Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269536
ทั้งหมด:13580823
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 168, 169, 170 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2013 12:03 pm    Post subject: Reply with quote

สนข. ประกาศสุดยอด แบบสถานีรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ ฯ – หัวหิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
8 ตุลาคม 2556 เวลา 20:30:32 น.

Click on the image for full size

วันนี้ (9 ต.ค.56) ณ ห้องประชุมยงยุทธ สาระสมบัติ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานมอบรางวัลการประกวดแนวคิดการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ ฯ - หัวหิน ภายใต้ชื่อ “Design Station Define Identity” พร้อมแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัล โดยมี นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กล่าวรายงาน

จากการที่ สนข. ได้จัดการประกวดแนวคิดการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ ฯ - หัวหิน ภายใต้ชื่อ “Design Station Define Identity” ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายน 2556 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน นิสิต นักศึกษาที่สนใจ ร่วมส่งผลงานออกแบบอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมสถานี จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีนครปฐม สถานีราชบุรี สถานีเพชรบุรี และสถานีหัวหิน ปรากฏว่ามีผู้สนใจส่งผลงานเข้าประกวดถึง 179 ผลงาน ในส่วนของรางวัล พิจารณาแยกเป็นรางวัลรายสถานี สถานีละ 3 รางวัล



โดยรางวัลที่ 1 รางวัลละ 30,000 บาท รางวัลที่ 2 รางวัลละ 20,000 บาท รางวัลที่ 3 รางวัลละ 15,000 บาท และรางวัลพิเศษ “Popular Vote” ซึ่งให้ประชาชนร่วมโหวตผ่านทางเฟสบุ๊คอีก 1 รางวัล เป็นเงิน 10,000 บาท รวมมูลค่า 270,000 บาท โดยผู้ชนะจะได้รับโล่พร้อมเงินรางวัล

จากผลการตัดสินของคณะกรรมการ ผลงานที่ชนะเลิศของ 4 สถานี ประกอบด้วย สถานีนครปฐม ได้แก่ รหัสผลงาน NG 218 ซึ่งเป็นผลงานออกแบบของกลุ่มบุคคลจากบริษัท เอ็นเจ็ดเอ จำกัด ที่ได้แรงบันดาลใจจากสัญลักษณ์สำคัญของจังหวัด คือ องค์พระปฐมเจดีย์ มาออกแบบสถาปัตยกรรมในสองลักษณะ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ตั้งของอาคารกับพระปฐมเจดีย์ในแง่ของมุมมองจากสถานีและแนวแกนของเมือง และความสัมพันธ์ในรูปแบบรายละเอียดและลีลาความต่อเนื่องขององค์ประกอบด้านสถาปัตยกรรมจากพระปฐมเจดีย์สู่องค์ประกอบของอาคารสถานีสถานีราชบุรี

รหัสผลงานRI 081 เป็นของนายธนนท์ ชุตินาทรังสี ที่ได้แนวความคิดการออกแบบจาก “โอ่งมังกร” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดราชบุรี โดยนำประโยชน์ของโอ่งที่ทำหน้าที่รองรับน้ำฝนมาประยุกต์ใช้กับรูปแบบโครงสร้างหลังคาที่ออกแบบให้สามารถกันฝนและรับน้ำฝนส่งผ่านไปสู่ส่วนรองรับน้ำได้โครงสร้างหลังคาเป็นโครงเหล็กถักสานลายเฉลว6 มุม ซึ่งเป็นลายที่อยู่ได้ด้วยแรงขัดกัน 3 ทาง ทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าลายพื้นฐาน สถานีเพชรบุรี

รหัสผลงาน PG 218 ซึ่งเป็นผลงานของกลุ่มบุคคลจากบริษัท เอ็นเจ็ดเอ จำกัด ที่นำเอกลักษณ์ของเขาวังและงานปูนปั้นของเมืองเพชรบุรีมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบสถานีใน 3 ลักษณะคือ ความสัมพันธ์ของที่ว่าง และรูปทรงของอาคารกับลักษณะภูมิประเทศ ความสัมพันธ์ในเชิงสถาปัตยกรรมของตัวสถานีกับเขาวัง และความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ตั้งของอาคารกับลักษณะแนวแกนของบริบทเมือง และแนวแกนของเส้นทางรถไฟที่อยู่คนละแกนกัน สถานีหัวหิน

