RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179544
ทั้งหมด:13490776
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว Airport Link
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว Airport Link
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 96, 97, 98 ... 159, 160, 161  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/06/2013 5:14 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ต ลิงค์ถอยหลังเข้าคลอง
วันอาทิตย์ที่ 02 มิถุนายน 2013 เวลา 10:00 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

รถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ หรือ "แอร์พอร์ต ลิงค์" ถือเป็นบริการขนส่งมวลชนที่สำคัญในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและผู้โดยสาร ระหว่างพื้นที่ชานเมืองกับในเมือง

โดยเฉพาะการเชื่อมต่อผู้โดยสารระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิกับสนามบินดอนเมือง แต่เพราะวันนี้สามารถบริการได้แค่ครึ่งทางระหว่าง สนามบินสุวรรณภูมิ - พญาไท จึงยังเป็นบริการที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนกว่าส่วนต่อขยาย พญาไท-ท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จและเปิดบริการได้เต็มรูปแบบในปี 2559

แม้ว่าแอร์พอร์ต ลิงค์ จะดำเนินการโดย "การรถไฟแห่งประเทศไทย" รัฐวิสาหกิจเก่าแก่ของไทยที่มีอายุกว่า 100 ปี แต่เพราะวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้แอร์พอร์ต ลิงค์ เป็นบริการสาธารณะที่มีการบริหารจัดการที่ทันสมัย คล่องตัว ไม่อยู่ภายใต้ระบบราชการเก่าๆ โดยเฉพาะภายใต้องค์กรที่ขาดทุนสะสมกว่า 7 หมื่นล้านบาท หนี้สินร่วม 1 แสนล้านบาท ตอนแรกจึงคิดจะให้ภาคเอกชนเข้ามารับสัมปทานเดินรถแบบรถไฟฟ้า BTS แต่สุดท้ายก็ออกมาในรูปของการตั้งรัฐวิสาหกิจ "บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด" ซึ่งเป็นบริษัทลูกของการรถไฟฯให้เข้ามาบริหารจัดการแอร์พอร์ต ลิงค์ ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2553 ซึ่งความคิดนี้ก็ไม่เห็นมีใครคัดค้าน

กระทั่งวันนี้เกิดข่าวว่าการรถไฟฯซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น 100% มีความคิดจะยุบเลิก บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ให้เหลือสถานะแค่ BUSINESS UNIT หรือหน่วยธุรกิจหนึ่งในสังกัดของการรถไฟฯ ด้วยเหตุผลว่าเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องและสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินงาน โดยเฉพาะกับการรองรับงานของการรถไฟฯที่มีแผนก่อสร้างรถไฟรางคู่และรถไฟความเร็วสูงตามโครงการพัฒนาระบบขนส่งโครงสร้างพื้นฐานของประเทศวงเงิน 2 ล้านล้านบาท

ความคิดนี้มีแนวโน้มว่าจะเป็นจริงเพราะไม่เพียงมีที่มาอย่างชัดเจนจาก นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฯคนปัจจุบันเท่านั้น แม้แต่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็เห็นว่าต้องทบทวนบทบาทระหว่างบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด กับการรถไฟฯใหม่ เพราะมีปัญหาเรื่องข้อสัญญาระหว่างกัน อาทิ การโอนทรัพย์สินและหนี้สิน แต่สิ่งที่คนภายนอกมองเห็นชัดเจนคือปมความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าการการรถไฟฯกับ นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ของแอร์พอร์ต ลิงค์ ที่เพิ่งจะเข้ามานั่งทำงานได้ไม่ถึงเดือนแต่ดันไปให้ข้อมูลสื่อจนเป็นข่าวใหญ่โตว่ามีปัญหาการเงินจนไม่มีเงินเดือนจ่ายพนักงาน 400 คน

การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพนั้นบุคคลระดับรัฐมนตรีคมนาคมและผู้ว่าการการรถไฟฯคนปัจจุบันมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับหนึ่ง แต่การจะยุบบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ฯ ให้เป็นหน่วยงานธุรกิจ ของการรถไฟฯ ย่อมต้องอธิบายต่อบอร์ดการรถไฟฯ คณะรัฐมนตรี และสังคมไทย ให้ได้ว่าแทนที่จะเดินหน้าแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ทันสมัย แต่กลับจะถอยหลังเข้าคลองเพราะหวงอำนาจการบริหารจัดการและการจัดสรรผลประโยชน์มหาศาลในอนาคตหรือไม่

มาร่วมกันผลักดัน "แอร์พอร์ต ลิงค์" ให้ครบเส้นทางตามเป้าหมายโดยไวเพื่อให้เป็นบริการขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ และเป็นหน้าตาของประเทศไทยที่ทันสมัย ดีกว่าการรวมศูนย์อำนาจแบบเดิมๆแต่เดินหน้าไม่ถึงไหนอย่างรถไฟไทยทุกวันนี้


จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,849 วันที่ 2 - 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
siriwadhna
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/10/2009
Posts: 126

PostPosted: 03/06/2013 9:17 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวนี้เป็น MRTA แต่พูดถึง Airport Rail Link ก็เลยขอมาแปะที่กระทู้นี้ครับ

Airport rail to join regional routes
http://www.bangkokpost.com/breakingnews/353175/airport-rail-to-join-regional-routes

Bangkok Post's Online News
Published: 3 Jun 2013 at 08.35

The Mass Rapid Transit Authority of Thailand (MRTA) plans to connect Bangkok's Airport Rail Link with other regional rail routes to link up with neighbouring countries.

Citing a study by German engineering giant Siemens, MRTA governor Yongsit Rojsrikul said the Airport Rail Link system has the potential to connect with the existing network that links with Laos and China.

The Bang Sue station could eventually serve as a regional train hub, he said.

Mr Yongsit said the MRTA also has a conceptual plan to expand the Airport Rail Link to connect Suvarnabhumi and Don Mueang airports and to connect Suvarnabhumi with Rayong province to the east.

Mr Yongsit said a single train system must be developed to boost the rail network. The rail link to Laos would have discussed with the Lao government, he said.

Thailand's train system would set an example for other countries in the region to follow, he said.

Citing the study, the new high-speed railway between Suvarnabhumi and Rayong would have to be built separately from existing tracks, but it could share the Airport Rail Link's train stations, Mr Yongsit said.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/06/2013 10:38 am    Post subject: Reply with quote

เปิดใจเอ็มดีใหม่ แอร์พอร์ตลิงก์ "บริษัทต้องอิสระจากการรถไฟฯ...ถึงจะอยู่รอด"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 มิ.ย. 2556 เวลา 09:30:27 น.

