RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181432
ทั้งหมด:13492670
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

เรื่องหายาก .. ดูดมาจากเวบเก่า
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 37, 38, 39 ... 73, 74, 75  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2013 11:54 am    Post subject: Reply with quote

นี่ครับหนังสือการรถไฟไทย ปี 2484 ที่เป็นหนังสือหายากมีแบบ e-book ที่ หอสมุดกลางจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
http://www.car.chula.ac.th/rarebook/book2/clra52_0080/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 31/08/2013 8:19 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องหายาก - กองทัพมดที่ปาดังเบซาร์ จาก ปากคนมาเลย์ สมัยที่ปาดังเบซาร์ยังไม่มีย่านใหญ่โต
http://victorkoo.blogspot.com/2009/08/old-smugglers-trail.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/04/2014 1:41 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
เรื่องราวคราวให้ยืมรถจักรดีเซลทำชบวนถึงสิงคโปร์ จาก The Singapore Free Press and Mercantile Advertiser , 21 May 1932, Page 10:
http://zkeretapi.blogspot.com/2014/03/tahukah-anda-apakah-lokomotif-diesel.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2014 1:40 am    Post subject: Reply with quote

รายงานส่งสำนักนายกรัฐมนตรีเลขที่ (๒) สร. ๐๒๐๑.๑๖/๒.๑๖ ว่าด้วยรายการสั่งของจากญี่ปุ่น มาให้กรมรถไฟและโรงงานมักกะสัน ที่ต้องส่งหลวงวิเทตยนตรกิจ และ หลวงวิธูรวิธีกล ไปกับ หลวง ถวิลเศรษฐการ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

ส่วนรถจักรรถพ่วง นั้น มีรายการที่ปรากฏเมื่อ ๒๒ กันยายน ๒๔๙๑ ซึ่งต่อมา ได้ลดราคา เมื่อ ๒๖ ตุลาคม จนเหลือราคาเท่าในวงเล็บดังนี้
รถจักรมิกาโด้ มูลค่า หลังละ ๖๒,๕๐๐ เหรียญสหรัฐ (ต่อมาขอลดราคาเหลือหลังละ ๕๗,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ) จำนวน ๔๐ หลัง เป็นเงิน ๒,๒๘๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ

รถจักรแปซิฟิก มูลค่า หลังละ ๖๓,๕๐๐ เหรียญสหรัฐ (ต่อมาขอลดราคาเหลือหลังละ ๕๘,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ) จำนวน ๑๐ หลัง เป็นเงิน ๕๘๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ

รถโบกี้ชั้นโท มูลค่า หลังละ ๒๐,๔๕๐ เหรียญสหรัฐ (ต่อมาขอลดราคาเหลือหลังละ ๑๖,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ) จำนวน ๖๐ หลัง เป็นเงิน ๙๖๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ

รถโบกี้ชั้นสาม มูลค่า หลังละ ๑๕,๗๕๐ เหรียญสหรัฐ (ต่อมาขอลดราคาเหลือหลังละ ๑๓,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ) จำนวน ๖๐ หลัง เป็นเงิน ๗๘๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ

รถตู้ใหญ่ มูลค่าหลังละ ๓,๒๐๐ เหรียญสหรัฐ (ต่อมาขอลดราคาเหลือหลังละ ๒,๖๐๐ เหรียญสหรัฐ) จำนวน ๕๐๐ หลัง ๑,๓๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ - เอาเงินตราต่างประเทศที่ได้จากการขายข้าวมาให้ญี่ปุ่นมาจ่าย

เครื่องอาไหล่ รถจักรมิกาโด้ และ แปซิฟิก ๘,๔๙๘ เหรียญสหรัฐ

เครื่องอาไหล่ รถโบกี้ชั้นโท รถโบกี้ชั้นสาม และ รถบรรทุก ๕๒๔,๘๘๐ เหรียญสหรัฐ

เครื่องมือ ๖๐ ชุด ชุดละ ๑,๐๓๕ เหรียญสหรัฐ รวม ๖๘,๑๐๐ เหรียญสหรัฐ

เครื่องจักรสำหรับโรงงานมักกะสัน ๒๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ

เครื่องไฟฟ้า ๕๔,๖๐๐ เหรียญสหรัฐ

รวม ๖,๘๘๖,๗๙๐ เหรียญสหรัฐ

ค่าขนส่ง ๑,๓๗๗,๓๖๐ เหรียญสหรัฐ

รวม ๘,๒๖๔,๑๕๐ เหรียญสหรัฐ => ให้ปัดเป็นตัวเลขกลม ๘,๓๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ

เวลานั้น เงินเยนสูญค่า จาก ๔ เยน ต่อเหรียญสหรัฐ ตอนก่อนสงคราม เป็น ๓๖๐ เยน ต่อเหรียญสหรัฐ ตอนหลังสงคราม แต่ เวลานั้น เรายกเลิกการใช้เงินเยนเป็นทุกสำรองแต่เมื่อ พฤษภาคม ๒๔๘๙ ดังนั้นราคาสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น ต้องใช้ราคาเป็นเหรียญสหรัฐ เนื่องจาก เวลานั้น กองทัพสหรัฐ ควบคุมญี่ปุ่นผ่าน GHQ อยู่ - ครม. อนุมัติ เงินตราต่างประเทศ จำนวน ๘,๓๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ - การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเกิน ๒ ล้านดอลลาร์ต้องใ้ห้คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เพราะ เวลานั้น เรา ยังมีอัตราราชการ (๑ เหรียญสหรัฐ คิด ๑๒.๕๐ บาท - ๑ ปอนด์ คิด ๓๕ บาท) กับอัตราตลาดมืด (๑ เหรียญสหรัฐ คิด ๒๐-๓๐ บาท - ๑ ปอนด์ คิด ๖๐-๘๐-๑๐๐ บาท) - และการส่งออก ข้าว ยางพารา ไม้สัก และ ดีบุก ได้เงินดอลลาร์ และ ปอนด์มาเท่าไหร่ ต้องขายให้รัฐบาลในอัตรารัฐบาล ให้หมด เพราะ รัฐบาลต้องหาเงินตราต่างประเทศไปซื้อน้ำม้น เวชภัณฑ์ และ สินค้าจำเป็นอื่นๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2014 9:14 pm    Post subject: Reply with quote

