Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181630
ทั้งหมด:13492868
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 16/03/2007 9:57 am    Post subject: Reply with quote

สป.เสนอประเดิมสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง พร้อมตั้ง กก.ตรวจสอบสกัดทุจริต

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 14 มีนาคม 2550 13:51 น.


สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ( สป.) ร่วมกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย จัดการประชุมเสวนาเวทีสาธารณะ และรับฟังความคิดเห็น เรื่องโครงการรถไฟฟ้า 5 สาย มีผลดีผลเสียอย่างไร ทั้งนี้ ที่ประชุมสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมปัญหาข้อเสนอแนะ และผลสรุปถึงข้อดีข้อเสีย เพื่อนำมาเปรียบเทียบในการที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ ทั้งนี้ ที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ - รังสิต บางซื่อ - มักสัน - หัวหมาก หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ เชื่อมต่อสนามบินดอนเมือง กับ สุวรรณภูมิ เข้าด้วยกันก่อนเป็นสายแรก

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังได้มีการเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน ให้มีหน้าที่ในการตรวจสอบการทำสัญญาระหว่างรัฐและเอกชนผู้รับสัมปทาน เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปด้วย

ด้านนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงโครงการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน ที่รัฐบาลประกาศจะเดินหน้าสร้างก่อน 2 สาย ว่า ประเด็นดังกล่าวถือเป็นข้อยุติแล้ว แม้มติคณะรัฐมนตรีจะให้ทำ 5 สาย แต่เมื่อปฏิบัติจริง ก็ต้องทำเช่นนี้ เป็นลักษณะค่อยทำค่อยไป เพราะการกู้เงินจากธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น ( เจบิก ) หรือที่ไหน จะกู้ทีเดียว 5 สายไม่ได้ การเจรจาต้องทำทีละสาย อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวต้องการเห็นรถไฟฟ้า 2 สายแรก เริ่มต้นก่อสร้างให้ได้ในรัฐบาลนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 20/03/2007 10:47 am    Post subject: Reply with quote

คุณ totmaru ได้ขุด ภาพรถไฟฟ้าสายแดง จากเวบ Design Concept l Architect มาลงไว้ดังนี้

ดอนเมือง - ยศเส

Click on the image for full size

บางซื่อ - รังสิต

Click on the image for full size

สถานียศเสตอนกลางวัน

Click on the image for full size

สถานียศเสตอนกลางคืน

Click on the image for full size

สถานียมราช

Click on the image for full size

สถานีจิตลดาแบบที่ 1

Click on the image for full size

สถานีจิตรลดาแบบที่ 2

Click on the image for full size

สถานีราชวิถี ( ก็สถานีสามเสนไง )

Click on the image for full size

สถานีราชวิถี ( ก็สถานีสามเสนไง ) ตอนกลางวัน

Click on the image for full size

สถานีบางซื่อ

Click on the image for full size

สถานีบางซื่อ แบบที่ 2

Click on the image for full size

Click on the image for full size

สถานีบางเขน

Click on the image for full size

สถานีหลักสี่

Click on the image for full size

สถานีดอนเมือง

Click on the image for full size

สถานีรังสิต

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2007 9:38 am    Post subject: Reply with quote

" ซีเมนส์ " เตรียมส่งรถไฟฟ้าเข้าไทย พร้อมเดินระบบรับแอร์พอร์ตลิงก์
ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับที่ 3882 (3082)
วันที่ : 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 หน้า 15


" ซีเมนส์ " ประกาศความพร้อมเดินระบบรถไฟฟ้าโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ แม้งานก่อสร้างจะล่าช้าจากแผน ล่าสุดผลิตรถไฟฟ้าด่วนพิเศษเสร็จแล้ว 2 ขบวน เตรียมนำมาอวดโฉมที่ประเทศไทยได้ภายในเดือน ตุลาคม นี้ ยันสิ้นปีส่งมอบได้ทั้งหมด 9 ขบวน ใช้เวลาทดสอบ 3 เดือนหลังงานก่อสร้างเสร็จ ชี้โครงการนี้มีความสำคัญ ช่วยเชื่อมการเดินทางในเมือง กับชานเมือง เข้าด้วยกัน

นายราล์ฟ ฮาสเซลบัคเคอร์ รองประธานอาวุโสและหัวหน้ากลุ่มระบบขนส่ง บริษัท ซีเมนส์ จำกัด ประเทศไทย เปิดเผยว่า งานภาพรวมของบริษัทที่รับผิดชอบโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ มีความคืบหน้า 63% ในด้านวางราง และผลิตตัวรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้

ล่าสุด บริษัทผลิตรถไฟฟ้าด่วนพิเศษเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 ขบวน เมื่อวันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา ปัจจุบัน ได้ออกจากโรงงานที่ประเทศเยอรมนีแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างนำไปทดสอบระบบต่างๆ มีกำหนดจะมาถึงประเทศไทยประมาณเดือน ตุลาคม ที่จะถึงนี้

