Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179587
ทั้งหมด:13490819
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
suraphat
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 12/02/2007
Posts: 1117
Location: ดินแดง ห้วยขวาง

PostPosted: 08/09/2012 9:08 pm    Post subject: Reply with quote

เอาครงนี้ไปดูด้วยครับ
คมนาคมเดินหน้ารถไฟฟ้าสีแดง'บางซื่อ-รังสิต'
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 8 กันยายน 2555 18:43

"จารุพงศ์"พอใจผลงาน 1 ปี ลดภาระประชาชน ยันเดินหน้ารถไฟฟ้าสีแดงบางซื่อ-รังสิต

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม กล่าวแถลงผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี ว่า พอใจการทำงานใน 3 ผลงานหลักช่วยที่แก้ปัญหาของประชาชน ทั้งการฟื้นฟูสนามบินดอนเมือง ยกเลิกการประกันบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass) และเร่งโครงการสำคัญต่างๆ โดยการทำงานของกระทรวงถือว่าประสบความสำเร็จใน 4 ด้านหลัก ชู คือ ฟื้นฟู ดูแล แก้ไข มุ่งไกลสู่อาเซียน โดยในด้านการฟื้นฟู บูรณะโครงสร้างพื้นฐานกับปัญหาอุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชน จากปัญหาน้ำท่วม เมื่อช่วงปลายปี 54 ด้านการดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น การดำเนินงานโครงการรถเมล์ รถไฟฟรีเพื่อประชาชน การปรับรถค่าโดยสารของ บขส. การยกเลิกบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass) ด้านแก้ไขเพื่อพัฒนาโลจิสติกส์การขนส่ง ขณะนี้มีเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้ว เช่น สะพานข้ามแม่น้ำโขง จ.นครพนม รถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา-แหลมฉบัง รวมทั้งเพิ่มศักยภาพและพัฒนาสนามบินดอนเมือง เป็นต้น และมุ่งไกลอาเซียน เพื่อเชื่อมโยงโครงการข่ายในภูมิภาค

"สำหรับคะแนนของผลงานกระทรวงคมนาคมในรอบ 1 ปี ส่วนตัวคิดว่า ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชน รวมทั้ง จะสามารถวัดได้จากการเลือกตั้งในครั้งต่อไป" นายจารุพงศ์ กล่าว

สำหรับโครงการที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น การจัดตั้งสายการบินไทยสมายล์ โครงการส่วนต่อขยาย Airport Rail Link ช่วงมักกะสัน-พญาไท-ดอนเมือง และสุวรรณภูมิ-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง รวมทั้งพัฒนาระบบตั๋วร่วม และโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คัน ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะลดต้นทุนการขนจากเดิม 7.2% เหลือ 5% ของจีดีพี โดยเน้นพัฒนาการขนส่งทางน้ำและทางรางมากขึ้น โดยใช้ถนนเป็นฟีดเดอร์เท่านั้น

ส่วนที่จะดำเนินการต่อไป ได้วางเป้าหมายสร้างความเชื่อมโยงโครงข่ายในภูมิภาคอาเซียน มีการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เวียงจันทน์ การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ ช่วงบึงกาฬ-ปากซัน รวมถึงสร้างถนนและสะพานเชื่อมระหว่างไทย-พม่า ตลอดจนเปิดเดินรถขนส่งระหว่างไทย-กัมพูชา และเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟสายสิงค์โปร์-คุนหมิง รวมทั้งปรับปรุงกฎหมาย เพื่อรองรับการพัฒนาระบบขนส่งของอาเซียน

นายจารุพงศ์ กล่าวอีกว่า โครงการรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ยังเดินหน้าในโครงสร้างหลัก ไม่มีการยกเลิกการก่อสร้างอย่างแน่นอน โดยมุ่งเน้นการสร้างสถานีบางซื่อให้เหมือนกับสถานีทางตอนใต้ของปักกิ่ง ที่สามารถรองรับรถไฟในครั้งเดียวได้ถึง 21 ขบวน ส่วนระบบรางจะเป็นขนาดเดิม กว้าง 1 เมตร หรือ 1.435 เมตร หรือไม่นั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะจัดทำเวิร์กชอปในสัปดาห์หน้า และคาดว่าจะได้ข้อสรุปใน 2-3 สัปดาห์ ขณะที่การทำสัญญาจะเป็นสัญญาแบบปลายเปิด เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดได้ในภายหลัง และงบประมาณสามารถเพิ่มได้ไม่เกิน 10%

ทั้งนี้ หากจะมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของขนาดรางกอาจทำสัญญาจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นแบบปลายเปิด เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนขนาดของรางในอนาคต ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ คงให้เดินหน้าตามเดิม และก่อสร้างรางขนาด 1 เมตร เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งของระบบรางในปัจจุบัน

“สายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตนั้น ถอยไม่ได้ ต้องเดินหน้า และหลังจากประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว ผมจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะเลือกใช้รางขนาดใด" นายจารุพงศ์ กล่าว

********
ซึ่งจากข่าวๆนี้ โดยเฉพาะประโยดสุดท้ายคงจะสะท้อนจุดยืนของกระทรวงนี้ได้ดีนะครับ Wink
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 08/09/2012 9:26 pm    Post subject: Reply with quote

ครับ จะรอดูว่าท่านจะชี้ขาดอย่างไร ?
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2012 10:15 pm    Post subject: Reply with quote

มีอีกข่าว ที่อ่านแล้วปวดหัวแทนท่าน รมต.จารุพงศ์ครับ ขอไม่นำข่าวมาลงให้เปลืองเนื้อที่ครับ
http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=403034
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2012 10:30 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมสั่งเวิร์กชอปเปลี่ยนรางรถไฟเป็น 1.435 ม. ไม่ล้มสีแดงให้เซ็นจ้างผู้รับเหมาแบบสัญญาเปิด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 กันยายน 2555 14:49 น.