เสาร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๕ ที่ประชุมคณะกรรมช่วยจัดการอุปกรณ์เพื่อการส่งเสริมและขยายกิจการรถไฟ ครั้งที่ ๒ ณ ห้องประชุม กระทรวงคมนาคม ผู้ว่าการรถไฟฯ แจ้งให้คณะกรรมการได้ทราบว่า รถจักรดาร์เวนปอร์ต ๕๐๐ แรงม้า ตกมาถึงประเทศไทย ๗ หลัง และ หวังว่า รถจักรดาร์เวนปอร์ต ๕๐๐ แรงม้า ตกมาถึงประเทศไทย ครบ ๓๐ หลัง ภายใน ๓๑ ตุลาคม ๒๔๙๕ แต่เอาเข้าจริงถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๔๙๕ รถจักรดาร์เวนปอร์ต ๕๐๐ แรงม้า ตกมาถึงประเทศไทย เพียง ๑๘ หลัง กว่าจะมาครบ ๓๐ หลัง ก็ปี ๒๔๙๘

ขณะเดียวกัน โรงงานมักกะสันกำลังซ่อมรถจักร ๗๐ หลังให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง ต้องการรถโดยสาร ๑๐๐ คัน จาก ญี่ปุ่น ๗๐ คัน และ จากเบลเยี่ยม ๓๐ คัน และ รถ ขต. ๑๐๐ หลังด้วย

พฤหัสบดีที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๙๕ ที่ประชุมคณะกรรมช่วยจัดการอุปกรณ์เพื่อการส่งเสริมและขยายกิจการรถไฟ ครั้งที่ ๒ ณ ห้องประชุม กระทรวงคมนาคม ถกกันเรื่อง การซื้อรถจักรรถพ่วง สำหรับปี พ.ศ. ๒๔๙๕ - ๒๔๙๘ ว่า จะจัดการกันอย่างไรดี

๑. การแลกเปลี่ยน - กับสินค้าที่ญี่ปุ่นต้องการจากไทย เนื่องจากค่าขนส่งจากญี่ปุ่นมาไทยนั้นถูกกว่า ค่าขนส่งจากยุโรปมาไทย - ของที่นำเข้ามาใช้ในกิจการรถไฟต้องเสียภาษีนำเข้า ร้อยละ ๕ แต่เอาเข้าจริงญี่ปุ่นมักเอาผ้ามาแลกกะข้าว ไม่ยอมเอารถจักรมาแลก - ต้อง เปิด Letter of Credit เหมือนทุกคราว
๒. การซื้อด้วยเงินผ่อน นี่ก้ค่าป่วยการไม่ใช่น้อย
๓. การกู้เงินเพื่อซื้ออุปกรณ์รถไฟ - ไม่อยากจะโดนเงินกู้ผูกมัดเกินไป

หลวงเสรีเริงฤทธิ์กล่าวว่าการรถไฟต้องการรถจักร ไอน้ำ ๗๕ หลัง ส่วนรถโดยสารพอลดจาก ๓๕๐ หลังเหลือ ๓๐๐ หลังได้ แต่รถห้องเย็น (รถ รข. - Refrigerator Van) จำนวน ๑๒ หลัง นั้นร อไปก่อนแล้วจะพิจารณากันอีกทีจนกว่ากระทรวงอุตสาหกรรมจะตั้งห้องเย็นทั้งต้นทางและปลายทาง ส่วนสะพานเหล็กกะเครื่องมือกลบำรุงทางนั้นรอได้

//----------------------------------------
นี่คือรายการรถจักรไอน้ำที่ รฟท. ต้องการในปี ๒๔๙๕ แต่ไม่ได้ตามคำขอ
ราคาปี ๒๔๙๓ ราคา CIF เท่ากับ ๔๓,๐๒๐ เหรียญสหรัฐ - เวลานั้นเหล็กตันละ ๑๐๐ เหรียญสหรัฐ ปัจจุบันเหล็กตันละ ๑๔๐ เหรียญสหรัฐ ค่าแรงต้องขึ้นไปร้อยละ ๔๐ ดังนั้น

ค่ารถจักรไอน้ำ ๒๔๙๕ ปี ราคา CIF เท่ากับ ๖๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๗๕๐,๐๐๐ บาท (ราคา FOB ปี ๒๔๙๑ - แปซิฟิก ๕๘,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ มิกาโด ๕๗,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ แต่ราคา CIF ปี ๒๔๙$ - แปซิฟิก ๔๓,๐๒๐ เหรียญสหรัฐ มิกาโด ๔๐,๓๐๐ เหรียญสหรัฐ)
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๕๖,๔๐๐ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๒๒,๕๐๐ บาท
ค่าประกอบรถจักรไอน้ำ ๑๕,๐๐๐ บาท รวมทั้งหมด ๙๓,๙๐๐ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๑๐๐,๐๐๐ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๗๕๐,๐๐๐ + ๑๐๐,๐๐๐ บาท เป็น ๘๕๐,๐๐๐ บาท - เสียดายมากที่ไม่ได้รับการอนุมัติ

//----------------------------------------------------

รถจักรดีเซล แบบดาร์เวนปอร์ต ๕๐๐แรงม้า ๗๒ คัน (ภายหลังเปลี่ยนเป็นรถจักร ฮิตาชิ ขนาด ๙๕๐ แรงม้า จำนวน ๓๐ หลังแทน) ราคาปี ๒๔๙๓ ราคา CIF เท่ากับ ๘๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ - เวลานั้นเหล็กตันละ ๑๐๐ เหรียญสหรัฐ ปัจจุบันเหล็กตันละ ๑๔๐ เหรียญสหรัฐ ค่าแรงต้องขึ้นไปร้อยละ ๔๐ ดังนั้น

รถจักรดีเซล แบบดาร์เวนปอร์ต ๕๐๐แรงม้า ๒๔๙๕ ปี ราคา CIF เท่ากับ ๑๑๙,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๑,๔๘๗,๕๐๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๑๑๑,๘๖๐ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๔๔,๖๒๕ บาท
ค่าประกอบรถจักรดีเซล ๑๐,๐๐๐ บาท รวมทั้งหมด ๑๖๖,๔๘๕ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๑,๔๘๗,๕๐๐ + ๑๖๖,๔๘๕ บาท เป็น ๑,๖๕๔,๓๕๐ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๑,๖๕๐,๐๐๐ บาท

