RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311277
ทั่วไป:13258747
ทั้งหมด:13570024
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 76, 77, 78  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 20/08/2013 8:42 pm    Post subject: Reply with quote

เจอแฟนเพจของ MAA Consultants วา่ากำลังเร่งทำเรื่องกา่รศึกษาเส้นทางเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ ระยะทาง 323 กม. และ ทางสายบ้านไผ่ - มุกดาหาร - นครพนม อยู่
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=570480296347872&set=a.426694017393168.98779.426629864066250&type=1&relevant_count=1
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2013 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

หอฯ เหนือ 17 จว.นัดหารือ มท.1-ดันลอจิสติกส์รับสะพานข้ามโขง 4

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21
21 สิงหาคม 2556 17:01 น.


พิษณุโลก - หอการค้า 17 จังหวัดเหนือนัดลงพื้นที่ดูค้าชายแดนเชียงราย ก่อนหารือร่วม มท.1 ดันลอจิสติกส์ รถไฟรางคู่เด่นชัย-เชียงราย เชื่อมสะพานข้ามโขง 4 รับการขนถ่ายสินค้าไทย-จีนตอนใต้

นายวิโรจน์ จิรัฐติกาลโชติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ตนได้ประสานหอการค้า 17 จังหวัดภาคเหนือ เพื่อเชิญเข้าร่วมประชุม และลงพื้นที่ติดตามงานการค้าชายแดนที่อำเภอเชียงของ จ.เชียงราย ในเช้าวันพรุ่งนี้ (22 ส.ค.) โดยมีกำหนดลงพื้นที่ดูงานการค้าชายแดนสามเหลี่ยมทองคำ-เชียงของ ก่อนประชุมร่วมกันที่โรงแรมโกลเด้นไทรแองเกิ้ลฯ เพื่อหารือเรื่องปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ทางการค้าที่มีอยู่

จากนั้นในวันรุ่งขึ้น (23 ส.ค.) หอการค้าฯ มีกำหนดประชุมร่วมกับนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่โรงแรมดุสิต ไอช์แลนด์รีสอร์ท อ.เมืองเชียงราย ซึ่งเบื้องต้นได้เตรียมหารือเรื่องการผลักดันให้พัฒนาระบบลอจิสติกส์ที่ประเทศไทยจะต้องเร่งสร้างรถไฟรางคู่จากสถานีเด่นชัย-เชียงราย เชื่อม อ.เชียงของ จ.เชียงราย รับกับสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 ที่จะแล้วเสร็จและเปิดใช้ภายในปีนี้ รองรับการขนถ่ายสินค้าจากจีนตอนใต้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2013 6:02 am    Post subject: Reply with quote

‘แพร่’ ปรับยุทธศาสตร์เดินหน้าสู่เออีซี
ข่าวเศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันพุธที่ 16 ตุลาคม 2556 เวลา 00:00 น.


One Axis, Four Belts และ Six Zone คือ 3 ยุทธศาสตร์หลักของแนวทางการพัฒนาจังหวัดแพร่เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่เออีซี ในฐานะที่แพร่กำลังจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมซึ่งมีชุมทางรถไฟเด่นชัยเดิมเป็นพื้นฐานเริ่มต้นก่อนที่โครงการพัฒนาโครงการข่ายทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์

“รถไฟรางคู่เป็นสิ่งที่ชาวแพร่รอมาถึง 70 ปี โดยเริ่มต้นจากเด่นชัย จ.แพร่ เข้าสู่ลำปาง พะเยา ก่อนจะข้ามไปเชียงราย และเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาวที่ อ.เชียงของ โดยรถไฟรางคู่นี้จะเป็นเหมือนกระดูกสันหลังสำคัญให้กับการก้าวสู่เออีซี เราจึงนำจุดนี้มาเป็นแนวหรือแกนในการพัฒนาระดับพื้นที่ต่อไป ซึ่งในอนาคตแพร่จะเป็น Railhub ที่สำคัญมากขึ้นจากเดิมที่เป็นชุมทางใหญ่อยู่แล้ว” นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ระบุ

ขณะที่ยุทธศาสตร์ด้านต่อมาอย่าง Four Belts นั้นกำหนดให้มีการพัฒนาเมืองคู่โดยหาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของแต่ละอำเภอแล้วจับคู่กันเพื่อผลักดันความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว อ.เมืองแพร่กับ อ.สอง ด้านการเกษตรคุณภาพสูง อ.หนองม่วงไข่กับ อ.ร้องกวาง ด้านโอทอป อ.สูงเม่นกับ อ.เด่นชัย และด้านป่าเศรษฐกิจ อ.ลองกับ อ.วังชิ้น