“จารุพงศ์”ยันไม่ล้มประมูลสีแดง สั่งเซ็นสัญญาผู้รับเหมาแบบปลายเปิดให้สามารถแก้รายละเอียดขนาดรางภายหลังได้ สั่งร.ฟ.ท.จัดเวิร์กชอป เปลี่ยนรางรถไฟ จากขนาด 1 เมตรเป็น 1.435 เมตร สรุปใน 2 สัปดาห์ เน้นใช้รางเก่าให้คุ้มค่า โครงการใหม่มุ่ง1.435 เมตร ”ชัชชาติ”ชี้ประเทศไทยต้องมีรางทั้ง 2 แบบ เล็งปรับแอร์พอร์ตลิ้งค์และรถไฟความเร็วสูงใช้โครงสร้างเดียวกันลดค่าก่อสร้าง

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมยังยืนยันเดินโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และจะไม่ยกเลิกการประกวดราคา สัญญาที่ 1 (งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง) และสัญญา 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ) โดยมอบหมายให้ร.ฟ.ท.จัดประชุมเวิร์กชอป ภายในสัปดาห์หน้า เพื่อหาข้อสรุปในการเปลี่ยนขนาดราง จากเดิมที่ออกแบบเป็นขนาด 1 เมตร (Meter Gauge) เป็นขนาด 1.345 เมตร (Standard Gauge) ของสายสีแดง และระบบรางของรถไฟทั่วประเทศทั้งหมดซึ่งจะมีทั้งโครงการรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าความเร็วสูง ทั้งในเรื่องการลงทุน ขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านจากรางเก่า 1 เมตรไปสู่รางใหม่ 1.435 เมตร โดยหลักการคือจะต้อง ใช้ประโยชน์ทางและรางเก่าที่มีอยู่ให้มากที่สุด ส่วนทางใหม่จะมุ่งไปที่ขนาด 1.435 เมตร

ทั้งนี้ รถไฟสายสีแดงนั้น สัญญา 1 มีความสำคัญเพราะมีสถานีกลางบางซื่อ รองรับรถไฟได้ 21 ขบวน และประมูลไปแล้ว ซึ่งหากต้องมีการปรับขนาดรางเป็น 1.435 เมตร ร.ฟ.ท.จะต้องลงนามสัญญากับผู้รับเหมาเป็นสัญญาปลายเปิด ที่สามารถปรับแก้รายละเอียดได้ภายหลัง และจะต้องไม่ให้เกิดปัญหาถูกผู้รับเหมาที่ร่วมประมูลรายอื่นฟ้องร้องได้ และการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะต้องไม่กระทบทำให้โครงการล่าข้าและหากงบประมาณก่อสร้างจะเพิ่มขึ้นต้องไม่เกิน 10%

“การเปลี่ยนรางรถไฟทั่วประเทศจาก 1 เมตรเป็น 1.435 เมตร เป็นเรื่องใหญ่ ใช้เงินไม่น้อยกว่า 4 แสนล้านบาท และใช้เวลาหลายปี ดังนั้นต้องพิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบ คำนึงถึงประโยชน์สูงสุด หมายความว่า รางเก่า1 เมตรที่มีก็ยังต้องดูแลและใช้งานต่อไปให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ส่วนโครงการใหม่ๆ น่าจะเป็นขนาด 1.435 เมตรเพื่อเชื่อมกับจีนได้ โดยให้สรุปความชัดเจนใน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งจะพอดีกับที่สัญญา 1 จะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมา

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมช.คมนาคม กล่าวว่า ประเทศไทยจะต้องมีรางทั้ง 2 ระบบ คือ 1 เมตรและ 1.435 เมตร ซึ่งการเวิร์กชอปจะทำให้เห็นภาพและตัดสินใจได้ ส่วนสายสีแดงนั้นออกแบบรางไว้ 1 เมตร โดยมี วัตถุประสงค์ 2 อย่าง คือ เป็นรถไฟฟ้าชานเมือง ช่วงบางซื่อ-รังสิตและรถไฟทางไกล โดยโครงสร้างยกระดับข้ามจุดตัดถนนมาที่บางซื่อ ซึ่งจะต้องดูความจำเป็น กรณีที่ทับซ้อนกับโครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์ส่วนต่อขยาย (พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) ซึ่งเฉพาะช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองเป็นแนวเส้นทางที่มีค่ามากเพราะเป็นทางหลักเชื่อมภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือเข้ากทม. มีทางรถไฟ 7 ทาง คือ สายสีแดง (1 เมตร) 3 ทาง แอร์พอร์ตลิ้งค์ (1.435 เมตร) 2 ทาง และรถไฟฟ้าความเร็วสูง (1.435 เมตร) 2 ทาง ส่วนสถานีบางซื่อมี 24 ทาง รองรับเฉพาะรถไฟทางไกลถึง 12 ทาง