//--------------------

รถโดยสารชั้น ๑ - ชั้น ๒ - รถนอน และ รถเสบียง รายการนี้ซื้อด้วยเงินปอนด์สเตอริง แต่เทียบเป็นดอลลาร์เพื่อให้เปรียบเทียบได้สะดวก โดยคิดที่อัตรา ๑ ปอนด์สเตอริง คิดที่ ๒.๘๐ เหรียญสหรัฐ

เมื่อปี ๒๔๙๓ ซื้อรถนอนชั้น ๑ จากญี่ปุ่น ราคา CIF เท่ากับ ๒๘,๖๐๘ เหรียญสหรัฐ
เมื่อปี ๒๔๙๑ ซื้อรถนอนชั้น ๒ จากญี่ปุ่น ราคา CIF เท่ากับ ๑๖,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ
เมื่อปี ๒๔๙๓ ซื้อรถนอนชั้น ๒ จากญี่ปุ่น ราคา CIF เท่ากับ ๒๙,๔๗๒ เหรียญสหรัฐ
เมื่อปี ๒๔๙๓ ซื้อรถโดยสารชั้น ๑-๒ จากญี่ปุ่น ราคา CIF เท่ากับ ๒๔,๓๔๕ เหรียญสหรัฐ

เมื่อปี ๒๔๙๕ ซื้อรถนอนชั้น ๑ จากโบมเอท์มาร์ปองท์ ประเทศเบลเยี่ยม ราคา FOB คิดที่ ๔๙,๙๓๕.๒๐ เหรียญสหรัฐ แต่ CIF จ่ายเพิ่มอีก ๒,๐๒๐ ปอนด์ หรือ ๕,๖๕๖ เหรียญสหรัฐ หรือ ๕๕,๕๙๑.๒๐ เหรียญสหรัฐ

เมื่อปี ๒๔๙๕ ซื้อรถนอนชั้น ๒ จากโบมเอท์มาร์ปองท์ ประเทศเบลเยี่ยม ราคา FOB คิดที่ ๔๔,๔๕๒.๘๐ เหรียญสหรัฐ แต่ CIF จ่ายเพิ่มอีก ๒,๐๒๐ ปอนด์ หรือ ๕,๖๕๖ เหรียญสหรัฐ หรือ ๕๐,๑๐๘.๘๐ เหรียญสหรัฐ

เมื่อปี ๒๔๙๕ ซื้อรถโดยสารชั้น ๑-๒ จากโบมเอท์มาร์ปองท์ ประเทศเบลเยี่ยม ราคา FOB คิดที่ ๔๔,๖๒๕.๐๐ เหรียญสหรัฐ แต่ CIF จ่ายเพิ่มอีก ๒,๐๒๐ ปอนด์ หรือ ๕,๖๕๖ เหรียญสหรัฐ หรือ ๕๐,๒๘๑.๐๐ เหรียญสหรัฐ

เมื่อปี ๒๔๙๕ ซื้อรถรับประทานอาหาร จากโบมเอท์มาร์ปองท์ ประเทศเบลเยี่ยม ราคา FOB คิดที่ ๔๐,๒๘๖.๔๐ เหรียญสหรัฐ แต่ CIF จ่ายเพิ่มอีก ๒,๐๒๐ ปอนด์ หรือ ๕,๖๕๖ เหรียญสหรัฐ หรือ ๔๕,๙๔๒.๔๐ เหรียญสหรัฐ

ซื้อรถโดยสารจากเบลเยี่ยม เมื่อปี ๒๔๙๕ ให้ราคา CIF เท่ากับ ๕๖,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ - ใช้เป็นราคากลางได้ ตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๗๐๐,๐๐๐ บาท

ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๕๒,๖๔๐ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๒๑,๐๐๐ บาท
ค่าประกอบรถโดยสารชั้น ๑ - ชั้น ๒ - รถนอน และ รถเสบียง ๑,๐๐๐ บาท รวมทั้งหมด ๗๔,๖๔๐ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๗๐๐,๐๐๐ + ๗๔,๖๔๐ บาท เป็น ๗๗๔,๖๔๐ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๗๗๕,๐๐๐ บาท

//----------------------

รถโดยสารชั้น ๓ - รถภาระ และ รถอื่นๆ รวม ๒๑๔ คัน ซื้อจากญี่ปุ่น
เมื่อปี ๒๔๙๑ ซื้อจากญี่ปุ่น ราคา FOB เท่ากับ ๑๓,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ
เมื่อปี ๒๔๙๓ ซื้อจากญี่ปุ่น ราคา CIF เท่ากับ ๑๓,๖๓๒ เหรียญสหรัฐ
เมื่อปี ๒๔๙๕ ซื้อจากญี่ปุ่น ราคา CIF เท่ากับ ๓๒,๐๐๗.๔๔ เหรียญสหรัฐ - ถ้าเพิ่มเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ต้องเพิ่มอีก คันละ ๒,๘๗๑ เหรียญสหรัฐ

นอกจากนี้รถสัมภาระ และ โดยสารชั้น ๓ ซื้อจากญี่ปุ่น นั้นคิดที่ ๓๕,๔๕๒.๕๔ เหรียญสหรัฐ และ รถโดยสารชั้น ๓ และ ขายอาหาร ซื้อจากญี่ปุ่น นั้นคิดที่ ๓๖,๘๔๕.๕๒ เหรียญสหรัฐ ดังนั้นจึงต้องใช้ ราคาฐานที่ ๓๕,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ - ใช้เป็นราคากลางได้

ตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๔๓๗,๕๐๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๓๒,๙๐๐ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๑๓,๑๒๕ บาท
ค่าประกอบรถโดยสารชั้น ๓ - รถภาระ และ รถอื่นๆ ๑,๐๐๐ บาท รวมทั้งหมด ๔๗,๐๒๕ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๔๓๗,๕๐๐ + ๔๗,๐๒๕ บาท เป็น ๔๘๔,๕๒๕ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๔๘๕,๐๐๐ บาท

