็คงจะต้องพูดถึงไอน้ำอิ่มตัว และขบวนการการเกิดไอน้ำก่อนนะครับ
น้ำเป็นสสารที่สามารถมีสถานะอยู่ได้ทั้งสามสถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และ ก๊าซ โดยจะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส น้ำก็จะเป็นของเหลว และถ้าอุณหภูมิขึ้นไปถึง 100 องศาเซลเซียส น้ำก็จะเดือดกลายเป็นไอน้ำโดยทั้งสถานะทั้งหมดที่ว่ามานี้ เราพูดกันที่ความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง คือ 1,013 mbar หรือ hPa ครับ

ทีนี้ เรามาดูขบวนการการเกิดไอน้ำตามหลักทฤษฏีของก๊าซอุดมคติกันนะครับ ในขบวนการการเกิดไอน้ำนั้น ถ้าเราให้ความร้อนกับน้ำจำนวนหนึ่งภายในภาชนะปิดที่แข็งแรง เราจะเห็นว่าตอนนี้ น้ำได้รับความร้อนด้วยขบวนการปริมาตรคงที่ เมื่ออุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียส น้ำก็จะเริ่มเดือดเปลี่ยนสถานะกลายเป็นไอน้ำ มีปริมาตรเพิ่มขึ้น แต่เนื่องถูกควบคุมปริมาตรโดยภาชนะปิดที่แข็งแรง ดังนั้น ผลที่ตามมาจะทำให้ความดันเพิ่มสูงขึ้น ความกดนี้จะไปกระทำต่อผิวหน้าของน้ำ จะทำให้โมเลกุลของน้ำเคลื่อนที่ได้น้อยลง ทำให้น้ำหยุดเดือด

ดังนั้น ถ้าเราต้องการให้น้ำเดือดต่อ เราก็จะต้องเพิ่มพลังงานความร้อนเข้าไปเรื่อย ๆ ครับ น้ำก็จะเดือดต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ได้ไอน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ความดันก็จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตราบใดที่มีน้ำที่อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวอยู่ภายในภาชนะ ถ้าภาชนะนั้นแข็งแรงมากพอ และมีแหล่งพลังงานความร้อนมากพอ เราก็จะสามารถต้มไปได้จนกระทั่งความดันสูงได้ถึง 22.09 MPa ครับ ซึ่งถือว่าเป็นจุดวิกฤตของน้ำ ถ้าความดันสูงไปกว่านี้น้ำจะจะระเหยไปไอไป โดยที่มันจะไม่มีการเดือด เพราะฉะนั้นถ้าเราต้มน้ำใช้กัน ในเตารีดไอน้ำ หรือหม้อนึ่งความดัน เราจะได้แค่ไออิ่มตัวครับ แต่เนื่องจากว่าความดันที่สูงขึ้น เราจะได้ไอน้ำที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งก็จะเป็นไปตามกฎของก๊าซอุดมคติในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ และความดันไงครับ

โดยปกติแล้ว เราจะไม่สามารถมองเห็นไอน้ำอิ่มตัวได้ ( เพราะมันเป็นก๊าซ ) แต่ที่เรามองเห็นเพราะว่าเมื่อไอน้ำออกจากหม้อไอน้ำ หรือหม้อนึ่ง มาสู่บรรยากาศ อุณหภูมิจะลดลง ทำให้ไอน้ำส่วนหนึ่งเริ่มกลั่นตัวเป็นละอองน้ำ เราจึงสามารถมองเห็นเป็นหมอกขาว ๆ หรืออย่างที่เราเปิดลิ้นลดความดันของหม้อนึ่งความดันหลังจากที่เรานึ่งเสร็จ เราก็จะเห็นไอน้ำพุ่งออกมา หรือไอน้ำที่รั่วผ่านลิ้นนิรภัยออกมาไงล่ะครับ

การที่ไอน้ำอิ่มตัวจะเป็นไอน้ำร้อนยวดยิ่ง หรือไอดง หรือซูเปอร์ฮีทสตีม ได้นั้น เราสามารถทำได้โดยเอาไอน้ำอิ่มตัวนั้นเข้าไปเผาซ้ำในเตาไฟครับ ก็จะเป็นขบวนการการรับความร้อนด้วยขบวนการความดันคงที่ ผลก็คือ ไอน้ำอิ่มตัวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นในขณะที่ความดันเท่าเดิม