“ด้านท่องเที่ยวนั้นแพร่จัดเป็นหนึ่งในจังหวัดภาคเหนือที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,200 ปี ขณะที่ด้านการเกษตรแพร่สามารถผลิตข้าวหอมดอกมะลิ 105 ได้ปีละกว่า 5,000 ตัน ส่วนป่าเศรษฐกิจของแพร่นั้นก็คือไม้สักทอง ซึ่งจะมีการเพิ่มไม้ผลอย่างเงาะ ลองกอง ทุเรียนเข้าไปด้วย”

สำหรับ Six Zone นั้นจะยึดตามการพัฒนาเส้นทางรถไฟรางคู่ซึ่งจะผ่านพื้นที่จังหวัดแพร่ถึง 82 กิโลเมตร 5 อำเภอ 23 ตำบล จำนวน 5 สถานี 6 แห่ง

“สิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแรกก็คือ ศูนย์เก็บกองสินค้า เพราะการค้าชายแดนทางภาคเหนือมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่การขนส่งทางรถยนต์มีต้นทุนที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหากเปลี่ยนมาขนส่งด้วยระบบรางต้นทุนจุดนี้จะลดลง ทั้งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา และลดปัญหาสินค้าเสียหายระหว่างการขนส่งไปพร้อมกัน โดยเฉพาะสินค้าการเกษตรซึ่งน่านและพะเยาเป็นแหล่งผลิตข้าวโพด ถั่วเหลือง และพริกที่สำคัญ”

นอกจากลานเก็บกองสินค้าซึ่งจะเป็นการส่งเสริมศักยภาพในการขนถ่ายสินค้าจากระบบรางสู่ระบบถนนแล้ว โซนเศรษฐกิจใหม่คือสิ่งที่จะมาทดแทนเมืองเก่าที่จะถูกอนุรักษ์ไว้ โดยยึดเอาสถานีรถไฟเมืองแพร่และแม่ลายเป็นจุดหลัก ที่ดินกว่า 600 ไร่ที่เคยจะถูกพัฒนาเป็นศูนย์ราชการจะได้รับการนำมาปัดฝุ่นใหม่

“เมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นทางราชการจะต้องเป็นผู้นำโดยเรามีแผนที่จะเริ่มด้วยโครงการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาแห่งที่ 3 ของประเทศซึ่งจะเกิดขึ้นที่แพร่ ก่อนจะตามไปด้วยสนามกีฬา และวิทยาลัยชุมชนซึ่งมีแผนที่จะควบรวมสถาบันการศึกษาหลายแห่งของภาคเหนือเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งรวมทั้งโรงเรียนป่าไม้เดิมที่เคยมีและหายไปหลังจากนโยบายปิดป่า เมื่อราชการนำไปก่อนแล้วพื้นที่ของภาคเอกชนที่อยู่โดยรอบก็จะค่อย ๆ พัฒนาตามมา”

ขณะที่โซนอุตสาหกรรมนั้นสำหรับแพร่จะไม่ใช่แหล่งผลิตสินค้า แต่จะเน้นไปที่การประกอบชิ้นส่วน ซึ่งจะเกิดตามมาหลังโครงการรถไฟรางคู่เริ่มต้น โดยมีเนื้อที่ประมาณ 1,250 ไร่ ซึ่งจะมีการวางผังเมืองควบคุมให้อยู่ในฐานะนิคมอุตสาหกรรม ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้สักที่ทำรายได้ให้กับแพร่ถึงปีละกว่า 5,000 ล้านบาท จะถูกผลักดันขึ้นมาให้เป็นสินค้าถูกกฎหมายทั้งหมด โดยแพร่มีพื้นที่ป่าสักปลูกที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2453 ทั้งในส่วนขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) และเอกชนรวมกันถึง 1.5 แสนไร่

เช่นเดียวกับสุราพื้นบ้านของ ต.สะเอียบ อ.สอง ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่า 200 ปี สร้างรายได้ให้รัฐถึง 330 ล้านบาทในช่วงเวลาเพียง 10 เดือน ส่งขายใน 33 จังหวัด จะได้รับการยกระดับเพิ่มมูลค่าให้เทียบเท่ากับสาเกของญี่ปุ่น หรือเหมาไถของจีน ซึ่งจะเน้นการเป็นของที่ระลึกเน้นตลาดบนรองรับเออีซีโดยเฉพาะ

