Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13180053
ทั้งหมด:13491285
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/09/2012 5:18 pm    Post subject: Reply with quote

กมธ.คมนาคม สัมมนาระบบรางปูทางสู่ประชาคมอาเซียน
สำนักข่าวไทย วันพุธ ที่ 26 ก.ย. 2555

รัฐสภา 26 ก.ย. - กมธ.คมนาคม สภาฯ จัดสัมมนา “ระบบราง ปูทางสู่ AEC” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีขนส่งระบบรางเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งในเวทีเห็นตรงกันที่จะต้องขยายโครงข่ายเชื่อมโยงครอบคลุมกลุ่มอาเซียน ห่วงรถไฟความเร็วสูงอาจประสบภาวะขาดทุน

นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเรื่อง “ระบบราง ปูทางสู่ AEC” ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการการคมนาคม สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายเจือ ราชสีห์ เป็นประธาน มีการจัดแสดงผลงานและบริการประชาชนจากหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงคมนาคมด้วย และสัมมนาเรื่องระบบราง ปูทางสู่ AEC มีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ ประธานอนุกรรมการพิจารณาศึกษาการคมนาคมระบบราง ในกรรมาธิการการคมนาคมฯ นายวิโรจน์ รุโจปการ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนายประมวล สุธีจารุวัฒน รองผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเป็นการพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีขนส่งระบบรางของประเทศ เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีนายสุวิช สุทธิประภา บรรณาธิการบริหารฝ่ายข่าวในประเทศ 1 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการสัมมนา

นายชัชชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ระบบรางของไทยมีแบบระบบรางทั่วไป 4,300 กิโลเมตร ส่วนระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสและใต้ดิน 80 กิโลเมตร และจะมีถึง 470 กิโลเมตร ภายใน 5 ปี ขณะที่รถไฟที่ใช้ในระบบขนส่งสินค้ามีเพียงร้อยละ 2.5 ขณะที่รถยนต์ขนส่งมีร้อยละ 84 ซึ่งหากอัตราระบบขนส่งรถไฟระดับนี้จะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ พร้อมกันนี้ยังยอมรับมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการรถไฟแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ ที่ต้องให้ความสำคัญ ส่วนที่หลายฝ่ายสนับสนุนให้ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ต้องเตรียมความพร้อมหลายด้าน โดยเฉพาะบุคลากร ซึ่งรัฐบาลน้อมรับความเห็นจากทุกภาคส่วนไปปรับปรุง อย่างไรก็ตามในอนาคต ประมาณ 3 ปีจะเห็นระบบรางเพิ่มมากขึ้น โดยในกรุงเทพฯ จะมีระบบรางรวม 270 กิโลเมตร นอกจากนี้จะมีรางคู่และหัวรถจักรใหม่ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรรถไฟ และหากไทยสามารถเชื่อมระบบรถไฟกับคุณหมิงของจีนได้ จะสามารถเพิ่มโอกาสให้กับประเทศไทยในหลายด้าน

นายสามารถแสดงความเป็นห่วงต้นทุนโลจิสติกส์ ระบบขนส่งที่มีต้นทุนสูงในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยใช้ทางถนนเป็นหลัก และยังมีปัญหาในระบบรางที่ต้องพัฒนาเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายเดียวกันเพื่อลดต้นทุน และขับเคลื่อนระบบราง ซึ่งส่วนหนึ่งจะลดก๊าซเรือนกระจกและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันประเทศไทยต้องร่วมพลิกโฉมรถไฟไทยให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ให้ได้ พร้อมกันนี้ยังเห็นว่ารถไฟแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ เป็นหนี้ก้อนใหม่ของการรถไฟ ประสบปัญหาผู้โดยสารน้อย โดยเฉพาะสายเอ็กซ์เพรสจึงขอเสนอให้เปลี่ยนบอร์ดใหม่ ขณะที่เห็นว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่จะปูทางสู้ AEC แต่กลับมีหนี้สินกว่าแสนล้านบาท สามารถที่จะแก้ปัญหาได้โดยการตั้งบริษัทพัฒนาที่ดินของการรถไฟมาพัฒนาพื้นที่ 2 ข้างทาง เช่น สร้างที่พัก คอนโดฯ ซึ่งเชื่อว่าจะสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองและปลดหนี้ได้

ด้านนายวิโรจน์เชื่อว่าหากประเทศไทยจะมีรถไฟความเร็วสูง อาจจะประสบภาวะขาดทุนได้ จึงอยากให้คิดรอบคอบก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ นอกจากนี้จะต้องเชื่อมโยงระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ เพื่อดึงคนเข้ามาใช้บริการมากขึ้น

นายประมวล กล่าวว่า ภาครัฐต้องเตรียมแผนรองรับกระบวนการขนส่งทางรางในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องบุคลากร ถ้ามีการขยายระบบขนส่งทางรางในกลุ่มประเทศอาเซียน ต้องคำนึงถึงมาตรฐานเดียวกัน พร้อมเห็นด้วยที่ไทยจะขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมประเทศในกลุ่มอาเซียน.- สำนักข่าวไทย

-----------

ชัชชาติชี้อีก 5 ปีไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีน
INN News วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ.2555 17:24น.

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้ 3 ปี ไทยมีแนวเส้นทางรถไฟฟ้า แตะ 270 ก.ม. และอีก 5 ปีข้างหน้า มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายในงานสัมมนา ระบบรางปูทางสู่ AEC ที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมาธิการการคมนาคมสภาผู้แทนราษฎร ว่า ในอนาคตอีก 3 ปี ประเทศไทย จะมีแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 80 กิโลเมตร เป็น 270 กิโลเมตร รถไฟทางคู่ ซึ่งล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติเส้นทางฉะเชิงเทรา-แก่งคอย หัวรถจักรรถไฟใหม่ และโครงสร้างการบริหารจัดการของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งส่วนตัว อยากให้ทางกระทรวงการคลัง เข้ามาบริหารจัดการในส่วนของทรัพย์สินของการรถไฟด้วย และก็คาดว่าในอีกประมาณ 5 ปี ประเทศไทย จะมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

"อนาคตเราต้องเชื่อมจีนแน่นอน เพราะว่าถ้าเราเชื่อมจีน คือ ทะลุออกทางหนองคาย ซึ่งผ่านลาว ไปที่จีน เข้าสู่คุนหมิงได้ เราจะเข้าสู่ระบบรถไฟของจีนทั้งประเทศได้ รถไฟความเร็วสูง เราสามารถเชื่อมที่คุนหมิงได้ ซึ่งประชากรพันล้านของจีน สามารถลงมาเที่ยวเมืองไทยได้"

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเสริมว่า เรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ในปัจจุบันก็ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 4 ชุด เพื่อศึกษาความคุ้มค่าในเรื่องการลงทุนของโครงการดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/09/2012 7:14 pm    Post subject: Reply with quote

คค. ระบุ คู่แข่งรถไฟเร็วสูง คือ โลว์คอสต์
INN News วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ.2555 18:22น.