เป็นเวลาร่วม 2 ปี 8 เดือน ที่ "แอร์พอร์ต เรลลิงก์-รถไฟฟ้าเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ" เปิดบริการ ภายใต้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่มี "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ถือหุ้น 99.99% ปีนี้เป็นครั้งแรกมีซีอีโอนั่งบริหารจริงจัง หลัง "ร.ฟ.ท." ส่งตัวแทนรักษาการอยู่นาน โดยได้อดีตผู้บริหารบริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด "พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา" หนุ่มใหญ่วัย 42 ปี ดีกรีวิศวะพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นผู้บริหารหมาด ๆ เมื่อ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษซีอีโอแอร์พอร์ตเรลลิงก์คนใหม่ ถึงแนวทางแก้ปัญหาสภาพคล่อง กู้ภาพลักษณ์บริษัทที่เรื้อรังมานาน รวมทั้งประเด็นร้อน "ยุบ-ไม่ยุบ" บริษัทนี้

- เข้ามาเป็นผู้บริหารได้ยังไง

ผมผ่านคัดเลือกจาก บอร์ดบริษัทมา แรก ๆ ก็ไม่คิดสมัคร เพราะองค์กรนี้มีแต่คนด่าทั้งประเทศ เป็นครั้งแรกที่มีซีอีโอ ดังนั้นการแก้ปัญหาจะทำได้เต็มที่ มีเวลาให้บริษัทมากขึ้น เดิมเป็นผู้บริหาร ร.ฟ.ท. มานั่งรักษาการ ซึ่งการทำงานอาจจะไม่เต็มที่

- แนวทางแก้ปัญหาแอร์พอร์ตลิงก์

วิธีการที่จะทำให้ธุรกิจเดินต่อไปได้ที่เป็นข้อเสนอของผม คือ 1.ปรับภาพลักษณ์ 2.แก้สภาพคล่อง และ 3.พัฒนาบุคลากรกว่า 400 คน เพราะเทคโนโลยีแอร์พอร์ตลิงก์สูงกว่าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน เราเป็นการเดินรถไฟฟ้าใช้มอเตอร์กระแสสลับ วิ่งความเร็ว 160 กม./ชม.

ตอนนี้เงินเป็นอุปสรรคใหญ่ของบริษัท ปัจจุบันมีรายได้ค่าโดยสารอย่างเดียว 600 ล้านบาท/ปี เรามีค่าใช้จ่ายพนักงานปีละ 215 ล้านบาท กับค่าอะไหล่ที่ต้องซ่อมปีละ 400 ล้านบาท รายได้เท่านี้ยังไงบริษัทอยู่ด้วยตัวเองได้ ถ้าได้เก็บเงินเอง

แต่ปรากฏว่าบริษัทไม่ได้แตะเงินรายได้ มีแต่รายจ่าย ต้องเบิกเงินจาก ร.ฟ.ท.มาจ่ายเงินพนักงานเฉลี่ยปีละ 250 ล้านบาท ปัญหาคือไม่ได้รับเงินจาก ร.ฟ.ท. ตั้งแต่ตุลาคมปี"55 จนถึงปัจจุบัน ตอนนี้ก็ 88 ล้านบาท ถ้าสิ้นมิถุนายนนี้ยังไม่ได้อีก เราก็จะไม่มีเงินจ่ายพนักงาน ฟังแล้วก็ชอกช้ำมาก เงินเดือนพนักงานทั้งองค์กรเฉลี่ยอยู่ที่ 20,000-30,000 บาท/คน มีผมสูงสุด 130,000 บาท

- แผนธุรกิจบริษัทที่เสนอให้คลัง

ตอนนี้มีการเข้าใจผิดกันมากว่า ไม่ให้แยกบริษัทออกจาก ร.ฟ.ท. จริง ๆ แล้วกระทรวงการคลังให้แยกโครงสร้างบริหารออกมา และมีคำสั่งมาที่กระทรวงคมนาคมแล้วให้แอร์พอร์ตลิงก์แบ่งแยก แต่มีบางคนพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง จะเอากลับไปยุบรวมอยู่ในหน่วยธุรกิจของ ร.ฟ.ท. บริษัทแม่ เรื่องนี้ทุกคนต้องอยู่บนความจริงและพูดความจริงทั้งหมด

- วิธีการเป็นแบบไหน

จะแยกบริษัทออกมาเหมือนบีทีเอสและบีเอ็มซีแอล เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเดินรถไฟฟ้า เชื่อว่าใน 1 ปีจะเลี้ยงตัวเองได้ จะเป็นเครื่องมือให้รัฐบาลเรื่องรถไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เป็นโมเดลที่ศศินทร์ (สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์" ศึกษาให้กับกระทรวงคมนาคมภายใต้โจทย์ว่าต้องแยกบริษัท และดูว่าหลังแยกจะทำยังไง แต่ ร.ฟ.ท.ยังถือหุ้น เพียงแต่จะได้ค่าตอบแทนการลงทุนกลับไป

ส่วนการแบ่งแยกทรัพย์สิน เช่น ตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ จะรับภาระหนี้เอง 7,000 กว่าล้านบาท โครงการนี้ใช้เงินลงทุนทั้งหมดกว่า 30,000 ล้านบาท กระทรวงการคลังจะเอาหนี้ทั้งหมดมาแปลงเป็นทุนให้กับแอร์พอร์ตลิงก์ แนวทางคือจะแปลงมาให้เรา 18,000 ล้านบาท อีก 10,000 กว่าล้านบาทจะเป็นหนี้ที่เราบริหารชำระเป็นปี ช่วงแรกถ้าเพิ่มขบวนรถได้จะขาดทุน 5 ปีแรก ระยะเวลาจะลดลงจากเดิมวางแผนขาดทุน 7 ปี

- แนวคิดนี้จะขัดแย้งกับผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.

ไม่ครับ เราเป็นบริษัทลูกหารายใด้ให้องค์กรแม่ได้ปีละ 600 ล้านบาท อยากให้ดูแลเราดี ๆ ผมนับถือท่านนะ (ประภัสร์ จงสงวน) แต่ผมมาในฐานะหัวหน้าที่ดูแลน้อง ๆ ที่กำลังลำบาก ต้องเข้ามาช่วยเขา เพราะบริษัทมีรายได้ค่าตั๋วอย่างเดียว จากผู้โดยสาร 50,000-55,000 เที่ยวคน/วัน ตกเดือนละ 50 ล้านบาท ส่วนพื้นที่เชิงพาณิชย์ใน 8 สถานี ร.ฟ.ท.ให้สัมปทานเอกชน เป็นรายได้ ร.ฟ.ท.ทั้งหมด แต่ว่าผ่านมาแล้ว 1 ปีก็ยังไม่ได้พัฒนาอะไร

โดยปกติการทำธุรกิจลักษณะนี้มี Core Business และ Business Development คือพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน หรือ TOD : Transit Oriented Development มันเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง ดึงคนมาใช้ องค์กรถึงจะอยู่รอด โดยเราเช่าที่ของ ร.ฟ.ท. ถ้าบริษัททำเองได้จะมีรายได้ 200 ล้าน/ปี ทำเป็น Business Unit จะเหมือน ร.ฟ.ท.