ก่อนจะตบท้ายด้วยการเปลี่ยนฐานะของผู้ผลิตข้าวหอมมะลิที่มีผลผลิตต่อไร่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ ไปอยู่ในฐานะผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิซึ่งประเทศไทยกำลังขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี โดยมีเป้าหมายเป็นศูนย์พัฒนาและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพสูง

“ปัจจุบันนี้จีดีพีของแพร่อยู่ที่ 3 หมื่นล้าน ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 64 ของประเทศ หากการเปลี่ยนฐานะไปเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีป้อนให้กับตลาด จะทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นอีก 2 เท่า ขณะที่ไม้สักหากนำเข้าระบบทั้งหมดจาก 5,000 ล้านจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 หมื่นล้าน ก็จะยิ่งทำให้จีดีพีขยับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้แพร่ไม่เป็นจังหวัดที่ถูกมองว่ายากจนอีกต่อไป” ผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวทิ้งท้าย.
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 16/10/2013 10:15 am    Post subject: Reply with quote

เห็นไหม ? คนในพื้นที่เขายังมองถึงอนาคตแล้ว

ดีกว่าออกแค่ข่าวว่าจะสร้าง แต่...แต่ว่า ให้ สนข.สำรวจความเหมาะสมครั้งที่ 500 ก่อน Sad
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2013 10:06 am    Post subject: Reply with quote

แนว เส้นทางเด่นชัย - เชียงราย -เชียงของดูได้ที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.209704845752903.52478.198992853490769&type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2013 8:49 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
คุณชัชชาติว่า รัฐบาล เร่งผลักดันโครงการทำรถไฟทางคู่ จากเด่นชัย (แพร่) มาพะเยา เข้าเชียงราย ไปเชียงของ เป็นทางรถไฟที่อนุมัติตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษฎิ์ เมื่อ 50 ปีที่แล้ว
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=740188605995463&set=a.403008829713444.112308.387053304642330&type=1&ref=nf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/06/2014 4:01 pm    Post subject: Reply with quote

เร่ง'รถไฟรางคู่'สายเหนือตอบโจทย์โลจิสติกส์อาเซียน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557 สกาวรัตน์ ศิริมา

หอการค้าจังหวัดแพร่ แนะแจ้งเกิดโครงการรถไฟรางคู่เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย ระบุเป็นโครงการที่ผลักดันมานานกว่า 30 ปีชี้ข้อดีเพิ่มโครงข่ายเส้นทางรถไฟในพื้นที่ภาคเหนือ เชื่อมโยงกับประเทศจีนพม่า สปป.ลาวในอนาคต ลั่นเป็นโครงการระดับประเทศรองรับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์กลุ่มประเทศอาเซียน ขณะที่หอการค้าภาคเหนือเผยมีความเหมาะสมใช้ประโยชน์ควบคู่ขนส่งสินค้า-โดยสาร เสนอเป็นวาระเร่งด่วนหากล่าช้ามีโอกาสเสียเปรียบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

นายกิจชัย กิจภิญโญ ประธานหอการค้าจังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ทำการศึกษาไว้เรียบร้อยแล้ว เป็นโครงการที่ใช้เวลานานกว่า 30 ปี จึงอยากให้ทุกฝ่ายได้คำนึงว่าไม่ใช่เป็นแค่เส้นทางคมนาคมขนส่ง อย่างเดียว แต่ยังรองรับการโดยสารของประชาชนด้วย และถือเป็นโครงการระดับประเทศ ที่ต่อไปจำเป็นต้องใช้เส้นทางรถไฟ ในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558

จุดเชื่อมโครงข่ายอาเซียน

โดยตอนนี้ประเทศเพื่อนบ้านเร่งพัฒนาระบบคมนาคมเชื่อมโยงกับภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะจีนได้เปิดใช้เส้นทางบกอาร์ 3 เอ จากจีนผ่านลาวแล้ว สามารถข้ามผ่านสะพานแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) มายังจังหวัดเชียงรายได้อย่างสะดวก