ระบบรถไฟฟ้าที่บริษัทผลิตเพื่อนำมาใช้วิ่งในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ มี 2 แบบ จำนวน 9 ขบวน คือ

1. แบบระบบรถไฟฟ้าด่วนพิเศษ จาก สถานีมักกะสัน วิ่งยาวถึง สถานีสุวรรณภูมิ จำนวน 4 ขบวน ซึ่งใน 1 ขบวน จะมี 4 ตู้ รวมเป็นจำนวนรถไฟฟ้า 16 ตู้ โดยเป็นตู้สำหรับโดยสาร 3 ตู้ ที่เหลืออีก 1 ตู้เป็นตู้สำหรับไว้เก็บกระเป๋าที่ผู้โดยสารมาเช็กอินที่สถานีมักกะสัน ใช้เวลาเดินทาง 15 นาที

นายราล์ฟกล่าวต่อว่า สำหรับอีกแบบเป็น

2. แบบระบบรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ SA City Line จาก สถานีพญาไท - สถานีสุวรรณภูมิ โดยจะจอดทุกสถานี มีจำนวน 5 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ รวมเป็นจำนวนรถไฟฟ้า 15 ตู้ ใช้เวลาเดินทาง 27 นาที โดยจะจอดรับผู้โดยสารระหว่างสถานี 30 วินาที

ซึ่งทั้ง 9 ขบวนนี้ จะมาถึงประเทศไทยภายในสิ้นปีนี้ และเตรียมพร้อมที่จะเดินรถได้เลย โดยจะทดสอบระบบ 3 เดือน

การทดสอบระบบ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของงานโครงสร้างด้วย ซึ่งตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะแล้วเสร็จเมื่อไร เพราะโครงการมีความล่าช้ามาก ขณะนี้ ยังไม่ได้ข้อสรุปจากการรถไฟแห่งประเทศไทย เจ้าของโครงการว่า จะต่อสัญญาให้ได้เมื่อไร แต่ถ้ารถไฟฟ้ามาถึงแล้ว แต่งานก่อสร้างยังไม่เสร็จพร้อมที่จะทดสอบระบบได้ บริษัทจะนำรถไฟฟ้านี้ไปเก็บไว้ที่เดโป้ ตรงคลองตัน

นายราล์ฟกล่าวต่อว่า โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ถือว่า เป็นโครงการที่มีความสำคัญของคนกรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นโครงการแรกที่เป็นหัวใจในการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่เขตกรุงเทพฯ กับ ปริมณฑล เป็น commuter service หลังจากที่กรุงเทพฯมีโครงการรถไฟฟ้า บีทีเอส แล้ว ซึ่งโครงการ บีทีเอส เป็นการขนส่งใจกลางเมืองเป็นหลัก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 28/03/2007 8:34 pm    Post subject: Reply with quote

