Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181743
ทั้งหมด:13492981
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - สหรัฐฟื้นฟูกิจการรถไฟ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

สหรัฐฟื้นฟูกิจการรถไฟ
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/09/2012 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

headtrack wrote:
ข้อมูล High Line Project จากวิกิพีเดีย ครับ
http://en.m.wikipedia.org/wiki/High_Line_(New_York_City)

ออกแบบโดย James Corner; Landscape Architect

ขอบคุณมากครับคุณต้น สำหรับความรู้เพิ่มเติม Very Happy

มาแก้ไขลิงค์ครับ เครื่องหมายวงเล็บ โพสต์โดยตรงใน RFT ไม่ได้ครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/High_Line_(New_York_City)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
headtrack
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 30/05/2009
Posts: 1627
Location: ละแวกภาคกลางตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง

PostPosted: 27/09/2012 4:40 pm    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณมากครับ อาจารย์...

จริงๆ ผมมีข้อมูลในสื่อสิ่งพิมพ์ด้วย ผมติดตามโครงการนี้เพราะน่าสนใจที่ ได้รับการออกแบบเปน "ภูมิทัศน์เมือง" จริงๆ ไม่ใช่เน้นประดับประดาจับต้องไม่ได้อย่างบ้านเรา

อีกทั้งในแง่พืชพรรณเอง ก็เน้นพืชพรรณที่ขึ้นรกร้างอยู่เดิม (วัชพืชนั่นเอง) เพียงแต่นำฟังก์ชันเข้าไปใส่ และออกแบบให้มีความปลอดภัยในการเข้าไปใช้พื้นที่
...
_________________
Click on the image for full size
Find me on Instagram: @632knongtsaikhaow
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/09/2012 6:11 pm    Post subject: Reply with quote

ประชาชาติธุรกิจ นำภาพมาลงเพิ่มเติมแล้วครับ
----
ไอเดียชาวเมืองนิวยอร์ก The High Line จากรางรถไฟเก่ากลายเป็นสวนสาธารณะลอยฟ้า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 27 ก.ย. 2555 เวลา 15:46:52 น.


อัปโหลดโดย friendsofthehighline เมื่อ 25 ม.ค. 2009
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/11/2012 3:31 pm    Post subject: Reply with quote

รถด่วนขบวนปาร์ตี้
วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน 2012 เวลา 12:43 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ฐ.BLOGGER - บูดาเปสต์

"ปาร์ตี้ เทรน" รถไฟสายด่วนที่วิ่งจากแคลิฟอร์เนียตอนใต้ไปยังลาสเวกัสกำลังจะเปิดให้บริการในราวเดือนธันวาคม 2556 รถไฟดังกล่าวมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "เอ็กซ์ เทรน" (X Train) ซึ่งย่อมาจากคำว่าเอ็กซ์เพรส (express) ที่แปลว่าด่วนนั่นเอง นั่นหมายถึงการเดินทางราว 5 ชั่วโมง เป็นทางเลือกใหม่แทนการเดินทางรอนแรมด้วยรถยนต์ส่วนตัว รถบัส หรือเครื่องบิน

โครงการบริการรถไฟเอ็กซ์เทรนเป็นข้อตกลงความร่วมมือระหว่างบริษัท ยูเนี่ยน แปซิฟิก เรลโร้ดฯ และบริษัท ลาสเวกัส เรลเวย์ เอ็กซ์เพรสฯ ซึ่งเพิ่งลงนามกันไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (16 พ.ย.)นายไมเคิล บาร์รอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลาสเวกัส เรลเวย์ เอ็กซ์เพรส บริษัทร่วมทุนมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (กว่า 3.1 พันล้านบาท) เปิดเผยว่า นี่คือรถไฟเพื่อการปาร์ตี้สังสรรค์ระดับหรูฟู่ฟ่าที่มีเครื่องอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงครบครัน ไม่ว่าจะเป็นทีวีจอยักษ์ เก้าอี้นวมปรับเอนนอนสบาย หรือคลับเลานจ์ขนาดใหญ่สองตู้โดยสาร "ความคิดของเราก็คือ เมื่อคุณก้าวขึ้นรถไฟขบวนนี้ คุณจะรู้สึกเหมือนถึงลาสเวกัสแล้วในทันทีนั้น ว่ากันตามจริงมันก็คือไนต์คลับติดล้อดีๆนี่เอง" เขาคาดหมายว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถขบวนแรกได้ก่อนวันคริสต์มาสปีหน้า ส่วนความจุผู้โดยสารคือ 576 ที่นั่งและรับเฉพาะผู้โดยสารที่บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น อัตราค่าโดยสารเที่ยวละ 99 ดอลลาร์ (ประมาณกว่า 3 พันบาท) ครอบคลุมอาหาร 1 มื้อและเครื่องดื่ม ส่วนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สารพัดชนิดก็มีไว้จำหน่ายครบครัน