รหัสผลงาน HI 146 เป็นของนายพีรณัฐ วงศ์สิริศักดิ์ ที่มีแนวคิดหลักคือ BREEZE PAVILION แสดงถึงการไหลของลม ศาลาลม แสดงเป็นสัญลักษณ์ของอากาศ และคลื่นลมทะเลซึ่งเป็นจุดเด่นของเมือง

ส่วนรางวัล Popular Vote เป็นการออกแบบสถานีเพชรบุรี รหัสผลงาน PI 017 ของนายเกรียงกฤษณ์ พัทยัง มีแนวคิดจากการนำรูปร่างของใบตาล ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเพชรบุรีมาออกแบบสถานี

สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลในการประกวดครั้งนี้ สนข.จะนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบสถานี ในมิติด้านอัตลักษณ์ของจังหวัด ประกอบกับมิติด้านประโยชน์ใช้สอย และความเหมาะสมในด้านต่างๆ ต่อไป ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่แสดงถึงการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – หัวหิน โดยผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมผลงานการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ ฯ – หัวหินได้ตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค. – 22 พ.ย. 2556 ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2013 4:14 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะ7พื้นที่รองรับความเจริญจาก"ไฮสปีดเทรน"
ข่าวเศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2556 เวลา 00:03 น.

สนข.เคาะพื้นที่ 7 แปลง เหมาะพัฒนาเชิงพาณิชย์รองรับไฮสปีดเทรน กรมธนารักษ์เร่งขอความร่วมมือจังหวัดตรวจสอบพื้นที่ก่อนเวนคืนที่ดิน

นายชาญณัฏฐ์ แก้วมณี รองอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า สํานักงานนโยบายและ แผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้สรุปแผนเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากที่ราชพัสดุในแนวรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ตามแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ ภายใต้วงเงิน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล โดยมีพื้นที่ 7 แปลงที่ เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพก่อสร้างโครงข่ายรองรับไฮสปีดเทรน แบ่งเป็นพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมา 4 แปลง จังหวัดพิษณุโลก 1 แปลง จังหวัดนครสวรรค์ 1 แปลง และจังหวัดลพบุรี 1 แปลง

“พื้นที่ จ.ลพบุรีกว่า 40 ไร่ จะเจาะเป็นอุโมงค์รถไฟฟ้า เพราะเป็นพื้นที่รอบบริเวณพระปรางค์สามยอด จึงต้องทำเป็นอุโมงค์ เพื่อไม่ให้กระทบโบราณสถาน

ส่วนพื้นที่ จ.นครสวรรค์ 3,300 ไร่นั้น เหมาะเป็นพื้นที่สาธารณะโครงข่ายถนนโดยรอบ
ส่วนที่ต.จันทึก จ.นครราชสีมา และต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมาพื้นที่ 549 ไร่ เหมาะสมก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง และกำลังดูว่าพื้นที่ที่อยู่รอบสถานีรถไฟฟ้าสามารถพัฒนาและใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ โดยหากดำเนินการได้จะเป็นการสร้างรายได้ให้รัฐเพิ่มขึ้น”

ทั้งนี้ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้จังหวัดเป็นผู้ตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าว เพื่อขอพื้นที่คืน ซึ่งต้องรอคำตอบว่าพื้นที่ไหนที่สามารถเข้าไปใช้พื้นที่ได้และพื้นที่ไหนที่เข้าไปไม่ได้ เพราะบางพื้นที่หน่วยงานราชการตั้งอยู่ โดยหากได้ข้อมูลทั้งหมดแล้วสนข.ต้องไปวางแผนการดำเนินงานและเสนอกลับมาให้กรมฯพิจารณาอีกครั้งก่อนที่จะขอเวนคืนที่ดินมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

“ส่วนกรณีที่ประชาชนที่บุกรุกในพื้นที่ราชการนั้น เมื่อถึงเวลาขอพื้นที่คืนก็ต้องยอมรับว่า อาจมีการต่อต้านบ้าง แต่เชื่อว่าทุกฝ่ายจะหารือด้วยเหตุผล เพราะพื้นที่ที่ขอคืนนั้นเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับรัฐ อย่างไรก็ตาม กรมฯ มีรายได้จากให้เช่าที่ราชพัสุดปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท จากปัจจุบันพื้นที่ราชพัสดุทั่วประเทศมี 12.5 ล้านไร่ สัดส่วน 99% เป็นพื้นที่ให้หน่วยงานราชการเช่า และส่วนที่พัฒนาเชิงพาณิชย์มีเพียง 1% “
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 09/10/2013 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