//----------------------------------
รถ ขต. ๗๐๐ คัน
ซื้อจากเบลเยี่ยม เมื่อปี ๒๔๙๕ ราคา CIF เท่ากับ ๒,๗๐๐ เหรียญสหรัฐ แม้ว่าราคาที่ซื้อจริงอยู่ที่ ๒,๖๖๐ เหรียญสหรัฐ - ใช้เป็นราคากลางได้
ตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๓๓,๗๕๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๒,๗๕๘ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๑,๐๐๐ บาท
ค่าประกอบรถโดยสารชั้น ๓ - รถภาระ และ รถอื่นๆ ๑,๕๐๐ บาท รวมทั้งหมด ๕,๒๕๘ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๓๓,๗๕๐ + ๕,๒๕๘ บาท เป็น ๓๙,๐๐๘ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๓๙,๐๐๐ บาท

//-------------------------
รถ ตญ. ๗๕๐ คัน เพื่อใช้ขนข้าว
ราคาที่ซื้อจากญี่ปุ่น เมื่อ ปี ๒๔๙๑ ที่ ราคา FOB ๒,๖๐๐ เหรียญสหรัฐ และ ปี ๒๔๙๓ ที่ ราคา FOB ๑,๖๓๐ เหรียญสหรัฐ ซึ่งจ่ายด้วยเงินเหรียญสหรัฐ จากการขายข้าวใหญ่ญี่ปุ่น นั้นเอามาเป็นมาตรฐานกำหนดไม่ได้ เพราะ เวลานั้นญี่ปุ่นยอมขายขาดทุนในราคาพิเศษ เพื่อให้คนญี่ปุ่นมีงานทำ ในยามฟื้นฟูประเทศ จึงต้องเอาราคารถ โบกี้บรรทุกน้ำมัน (บทค.) ได้กำหนดไว้ที่ ๘,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ที่ร้อยละ ๕๕ ก็จะตกที่ราคา ๔,๔๐๐ เหรียญสหรัฐ ตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๕๕,๐๐๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๔,๐๓๖ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๑,๖๐๐ บาท
ค่าประกอบรถตญ. ๒,๕๐๐ บาท รวมทั้งหมด ๘,๑๘๖ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๕๕,๐๐๐ + ๘,๑๘๖ บาท เป็น ๖๓,๑๘๖ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๖๓,๐๐๐ บาท
//-----------------------

รถ ขต. ๗๐๐ คัน
ซื้อจากเบลเยี่ยม (โบมเอท์มาร์ปองท์) เมื่อปี ๒๔๙๕ ราคา CIF เท่ากับ ๒,๗๐๐ เหรียญสหรัฐ (ราคาที่ซื้อจริง ๒,๖๖๐เหรียญสหรัฐ ) - ใช้เป็นราคากลางได้
ตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๓๓,๗๕๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๒,๗๕๘ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๑,๐๐๐ บาท
ค่าประกอบรถขต. ๑,๕๐๐ บาท รวมทั้งหมด ๕,๒๕๘ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๓๓,๗๕๐ + ๕,๒๕๘ บาท เป็น ๓๙,๐๐๘ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๓๙,๐๐๐ บาท

//-------------------------

รถ บขส. ๕๐ คัน เพื่อใช้ขนถ่านหิน และ แร่
เทียบราคารถ โบกี้บรรทุกน้ำมัน (บทค.) ได้กำหนดไว้ที่ ๘,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ก็จะตกที่ราคา ๗,๕๐๐ เหรียญสหรัฐ ตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๙๓,๗๕๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๗,๐๕๐ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๒,๘๑๒ บาท
ค่าประกอบรถบขส. ๒,๕๐๐ บาท รวมทั้งหมด ๑๒,๘๖๒ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๙๓,๗๕๐ + ๑๒,๘๖๒ บาท เป็น ๑๐๖,๖๑๒ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๑๐๖,๐๐๐ บาท ส่วน ขส. คิด ที่ร้อยละ ๕๐ ของบขส. ตกที่ ๕๓,๐๐๐ บาท

//------------------------------------

รถ บทข. ๕๐๐ คัน เพื่อใช้ขนหิน ทราย
เทียบราคารถ โบกี้บรรทุกน้ำมัน (บทค.) ได้กำหนดไว้ที่ ๘,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ก็จะตกที่ราคา ๘,๕๐๐ เหรียญสหรัฐ เพราะต้องมีเครื่องเปิดปิดฝาข้างเพิ่มเข้ามาอีก คิดตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๑๐๖,๒๕๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๗,๙๙๐ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๓,๑๘๗ บาท
ค่าประกอบรถตญ. ๓,๕๐๐ บาท รวมทั้งหมด ๑๔,๖๗๗ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๑๐๖,๒๕๐ + ๑๔,๖๗๗ บาท เป็น ๑๒๐,๙๒๗ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๑๒๐,๐๐๐ บาท

//---------------------

รถ บพต. ๕ คัน (Bogie Well Wagon - แทน ตัวอย่างที่ซื้อมาใช้แต่ปี ๒๔๗๓) เพื่อใช้ขนหม้อแปลงไฟฟ้า และ เครื่องจักรที่เอาขึ้นรถ บขส. บขต. และ บตญ. ไม่ได้ เทียบราคารถ โบกี้บรรทุกน้ำมัน (บทค.) ได้กำหนดไว้ที่ ๘,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ก็จะตกที่ราคา ๗,๕๐๐ เหรียญสหรัฐ ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๑๐๖,๐๐๐ บาท - แต่น่าเสียดายมากที่ไม่ได้รับอนุมัติให้ซื้อ

//---------------------

รถปั้นจั่นกล ต้องการ ๓ ชุด - ของรายนี้ไม่เคยซื้อมานานแล้ว (แต่ปี ๒๔๗๓) ฉะนั้น จึงเรียบเทียบกับราคารถจักรไอน้ำ โดยถือว่า มีราคาเป็น ๒ เท่า ของรถจักรไอน้ำ คงเป็นราคาชุดละ ๑,๗๐๐,๐๐๐ บาท - รายการนี้จำเป็นจริงๆจึงได้รับการอนุมัติ