ขณะที่จีนมีโครงการจะสร้างรถไปผ่านสปป.ลาวเชื่อมต่อกับไทย หากประเทศไทยมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงรายให้เกิดเป็นรูปธรรม จะทำให้โครงข่ายรถไฟไทย เชื่อมโยงกับประเทศในกลุ่มอาเซียนได้ และจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ เพราะขณะนี้ทั้งทางบก และทางน้ำ เชื่อมต่อกันได้หมดแล้ว หากว่ามีทางรถไฟเพิ่มขึ้น จะทำให้การพัฒนาระบบโลจิส์ติกส์ มีผลต่อต้นทุนขนส่งสินค้าถูกลงสามารถทำการแข่งขันในตลาดอาเซียนได้

แห่ลงทุนแพร่คึกคัก

โดยตอนนี้มีนักลงทุนจากมณฑลเทียนจินของจีน ได้เข้ามาร่วมทุนกับเอกชนแพร่ พัฒนาด้านท่องเที่ยว, พลังงาน และแปรรูปทางการเกษตรร่วมกัน รวมถึงนักลงทุนจากมาเลเซียเข้ามาร่วมทุน ตั้งโรงงานผลิตข้าวโพดหวานแช่งแข็ง และผลไม้แช่แข็งที่จังหวัดแพร่ เพื่อส่งออกไปญี่ปุ่น และตะวันออกกลาง

"แม้ว่าตอนนี้โครงการนี้ยังไม่เกิดเป็น รูปธรรม แต่การลงทุนรอบแนวตะเข็บชายแดนของภาคเหนือกลับเติบโตอย่างก้าวกระโดด แม้กระทั่งจังหวัดแพร่ ในฐานะที่ ถูกวางตำแหน่งเป็นสถานีต้นทางของรถไฟเส้นใหม่ ก็ได้เตรียมพื้นที่จะรองรับในอนาคตแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวบนพื้นที่ 20,000 ไร่ในเขตอำเภอสอง และโครงการสำรวจสร้างคอนเทนเนอร์ยาร์ด ในอำเภอเด่นชัย บนพื้นที่ 100 ไร่ ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเพียง ส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของจังหวัดแพร่ ที่จะปรับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมีความเป็นไปได้ว่าหากเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงรายเกิดขึ้นจริง โอกาสที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดแพร่ปีละ 20,000 ล้านบาทก็จะเพิ่มร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นอานิสงส์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น" นายกิจชัย กล่าว

ชี้ไม่เดินหน้าไทยเสียเปรียบเพื่อนบ้าน

นายวิโรจน์ จิรัฐิติกาลโชติ ประธาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ หอการค้าไทย กล่าวว่า ทางหอการค้าได้ ผลักดันให้เกิดรถไฟรางคู่เชื่อมต่อกับเส้นทาง ภาคเหนือมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเล็งเห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารที่จะมีทางเลือกในการใช้ บริการมากขึ้น ประกอบกับในปี 2558 จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

"หากยังไม่ลงมือดำเนินการ โอกาสในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านจะเสียเปรียบ โดยเฉพาะโครงการเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย ที่ใช้ เวลาในการศึกษา และเตรียมการมานานมากแล้ว แม้จะต้องใช้งบประมาณในการลงทุนสูง แต่ก็ต้องไม่มองข้ามในการสร้างทางรถไฟเส้นทางนี้"

ประการสำคัญ โดยศักยภาพของภาคเหนือเป็นพื้นที่ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศพม่า, ลาว และเชื่อมต่อไปยังจีน และเวียดนามได้อย่างสะดวก โดยทางจีนต่างให้ความสำคัญในการเชื่อมต่อระบบคมนาคมออกสู่ประเทศที่ 3 ผ่านทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันนี้เส้นทางรถไฟสายเหนือ ผ่านจังหวัดพิจิตร, นครสวรรค์, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, แพร่, ลำปาง และสิ้นสุด ที่จังหวัดเชียงใหม่ หากว่ามีการก่อสร้างเพิ่มในเส้นทางใหม่ คือ เด่นชัย-เชียงราย ก็จะทำให้โครงข่ายเส้นทางรถไฟสายเหนือเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟที่ทางจีนกำลังจะพัฒนาในสปป.ลาวมาบรรจบกัน หากเป็นไปตามนี้ จะทำให้เส้นทางรถไฟอาเซียนเกิดขึ้นเป็น รูปธรรม จึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายไม่ควรมองข้าม และควรเร่งปลดล็อค เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียโอกาสทางการค้า, การลงทุน และการท่องเที่ยว