- สิ่งที่จะทำได้เลย

...หาเงินจ่ายเงินเดือนพนักงานทันมิถุนายนนี้ เดิม ร.ฟ.ท.จ่ายค่าจ้างเดินรถให้เราเป็นรายเดือน แต่ไม่ได้รับมาตั้งแต่ตุลาคมปีที่แล้ว ถึงปัจจุบันก็ 88 ล้านบาท บริษัทตั้งมา 2 ปี 8 เดือน เพิ่งได้รับเงินแค่ 3 เดือน ต้องใช้เงินทุนบริษัท 140 ล้านบาท มาใช้จ่ายหมุนเวียนจนไม่มีเหลือแล้ว กำลังเสนอให้ ร.ฟ.ท.จ่ายค่าจ้างเป็นรายปีเพื่อแก้สภาพคล่อง และเสนอแยกบริษัทออกจาก ร.ฟ.ท.ให้คล่องตัวขึ้น ท่านรัฐมนตรี (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) ก็เห็นด้วยกับแนวทางนี้

- แผนการซื้อรถใหม่ 7 ขบวน

รัฐมนตรีมอบนโยบายให้ต่อรองราคาซีเมนส์ หากไม่ได้ก็ให้โอเพ่นซิสเต็มส์ ปัจจุบันมีรถ 9 ขบวน รถ Express Line เสีย 1 ขบวนมา 2 ปีแล้ว มูลค่ารถร่วม 1,000 ล้านบาท ต้องการเงิน 20 ล้านบาทไปซ่อม เหลืออยู่ 8 ขบวนก็พยายามให้บริการให้ดีที่สุด

เดือนกรกฎาคมนี้จะครบกำหนดซ่อม ใหญ่เพราะวิ่งครบ 1 ล้านกิโลเมตร ก็เป็นปัญหาใหญ่ว่ารถจะไม่พอ เนื่องจากรถใหม่จะมาอีก 2 ปีหน้า ช่วงนี้ผมจะเช่ารถยี่ห้อไหนก็ได้ที่วิ่งเข้าระบบเดิมได้ เร็วสุดน่าจะเป็นสิ้นปีนี้ หารือนอกรอบกับรัฐมนตรีแล้ว แต่ต้องให้ ร.ฟ.ท.เป็นผู้ทำสัญญาเช่าโดยตรง ตอนนี้บริหารเวลาเดินรถคือ ขบวน City Line ออกทุก 15 นาทีช่วงเร่งด่วน กับทุก 20 นาทีในเวลาปกติ ส่วนรถ Express Line ออกทุก 1 ชั่วโมงจากพญาไท-สุวรรณภูมิ และมักกะสัน-สุวรรณภูมิ

- มีแผนจะทำอะไรอีก

ปรับภูมิทัศน์สถานีมักกะสันครับ เช่น ตัดหญ้า สภาพสถานีทุกวันนี้เหมือนยังสร้างไม่เสร็จ ปัญหาเยอะ ต้องทำให้เหมือน International Airport ผู้โดยสารไทยและนักท่องเที่ยวเข้ามาแล้วรู้สึกปลอดภัยและสะดวกขึ้น อย่างน้อยในเดือนมิถุนายนนี้ทางเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินที่เพชรบุรีจะเสร็จ ส่วนทางเข้าด้านถนนจตุรทิศก็รอเปิดใช้ จะดึงรถสาธารณะมาให้บริการคนทั่วไป เช่น แท็กซี่ ใช้พื้นที่สถานีที่ว่างจัดงานโอท็อป 28 มิถุนายนนี้ นายกรัฐมนตรี (น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) จะมาเปิดงาน

ล่าสุดได้รับบริจาคพัดลม 10 ตัว ติดตั้งที่สถานีพญาไทและมักกะสัน สำหรับบริการผู้โดยสารช่วงหน้าร้อน จะหารือ ทอท. (บมจ.ท่าอากาศยานไทย) ฟีดคนจากสนามบินมาใช้บริการมากขึ้น เช่น ตั้งเคาน์เตอร์ ติดป้ายเพิ่ม จัดตั๋วลด 50% ให้พนักงานและสายการบินต่าง ๆ เราจะทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้

...ผมตั้งใจมาที่นี่ เพื่อแก้ภาพลักษณ์ สภาพคล่อง และสร้างขวัญกำลังใจของพนักงาน สิ่งที่ตั้งใจคืออยากจะให้เห็นการเปลี่ยนแปลงภายใน 6 เดือนถึง 1 ปีนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 03/06/2013 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

ผมยังแปลกใจครับว่า ทาง รฟท.สนับสนุนเงินเดือนพนักงานมา 2 ปี 8 เดือน แต่ค่าจ้างจริง ให้ ARL แค่ 3 เดือน แถมเรื่องพัสดุยังรวบไว้ในกำมืออีก ถ้างานมาคั่งค้างที่ตนเอง ก็ต้องตรวจสอบบ้างล่ะ

จะใช้คนให้เข้าป่า หาเหยื่อกินเอง ต้องสนับสนุนให้เต็มที่สิครับ ถ้าไม่ได้ผลภายในเวลาที่กำหนด จะเลิกจ้าง ปลดออก ก็ว่ากันไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/06/2013 5:13 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.โยนคมนาคมตัดสินยุบแอร์พอร์ตลิงค์
VoiceTV 3 มิ.ย. 56 เวลา 16:08 น.

บอร์ด ร.ฟ.ท.ชี้ไม่มีอำนาจยุบบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. โยนคมนาคมและ ครม.ตัดสินใจ "สร้อยทิพย์"ยันการเงินแอร์พอร์ตลิงค์ไม่มีปัญหา

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้รับทราบข้อเสนอของนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กรณียุบบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิงค์) กลับมาเป็นหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ของ ร.ฟ.ท. แต่ยังสามารถให้ความเห็นชอบใดๆ ได้เนื่องจากเป็นเรื่องของนโยบายที่จะตัดสินใจ แล้วยังมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของ ร.ฟ.ท.กรณีที่ให้ตั้งหน่วยธุรกิจ 3 หน่วยหากต้องมีเพิ่มอีก 1 หน่วยจะต้องนำเสนอ ครม.พิจารณา ส่วนบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.นั้น ทางคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ได้มีคำสั่งผ่านกระทรวงคมนาคมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 ให้ทำโมเดลการบริหารและแผนธุรกิจเสนอภายใน 6 เดือน ดังนั้นจึงให้แอร์พอร์ตลิงค์เร่งสรุปโมเดลการบริหารเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเสนอกระทรวงคมนาคมต่อไป

ทั้งนี้ ยืนยันว่าในส่วนของการบริหารและการเงินของแอร์พอร์ตลิงค์ไม่ได้มีปัญหาใดๆ โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดจ้าง โดย ร.ฟ.ท.ในฐานะบริษัทแม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างแอร์พอร์ตลิงค์บริษัทลูกให้ทำหน้าที่เดินรถ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความไม่เข้าใจภายใน ซึ่งบอร์ดได้กำชับทั้งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.เร่งรัดสัญญาการจัดจ้างแล้ว รวมถึงเตือนนายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (CEO) ในการทำงานที่ต้องประสานกับ ร.ฟ.ท.อย่างใกล้ชิด โดยตามระเบียบแอร์พอร์ตลิงค์จะต้องทำหน้าที่เดินรถตามสัญญาจ้างของ ร.ฟ.ท. โดยจะต้องส่งรายได้ให้ ร.ฟ.ท.และได้รับค่าจ้างเดินรถ ขณะที่ตามระเบียบรายได้ของ ร.ฟ.ท.ทั้งหมดจะต้องถูกส่งเข้ารัฐ