ปัจจุบัน นักเดินทางและนักท่องเที่ยวที่มายังลาสเวกัสนั้น เป็นผู้ที่มาจากแคลิฟอร์เนียตอนใต้ประมาณ 25 % แต่การเดินทางในปัจจุบันยังไม่สามารถนั่งรถไฟตรงถึงลาสเวกัสได้เลย ก่อนหน้านี้เคยมีการเสนอโครงการรถไฟที่ชื่อ "เอ็กซ์เพรสเวสต์" (XpressWest) เป็นรถไฟความเร็วสูงวิ่งระหว่างแคลิฟอร์เนียใต้และลาสเวกัส แต่ก็ต้องพับโครงการไป เพราะใช้เงินลงทุนสูงหลายพันล้านดอลลาร์ อีกทั้งยังต้องวางรางรถไฟใหม่ และตามแผนต้องเริ่มเฟสแรกในเมืองวิกเตอร์วิลล์ที่ห่างไกลปืนเที่ยง (ห่างจากลอสแองเจลีสประมาณ 100 ไมล์) ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเส้นทางรถไฟไร้จุดหมาย

แต่สำหรับรถไฟเอ็กซ์เทรนที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ไม่ต้องวางรางรถไฟใหม่เพราะสามารถวิ่งไปบนรางรถไฟแอมแทร็กที่มีอยู่แล้วโดยวิ่งที่อัตราความเร็วมาตรฐาน สถานีต้นทางคือเมืองฟุลเลอร์ตั้นในรัฐแคลิฟอร์เนียซึ่งมีสถานีรถไฟแอมแทร็กตั้งอยู่แล้ว และเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับรถไฟใต้ดิน ส่วนปลายทางจะเป็นสถานีใจกลางลาสเวกัส ในอดีต เส้นทางสายนี้เคยมีรถไฟของแอมแทร็กวิ่งรับส่งผู้โดยสาร แต่เนื่องจากจำนวนคนน้อยจึงยกเลิกไปในปี 2540 เหลือเพียงให้รถไฟขนส่งสินค้าวิ่งอยู่ในปัจจุบัน

ผู้บริหารของลาสเวกัส เรลเวย์ เอ็กซ์เพรสเปิดเผยว่า บริษัทใช้เวลาถึง 4 ปีแล้วสำหรับการเตรียมเปิดให้บริการและใช้งบไปทั้งสิ้นถึงขณะนี้ 12 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 372 ล้านบาท ขณะนี้ซื้อรถไฟมาแล้ว 16 ตู้ขบวน กำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงตกแต่ง นอกจากนี้ยังต้องปรับปรุงตัวสถานี ตามแผนเบื้องต้นจะเปิดบริการวันละ 1 เที่ยว ทุกวันพฤหัสบดี ศุกร์ อาทิตย์ และจันทร์ เจาะกลุ่มผู้ที่เที่ยวลาสเวกัสจนเหนื่อยอ่อนและไม่ต้องการขับรถกลับบ้านเองให้ต้องทรมานกับสภาพการจราจรติดขัดซึ่งมักเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันที่นักท่องเที่ยวแห่กันเดินทางกลับ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาถึง 7 ชั่วโมง

ทอม สแกงเกอร์ ที่ปรึกษาด้านการขนส่ง สำนักงานบริการนักท่องเที่ยวและการจัดประชุมของลาสเวกัส ให้ความเห็นว่า นอกจากรถไฟด่วนเอ็กซ์เทรนแล้ว ขณะนี้ยังมีระบบขนส่งรูปแบบอื่นมาเป็นทางเลือกใหม่ให้กับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมายังลาสเวกัส เช่น รถบัสเกรย์ฮาวด์เอ็กซ์เพรสที่วิ่งแบบนอนสต็อปจากลอสแองเจลีสสู่ลาสเวกัสเพิ่งเปิดบริการเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ทั้งรถไฟและรสบัสด่วนดังกล่าวมีเป้าหมายตอบสนองนักเดินทางคนรุ่นใหม่ที่อายุน้อยกว่ากลุ่มที่นิยมขับรถยนต์มาเอง ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม และต้องการเดินทางด้วยระบบขนส่งความเร็วสูง เพื่อสามารถประหยัดเวลา

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,796 วันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/05/2013 10:13 am    Post subject: Reply with quote

'เรลเล็กซ์' รถไฟตู้แช่เพื่อสินค้าเกษตรโดยเฉพาะ
VoiceTV by Phanuwat 30 พฤษภาคม 2556 เวลา 08:07 น.