“ก่อนหน้านี้เคยมีแนวคิด ที่จะใช้บ้านภาชีเป็นชุมทางรถไฟทางไกลเข้ามาแค่นั้นจากนั้นให้ผู้โดยสารต่อระบบรถไฟฟ้าเข้าเมือง หรือดูว่า แอร์พอร์ตลิ้งค์และ รถไฟความเร็วสูง สามารถใช้โครงสร้างเดียวกันได้หรือไม่ โดยแบ่งเป็น 2 ชั้น จากแบบเดิมที่แยกโครงสร้างกัน ซึ่งก็อาจจะช่วยประหยัดค่าก่อสร้างลงได้ เป็นต้น”นายชัชชาติกล่าว

ปัจจุบันทั่วโลกใช้รางขนาด 1 เมตรประมาณ 20 % หรือ 2 แสนกิโลเมตร ที่เหลือใช้รางขนาด 1.435 เมตร โดยเฉพาะทางยุโรป ส่วนในภูมิภาคอาเซียน ส่วนใหญ่ใช้ ขนาด 1 เมตร มีจีนที่เป็น 1.435 เมตร ดังนั้นประเทศไทยจะต้องคิดว่า ทิศทางการลงทุนต่อไปจะเป็นแบบไหน โดยพิจารณาถึงความต้องการของประเทศ ในแง่การขนส่งผู้โดยสารและสินค้า การเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อบ้าน ซึ่งราง 1 เมตร จะมีความเร็งสูงสุด 120 กม./ชม. ขนาด 1.435 เมตร สามารถทำความเร็วได้ 300-400 กม./ชม.

ด้านพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคมกล่าวว่า การปรับเปลี่ยนรางจาก 1 เมตร เป็น 1.435 เมตรจะไม่กระทบต่อโครงการจัดซื้อหัวรถจักร 20 คันและ 50 คัน ซึ่งใช้กับราง 1 เมตร เพราะขณะนี้ร.ฟ.ท.มีปัญหาขาดแคลนหัวรถจักรมาก โดย 20 คันนั้นจะนำมาใช้กับขบวนรถสินค้าจาก ๆอซีดีลาดกระบังไปท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) โดยขณะนี้ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประมูล ที่อาจจะมีการตั้งราคากลางสูงเกินไป เข้าข่ายการเตรียมทุจริตคอร์รัปชั่นหรือไม่ เนื่องจาก ผู้ชนะเสนอราคาต่ำสุดเพียง 1,916.6 ล้านบาทหรือ98.08 ล้านบาทต่อคันต่ำ ขณะที่ร.ฟ.ท.กำหนดราคากลางไว้ที่ 3,000 ล้านบาท

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2012 7:39 pm    Post subject: Reply with quote

'จารุพงศ์'ยันเดินหน้ารถไฟสายสีแดง7หมื่นล้าน
suthichaiyoon.com วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

"จารุพงศ์" ปัดข้อเสนอ "ชัจจ์" ยกเลิกโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง มูลค่ากว่า 7 หมื่นล้าน ลั่นต้องเดินหน้าเหตุเปิดประมูลคัดเลือกผู้รับเหมาแล้ว หากล้มโครงการจะกระทบช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งก่อสร้างเสร็จแล้ว แม้แนวสายทางซ้ำซ้อนส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์แต่เป้าหมายต่างกัน ชูผลงาน "1 ปีคมนาคม" เปิดใช้สนามบินดอนเมืองเต็มรูปแบบ ยกเลิกค่าประกันบัตรอีซี่พาส

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงไม่มีนโยบายยกเลิกโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต วงเงินกว่า 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเปิดประกวดราคาคัดเลือกผู้ก่อสร้างแล้ว และอยู่ระหว่างรอลงนามสัญญาว่าจ้าง แต่จะพิจารณาว่าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมาใช้รางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร หรือควรใช้ราง 1 เมตรตามที่กำหนดไว้ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับผู้เกี่ยวข้องภายในสัปดาห์หน้า เพื่อหาข้อสรุปเรื่องดังกล่าว

หากผลการศึกษาระบุว่า ควรใช้รางขนาดมาตรฐาน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อาจทำสัญญาว่าจ้างแบบปลายเปิด เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนขนาดรางในอนาคต แต่เงื่อนไขสัญญาต้องไม่ก่อให้เกิดปัญหาฟ้องร้องระหว่างรัฐและเอกชน และต้องอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณเดิม และกำหนดแล้วเสร็จของโครงการต้องเป็นไปตามแผนงานเดิมเช่นกัน ส่วนการก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ระยะทาง 873 กิโลเมตรยังคงเป็นไปตามแผนงานเดิม และจะใช้รางขนาด 1 เมตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางราง

"สายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตถอยไม่ได้ ต้องเดินหน้าอย่างเดียว จะล้มโครงการไม่ได้แน่นอน เพราะสัญญาที่ 1 หรืองานก่อสร้างสถานีบางซื่อ จะมีผลต่อการเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดสอบเดินรถ และจากประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นทั้งหมด ผมจะเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะเลือกใช้รางขนาดใด ส่วนทางรถไฟในปัจจุบัน ซึ่งมีขนาด 1 เมตร ระยะทางประมาณ 4,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ จะยังใช้งานต่อไป แต่จะปรับปรุงให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ" นายจารุพงศ์กล่าว

ชี้การเปลี่ยนรางมาตรฐานใช้งบ 4 แสน ล.