//----------------------

แคร่ รถโบกี้รถบรรทุกน้ำมัน ๑๐ แคร่ เพื่อประกอบรถ บทค. มักกะสัน ๕ หลัง
เทียบราคารถ โบกี้บรรทุกน้ำมัน (บทค.) ได้กำหนดไว้ที่ ๘,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ ก็จะตกที่ราคา ๓,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ คิดตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๓๗,๕๐๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๒,๘๒๐ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๑,๑๒๕ บาท รวมทั้งหมด ๓,๙๔๕ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๓๗,๕๐๐ + ๓,๙๔๕ บาท เป็น ๔๑,๔๔๕ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๔๒,๐๐๐ บาท

//----------------------

รถ บตญ. ๑๕๐ คัน เพื่อใช้ขนข้าว เทียบราคารถ โบกี้บรรทุกน้ำมัน (บทค.) ได้กำหนดไว้ที่ ๘,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ แต่เอาเฉพาะ แคร่ และตัวถัง ลูกล้อพร้อมเพลา และ โบกี้ ไม่เอา เพราะ กะจะใช้ของเก่าที่มีอยู่ เลยคิดเป็น ๘,๕๐๐ - ๒,๐๐๐ เหลือ ๖,๕๐๐ เหรียญสหรัฐ คิดตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๘๑,๒๕๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๖,๑๑๐ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๒,๔๓๕ บาท
ค่าประกอบรถบตญ. ๕,๐๐๐ บาท รวมทั้งหมด ๑๓,๕๓๕ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๘๑,๒๕๐ + ๑๓,๕๓๕ บาท เป็น ๙๔,๗๘๕ บาท - ปัดเป็นตัวเลขกลมได้ ๙๕,๐๐๐ บาท

//-----------------------

ผลที่ได้จากการคำนวณ พบว่า ชั้นแต่การสั่งรถจักรรถพ่วง ต้องจ่ายเงินตราต่างประเทศ กันในแต่ละปีดังนี้
พ.ศ. ๒๔๙๕ เป็นเงิน ๔๖๐,๒๕๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นเงิน ๑๙๘,๗๖๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นเงิน ๒๗,๕๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นเงิน ๓,๙๐๐,๐๐๐ บาท
รวมเป็นเงิน ๖๙๐,๔๑๕,๐๐๐ บาท

//---------------------------

ส่วนกรณี สั่งราง ๖๐ ปอนด์ (BS60) จำนวน ๒๘,๐๐๐ ตัน
ค่ารางและเครื่องประกอบราง ๑ ตัน ที่ ๑๖๐ เหรียญสหรัฐ คิดตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๒,๐๐๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๑๕๒ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๑๔๘ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๒,๐๐๐ + ๓๐๐ บาท เป็น ๒,๓๐๐ บาท -

//------------------
ส่วนกรณี สั่งเครื่องประกอบราง ๕๐ ปอนด์ (BS50) จำนวน ๒,๐๐๐ ตัน เพื่อใช้กับรางหลีก
ค่ารางและเครื่องประกอบราง ๑ ตัน ที่ ๒๑๐ เหรียญสหรัฐ คิดตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๒,๖๒๕ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๑๙๙ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๑๗๖ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๒,๖๒๕ + ๓๗๕ บาท เป็น ๓,๐๐๐ บาท

//-----------------------

เครื่องประแจทางหลีก ๑ ใน ๑๐ สำหรับรางราง ๖๐ ปอนด์ (BS60) จำนวน ๒๐๐ สำรับ
เครื่องประแจทางหลีก ๑ ใน ๑๐ สำหรับรางราง ๖๐ ปอนด์ ๑ สำรับ ที่ ๑,๑๐๐ เหรียญสหรัฐ คิดตามอัตรารัฐบาล ที่ เหรียญละ ๑๒.๕๐ บาท ซึ่งเท่ากับ ๑๓,๗๕๐ บาท
ภาษีขาเข้า ร้อยละ ๕ ที่อัตราตลาด เหรียญละ ๑๘.๘๐ บาท = ๑,๐๔๕ บาท
ค่าใช้จ่ายที่ท่าเรือกรุงเทพ ค่าท่า และ ค่าขนส่ง ร้อยละ ๓ = ๒๐๕ บาท
รวมเป็นเงินบาทที่จะใช้กำหนดราคากลางในการประมูล ๑๓,๗๕๐+ ๑,๒๕๐ บาท เป็น ๑๕,๐๐๐ บาท

//-----------------------

//-----------------------

ในการสั่งซื้อ เครื่องมือสื่อสารนั้น นอกจาก จะซื้อโทรศัพท์แคเรียแล้ว ก็คิดจะซื้ออ เครื่อง ซีทีซี มาใช้กะทางช่วง แก่งคอย - ปากข่องและ ทางช่วง อุตรดิตถ์ - ลำปาง ด้วย แต่แย่หน่อยที่ ไม่อนุมัติ เป็นแต่อนุมัติโทรศัพท์แคเรีย ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการประหยัด ต้องรอให้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และดาวเทียมสื่อสารเจริญก้าวหน้าพอ จึงสามารถตั้งระบบซีทีซี บนสายชานเมือง 234 กิโลเมตรได้ - และตอนนี้ที่ไหนที่มีทางคู่ก็เอาซีทีซีไปติดตั้งด้วยจึงจะเหมาะ และตอนนี้ ซีทีไอ ที่เป็น ความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งก็เริ่มเข้ามาแล้ว

http://webrailroader.com/ctc/how-does-ctc-differ-from-tdp/
http://www.cti-electronics.com/whatscti.htm
//-----------------------

๒๘ กรกฎาคม ๒๔๙๕ จอมพลฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคณี รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ได้ส่งหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย มีรายการต้องสัี่งเครื่องล้อเลื่อนและอุปกรณ์อื่นๆประจำปี ๒๔๙๕ ตามรายการต่อไปนี้ที่ต้องให้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติ

เครื่องล้อเลื่อน ๔๖๐,๒๕๐,๐๐๐ บาท
เครื่องอุปกรณ์ในการบำรุงทาง ๔๖๐,๒๕๐,๐๐๐ บาท
เครื่องอุปกรณ์ในการสื่อสาร ๒๘,๒๕๐,๐๐๐ บาท
รวม ๕๒๖,๗๐๐,๐๐๐ บาท