สหรัฐฯพัฒนาการคมนาคมขนส่งด้วยระบบราง เป็นช่องทางกระจายสินค้าเกษตร จำพวกผัก และผลไม้ โดยไม่ทำให้สินค้าต้องเน่าเสียหายก่อนถึงจุดหมาย แม้จะอยู่ห่างออกไปหลายพันกิโลเมตร

แม้สหรัฐอเมริกา จะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ที่ยังคงล้าหลังในเรื่องระบบราง หากเทียบกับชาติอื่นในกลุ่มเดียวกัน แต่ข้อด้อยดังกล่าว ก็ไม่สามารถหยุดยั้งบริษัทเอกชนอเมริกัน ให้หาวิธีพัฒนาขบวนรถไฟ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

หนึ่งในนั้น คือ "เรลเล็กซ์" บริษัทขนส่งภายในประเทศ ซึ่งได้รับการยกย่องด้านการพัฒนานวัตกรรม เพื่อทำให้การกระจายสินค้าเกษตร ที่เน่าเสียง่าย มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

วิธีการที่เรลเล็กซ์ใช้ คือ การพัฒนาตู้โบกี้รถไฟ ให้กลายเป็นตู้แช่ขนาดใหญ่ที่มีระบบควบคุมความเย็นสำหรับเก็บพืชผักผลไม้ และสินค้าเน่าเสียง่ายอื่นๆ พร้อมทั้งร่วมมือกับ ยูเนียน แปซิฟิก เรลโรด หรือ ยูพี และ ซีเอสเอ็กซ์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการระบบรางในสหรัฐฯ เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนย้ายสินค้าเหล่านี้ ข้ามประเทศจากชายฝั่งตะวันตกอย่างในมลรัฐวอชิงตัน และแคลิฟอร์เนีย ไปส่งให้กับลูกค้าทางฝั่งตะวันออกในนครนิวยอร์ก

นอกจากนี้ ทันทีที่สินค้าถึงที่หมาย เรลเล็กซ์ยังมีพนักงาน และโกดังที่ออกแบบมาเพื่อรองรับขบวนรถไฟประเภทนี้โดยเฉพาะ เพื่อให้การขนถ่ายสินค้า และกักตุนสินค้าให้กับลูกค้าแบบครบวงจร เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังรับประกันความสดใหม่ของสินค้า ตลอดระยะทางจากแหล่งผลิตจนถึงมือผู้บริโภคอีกด้วย

สำหรับข้อดีของการขนส่งสินค้าด้วยวิธีนี้ นอกจากการรับประกันความสดใหม่ของผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ลูกค้ายังสามารถเก็บกักสินค้าไว้ภายในโกดังที่เรลเล็กซ์จัดให้ได้นานขึ้น เพื่อรอจังหวะปล่อยสินค้าออกสู่ท้องตลาดในช่วงเวลาที่เหมาะสม

นอกจากนี้ มันยังสะดวก ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากกว่าการขนส่งด้วยรถบรรทุก อีกทั้งยังเป็นระบบขนส่งทางบกที่ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดอีกด้วย

เรลเล็กซ์ เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2549 โดยวิ่งระหว่างมลรัฐวอชิงตัน ไปยังนิวยอร์ก ก่อนเพิ่มเป็น 3 สาย จากมลรัฐแคลิฟอร์เนีย กับนิวยอร์ก ในอีก 3 ปีต่อมา และเนื่องจากความต้องการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น เรลเล็กซ์ ยังเพิ่มเที่ยววิ่งของขบวนรถไฟตู้แช่ขนาด 55 โบกี้ จากเที่ยวเดียว เป็น 3 เที่ยวต่อสัปดาห์

ขณะที่ผู้บริหารของเรลเล็กซ์ เปิดเผยว่า บริษัทยังคงมีแผนขยายบริการในอนาคตอย่างต่อเนื่อง ในจำนวนนี้รวมถึง การก่อสร้างโกดังสินค้าเพิ่มเติมอีก 2 แห่งใกล้กับนครชิคาโก และแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ภายในปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 14/08/2013 6:46 pm    Post subject: Reply with quote

เป็นไปได้ไหม “ไฮเปอร์ลูป” วิ่งเร็ว 900 Km/h?