ส่วนโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่ โดยเฉพาะรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง จะใช้รางขนาด 1.435 เมตร โดยช่วงนี้ถือเป็นช่วงเปลี่ยนถ่ายในการวางรากฐานว่าจะใช้ระบบรถไฟแบบใด เพราะการจะเปลี่ยนไปสู่รางขนาดมาตรฐานทั้งหมดโดยเร็วดำเนินการได้ยาก ต้องคิดด้วยว่าจะทำอย่างไรกับระบบเดิม และถ้าเปลี่ยนมาใช้รางขนาดมาตรฐานทั้งหมด ต้องใช้งบประมาณกว่า 4 แสนล้านบาท

นายจารุพงศ์ ยังกล่าวอีกว่า ข้อเสนอให้ยกเลิกโครงการรถไฟสายสีแดงของ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพราะเห็นว่าแนวสายทางซ้ำซ้อนกับโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองหรือแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ซึ่งจะขยายเส้นทางจากพญาไท-ท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นเรื่องที่รับฟังได้ แต่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะรถไฟแต่ละระบบ เช่น รถไฟชานเมือง รถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงค์ มีเป้าหมายรองรับผู้โดยสารแตกต่างกัน

ยันกระทบโครงการช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ไม่สามารถยกเลิกโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตได้ เพราะจะกระทบโครงการช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และแม้เส้นทางช่วงบางซื่อ-รังสิตจะทับซ้อนกับโครงการส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์ แต่วัตถุประสงค์และเป้าหมายของทั้งสองโครงการแตกต่างกัน โดยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์มีจุดประสงค์เพื่อรองรับการเดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และต่อเชื่อมการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง ขณะที่สายสีแดงจะรองรับการเดินทางทั่วไป และในอนาคตสามารถต่อเชื่อมไปยัง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อรองรับประชาชนเพิ่มขึ้นได้

ทั้งนี้ สถานีบางซื่อในโครงการสายสีแดงจะเป็นสถานีหลักหรือเป็นศูนย์รวมของทุกระบบ มีทั้งหมด 24 ชานชาลา เป็นชานชาลารถไฟทางไกล 12 ชานชาลา รถไฟชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 4 ชานชาลา และรถไฟความเร็วสูง 4 ชานชาลา และจากบางซื่อ-รังสิต กำหนดให้มี 7 ราง คือ รถไฟชานเมืองและรถไฟทางไกล 3 ราง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 2 ราง และรถไฟความเร็วสูง 2 ราง จะเห็นว่าแบ่งการใช้ประโยชน์ชัดเจน ไม่ได้ทับซ้อนกัน และจะไม่มีปัญหาจุดตัดทางรถไฟช่วงดังกล่าว เพราะจะยกระดับมาใช้รางร่วมกับรถไฟชานเมือง หากยกเลิกโครงการสายสีแดงและใช้รางร่วมกับแอร์พอร์ตลิงค์ หรือรถไฟทางไกล จะมีปัญหาเรื่องจำนวนสถานีและจุดจอดรถไฟ

อย่างไรก็ตาม รางขนาด 1 เมตรยังใช้อยู่ในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซีย พม่า ลาว กัมพูชา รวมถึงออสเตรเลียและญี่ปุ่น หรือมีสัดส่วนการใช้ 20% โดยสามารถปรับปรุงเพิ่มความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีเพียงจีนที่ใช้รางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร กระทรวงต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ในการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟกับประเทศเพื่อนบ้าน

"หากจะใช้รางขนาดมาตรฐานเพื่อเชื่อมต่อกับจีน จะต้องคำนึงถึงการต่อเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยต้องพิจารณาในทุกมิติ คาดว่าทั้งหมดนี้จะได้ข้อสรุปในสัปดาห์หน้า" นายชัชชาติกล่าว

รมต.ร่วมถกผู้บริหารหาทางออกให้ 'ชัจจ์'

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในทางเทคนิคหรือในทางปฏิบัติ ไม่สามารถปรับขนาดรางรถไฟสายสีแดงเป็น 1.435 เมตรได้ เพราะระบบเดิมและโครงสร้างหลักใช้ขนาด 1 เมตร แต่ต้องหาทางออกให้ พล.ต.ท.ชัจจ์ หลังให้สัมภาษณ์ว่าจะเสนอให้ยกเลิกโครงการสายสีแดง

"ก่อนการแถลงผลงานกระทรวง นายจารุพงศ์ นายชัชชาติ ได้ประชุมร่วมกับปลัดกระทรวงคมนาคม รองปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้อำนวยการ สนข.และผู้เกี่ยวข้องได้หารือถึงประเด็นดังกล่าวว่าจะหาทางออกให้ พล.ต.ท.ชัจจ์อย่างไร เพราะเป็นประเด็นที่จะถูกซักถามในการแถลงผลงานอย่างแน่นอน"

นายจารุพงศ์ยังกล่าวถึงโครงการจัดซื้อหัวรถจักรดีเซล AC-AC จำนวน 20 หัว และการจัดซื้อหัวรถจักรตามแผนของ ร.ฟ.ท.ว่าไม่มีผลกระทบและต้องดำเนินการต่อไป เพราะ ร.ฟ.ท.มีปัญหาขาดแคลนหัวรถจักรเป็นจำนวนมาก และต้องหาหัวรถจักรมารองรับสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องหรือสถานีไอซีดีลาดกระบัง ซึ่งมีระบบรถไฟทางคู่รองรับอยู่แล้ว

ชูผลงานเปิดใช้ดอนเมือง-ยกเลิกค่าประกันอีซี่พาส

อย่างไรก็ตาม วานนี้ (8 ก.ย.) นายจารุพงศ์และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมทั้ง 2 คน ได้แถลงผลงานในรอบ 1 ปี โดยนายจารุพงศ์ระบุว่าผลงานที่พอใจและเชื่อว่าโดนใจประชาชน คือ การฟื้นฟูท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ รวมทั้งการยกเลิกเงินประกันบัตรอีซี่พาส จำนวน 800 บาท เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนผู้ใช้ทางพิเศษ รวมทั้งการผลักดันโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทาง เพื่อให้ลงนามสัญญาจ้างได้ตามแผน