คาดเปิดประมูลสร้างรถไฟความเร็วสูงกลางปี57
การเมือง : คุณภาพชีวิต
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 9 ตุลาคม 2556 17:10


"ชัชชาติ" คาดเปิดประมูลโครงการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงได้ราวกลางปี 2557



นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การเสนอร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท เพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งของประเทศ ให้รัฐสภาพิจารณานั้นเป็นเพียงก้าวแรกในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเท่านั้น การทำงานหลังจากนี้ยังมีอีกมาก

"ในช่วง 3 ปีแรกที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเปิดให้บริการจะประสบปัญหาขาดทุนมาก แต่หลังจากนั้นจะมีรายได้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน แต่การจะคืนทุนก่อสร้างต้องอาศัยรายได้เชิงพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้น" นายชัชชาติ กล่าว

สำหรับขั้นตอนการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงในปัจจุบันเป็นไปตามแผนงาน คาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้กลางปี 2557 ปัจจุบันโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อยู่ระหว่างการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่เส้นทางอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน อยู่ระหว่างการเตรียมยื่นพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้จังหวัดที่เส้นทางรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน วิ่งผ่านออกแบบสถานีที่มีเอกลักษณ์สอดคล้องกับพื้นที่ของตนเอง และสร้างมูลค่าเพิ่มจากรถไฟความเร็วสูง

"โครงการรถไฟความเร็วสูงจะประสบความสำเร็จต้องเริ่มจากการออกแบบสถานีให้สะท้อนความเป็นอยู่ของคนท้องถิ่น ไม่ซ้ำกัน ไม่หรูหรา ง่ายในการดูแลบำรุงรักษา และอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร" นายชัชชาติ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
namrat7
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 02/05/2012
Posts: 50
Location: สถานีรถไฟ หนองตะไก้

PostPosted: 10/10/2013 12:22 am    Post subject: Reply with quote

บ้านผมอยู่อุดร

อยู่ระยะที่สอง ตามแผนคงอีกนานกว่าจะได้ใช้รถไฟความเร็วสูง

ขอให้โครงการมีต่อไปเรื่อตามแผน คุณ ชัชชาติ ด้วยเถิด

ไม่ขอแบบเปลี่ยน ผู้นำ ที เปลี่ยนแผนที
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2013 2:23 am    Post subject: Reply with quote

เจ๋งไอเดียโอ่งมังกร ชนะออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงราชบุรี
หน้าหลักเศรษฐกิจ
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
9 ตุลาคม 2556, 20:28 น.

กระทรวงคมนาคมประกวดแนวคิดการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน โดยมีผลงานชนะเลิศ 4 สถานี ในส่วนของสถานีราชบุรีใช้แนวคิดโอ่งมังกร...

เมื่อวันที่ 9 ต.ค. 56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานมอบรางวัลประกวดแนวคิดการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน โดยนายชัชชาติ กล่าวว่า การออกแบบสถานีให้มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์สถาปัตยกรรมเฉพาะตัว ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่โครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นโครงการสำคัญในการลงทุน 2 ล้านล้านบาทของรัฐบาล เนื่องจากจะมีการใช้วงเงินสูงถึงร้อยละ 40 ของเงินลงทุนทั้งหมด

ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายชัดเจนว่าการพัฒนารถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในทุกเส้นทางของสถานีแต่ละจังหวัด ที่รถไฟความเร็วสูงอาจไปถึง นอกจากนี้ การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการนำสินค้า ที่เป็นของท้องถิ่นและแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่มาผสมผสาน เพื่อให้เกิดอัตลักษณ์เฉพาะตัวนี้ ถือเป็นจุดสำคัญที่จะทำให้โครงการมีการ เชื่อมโยงเกิดมูลค่าเศรษฐกิจตามมา

