Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180457
ทั้งหมด:13491691
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
Goto page 1, 2  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/11/2013 8:10 pm    Post subject: นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน Reply with quote

สวัสดีครับ...

เป็นเวลานานพอสมควร ที่ผมได้พยายามค้นพระประวัติของนายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน อดีตผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ที่ทำให้กิจการรถไฟของประเทศไทยเป็นปึกแผ่น จนเป็นที่เลื่องลือไปยังชาวต่างประเทศ ทรงริเริ่มในสิ่งที่เรียกว่าแปลกใหม่ ทั้งต้านรถจักรดีเซล การท่องเที่ยว และโรงแรมรถไฟ ฯลฯ จนมาสบโอกาสได้รับหนังสือ ครบรอบ ๖๐ ปี การรถไฟแห่งประเทศไทย (พ.ศ.๒๔๓๙ - ๒๕๐๐) ซึ่งจัดพิมพ์โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่คณะผู้จัดทำวารสารรถไฟ ได้ลงพระประวัติค่อนข้างละเอียด โดยความเอื้อเฟื้อจาก ป๋านัฐ (Natthaphong) ซึ่งป่านนี้คงลืมแล้วกระมัง ? Razz จึงขออนุญาตนำลงเผยแพร่ให้ท่านที่สนใจได้ศึกษา และค้นคว้าต่อเนื่อง ซึ่งผมขอขอบคุณทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย และป๋านัฐ มา ณ โอกาสนี้ครับ

........................

Click on the image for full size

พระประวัติ
นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน


โดย คณะวารสารรถไฟ

ความเจริญยั่งยืนของสิ่งทั้งหลาย แผ่ซ่านสูงส่งถาวรเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับฐานที่ตั้งและเนื้อแท้ของสิ่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งมีชีวิต กฎธรรมดาข้อนี้ใช้บังคับตลอดถึงบรรดากิจการทั้งหลายทั้งปวง ที่ยังยืนเจริญอยู่ เพราะด้วยเนื้อแท้ในประโยชน์แห่งกิจการนั้นๆ และเพราะด้วยเนื้อแท้ในประโยชน์แห่งกิจการนั้นๆ และเพราะด้วยการริเริ่มอันรอบคอบเป็นระเบียบ การเจริญรอยสืบมา ย่อมนำไปสู่ความเจริญอย่างมิสงสัย

การรถไฟไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาแล้ว และกำลังวิวัฒนสู่ความเจริญตามกาลสมัย แต่การรถไฟไทยก็เป็นเช่นเดียวกับกิจการอื่นๆ มีการริเริ่มและดำเนินไปด้วยกำลังความสามารถของบุคคลผู้ปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งการร่วมนั้น จะสำเร็จเป็นผลได้ก็ด้วยอัจฉริยะของผู้เป็นหัวหน้า สามารถน้อมนำคนทั้งหลายให้ปฏิบัติงานในหน้าที่ของแต่ละคน กลมเกลียวเกื้อกูลซึ่งกันและกันตลอดไป ฉะนั้น เมื่อคำนึงถึงความเจริญยั่งยืนของการรถไฟไทยในบัดนี้ จึงเป็นการสมควรที่จะกล่าวถึงประวัติของบุคคลผู้เป็นหัวหน้าในกาลใด อันเป็นฐานที่ตั้งแห่งความเจริญยั่งยืนสืบต่อมาโดยนิยม และเมื่อคำนึงความข้อนี้ ประวัติความเป็นมาของการรถไฟ บ่งอยู่ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช เป็นผู้ทรงริเริ่มแล้ว ผู้ที่สามารถดำเนินกิจการรถไฟไทยให้มีความเจริญ และเป็นฐานที่ตั้งแห่งความเจริญเป็นอย่างสำคัญที่สุด สมความมุ่งหมาย สมความหมายของกิจการี้ ก็คือ นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระราชโอรสพระองค์หนึ่งในพระปิยมหาราชพระองค์นั้น


Last edited by black_express on 11/11/2013 9:23 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/11/2013 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า สมเด็จเจ้าฟ้าและพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ หลายพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญกรณีย์อันเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่ต่อแผ่นดินด้วยความปรีชาสามารถของแต่ละพระองค์นับแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ พระมหาธีรราชเจ้า ผู้ทรงสืบสันตติวงศ์ อนึ่ง ความแวดล้อมจากพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ครั้งนั้น ก็ล้วนแล้วไปด้วยท่านผู้ทรงความามารถยอดเยี่ยม เป็นที่ตั้งแห่งการอบรมกล่อมเกลาสมเด็จพระเจ้าฟ้าและพระราชโอรส ให้ทรงมีอัจฉริยภาพในทางต่างๆ นั้น ตั้งหน้าประกอบกรรมความดีเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองตามหน้าที่และความชำนาญของแต่ละพระองค์ ภายในความแวดล้อมและความมุ่งหมายโดยชอบเช่นนี้ ที่นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงได้รับการอบรมกล่อมเกลา และบำเพ็ญกรณีย์อันเป็นคุณประโยชน์ตลอดพระชนม์ชีพ

นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิม พะองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เป็นพระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาวาด (ในสกุล “กัลยาณมิตร” ราชินีกุล) รัชกาลที่ ๕ เป็นเจ้าจอมมารดา พระองค์ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๔

เมื่อยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาหนังสือไทยที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง พระยาโอวาทวรกิจ (แก่น) เป็นผู้ถวายพระอักษร

ประมาณ พ.ศ.๒๔๓๖ เสด็จออกไปทรงศึกษาวิชาในประเทศฝรั่งเศส และไปศึกษาในประเทศอังกฤษชั้นต้นที่โรงเรียนแฮร์โรว์ ซึ่งเป็นโรงเรียนในประเทศอังกฤษ นิยมกันว่าเป็นสำนักอบรมนิสัยอัธยาศัยเด็กเป็นอย่างดี อนึ่ง ก่อนเข้าเรียนในโรงเรียนชั้นต้นนี้ พระองค์ได้รับการศึกษาตระเตรียมจากครูสอนพิเศษฌพาะพระองค์ เมื่อสำเร็จการศึกษาจากแฮร์โรว์แว ได้ทรงศึกษาต่อไป ณ ตรินิตี้คอลเลซแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริช แล้วทรงศึกษาวิช่ทหารช่างที่ชัทแทม

ทรงสำเร็จการศึกษา ได้รับยศเป็นนายร้อยตรีในเหล่าทหารช่าง เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๔ แล้วเสด็จไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมในประเทศฝรั่งเศส และได้ประทับทอดพระเนตรการงานและทรงศึกษาหาความชำนาญด้วยพระองค์เองอยู่ในประเทศอังกฤษ จนถึงต้น พ.ศ.๒๔๔๗ จึงได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ รวมเวลาประทับศึกษาในประเทศอังกฤษราว ๑๐ ปี เมื่อเสด็จกลับกรุงเทพฯ แล้ว ทรงรับสัญญบัตรเป็นนายพันตรี เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๗

ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๘ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เศกสมรสกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธินฤมล ในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงษ์


Last edited by black_express on 11/11/2013 9:19 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/11/2013 8:22 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ครั้นวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๔๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เป็นกรมหมื่อกำแพงเพชรอัครโยธิน ตามความในหนังสือประกาศตั้เจ้านายดังต่อไปนี้

“อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร ได้เสด็จออกไปศึกษาวิชาการ ณ ประเทศอิงคแลนด์ ภายหลังได้ทรงเข้าศึกษาในวิชาทหารช่าง และเสด็จกลับเข้ามารับราชการฉลองพระเดชพระคุณในกรมยุทธนาธิการ ทรงพระอุตสาหพากเพียรในราชการมิได้ท้อถอย ทรงพระปรีชาสามารถในราชการทั้งปวงสมควรแก่หน้าที่ บัดนี้ก็เจริญพระชนมายุควรที่จะได้รับพระเกียรติยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมพระองค์หนึ่งได้

จึงมีพระบรมราชโองการ ดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าลูกยาเธอ พระอง๕เจ้าบุรฉัตรไชยากร ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธินพยัคนาม ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรม ในพระบรมมหาราชวัง จงทรงพระเจริญพระชนมายุพรณ สุข พล ปฏิภาณคุณสารสมบัติ สรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล วิบุลยศุภผล มโหฬารทุกประการ

ให้ทรงตั้งเจ้ากรม เป็นหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน ถือศักดินา ๖๐๐
ให้ทรงตั้งปลัดกรม เป็นหมื่นขาณุบุรินทร์โยธี ถือศักดินา ๔๐๐
ให้ทรงตั้งสมุห์บัญชี เป็นหมื่นโกสัมพีพลโยธา ถือศักดินา ๓๐๐

ให้ผู้ที่ได้เลื่อนตำแหน่งแลรับตำแหน่ง คงตำแหน่งยศทั้ง ๖ นี้ ทำราชการในหลวงและในกรม ตามอย่างธรรมเนียม เจ้ากรม ปลัดกรม สมุห์บัญชี ในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอต่างกรมทั้งปวงสืบไป ให้มีสุขสวัสดิ์เจริญ เทอญ”