"เรื่องตั้งหน่วยธุรกิจหรือยุบบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นเรื่องระดับนโยบาย เกินอำนาจบอร์ด จึงให้ทุกฝ่ายไปรวบรวมข้อมูลรายละเอียดเพื่อนำเสนอระดับนโยบายพิจารณาต่อไป ส่วนการบริหาร หากแอร์พอร์ตลิงค์ต้องการความคล่องตัวทางการเงินสามารถทำแนวทางที่เหมาะสมเสนอมา โดยศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องประกอบมาด้วย บอร์ดพร้อมพิจารณา เช่น ปัจจุบันแอร์พอร์ตลิงค์มีรายได้ประมาณ 1.5 ล้านบาท/วัน หรือ 45 ล้านบาท/เดือน มีรายจ่ายประมาณ 15 ล้านบาท/เดือน แอร์พอร์ตลิงค์เคยบอกว่า หากมีเงินสดหมุนเวียน 5 แสนบาท/วันจะทำให้มีความคล่องตัวมากขึ้น เป็นต้น"นางสร้อยทิพย์กล่าว

----

"ชัชชาติ"หย่าศึกผู้บริหารร.ฟ.ท - แอร์พอร์ตลิงค์ตีกัน
เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน 2556 เวลา 17:04 น.

หย่าศึกร.ฟ.ท.-แอร์พอร์ตลิงค์ เร่งสื่อสาร บริหารงานให่เข้าใจ ส่วนจะยุบรวมไม่ใช่เรื่องด่วน สิ่งต้อทำทันทีคือปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงปัญหาความขัดแย้งในการบริหารงานระหว่างนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และนายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดว่า ปัญหาอาจเกิดขึ้นจากนายพีรกันต์ ยังไม่เข้าใจระเบียบที่เกี่ยวกับการบริหารงานของร.ฟ.ท.บางเรื่อง และอาจมีการสื่อสารออกมาไม่ดีนัก ซึ่งเป็นเรื่องที่ทั้ง 2 คน จะต้องกลับไปหารือกัน เพื่อทำความเข้าใจกันเอง เพื่อให้การทำงานภายในองค์กรสามารถเดินต่อไปได้ ต้อการให้เรื่องจบลงด้วยดี เพราะไม่อยากจะเข้าไปเป็นกรรมการ

ส่วนข้อเสนอของนายประภัสร์ ที่ต้องการยุบรวมบริษัท รถไฟฟฟ้าฯ เป็นหน่วยธุรกิจของ ร.ฟ.ท.นั้น เป็นเรื่องดี ที่จะมีการนำเสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง ตนยินดีรับฟัง แต่มองว่า การจะยุบหรือไม่ยุบรวมบริษัท รถไฟฟฟ้าฯ ยังไม่ใช่เรื่องด่วนที่กระทรวง ฯ ต้องเร่งพิจารณาตัดสินใจในขณะนี้ สิ่งที่ควรเร่งทำมากที่สุด คือ การปรับปรุงการให้บริการให้ดีขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2013 6:32 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด ร.ฟ.ท.โยนคมนาคมตัดสินยุบแอร์พอร์ตลิงก์ พนง.แฉกลุ่มอำนาจตั้งโต๊ะกินรวบสัมปทานรถตู้-ขายตั๋ว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
2 มิถุนายน 2556 17:07 น.

บอร์ด ร.ฟ.ท.ชี้ไม่มีอำนาจยุบบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. โยนคมนาคมและ ครม.ตัดสินใจ “สร้อยทิพย์” ยันการเงินแอร์พอร์ตลิงก์ไม่มีปัญหาอยู่ในขั้นตอนอนุมัติ พร้อมจ่ายทันที ปราม “CEO ป้ายแดง” แนะประสาน ร.ฟ.ท.ใกล้ชิดเพื่อแก้ปัญหา วงในแฉแหลกปมแอร์พอร์ตลิงก์ป่วน เหตุมีกลุ่มอำนาจกินรวบผลประโยชน์ พนักงาน ปูดระดับบิ๊กเอี่ยวผลประโยชน์ดึงคนใกล้ชิดฮุบสัมปทานรถตู้ ขายตั๋ว

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท.เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา ได้รับทราบข้อเสนอของนายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กรณียุบบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิงก์) กลับมาเป็นหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ของ ร.ฟ.ท. แต่ยังสามารถให้ความเห็นชอบใดๆ ได้เนื่องจากเป็นเรื่องของนโยบายที่จะตัดสินใจ แล้วยังมีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของ ร.ฟ.ท.กรณีที่ให้ตั้งหน่วยธุรกิจ 3 หน่วยหากต้องมีเพิ่มอีก 1 หน่วยจะต้องนำเสนอ ครม.พิจารณา ส่วนบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.นั้น ทางคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ได้มีคำสั่งผ่านกระทรวงคมนาคมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 ให้ทำโมเดลการบริหารและแผนธุรกิจเสนอภายใน 6 เดือน ดังนั้นจึงให้แอร์พอร์ตลิงก์เร่งสรุปโมเดลการบริหารเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเสนอกระทรวงคมนาคมต่อไป

ทั้งนี้ ยืนยันว่าในส่วนของการบริหารและการเงินของแอร์พอร์ตลิงก์ไม่ได้มีปัญหาใดๆ โดยอยู่ในขั้นตอนการจัดจ้าง โดย ร.ฟ.ท.ในฐานะบริษัทแม่มีหน้าที่จ่ายค่าจ้างแอร์พอร์ตลิงก์บริษัทลูกให้ทำหน้าที่เดินรถ ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นความไม่เข้าใจภายใน ซึ่งบอร์ดได้กำชับทั้งผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.เร่งรัดสัญญาการจัดจ้างแล้ว รวมถึงเตือนนายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (CEO) ในการทำงานที่ต้องประสานกับ ร.ฟ.ท.อย่างใกล้ชิด โดยตามระเบียบแอร์พอร์ตลิงก์จะต้องทำหน้าที่เดินรถตามสัญญาจ้างของ ร.ฟ.ท. โดยจะต้องส่งรายได้ให้ ร.ฟ.ท.และได้รับค่าจ้างเดินรถ ขณะที่ตามระเบียบรายได้ของ ร.ฟ.ท.ทั้งหมดจะต้องถูกส่งเข้ารัฐ