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14
14 สิงหาคม 2556 01:52 น.


น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับแนวคิดของ “อีลอน มัสก์” เศรษฐีนักลงทุนผู้เสนอแนวคิดระบบรางขนส่งใต้ดิน “ไฮเปอร์ลูป” ที่มีความเร็วยิ่งยวดเกือบ 1,000 กิโมเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะสามารถรับส่งผู้โดยระหว่างลอสแองเจลลิสและซานฟรานซิสโกในเวลาเพียง 30 นาที

อ้างตามคำอธิบายของ “อีลอน มัสก์” (Elon Musk) เศรษฐีนักลงทุน อธิบายถึงแนวคิดระบบขนส่งทางรางใต้ดินความเร็วสูง “ไฮเปอร์ลูป” (Hyperloop) ว่าจะสามารถเดินทางด้วยความเร็วถึง 966 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งความเร็วระดับนั้นจะบรรเทาปัญหาความแออัดบนทางด่วน และจะให้ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพกว่า สะดวกสบายกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการเดินทางด้วยรถโดยสาร รถไฟหรือเครื่องบิน

แนวคิดดังกล่าวจะเป็นไปได้ไหม? ไลฟ์ไซน์อ้างความคิดเห็นของ เจมส์ โพเวลล์ (James Powell) นักฟิสิกส์อเมริกัน ผู้ร่วมสร้างระบบขนส่งแม็กเลฟ (superconducting Maglev transportation system) รถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของแม่เหล็ก ซึ่งระบุว่าการสร้างระบบขนส่งที่มีความเร็วระดับนั้นต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งเชิงเทคนิคและทางการเมือง หนึ่งในความท้าทายคือรางของไฮเปอร์ลูปต้องเคลื่อนไปบนเส้นทางที่ต้องเลี่ยงจุดเลี้ยวหรือหุบเขา

“ทำได้ แต่คุณต้องสร้างรางหรืออุโมงค์ที่เป็นตรงมากๆ ที่ความเร็วระดับนั้นจำเป็นต้องใช้รางที่ตรงและอยู่บนพื้นราบเพื่อเลี่ยงการกระแทก ถ้าวิ่งด้วยความเร็ว 966 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คุณไม่สามารถไปในทางโค้งได้ คุณต้องเดินบนทางราบมากๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงทิศทางการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วนั้นจะส่งผลให้เกิดแรงมากระทำต่อตัวรถไฟความเร็วสูงอย่างมหาศาล ซึ่งทำให้การควบคุมการเคลื่อนที่เป็นไปได้ยาก” โพเวลล์อธิบาย

ห้องโดยสารกว้าง 2 เมตรของโครงการไฮเปอร์ลูป ถูกออกแบบมาให้วิ่งผ่านอุโมงค์ความดันต่ำ โดยอาศัยอากาศช่วยลดแรงกระแทก ต่างจากรางรถไฟแบบเดิม ซึ่งจะทำให้รถไฟในโครงการนี้วิ่งด้วยความเร็วกว่า 900 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้

สำหรับรถไฟแม่เหล็กตัวนำยิ่งยวดแม็กเลฟที่โพเวลล์ร่วมพัฒนากับกอร์ดอน แดนบี (Gordon Danby) นักฟิสิกส์อเมริกันอีกคนนั้น จะใช้แม่เหล็กในการยกและขับเคลื่อนรถไฟ ทำให้เคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วสูง เพราะไม่ต้องรับมือกับแรงเสียดทานจากการเสียดสีระหว่างล้อกับเพลาบนรางรถไฟ

รถไฟแม็กเลฟถูกออกแบบมาให้วิ่งด้วยความเร็วประมาณ 483 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ในเดือน ธ.ค.2003 รถไฟแม็กเลฟของญี่ปุ่นก็ทำลายสถิติที่ความเร็ว 591 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่แนวคิดของมัสก์ผู้ร่วมก่อตั้งบริการชำระเงินออนไลน์เพย์พาล (PayPal) จะมีความเร็วถึง 2 เท่าของความเร็วรถไฟแม็กเลฟ

มัสก์กล่าวว่าแนวคิดของไฮเปอร์ลูปนั้นเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุนสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐที่มีมูลค่าเกือบ 2.1 ล้านล้านบาท และวางแผนเชื่อมเมืองใหญ่ๆ ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งรวมซาคราเมนโต ซานฟรานซิสโก ลอสแองเจลลิส และซานดิเอโก แต่ถ้าโครงการนี้อนุมัติตามแผนเดิมเขาจะผิดหวังไม่ต่างจากคนอื่นๆ