ลงตอม่อรถไฟสุวรรณภูมิคร่อมสถานีพญาไท

เดลินิวส์ 28 มีนาคม 2550

พ.ต.ท.ภูษิต วิเศษคามินทร์ รองผกก.จร.สน.พญาไท เปิดเผยว่า จากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) ได้ว่าจ้างให้ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง พญาไท - มักกะสัน - สุวรรณภูมิ ซึ่งผู้รับเหมาเริ่มลงพื้นที่บริเวณแยกนิคมมักกะสัน ตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. แล้ว โดยจะปิดการจราจรช่องซ้ายสุด จากฝั่งโรงแรมอินทรา ไปถึงแยกนิคมมักกะสัน เป็นระยะทางประมาณ 50 เมตร เพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการก่อสร้างโครงสร้างรถไฟฟ้า โดยปิดการจราจรในฝั่งนี้เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน ถึงวันที่ 27 เม.ย. หลังจากนั้น จะเริ่มลงพื้นที่ฝั่งตรงข้าม บริเวณถนนมักกะสัน จากแยกนิคมมักกะสัน ตรงผ่านโรงแรมบางกอกพาเลซ ไปจนถึงบริเวณโรงซ่อม ซึ่งในจุดนี้ ทางผู้รับเหมาอยู่ระหว่างเสนอแผนการก่อสร้าง และการจัดการจราจรในระหว่างการก่อสร้าง และภายหลังก่อสร้างอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ บช.น. เนื่องจากในบริเวณนี้ จะต้องเสียผิวการจราจรบนถนนนิคมมักกะสันอย่างถาวรไป 2 ช่อง จากเดิมที่มี 4 ช่องจราจร ในระหว่างนี้ ทาง สน.ได้เตรียมแบบสอบถามประชาชนที่ใช้เส้นทางดังกล่าว ทั้งในด้านถนนราชปรารภ และถนนนิคมมักกะสัน เพื่อทราบปริมาณการจราจรและการเดินทางของประชาชน ทั้งรายละเอียดการเดินทางจากจุดเริ่มต้นไปยังปลายทาง และจะผ่านถนนดังกล่าวในช่วงเวลาใด และความถี่ในการเดินทางผ่านบริเวณที่มีการก่อสร้าง โดยจะเริ่มแจกแบบสอบถามภายในสัปดาห์นี้ จึงขอความร่วมมือประชาชนตอบแบบสอบถาม เพื่อจะได้นำข้อมูลมาวางแผนจัดการจราจรให้เหมาะสมต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า บริเวณดังกล่าว จะมีการก่อสร้างตัวสถานีพญาไท ซึ่งเป็นสถานีเริ่มต้นของรถไฟฟ้าไปสุวรรณภูมิ โดยจะอยู่ที่ระดับความสูงเหนือสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส ในปัจจุบัน และสามารถเดินทางเชื่อมต่อระบบระหว่างรถไฟฟ้าทั้งสองสายได้ ซึ่งตัวสถานีที่จะทำเป็นโครงสร้างถาวร จะต้องใช้พื้นที่ถนนนิคมมักกะสัน ในการวางโครงสร้างสถานี ซึ่งปัจจุบัน ถนนดังกล่าวเป็นเส้นทางลัดเชื่อมจากดินแดง ไปเพชรบุรี และสามารถวิ่งไปออกถนนสุขุมวิท บริเวณซอยนานา ( สุขุมวิท 3 ) ได้ และมีประชาชนใช้เส้นทางดังกล่าวจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การเดินทางของประชาชนในช่วงนี้ เป็นช่วงปิดภาคเรียน การสำรวจปริมาณรถอาจจะไม่ครอบคลุมปริมาณการเดินทางที่แท้จริง และหากต้องปิดการจราจรบริเวณดังกล่าวถาวร จะส่งผลกระทบต่อการจราจรบนถนนเพชรบุรี ถนนดินแดง และต่อเนื่อง อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้ ทำให้ขณะนี้ บช.น. ยังไม่อนุมัติแผนการก่อสร้างให้กับผู้รับเหมา จนกว่าจะสามารถทำแผนการจราจรอย่างรัดกุม และส่งผลกระทบน้อยที่สุด.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2007 8:53 am    Post subject: Reply with quote

กทม. เล็งผุดรถไฟฟ้าโมโนเรล + เตรียมจ้างศึกษา 20 ล้าน ขีดแนวเส้นทาง - รูปแบบลงทุน/คาดนำร่องมักกะสัน - สุวรรณภูมิ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2204 29 มี.ค. - 31 มี.ค. 2550

กทม. เตรียมจ้างที่ปรึกษาค่า 20 ล้านบาท ทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนรอง ในเขตกรุงเทพฯ สั่งศึกษากำหนดแนวเส้นทาง รูปแบบลงทุน รถไฟฟ้าโมโนเรล - ไมโครบัส - เรือ เชื่อมโยงระบบรถไฟฟ้า เล็งนำร่องเส้นทางมักกะสัน - สุวรรณภูมิเป็นสายแรก คาดปลาย เม.ย.50 ประกาศร่าง ทีโออาร์ ระดมความเห็นผ่านเว็บไซต์ได้

แหล่งข่าวระดับสูงรายหนึ่งจากกรุงเทพมหานคร ( กทม.) เปิดเผย " ฐานเศรษฐกิจ " ว่า ขณะนี้ กทม. โดยสำนักการจราจรและขนส่ง ( สจส.) กำลังจัดทำกรอบข้อกำหนด ( ทีโออาร์ ) เตรียมการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อทำการศึกษาแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนรอง ในเขตกรุงมหานคร ภายใต้กรอบวงเงินประมาณ 20 ล้านบาท มีระยะเวลาในการศึกษา 1 ปี

โดยข้อกำหนดในการศึกษารายละเอียดนั้น ที่ปรึกษาจะต้องศึกษาความเหมาะสม และกำหนดเส้นทางของระบบขนส่งมวลชนรอง ภายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งในรูปแบบของรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือรถไฟฟ้าโมโนเรล ( Monorail ) รถไมโครบัส รวมถึงกำหนดเส้นทางการจราจรทางน้ำ ให้มีความสอดคล้องกัน และต้องสอดรับกับระบบขนส่งมวลชนที่เป็นระบบหลัก คือ รถไฟฟ้า ด้วย

นอกจากนั้น ต้องกำหนดพื้นที่ที่จะใช้เป็นสถานี และจุดพักรถ พร้อมทั้งต้องศึกษาด้วยว่า จะต้องใช้งบประมาณในการลงทุนเท่าใด รูปแบบการลงทุนเป็นอย่างไร จึงจะมีความเหมาะสม อีกทั้งให้ดูถึงรูปแบบการดึงเอกชน หรือผู้ประกอบการที่อยู่โดยรอบเส้นทางระบบขนส่งมวลชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย ทั้งโรงแรม และห้างสรรพสินค้า เช่น ทำสถานีเชื่อมต่อเข้าไปยังโรงแรม หรือห้างสรรพสินค้า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการในทางหนึ่งด้วย