กมธ.คมนาคม ระบุ คู่แข่งรถไฟความเร็วสูง คือ สายการบินต้นทุนต่ำ แนะเตรียมแผนเวนคืนที่ดิน รับการก่อสร้าง

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการการพิจารณาศึกษาการคมนาคมระบบราง ในคณะกรรมาธิการการคมนาคมสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงนั้น จะต้องมีการกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนเท่านั้น และคิดว่าสายการบินต้นทุนต่ำ หรือ Low Cost Airlines จะเป็นคู่แข่งสำคัญของรถไฟฟ้าความเร็วสูงด้วย นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ไม่ควรทำการศึกษารถไฟความเร็วสูงในอีก 5 เส้นทาง เพราะว่า ในปัจจุบัน มีแผนการศึกษาที่เป็นแผนแม่บทของโครงการดังกล่าวอยู่แล้ว แต่สามารถนำแผนดังกล่าวมาทบทวนได้ ซึ่งในปัจจุบัน กระทรวงคมนาคม ควรทำการศึกษาในเรื่องของรูปแบบการลงทุนมากกว่า รวมทั้งเตรียมการเวนคืนที่ดิน ในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะพื้นที่ที่จะเป็นแนวโค้งของรถไฟ

อย่างไรก็ตาม ดร.สามารถ กล่าวเสริมว่า สำหรับแนวคิดของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ได้คาดการณ์ไว้ว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีแนวเส้นทางรถไฟฟ้า จากปัจจุบัน 80 กิโลเมตร เป็น 270 กิโลเมตร นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายและมีความเป็นไปได้น้อยมาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/10/2012 10:51 am    Post subject: Reply with quote

รู้ลึกลุ่มน้ำโขง: การเชื่อมโยงการคมนาคมชายแดนอรัญประเทศ-ปอยเปตกับโอกาสของธุรกิจไทย
ข่าวเศรษฐกิจ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า -- จันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2555 13:47:53 น.

การค้าชายแดนมีความสำคัญมากต่อความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและกัมพูชา โดยมีสัดส่วนสูงถึงราวร้อยละ 80 ของมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นผลจากการที่ไทยมีพรมแดนติดต่อกับกัมพูชาครอบคลุมพื้นที่ถึง 7 จังหวัด ไล่ตั้งแต่ภาคตะวันออกของไทยไปจนถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี คิดเป็นระยะทางราว 800 กิโลเมตร ทั้งนี้ มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชาขยายตัวทุกปี โดยเฉพาะการค้าผ่านด่านอรัญประเทศ-ปอยเปตแม้ในช่วงที่ทั้งสองประเทศมีความเห็นไม่ตรงกันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในบางพื้นที่ ยิ่งปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งสองประเทศจึงตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันเฉลี่ยร้อยละ 30 ต่อปี ในช่วงปี 2555-2558 ซึ่งคาดว่าจะยิ่งเกื้อหนุนการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวถึงร้อยละ 27 ในปี 2554

- อรัญประเทศ-ปอยเปต...หน้าด่านการค้าชายแดนสำคัญระหว่างไทยและกัมพูชา
หากเจาะลึกลงไปจะพบว่าการค้าชายแดนผ่านด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว กับด่านปอยเปต จังหวัดบันเตียเมียนจัยของกัมพูชา นับเป็นช่องทางการค้าชายแดนที่สำคัญที่สุดระหว่างไทยและกัมพูชา

มีมูลค่าการค้าชายแดนกับกัมพูชามากที่สุดคิดเป็นกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าการค้าชายแดนไทย-กัมพูชาในปี 2554 มีตลาดโรงเกลือซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่และเป็นแหล่งรวมสินค้านานาชนิดทั้งจากไทยและกัมพูชาตั้งอยู่บริเวณด่านชายแดนดังกล่าว สำหรับสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าสำคัญผ่านด่านอรัญประเทศ-ปอยเปต มีดังนี้

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาเล็งเห็นความสำคัญของการค้าชายแดนผ่านด่านอรัญประเทศ-ปอยเปต จึงได้เร่งขยายความร่วมมือและพัฒนาการเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างพื้นที่ดังกล่าว

- การเชื่อมโยงการเดินรถโดยสารและรถขนส่งสินค้า

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2555 ไทยและกัมพูชาได้ทำพิธีเปิดการเดินรถโดยสารและรถขนส่งสินค้าระหว่างกัน บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชา ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก-ปอยเปต อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Cross-Border Transport Agreement : CBTA) เพื่อช่วยส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ รวมทั้งรองรับการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ในปี 2558 โดยในเบื้องต้นทั้งสองประเทศตกลงจะให้โควตาเดินรถโดยสารและรถขนส่งสินค้าแก่ผู้ประกอบการของแต่ละฝ่ายรวมฝ่ายละ 40 คัน และจะพิจารณาเพิ่มจำนวนโควตาในระยะต่อไป ทั้งนี้ เส้นทางเดินรถภายใต้ความตกลงดังกล่าวแบ่งเป็น 2 เส้นทาง คือ

1. กรุงเทพฯ-กบินทร์บุรี-สระแก้ว-อรัญประเทศ (ไทย)-ปอยเปต-พนมเปญ-บาเวต (กัมพูชา)
2. กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง-พนมสารคาม-กบินทร์บุรี-สระแก้ว-อรัญประเทศ (ไทย)-ปอยเปต-พนมเปญ-บาเวต (กัมพูชา)

- การเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟ

ไทยและกัมพูชามีโครงการเชื่อมต่อการคมนาคมทางรางระหว่างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-อรัญประเทศของไทยกับทางรถไฟสายปอยเปต-ศรีโสภณ-พระตะบอง-กรุงพนมเปญของกัมพูชา ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมของไทยอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะใช้เส้นทางรถไฟช่วงอรัญประเทศ-บ้านคลองลึก (ชายแดน) ระยะทาง 6 กิโลเมตร ตามแผนเดิม หรือเส้นทางรถไฟช่วงอรัญประเทศ-บ้านหนองเอี่ยน (ชายแดน) ซึ่งเป็นด่านการค้าที่เพิ่งเปิดใหม่ ระยะทาง 12 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมกับเส้นทางปอยเปตของกัมพูชา ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมคาดว่าเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างไทยและกัมพูชาจะสามารถเปิดใช้ได้ภายในปี 2556 นอกจากนี้ ไทยจะเร่งหารือกับกัมพูชาและเวียดนามเพื่อเชื่อมเส้นทางรถไฟต่อไปยังกรุงโฮจิมินห์เมืองท่าสำคัญของเวียดนาม ซึ่งจะทำให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งทางรางของเวียดนาม และจะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง รวมทั้งส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างไทย กัมพูชา และเวียดนาม