สำหรับผลงานกระทรวงฯในรอบ 1 ปี อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ “ฟื้นฟู ดูแล แก้ไข มุ่งไกลอาเซียน” โดยเน้นขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้เป็นรูปธรรม ทั้งเรื่องรถไฟฟ้า 10 สายทาง การก่อสร้างรถไฟทางคู่ การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง พัฒนาท่าอากาศยานสากลและภูมิภาคเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบิน การท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าทางอากาศรองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

"เป้าหมายคือการลดต้นทุนโลจิสติกส์ 2% ภายในปี 2563 ซึ่งกระทรวงมีโครงการลงทุนพัฒนาระบบการขนส่งทั้งทางบก น้ำ อากาศ และราง วงเงิน 1.98 แสนล้านบาท โดยมุ่งเน้นการลงทุนทางรางมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วน 65.05% ของวงเงินลงทุนทั้งหมด รองลงมาคือถนน 24.20% น้ำ 6.51% และทางอากาศ 4.24%" นายจารุพงศ์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2012 2:04 am    Post subject: Reply with quote

^^^
ชะรอย บิ๊กชัจจจ์จะเกิดอาการ ไปเสียแล้ว เพื่อเอาใจนายโดยหาเหตุล้มโครงการเพื่อล้่มสัญญาเงินกู้ญี่ปุ่นเพื่อเอาจีนแดงเข้ามาเสียบแทนฐานที่ญี่ปุ่นไม่แบ่งค่าคอมมิชชั่นให้เหมือนญี่ปุ่น - ทำแบบไม่ดูตาม้าตาเรือคนเขาก็พากันรุมถอนหงอก จนจะเสียคนตอนแก่ นั้นแหละครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/09/2012 7:24 am    Post subject: Reply with quote

ชะลอรถไฟสายสีแดง-รางคู่ ตัวอย่างคลาสสิกการเมืองไทย
การเมือง : ทัศนะวิจารณ์
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 10 กันยายน 2555 01:00

พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งให้ทบทวนโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ใหม่ 800 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกอย่างมาก โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงนั้นได้ประกวดราคาและมีเอกชนที่เข้าร่วมประมูลชนะการประกวดราคาไปแล้ว แต่ พล.ต.ท.ชัจจ์มั่นใจว่าไม่มีปัญหากับเอกชนที่ชนะการประมูล เนื่องจากการปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่ในครั้งนี้สามารถทำความเข้าใจกับเอกชนได้ และเชื่อว่านักลงทุนจะมีความมั่นใจนโยบายรัฐบาลมากขึ้น

เหตุผลการยกเลิกทั้งสองโครงการในครั้งนี้ พล.ต.ท.ชัจจ์ บอกว่า ในโครงการรถไฟสายสีแดงนั้น มีแผนจะพัฒนาเชื่อมต่อกับโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ซึ่งจะทำให้เชื่อมระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองที่รัฐบาลได้เปิดใช้บริการ โดยจะขยายต่อจากสถานีพญาไท ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่นั้น พล.ต.ท.ชัจจ์อ้างว่าต้องการปรับให้รางรถไฟของไทยมีมาตรฐานสากล เนื่องจากต้องการก่อสร้างรางมาตรฐาน ความกว้าง 1.435 เมตร แต่ในปัจจุบันความกว้างของรางรถไฟไทยมีขนาด 1 เมตร

หากฟังเหตุผลของการปรับเปลี่ยนนโยบายในครั้งนี้ ทั้งการอ้างการเชื่อมโยงสนามบินทั้งสองแห่ง และประหยัดงบประมาณนับแสนล้านบาท รวมทั้งการสร้างมาตรฐานทางรถไฟไทยนั้น ถือว่าเป็นเหตุผลที่รับฟังได้ แต่อาจมีข้อสงสัยว่าเหตุใดจึงยกเลิกในช่วงเวลานี้ ทั้งๆ ที่เวลาผ่านมาเกือบ 1 ปี กระทรวงคมนาคมที่มีแผนพัฒนาการขนส่งทั่วประเทศน่าจะเสนอความเห็นมาก่อนหน้านั้น หากเห็นว่าไม่มีความเหมาะสม อีกทั้งการยกเลิกครั้งนี้ก็ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงอย่างมาก แทนที่จะทบทวนทั้งระบบที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน

กระทรวงคมนาคมมักจะประกาศเสมอว่าจะเร่งรัดพัฒนาระบบคมนาคม โดยเฉพาะรถไฟฟ้า 10 สายที่ต้องการจะเร่งสร้างให้ได้ในสมัยรัฐบาลชุดนี้ และรัฐบาลชุดนี้ก็เหมือนกับรัฐบาลในชุดที่ผ่านๆ มา ในการเน้นพัฒนาระบบคมนาคม เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาประเทศ และทุกรัฐบาลมักจะบ่นเสมอว่าโครงการพัฒนาระบบรางของไทยนั้นล่าช้าและที่เป็นอยู่ล้าสมัย แต่ก็ปรากฏแทบทุกรัฐบาลเช่นกันที่มักจะมีการทบทวนแผนใหม่ โดยอ้างเหตุผลในหลายๆ ด้าน ซึ่งก็ล้วนน่ารับฟังทั้งสิ้น