ถ้าถามว่า อ้าว แล้วเอาไอน้ำมาเผาซ้ำ แล้วความดันมันไม่เพิ่มขึ้นเหรอ ผมก็จะตอบว่า ไม่ เพราะว่าตอนนี้มันเป็นก๊าซหมดแล้ว มันไม่มีของเหลวที่จะมาระเหยเพื่อเพิ่มปริมาตรได้อีก คงมีแต่อุณหภูมิเท่านั้นที่จะเพิ่มขึ้น

ทีนี้ ก็มาเข้าเรื่องของเราล่ะครับว่า ในเครื่องจักรไอน้ำแบบลูกสูบชัก ( รถจักรไอน้ำ ) นั้น มีความจำเป็นอย่างไรจึงต้องใช้ไอดง เมื่อไอน้ำเคลื่อนที่ออกจากหม้อไอน้ำ อุณหภูมิจะเริ่มลดลง ผลที่ตามมาก็คือ จะทำให้ความดันลดลงด้วย ทำให้ไอน้ำส่วนหนึ่งก็จะเริ่มควบแน่นกลับคืนเป็นของเหลวอย่างเดิม และทำให้ปริมาตรของไอน้ำลดลง แต่สิ่งที่เราต้องการคือไอน้ำเพื่อที่จะไปขับดันลูกสูบ ไม่ใช่น้ำ เพราะฉะนั้นเมื่อไอน้ำส่วนหนึ่งหายไปกลายเป็นน้ำ ก็จะมีผลทำให้ปริมาณไอน้ำที่จะไปขยายตัวเพื่อผลักดันลูกสูบน้อยลง ทำให้ได้กำลังขับน้อยลงเป็นเงาตามตัว

ทำอย่างไรล่ะครับทีนี้ ถึงจะรักษาความเป็นไอไว้ได้

ก็เพิ่มพลังงานความร้อนเข้าไปโดยการเอากลับเข้าไปดงซะก่อน ไอน้ำก็จะมีพลังงานความร้อนสูงขึ้น คงตัวอยู่ได้นานขึ้นเมื่อออกจากหม้อไอน้ำ หรือเมื่อพ้นจากแหล่งที่ให้พลังงานความร้อน แต่เราจะเห็นว่าในรถจักรไอน้ำนั้น จะดงไอน้ำอุณหภูมิไม่สูงนัก โดยทั่ว ๆ ไป ก็จะอยู่ที่ประมาณ 250 องศาเซลเซียส และไม่น่าจะเกิน 270 องศาเซลเซียส เพราะถ้าสูงมากกว่านั้น ก็จะสร้างปัญหาให้กับการหล่อลื่นกระบอกสูบ และซีลก้านสูบครับ แต่ถ้าเป็นแครื่องจักรแบบกังหันล่ะก็ จะต้องดงให้มีอุณหภูมิสูง ๆ ไว้ล่ะเป็นการดีเลยทีเดียว

เดี๋ยวจะขอตอบคำถามเรียงข้อก็แล้วกันนะครับ

suraphat wrote:
จากที่ได้มีสมาชิกได้อภิปรายมานั้น กระผมไม่ทราบว่าด้วยความเข้าใจในแบบนี้จะเป็นการถูกต้องหรือไม่ ในเรื่องของการเกิดไอดงคือ ถ้าเราต้มน้ำในภาชนะปิดจนเดือด ซึ่งอุณหภูมิ และความดันในขณะที่น้ำกำลังเดือดนี้ จะเท่ากับ 100 องศาคงที่ตลอดเวลา ที่ความดัน 1 บรรยากาศ ต่อมาเมื่อนำเดือดจนหมดภายในภาชนะปิดใบนี้ก็จะเต็มไปด้วยไอน้ำที่ชื้น