- โอกาสทางธุรกิจ
-โอกาสของธุรกิจรถโดยสารและรถขนส่งสินค้า การเปิดเส้นทางเดินรถโดยสารและรถขนส่งสินค้าจะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าและการเดินทางระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการค้าชายแดนผ่านเส้นทางดังกล่าวให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น และจะเกื้อหนุนธุรกิจรถโดยสารและรถขนส่งสินค้าให้ขยายตัวตาม

-โอกาสของธุรกิจท่องเที่ยว การเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมระหว่าง อ. อรัญประเทศ-ปอยเปต จะมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางและกระตุ้นการท่องเที่ยวตามเส้นทางที่เชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจหลายแห่งที่มีศักยภาพใน

การรองรับธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ โตนเลสาบ ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทุ่งสังหาร หรือ Killing Fields แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของกัมพูชาที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การเมืองในยุคสงครามเย็นจนสร้างตำนานเลื่องลือไปทั่วโลก นอกจากนี้ ในระยะถัดไปหากสามารถเชื่อมเส้นทางรถไฟไปยังกรุงโฮจิมินห์ เมืองหลวงเก่าของเวียดนามที่เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวเก่าแก่และเมืองท่าสำคัญของเวียดนามก็จะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้แก่เส้นทางท่องเที่ยวดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2012 12:58 am    Post subject: Reply with quote

“ไปรษณีย์ไทย” ปรับตัวเปิดเสรีอาเซียนทุ่ม 500 ล้านบาท ตั้ง “บริษัทโลจิสติกส์”
เดลินิวส์ วันพุธที่ 3 ตุลาคม 2555

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง “โลจิสติกส์” อยู่ 2 ยุทธศาสตร์ได้แก่
1. ยุทธศาสตร์การปรับโครง สร้างเศรษฐกิจ ซึ่งให้ความสำคัญกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เช่น เครื่องบิน เรือ รถบรรทุก และรถไฟ
2. ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค ซึ่งเป็นแผนรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (Asean Economics Community 2015)

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า กระทรวงไอซีทีได้มอบหมายให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) ศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการนำระบบขนส่งเข้าสู่ระบบโลจิสติกส์เต็มรูปแบบ เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ใช้บริการขนส่งสินค้า เพราะเมื่อเปิดเสรีประชาคมอาเซียนจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจที่มากขึ้น โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปณท. ได้จัดงานเสวนาเรื่อง “แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ไทยรองรับ AEC’’ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการขนส่งของ ปณท. ไปสู่การทำบริการโลจิสติกส์ในวันที่เปิดเสรีอาเซียนได้อย่างเหมาะสม

ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ข้อมูลภาพรวมโลจิสติกส์ในประเทศไทยระหว่างงานเสวนา ว่า เมื่อเปิดเสรีอาเซียนจะพบว่ากลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการขนส่งไม่ได้มีเพียงประชากรไทย 65 ล้านคน แต่หมายรวมถึงประชากรในประเทศอาเซียนกว่า 600 ล้านคน และเมื่อเปิดเสรีอาเซียนในปีพ.ศ. 2558 จะทำให้ต่างชาติสามารถเข้ามาถือหุ้นในธุรกิจขนส่งได้ถึง 70% จากปัจจุบันที่เปิดให้ต่างชาติถือหุ้นได้เพียง 50% ดังนั้นไปรษณีย์ไทยต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับแข่งขัน

“วันนี้ดัชนีด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 35 และมีต้นทุนการขนส่งอยู่ที่ 15% ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นที่อยู่ในลำดับต้น ๆ โดยแบ่งเป็น 7% มาจากการขนส่ง 7% มาจากการบริหาร และ 1% มาจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งมองว่าประเทศไทยสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ โดยใช้
การขนส่งด้วยรถไฟเนื่องจากต้นทุนการขนส่งด้วยรถไฟปัจจุบันอยู่ที่ 93 สตางค์/ตัน/กิโลเมตร โดยสามารถลดต้นทุนการขนส่งให้เหลือเพียง 70 สตางค์/ตัน/กิโลเมตรได้ จากการทำถนนให้เป็นรางรถไฟมากขึ้น
ในขณะที่ต้นทุนการขนส่งด้วยรถบรรทุกยังสูง อยู่ที่ 1.72 บาท/ตัน/กิโลเมตร ซึ่งตามแผนการดำเนินงานของรัฐบาลวางแผนการลงทุนเรื่องของระบบขนส่งไว้ที่ 2 ล้านล้านบาทในระยะเวลา 10 ปี เป็นแผนการลงทุนที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและทำให้ระบบขนส่งรวดเร็วขึ้น” ดร.ชัชชาติ กล่าว

ดร.ชัชชาติ กล่าวต่อว่า ไปรษณีย์ไทยมีจุดแข็งเรื่องของการเชื่อมต่อและนำสินค้าไปส่งถึงมือผู้บริโภคปลายทาง (Last Mind) ซึ่งในการทำระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจรตัวนี้ถือว่ายากที่สุด และเป็นสิ่งที่ไปรษณีย์ไทยนี้ แต่เป็นสิ่งที่บริษัทที่ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของต่างชาติซึ่งจะเข้ามาให้บริการในประเทศ ไทยไม่มี

ด้าน น.ส. อานุสรา จิตต์มิตร ภาพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปณท. กล่าวถึงความพร้อมเพื่อรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ว่า ขณะนี้ ปณท. ได้ยกเลิกการตั้งบริษัทลูกของ ปณท. ที่ชื่อ บริษัทสินเชื่อไปรษณีย์ไทย จํากัด แล้ว และอยู่ระหว่างตั้งบริษัทไปรษณีย์ไทย โลจิสติกส์จำกัด โดยจะใช้ทุนจดทะเบียนตั้งบริษัทจำนวน 500 ล้านบาท คาดว่าในสิ้นปีนี้จะแล้วเสร็จ

“การที่ ปณท. เปลี่ยนแผนการตั้งบริษัทลูกจากบริษัท สินเชื่อไปรษณีย์ไทย จํากัด เป็น บริษัท ไปรษณีย์ไทย โลจิสติกส์ จำกัด เนื่องจากเป็นการดำเนินธุรกิจในสิ่งที่ไปรษณีย์ไทยมีความถนัด โดยบริษัทดังกล่าวไปรษณีย์ไทยจะถือหุ้น 100% ส่วนงบลงทุนและแผนงานทั้งหมดเมื่อตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการแล้วถึงจะมีความชัดเจนเรื่องเงินทุนต่อไป” น.ส.อานุสรากล่าว

ธุรกิจการขนส่ง หรือโลจิสติกส์ เป็นอีกธุรกิจที่น่าจับตามอง เมื่อเปิดเสรีประชาคมอาเซียน 2558.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2012 9:59 am    Post subject: Reply with quote

รัฐเคาะแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 ปี 2.2 ล้านล้าน
ประชาชาติธุรกิจ Wednesday, 03 October 2012 09:24