ในเว็บไซต์โครงการไฮเปอร์ลูปมัสก์ตั้งคำถามว่า จะปล่อยให้แคลิฟอร์เนียที่เป็นที่ตั้งของซิลิกอนวัลเลย์และห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดัน และสร้างสิ่งที่เป็นดัชนี้ชี้วัดองค์ความรู้ทั้งหมดของโลก อีกทั้งยังส่งยานขับเคลื่อนไปลงดาวอังคาร สร้างรถไฟที่มีราคาต่อระยะทางแพงที่สุด แต่วิ่งช้าที่สุดในโลกได้อย่างไร? ตามความเห็นของเขาการลงทุนใหญ่ๆ ควรจะได้ผลตอบแทนกลับมาอย่างสมน้ำสมเนื้อ

//-------------------------------------------------------

เศรษฐีเพย์พาล เล็งสร้างยานความเร็วสูง "ไฮเปอร์ลูป" เร็วกว่ารถไฟไฮสปีด

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
14 สิงหาคม 2556 เวลา 23:30:43 น.

มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง "เพย์พาล" เปิดโครงการคิดค้นยานความเร็วสูง "ไฮเปอร์ลูป" ที่จะทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางจากลอสแอนเจลิสไปยังซานฟรานซิสโกได้ในเวลาแค่ 30 นาที

นายเอลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของธุรกิจชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตที่มีชื่อว่า เพย์พาล เปิดเผยระบบขนส่งความเร็วสูงสำหรับอนาคตนี้ว่า เกิดความคิดนี้เมื่อได้อ่านเรื่องโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงของรัฐแคลิฟอร์เนียและรู้สึกผิดหวัง เนื่องจากพิจารณาดูแล้ว เดินทางด้วยเครื่องบินยังจะถึงเร็วกว่าและสะดวกมากกว่า พร้อมกับระบุว่า ยานไฮเปอร์ลูปจะเป็นคำตอบสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางในระยะไม่เกิน1,600 กิโลเมตร โดยใช้เวลาน้อยที่สุด เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด แถมยังปลอดภัยที่สุดอีกด้วย

ยานไฮเปอร์ลูปนี้จะเป็นแคปซูลที่สามารถเดินทางด้วยความเร็วสูงไปภายในท่อที่เชื่อมต่อระหว่างต้นทางไปยังจุดหมายปลายทางต่างๆโดยอาศัยแรงกดอากาศทั้งสูงและต่ำภายในท่อ และภายในแคปซูลยังมีระบบหยุดฉุกเฉิน กับระบบสำรองอากาศในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น

สำหรับค่าก่อสร้างทั้งระบบมีมูลค่าราว 4,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เฉพาะการขนส่งผู้โดยสาร แต่หากขนส่งสินค้าด้วย จะต้องเพิ่มเป็น 5,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้เวลาในการก่อสร้างราว 7 ปี โดยตนจะลงมือก่อสร้างแคปซูลต้นแบบเอง

นายมาร์ติน อาร์เชอร์ จากสถาบันอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอน เผยว่าแนวความคิดของนายมัสก์มีความเป็นไปได้สูง เพราะจากผลสำเร็จของนายมัสก์ที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า เขาทำความฝันให้เป็นความจริงสำเร็จมาแล้ว เช่น การสร้างรถยนต์ไฟฟ้าให้มีความเร็วสูงได้สำเร็จ และยังสร้างจรวดให้แก่องค์การนาซ่าอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม นายมัสก์กล่าวว่า ไม่สงวนสิทธิที่คนอื่นจะนำเอาไอเดียของตนไปทำ เพราะตนยังคงปักหลักอยู่กับการผลิตรถไฟฟ้าและจรวดอยู่ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2013 8:13 pm    Post subject: Reply with quote

“ไฮเปอร์ลูป” ของจริงยังไม่มา สั่งพิมพ์โมเดล 3 มิติให้ดูไปก่อน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20
20 สิงหาคม 2556 00:10 น.
หลัง “อีลอน มัสก์” เศรษฐกิจนักลงทุนเสนอแนวคิด “ไฮเปอร์ลูป” ระบบรถไฟความเร็วสูงกว่า 900 km/h ทางดีไซเนอร์ของบริษัทการพิมพ์ 3 มิติ ก็ช่วยกันสร้างรถไฟระบบรางดังกล่าวออกมาให้เป็นรูปเป็นร่างด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ 3 เครื่อง

อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ผู้ก่อตั้งบริษัทสเปซเอกซ์ (SpaceX) และบริการชำระเงินออนไลน์เพย์พาล (PayPal) ร่วมทั้งร่วมก่อตั้งบริษัทเทสลามอเตอร์ส (Tesla Motors) บริษัทสร้าง ออกแบบและจำหน่ายรถไฟฟ้าและอะไหล่ เพิ่งเขย่าโลกอีกครั้งด้วยแนวคิดระบบรถไฟความเร็วสูง “ไฮเปอร์ลูป” (Hyperloop) ที่มีความเร็วกว่า 900 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าระบบรถไฟความเร็วสูงในปัจจุบันที่มีอยู่

ขณะที่แนวคิดดังกล่าวยังเป็นแค่แนวคิด ไลฟ์ไซน์ระบุว่า เจอร์รี โรเปลาโต (Jerry Ropelato) ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทรับออกแบบและพิมพ์วัตถุสามมิติ ไวท์คลาวด์ส (WhiteClouds) ก็ได้กระตุ้นทีมนักออกแบบ 5 คนของบริษัทให้ช่วยสร้างแบบจำลองของระบบรถไฟฟ้าความสูงดังกล่าวขึ้นมา

นักออกแบบแต่ละคนจะแยกกันศึกษาชิ้นส่วนในระบบไฮเปอร์ลูป แล้วออกแบบโมเดลสามมิติโดยอ้างอิงภาพที่มัสก์นำมาเผยแพร่แก่สื่อมวลชน ซึ่งระบบดังกล่าวยังรวมถึงแคปซูลขนส่งผู้โดยสารหรือพอดส์ (pods) ที่จะวิ่งผ่านท่อนำส่งยกระดับที่หนุนด้วยเสาค้ำและสถานีเพื่อการโดยสารทั้งขาไปและขามา

“ผมว่ามันน่าจะสนุกและน่าสนใจดีที่จะเ
ทีมงานใช้เครื่องพิมพ์สามมิติจำนวน 3 เครื่องสั่งพิมพ์ภาพต้นแบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ เครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องจะค่อยๆ พิมพ์แบบจำลองทีละชั้นๆ เครื่องพิมพ์หนึ่งทำหน้าที่พิมพ์เสาค้ำ อีกเครื่องพิมพ์หนึ่งทำหน้าที่พิมพ์ท่อนำส่งโดยใช้เรซิ่นใสในการพิมพ์ ส่วนอีกเครื่องจะพิมพ์สถานีและพอดส์ จากนั้นก็นำแต่ละชิ้นส่วนมาประกอบกันเป็นแบบจำลองระบบที่สมบูรณ์

เดิมจากการเปิดเผยของมัสก์ระบุว่าระบบไฮเปอร์ลูปนั้นจะวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 966 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ข้อมูลล่าสุดจากไลฟ์ไซน์ระบุว่า ระบบจะทำความเร็วได้ถึง 1,220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะนำส่งผู้โดยสารจากลอสแองเจลลิสถึงซานฟรานซิสโกในเวลาเพียง 30 นาที ต่างจากการเดินทางโดยรถยนต์ที่ต้องใช้เวลาถึง 5.5 ชั่วโมง และระบบจะให้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ส่วนแคปซูลโดยสารจะทำความเร็วดังกล่าวได้ โดยอาศัยการเดินทางจากการลดแรงกระแทกของอากาศ

มัสก์กล่าวว่า ระบบไฮเปอร์ลูปจะลดความแออัดของการจราจร และจะอำนวยการขนส่งที่ถูกกว่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ารถยนต์ อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในการลงทุนมากกว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงของแคลิฟอร์เนียที่วางแผนไว้และจะเชื่อมเมืองใหญ่ๆ ของรัฐเข้าด้วยกัน โดยมีงบลงทุนกว่า 2.1 ล้านล้านบาท แต่สำหรับโครงการไฮเปอร์ลูปตอนนี้ยังคงเป็นแค่โครงการขายฝัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 12/10/2013 9:27 am    Post subject: Reply with quote


วิดิโอโครงการรถไฟความเร็วสูง แคลิฟอเนีย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 22/01/2014 10:24 pm    Post subject: Reply with quote

แอบดูไฮสปีดเทรนอเมริกา มุ่งสู่เป้าหมายขน 400 ล้านคนทั่วสหรัฐ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
21 มกราคม 2557 เวลา 20:30:33 น.