“เรื่องตั้งหน่วยธุรกิจหรือยุบบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เป็นเรื่อวระดับนโยบาย เกินอำนาจบอร์ด จึงให้ทุกฝ่ายไปรวบรวมข้อมูลรายละเอียดเพื่อนำเสนอระดับนโยบายพิจารณาต่อไป ส่วนการบริหาร หากแอร์พอร์ตลิงก์ต้องการความคล่องตัวทางการเงินสามารถทำแนวทางที่เหมาะสมเสนอมา โดยศึกษากฎระเบียบที่เกี่ยวข้องประกอบมาด้วย บอร์ดพร้อมพิจารณา เช่น ปัจจุบันแอร์พอร์ตลิงก์มีรายได้ประมาณ 1.5 ล้านบาท/วัน หรือ 45 ล้านบาท/เดือน มีรายจ่ายประมาณ 15 ล้านบาท/เดือน แอร์พอร์ตลิงก์เคยบอกว่า หากมีเงินสดหมุนเวียน 5 แสนบาท/วันจะทำให้มีความคล่องตัวมากขึ้น เป็นต้น” นางสร้อยทิพย์กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า ภาพความขัดแย้งระหว่างผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กับแอร์พอร์ตลิงก์ลึกๆ แล้วเป็นผลมาจากความต้องการผลประโยชน์ ซึ่งผู้มีอำนาจในแอร์พอร์ตลิงก์กำลังจัดสรรกันอยู่ โดยให้การสนับสนุน CEO ที่อยู่ระหว่างการสร้างผลงานในการทำงานช่วงแรกมาเป็นกันชนไม่ให้ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ซึ่งรู้เรื่องเข้ามาขัดขวาง โดยการดึงแอร์พอร์ตลิงก์กลับไปเป็นหน่วยธุรกิจของ ร.ฟ.ท. โดยก่อนหน้านี้พนักงานแอร์พอร์ตลิงก์ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ตรวจสอบความเหมาะสมกรณีที่นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ ประธานบอร์ดแอร์พอร์ตลิงก์ทำหน้าที่รักษาการ CEO ด้วย และขณะนี้ได้มีการตั้งข้อสังเกตในการดำเนินงานหลายเรื่องที่ถูกต้อง และเข้าข่ายการเอื้อประโยชน์ให้พรรคพวก

เช่น การตั้งเคาน์เตอร์ฟรีในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อขายตั๋วรถด่วน Express Line โดยพ่วงขายตั๋วรถตู้ วิ่งรถเชื่อมส่งต่อผู้โดยสารจากสถานีไปถึงปลายทางราคารวม 250 บาท (ค่าโดยสารแอร์พอร์ตลิงก์ 90 บาท) แก่ผู้โดยสาร ซึ่งทางบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ไม่ยอมเนื่องจากเข้าข่ายธุรกิจต้องมีการแบ่งรายได้ ทำให้ต้องเสนอเรื่องกันใหม่ ส่งผลให้เปิดบริการล่าช้าจากกำหนดที่ต้องเปิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา

ซี่งพนักงานแอร์พอร์ตลิงก์ให้ข้อมูลว่า เรื่องสัมปทานวิ่งรถเชื่อมส่งต่อผู้โดยสารจากสถานีไปถึงปลายทางนั้น ภายในบริษัททราบกันดีว่าบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินการเป็นเจ้าของโรงแรมย่านรัชดาฯ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงของแอร์พอร์ตลิงก์ โดยมีแผนจะวิ่งรถในเส้นทางสุขุมวิท สีลม รัชดาฯ และข้าวสาร ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตาบริการที่เป็นบริการเสริมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารและเป็นการส่งเสริมการขายเพื่อให้มีผู้ใช้บริการมากขึ้น เช่น ดีลเลอร์ขายตั๋ว ล่าสุดได้ให้บริษัท HIS เข้ามารับสัมปทานไปโดยไม่เปิดประมูล รวมถึงบริการแท็กซี่ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดสรรให้กลุ่มที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้บริหารระดับสูงเข้ามารับผลประโยชน์ทั้งสิ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2013 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

"ประภัสร์"บุกแอร์พอร์ตลิ้งค์ เคลียร์"พีรกันต์ ดันเป็นหน่วยธุรกิจไม่ลอยแพพนักงาน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
4 มิถุนายน 2556 16:35 น.


"ประภัสร์"สยบเกาเหลา "พีรกันต์" บุกแอร์พอร์ตลิ้งค์ ซัดไม่เข้าใจระเบียบทำสับสน พรัอมชี้แจงพนักงาน ยันผลตอบแทน สวัสดิการไม่กระทบหลังยุบบริษัทกลับมาเป็นหน่วยธุรกิจของร.ฟ.ท. ขอร่วมมือทำงาน ชูเป็นหน่วยเดินรถไฟฟ้าหลักของประเทศ ทั้งรถไฟความเร็วสูงและสายสีแดง ชี้สัญญาจ้าง"พีรกันต์"ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องหลังยุบบริษัท CEO ยันพร้อมทำงานตามนโยบายหวังเพิ่มผู้โดยสาร

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เดินทางไปยังศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งต์ที่คลองตันซอยศูนย์วิจัย เพื่อให้นโยบายในการทำงานพร้อมทำความเข้าใจกับผู้บริหารและพนักงานหลังจากที่มีข่าวความยัดแย้งระหว่างนายประภัสร์และนายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (CEO) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด โดยนายประภัสร์เปิดเผยว่า ได้ชี้แจงพนักงานของแอร์พอร์ตลิ้งค์ถึงแนวคิดในการยุบบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ให้กลับมาเป็นหน่วยธุรกิจของร.ฟ.ท.ซึ่งได้นำเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ไปแล้ว จากนี้จะเสนอกระทรวงคมนาคมและเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) หากครม. ให้ความเห็นชอบ ในส่วนของพนักงานจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ทั้งในเรื่องเงินเดือน ผลตอบแทน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ต่างๆ ในขณะที่การทำงานจะมีความคล่องตัวมากขึ้นเพราะจะเพิ่มฝ่ายพัสุดเข้าไปจะทำให้หน่วยธุรกิจนี้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตัวเองได้ โดยจะทำหน้าที่หลักในการเดินรถ ทั้งรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าสายสีแดง

ส่วนข่าวความขัดแย้งกับนายพีรกันต์ CEO แอร์พอร์ตลิ้งค์นั้นนายประภัสร์กล่าวว่า ได้พูดคุยกัน 2-3 ครั้งและนายพีรกันต์ได้ขอโทษแล้วซึ่งสาเหตุอาจเป็นเพราะนายพีรกันต์ไม่ทราบระเบียบที่เกี่ยวข้องเพราะไม่เคยอยู่ในระบบราชการหรือรัฐวิสาหกิจมาก่อน ซึ่งเมื่อทำความเข้าใจร่วมกันแล้วก็ต้องก้าวผ่านกรณีนี้ไปและร่วมมือกันทำงานเพื่อพัฒนาองค์กรให้เป็นไปตามเป้าหมาย ส่วนสถานภาพของนายพีรกันต์ภายหลังยุบบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.นั้นนายประภัสร์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ได้เคยเสนอบอร์แอร์พอร์ตลิ้งค์ให้ชะลอการสรรหาไปก่อนเพื่อรอความชัดเจนเรื่องยุบบริษัท แต่เมื่อบอร์ดแอร์พอร์ตลิ้งค์ไม่รอ จึงให้ตั้งเงื่อนไขสัญญาจ้าง 2 ข้อ คือ 1.หากเลิกจ้างก่อนนายพีรกันต์จะเรียกค่าเสียหายค่าลดเชยไม่ได้ 2. ไม่สามารถเรียกร้องตำแหน่งในหน่วยธุรกิจได้