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ งบ ๕๕ ล้านบาทไม่พอ และ รฟท. ต้องมีภาระหารายได้ถึง ๑ พันล้านบาทใน ๕ ปี เพื่อจ่ายหนี้ธนาคารโลก และ ต้องเร่งทำทางสายแก่งคอย - บัวชุม - บัวใหญ่ระะยะทาง ๒๖๒ กิโลเมตร (ปัจจุบันคือ ทางรถไฟสายแก่งคอย - ลำนารายณ์ - บัวใหญ่ ระยะทาง ๒๕๑ กิโลเมตร - ได้อีก ๑ กิโลเมตรมาเพิ่มเนื่องจากทางยกระดับเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แต่ ปี ๒๕๔๑)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2014 4:16 am    Post subject: - ห Reply with quote

๒๖ มกราคม ๒๔๙๖ ที่สุดกระทรวงคมนาคม รายงานนายกรัฐมนตรี ให้ทราบความจากกระทรวงการต่างประเทศได้ความจากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสั่งซื้อรถจักรรถพ่วง ว่า

๑. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว สรุปว่า เราต้องจ่ายสดร้อยละ ๕๐ ของราคาของ ในปีแรกเพื่อเป็นเงินดาวน์ จ่ายอีกร้อยละ ๓๐ ของราคาสิ่งของให้ผู้รับเหมา และ อีกร้อยละ ๒๐ เมื่อเอาของลงเรือ และ ผ่านชำระให้หมดใน ๓ ปี หลังลงนาม ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๖ - ๗.๕๐ ต่อปี ส่วนเรื่องการขอกู้เงินธนาคตารพาณิชย์นั้น ไม่มีทางทำได้

๒. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส นั้นทางบริษัทฝรั่งเศสจะส่งเรื่องไปให้รัฐบาลวินิจฉัยเสียก่อน แล้วจึงจัดคณะกรรมการ เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ การกู้เงินต้องพิจารณาคำขอจองการรถไฟเสียก่อน ซึ่ง ประเทศเบลเยี่ยม ก็ใช้หลักการนี้เช่นกัน โดยให้เริ่มจ่ายเงิน ร้อยละ ๒๐ ในรูป Letter of Credits และ จ่ายอีก ร้อยละ ๘๐ ภายใน ๔ ปี คือปี หนึ่งจ่ายร้อยละ ๒๐

ส่วนประเทศ ฮอแลนด์ (เนเธอร์แลนด์) ยินดีเข้าทำการประมูลขายให้ แต่ น่าเสียดายที่ ประมูลเก่งสู้ญี่ปุ่น เยอร์มันี และ สหรัฐไม่ได้ คงเพราะเตรียม เครดิต กันไม่ดี

๓. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์น มีบริษัท Kolner Aussen Handels GMBH ยินดีจะจะหน่าอุปกรณ์รถไฟจากเยอร์มัน โดยการชำระด้วยข้าวแดงและข้าวขาว ส่วนบริษัทของสวิสเซอร์แลนด์ มีโรงงานสวิสที่สนใจจะขายให้โดยตั้งเงิ่อนไขบางอย่าง ต้องจ่ายสด อย่างน้อยร้อยละ ๒๕ และ จ่ายให้ผู้รับเหมาะเมื่อทำเสร็จ อีกร้อยละ ๓๐-๔๐ ที่เหลืออีกร้อยละ ๔๐ - ๕๐ จ่ายอีก ๖ ถึง ๘ งวด ใน ๒ - ๓ ปี การรถไฟ ต้องซื้อจากบริษัที่ได้รับ Export Risk Guarantee ที่รฟท. ต้องมีหลักทรัพย์อื่น ร้อยละ ๓๐ มาค่ำประกันในรูปเงินฝาก ซึ่งไทยควรซื้อสินค้าในรูปเงินปอนด์ที่ธนาคแห่งประะเทศไทย มีมาก ต้องเอเครดิตเงินปอนด์ไปขายให้ธนาคาร เอาดออาร์ไปใช้เพื่อการนี้

๔. สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันดีซี แจ้งว่าไม่มีบริษัทใดยอมให้ขายผ่อนส่ง ธนาคารไม่ยินดีให้กู้ระยะยาว และคมนาคมยินกู้จากนาคารโบกเนื่องจาก กู้ธนาคารนำเข้าและการส่งออกของสหรัฐ มีเรื่องยุ่งยากมาก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2014 8:36 pm    Post subject: Reply with quote

ที่สุด เมื่อต้องตัดสินใจกู้เงินธนาคารโลก จึงได้กำหนดรายการสั่งซื้อ เมื่อ ๒๗ มกราคม ๒๔๙๖ ไว้ดั่งนี้

๑) รถจักรดีเซลไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ ๑๐๐๐ แรงม้าขึ้นไป ๖๐ คัน - จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการรถจักรไอน้ำ มิกาโดและแปซิฟิก ๑๑๔ คัน และ รถจักรดีเซลไฟฟ้า ขนาด ๕๐๐ แรงม้าจำนวน ๗๒ คัน -

๒) รถ โบกี้ปั้นจั่นกล (bogie locomotive crane) ๓ คัน

๓) รถโดยสารชั้น ๑ - ๒ รวมรถนอนและรถเสบียง ๘๐ คัน จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการร ๒๑๙ คัน
๔ รถโดยสาร ชั้น ๓ และ สัมภาระ สั่งได้ ๒๒๐ คัน จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการ ๒๔๐ คัน ซึ่งประกอบด้วย
๓.๑) รถโบกี้ชั้น ๓ จำนวน ๑๔๐ คัน
๓.๒) รถโบกี้ชั้น ๓ และสัมภาระ จำนวน ๒๕ คัน
๓.๓) รถโบกี้ชั้น ๓ มีที่ขายอาหาร จำนวน ๕๐ คัน
๓.๔) รถโบกี้สัมภาระ (Bogie Full Van) จำนวน ๕ คัน