ส่วนแต่ละสถานีมีการออกแบบแตกต่างกัน จะทำให้ต้นทุนการก่อสร้างควบคุมได้ยากหรือไม่ นายชัชชาติ กล่าวว่า การประกวดออกแบบสถานีวันนี้ พบว่าแบบที่นำเสนอและชนะเลิศเป็นการก่อสร้าง สถานีรูปแบบง่ายและไม่มีการใช้วัสดุฟุ่มเฟือย แต่คำนึงถึงเอกลักษณ์แต่ละจังหวัด จึงมั่นใจว่าความแตกต่างของสถานีจะไม่ทำให้งบบานปลาย

ขณะที่ขั้นตอนการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น กระทรวงคมนาคมมั่นใจเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ที่เสนอให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาแล้ว และจะเสนอพิจารณาเส้นทางอื่นตามมา เบื้องต้นมั่นใจว่า ปี 2557 โครงการรถไฟความเร็วสูงทุกเส้นทาง จะสามารถเริ่มกระบวนการประกวดราคาและเสร็จตามกำหนด 7 ปี ตามที่รัฐบาลวางแผนไว้

สำหรับผลการประกวดรางวัล ออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูง ผลงานที่ชนะเลิศ 4 สถานี ประกอบด้วย สถานีนครปฐม ผู้ออกแบบใช้สัญลักษณ์สำคัญของจังหวัด คือ องค์พระปฐมเจดีย์ สถานีราชบุรี ใช้แนวคิดจากโอ่งมังกร สถานีเพชรบุรี ใช้เอกลักษณ์เขาวังและงานปูนปั้นของเพชรบุรี และสถานีหัวหิน แนวคิดการไหลเวียนของคลื่นลมทะเลและสถานที่พักตากอากาศที่เป็นจุดเด่น.

เชิญดูภาพได้ที่นี่ครับ
http://board.postjung.com/706345.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2013 9:39 am    Post subject: Reply with quote

"หลี่ เค่อเฉียง" นายกฯจีนเยือนไทย 11-13 ต.ค. นี้ รุกชวน "ยิ่งลักษณ์" ดูนิทรรศการ "รถไฟความเร็วสูง"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 ตุลาคม 2556 เวลา 17:31:32 น.


"หลี่ เค่อเฉียง" นายกรัฐมนตรีจีนเยือนไทยตามกำหนดการวันที่ 11-13 ต.ค.นี้ พร้อมรุก "รถไฟฟ้าความเร็วสูง" ชวน "ยิ่งลักษณ์" ชมนิทรรศการ ออกปากขอชม OTOP ที่เชียงใหม่

น.ส.รมณี คณานุรักษ์ รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กล่าวบรรยายสรุปถึงการเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายหลี เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในฐานะแขกของรัฐบาลว่า การเยือนครั้งนี้เป็นการเยือนครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยไทยให้ความสำคัญกับการเยือนครั้งนี้มาก เพราะต้องการสานสัมพันธ์กับผู้นำรุ่นที่ 5 ของจีน ซึ่งจะบริหารประเทศต่อไปอีก 10 ปี และยังเป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์ให้เป็นรูปธรรมหลังจากที่นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนได้เยือนไทย เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา นับแต่ยังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่

น.ส.รมณี กล่าวว่า จีนแสดงสนใจเข้ามาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในไทย โดยการเยือนครั้งนี้นายกรัฐมนตรีจีนจะเปิดนิทรรศการรถไฟความเร็วสูงของจีนด้วย และนายกรัฐมนตรีไทยตอบรับที่จะเข้าร่วมด้วยแล้ว

ตามหมายกำหนดการ หลังจากนายหลี่ เค่อเฉียง เดินทางเยือนหารือข้อราชการกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ณ ทำเนียบรัฐบาล และห่รือกับประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร ณ รัฐสภาในวันแรกที่เดินทางมาถึงแล้ว วันที่ 12 ต.ค. นายกรัฐมนตรีจีน มีหมายกำหนดการไปเปิดจัดนิทรรศการเกี่ยวกับรถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งทางการจีนเป็นเจ้าภาพ โดยมีนางสาวยิ่งลักษณ์ไปร่วมชมนิทรรศการรถไฟฟ้าความเร็วสูงครั้งนี้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2013 9:42 am    Post subject: Reply with quote

“ชัชชาติ”หนักใจ สผ.พิจารณา EIA รถไฟความเร็วสูงล่าช้า

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 ตุลาคม 2556 18:27 น.