ตอบ ผิดครับ ถ้าเป็นภาชนะปิดความดันจะไม่เท่ากับ 1 บรรยากาศ ความดันจะสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ถ้ายังมีน้ำที่เป็นของเหลวอยู่ในภาชนะ และถ้าเรายังใส่ความร้อนไปเรื่อย ๆ ความดันและอุณหภูมิก็จะยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไอน้ำภายในภาชนะนี้จะเป็น ไออิ่มตัว ครับไม่ใช่ ไอชื้น แล้วไอชื้นที่ว่านี้ ทางเทคนิคเราจะเรียกว่า ไอเปียก ครับ

surphat wrote:
จากนั้นเราก็ยังคงเพิ่มความร้อนเข้าไปอีก อุณหภูมิของไอน้ำเหล่านี้ก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยจะไม่เท่ากับ 100 องศาอีกต่อไปแล้วแล้ว ซึ่งก็จะส่งผลให้ความดันในภาชนะปิดใบนี้ก็พลอยสูงขึ้นไปด้วย ซึ่งถ้าภาชนะปิดใบนี้ไม่แข็งแรงพอแล้ว ก็อาจจะเกิดระเบิดได้ เนื่องจากความดันที่เกิดขึ้นมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นมานี้จากการที่เราเผาไอน้ำที่กำลังร้อนอยู่นี้นะ ซึ่งเจ้าไอน้ำที่อยู่ในสภาวะแบบนี้(คือมีอุณหภูมิที่สูงกว่า 100 องศา และความดันจะไม่ใช่ที่ 1 บรรยากาศนะ) เขาเรียกว่าไอดงนะ(ไม่รู้จะใช่หรือเปล่า)


ตอบ ถูก ครับ ถ้าเวลานี้น้ำในภาชนะนี้ระเหยเป็นไอหมด โดยที่ภาชนะนี้ยังทนความดันอยู่ได้ และเรายังให้ความร้อนต่อไปเรื่อย ๆ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น ถ้าคิดว่า ความดัน จะสูงขึ้นด้วย ก็ขอตอบว่า ผิด ครับ เพราะถึงตอนนี้ ไม่มีน้ำที่เป็นของเหลวเหลืออยู่ แล้วจะเอาน้ำที่ไหนมาระเหยเพื่อเพิ่มความดันล่ะครับ

เพราะฉะนั้น ถึงตอนนี้ถ้าความดันสุดท้ายเมื่อน้ำระเหยหมดเท่ากับ 10 บาร์เกจ อุณหภูมิจะวัดได้เท่ากับ 180 องศาเซลเซียสครับ และถ้าเรายังให้ความร้อนต่อไป ความดันจะไม่เพิ่มครับ จะเพิ่มแต่อุณหภูมิ เพราะฉะนั้นจะไม่มีการระเบิดเกิดขึ้น เว้นไว้แต่ว่าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจนกระทั่งวัสดุที่ใช้ทำภาชนะสูญเสียความแข็งแรงเนื่องจากความร้อนล่ะตอนนี้ระเบิดแน่นอน ถึงแม้ว่าตอนนี้ ความดันจะไม่สูงกว่าความดันที่ใช้ในการออกแบบหม้อต้มก็ตามครับ และถ้าตอนนี้ ไอน้ำในภาชนะนี้คือ ไอดง ใช่หรือไม่ ก็ตอบว่า ใช่ ครับ

surphat wrote:
ส่วนที่เราเห็นวาล์วนิรภัยนั้น ก็จะมีหน้าที่ที่จะมาควาบคุม ความดันของไอน้ำที่เรากำลังเผาตัวนี้ ไม่ให้เกินค่าที่กำหนดไว้


ตอบ ขอเสริม อ. อนุสรณ์ ครับ ความจริงแล้ว ลิ้นนิรภัยใช้ควบคุมความดันไอน้ำอิ่มตัวภายในหม้อต้มไม่เกินกว่าที่ได้ออกแบบไว้ เพราะตราบใดถ้ายังมีน้ำที่เป็นของเหลวอยู่ในหม้อต้ม แล้วเราก็ยังใส่ความร้อนเข้าไปเรื่อย ๆ น้ำก็จะสามารถระเหยไปได้เรื่อย ๆ ความดันก็จะสูงขึ้นได้เรื่อย ๆ ครับ และถ้าความดันสูงกว่าที่ภาชนะจะทนได้ก็ บึ้ม !