สำหรับโครงการที่กทม.คาดว่า จะใช้เป็นโครงการนำร่อง คือ โครงการรถไฟฟ้าโมโนเรล เส้นทางศูนย์คมนาคมมักกะสัน - สนามบินสุวรรณภูมิ โดยกำหนดพื้นที่ในการศึกษาให้อยู่โดยรอบบริเวณย่านมักกะสัน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.ฟ.ท.) มีแผนที่จะพัฒนาเป็นศูนย์คมนาคมแห่งใหม่ โดยได้มีการจัดทำแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณย่านมักกะสัน ( Makkasan Complex ) ซึ่งได้มีการศึกษา และจัดทำเส้นทางรถไฟฟ้าโมโนเรล วิ่งรับ - ส่งภายในพื้นที่ไว้แล้ว

โดย กทม. จะนำแผนแม่บทของการรถไฟฯ มาเป็นต้นแบบในการพิจารณาจัดทำแนวเส้นทางรถไฟฟ้าโมโนเรล ให้เชื่อมโยงกับพื้นที่รอบนอก โดยกำหนดจุดเริ่มต้นที่ ศูนย์มักกะสัน และสิ้นสุดเส้นทางที่ สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งเส้นทางการเดินรถจะเชื่อมโยงกับพื้นที่ย่านการค้าโดยรอบ ทั้ง บริเวณย่านราชประสงค์ ชิดลม เพลินจิต เชื่อมกับการเดินเรือในคลองแสนแสบ และท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณท่าสาทร ด้วย

Quote:
( ทางรถไฟรางเดียววงแหวนนี้ เริ่มจากสถานีชิดลม ไปออกแยกราชประสงค์ ประตูน้ำ สถานีราชปรารภ แล้วผ่าเข้าย่านมักกะสัน ไปสถานีมักกะสันใหม่/เพชรบุรี แล้ววกไปตามเส้นเพชรบุรีตัดใหม่ ผ่านเข้าซอยชิดลมไปสถานีชิดลม )


สำหรับการจัดจ้างที่ปรึกษานั้น จะใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีออคชั่น ซึ่งระหว่างนี้ อยู่ในขั้นตอนการร่าง ทีโออาร์ คาดว่าประมาณปลายเดือน เม.ย.น่าจะแล้วเสร็จ และจะประกาศร่าง ทีโออาร์ ขึ้นเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลาง เป็นครั้งแรกได้ เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ จากนั้นแล้ว ก็จะทำการประกาศฉบับจริง เพื่อทำการประกวดราคาต่อไป ซึ่ง คาดว่าขั้นตอนการจ้างที่ปรึกษาจะแล้วเสร็จได้ประมาณกลางปี 50 แหล่งข่าวกล่าว

อนึ่ง การศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนรอง ในเขตพื้นที่ กทม. นี้ เป็นไปตามแนวนโยบายของ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ( กทม.) ที่มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่ง ( สจส.) ไปทำการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อศึกษาจัดทำแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรองในเขต กทม. ทั้งทางบก และทางน้ำ เพื่อให้มีความเชื่อมโยงกับระบบหลัก คือระบบรถไฟฟ้า อย่างเป็นระบบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2007 4:55 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนนี้กำลังขึ้นโครงหลังคาโค้งของ City Air Terminal แล้ว ( จาก 2bangkok.com )

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2007 9:58 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมปิ๊งไอเดีย สร้างรถไฟฟ้าเส้นที่ 6 เชื่อมสุวรรณภูมิ - ดอนเมือง

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 เมษายน 2550 20:04 น.

รมว.คมนาคม เสนอแนวคิดสร้างรถไฟฟ้าเส้นที่ 6 เชื่อมตรงระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิ กับ สนามบินดอนเมือง โดยตรง แบบไม่แวะจอดรับผู้โดยสารที่สถานีใด มีสถานีชานชาลาอยู่ในสนามบิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการระหว่าง 2 สนามบิน พร้อมมอบหมายให้ สนข.ศึกษาความเป็นไปได้ รอรัฐบาลใหม่สานต่อ เผยหากไม่คุ้มทุน อาจล้มโครงการได้ ส่วนแอร์พอร์ต ลิงก์ ต้องเลื่อนเปิดบริการไปเป็นปีหน้า

หลังเรียกประชุมหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดที่ใช้งบประมาณของรัฐ ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย สถาบันการบินพลเรือน และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.) พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ มีแนวคิดในการสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ เพื่อเชื่อมโยงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานกรุงเทพ ( ดอนเมือง ) โดยตรง แบบไม่แวะจอดรับผู้โดยสารที่สถานีใด มีสถานีชานชาลาอยู่ภายในสนามบิน หากก่อสร้างจริง จะถือเป็นเส้นทางใหม่ เส้นที่ 6 นอกเหนือจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนใช้บริการในการเชื่อมต่อระหว่าง 2 สนามบิน และขณะนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข.) ไปศึกษาความเป็นไปได้ และสร้างในรัฐบาลชุดใหม่ เพราะไม่ทันในรัฐบาลชุดนี้แน่นอน

พล.ร.อ.ธีระ กล่าวว่า สาเหตุที่ไม่สร้างรถไฟฟ้าโดยเชื่อมต่อจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง เนื่องจากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง จะมีสถานีตามรายทาง ทำให้ไม่รวดเร็วแบบการเชื่อมโยงเส้นทางตรงจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปท่าอากาศยานกรุงเทพ ส่วนประเด็นที่ว่า หากกระทรวงคมนาคมจะก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าใหม่จริง อาจต้องใช้เงินลงทุนสูงเกินกว่าประโยชน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับนั้น หากผลการศึกษาสรุปว่า ไม่คุ้มทุน ก็อาจจะเลิกล้มโครงการนี้ก็ได้ และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาเท่านั้น ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ

ขณะที่ความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต ลิงก์ เชื่อมสถานีมักกะสัน ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นั้น มีความชัดเจนว่า มีความล่าช้าเกิดขึ้นจากการส่งมอบพื้นที่ และปัญหาจากผู้รับเหมา ซึ่งต้องเลื่อนการเปิดให้บริการไปในปีหน้า

สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน การรถไฟแห่งประเทศไทยฯ รายงานว่า จะสามารถประกวดราคาได้ในเดือน มิถุนายน และจ้างบริษัทที่ปรึกษา เพื่อเปิดกว้างหาผู้รับเหมา แม้จะล่าช้าไปบ้างแต่ต้องยอม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และประเทศชาติ ส่วนเงินกู้นั้น ขณะนี้ กระทรวงการคลังจะเป็นผู้หาแหล่งเงินกู้ใหม่ สำหรับเส้นทางสีแดง จะใช้เงินกู้ภายในประเทศแน่นอน ส่วนเส้นทางอื่น จะใช้เงินกู้ภายนอกประเทศ

..........
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/04/2007 11:06 am    Post subject: Reply with quote

" ธีระ " สั่งศึกษารถไฟฟ้าเชื่อมสุวรรณภูมิ - ดอนเมือง

กรุงเทพธุรกิจ 2 เมษายน พ.ศ. 2550 19:29:00

“ ธีระ ” สั่ง สนข.ศึกษาโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 2 สนามบิน เพิ่มจากเดิมที่รัฐบาลจะทำเพียง 5 เส้นทาง เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : พลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังประชุมรัฐวิสาหกิจในสังกัดว่า ได้เร่งรัดการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามเป้า พร้อมกำชับรัฐวิสาหกิจที่มีผลขาดทุน เร่งผลักดันแผนฟื้นฟูกิจการ โดยเฉพาะการรถไฟแห่งประเทศไทย ( รฟท.) ต้องก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงค์ และเดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วง บางซื่อ - ตลิ่งชัน คาดว่าจะเปิดประกวดราคาเดือนมิถุนายน ช้ากว่าแผนเดิมเล็กน้อย เพราะต้องคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาให้ถูกต้องตามขั้นตอน โดยวิธีเปิดประกวดราคาทั่วไปแทนใช้วิธีตกลง

ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ยังไม่มีการเชื่อมการเดินทางระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง ตนจึงมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข.) ไปศึกษาแนวเส้นทาง เพื่อให้การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานทั้ง 2 แห่ง ซึ่งแนวเส้นทางดังกล่าว จะเป็นแนวทางใหม่นอกจากแผนดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง ที่รัฐบาลชุดเก่ากำหนดไว้

“ แนวเส้นทางเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนดำเนินโครงการรถไฟฟ้า แต่ผมต้องการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่ต้องเดินทางระหว่าง 2 สนามบิน จึงให้ศึกษาแผนไว้ หากรัฐบาลใหม่เข้ามาจะได้สะดวกและนำไปใช้ได้ทันที ” พลเรือเอกธีระ กล่าว

ด้าน ดร.ไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า แผนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าในภาพรวมได้กำหนดแนวเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง แล้ว แต่รัฐบาลจะดำเนินการเส้นทางใดก่อน ซึ่งขณะนี้ นโยบายรัฐบาลต้องการให้ผู้โดยสารเดินทางเชื่อมระหว่าง 2 ท่าอากาศยานอย่างสะดวก โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถจากแอร์พอร์ตลิงค์ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าระบบรางขนาด 1.43 เมตร

ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงอื่น เป็นรถไฟฟ้าที่ใช้รางขนาด 1 เมตร จึงมีแผนให้ สนข.ไปจัดทำแบบรายละเอียดเพิ่มขนาดราง 1.43 เมตร ให้ยาวจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปถึงท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อผู้โดยสารไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายขบวนรถ โดย สนข. จะตั้งงบปี 2551 เพื่อจัดทำแบบรายละเอียด และศึกษาตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ร่วมทุนว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานและดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2007 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.สั่งทบทวนรถไฟสายสีแดง วางกรอบศึกษาเสร็จเดือน ก.ย.นี้

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 18 เมษายน 2548 17:01 น.

