Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180294
ทั้งหมด:13491528
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - การสร้างทางรถไฟและรถไฟแบบมัลติยูนิค
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

การสร้างทางรถไฟและรถไฟแบบมัลติยูนิค

 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
nop2
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 06/03/2008
Posts: 985
Location: เพชรบุรี

PostPosted: 26/01/2009 8:46 pm    Post subject: การสร้างทางรถไฟและรถไฟแบบมัลติยูนิค Reply with quote

จากที่ผมดูกระทู้ความคืบหน้าการสร้างคู่ฉะเชิงเทรนไปแหลมฉบัง จึงมีคำถามดังนี้ครับ

1. ขนาดของเรากับการรับน้ำหนักและความเร็ว
80ปอนด์ต่อ 1หลา 105/90กิโลเมตรต่อชั่วโมง 15ตันต่อเพลา
100ปอนด์ต่อ 1หลา 120/100กิโลเมตรต่อชั่วโมง 20ตันต่อเพลา
ถ้า
110,120,130,.... จะได้ความเร็วกับน้ำหนักเพลาเท่าไรบ้างครับ
2. หลังจากค้นไปค้นมา เจอหมอนคอนกรีตสำหรับรถไฟความเร็วสูง http://www.p-tec.org/standard-rail-sleepers.php แปลว่าถ้าเราจะทำรถไฟความเร็วสูง เราต้องใช้หมอนโดยเฉพาะ ใช่ไหมครับ ส่วนนี้จึงทำให้ต้นทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงแพงใช่ไหมครับ
3. การต่อรางแบบ Expansion Joint ตามปกติจะใช้ระยะห่างกันเท่าไรครับ (เท่าที่ทราบบ้านเรามีการต่อแบบนี้อยู่สองแห่ง) ส่วนใหญ่บ้านเราจะใช้แบบ Welded rail joint (เชื่อมราง)
4. การสร้างทางจำเป็นต้อง ลอกดินเก่า ต่อเสาเข็ม อัดหินคลุก ทำคอนกรีตรองหันทรุด แบบทางที่แหลมฉบังรึเปล่าครับ
5. ทางข้ามต่างระดับแบบ overpass(ทางผ่านต่างระดับ) ระหว่างสะพานรถไฟข้ามรถยนต์กับสะพานรถยนต์ข้ามรถไฟแบบไหนต้นทุนการสร้างจะประหยัดกว่ากันครับ
6. ระบบไฟฟ้า(แบบจ่ายเหนือหัว) บ้านเราควรนำมาใช้ได้ยังครับ
7. ระหว่างรถดีเซลรางแบบมีเครื่องเฉพาะรถกำลังหัวท้าย(Pull-Push แบบ QR tilt train) กับรถดีเซลรางที่เป็นรถกำลังทุกคัน อันไหนจะเหมาะสมกับบ้านเรามากกว่ากันครับ
8. ราง 1เมตรบ้านเราสามารถใช้รถพ่วงสองชั้นได้ไหมครับ ?
9. บ้านเราควรใช้รถผลิตไฟฟ้าแทนการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าในรถปรับอากาศหรือไหม ?
_________________
"You are star I am darkness Our love brighter than the sun .."
Back to top
View user's profile Send private message MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/01/2009 10:52 pm    Post subject: Re: การสร้างทางรถไฟและรถไฟแบบมัลติยูนิค Reply with quote

ลำพังแต่เพียงข้อมูลรางเหล็กอย่างเดียวหนะ ไม่พอหรอกต้อง คำนวณ ทั้งความหนาของหินรองทาง ที่ ต้องรับน้ำหนัก ทั้งหมอนคอนกรีต และ รางเหล็ก

นอกจากนี้ ความถี่ของหมอนก็เป็นเรื่องสำคัญ ... ในขณะนี้ กำหนดให้ระยะระหว่างหมอนอยู่ที่ 60 เซนติเมตร ซึ่งถือว่าเป็นระยะที่เหมาะสม แม้ วางหมอนถี่กว่านี้ จะรับโหลดเพลาได้มากขึ้น แต่ ถ้าวางถี่มากไป (คือ ระยะน้อยกว่า 60 เซนติเมตร) จะมีปัญหาในการอัดหินบดหินรองทาง เวลาซ่อมบำรุงทางตามวาระ

ตอนนี้ ที่ อินเดีย ก็คิดจะเพิ่มโหลดเพลา ให้ได้ถึง 30 ตัน แต่ติดปัญหาที่ ว่า ถ้าจะให้ โหลดเพลา 30 ตัน แม้จะใช้รางขนาด UIC 60 (ราง 60 กิโลกรัมต่อเมตร หรือ 121 ปอนด์ต่อหลา แบบเดียวกับเส้นทาง Airport Link) ก็ต้องเรียงหมอนกันชิดถึงช่วงละ 43 เซนติเมตร (หมอน 2326 ท่อน/กม.) ซึ่งมีปัญหามาก ... นอกจากนี้ รางที่ใช้ต้องเป็นรางยาวชนิดพิเศษ - ราง 18 เมตร (20 หลา) สั้นไป แม้จะเชื่อมรางแล้ว ก็เชื่อมเธอร์มิตได้ 6 ท่อนเป็นอย่างมาก (นอกจากจะใช้วิธีเชื่อมพิเศษจริงๆ) มี รอยต่อรางมากๆ ก็ไม่ไหว