ในกรณีนี้ กระทรวงคมนาคมก็ทำเหมือนในอดีตคือการทบทวนความเหมาะสมใหม่ แม้จะเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แต่คำถามก็คือหน่วยงานของรัฐที่มักจะมีแผนการพัฒนาด้านการขนส่งอยู่แล้วและมีการศึกษากันมาอย่างดีแล้ว เหตุใดจึงมีการเปลี่ยนได้โดยง่ายเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ซึ่งกรณีนี้อาจเป็นปัญหาคลาสสิกที่มักจะเกิดขึ้นกับโครงการขนาดใหญ่ของไทยเสมอ กล่าวคือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็มักจะมีการชะลอหรือเปลี่ยนแปลงโครงการไปด้วย

บรรดาที่ปรึกษารัฐบาลชุดนี้ได้ทำแผนพัฒนาประเทศ โดยเรื่องคมนาคมเป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องรีบทำ เนื่องจากรัฐบาลที่ผ่านมานั้นแทบไม่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เลย และหากโครงการเหล่านี้มีความจำเป็นในการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติเช่นนี้ ก็ยิ่งมีความจำเป็น แต่สิ่งที่เรากังวลกรณีนี้ ซึ่งกำลังจะกลายเป็นตัวอย่างคลาสสิกอีกหนึ่งกรณี ก็คือการเมืองมักชอบสร้างนโยบายใหม่ๆ ออกมาทดแทนนโยบายเดิม แต่ผลกระทบที่ตามมาคือการเสียโอกาสของสังคมไทยโดยรวม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/09/2012 7:29 am    Post subject: Reply with quote

'จารุพงศ์'เดินหน้า'สายสีแดง' รถไฟรางคู่ยัน 1 ม.เหมือนเดิม
วันที่ 09 กันยายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 35 ฉบับที่ 12601 มติชนรายวัน

'จารุพงศ์'สวนทาง'ชัจจ์' เตรียมเคาะขนาดรางรถไฟสายสีแดงสัปดาห์หน้า ยันเดินหน้าต่อไปแน่ไม่มียกเลิกโครงการ ส่วนรถไฟรางคู่เดินหน้าใช้ราง 1 ม.เหมือนเดิม

ล่าสุดนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยเมื่อวันที่ 8 กันยายน ว่า ในสัปดาห์หน้าจะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อสรุปในการพัฒนาระบบรางในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดง เส้นทางบางซื่อ-รังสิต ที่อยู่ระหว่างการทบทวนว่าจะใช้รางแบบใด ระหว่างรางแบบมิดเดิลเกต (ขนาด 1 เมตร) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือรางแบบสแตนดาร์ดเกต (ขนาด 1.435 เมตร) เชื่อว่าหลังหารือกันแล้วน่าจะได้รับคำตอบภายในสัปดาห์เดียวกัน

สิ่งที่เราต้องเร่งดำเนินการ คือ การเร่งระดมความคิดเห็น โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) รวบรวมข้อมูลในการพัฒนาระบบรางทั้งหมด ทั้งข้อดีข้อเสีย ระหว่างรางขนาด 1.435 เมตร และขนาด 1 เมตร เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้มาพิจารณาว่าเราจะเดินหน้าไปในทิศทางใด โดยจะสามารถสรุปได้ภายในสัปดาห์หน้าแน่นอนŽ นายจารุพงศ์ กล่าว

นายจารุพงศ์กล่าวว่า ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่วนที่สำคัญที่สุดคือสถานี เพราะถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ ไม่อยากให้ไปมองที่ขนาดของราง โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิตจะเดินหน้าต่อไปแน่นอน แต่ในการร่างสัญญาจะจัดทำสัญญาแบบปลายเปิดในส่วนของขนาดรางเอาไว้ การร่างสัญญาจะต้องใช้ความรอบคอบเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการฟ้องร้องจากบริษัทที่ร่วมประมูล และหากมีการปรับเปลี่ยนขนาดรางมาใช้แบบ 1.435 เมตรจริง อาจจะทำให้มูลค่าของโครงการสูงขึ้น แต่จะสูงขึ้นเท่าใดนั้นต้องรอดูอีกครั้ง กระทรวงคมนาคมมีกรอบราคาที่ได้ทำประมูลเอาไว้อยู่แล้ว ทั้งนี้จะต้องไม่ทำให้โครงการก่อสร้างล่าช้าออกไปมากกว่านี้ เนื่องจากปัจจุบันมีความล่าช้ากว่าแผนแล้วถึง 2 ปี

นายจารุพงศ์กล่าวว่า ในส่วนรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ ที่มีการใช้รางขนาด 1 เมตรอยู่นั้นก็ดูแลต่อไป จะไม่มีการเปลี่ยนเป็นรางขนาด 1.435 เมตร เพราะต้องใช้งบประมาณสูงกว่า 4 แสนล้านในการเปลี่ยน และโครงการไหนที่เซ็นสัญญาก่อสร้างขนาด 1 เมตรไปแล้ว อย่างในเส้นทางฉะเชิงเทรา-แก่งคอย ต้องเดินหน้าต่อไป แต่การก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ใหม่ก็ปรับให้เป็นรางขนาด 1.435 เมตร เรื่องดังกล่าวจะต้องนำมาระดมความคิดเห็นด้วยเช่นกัน