สนข.สั่งทบทวนเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - มักกะสัน และบางซื่อ - หัวลำโพง หวั่นกระทบชาวชุมชนริมทางรถไฟ 12 แห่ง จำนวน 2 พันครัวเรือน วางกรอบศึกษาแล้วเสร็จในเดือน ก.ย.นี้

คำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข.) เปิดเผยว่า สนข. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในเรื่องเศรษฐกิจ และสังคม และสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการระบบขนส่งทางรถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - มักกะสัน และช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง ตามที่มติ คจร.เห็นชอบ เนื่องจากหากลงทุนโครงการตามเส้นทางดังกล่าว อาจจะกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณเส้นทางรถไฟกว่า 2,000 ครัวเรือน

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟอื่น ๆ ที่ยังขาดช่วงอยู่ คือ โครงการระบบขนส่งทางรถไฟชานเมืองร่วมกับระบบรถไฟทางไกล เชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนในเขต กทม. และปริมณฑล ( สายรังสิต - บ้านภาชี สายมักกะสัน - ฉะเชิงเทรา สายตลิ่งชัน - นครปฐม และสายมหาชัย - ปากท่อ ) รวมทั้งโครงการระบบขนส่งทางรถไฟสายเหนือ ช่วงบางซื่อ - สถานีรังสิต และโครงการระบบขนส่งทางรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ( ช่วงพญาไท - มักกะสัน/อโศก - สุวรรณภูมิ ) ซึ่งจะเป็นขั้นตอนที่ปฏิบัติได้โดยเร็วตามแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ อันที่จะเพิ่มบทบาทขีดความสามารถ และประสิทธิภาพของระบบขนส่งทางรถไฟ

โครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 3 ระบบ คือ ระบบรถไฟฟ้าทางไกล ระบบรถไฟฟ้าในเมืองและรถไฟดีเซลธรรมดา เป็นทางรถไฟยกระดับเกือบทั้งหมด ซึ่งบริษัทที่ปรึกษารายงานว่า จากการสำรวจเบื้องต้นจะใช้แนวเขตทางรถไฟทั้งหมด ซึ่งจะกระทบกับชุมชนริมทางรถไฟ 12 ชุมชน ที่มีประชาชนอาศัยอยู่กว่า 2,000 หลังคาเรือน

นอกจากนี้ ยังต้องรอผลการศึกษาและออกแบบเรื่องสถานีจิตรลดา ที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้องเรียนว่าไม่สมควรก่อสร้างให้มีความสูงระดับหลังคาวังจิตรลดา เพื่อเป็นการแก้ปัญหา จึงต้องมีการออกแบบด้านวิศวกรใหม่ภายใน 2 เดือนและสรุปผลการศึกษาอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับสถานีของโครงการดังกล่าว มีทั้งหมด 9 สถานี คือ สถานีบางซื่อ. ประดิพัทธิ์, จิตรลดา, สามเสน, ราชวิถี, พญาไท, สถานียมราช, มักกะสัน, ยศเส และ หัวลำโพง

นอกจากนั้น ในส่วนการก่อสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับสายสีแดง ช่วงรังสิต - หัวลำโพง - มหาชัย สนข.ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด ซึ่งส่วนหนึ่งของการออกแบบ คือ การตรวจสอบสภาพเสาของโครงการทางรถไฟยกระดับ และถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร

และปริมณฑลหรือ โฮปเวลล์เดิม ด้วยว่ายังใช้งานได้หรือไม่ เพราะในหลักการเบื้องต้นของการออกแบบรถไฟฟ้าสายสีแดงจะพยายามให้ใช้โครงสร้างเดิมของโฮปเวลล์ให้ได้มากที่สุด โดยจะศึกษาและออกแบบเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาความแข็งแรงโครงสร้างทางรถไฟยกระดับ ( โฮปเวลล์ ) ระบุว่า เสาที่มี 981 ต้น ต้องทุบทิ้งเพียง 2 ต้นเท่านั้น ดังนั้น สนข. จะเดินหน้าใช้ประโยชน์จากโครงการดังกล่าวทันที โดยเฉพาะโครงการเส้นทางรถไฟลอยฟ้า และการผสมผสานโครงการในส่วนของการขนส่งประเภทอื่น ที่จะทำให้การลงทุนในโครงการที่คาดว่าจะใช้งบประมาณไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท ภายใน 5 ปี ข้างหน้า ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการที่วางไว้ จะมีในส่วนของระบบทางรถไฟธรรมดาที่วิ่งตามแนวเลียบถนนวิภาวดีรังสิต วางไว้บนฐานของเสาโฮปเวลล์ ทำให้อนาคตจะมีระบบรรถไฟคู่ คือ รางรถไฟธรรมดา และระบบรางสำหรับรถไฟฟ้าอยู่รวมกัน ขณะเดียวกัน มีการวางแผนเชื่อมโยงระบบรถไฟฟ้าจากเส้นรังสิต - ดอนเมือง มาที่มักกะสัน ในโครงการมักกะสัน - สุวรรณภูมิ ( แอร์พอร์ตลิ้งค์ ) ด้วย เพราะที่สถานีมักกะสัน จะเป็นสถานีเช็กอินของสนามบินสุวรรณภูมิ ถือเป็นการเชื่อมต่อ 2 สนามบินนานาชาติของไทยอย่างสมบูรณ์แบบ โครงการอยู่ภายใต้การดูแลของกรมทางหลวงชนบท ไม่นับรวมการเชื่อมต่อกับระบบทางด่วนด้านตะวันตกของ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ( บางใหญ่ - บางซื่อ ) ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.)

ขณะเดียวกัน ระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงนี้ ก็จะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างสถานีมักกะสัน ที่จะเป็นสถานีเช็คอิน ก่อนเดินทางเข้าสู่สนามบินสุวรรณภูมิ โครงสร้างโฮปเวลล์ยังเป็นการเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมืองที่วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 160 กม./ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 30 นาที ในการเดินทางเข้าสู่สนามบินดอนเมือง ซึ่งถือเป็นการเชื่อมต่อ 2 สนามบินของไทยอย่างสมบูรณ์แบบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2007 12:34 pm    Post subject: Reply with quote

เมกะโปรเจกต์คมนาคมหลับยาว - กรอบไม่ชัด - เงินไม่มี - คลังยังเก็บตัวเงียบ

สยามธุรกิจ 7 เมษายน 2550

ก.คมนาคม - รถไฟฟ้าส่อเค้าหลับยาว คมนาคมซื้อเวลาให้คัดเลือกที่ปรึกษาใหม่แบบประมูลแทนการว่าจ้าง เพื่อความโปร่งใส ส่วนกรณี รฟม.ที่อนุมัติว่าจ้าง บริษัท AEC ไปนั้น ต้องรับผิดชอบกันเอง ขณะที่ยังไร้งบในการก่อสร้าง คลังยังไม่ขยับหาเงินกู้ อ้างขอทบทวนหนี้สินประเทศก่อน

ส่วนการหาผู้ประกอบการพื้นที่สุวรรณภูมิใหม่นั้น เป็นเรื่องที่บอร์ด ทอท.ต้องตอบประชาชนเอง พร้อมแฉมีผู้บริการวิ่งเต้นให้คิงเพาเวอร์พบบอร์ดเพื่อเจรจาต่อสัญญา

พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตนได้เรียกหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวง ที่ใช้งบประมาณของแผ่นดิน มารายงานความคืบหน้าถึงปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินโครงการต่างๆ ตามนโยบายที่ได้มอบหมายไป โดยเฉพาะในส่วนของโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 เส้นทางแรก คือ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน และบางซื่อ - รังสิต และสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่ - บางซื่อ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ( ร.ฟ.ท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ( รฟม.) จะต้องเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงาน ซึ่งทั้ง 3 สายทางดังกล่าว จะต้องเปิดประกวดราคาในปีนี้นั้น ได้รับรายงานว่าขณะนี้ทั้ง 2 หน่วยงานยังอยู่ระหว่างการดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบ และขั้นตอนที่ถูกต้องโปร่งใส

ทั้งนี้ ในส่วนของ รฟม. ที่จะต้องรอความชัดเจนเกี่ยวกับการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาโครงการใหม่ ภายหลังจากที่กระทรวงคมนาคม มีนโยบายให้ รฟม. กลับไปทบทวนวิธีการคัดเลือกที่ปรึกษาให้ถูกต้อง เหมาะสม และโปร่งใส

โดยให้เปลี่ยนจากการคัดเลือกด้วยวิธีพิเศษ ให้เป็นการเปิดประมูลทั่วไป สำหรับกรณีที่คณะกรรมการบริหาร ( บอร์ด ) รฟม.ได้อนุมัติว่าจ้างกลุ่มบริษัท AEC ให้เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง และกลุ่มบริษัท BMTC เป็นที่ปรึกษาเส้นทางสายสีน้ำเงินไปแล้วนั้น เห็นว่าเรื่องดังกล่าว จะต้องเป็นหน้าที่ของ บอร์ด รฟม. เป็นผู้ตัดสินใจ