“ชัชชาติ”ยันรถไฟความเร็วสูงเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำความเจริญสู่ภูมิภาค ดันเปิดประมูลสายแรกปี 57 ตามแผน หนักใจ สผ.พิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมกระทบโครงการล่าช้า ชี้ความจำเป็นเพื่อพัฒนาอนาคตแม้ 3 ปีแรกขาดทุน เร่งพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างมูลค่าเพิ่มในแต่ละสถานี อุดหนุนรายได้ค่าโดยสาร

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประมอบรางวัลการประกวดแนวคิดการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หัวหินซึ่งมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดถึง 179 ชิ้นงานเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมว่า โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงมีสัดส่วน 40 % ของวงเงินในพ.ร.บ.โครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทซึ่งถูกคัดค้านมากที่สุด แต่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำความเจริญไปสู่ภูมิภาคและหัวใจของโครงการคือการพัฒนาสถานีรายทาง สร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัดได้ และเป็นทางเลือกในการเดินทางโดยจะต้องวางแผนในการเชื่อมโยงเข้าสู่สถานีเพื่อขนส่งผู้โดยสารให้ได้รับความสะดวกมากที่สุดซึ่งแผนลงทุน 7 ปี จะช่วยให้เห็นภาพรวมและวางแผนการเชื่อมต่อการเดินทางในทุกระบบเชื่อมโยงกันได้ดีกว่าการทำที่ละโครงการเหมือนที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ข้อกังวลเรื่องความคุ้มค่าของโครงการนั้น ในการศึกษารายละเอียดจะมีตัวเลขที่เกี่ยวข้องออกมา ในแต่ละเส้นทาง ทั้ง ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR ) ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ว่าเป็นเท่าไร รวมถึงมีรายได้จากค่าโดยสารเท่าไรด้วย ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบในกระบวนการพิจารณา ส่วนการลงทุนนั้นต้องเอาตัวเลขผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมาคิดมากกว่า ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับการก่อสร้างถนน เพราะต้องยอมรับว่าในช่วง 3 ปีแรกโครงการขาดทุนแน่นอน เพราะจะมีรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ประมาณ 10-20 % เมื่อเทียบกับรายได้จากค่าโดยสาร แต่หลังจากนั้นการพัฒนาพื้นที่สถานีได้สมบูรณ์แล้ว รายได้รวมจะครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้แน่นอน

“หลักการออกแบบสถานีนั้นจะนำเทคโนโลยีของรถไฟมารวมกับความเป็นตัวตนของท้องถิ่นและคิดต่อเนื่องกับการเชื่อมโยง หาจุดดึงดูดความสนใจ ซึ่งสถานีจะไม่เน้นความหรูหรา ฟุ่มเฟือย แต่เน้นความพอเพียงของท้องถิ่น โดยใช้บทเรียนจากสถานีแอร์พอร์ตลิ้งค์ที่ออกแบบใหญ่มากแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และต้องควบคุมค่าก่อสร้างให้อยู่ในกรอบวงเงินที่กำหนด โดยในปี 2557 แล้ว จะเร่งผลักดันให้เปิดประกวดราคาก่อสร้าง ให้เป็นไปตามแผน แต่อุปสรรคคือ กระบวนการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งขณะนี้ได้ยื่นผลศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลกไปแล้ว และหลังจากนี้จะทยอยยื่น EIA เส้นทางที่เหลือ ส่วนการดำเนินการยืนยันจะต้องทำตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการ โดยจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)กระทรวงการคลัง สำนักงบเพื่อขอความเห็นก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติ”นายชัชชาติกล่าว

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงว่า ได้ส่งผลศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลกให้ สำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ไปแล้วเมื่อเดือนกันยายนและภายในเดือนพฤศจิกายน จะส่งผลศึกษาEIA เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ได้ และในเดือนมกราคม 2557 จะส่งรายงานเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ได้ซึ่งเป็นไปตามแผน ส่วนการพิจารณาของ สผ.คาดว่าจะไม่ใช้เวลามากนัก
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 10/10/2013 10:57 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อก่อนนี้ พอออกข่าวทีไร สนข.เป็นต้องมีเอี่ยวในการสำรวจความเหมาะสมทางเศรษฐกิจทุกทีไป แล้วก็เงียบเป็นป่าช้า