เพราะฉะนั้น เราจึงต้องมีลิ้นนิรภัย เพื่อควบคุมความดันในหม้อต้มไว้ไม่ให้เกินกว่าที่ออกแบบไว้ครับ สรุป ณ เวลานี้ ไอน้ำในหม้อต้มเป็นไออิ่มตัวครับ ไม่ใช่ไอดง เช่น ถ้าหม้อไอน้ำของรถจักรไอน้ำมีความดันทำการ ( Working Pressure ) เท่ากับ 12 บาร์เกจ ณ เวลานี้ น้ำก็จะมีอุณหภูมิจุดเดือดประมาณ 200 องศาเซลเซียส ไอน้ำจะมีอุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียสเท่ากัน และเป็นไออิ่มตัวครับ

แต่ถ้าช่างไฟยังคงโยนฟืนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งความดันก็จะขึ้นไปถึง 12.5 บาร์เกจเมื่อไร ลิ้นนิรภัยก็จะเปิดเพื่อระบายไอน้ำส่วนเกินนี้ออกเพื่อรักษาความดันเอาไว้ ไม่เกิดไปจนถึงจุดที่เป็นอันตรายต่อหม้อไอน้ำไงครับ

surphat wrote:
ความดันที่เกิดขึ้นมาในถังปิดใบนี้ เขาก็นำมาใช้ในการขับเคลื่อนลูกสูบได้อย่างนี้ใช่หรือไม่ และเมื่อลูกสูบนี้ได้ขยายตัวแล้ว ความของไอน้ำเหล่านี้ก็จะลดลงไปจนเหลือน้อยมาก ซึ่งถ้าเรานำเอาไอน้ำที่ว่านี้ไปต่อเข้าอีกด้านหนึ่งของฝาสูบแล้ว ลูกสูบนี้ก็จะเคลื่อนไปมาได้นะ


ตอบ ถูกครับ ความดันไอน้ำในหม้อต้มนี้ เราจะนำไปผลักดันลูกสูบ ดูกลวัตรการทำงานตามรูปในกระทู้ก่อนหน้าได้เลยครับ โดยสีชมพูนั้น เป็นไอน้ำที่มีความดันจากหม้อต้ม ส่วนสีฟ้านั้น เป็นไอน้ำที่ขยายตัวแล้ว ไอน้ำที่ออกจากหม้อต้มจะเคลื่อนที่มารอที่ลิ้นไอน้ำหลัก ที่ควบคุมโดยพนักงานขับรถ เมื่อพนักงานขับรถตั้งจังหวะการเคลื่อนที่ของรถจักร ( เดินหน้า หรือถอยหลัง ) เรียบร้อย ถึงตอนนี้ พนักงานรถจักร จะเปิดลิ้นไอน้ำหลัก ( หรือที่เรียกว่าด้ามกำหนดไอนั่นล่ะครับ ) ไอน้ำก็จะวิ่งผ่านชุดไอดง เข้าสู่ห้องลิ้นเลื่อนที่ช่องกลาง ถึงตอนนี้ก็สุดแท้แต่ว่าลิ้นจะเปิดช่องไหน

ถ้าเปิดช่องด้านหน้าไอน้ำก็จะขยายตัวดันลูกสูบให้ไปด้านหลัง ลิ้นเลื่อนก็จะเลื่อนตามไปตามกลไกของก้านต่อที่สัมพันธ์กันอยู่ ก่อนที่ลูกสูบจะเลื่อนไปจนสุด ลิ้นเลื่อนก็จะเปิดช่องไอน้ำที่กระบอกสูบด้านหน้าให้ต่อช่องหน้าสุดของห้องลิ้น และช่องไอน้ำที่กระบอกสูบด้านหลังให้ต่อกับช่องกลางของช่องไอน้ำที่ห้องลิ้น ถึงตอนนี้ ลูกสูบจะถูกดันกลับ ไอน้ำที่ตกค้างอยู่ในกระบอกสูบด้านหน้าก็จะถูกผลักออกจากกระบอกสูบ ผ่านทางช่องไอน้ำที่ห้องลิ้นออกสู่ห้องควันไป ไม่ได้เอาย้อนกลับมาดันลูกสูบอีกนะครับ

ดังนั้น เราจะเห็นว่า การที่ลูกสูบเคลื่อนที่ไปมาได้นั้น เกิดจากความดันไอน้ำจากหม้อต้มมาดันลูกสูบทั้งสองด้านสลับกัน โดยการควบคุมของลิ้นเลื่อน ซึ่งมีกลไกคันชักที่ทำงานสัมพันธ์กันตามจังหวะที่กำหนดครับ ไม่ใช่เอาไอน้ำจากอีกด้านหนึ่งไปดันอีกด้านหนึ่งแต่อย่างไร