๔) รถข้างต่ำ ๒๐๐ คัน - จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการรถข้างต่ำ ๗๐๐ คัน
๕) รถตู้ใหญ่ ๕๐๐ คัน - จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการรถตู้ใหญ่สำหรับขนข้าว ๗๕๐ คัน
๖) รถข้างสูง ๒๐๐ คัน - จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการรถข้างสูง ๕๐๐ คัน
๗) รถโบกี้ข้างสูง ๑๐๐ คัน - จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการรถโบกี้ข้างสูง ๕๐ คัน - ชดเชยกัน
๘) รถโบกี้พื้นต่ำ ๕ คัน - จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการรถโบกี้พื้นต่ำ ๕ คัน - รายการนี้ภายหลังได้งดไปเลย
๙) งดการสั่งรถโบกี้เทข้าง จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการรถโบกี้เทข้าง ๕๐๐ คัน
๑๐) งดการสั่งโบกี้สำหรับรถ บทค. จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการโบกี้สำหรับรถโบกี้น้ำมัน ๑๐ แคร่ แต่ที่สุดได้รถโบกี้น้ำมันจัสแมก ๑๐๐ คัน มาแทน
๑๑) โบกี้สำหรับรถ บตญ. ๑๖๐ แคร่ จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการโบกี้สำหรับรถ บตญ. ๑๕๐ แคร่
๑๒) งดการสั่งรถน้ำแข็ง จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการรถน้ำแข็ง ๑๒ คัน - แต่ได้รายการรถ สัมภาระ (Break Van) ๕๐ คันมาแทน แต่ที่สุดก็ได้ รถน้ำแข็ง ๔ ล้อ จำนวน ๑๐ คัน แทนในปี ๒๕๐๒ และ รถ สัมภาระที่พ่วงท้ายรถสินค้า เมื่อปี ๒๕๐๘
๑๓) รางและเครื่องประกอบราง ๗๐ ปอนด์ ๘๐,๐๐๐ ตัน จากแต่เดิมที่รฟท. ต้องการ รางและเครื่องประกอบราง ๖๐ ปอนด์ ๒๘,๐๐๐ ตัน ครื่องประกอบราง ๕๐ ปอนด์ ๒๐๐๐ ตะัน และ ประแจทางหลีกสำหรับรางขนาด ๖๐ ปอนด์ ๒๐๐ ชุด - ดีเหมือนกันทำให้ ราง ๗๐ ปอนด์แพร่หลายไปทั่ว และ ได้รื้อเอาราง ๕๐ ปอนด์ ไปทำหลีก
๑๓) อุปกรณ์สื่อสารให้รอไปก่อน แต่ที่สุดก็ได้ระบบโทรศัพท์ ที่อเมริกันจัดให้เมื่อปี ๒๕๐๑

๒๒ เมษายน ๒๔๙๖ เลิกคณะกรรมการ ช่วยจัดหาอุปกรณ์เพื่อการส่งเสริมและขยายการรถไฟ (จากจดหมายจากกรมเลขาธิการรัฐมนตรี ถึง รัฐมนตรีพระทรวงคมนาคม เมื่อ ๒๗ เมษษยน ๒๔๙๖)
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/06/2014 7:39 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟสายประวัติศาสตร์ ณ บ้านโฮ่ง ลำพูน
ที่มา: เพจเฮาฮักบ้านโฮ่ง
และ รีวิวรถไฟสายประวัติศาสตร์ ณ บ้านโฮ่ง ลำพูน มีแผนที่ (ครูโก๋ อานุวัฒน์ กาสุยะ)

Click on the image for full size

ชื่อแหล่งท่องเที่ยว : ทางรถไฟสายเก่า
ประเภทสถานที่ท่องเที่ยว : สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ
สถานที่ตั้ง : ม3.บ้านศรีเตี้ย
หมายเลขติดต่อสอบถาม :
latitude : 18.39
longitude : 98.73
รายละเอียด : เป็นเส้นทางรถไฟสายเก่า เดิมใช้สำหรับการบรรทุกไม้สัก ปัจจุบันได้เลิกใช้เส้นทางดังกล่าว โดยมีการสร้างถนนสายใหม่
การเดินทาง : เดินทางจากสามแยกท่าลี่ (เชียงใหม่ -ฮอด) มาเส้นทางท่าลี่-ม่วงโตน ข้ามสะพานบ้านร้องธาร มาถึงสามแยกหอนาฬิกาหนองล่อง เลี้ยวซ้าย เข้าสู่เขตตำบลศรีเตี้ย และเลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางศรีเตี้ย - หนองเขียด ก่อนถึงเทศบาลตำบลศรีเตี้ยและวัดดอยหลังถ้ำ ทางรถไฟสายเก่าอยู่ทางซ้ายมือ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/06/2014 9:19 am    Post subject: Reply with quote

พิกัดใน StreetView ดูได้ที่นี่ครับ
Arrow http://goo.gl/CkauG1
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/06/2014 11:58 pm    Post subject: Reply with quote

รางรถไฟเก่า ศรีเตี้ย บ้านโฮ่ง อนุสรณ์ที่น่าจดจำ ปิดตำนานพื้นที่ป่าอันแสนสมบูรณ์
ที่มา: http://www.cmprice.com/158836

Click on the image for full size

สัมปทานไม้ของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าในเขตป่าบ้านโฮ้ง นับตั้งแต่ ปีพ.ศ.2447 เป็นต้นมาภายหลังที่รัฐบาลสยามได้จัดตั้งกรมป่าไม้ขึ้นและโอนกิจการทำไม้ให้เป็นของรัฐบาล การขอสัมปทานไม้ต่างๆ จากบริษัทต่างชาติจึงต้องขออนุญาตจากรัฐบาลกลางเพียงแห่งเดียวเท่านั้นบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า ได้ขออนุญาตสัมปทานทำไม้ในเขตภาคเหนือ โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดลำพูนทั้งหมด และได้เข้ามาทำสัมปทานทำไม้ในเขตป่าแม่ลี้ ป่าแม่แนต ป่าแม่ตื่น ป่าแม่หาด

การทำสัมปทานไม้ของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า ได้เข้ามาสร้างปางไม้ โดยนำช้างและอุปกรณ์เครื่องมือในการทำไม้ต่างๆ อยู่ในบริเวณพื้นที่บ้านเกาะทุ่งม่าน ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ้ง จ.ลำพูน การทำไม้ของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า จะตัดไม้จากป่าต่างๆ แล้วใช้ช้างลากไม้ซุงลงแม่น้ำลี้ เพื่อนำมากองไว้ที่ปางไม้ ว่ากันว่าไม้ซุงที่ตัดนั้นมีจำนวนมากหลายหมื่นต้น แต่ละต้นมาหน้าตัดกว้างไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ซุงบางต้นมีความสูงของหน้าตัดสูงท่วมหัวก็มี หลังจากที่นำไม้ซุงมากองพักไว้ที่ปางไม้แล้ว บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า ยังได้สร้างทางรถไฟเพื่อใช้ลำเลียงไม้ซุงจากปางไม้บ้านเกาะทุ่งม่าน ไปยังบ้านหนองปลาสะวาย ขนถ่ายไม้ลงในแม่น้ำปิงไหลล่องไปลงแม่น้ำเจ้าพระยาถึงกรุงเทพมหานครก่อนจะนำขึ้นเรือกลับสู่ประเทศอังกฤษ