เด่นชัย-เชียงของลงทุน 7.9 หมื่นล้าน

รายงานข่าวแจ้งว่า บริษัทเอ็มเอเอคอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ได้สรุปผลการศึกษาเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนอยู่ระหว่างรอการอนุมัติอีไอเอ เนื่องจากเส้นทางรถไฟดังกล่าวตัดผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำ 1 เอ คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 79,419 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างกว่า 71,000 ล้านบาท ค่าเวนคืนที่ดิน 3,808 ล้านบาท มีแนวเส้นทาง มีระยะทาง 323.10 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จังหวัดแพร่ ลำปาง พะเยา เชียงราย ทั้งหมด 26 สถานี โดยจังหวัดแพร่ มีระยะทาง 77.20 กิโลเมตร 6 สถานี คือ สถานีเด่นชัย, สูงเม่น, แพร่, แม่คำมี และหนองเสี้ยว

ส่วนจังหวัดลำปาง มีระยะทาง 52.40 กิโลเมตร 3 สถานี คือสถานีแม่ตีบ, งาว และปงเตา ขณะที่จังหวัดพะเยา มีระยะทาง 54.10 กิโลเมตร 6 สถานี คือ สถานีมหาวิทยาลัยพะเยา,บ้านโทกกวาก, พะเยา, ดงเจน, บ้านร้อง และบ้านใหม่ รวมถึงจังหวัดเชียงราย ระยะทาง 139.40 กิโลเมตร 11 สถานี คือ สถานีป่าแดด, ป่าแงะ, บ้านโป่งเกลือ, สันป่าเหียง, เชียงราย, ทุ่งก่อ, เวียงเชียงรุ้ง, ชุมทางบ้านป่าซาง, บ้านเกี๋ยง, ศรีดอนชัย และเชียงของ โดยจะเวนคืนที่ดินประมาณ 10,000 ไร่ รวมถึงเจาะอุโมงค์ 4 แห่ง รวม 13 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างเฉลี่ย 1,500 ล้านบาท ต่อกิโลเมตร ซึ่งตามแผนงานจะเปิดประมูลภายในปี 2557
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/06/2014 9:46 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นคสช.ลากรถไฟเข้าเชียงของ/นครพนม
วันพุธที่ 11 มิถุนายน 2014 เวลา 11:57 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

คมนาคม/ร.ฟ.ท.ชงคสช.เดินหน้า 2 โครงการแสนล้าน รถไฟทางคู่เหนือ-อีสานเชื่อมเออีซี เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ และบ้านไผ่-นครพนม หลังพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านล่ม เผยเบื้องต้นคสช.ไฟเขียวแล้ว ลุ้นช่วงสุญญากาศ ใช้อำนาจยกเว้นทำอีไอเอ แย้มต้องเวนคืนกว่า 2 หมื่นแปลง ด้านเอกชนเชียงราย-นครพนมเชียร์สุดตัวชี้เป็นผลดีต่อการค้าชายแดนไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้เร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 2 สายทางเชื่อมประเทศเพื่อนบ้านหรือรถไฟทางคู่เชื่อมอาเซียน(ดูแผนที่ประกอบ) ซึ่งในเบื้องต้นทางคสช. เห็นด้วยกับ 2 โครงการดังกล่าว เนื่องจากมีประโยชน์ต่อการค้าชายแดนและอยู่ในช่วงใกล้เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีปลายปี 2558

ต่อเรื่องนี้แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กล่าวให้รายละเอียดถึงโครงการรถไฟทางคู่เชื่อมอาเซียนจำนวน 2 โครงการเพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศคู่ค้าอย่างจีน รถไฟทางคู่ดังกล่าวประกอบด้วย 1.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 324 กิโลเมตร จำนวน18 สถานี มูลค่า 7.7 หมื่นล้านบาท ออกแบบแล้วเสร็จอยู่ระหว่างพิจารณาอีไอเอ จากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และ2.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สาย บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด -มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร มูลค่า 4.2 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบคาดว่าแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2557 อย่างไรก็ดีหากผ่านขั้นตอนอีไอเอ ก็สามารถตั้งงบประมาณหรือกู้เงินเพื่อก่อสร้างได้ทันที โดยใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี โดยทั้ง 2 เส้นทางดังกล่าวนี้อยู่ในแผนพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาทที่ล่มไป