เครื่องจักรไอน้ำแบบนี้เป็นเครื่องจักรไอน้ำแบบลูกชักชนิดกระแทกคู่ หรือที่เรียกแบบฝรั่งว่า ดับเบิ้ลแอคติ้ง ( Duble Acting ) ไงครับ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก


Last edited by Cummins on 01/12/2007 4:50 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
conrail
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 28/03/2006
Posts: 1271
Location: Bangplad , Bangkok

PostPosted: 02/12/2007 12:14 am    Post subject: Re: กระผมขอทำความเข้าใจเสียใหม่เกี่ยวกับการเกิดไอดง Reply with quote

suraphat wrote:

ส่วนอีกเรื่องหนึ่งที่กระผมอยากจะทราบเลยก็คือหน่วยลากจูงของรถจักรไอน้ำนะ รถจักรดีเซลนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะอย่างไรเสีย ก็จะเป็นการตอบได้ว่าทำไมรถจักรไอน้ำถึงต้องใช้ถึง 2 คันนะ ซึ่งแน่นอนมันก็เกียวข้องกับหน่วยลากจูงนี้แน่นอน อย่างหนีไม่พ้น

ซึ่งตรงนี้กระผมจึงได้ไปพยายามหาว่าหน่วยลากจูงของรถจักรไอน้ำในแต่ละรุ่นนี้มีเท่าไหร่ แต่ก็หาไม่ได้ซะทีนะ

ส่วนที่ว่าอยากจะให้จัดรูปขบวนเสียใหม่เป็นว่าให้เอาหัวรถจักรไอน้ำนี้มาชนขบวนหัวท้ายนี้ ก็เนื่องจากจะเป็นรูปขบวนที่สวยมากเลย โดยจะให้ 2 หัวที่ว่านี้ทำงานประสานกันไปมา แทนที่จะนำมาพหุหัวรถกันอยู่อย่างนี้นะ



หน่วยลากจูงของรถจักรไอน้ำแปซิฟิคและมิกาโดในปัจจุบันอยู่ประมาณ 110 หน่วย/รถจักร 1 คัน และจะอยู่ประมาณ 165 หน่วยถ้าใช้พหุกัน ก็ลองเทียบดูว่าจะสามารถลากจูงได้มากน้อยเพียงไหนซึ่งก็จะเป็นคำตอบได้ว่าทำไมจำนวนรถพ่วงในขบวนถึงมีจำกัด

ต่อคำถามเกี่ยวกับการจัดวางหัวรถจักรในกรณีที่ต้องใช้ตั้งแต่สองหัวขึ้นไปนั้น เมื่อจำเป็นต้องเพิ่มกำลังลากจูง การนำรถจักรต่อพ่วงเป็นตอนเดียวกันดังในเช่นปัจจุบันนี้มีผลดีมากกว่าในทางเทคนิคเพราะจะลดการกระตุกกระชากได้ดีกว่าการที่ใช้รถจักรหนึ่งคันดึงด้านหน้าแล้วอีกหนึ่งคันดันท้าย ( push and pull ) เพราะระบบนี้ถ้าสามารถสั่งการให้ทำงานสัมพันธ์พร้อมกันดังเช่นการสั่งงานด้วยระบบไฟฟ้าในรถไฟความเร็วสูง TGVแล้ว การกระตุกกระชากของรถในขบวนจะมีน้อยมากหรืออาจจะไม่มีซึ่งขึ้นอยู่กับระบบของขอพ่วงด้วย แต่รถจักรไอน้ำนั้นทำงานโดยการใช้พนักงานขับรถขับเคลื่อนคันใครคันมัน ถ้าการขับเคลื่อนไม่พร้อมกันแล้วอาการกระแทกหรือกระชากจะเกิดกับรถในริ้วขบวนที่ในปัจจุบันเป็นรถโดยสาร ความนุ่มนวลจะลดน้อยลง