นายจารุพงศ์กล่าวว่า สำหรับผลงานของกระทรวงในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ถามว่าสอบผ่านหรือไม่ ต้องไปถามกับประชาชน จะเห็นคำตอบได้จากการเลือกตั้งครั้งต่อไป โดยผลงานที่น่าภาคภูมิใจมากที่สุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา คือ การเปิดใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้ง การยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมของบัตรอีซี่พาส ส่วนเป้าหมายต่อไปคือจะเดินหน้าลดต้นทุนค่าขนส่ง จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 7.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะต้องปรับลดลงให้เหลือ 5% ของจีดีพี นอกจากนี้จะเดินหน้านโยบายของรัฐบาลในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคทั้ง 7 ประเทศ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการขนส่ง การลดขั้นตอนในการขนส่งระหว่างประเทศ โดยผลักดันให้เกิดวันสต๊อปเซอร์วิส โดยเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านให้มีการตรวจคนเข้าเมืองเฉพาะขาเข้าเท่านั้น เพื่อความรวดเร็วในการขนส่ง เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์การเชื่อมต่อของแต่ละประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้มีความสะดวกมากขึ้น

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกยังมีการใช้รางขนาด 1 ม.อยู่ประมาณ 25% ของการใช้ระบบรางทั้งหมด ประเทศรอบบ้านของไทยใช้รางขนาด 1 ม.อยู่ ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซียที่ยังใช้รางขนาด 1 ม.เป็นส่วนใหญ่ รถไฟของมาเลเซียมีความทันสมัย เป็นหัวรถจักรที่ใช้พลังงานดีเซลผสมกับไฟฟ้า วิ่งได้เร็วกว่า 160 กม./ชม. จึงไม่อยากให้มองว่ารางขนาด 1 เมตรเป็นรางแบบเก่า แต่อยากให้มองว่าราง 1 เมตรนั้นเป็นระบบรางชนิดหนึ่งเท่านั้น

สาเหตุที่ภาพของรางขนาด 1 เมตรไม่ดีนั้น เป็นเพราะที่ผ่านมาคนทั่วไปเห็นภาพที่ไม่ดีของ ร.ฟ.ท.ไปผูกกับขนาดราง 1 เมตร เราต้องมาดูกันว่าเราเหมาะสมที่จะใช้รางขนาดเท่าใด หากเราจะเชื่อมต่อจีน เราก็ต้องใช้ราง 1.435 เมตร แต่ประเทศเพื่อนบ้านใช้ 1 เมตร เราก็ต้องมาระดมความคิดเห็นกัน น่าจะได้ข้อสรุปในสัปดาห์หน้าŽ นายชัชชาติกล่าว

นายชัชชาติกล่าวว่า ที่ผ่านมาโครงการรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต มีปัญหาทางวิ่งทับซ้อนกันระหว่างรถไฟชานเมือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ สร้างเชื่อมต่อระหว่างสนามบินดอนเมืองกับสนามบินสุวรรณภูมิ และโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต ทำให้ที่ผ่านมามีแนวคิดที่ว่าจะนำรถไฟฟ้าสายสีแดง ใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เนื่องจากมีขนาดรางที่เท่ากันคือ รางขนาด 1.435 เมตร แต่หากดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ต้องทำสถานีถี่มากขึ้น และทำให้แอร์พอร์ตลิงก์วิ่งได้ช้าลง ซึ่งผิดวัตถุประสงค์ของแอร์พอร์ตลิงก์ ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่ปัจจุบันได้มีการวางรางขนาด 1 เมตรไว้ จะมีการนำไปหารือด้วยว่าจะมีการปรับเปลี่ยนเป็นรางขนาด 1.435 เมตรด้วยหรือไม่ และหากมีการปรับเปลี่ยนจะไม่กระทบต่อการประมูลจัดซื้อหัวจักรดีเซลใหม่ จำนวน 20 คันที่เพิ่งดำเนินการไป เนื่องจากปัจจุบัน ร.ฟ.ท.มีปัญหาขาดแคลนหัวจักรรถไฟอยู่ การจัดซื้อหัวจักรใหม่ 20 คัน เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดหาหัวจักรรถไฟใหม่จำนวน 70 คัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 10/09/2012 8:45 am    Post subject: Reply with quote

จะถอนหงอกแกก็ตอนนี้แหละ และผมไม่เชื่อมือที่ปรึกษาระดับเทกระโถนอีกด้วย พูดเหมือนกับตัวเองเป็น รมว.เลยทีเดียว Cool

เคยรับรู้เรื่องระบบ ARL หรือไม่ ? เพราะ เป็นระบบเดียวที่เชื่อมโยงขนส่งผู้โดยสารและสัมภาระระหว่างสนามบินขนาดใหญ่ทั้งสองแห่งเข้าด้วยกันโดยใช้เวลาในการเดินทางให้น้อยที่สุด มิใช่ระบบขนส่งมวลชนแบบ BTS หรือ MRT แถมยังมีนโยบายลดค่าโดยสารให้เหลือเพียง 20 บาทตลอดสายอีกด้วย แล้วเขาจะลงทุนทำเกลืออะไร ? กู้เงินรัฐบาลมาลงทุนหรือเปล่า ก็ไม่ใช่

แค่คิดการบ้านนี้ ท่าน รมว.ก็สอบตกแล้ว เข้าใจว่าเริ่มมีเกาเหลาระหว่างกันในกระทรวงขึ้นแล้ว อย่าดันทุรังจนเป็นเรื่องราวเหมือนใน กห.ก็แล้วกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/09/2012 9:57 pm    Post subject: Reply with quote

ขู่ขนคนเชียร์"ชัจจ์”เลิกสีแดง คมนาคมหวั่นหากทบทวนโครงการล่าช้าอีก 3 ปี
ไทยโพสต์ 11 September 2555