เปิดไส้ในแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.27 ล้านล้านบาท คลังจัดลำดับความสำคัญก่อนไฟเขียวเป็นรายโปรเจ็กต์ 7 สาขาหลัก โครงการระบบรางแชมป์วงเงินลงทุนสูงสุด 1.2 ล้านล้าน ทั้งรถไฟสายใหม่-ไฮสปีดเทรน ตามด้วยพลังงาน 5.15 แสนล้าน และขนส่งทางบก 2.22 แสนล้าน เล็งระดมทุน 5 แหล่ง ประเดิมปี'56 กว่า 1 ล้านล้าน แบงก์ชาติชี้สภาพคล่องมีเพียงพอ

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะเร่งดำเนินการโครงการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ในระยะ 5 ปี (ปี 2555-2559) และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณารายละเอียดแผนงานภายใต้โครงการดังกล่าว ขณะเดียวกันก็มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ยกร่างพระราชบัญญัติกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เรื่องรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยคัดเลือกโครงการจากที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวบรวมไว้ และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธานแล้ว

ทั้งนี้ กรอบวงเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2,274,359.09 ล้านบาท แบ่งเป็น 7 สาขา ได้แก่
1.ระบบราง 1,201,948.80 ล้านบาท (52.85%)
2.ขนส่งทางบก 222,347.48 ล้านบาท (9.78%)
3.ขนส่งทางน้ำ 128,422.20 ล้านบาท (5.65%)
4.ขนส่งทางอากาศ 69,849.66 ล้านบาท (3.07%)
5.สาธารณูปการ 99,204.69 ล้านบาท (4.36%)
6.พลังงาน 515,689.26 ล้านบาท (22.67%) และ
7.สื่อสาร 36,897 ล้านบาท (1.62%)

การลงทุน "ระบบราง" เป็นของ
การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 845,385.01 ล้านบาท
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 333,803.78 ล้านบาท
กรมทางหลวง 16,550 ล้านบาท และ
กรมทางหลวงชนบท 6,210.01 ล้านบาท

"ขนส่งทางบก" เป็นขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) 13,162.20 ล้านบาท กรมทางหลวง 204,498 ล้านบาท กรมการขนส่งทางบก 4,687.28 ล้านบาท "ขนส่งทางน้ำ" กรมเจ้าท่า 33,075.60 ล้านบาท การท่าเรือแห่งประเทศไทย 93,492.24 ล้านบาท กรมธนารักษ์ 1,854.36 ล้านบาท

การลงทุน "ขนส่งทางอากาศ" มีของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) 69,849.66 ล้านบาท "ระบบสาธารณูปการ" มี 2 หน่วยงานคือ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) 69,686.89 ล้านบาท และการประปานครหลวง (กปน.) 29,517.80 ล้านบาท

การลงทุน "พลังงาน" เป็นของ บมจ. ปตท. 135,655.88 ล้านบาท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 206,431.36 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) 108,594 ล้านบาท การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) 59,060.35 ล้านบาทฯลน "สื่อสาร" แบ่งเป็น บมจ. กสท โทรคมนาคม 20,761 ล้านบาท และ บมจ.ทีโอที 16,136 ล้านบาท

กำหนดแหล่งเงินใช้สนับสนุนจาก 5 ส่วนคือ เงินงบประมาณ 205,127.77 ล้านบาท เงินรายได้ 184,401.86 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 1,124,834.60 ล้านบาท เงินกู้ ต่างประเทศ 449,172.52 ล้านบาท และจากการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนในรูปแบบ PPP 310,822.33 ล้านบาท

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สภาพคล่องในระบบมีเพียงพอรองรับการกู้เงินในประเทศ ล่าสุดเดือน ก.ค. 2555 มีสภาพคล่องส่วนเกินอยู่มากถึง 2.133 ล้านล้านบาท รองรับการกู้เงินได้ทั้งภาคเอกชนและรัฐบาล

ขณะนี้ สศค.อยู่ระหว่างยกร่างพระราชบัญญัติกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งน่าจะผลักดันให้มีผลบังคับใช้ได้ในปี 2556 ประเมินว่าต้องกู้เงินเฉลี่ยปีละ 2-3 แสนล้านบาท

ขณะที่นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ในปี 2556 รัฐจำเป็นต้องระดมเงินกว่า 1 ล้านล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมา สบน.ได้เชิญเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือเตรียมพร้อมรับมือแล้ว ประเมินว่าสภาพคล่องในระบบสามารถรองรับการระดมทุนภาครัฐได้ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า สภาพคล่องมีเพียงพอ และจะไม่เกิดการแย่งตลาดรวมถึงกระทรวงการคลังก็ได้เตรียมเงินคงคลังไว้ในระดับสูง จึงสามารถรองรับได้

แผนระดมทุนกว่า 1 ล้านล้านบาทยังไม่รวมกรณีร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สบน.ได้ประชุมเตรียมระดมทุนในปี 2556 ร่วมกับ ธปท. สมาคมตลาดตราสารหนี้ (ThaiBMA) ผู้ค้าหลักของกระทรวงการคลัง (PD) และผู้ร่วมตลาดตราสารหนี้ 200 คน ตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่า ปีนี้ภาครัฐต้องการระดมทุน 1,095,046 ล้านบาท ซึ่ง สบน.จะออกพันธบัตรรัฐบาลเป็น bench mark bond 525,000 ล้านบาท หรือ 48% ของปริมาณการระดมทุนทั้งหมด

คมนาคมเดินสายประชาพิจารณ์

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างจัดสัมมนาสัญจรโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกรอบวงเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท เวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี 2556-2563 มี 55 โครงการ มูลค่าลงทุน 1.9 ล้านล้านบาท เพื่อปรับให้สอดคล้องสัมพันธ์กับความต้องการของประชาชนและภาคเอกชน

ลงทุน 1.99 ล้านล้านรับเออีซี

มีทั้งโครงการเป็นยุทธศาสตร์ด้าน โลจิสติกส์และการขนส่งรองรับประชาคมอาเซียน (เออีซี) โดยวงเงินลงทุน 1.99 ล้านล้านบาท จะเน้นทางรางมากสุด 64.05% หรือ 1.28 ล้านล้านบาท ถนน 24.20% หรือ 4.7 แสนล้านบาท ทางน้ำ 6.51% หรือ 1.2 แสนล้านบาท และทางอากาศ 4.24% หรือ 9.4 หมื่นล้านบาท อาทิ

ระบบรถไฟทางคู่ 6 สาย 131,252 ล้านบาท มี
- ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย 11,348 ล้านบาท
- ลพบุรี-ปากน้ำโพ 19,408 ล้านบาท
- มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 28,087 ล้านบาท
- ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น 28,410 ล้านบาท
- นครปฐม-หนองปลาดุก-หัวหิน 27,332 ล้านบาท และ
- ประจวบคีรีขันธ์ชุมพร 16,665 ล้านบาท