แต่เดี๋ยวนี้ เพิ่งจะเห็น รมต.คมนาคม เอ่ยปากบ่นถึงความล่าช้าในการทำงานของ สผ.แล้วล่ะแฮะ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 10/10/2013 12:47 pm    Post subject: Reply with quote

เมื่อกี่เห็นภาพผลงานการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงราชบุรี สวยงาม ขอชื่นชมผู้ออกแบบนะครับ Embarassed

แต่มุมกลับกันครับ ถ้าถามว่าถ้าเทียบการเดินทาง ไปราชบุรี โดยเริ่มที่อนุสารีย์ชัยสมรภูมิ เหมือนกัน

รถตู้ ซื้อตั๋ว 120 บาท ผมเผื่ออนาคต ให้เป็น 180 บาทเลยนะครับ นั่งรอ 15-30 นาที เวลาเดินทาง ประมาณ 2 ชั่วโมง เวลาเดินทางรวม ประมาณ 2.5 ชั่วโมง ค่าเดินทาง 180 บาท


รถไฟความเร็วสูง ขึ้น BTS+MRT ตั้งแต่ซื้อตัวขึ้นสถานี รอBTS 3-5 นาที เดินทางจากอนุสาวรีย์ไปหมอชิต 7-10 นาที 31 บาทลงเดินต่อไป MRT 5-10 นาที รอMRT 3-5 นาที จัตุจักร ไปบางซื่อ 7-10 นาที 20 บาท เดินออกจากสถานี 7-10 นาที รอรถไฟความเร็วสูง 10-20 นาที เดินทางโดยรถไฟความเร็วสูง ประมาณ 30-40 นาที 150-250 บาท (โดยประมาณ) เวลาเดินทางรวม ประมาณ 1.5-2 ชั่วโมง ค่าเดินทาง 200-300 บาท

คุณจะเลือกเดินทางแบบไหนละครับ ? Cool
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 11/10/2013 12:45 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เจ๋งไอเดียโอ่งมังกร ชนะออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงราชบุรี
หน้าหลักเศรษฐกิจ
โดย: ไทยรัฐออนไลน์
9 ตุลาคม 2556, 20:28 น.

กระทรวงคมนาคมประกวดแนวคิดการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน โดยมีผลงานชนะเลิศ 4 สถานี ในส่วนของสถานีราชบุรีใช้แนวคิดโอ่งมังกร...


คุณชัชชาติ แถลงข่าวเรื่องการมอบรางวัลการออกแบบ สถานีรถไฟความไวสูงสายใต้ ตามนี้ครับ


ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ wrote:
เมื่อวานมีพิธีมอบรางวัล การประกวดแนวความคิดการออกแบบสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงสาย กรุงเทพ-หัวหิน จำนวน 4 สถานี (นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และ หัวหิน) มีผู้ส่งแบบเข้าประกวดจำนวน 179 ผลงาน และ มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9 ท่านเป็นผู้ตัดสินครับ

ความสำเร็จของโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ขึ้นกับว่าเราสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากโครงการนี้ได้อย่างไร ผลตอบแทนจากค่าโดยสารเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ที่สำคัญมากกว่าคือการสร้างมูลค่าจากการเชื่อมโยงที่สะดวก รวดเร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจ ที่อยู่อาศัย สถานศึกษา การพัฒนาเมืองใหม่

ดังนั้น กลุ่มจังหวัดในแต่จุดของสถานีรถไฟความเร็วสูง ต้องมาร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ว่าเราจะใช้ประโยชน์จากโครงการนี้อย่างไร และมีแผนในการพัฒนาอย่างไรในอนาคต เพราะเราไม่อยากให้ทุกสถานีเหมือนกันหมด ดังนั้นการออกแบบสถานีที่มีอัตลักษณ์ของตนเองในแต่ละจังหวัดนั้น นับเป็นจุดเริ่มที่สำคัญของการพัฒนาต่อเนื่องออกจากสถานีสู่พื้นที่เมืองรอบข้างครับ

เห็นผลงานพวกเราแล้วต้องบอกว่าไม่แพ้ต่างชาติครับ ถึงแม้ว่าจะมีเวลาไม่นาน แต่ก็ทำออกมาได้ดีและน่าจะนำไปใช้ต่อได้ครับ