ในการทำไม้ในเขตอำเภอบ้านโฮ้งของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า นอกจากจะก่อสร้างทางรถไฟสายเล็กขึ้น ซึ่งปัจจุบันทางรถไฟได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของถนนสายลำพูน - ลี้ การทำไม้ยังสร้างรายได้เล็กๆ ให้กับคนในชุมชนบริเวณแห่งนี้อีกด้วย

แม่หลวงไว ธรรมสิทธิ์ อายุ 92 ปี ท่านเกิดใน ปีพ.ศ.2460 เคยอยู่ร่วมกับเหตุการณ์สัมปทานทำไม้ของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า แม่หลวงเล่าว่า บริษัทบอมเบย์เบอร์ม่าจะนำไม้สักที่ตัดมาพักไว้บริเวณบ้านเกาะทุ่งม่าน ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำลี้ ซุงไม้สักจะตัดจากป่าร่องมาตามน้ำลี้ เมื่อมาถึงไม้ก็จะมากองสุมกันเต็มน้ำ จากนั้นจึงใช้ช้างลากมาบรรทุกใส่รถไฟ ซึ่งมีอยู่ 3 ขบวน สร้างทางเลียบไปทางลำน้ำลี้เริ่มจากท่าหลุก - วังปาน ผ่านบ้านทุ่งม่าน บ้านระแกะ บ้านห้วยกาน บ้านป่าดำไปจนถึงบ้านหนองปลาสะวาย เพื่อขนไม้ไปลงแม่น้ำปิง(ดังภาพรางรถไฟเก่าที่ศรีเตี้ย บ้านโฮ่ง ขณะนี้)

ในช่วงที่มีการสัมปทานทำไม้ แม่หลวงไว ยังได้นำข้าวปลาอาหารมาขายให้กับคนงานตัดไม้ในปาง โดยทำบุหรี่ หมากพลูขายในราคามวนละ 1 สตางค์ ส่วนกับข้าวทำแกงไก่ขายในราคา 2 สตางค์ นอกจากนั้นยังมีชาวบ้านผู้ชายบางคนไปรับจ้างตัดไม้แบบ (ไม้หมอน) สำหรับทำรางรถไฟในราคาเล่มละ 3 สตางค์ แม่หลวงไว ยังเล่าอีกว่า พอถึงเวลาสิ้นเดือน นายห้างซึ่งเป็นฝรั่งคุมงาน ก็จะนำเงินแถบบรรจุกระสอบใส่บนหลังช้าง 2 ตัว เพื่อนำเงินมาจ่ายให้กับคนงานทำไม้ ซึ่งมีหลายชาติพันธ์ปะปนกัน ทั้งเงี้ยว ไทใหญ่ ม่าน (พม่า) กะเหรี่ยง ขมุ ภายหลังจากที่สัมปทานไม้หมดไป คนงานเหล่านั้นก็พากับเดินทางกลับ แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ที่นี่จนมีครอบครัวสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนอกจากนั้นแล้วในพื้นที่ ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ้ง ยังมีเรื่องราวของคนเลี้ยงช้าง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกันกับการทำสัมปทานไม้ของบริษัทบอมเบย์เบอร์ม่า

พ่อไท สมราช อายุ 83 ปี อดีตเจ้าของช้างปู้บุญส่ง ซึ่งเคยชักลากไม้อยู่ในพื้นที่ป่าแม่หาด เล่าว่า ตนเองได้ซื้อช้างมาจากลุงโม้ ชาวบ้านอำเภอแม่ทาในราคา 65,000 บาท เมื่อประมาณ ปีพ.ศ.2498 เพื่อใช้ลากไม้ โดยเริ่มแรกนำช้างมาลากไม้เพื่อสร้างบ้านให้กับตนเองก่อน หลังจากนั้นจึงนำช้างออกตระเวนรับจ้างลากไม้ ในเขตป่าแม่ป๊อก ป่าแม่ตื่น ซึ่งได้รับสัมปทานป่าของโรงเลื่อย ทำงานลากไม้อยู่ 5 ปี ก่อนที่จะตระเวนออกไปรับจ้างลากไม้ถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน พ่อไท เล่าอีกว่า การเดินทางไปลากไม้ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะไปกันเป็นคาราวาน มีช้างประมาณ 20 เชือก เดินทางไปตามป่าเขาจนถึงแม่ฮ่องสอน แล้วจึงรับจ้างลากไม้ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน เมื่อสัมปทานไม้ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนหมดลงจึงพากับเดินทางกลับ สมัยที่ทำงานลากไม้อยู่นั้นได้เงินค่าจ้างคนละ 40,000 บาท

การทำสัมปทานไม้สิ้นสุดลง ภายหลังเมื่อรัฐบาลได้ประกาศปิดป่าเมื่อ ปีพ.ศ.2518 ทิ้งไว้เหลือเพียงตำนานแห่งการทำไม้ในเขตป่าบ้านโฮ้งพื้นที่ ๆ ได้ชื่อว่ามีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคเหนือ และอาจจะเป็นเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก ในลำพูน ก็เป็นไปได้

รีวิว รถไฟสายประวัติศาสตร์ ณ บ้านโฮ่ง ลำพูน มีแผนที่ (ครูโก๋ อานุวัฒน์ กาสุยะ) คลิ๊ก >> www.cmprice.com/158735 <<

เรียบเรียงใหม่ โดย โน้ต cmprice
บทความต้นฉบับจาก จักรพงษ์ คำบุญเรือง

ที่มา http://www.lannacorner.net/lanna2012/article/article.php?type=A&ID=1137
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 37, 38, 39 ... 73, 74, 75  Next
Page 38 of 75

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©