แต่อย่างไรก็ตามในสมัยก่อน การใช้รถจักรไอน้ำดึงทางหัวขบวนและดันทางท้ายขบวนก็มีนะครับ แต่จะเป็นในส่วนของขบวนรถสินค้าที่ต้องทำขบวนขึ้นทางลาดชันมากๆ ซึ่งผมใช้ข้อมูลอ้างอิงจากประเทศญี่ปุ่น ถ้าเป็นรถโดยสารหรือรถสินค้าทั่วๆไปแล้ว รถจักรไอน้ำจะทำการต่อพหุกันอยู่ทางตอนหน้ากันเพื่อเพิ่มกำลังลากจูงด้วยเหตุผลดังกล่าวมาแล้ว


Quote:
ดังนั้น เราจะเห็นว่า การที่ลูกสูบเคลื่อนที่ไปมาได้นั้น เกิดจากความดันไอน้ำจากหม้อต้มมาดันลูกสูบทั้งสองด้านสลับกัน โดยการควบคุมของลิ้นเลื่อน ซึ่งมีกลไกคันชักที่ทำงานสัมพันธ์กันตามจังหวะที่กำหนดครับ ไม่ใช่เอาไอน้ำจากอีกด้านหนึ่งไปดันอีกด้านหนึ่งแต่อย่างไร


เรื่องการเอาไอน้ำจากอีกด้านหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่งของลูกสูบนั้นมีครับ เพียงไม่ได้อยู่ในสถานะของการขับเคลื่อน แต่อยู่ในสถานะของการที่จะทำให้ลูกสูบเคลื่อนที่ได้สะดวกหลังจากที่ไม่มีการจ่ายไอลงสู่กระบอกสูบ เช่น ปิดคันกำหนดไอแล้วปล่อยให้รถวิ่งด้วยแรงเฉื่อย วิธีการนี้จะใช้การทำงานของ By-pass ซึ่งจะอธิบายต่อไปภายหน้า หน้าที่ของ By-pass คือ การทำลายสูญญากาศที่เกิดขึ้นในกระบอกสูบหลังจากที่มีการปิดคันกำหนดไอไปแล้ว ซึ่งสูญญากาศนี้จะดูดสิ่งสกปรกต่างๆเช่น เขม่าขี้เถ้าภายในห้องควัน ผ่านเข้ามายังกระบอกลิ้นและกระบอกสูบทางท่อพ่นควันอันจะก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ลดประสิทธิภาพของน้ำมันหล่อลื่นสูบ เมื่อ By-pass ทำงานก็จะต่อทางเดินให้ไอ/อากาศด้านหน้าลูกสูบและด้านหลังลูกสูบเคลื่อนที่ต่อถึงกัน เหตุที่ใช้อากาศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเพราะจะมีอุปกรณ์ที่ดึงอากาศภายนอกเข้ามาเพื่อไม่ให้เกิดความร้อนจากการที่อากาศจำนวนเดียววิ่งวนไปมาอยู่ภายในกระบอกสูบ เรียกว่า ลิ้นสูดอากาศ ( Shifting valve )


ปล...รู้สึกว่าจะไม่ค่อยเรียงเป็นหมวดหมู่กันเลยเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ Shocked
Back to top
View user's profile Send private message
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 12/09/2010 12:14 pm    Post subject: Reply with quote

ขอขุด กลับมาทบทวน ก่อนที่จะไม่มีรถจักรไอน้ำ มาวิ่ง อะนะ

เรื่องของเรื่อง ที่ขุด คือ ขอเชิญ บรรดาเกจิ ในเวบนี้ มาลงบรรดาสาระความรู้ที่เกี่ยวกับรถจักรไอน้ำ กันต่อ
(เพราะหลายคน เห็นว่ามีภาระกิจยุ่งและรัดตัว แต่ ก้ผ่านมานานหลายปี แล้ว คงพอขยับมาลงความรู้กันได้มั่งเน้อ)

และที่ยังไม่รวมถึงการถ่ายทอดการใช้รถจักรไอน้ำ กับ พ.รถจักร รุ่นใหม่

ตั้งแต่ งาน 26 มีค ที่ผ่านมาและงานวันแม่ ที่ต่อไปคืองานสะพานข้ามแม่น้ำแคว ที่ใช้รถC class ออกมาโลดแล่นอีกครั้งกับ พ.รถจักร รุ่นที่...... สืบสานการเดินรถต่อไป

สุดท้ายคือ อยากรวบรวม การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับ พ.รถจักร จากรถจักรไอน้ำ มาสู่รถจักรดีเซล ว่า คนเหล่านั้น ข้ามยุกการทำงาน มาได้อย่างไร ก็เท่านั้นแหละ
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
BanPong1
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 07/12/2006
Posts: 2733
Location: กม.37 สายเหนือ, กม.68 สายกาญจนบุรี