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=575067045887485&set=a.552912478102942.1073741839.532747176786139&type=1&ref=nf

//---------------------------------------------------

รากหญ้าแดงที่รัก!!ราคารถไฟความเร็วสูงแบบนี้ขนผักไหวปะ
Posted by คนเมืองพระชนกจักรี , ผู้อ่าน : 830 , 16:11:44 น.
หมวด : เศรษฐกิจ
พิมพ์หน้านี้ โหวต 7 คน นายยั้งคิด , วรรณสุข และอีก 5 คนโหวตเรื่องนี้



5 เส้นทางรถไฟความเร็วสูง

กระทรวงคมนาคมเตรียมเร่งรัดก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง ประกอบด้วย

- กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

- กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี

- กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย

- กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์

- กรุงเทพฯ-ระยอง

หลังจาก พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานสรุป กรอบการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ร่วมกับผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำผลศึกษาที่บริษัทที่ปรึกษา จัดทำไว้เข้ามาพิจารณารายละเอียดเพื่อกำหนดกรอบหลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือ การพัฒนารถไฟความเร็วสูง โดยใช้รางขนาด 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจจะมี การปรับปรุงจากรางเดิม ซึ่งเป็นรางขนาด 1 เมตร หรือมิเตอร์เกจ หรือจะมีการพัฒนา รางที่ 3 เป็นแบบสแตนดาร์ดเกจตลอดเส้นทาง

ขณะเดียวกันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงตามแผนที่กระทรวงคมนาคม ให้นโยบายไว้จะมีการเร่งรัดทำทันที 5 เส้นทาง ประกอบด้วย

- กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

- กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี

- กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย

- กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์

- กรุงเทพฯ-ระยอง

ขณะที่เส้นทางแรกที่จะเร่งดำเนินการทันที คือ กรุงเทพฯ- นครราชสีมา โดยรูปแบบการลงทุนนั้น เป็นไปได้มากที่สุด คือ ภาครัฐก่อสร้างรางหรือโครงสร้างพื้นฐานเอง และดึงเอกชนเข้ามาร่วมในการเดินรถ ซึ่งจะมีพูดคุยอีกครั้งว่าจะเป็นรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนเดินรถ หรือสัมปทานเดินรถ

ส่วนอัตราค่าโดยสารตามผลศึกษานั้น ค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเช่น กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะเก็บคนละ 1,000 บาท แต่จะกำหนดอัตราดังกล่าวหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล ขณะที่เงินลงทุนระบบรถไฟความเร็วสูงนั้น หากภาครัฐก่อสร้างรางเองก็จะมีค่าใช้จ่ายกิโลเมตรละ 800-1,000 ล้านบาท

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ได้ร่างกำหนดค่าโดยสาร + เวลาเดินทาง
สำหรับเครือข่ายไฮสปีดเทรน ไว้แล้วและคาดหวังไว้ว่าราคาน่าจะลดลงอีก

สายเหนือ:
- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-นครสวรรค์ (หนองปลิง) เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที ค่าโดยสาร 384 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-พิษณุโลก เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที ค่าโดยสาร 845 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท

สายตะวันออกเฉียงเหนือ:
- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที ค่าโดยสาร 410 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที ค่าโดยสาร 709 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาทีี ค่าโดยสาร 984 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาทีี ค่าโดยสาร 661 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที ค่าโดยสาร 912 บาท

สายใต้:
- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาทีี ค่าโดยสาร 360 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-แม่กลอง-หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที ค่าโดยสาร 295 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที ค่าโดยสาร 1,037 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที ค่าโดยสาร 1,499 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที ค่าโดยสาร 1,571 บาท

สายตะวันออก:
- กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที ค่าโดยสาร 350 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-บางปะกง-ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาทีี ค่าโดยสาร 305 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที ค่าโดยสาร 530 บาท

- กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที ค่าโดยสาร 400 บาท

(ขอบคุณข้อมูลจากไทยรัฐออนไลน์)
http://www.oknation.net/blog/chainoy70/2013/10/10/entry-1
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 168, 169, 170 ... 547, 548, 549  Next
Page 169 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©