ซัดกันนัว “เสงี่ยม” ขู่ "จารุพงศ์" เตรียมขนม็อบแดงเชียร์ ”ชัจจ์” พร้อมเล็งฟ้องผิดมาตรา 157 ด้านคมนาคมแจง สายสีแดงบางซื่อ-รังสิต มีจุดประสงค์การใช้งานต่างจากแอร์พอร์ตเรลลิงค์ หวั่นหากให้ทบทวนโครงการถอยหลังเข้าคลอง ล่าช้าออกไปอีกกว่า 3 ปี

พ.ต.ต.เสงี่ยม สำราญรัตน์ ที่ปรึกษาสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จะเตรียมคนเสื้อแดงมาให้การสนับสนุนพล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รมช.คมนาคมที่ให้ทบทวนโครงการระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และการปรับขนาดรางให้มีความกว้าง 1.435 เมตร เพราะทำให้โครงการดังกล่าวสามารถเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 4 เส้นทาง หาก นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม ดึงดันเดินหน้าโครงการดังกล่าว ก็จะแจ้งความกรณีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ 157 เพราะโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่ผ่านความเห็นชอบสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายโสภณ ซารัมย์ อดีต รมว.คมนาคม งบประมาณ 8.7 พันล้านบาท เกิดข้อผิดพลาดในทางวิศวกรรมหลายประการแต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหา หรือใช้การไม่ได้ ทำให้รัฐบาลสูญเสียเงินค่าปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยแต่ละเดือนนับร้อยล้านบาท

“หากยังคงเดินหน้าระบบราง 1 เมตรเดิม จะผิดสนธิสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยการสร้างโครงข่ายการขนส่งทางรางรถไฟของประเทศในเอเชียและแปซิฟิก ที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับสนธิสัญญา ค.ศ.1969 ฉบับที่ 1 และ 2 ที่รัฐบาลได้ลงนามไว้ ซึ่งอาจจะถูกฟ้องต่อศาลโลกได้ว่า กระทรวงคมนาคมผิดสนธิสัญญาสากลในการขัดขวางไม่ให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งระหว่างประเทศ” พ.ต.ต. เสงี่ยม กล่าว

แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า ขณะนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยังไม่เข้าไปแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว เพราะต้องการให้รัฐมนตรีทั้งสองยุติปัญหาภายในกระทรวงเอง และไม่ต้องการก้าวก่ายการทำงาน อย่างไรก็ตาม นโยบายของพรรคเพื่อไทยในฐานะที่เป็นพรรครัฐบาล เห็นว่าการใช้ระบบราง 1.43 เมตร ที่เป็นรางมาตรฐาน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดี คือการใช้ขนาดราง 1.43 เมตร ทางรัฐบาลจีนสนับสนุนการลงทุนให้รัฐบาลไทยทั้งหมด ค่าก่อสร้างทาง ราง สถานี และหัวรถจักร โดยให้ผ่อนชำระในภายหลัง 10 ปี ในรูปบาร์เตอร์เทรด หรือเป็นตัวเงิน แต่ข้อเสียคือ ไทยจะเสียเปรียบทางการค้า เนื่องจากจีนสามารถยึดเศรษฐกิจอาเซียนด้วยระบบรางจากการขนส่งสินค้ามาขายได้อย่างสะดวก

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม โครงการรถไฟฟ้าสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตนั้น มีจุดประสงค์การใช้งานที่แตกต่างจากโครงการส่วนต่อขยายรถแอร์พอร์ตเรลลิงค์ พญาไท-มักกะสัน-ดอนเมือง โดยสายสีแดงนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ความปลอดภัย จึงต้องยกระดับเพื่อข้ามจุดตัดที่มีอยู่ 21 จุด รวมถึงเพื่อการขนคนที่อยู่ชานเมืองเข้ามาทำงานในเขตเมือง ส่วนโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงค์นั้น เป็นรถไฟฟ้าที่ใช้เฉพาะเป้าหมาย เชื่อมต่อระหว่างสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิ รวมถึงเตรียมที่จะขยายออกไปยัง จ.ระยอง

“หากมีการทบทวนหรือชะลอการดำเนินงานโครงการรถไฟสายสีแดงนั้น เท่ากับเราถอยหลังเข้าคลอง สัญญาที่มีอยู่ทั้งหมดก็ต้องเริ่มใหม่ และราคาก็ต้องคิดกันใหม่ คงไม่ได้ราคาเดิม แต่จะแพงมากขึ้น ซึ่งโครงการก็ต้องล่าช้าออกไปอีกอย่างน้อย 3-4 ปี ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วเมื่อไหร่โครงการรถไฟพัฒนาประเทศจะเกิดได้ ที่ผ่านมาก็ล่าช้าไปมากแล้ว“ แหล่งข่าวกล่าว

นายศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมติดตามการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทางประมาณ 18.4 กม. วงเงิน 52,851 ล้านบาท ได้มีมติให้ทบทวนรูปแบบการลงทุน จากเดิมที่ ครม.มีมติให้ลงทุนแบบ PPP Gross Cost หรือรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และให้เอกชนลงทุนระบบเดินรถไฟฟ้า เป็นแบบ PPP Net Cost หรือรัฐเป็นผู้ลงทุนระบบราง และจ้างเอกชนเดินรถแทน เนื่องจากพบว่าจะมีประโยชน์ในระยะยาวมากกว่า รวมทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนการเดินรถ หลังจากนี้ จะเสนอให้นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม พิจารณาเพื่อนำเสนอให้ ครม.พิจารณาต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 147, 148, 149  Next
Page 2 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©