"เสียใจกับภาพความขัดแย้งความสับสนที่เกิดขึ้น เพราะเป้าหมายไม่ได้ยุบแอร์พอร์ตลิ่งค์แต่ต้องการเอาบริษัท จำกัดออก เพราะถ้าไม่ทำแบบนี้ต่อไปรถไฟจะเดินรถต้องตั้งหน่วยธุรกิจขึ้นมาอยู่ดี แนวคิดนี้ดีที่สุดประเทศต้องมาก่อน ตัวบุคคลมาทีหลัง และผมคิดตั้งแต่มารับตำแหน่งก่อนที่CEO แอร์พอร์ตลิ้งค์จะมา ไม่ได้มีปัญหาส่วนตัวกัน เชื่อว่าพนักงานแอร์พอร์ตลิ้งค์เข้าใจเป้าหมายการทำงานของผมมากขึ้นที่ต้องการให้รถไฟกลับมาเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยและประเทศเป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งและเป็นผู้นำในการเดินรถไฟฟ้า ซึงขณะนี้ร.ฟ.ท.จะต้องวางแผนในการบริหารการลงทุนวงเงิน 1.3 ล้านล้านบาท ที่อยู่ในพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท รถไฟอยู่ได้พนักงานแอร์พอร์ตลิ้งค์ก็อยู่ได้"นายประภัสร์กล่าว

นายพีรกันต์ กล่าวว่า พร้อมปฎิบัติตามนโยบายของผู้ว่าฯร.ฟ.ท.และขอบคุณที่มาพูดคุยทำความเข้าใจกับพนักงาน ยืนยันถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ หลังจากนี้ทุกคนจะรวมมือกันทำงานตามหน้าที่ โดยต้องเร่งตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็วตรงต่อเวลา ปลอดภัยและสะดวกสบาย และยืนยันว่า ไม่เคยยึดติดกับตำแหน่ง ขอมองไปข้างหน้า ส่วนอนาคตอยู่ที่ผู้ว่าจ้าเพราะในสัญญาจะมีการประเมินผลการทำงาน อย่างไรก็ตาม วันที่ 14 มิถุนายนนี้จะเปิดโครงการ"Smile Service"ให้ผู้โดยสารรู้สึกถึงความเป็นมิตรในการใช้บริการ และจะใช้ทุกยุทธศาสตร์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและเพิ่มจำนวนผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิ้งค์โดยเฉพาะรถไฟฟ้าด่วน (Express Line)

//------------------------------------------


ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ย้ำ พนง.เชื่อมั่นมีเงินจ่ายพนักงาน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
4 มิถุนายน 2556 13:12 น.

นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. ให้นโยบายผู้บริหารบริษัท รถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด โดยมีนายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ให้การต้อนรับ นายประภัสร์ กล่าวว่า การเดินทางมาให้นโยบายต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่พนักงานและผู้บริหาร หลังจากช่วงที่ผ่านมาอาจมีข่าวทำให้เข้าใจผิดปัญหาเรื่องการเงิน หรือจะไม่มีเงินเดือนจ่ายพนักงาน ซึ่งยืนยันว่าเมื่อมีการลงนามสัญญาเดินรถกับแอร์พอร์ตลิงก์ก็จะมีการเบิกจ่ายเงินตามงวดงาน ทำให้พนักงานแอร์พอร์ตลิงก์ได้เงินเดือนตามปกติ
ส่วนภารกิจสำคัญของแอร์พอร์ตลิงก์ คือการบริหารการเดินทางขนส่งทางราง ซึ่งในอนาคตจะมีการต่อเชื่อมเส้นทางเพิ่มขึ้น โดยสถานีมักกะสันจะเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงภาคตะวันออก ดังนั้น ขอให้พนักงานทุกคนร่วมแรงและร่วมใจพัฒนาองค์กรและปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้น

//----------------------------


'ชัชชาติ'หนุนยุบรวมแอร์พอร์ตลิงก์-ร.ฟ.ท.แต่ต้องมีแผนชัดเจน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4
4 มิถุนายน 2556 12:48 น.




ปัญหาการบริหารงานแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จนเกิดข้อขัดแย้งในเรื่องรายได้ และการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงาน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มอบหมายให้นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) หารือกับนายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ผู้ให้บริการแอร์พอร์ตลิงก์ เพื่อทำความเข้าใจและบริหารงานร่วมกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้นัดหารือกันในช่วงเช้าวันนี้
ก่อนหน้านี้ นายประภัสร์ เตรียมเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณายุบบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ให้กลับมาอยู่ภายใต้การรถไฟฯ เพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงาน ซึ่งคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งนายชัชชาติ เห็นว่าเป็นแนวคิดที่จะต้องหารือกับกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง แต่ยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการ
ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการ ร.ฟ.ท. เร่งรัดให้ผู้บริหารบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ส่งแผนธุรกิจ หลังเลยกำหนดมาถึง 6 เดือน เพื่อเป็นข้อมูลให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาการยุบรวม
ทั้งนี้ บริษัท รถไฟฟ้าฯ สามารถเสนอแนวทางช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการบริหารและดูแลการเดินรถ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2013 9:47 am    Post subject: Reply with quote

ประภัสร์เคลียร์”พีระกันต์”อ้างเข้าใจผิด
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
5 มิถุนายน 2556 - 00:00

"ประภัสร์" บุกเคลียร์ "พีระกันต์" กรณีปล่อยข่าวไม่มีเงินจ่ายพนักงาน ประชุมร่วม 2 หน่วย แก้ปัญหาขัดแย้ง อ้างสื่อสารกันผิดพลาด รับไม่เข้าใจระบบราชการ เดินหน้าเสนอแผนยุบรวมบริษัท คาดเสนอคมนาคมภายในเดือน มิ.ย.56
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบาย นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้บริหาร บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด โดยเน้นให้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่พนักงานและผู้บริหาร หลังจากที่ผ่านมามีข่าวทำให้เข้าใจเรื่องการเงิน ยืนยันว่าเมื่อมีการลงนามสัญญาเดินรถกับแอร์พอร์ตลิงค์มีการเบิกจ่ายเงินตามงวดงาน และพนักงานแอร์พอร์ตลิงค์ได้เงินเดือนตามปกติ ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.และแอร์พอร์ตลิงค์มีภารกิจสำคัญที่ต้องทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะการบริหารงานระบบราง ซึ่งเป็นโครงการสำคัญของประเทศ โดยในส่วนของแอร์พอร์ตลิงค์ต้องเตรียมความพร้อมรองรับการขยายเส้นทางเชื่อมต่อสนามบินดอนเมืองด้วย
นอกจากนี้ ยังชี้แจงกรณีปัญหาทางการเงินของแอร์พอร์ตลิงค์ ว่า เรื่องดังกล่าวไม่ใช่ปัญหา เพราะเมื่อ ร.ฟ.ท.มีการปรับแก้ไขสัญญาให้มีความถูกต้อง แอร์พอร์ตลิงค์ก็สามารถดำเนินการเบิกเงินค่าว่าจ้างเดินรถจำนวน 200 ล้านบาทได้ และให้ความมั่นใจกับพนักงานว่า ในสิ้นเดือน มิ.ย.พนักงานแอร์พอร์ตลิงค์จะได้เงินเดือนและค่าตอบแทนตามเวลา ยืนยันว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นการทำตามระเบียบของ ร.ฟ.ท.เท่านั้น พร้อมทั้งกำชับให้การประสานงานระหว่างทั้ง 2 หน่วยงาน จะต้องใกล้ชิดกันมากขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นอีก
“ได้ทำความเข้าใจกับนายพีระกันต์ที่มีปัญหาขัดแย้งกันก่อนหน้านี้แล้ว และนายพีระกันต์ได้ขอโทษและยอมรับว่าไม่เข้าใจระบบงานราชการ ส่วนการให้ยุบบริษัทเป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งของ ร.ฟ.ท.นั้น คาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคมในเดือนมิ.ย.2556 นี้ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป ซึ่งจะช่วยสนับสนุนงานในโครงการอื่นของ ร.ฟ.ท. เช่น โครงการรถไฟสายสีแดง โครงการรถไฟความเร็วสูงและโครงการรถไฟรางคู่ เพราะพนักงานมีความเชี่ยวชาญสูง" นายประภัสร์กล่าว
นายพีระกันต์ กล่าวว่า พร้อมทำตามนโยบายของกระทรงคมนาคมและผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. โดยจะเร่งทำงานให้เร็วที่สุด เพื่อตอบสนองการให้บริการของประชาชน และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร.