สร้างรถไฟสายใหม่ 140,019 ล้านบาท 4 สาย อาทิ
- ช่วงเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ 47,929 ล้านบาท
- ช่วงบ้านไผ่มหาสารคาม-มุกดาหาร 42,305 ล้านบาท
- ช่วงอรัญประเทศ-ปอยเปต 2,822 ล้านบาท และ
- สายเชื่อมท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน ระยะที่ 1 วงเงิน 46,961 ล้านบาท


รถไฟความเร็วสูง 481,066 ล้านบาท 4 สาย
รถไฟฟ้า 10 สาย 475,498 ล้านบาท


ส่วนการลงทุนด้านถนน เช่น
ทางหลวงเชื่อมระหว่างประเทศ 6,434 ล้านบาท
วงแหวนรอบรอบที่ 3 วงเงิน 157,700 ล้านบาท
ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1, N2 และ N3) 85,069 ล้านบาท
มอเตอร์เวย์ 5 สาย 2 แสนล้านบาท

ทางน้ำ เช่น
เขื่อนยกระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน 14,394 ล้านบาท
ท่าเรือน้ำลึกปากบารา ระยะที่ 1 วงเงิน 12,513 ล้านบาท
ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงิน 88,294 ล้านบาท

ทางอากาศ ขยายสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 วงเงิน 62,503 ล้านบาท
ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 วงเงิน 24,328 ล้านบาท
ปรับปรุงใช้ประโยชน์ดอนเมือง 3,200 ล้านบาท

ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 - 7 ต.ค. 2555
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/10/2012 5:38 pm    Post subject: Reply with quote

"จารุพงศ์"เดินสายโรดโชว์โปรเจ็กต์1.9ล้านล้าน คาดกองทุนอินฟราฯระดมทุนเริ่มสร้างปี56
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 5 ตุลาคม 2555 16:59 น.

"คมนาคม"ลงใต้โปรโมทการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน1.9ล้านล้านบ."จารุพงศ์"ดันระดมทุนตั้งกองทุนฯลงทุน เผยปี 56 ชัดนำร่องโครงการไหน สั่งกทพ.ดูแลเยียวผู้ได้รับผลกระทบเวนคืนอุโมงค์กระทู้-ป่าตอง ด้านนักวิชาการและคนภูเก็ตหวั่นทุ่มงบพัฒนาถนนรถไฟมากขึ้นคนมาจนล้นเกาะทรัพยากรหมดไม่พอใจแนะวางแผนบริหารจัดการและดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม กระทรวงคมนาคมได้จัดสัมมนาโครงการ"ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และร่วมรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งพ.ศ.2556-2563 ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน โดยนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า กรอบแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งรวมทั้งประเทศ 72โครงการ วงเงินรวม 1.914 ล้านล้านบาท โดยการขนส่งทางรางสูงสุด 33 โครงการวงเงิน 1.164 ล้านล้านบาท คิดเป็น 60.84%ขนส่งทางถนน 31โครงการ วงเงินรวม 6.48 แสนล้านบาท คิดเป็น 33.91% ขนส่งทางน้ำ 5โครงการ วงเงิน 63.6 หมื่นล้านบาท ติดเป็น3.32% และขนส่งทางอากาศ 3 โครวการ วงเงิน 36.92 หมื่นล้านบาทคิดเป็น 1.93%

ทั้งนี้ รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้หารือกับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.)ในการระดมทุนกองทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประมาณ 1.9-2.2 ล้านบาทมาลงทุนโดยจะต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องและหานวทางที่จะสร้างผลตอบแทนเพื่อเป็นแรงจูงใจนักลงทุนในรูปแบบต่างๆเช่นการยกเว้นภาษี เป็นต้น เพื่อทำให้การดำเนินโครงการรวดเร็วขึ้นกว่าการพึ่งพางบประมาณมาลงทุนเพียงอย่างเดียวซึ่งงบประมาณมีจำกัดเพราะได้รับจัดสรรเฉลี่ยปีละ 21% เท่านั้น จากที่มาตรฐานควรได้ไม่ต่ำกว่า25% ต่อปีโดยคาดว่ากองทุนจะได้ข้อสรุปในปี2556 โดยคลังจะเป็นผู้กำหนดว่าจะเริ่มใช้ในโครงการไหน โดยหลักจะลงทุนโครงการที่คุ้มทุนสูงสุดและคืนทุนได้เร็วก่อน

นายจารุพงศ์กล่าวว่า การสัมมนาในพื้นที่ทำให้ทราบว่าประชาชนกว่า70%ยังไม่ทราบว่ามีแผนลงทุนโครงการต่างๆ แต่เมื่อทราบแล้วส่วนใหญ่จะเห็นด้วย โดยโครงการที่มีประชาชนคัดค้านเช่นโครงการทางพิเศษสายกระทู้-ป่าตองจ.ภูเก็ต ได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ทำความเข้าใจและดูแลเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเต็มที่ และต้องวิเคราะห์ผลกระทบเพื่อหาทางออก รวมถึงโครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล หากทำประชาพิจารณ์แล้วประชาชนไม่เห็นด้วยก็อาจต้องหยุดแต่ถ้าเห็นด้วยเดินหน้าโดยต้องพิจารณาโครงการแลนด์บริดจ์ด้วยเพื่อการเชื่อมต่อของระบบคมนาคมขนส่ง

สำหรับโครงการสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ประกอบด้วยโครงการของกรมเจ้าท่า คือ โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูลวงเงิน 27,349 ล้านบาท โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา2 วงเงิน 6,167.647 ล้านบาทกรมการขนส่งทางบก พัฒนาสถานีขนส่งสินค้าสงขลา วงเงิน968.655 ล้านบาท นราธิวาส วงเงิน521.46 ล้านบาทสุราษฎร์ธานี วงเงิน 988.29 ล้านบาท, สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน (Landbridge) วงเงิน42,782ล้านบาทโครงการศึกษาและออกแบบทางรถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 225 กม.วงเงิน 82,166 ล้านบาท โครงการศึกษาออกแบบทางรถไฟสายใหม่เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต วงเงิน 118.7 ล้านบาท เป็นต้น

นายชายชาติ ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า แผนหลักการพัฒนาถนนของทช. มี 3 ด้าน คือ1. พัฒนาถนนโครงข่ายเชื่อมต่อการค้าการลงทุนและการขนส่งเพื่อแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่ โดยเน้นเชื่อมต่อจากทางหลวงแผ่นดินเข้าสู่สนามบิน ท่าเรือ สถานีรถไฟ แหล่งอุตสาหกรรมและหมู่บ้าน เช่นก่อสร้่างอุโมงค์ลอดจุดตัดทางรถไฟ จ.ภูเก็ต ,ถนนเชื่อมป่าตองและหาดกระรน เป็น4 ช่องจราจร (คืบหน้า10%) คาดแล้วเสร็จปลายปี56,ก่อสร้างทางยกระดับ(สะพานบก) เชื่อม2 เทศบาล(เทศบาลอุทิศกับเทศบาลนครภูเก็ต)ซึ่งครม.เห็นชอบแล้วอยู่ระหว่างเสนอขอใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้ช่วงผ่านป่าชายเลน โดยเตรียมเปิดประมูลเดือนพ.ย.55 ใช้เวลาก่อสร้าง2 ปี