++สบช่องขอ คสช.เว้นอีไอเอ

อย่างไรก็ดีอุปสรรคสำคัญของการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานรัฐ คือ จะต้องผ่านอีไอเอ ถึงจะก่อสร้างได้ ซึ่งที่ผ่านมาต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปีในขั้นตอนนี้ ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ในสมัยรัฐบาลชุดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ติดปัญหาในเรื่องแนวสายทางผ่านพื้นที่อุทยานลุ่มน้ำชั้น1 เอ รอยต่อจังหวัดพะเยากับเชียงราย แต่ร.ฟ.ท.ชี้แจงว่า ไม่ได้ตัดผ่านพื้นที่โดยตรง แต่เป็นการปรับรูปแบบให้เป็นอุโมงค์มุดใต้พื้นที่อุทยาน

ขณะเดียวกันอุทยานก็มีปัญหาประชาชนบุกรุกแผ่วถางป่า ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหา ที่ผ่านมาได้นำกลับไปแก้ไขใหม่ อาจจะปรับแนวและทำอุโมงค์หลอดแก้วที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเข้าอีไอเออีกครั้ง คาดหมายว่าน่าจะผ่านแต่ปรากฏว่า เกิดยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน ดังนั้นจึงต้องเริ่มกระบวนการใหม่ แต่ในทางกลับกันในยุคที่ คสช. สามารถใช้อำนาจยกเว้นขั้นตอนพิจารณาอีไอเอได้ หรือขอให้คสช.อนุมัติคำสั่ง ให้สผ.จัดทำแพ็กเกจให้ร.ฟ.ท. ทำกำแพงกันเสียง ระบบระบายน้ำ เป็นต้น เพื่อลดผลกระทบประชาชนและสิ่งแวดล้อม

"ที่ผ่านมาทั้ง2โครงการเคยเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนแล้วและคนในพื้นที่ส่วนใหญ่เข้าใจ โดยภาพรวมการเวนคืนที่ดินทั้ง 2โครงการรวมกว่า 20,000 แปลง เนื่องจากแต่ละโครงการมีสายทางที่ยาวกว่า 300 กิโลเมตร ทั้งนี้จากการลงสำรวจพื้นที่และการประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืนก่อนหน้านี้เฉลี่ยโครงการละกว่า 10,000 แปลง ส่วนใหญ่จะเน้นผ่านพื้นที่ว่างที่เป็นเรือกสวนไร่นา โดยค่าเวนคืนที่ดินจะคำนวณจากราคาประเมินสถาบันการเงินและหน่วยงานราชการ ซึ่งถือว่าราคาไม่แพงมาก เช่น ที่ตำบลเวียงเชียงรุ้ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ราคาที่ดินอยู่ที่ไร่ละ 10,000 บาทเท่านั้นในปัจจุบัน"

++เอกชนยกมือเชียร์สุดตัว

ต่อเรื่องนี้นายพัฒนา สิทธิสมบัติ ประธานคณะกรรมการเพื่อโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ (คสศ.) หอการค้า 10 จังหวัดภาคเหนือ เปิดเผยว่า จังหวัดกลุ่มล้านนาตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดเชียงรายและพะเยา มีข้อด้อยอย่างหนึ่ง ก็คือ ไม่มีเส้นทางรถไฟในพื้นที่ โครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย จึงเป็นโครงการที่ทุกจังหวัดในล้านนาตะวันออก เรียกร้องผลักดันกันมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่าโครงการนี้จะเกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจในดินแดนล้านนาตะวันออกเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่ของการขนส่งคนและสินค้า ซึ่งหากดูในแง่ของการขนส่งคนที่เป็นการขนส่งมวลชน รถไฟจะเป็นทางเลือกที่ดีอย่างหนึ่งของประชาชน ที่สามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยและเสียค่าใช้จ่ายไม่สูง ในแง่ของการขนส่งสินค้านั้น การขนส่งสินค้าระบบรางได้มีการคำนวณกันแล้วว่ามีต้นทุนที่ต่ำและเหมาะสมกับสินค้าเกษตร