//------------------------

รถไฟยุติศึกซีอีโอแอร์พอร์ตลิงค์ ยุบสู่หน่วยธุรกิจร่วมลุยงานใหญ่
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ
5 มิถุนายน 2556, 05:30 น.


นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมทำความเข้าใจกับพนักงานและผู้บริหารบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ว่าได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของรถไฟ และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ซึ่งเป็นบริษัทลูกให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เนื่องจากในอนาคตต้องร่วมมือกันดำเนินงานในโครงการที่มีมูลค่าประมาณ 1.3 ล้านล้านบาทของรัฐบาล เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) และรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน “บริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.เป็นหน่วยธุรกิจของ ร.ฟ.ท.เหมือนหน่วยธุรกิจอื่นๆ แต่ในอดีตได้นำไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเท่านั้น และขณะนี้มีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าไปดูแลโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ส่วนการยุบรวมบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.มาเป็นหน่วยธุรกิจรถไฟนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาภายในเดือน มิ.ย.นี้หลังจากบอร์ด ร.ฟ.ท.รับทราบไปแล้ว จากนั้นจะนำเสนอ ครม.พิจารณาต่อไป

อย่างไรก็ตาม ได้ชี้แจงพนักงานบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.ว่า หากต้องไปรวมเป็นหน่วยธุรกิจของ ร.ฟ.ท.จะไม่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเดือนทุกคนจะยังได้เท่าเดิม สิทธิประโยชน์ต่างๆ จะได้รับเหมือนกับพนักงาน ร.ฟ.ท. แต่ตำแหน่งจะต้องมาพิจารณากันอีกครั้งว่าใครจะไปอยู่ในตำแหน่งไหน โดยมั่นใจว่าจะช่วยให้การดำเนินงานคล่องตัวมากขึ้น

นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัดกล่าวว่า ตนได้ขอโทษนายประภัสร์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว หลังจากนี้จะดำเนินงานร่วมกันมากยิ่งขึ้น ส่วนการยุบรวมเป็นหน่วยธุรกิจ ไม่ใช่อำนาจของตน เป็นเรื่องระดับนโยบาย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42621
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2013 4:05 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิงก์เอฟเฟ็กต์ เบื้องหลังปะทุเดือด "หน่อย-ตุ๊"

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
05 มิถุนายน 2556 เวลา 12:17:30 น.


อึ้งไปตาม ๆ กันหลังเอ็มดีใหม่ "แอร์พอร์ตลิงก์" ไม่รู้กินดีหมีมาจากไหน จู่ ๆ ก็ประกาศขอแยกตัวออกจากการดูแลของ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" เพราะบริษัทแม่ดึงเรื่องจ่ายเงินค่าจ้างบริษัท จนทำให้ "เสี่ยตุ๊-ประภัสร์ จงสงวน" ผู้ว่าการ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ควันออกหู ถึงขั้นพรั่งพรูจะภาคทัณฑ์+เลิกจ้างเอ็มดีป้ายแดงทันที

จะว่าไปแล้ว ทั้งคู่มีสายเลือดเพื่อไทยอยู่ในตัวเต็มเปี่ยม แต่ต้นกำเนิดสายไหนนั้นไม่ระบุชัดเจน โดย "ประภัสร์" ว่ากันว่าเป็นคนของพรรคเพื่อไทย เคยใส่เสื้อพรรคลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. โดยมีกลุ่ม "เจ๊หน่อย" คอยดัน รวมทั้งเคยเป็นที่ปรึกษาให้กับเจ้ากระทรวงคมนาคมยุค "จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ" ก่อนจะข้ามห้วยมานั่งเก้าอี้บิ๊กม้าเหล็ก ที่เหลือเวลาบริหารงานอีก 2 ปีนับจากนี้

ขณะที่ "เสี่ยหน่อย-พีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา" ซีอีโอใหม่แอร์พอร์ตลิงก์ เพิ่งได้นั่งเก้าอี้นี้เมื่อ 16 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยการสรรหาของคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ที่มี "จำรูญ ตั้งไพศาลกิจ" อดีตรองปลัดคมนาคมและอธิบดีกรมเจ้าท่านั่งเป็นประธาน

ประวัติ คร่าว ๆ ของ "พีรกันต์" เป็นอดีตผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์, อนุกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา และอาจารย์พิเศษสอนคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และเป็นรุ่นพี่รุ่นน้องกับ

"ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์" อดีตบอร์ด ร.ฟ.ท. ปัจจุบันนั่งประธานบอร์ด "กคช.-การเคหะแห่งชาติ"

ด้าน สายสัมพันธ์เชิงลึกกับเพื่อไทยนั้น สอบถามใครก็พูดคนละทาง เพราะไม่รู้พิกัดที่แน่ชัดว่ามาจากสายใครกันแน่ เพราะเอ็มดีคนนี้รู้จักกับทุกคนที่เอ่ยถึง

บางกระแสระบุว่ามา ทางกลุ่มคนรุ่นใหม่ในพรรคเพื่อไทย ก๊วนของ "ผู้พันปุ่น-น.ต.ศิธา ทิวารี" บ้างก็ว่ามีกลุ่มยังเติร์กสังกัดกระทรวงการคลัง มี "โต้ง-กิตติรัตน์ ณ ระนอง" เจ้ากระทรวงออกแรงผลักดัน

ที่มาของเขาอาจจะไม่สำคัญเท่ากับ "เป้าหมาย" เพื่อให้มาช่วยสางปมในแอร์พอร์ตลิงก์ที่นับวันปัญหาจะกลายเป็นวัวพันหลัก