2. ถนนเชื่อมต่อด้านท่องเที่ยวทั่วประเทศวงเงิน 1.8หมื่นล้านบาทอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ 6.8 พันล้านบาทคือโครงการถนนโรยัลโคดและถนนเลียบชายฝั่งทะเล3. ถนนเชื่อมต่อด้านการเกษตร ทั่วประเทศวงเงิน2.3 หมื่นล้านบาท

ด้านกรมทางหลวง มีแผนแม่บทปี56-63 เน้นแก้ปัญหาจราจรเพื่อสนับสนุนด้านท่องเที่ยวและลดอุบัติเหตุโดยเฉพาะการคมนาคมจากแหล่งท่องเที่ยวกับสนามบินภูเก็ตที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารเกิน10ล้านคน/ปีเช่น ขยายถนนเป็น4 ช่องจราจรจากสนามบินภูเก็ต-ทางหลวงหมายเลข402 วงเิงิน 130 ล้านบาท (คืบหน้า50%) คาดเสร็จปี 56 ,ทางแยกต่างระดับจุดตัดถนนเทพกษัตรีทางเข้าสนามบิน วงเงิน 500ล้านบาท,อุโมงค์/สะพานบริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร วงเงิน 600ล้านบาท,อุโมงค์ลอดใต้ทางหวงสันป่าตอง วงเงิน810 ล้านบาทเป็นต้นโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี59 ซึ่งจะทำให้การจราจรสะดวกมากขึ้นสามารถเดินทางเดินทางเข้าแหล่งท่องเที่ยวปลอดภัยไม่เกิน45นาที

ด้านนักวิชาการในพื้นที่และประชาชนบางส่วนแสดงความเป็นห่วงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมหาศาลว่าอาจจะกระทบต่อจังหวัด และควรจะต้องมีแผนรองรับระยะยาวในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การกำจัดขยะ น้ำเสีย. และดูแลสิ่งแวดล้อม เพราะภูเก็ตมีทร้พยากรจำกัด ทรัพยากรน้ำจะมีใช้ถึงปี58เท่านั้น ส่วนอนาคตอันใกล้นอกจากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจำนวนมากกว่า15 ล้านคนต่อปีแล้วประชาชนในพื้นที่จะมีกว่า2ล้านคน การเป็นจุดปลายทางท่องเที่ยวระดับโลกเป็นภาพที่แท้จริงของภูเก็ตหรือไม่เป็นเพียงภาพทางการตลาดที่ไม่มีแผนรองรับ

ด้านอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) กล่าวว่าอุโมงค์กระทู้-ป่าตองจะช่วยแก้จราจรโดยตรงมีระยะทาง3 กม. วงเงิน 6,082 ล้านบาา โดยเป็นอุโมงค์1.6กม. ครม.มีมติเห็นชอบเมื่อม.ค. 54 ขณะนี้กทพ.ประสานท้องถิ่นเทศบาลป่าตอง กระทู้ คาดพ.ย.55 จะว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียด ระยะเวลา 5เดือน คาดเปิดใช้ปี60. ส่วนประชาชนที่จะถูกเวนคืนเบื้องต้นทีประมาณ20หลังคา โดยจะชดเชสนามกติกาและพ.ร.ฎ.เวนคืน ยืนยันวาาเป็นโครงการที่เกิดจากคสาม้องการของประชาชนเพื่อแก้ปัญหาจราจร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/10/2012 4:34 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจัดเสวนารับฟังความเห็นแผนลงทุนระบบคมนาคมขนส่งหนุนศก.ภาคใต้ฝั่งตอ.
ฐานเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม 2012 เวลา 16:09 น.

กระทรวงคมนาคมจัดเสวนาเพื่อสร้างการรับรู้และร่วมรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๖๓ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม สำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และมีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ รวมทั้งนำผลที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของโครงการต่างๆ ตามแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ

นายสุรเชษฐ์ ชัยโกศล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการเสวนา “โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และร่วมรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๖๓” ผู้เสวนา อาทิเช่น ผู้แทนจากกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมเจ้าท่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา และการบรรยายหัวข้อ การจัดทำแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๖๓ โดยผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม หัวหน้าหน่วยงานในสังกัด นักวิชาการ ผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้เข้าร่วมเสวนาจากภาครัฐและเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มากกว่า ๕๐๐ คน ในวันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณ ศาลาประชาคมโรงละคร องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช

การเสวนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และสำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนต่อแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ เพื่อให้ประชาชนให้ความร่วมมือต่อการดำเนินงานตามแผนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ และจัดทำรายงานการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ที่มีต่อแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประกอบการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่อไป

นายสุรเชษฐ์ ชัยโกศล กล่าวว่า รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานต่างๆ ของกระทรวงคมนาคม เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า ๑๐ สายทาง โดยเก็บค่าบริการ ๒๐ บาทตลอดสาย พัฒนาการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวี และพัฒนาท่าอากาศยานสากล ท่าอากาศยานภูมิภาค และอุตสาหกรรมการบินของไทย พร้อมทั้งรองรับการเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ๒๕๕๘ กระทรวงคมนาคมจึงได้จัดทำแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ วงเงินลงทุน ๒ ล้านล้านบาท เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางสำหรับเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานสนับสนุนยุทธศาสตร์การวางรากฐาน สร้างอนาคตประเทศในระยะยาว โดยแผนลงทุนดังกล่าวครอบคลุมทั้งการขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอีก ๑๐ – ๑๕ ปีข้างหน้า อันส่งผลดีต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ซึ่งแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฯ ดังกล่าวเป็นโครงการระยะยาวที่มีผลกระทบต่อประชาชนในทุกภาคส่วน ดังนั้น การดำเนินงานตามแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ จึงจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ การมีส่วนร่วม และสร้างความตื่นตัวของประชาชนในพื้นที่ เพื่อยกระดับความสนใจของประชาชนต่อแผนการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และมีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนต่อแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาค

นายสุรเชษฐ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดเสวนาฯ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากกระทรวงฯ ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในจังหวัด ต่างๆ ในพื้นที่ จึงจำเป็นต้องผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง เพื่อแก้ไขปัญหาการคมนาคมขนส่งและสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น การพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางถนนด้วยรถบรรทุก โครงการรถไฟทางคู่ สายประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร การศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน โครงการศึกษาและออกแบบทางรถไฟความเร็วสูง (สายกรุงเทพฯ – หัวหิน) โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง (ท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ ๒) ศูนย์ควบคุมการบินภูมิภาคจังหวัดสงขลา เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/10/2012 6:56 am    Post subject: Reply with quote