หากวันนี้ "ประเทศไทย" ไม่ต้องเผชิญกับมรสุม "การเมือง" ที่รุมเร้าจนทำให้เมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้านบาทต้องชะลอไป ปีนี้ "คนไทย"คงได้เห็นเค้าลางการลงทุนโครงการ "รถไฟความเร็วสูง" ไปแล้ว

ปัจจุบันสถานะรถไฟความเร็วสูง 4 สายทาง ใช้เงินลงทุน 783,229 ล้านบาท ถึงจะไม่มีรัฐบาลมารันโครงการต่อ แต่ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ยังคงเดินหน้าศึกษารายละเอียดโครงการต่อไปให้จบ และรอรัฐบาลใหม่มาผลักดันให้โครงการเกิดขึ้น



แต่ในช่วงที่คนไทยกำลังรอ "รถไฟความเร็วสูง" มีหลายประเทศกำลังพัฒนาโครงการ แม้แต่มหาอำนาจของโลกอย่าง "สหรัฐอเมริกา" ก็กำหนดแผนพัฒนาระยะยาวร่วม 30 ปี และกำลังเร่งโครงการโปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูงของสหรัฐถูกผลักดันเป็นรูปธรรม เมื่อ "ประธานาธิบดีบารัก โอบามา" ลงนามผ่านกฎหมายฟื้นฟูและกระตุ้นการลงทุน (The American Recovery and Reinvestment Act) เมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2552 อนุมัติงบประมาณ 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปัจจุบันประมาณ 260,000 ล้านบาท) ให้กับคณะกรรมการบริหารกิจการรถไฟ (Federal Railroad Administration : FRA) เพื่อก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศรวมกว่า 82 โครงการ

สำหรับการกำหนดเส้นทางเดินรถ จะอาศัยการจับคู่จุดหมายปลายทาง เช่น เมืองนิวยอร์ก-วอชิงตัน แล้วนำมาประเมินผ่านดัชนีชี้วัด 6 ตัว ได้แก่ 1) จำนวนผู้โดยสารในอนาคต 2) ระยะทางการเดินรถที่เหมาะสม 3) ศักยภาพการเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งมวลชนอื่น 4) ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ 5) สภาพการจราจร และ 6) ความเป็นเขตมหานคร จากนั้นจะนำคะแนนที่ได้มาจัด 100 อันดับเส้นทาง เพื่อตัดสินใจลงทุนและก่อสร้างโครงการ เพื่อให้การลงทุนเกิดความคุ้มค่าในเชิงคมนาคม เศรษฐกิจและสังคมสูงสุด

ขณะนี้การก่อสร้างจะแบ่งออกเป็น 3 เฟส ในเฟสแรกเป็นการก่อสร้างระบบรางใน 3 เขตมหภาค (Megaregion) คือ

1) การเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ บอสตัน นิวยอร์ก ฟิลาเดลเฟีย บัลติมอร์ และวอชิงตัน ดี.ซี. 2) การสร้างศูนย์กลางการขนส่ง 3 ขาทางภาคตะวันตก โดยใช้ชิคาโกซึ่งเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของภูมิภาค เป็นฮับเชื่อมต่อไปยังดีทรอยต์ เซนต์หลุยส์ และมินนิอาโปลิส (ผ่านทางมิลวอกี้) และ 3) โครงการเฟสแรกของรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเส้นทางมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่ลอสแองเจลิส และสิ้นสุดบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโก

เฟส 2 จะเป็นการเชื่อมต่อระบบรางไปยังเมืองอื่น ๆ ที่ได้รับการจัดอันดับความสำคัญใน 100 ลำดับแรก จะเป็นเส้นทางใหม่ในเฟสนี้ ได้แก่ เส้นทางจากดัลลัสไปฮูสตัน, ลอสแองเจลิสไปฟินิกซ์, ลอสแองเจลิสไปลาสเวกัส, พอร์ตแลนด์ไปซีแอตเติล, ไมอามีไปแทมปา (ผ่านออร์แลนโด) และเส้นระเบียงเศรษฐกิจฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ จากแอตแลนตาถึงวอชิงตัน ดี.ซี. (ผ่านเมืองชาร์ลอตต์ ราลี-เดอร์แฮมและริชมอนด์) รวมถึงการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟสายแคลิฟอร์เนียไปยังซานดิเอโก กับสายตะวันออกเฉียงเหนือไปยังออลบานี และสายชิคาโก-ดีทรอยต์ไปยังคลีฟแลนด์

เฟส 3 เป็นการก่อสร้างส่วนต่อขยายระบบรถไฟความเร็วสูงไปยังเมืองขนาดกลางในรัศมี 500 ไมล์ เพื่อบูรณาการระบบรางเข้ากับระบบขนส่งอื่น ๆ ทั่วประเทศ