จึง ไม่แปลกที่ "พีรกันต์" ถึงผุดไอเดีย "แยกบริษัทแอร์พอร์ตลิงก์" ออกมาดัง ๆ ผ่านสื่อในวันแรกที่เริ่มงาน เพราะแนวคิดนี้อยู่ในใจ "ขุนคลัง" คนปัจจุบันมาโดยตลอด ที่ต้องการจะแยก "แอร์พอร์ตลิงก์" ออกจาก ร.ฟ.ท. เพื่อแก้ระบบหนี้สาธารณะของประเทศ

ไม่ว่าจะด้วยการตั้งรัฐวิสาหกิจ มีคลัง ถือหุ้นใหญ่หรือแลกด้วยที่ดินของ ร.ฟ.ท.ใจกลางเมือง "ย่านมักกะสัน" มาพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ระยะยาว 30 ปี

สวนทางกับแนวคิด "ประภัสร์" ที่อยากจะดึงแอร์พอร์ตลิงก์มาอยู่ใน "หน่วยธุรกิจเดินรถไฟฟ้า" เพื่อฟอร์มทีมมารองรับรถไฟฟ้าสายสีแดงและไฮสปีดเทรน

สุดท้ายไม่ว่า แนวคิดของใครจะมาถูกทาง ประเด็นที่ต้องช่วยกันจับตามองคือให้นักการเมืองบริหารโดยมองผลประโยชน์ของ ประเทศชาติเป็นหลัก...มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44316
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/06/2013 7:50 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย ยิ่งโตยิ่งถอย
เดลินิวส์ คอลัมน์เล่นกับไฟ วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2556 เวลา 00:00 น.

ในประดารัฐวิสาหกิจไทยจะบอกว่าการรถไฟฯอยู่ในสภาพแย่ที่สุดก็คงไม่ถูกต้องนัก หากพูดว่าภาพลักษณ์ดูจากคนข้างนอกเป็นอย่างนั้นก็ถูกเป๊ะ ดูจากผลประกอบการขาดทุนเละตุ้มเป๊ะสะสมมาหลายทศวรรษโดยสภาพการบริหารประจำวันไม่พบว่าดีขึ้น

พูดถึงรฟท.เพราะประหลาดใจที่ผู้ว่าฯใหม่ไฟแรงประภัสร์ จงสงวนเสนอผ่านบอร์ดยุบบริษัทรถไฟฟ้า รฟท.หรือแอร์พอร์ตลิงก์ซึ่งเป็นบริษัทลูก ลดชั้นมาเป็นหน่วยธุรกิจในบ้านใหญ่รฟท.

เราวิจารณ์กันเสมอมาว่าปัญหาหนึ่งของรฟท.คือโตแบบเทอะทะ เคยมีข้อเสนอถกกันเป็นเรื่องเป็นราวผ่าออกเป็น 2 ซีก ซีกหนึ่งรับผิดชอบการเดินรถอีกซีกหนึ่งบริหารที่ดินที่มีอยู่มากมาย ตลาดนัดจตุจักรน่ะแค่จิ๊บจ๊อย สุดท้ายไปไม่รอดการจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงที่นั่นต้องปีนกำแพงทั้งสูงและชัน

สมัยหนึ่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างคึกคักนำบริษัทการบินไทย,บริษัทปตท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ มีผู้เอ่ยถึงรฟท.เช่นกันแต่พอนึกถึงตอนขายหุ้นต่อสาธารณะก็ติดตรงที่ว่าใครจะซื้อ?

กลับมาที่แอร์พอร์ตลิงก์ รูปแบบตั้งไว้แต่แรกคือเป็นบริษัทลูกที่แม่ปล่อยให้บริหารอิสระ

พอถึงตอนปฏิบัติอุปสรรคเต็มไปหมดแม้ผู้บริหารสูงสุดก็ให้รองผู้ว่าฯจากรฟท.มาเขย่งรักษาการอีกตำแหน่งผลลัพธ์ก็เป็นเช่นที่เห็น ผมมิได้กล่าวหาใครเฉพาะแต่รถไฟสายที่ทำมารับส่งผู้โดยสารจากพื้นที่ในเมืองไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบฮ่องกง,เซี่ยงไฮ้ล้มไม่เป็นท่า

แทนที่ผู้ว่าฯรฟท.ผู้มีผลงานหรูมาจากรฟม.จะชำแหละปัญหามันเพราะอะไรถึงหาผู้โดยสารไม่ได้เพื่อแก้ไข ก็เลยเถิดไปอีกทาง

คือยุบบริษัทลูกทั้งๆเพิ่งว่าจ้างซีอีโอมืออาชีพจากข้างนอกแบบนั่งเก้าอี้ก้นไม่ทันแห้งก็ฮึ่มๆจะเลิกจ้างยอมจ่าย 6 เดือนปิดบัญชี เอามาเป็นหน่วยธุรกิจในรฟท.แล้วว่าจ้างให้เดินรถแอร์พอร์ตลิงก์ คล้ายๆกับที่รฟม.จ้างเอกชนบีเอ็มซีแอลเดินรถไฟใต้ดิน

ลำพังรฟท.เองก็ร่อแร่ ความน่าจะเป็นคือผ่าตัวเองให้เกิดความคล่องตัวบริหารก็กลับขยายหน่วยธุรกิจให้ใหญ่เทอะทะยิ่งขึ้น

ผมนึกถึงอนาคตที่เราจะมีรถไฟฟ้าอีกนับสิบสาย,รถไฟความเร็วสูงในอนาคต...

การจัดการแบบยั่งยืนควรลดบทบาทของการรถไฟฯให้เหลืออย่างจำกัดรับผิดชอบเฉพาะส่วนที่ตัวเองถนัดและเชี่ยวชาญ ต้องยอมรับพื้นฐานขององค์กรมีขีดจำกัดมันฟ้องว่าถ้าเป็นมนุษย์หมอนี่อ้วนพุงพลุ้ยโรคภัยไข้เจ็บรุมเร้า ความดันโลหิต,เบาหวาน,ไขมันสูง,เกาต์ฯลฯ

เข้าใจว่าตัวผู้ว่าฯประภัสร์ตั้งใจปรับองค์กร ส่วนหนึ่งบริหารหนี้แอร์พอร์ตลิงก์ลูกฝากไว้แม่ 11,000 ล้าน ส่วนหนึ่งก็คงตั้งเป้าเปิดแนวรุกเข้าไปลุ้นเดินรถไฟฟ้าสายใหม่ๆ

ผมอาจตามไม่ทันเพราะนึกไม่ออกผู้ว่าฯจะเข็นคนป่วยไปทำศึกใหญ่ได้อย่างไร

นึกไม่ออกเช่นกันว่าการตั้งบริษัทลูกแล้วแม่คอยตามกำกับแจสุดท้ายขาดทุนบักโกรก ถึงวันหนึ่งแม่ลากซากกลับมากกไว้ตามเดิม อย่างนี้เดินหน้าหรือถอยหลัง?.

แมงเม่า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ARL) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 96, 97, 98 ... 159, 160, 161  Next
Page 97 of 161

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©