ภูเก็ตขอรถไฟฟ้า-ทางด่วนแก้จราจรคมนาคมทุ่ม 2 แสนล้านพัฒนาใต้
สยามธุรกิจ ฉบับที่ 1343 ประจำวันที่ 13-10-2012 ถึง 16-10-2012

กระทรวงคมนาคมยังลงพื้นที่ทำประชาพิจารณ์โครงสร้างพื้นฐานปี 56-63 อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดลงพื้นที่ภาคใต้ ระดมความเห็นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบก-ราง-น้ำ-อากาศ งานนี้หวังเอาใจคนใต้เทงบประมาณกว่า 2 แสนล้านบาท ขณะที่คนภูเก็ตขอทางด่วน-รถไฟฟ้า แก้ไขวิกฤติจราจร เพื่อช่วยส่งเสริมท่องเที่ยว และการเดินทางเข้า-ออกตัวเมืองคล่องตัว

นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การลงพื้นที่เสวนาเพื่อสร้างการรับรู้และร่วมรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2556-2563 ที่จ.ภูเก็ต กระทรวงฯได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน โดยพบว่าประชาชนกว่า 60-70% ยังไม่รับทราบแผนงานโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงฯ แต่เมื่อทราบแล้วส่วนใหญ่จะเห็นด้วย

อย่างไรก็ตาม ประชาชนได้เสนอให้กระทรวงฯ แก้ปัญหาการจราจรติดขัดใน จ.ภูเก็ต ซึ่งมีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เช่น การก่อสร้างทางลอดต่างๆ รวมทั้งมีแผนก่อสร้างโครงการทางพิเศษอีกด้วย นอกจากนี้ ประชาชนยังต้องการให้กระทรวงฯ เร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ การจราจรติดขัด โดยเสนอให้ก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดเบา เพื่อให้การเดินทางเข้า-ออกตัวเมืองมีความสะดวกรวดเร็ว และยังช่วย ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพราะ จ.ภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติเป็นจำนวนมาก

สำหรับโครงการสำคัญในพื้นที่ภาคใต้ ประกอบด้วย
1.โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล วงเงิน 27,349 ล้านบาท
2.โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา 2 วงเงิน 6,167.647 ล้านบาท
3.โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าสงขลา วงเงิน 968.655 ล้านบาท
4.โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้านราธิวาส วงเงิน 521.46 ล้านบาท
5.โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าสุราษฎร์ธานี วงเงิน 988.29 ล้านบาท
6.โครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยละฝั่งอันดามัน (Landbridge) วงเงิน 42,782 ล้านบาท
7.โครงการศึกษาและออกแบบทางรถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 225 กม.วงเงิน 82,166 ล้านบาท
8.โครงการศึกษาออกแบบทางรถไฟสายใหม่ เพื่อการท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี-พังงา-ภูเก็ต วงเงิน 118.7 ล้านบาท

9.โครงการขยายท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็นปีละ 12 ล้านคน จากปัจจุบัน 5 ล้านคน ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 3 ปี เป็นต้น

ด้านนายชายชาติ ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า แผนหลักการพัฒนาถนนของทช. มี 3 ด้าน คือ
1.พัฒนาถนนโครงข่ายเชื่อมต่อการค้าการลงทุนและการขนส่งเพื่อแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่ โดยเน้นเชื่อมต่อจากทางหลวงแผ่นดินเข้าสู่สนามบิน ท่าเรือ สถานีรถไฟ แหล่งอุตสาหกรรมและหมู่บ้าน เช่นก่อสร้าง อุโมงค์ลอดจุดตัดทางรถไฟ จ.ภูเก็ต, ถนนเชื่อมป่าตองและหาดกะรน เป็น 4 ช่องจราจร (คืบหน้า 10%) คาดแล้วเสร็จปลายปี 56, ก่อสร้างทางยกระดับ (สะพานบก) เชื่อม 2 เทศบาล (เทศบาลอุทิศกับเทศบาลนครภูเก็ต) ซึ่งครม.เห็นชอบแล้วอยู่ระหว่างเสนอขอใช้พื้นที่ของกรมป่าไม้ช่วงผ่านป่าชายเลน โดยเตรียมเปิดประมูลเดือนพ.ย.55 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี
2.ถนนเชื่อมต่อด้านท่องเที่ยวทั่วประเทศวงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ 6.8 พันล้านบาท คือ โครงการถนนโรยัลโคดและถนนเลียบชายฝั่งทะเล และ
3.ถนนเชื่อมต่อด้านการเกษตร ทั่วประเทศวงเงิน 2.3 หมื่นล้านบาท

ส่วนกรมทางหลวง มีแผนแม่บทปี 56-63 เน้นแก้ปัญหาจราจรเพื่อสนับสนุนด้านท่องเที่ยวและลดอุบัติเหตุโดยเฉพาะการคมนาคมจากแหล่งท่องเที่ยวกับสนามบินภูเก็ตที่คาดว่าจะมีผู้โดยสารเกิน 10 ล้านคน/ปีเช่น ขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจรจาก สนามบินภูเก็ต-ทางหลวงหมายเลข 402 วงเงิน 130 ล้านบาท (คืบหน้า 50%) คาดเสร็จปี 56, ทางแยกต่างระดับจุดตัดถนนเทพกษัตรีทางเข้าสนามบิน วงเงิน 500 ล้านบาท, อุโมงค์/สะพานบริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร วงเงิน 600 ล้านบาท, อุโมงค์ลอดใต้ทางหลวงสันป่าตอง วงเงิน 810 ล้านบาท เป็นต้น โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 59 ซึ่งจะทำให้การจราจรสะดวกมากขึ้นสามารถเดินทางเดินทางเข้าแหล่งท่องเที่ยวปลอดภัยไม่เกิน 45 นาที

ขณะที่นักวิชาการในพื้นที่และประชาชนบางส่วนแสดงความเป็นห่วงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมหาศาลว่าอาจจะกระทบต่อจังหวัด และควรจะต้องมีแผนรองรับระยะยาวในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การกำจัดขยะ น้ำเสียและดูแลสิ่งแวดล้อม เพราะภูเก็ตมีทรัพยากรจำกัด ทรัพยากรน้ำจะมีใช้ถึงปี 58 เท่านั้น ส่วนอนาคตอันใกล้นอกจากนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจำนวนมากกว่า 15 ล้านคนต่อปีแล้วประชาชนในพื้นที่จะมีกว่า 2 ล้านคน การเป็นจุดปลายทางท่องเที่ยวระดับโลกเป็นภาพที่แท้จริงของภูเก็ตหรือไม่เป็นเพียงภาพทางการตลาดที่ไม่มีแผนรองรับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/11/2012 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมจัดเสวนารับฟังความคิดเห็นโครงการมอเตอร์เวย์ โคราช
ฐานเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ 01 พฤศจิกายน 2012 เวลา 11:54 น.