เท่าที่ คำนวณดู พบว่า ถ้าใช้ราง ขนาด UIC71 (ราง 71 กิโลกรัมต่อเมตร หรือ 143 ปอนด์ต่อหลา) จึงจะสามารถ ทำขบวนรถที่โหลดเพลา 30 ตัน ได้เร็วถึง 100 กม/ชม. และ รางที่ ใช้ควรจะยาวท่อนละ 120 เมตร - เชื่อม 6 ท่อน ก็ได้ราวๆ 720 เมตร

หินรองทาง ถ้าจะให้ดี ส่วนที่รองราง ควรจะหนาสัก 30 เซนติเมตร และ ส่วนที่ เป็น หินคลุก (Sub Ballast) อีก 15 เซนติเมตร รวมเป็น 45 เซนติเมตร นี่ ในกรณีวางหมอนถี่ ถึงช่วงละ 43 เซนติเมตร (หมอน 2326 ท่อน/กม.)

ในกรณีรถไฟความเร็วสูงนั้น ชิงกังเซนของญี่ปุ่น ต้อง ใช้หินแกรนิต หรือ หินบะซอลต์ (คือหินอัคนี) รองทางหนา 30 เซนติเมตร + หินคลุก (Sub Ballast) อีก 20 เซนติเมตร ถ้านำหินคลุก (Sub Ballast) ไปคลุกน้ำมันดิน บิทูเมน หรือยางมะตอย เพื่อกันน้ำซึม ก็จะดีมาก ความกว้างของไหล่ทางของหินรองราง ควรจะได้ 50 เซนติเมตร์สำหรับทางตรง และ 70 เซนติเมตร สำหรับทางโค้ง

นอกจากนี้ทางรถไฟความเร็วสูง ต้องใช้ รางเชื่อมพิเศษ ความยาวเมื่อเชื่อมแล้ว 4000-7000 เมตร ด้วน

ในกรณีบ้านเรานั้น แน่นอน ต้องตอกเสาเข็มเพื่อรองรับน้ำหนักโดยเฉพาะในที่ลุ่ม นอกเหนือจากการเอาขี้เถ้าแกลบ มารองทางก่อนเอาหินลง

ส่วนกรณีสะพานนั้น สะพานรถยนต์ย่อมถูกกว่าสะพานรถไฟ ข้อนี้ ว่ากันตามจริงไม่น่าถามเลยนี่ ถ้าเป็นไปได้ ให้เป็นสะพานหรือ อุโมงค์รถยนต์เป็นดีที่สุด เว้นแต่ถ้าต้องผ่านทางหลวงสายใหญ่ เช่นถนนสุขุมวิท, ถนนมิตรภาพ, ถนนพหลโยธิน ถนนเพชรเกษม หรือ ถนนสุรนารายณ์ ก็ต้องพิจารณากันอีกที

ออ ติดระบบไฟฟ้า หรือ ได้เหนือหัวเป็นดี ของบ้านเราคงไม่พ้นไฟสลับ 25 KV ความถี่ 50 Hz ซึ่งเป็นระบบที่เชื่อถือได้ อย่างอื่น เป็นไม่เหมาะสำหรับระยะทางไกล

DMU & EMU แบบ Push Pull แม้เครื่องเดินเรียบ และ ลดปัญหากระแสไฟสะสม (Current Collecting) สำหรับ EMU แต่ก็เหมาะ ในทางราบ ทางไต่ขึ้นที่สูงยังน่าสงสัยว่าจะไปไหวหรือ ถ้าไปได้ ก็ลองดู

ปัญหาเรื่อง รถ 2ชั้น ที่ คลั่งไคล้กันนัก ก็ขึ้นอยู่กับ Structure Gauge และ Loading Gauge ที่ใช้อยู่ เท่าที่ดูก็ไม่คิดว่าจะใช้กับบ้านเราได้ ถ้าจะทำแบบนั้น ต้องแก้สะพานให้ เปิดโล่งและ ขยายเขตทางออกไป ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งแน่ๆ

กรณีรถ Power Car นั้น ถ้าประกอบได้เอง หรือ มีไว้ใช้งาน เป็นดี เพราะ จะประหยัดเชื้อเพลิงและลดการซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้ารถโดยสาร ได้อีกมาก

REF: http://www.irfca.org/faq/faq-pway.html
http://www.iricen.gov.in/projects/621/Presentations/30-tonnes.ppt
http://www.iricen.gov.in/projects/525/implication.pdf
http://www.iricen.gov.in/projects/721/ballast_specification.pdf
http://www.ser-engg.in/CIRCULARS/25t-axle%20load.pdf
http://www.railone.com/fileadmin/pfleiderer_track_systems/dateien/fachbeitraege_pdf/Pre-stressed_44t.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2013 1:13 pm    Post subject: Reply with quote

ดูโครงสร้าง Structure gauge รถไฟไทยและเพื่อนบ้านได้ที่นี่
http://www.unescap.org/ttdw/Publications/TIS_pubs/pub_1679v3/Sec5.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Page 1 of 1

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©