ซึ่งการดำเนินการทุกอย่าง จะต้องตอบคำถามต่อสังคมได้ หากเกิดความผิดพลาด อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า การกลับมาเริ่มต้นคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาใหม่ทั้งหมด จะส่งผลกระทบต่อโครง การให้เกิดความล่าช้าบ้าง แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะการดำเนินการโครงการขนาดใหญ่ จำเป็นต้องทำให้ถูกต้อง และโปร่งใส ดีกว่าเร่งรีบดำเนินการแล้วเกิดปัญหาความผิดพลาดในภายหลัง

ส่วนการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน นั้น ทาง ร.ฟ.ท. ราย งานว่า จะสามารถประกวดราคาได้ในเดือนมิถุนายน และจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อเปิดกว้างหาผู้รับเหมา แม้จะล่าช้าไปบ้าง แต่ต้องยอม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และประเทศชาติ กรณีเรื่องการจัดหาแหล่งเงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ( เจบิค ) นั้น ตนได้มีการหารือร่วมกับ ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึงแนวทางการกู้เงินแล้ว

แต่ต้องรอพิจารณาดูกรอบเวลาที่กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการ และการทบทวนหนี้สินของประเทศด้วย พล.ร.อ.ธีระ ยังกล่าวถึงการศึกษาโครงการรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ว่า ขณะนี้ มีแนวคิดในการสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ เพื่อเชื่อมโยงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมืองโดยตรง แบบไม่แวะจอดรับผู้โดยสารที่สถานีใด มีสถานีชานชาลาอยู่ภายในสนามบิน หากก่อสร้างจริง จะถือเป็นเส้นทางใหม่ เส้นที่ 6 นอกเหนือจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนใช้บริการในการเชื่อมต่อระหว่าง 2 สนามบิน และขณะนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ( สนข.) ไปศึกษาความเป็นไปได้ และสร้างในรัฐบาลชุดใหม่ เพราะไม่ทันในรัฐบาลชุดนี้แน่นอน

สาเหตุที่ไม่สร้างรถไฟฟ้าโดยเชื่อมต่อจากแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง เนื่อง จากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง จะมีสถานีตามรายทาง ทำให้ไม่รวดเร็วแบบการเชื่อมโยงเส้นทางตรงจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปท่าอากาศยานดอนเมือง ส่วนประเด็นที่ว่า หากกระทรวงคมนาคมจะก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าใหม่จริง อาจต้องใช้เงินลงทุนสูงเกินกว่าประโยชน์ที่ประชาชนส่วนใหญ่จะได้รับนั้น หากผลการศึกษาสรุปว่า ไม่คุ้มทุน ก็อาจจะเลิกล้มโครงการนี้ก็ได้ และขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนการศึกษาเท่านั้น ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ

พล.ร.อ.ธีระ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าและความชัดเจนในการพิจารณาแนวทางกับบริษัท คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ให้บริการร้านค้าปลอดอากร และผู้ได้รับสัมปทานบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายหลังที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ( บอร์ด ) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด ( มหาชน ) หรือ ทอท. มีมติให้สัญญาที่ทำไว้เป็นโฆฆะนั้น ว่า

ขณะนี้ได้รับรายงานจาก ทอท.ที่รายงานให้ทราบถึงมติการบอกเลิกสัญญากับคิงเพาเวอร์แล้ว แต่ยังไม่ข้อมูลที่จะสามารถตอบคำถามสื่อมวลชนได้ ซึ่ง ทอท.ต้องมีข้อมูลในการตอบคำถามสื่อมวลชน และประชาชนให้ได้ว่า สาเหตุที่ยกเลิกสัญญาเพราะเหตุใด รวมถึงแนวทางการจัดหาผู้ประกอบการรายใหม่ด้วย “แนวทางที่จะพิจารณาให้บริษัท คิง เพาเวอร์ ต่อสัญญาใหม่ หรือบอกเลิกสัญญาเก่าแล้วประมูลใหม่นั้น ขณะนี้รอให้บอร์ด ทอท.พิจารณาทบทวนเพื่อหาทางออกให้ดีและเหมาะสมที่สุด และพิจารณาตามกฎหมาย ให้เกิดความเหมาะสมที่สุด

สำหรับความชัดเจนที่ผ่านมา ขณะนี้บอร์ด ทอท.อยู่ระหว่างพิจารณาว่า จะดำเนินแนวทางอย่างไร ในขณะที่มีรายงานข่าวว่า มีผู้บริหารระดับสูงใน ทอท.คนหนึ่ง พยายามเป็นตัวกลางวิ่งเต้นให้ผู้บริหาร คิง เพาเวอร์ เข้าพบหารือกับ นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง กรรมการ ทอท.เพื่อขอเคลียร์ปัญหาที่เกิดขึ้น แต่นายเจิมศักดิ์ ไม่ยอมให้เข้าพบ พล.ร.อ.ธีระ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 10, 11, 12 ... 159, 160, 161  Next
Page 11 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©