กระทรวงคมนาคมจัดเสวนาเพื่อสร้างการรับรู้และร่วมรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๖๓

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม สำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และมีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน สร้างการรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ รวมทั้งนำผลที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็นมาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสของโครงการต่าง ๆ ตามแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคอีสานและสอดคล้องกับการเปิดรับเขตเศรษฐกิจเสรีอาเซียน ในปี ๒๕๕๘

พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการเสวนา “โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และร่วมรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๖๓” เมื่อวันพุธที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุม โรงแรมเฮอร์มิเทจ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีผู้ร่วมงานเสวนาฯ ประมาณ ๕๐๐ คน เช่น ผู้บริหารกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานในสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ลพบุรี และสระบุรี เป็นต้น

การเสวนาฯ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วม สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ และสำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนต่อแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ เพื่อให้ประชาชนให้ความร่วมมือต่อการดำเนินงานตามแผนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของประเทศ และจัดทำรายงานการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ที่มีต่อแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อประกอบการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่อไป โดยการเสวนาฯ ประกอบด้วย

- การบรรยายหัวข้อ การจัดทำแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๖๓ โดยผู้แทนของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
- การเสวนาหัวข้อ “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานกับความเจริญของท้องถิ่น” ได้แก่ ผู้แทนกระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางบก กรมทางหลวง การรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ภายหลังจากการเสวนาฯ คณะผู้บริหารของกระทรวงคมนาคมและจังหวัดนครราชสีมา ได้เดินทางไปสำนักทางหลวงที่ ๘ เพื่อตรวจเยี่ยมทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลก เส้นทางถนนสาย ๓๐๔ สายกบินทร์บุรี – ปักธงชัย
พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี กล่าวภายหลังการเสวนาฯ ว่า รัฐบาลได้แถลงนโยบาย ต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานต่าง ๆ ของกระทรวงคมนาคม เช่น การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า ๑๐ สายทาง โดยเก็บค่าบริการ ๒๐ บาทตลอดสาย พัฒนาการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชยนาวี และพัฒนาท่าอากาศยานสากล ท่าอากาศยานภูมิภาค และอุตสาหกรรมการบินของไทย พร้อมทั้งรองรับการเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี ๒๕๕๘

กระทรวงคมนาคมจึงได้จัดทำแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ วงเงินลงทุน ๒ ล้านล้านบาท เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางสำหรับเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานสนับสนุนยุทธศาสตร์การวางรากฐาน สร้างอนาคตประเทศในระยะยาว โดยแผนลงทุนดังกล่าวครอบคลุมทั้งการขนส่งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอีก ๑๐ – ๑๕ ปีข้างหน้า อันส่งผลดีต่อการพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ ซึ่งแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฯ ดังกล่าวเป็นโครงการระยะยาวที่มีผลกระทบต่อประชาชนในทุกภาคส่วน ดังนั้น การดำเนินงานตามแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ จึงจำเป็นต้องสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ การมีส่วนร่วม และสร้างความตื่นตัวของประชาชนในพื้นที่ เพื่อยกระดับความสนใจของประชาชนต่อแผนการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศ รวมทั้งสำรวจความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และมีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนต่อแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ ที่จะเกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาค

พลตำรวจเอก วิเชียรฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดเสวนาฯ ที่จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากจังหวัดนครราชสีมาเป็นประตูสู่ภาคอีสาน กระทรวงฯ จึงให้ความสำคัญในการผลักดันและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่งของจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่โดยรอบ เช่น ลพบุรี สระบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาการคมนาคมขนส่งและสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและสอดคล้องกับการเปิดรับเขตเศรษฐกิจเสรีอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟสายใหม่ ช่วงบ้านไผ่ – มหาสารคาม – มุกดาหาร โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – สระบุรี – นครราชสีมา และแผนพัฒนาสถานีขนส่งสินค้า (ภาคตะวันเฉียงเหนือ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางถนนด้วยรถบรรทุก ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี หนองคาย มุกดาหาร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44324
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/11/2012 12:57 pm    Post subject: Reply with quote

ชาว'บ้านไผ่'แห่จี้แก้แบบรางรถไฟ หวั่นการค้าทรุด-ให้ยกระดับผ่านตัวเมือง
วันที่ 07 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8014 ข่าวสดรายวัน

ขอนแก่น - ชาวบ้าน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น กว่า 100 คน รวมตัวกันที่หน้าโรงแรมเซ็นทาราแอนด์คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ จ.ขอนแก่น เพื่อยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ที่เป็นประธานเปิดการเสวนา "โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และร่วมรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนต่อแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมขนส่ง พ.ศ.2556-2563"

นายลิขิต กสิกิจวรกุล ประธานอนุกรรมการภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อ.บ้านไผ่ เสนอว่า กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยพิจารณากำหนดแบบแปลนโครงการในส่วนที่จะผ่าน อ.บ้านไผ่ ให้เป็นการยกระดับรางรถไฟเหนือทางรถยนต์ และยกระดับตัวสถานีให้สูงในระดับเดียวกัน เช่นเดียวกับแบบแปลนจุดผ่านที่ตัวเมืองขอนแก่น ไม่เช่นนั้นจะทำให้การจราจรในเขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่ติดขัดอย่างมาก เศรษฐกิจของชาวบ้านไผ่จะทรุดลง สังคมบ้านไผ่เกิดความวุ่นวาย เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาใดๆ ข้างต้นเกิดขึ้นในอนาคต

ด้านนางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ประชาชนชาว อ.บ้านไผ่ มาร้องเรียนครั้งนี้มีการแก้ไขปัญหาไปแล้ว คือ ทางรถไฟระบบรางคู่ในช่วงที่ผ่านในเขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่จะยกระดับรางรถไฟขึ้น เพื่อให้ชุมชนมีวิถีชีวิตเช่นเดิมและยังคงอยู่ได้ในสภาพปกติเหมือนเดิม กระทรวงคมนาคมจะไม่ทำร้ายชุมชนที่มีวิถีชีวิตของเขาอย่างมีความสุข และจะให้ประชาชนได้ดำเนินชีวิตแบบเดิมตลอดไป

นางสร้อยทิพย์กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดเสวนาที่ จ.ขอนแก่น ในครั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลเห็นความสำคัญของการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงผลักดันโครงการที่สำคัญต่างๆ เช่น โครงการรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา และพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางถนนด้วยรถบรรทุก ได้แก่ ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี หนองคาย และมุกดาหาร เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, ... 121, 122, 123  Next
Page 2 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©