"เชียงรายที่เป็นจังหวัดปลายทางของเส้นทางนี้ การเกิดขึ้นของรถไฟเด่นชัย-เชียงราย จะทำให้ความเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเชียงราย มีความสมบูรณ์ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ คือ การขนส่งยางพาราจากพื้นที่จังหวัดทางภาคใต้ ด้วยรถไฟขึ้นมาที่เชียงราย แล้วลงเรือต่อไปที่เมืองจีน การขนส่งยางพาราแผ่นจากภาคใต้มายังจังหวัดเชียงรายในขณะนี้ ยังต้องใช้การขนส่งทางบกด้วยรถยนต์เป็นหลัก ระบบรางจะทำให้ต้นทุนค่าขนส่งต่ำลง ยางพาราของไทยจะมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น" นายพัฒนา กล่าว

เช่นเดียวกับนายชาญยุทธ อุปพงษ์ ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า หอการค้าจังหวัดนครพนมและผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมได้เสนอต่อคสช.ให้ผลักดันโครงการดังกล่าวไปแล้วเช่นกัน เพราะที่ผ่านมา มีเป้าหมายว่า จะเปิดใช้เส้นทางในปี 2562 แต่ยุบสภาเสียก่อน อย่างไรก็ดีถือว่าจะมีผลดีมาก ต่อการค้าชายแดน เพราะสปป.ลาวก็มีแผนลงทุนรถไฟทางคู่มาจ่อที่สะหวันนะเขตเช่นกัน

"ทุกวันนี้นครพนมถือเป็นเกตเวย์ค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสปป.ลาว เวียดนาม จีน ที่ส่งออกสินค้าทางรถไฟเสริมกับสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 ได้ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าส่งออก5หมื่นล้านบาท และปี 2557 คาดว่าจะทะลุแสนล้านบาท และยิ่งมีรถไฟทางคู่มาถึงก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าได้สูงมากขึ้นเท่าตัวโดยเฉพาะช่วงเปิดเออีซี"จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,956 วันที่ 12 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
siriwadhna
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 05/10/2009
Posts: 126

PostPosted: 30/07/2014 8:18 am    Post subject: Reply with quote

ข่าววันนี้ เรื่องรถไฟเยอะมาก แต่ขอตัดมาลงกระทู้ เด่นชัย เชียงราย เพราะอึ้งกับขนาดราง

ข่าวจากผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2557

http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000085942

...

นอกจากนี้ คสช.ยังเห็นชอบแนวทางการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ในอนาคต โดยใช้ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standgard Gauge) รถไฟขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ความเร็ว 160 กม./ชม. โดยในระยะเร่งด่วนจะดำเนินการ 2 โครงการ คือ 1. หนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 กม. วงเงิน 392,570 ล้านบาท (58-64) 2.เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 กม. วงเงิน 348,890 ล้านบาท (58-64) โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำผลศึกษารถไฟความเร็วสูงเดิมมาศึกษาทบทวนเพื่อต่อยอดการออกแบบให้สัมพันธ์กับแนวทางดังกล่าว ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงจากจีน-ลาว-ไทย-มาเลเซีย ขนส่งได้ทั้งผู้โดยสารและสินค้า กำหนดค่าโดยสารได้ต่ำ มีประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า ใช้เงินลงทุนต่ำกว่ารถไฟความเร็วสูงเฉลี่ย 30% เพราะใช้ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าต่ำกว่า รวมถึงค่าก่อสร้างเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 350-400 ล้านบาท/กม. ขณะที่รถไฟความเร็วสูงจะอยู่ที่ 550-600 ล้านบาท/กม. มีความเร็วมากกว่า 200 กม./ชม. ทำให้มีข้อจำกัดในการขนส่งสินค้า

...
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/07/2014 8:57 am    Post subject: Reply with quote

คอยดูอีกไม่นานจะมีข่าวจากฝั่ง สปป ลาว (และจีน) เรื่องรถไฟความไวสูง กลับมาอีกครั้งครับ
ก่อนหน้านี้ข่าวเงียบไปพักใหญ่ เพราะนโยบายรถไฟความเร็วสูงของไทย ที่ไม่แน่นอน Wink

เพราะจะเชื่อมต่อกับจีน ไม่ว่าจะทางเชียงของหรือหนองคาย ก็ต้องผ่าน สปป ลาว
แต่ดูแล้วลาวคงไม่อยากให้ผ่านทางเชียงของ-ห้วยทราย เพราะผ่านลาวเพียงนิดเดียว ไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจนะครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 76, 77, 78  Next
Page 21 of 78

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©