โดยจะต่อขยายชิคาโกฮับไปยังเมืองแคนซัสซิตี้ จะเชื่อมต่อกับสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่านเส้นทางใหม่ "นิวยอร์ก-เพนซิลเวเนีย" จะตัดผ่านเมืองบัฟฟาโล พิตตส์เบิร์ก โคลัมบัส ซินซินเนติ และอินเดียนาโปลิส นอกจากนี้จะมีส่วนต่อขยายรถไฟสายตะวันออกเฉียงใต้หรือสายแอตแลนตา ไปยังแจ็กสันวิลล์และเบอร์มิงแฮม เพื่อเชื่อมเส้นทางเดินรถเข้ากับรถไฟความเร็วสูงสายไมอามี-แทมปาในรัฐฟลอริดา และการก่อสร้างในเฟส 3 ยังรวมถึงส่วนต่อขยายรถไฟสาย "ดัลลัส-ฮูสตัน" บริเวณสามเหลี่ยมเทกซัส โดยตัดผ่านเมืองออสตินและซานอันโตนิโอ ขยายเส้นทางไปทางเหนือผ่านเมืองโอกลาโฮมาและไปสิ้นสุดที่ "เมืองทัลซาและวิชิทอ" ส่วนสุดท้ายของเฟสคือ การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงตามแนวทางหลวงระหว่างรัฐหมายเลข 25 ซึ่งเชื่อมต่อเมืองเดนเวอร์และแอลบูเคอร์คี

โดยทั้ง 3 เฟสจะแล้วเสร็จในปี 2573 หลังจากนั้น "สหรัฐ" มีแผนงานระยะยาวอีก 20 ปีถัดไป ลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วปกติวิ่งด้วยความเร็ว 110 ไมล์/ชั่วโมง เพื่อเชื่อมต่อระบบรางไปยังเมืองต่าง ๆ และภายในปี 2593 ระบบการขนส่งทั้งถนน รางรถไฟ และสนามบินจะเชื่อมต่อกันทั้งระบบ โดยมี "ระบบราง" เป็นหัวใจสำคัญในการขนถ่ายผู้โดยสารกว่า 400 ล้านคนทั่วสหรัฐ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2014 4:41 pm    Post subject: Reply with quote

Amtrak และ California High Speed Rail Authority (CHSRA) ร่วมกันสั่งรถไฟความไวสูงจำนวน 43 ชุดรถเพื่อเตรียมการทำทางรถไฟความไวสูงแคลิฟอเนีย ที่กำลังจะทำ และ เพื่อนำมาเปลี่ยนกับรถไฟ Acela ที่้กับรถไฟความไวสูงสายเหนือ (Northeast Corridor route) ของ Amtrack จากกรุงวอชิงตันดีซีไปนครบอสตัน

ตอนนี้ มี 7 บริษัทที่เข้าร่วมประมูลรถไฟความไวสูงที่ เหมาะกะ ความต้องการ ของทั้ง สองสายนี้โดยกำหนดสเปกไวัดั่งนี้

1. แต่ละขบวนจุผู้โดยสารได้ 400-450 คน
2. สำหรับกรณี รถไฟความไวสูงแคลิฟอเนีย จำนวน 15 ชุดรถ ต้องทำขบวนได้เร็วที่สุดอย่างน้อย 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (200 ไมล์ต่อชั่วโมง) เพื่อใช้กับทางที่จะทำระหว่างนครซานฟรานซิสโก (San Francisco ) กับนครลอสแองเจลิส (Los Angeles)
2. สำหรับกรณี รถไฟความไวสูงสายเหนือ (Northeast Corridor route) ของ Amtrack จำนวน 28 ชุดรถ ต้องทำขบวนได้เร็วที่สุดอย่างน้อย 257 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) เพื่อใช้กับทางที่จะทำระหว่างกรุงวอชิงตันดีซี (Washington DC) ไปนครบอสตัน (Boston) เพื่อใช้กะทางที่มีอยู่แล้ว และ ใช้แทนขบวน Acela Express ที่เริ่มชราภาพ และ ต้องเดินรถชนิดดังกล่าวมาอย่างน้อย 2 ปี เพื่อยืนยันว่าดีจริง

http://www.railwaygazette.com/news/single-view/view/amtrak-and-california-begin-joint-high-speed-train-procurement.html
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> เกี่ยวกับรถไฟต่างประเทศ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5 ... 12, 13, 14  Next
Page 4 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©