PostPosted: 12/09/2010 9:56 pm    Post subject: Reply with quote

nathapong wrote:


สุดท้ายคือ อยากรวบรวม การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับ พ.รถจักร จากรถจักรไอน้ำ มาสู่รถจักรดีเซล ว่า คนเหล่านั้น ข้ามยุกการทำงาน มาได้อย่างไร ก็เท่านั้นแหละ


ป๋าณัฐนั่นแหละครับที่น่าจะไปสัมภาษณ์ผู้อาุวุโสเหล่านั้น
อัดเป็นเทปเสียงหรือ วิดีโอก็ได้ครับ และนำมาถอดเทป
รีบๆทำซะนะครับ นัดได้เมื่อไร โทร.มาบอกด้วยจะไปช่วยตั้งคำถามครับ Smile Smile
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail MSN Messenger
nathapong
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 3515
Location: Ayuthaya - Lamlukka - Navanakhon - Silom

PostPosted: 13/09/2010 11:44 am    Post subject: Reply with quote

BanPong1 wrote:

ป๋าณัฐนั่นแหละครับที่น่าจะไปสัมภาษณ์ผู้อาุวุโสเหล่านั้น
อัดเป็นเทปเสียงหรือ วิดีโอก็ได้ครับ และนำมาถอดเทป
รีบๆทำซะนะครับ นัดได้เมื่อไร โทร.มาบอกด้วยจะไปช่วยตั้งคำถามครับ Smile Smile


การรวบรวม ก็พอได้ ครับพี่ ..
คงเป็นวันถัดไป หลัง ทริปแก่งคอย - มาบตาพุด จะมีชุมนุมรุ่นขี้เถ้า ที่บ้าน..อะครับ....
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 13/09/2010 11:51 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ป๋า ถ้าวันถัดมาเป็นวันจันทร์ก็ออกจะน่าเสียดายอยู่เพราะ ผมเองก็อยากร่วมวงชุมนุมรุ่นขี้เถ้า ด้วยคนหงะ Embarassed
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 05/02/2012 3:39 pm    Post subject: ช่วยปักหมุดให้หน่อยคร้าบบบบ Reply with quote

รบกวนช่วยปักหมุดให้หน่อยครับ
_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
pak_nampho
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 25/06/2007
Posts: 2371
Location: คนสี่แควพลัดถิ่น ทำมาหากิน ที่เกาะภูเก็ต

PostPosted: 06/02/2012 8:31 am    Post subject: Reply with quote

^
จัดไปเลยครับ ท่าน วมต. อ.คัมมิน จะให้ความรู้กับทุกท่านแล้ว..... Razz
_________________
+++++++++++++++++ ๑๑๖ ปี รถไฟไทยก้าวไกล....จากรถจักรไอน้ำ +++++++++++++++++
Click on the image for full size
....................บุตร ครฟ. พขร.ตรี แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ...................
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 08/02/2012 9:32 am    Post subject: สมรรถนะของรถไอน้ำ Reply with quote

75 mph เป็น km/hr เอา 1.6 คูณ ไม่ธรรมดาเลยว้าวอยากไปลองแบบนั้นมั่งจังคือจะมันส์ดีพิลึกตามประสาคนบ้ารถไฟครับ สังเกตุที่ประมาณนาทีที่ 3.22-3.27 ครับจะเห็นว่าไอน้ำโบลว์ออกที่ลิ้นนิรภัยแสดงว่าช่างเครื่องเร่งไฟเต็มที่ไม่งั้นมันคงวิ่งไม่ได้ขนาดนี้

_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Cummins
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 28/03/2006
Posts: 719
Location: มหาวิทยาลัยราชมงคลอิสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

PostPosted: 08/02/2012 9:56 am    Post subject: สองไอน้ำ+หนึ่งดีเซล Reply with quote

2+1=3 สองไอน้ำ+หนึ่งดีเซล มันเล่นอะไรกัน

_________________
อดีตโชเฟอร์ล้อเหล็ก
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถจักร, รถดีเซลราง และรถพ่วงต่างๆ ของไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5  Next
Page 4 of 5

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©