Click on the image for full size

ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๔๙ ตั้งแต่วันที่ ๒๑ กันยายน ทรงดำรงตำแหน่งยศทหารเป็นนายพันเอก มีตำแหน่งเป็นจเรทหารช่าง ได้ทรงพระอุตสาหและพระปรีชา สามารถฝึกฝนอบรมวิชาการทหารช่างแก่นายทหารช่างอย่างเต็มพระกำลัง วิชาการทหารช่างได้เจริญขึ้นด้วยความบากบั่นแนะนำของพระองค์ แม้ในทุกวันนี้ หลักการใหญ่ๆ ในวิชาทหารช่าง ก็ยังใช้หลักที่พระองค์ท่านทรงวางไว้ บรรดานายทหารในเหล่าทหารช่าง จึงยังเคารพรักและนับถือพระองค์ท่านฐานเป็นครูบาอาจารย์อยู่ตนตลอดพระชนม์ชีพ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพรุจุลจอมเกล้าฯ นั้น เป็นเวลาที่ประเทศได้จัดระบอบทบวงการขึ้นใหม่ ตามแบบอย่างอารยประเทศ กองทัพบกก็อยู่ในวิสัยที่จะต้องเร่งรีบก่อตั้งและปรับปรุงให้สมแก่กาลสมัยเช่นเดียวกัน และนายทหารที่ได้ศึกษามานั้นก็หาได้โดยยาก เป็นโอกาสให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (ยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่น) ซึ่งทรงความอุตสาหะและปราดเปรื่อง ได้รับตำแหน่งในราชการทหาร และได้รับพระราชทานเลื่อนยศขึ้น ก่อนสิ้นรัชกาลที่ ๕ พระองค์ดำรงพระยศทหารเป็นนายพลตรี สัญญาบัตรลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๑ ทรงเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ เป็นราชองครักษ์พิเศษ และยังคงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่าง ทรงพระยศเป็นนายพลตรี

ครั้นล่วงมาในรัชกาลทื่ ๖ พระองค์ได้รับพระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็นนายพลโท เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๕ ต่อมาในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยายศ เป็นกรมขุนในพระนามเดิม ได้รับพระราชทานเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นแม่ทัพน้อยที่ ๑ แต่ยังคงทรงรั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกองพลที่ ๑ รักษาพระองค์ และจเรทหารช่างต่อไป


Last edited by black_express on 11/11/2013 9:19 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/11/2013 8:28 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ตำแหน่งแม่ทัพและผู้บัญชาการในทางทหารเช่นนี้ เป็นเครื่องแสดงความไว้วางพระราชหฤทัย ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงมีต่อพระองค์ ได้ปรากฎมาก่อนแล้วว่า ในคราวงานพระราชพิธีบรมราชาภิเศกรัชกาลที่ ๖ อันเป็นขณะเริ่มรัชสมัยนั้น ได้มีการรวมพลสวนสนามเป็นการใหญ่ พระองค์ทรงเป็นผู้นำกระบวนสวนสนามซึ่งมีทหารในบังคับบัญชาถึง ๔๓,๐๐๐ คน เป็นประวัติการณ์รวมพลในพระนครยามปกติ ซึ่งมีจำนวนทหารมากถึงเพียงนั้น และเป็นครั้งแรกที่นายพลของเราได้นำกองทัพใหญ่ทำการรับตรวจพลและเดินสวนสนามด้วยความเรียบร้อย ปรากฎแก่ผู้แทนมหาประเทศที่เข้ามาในงานพระราชพิธีนั้น พากันสรรเสริญพระปรีชาสามารถของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ มีอยู่เพียงไรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ย่อมตระหนักได้จากประกาศแต่งตั้ง ดังต่อไปนี้

“อนึ่ง ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงรับราชการในตำแหน่งจเรการช่างทหารบกมาแต่พระพุทธศักราช ๒๔๕๑ ในเวลาที่ทรงรับราชการอยู่ในตำแหน่งนี้ ได้ทรงพระดำริวางระเบียบวิธีจัดการงานในกรมนั้น ให้เรียบร้อยเป็นหลักฐาน ทั้งได้ทรงแต่งตั้งตำราเรียนและทรงทำการสอนด้วยพระองค์เอง และแนะนำให้ผู้สอนในวิชาช่างสำหรับทหาร นับว่าเป็นบ่อเกิดวิชาช่างทหารในกองทัพบกสยามเป็นอย่างดี เพราะพระองค์ท่านเป็นผู้รอบรู้กิจการช่างทุกประเภท ทั้งทางทหารและพลเรือนเป็นอย่างวิเศษ

นอกจากนี้ ได้ทรงรับราชการในตำแหน่งต่างๆ พรัอมกันไปกับตำแหน่งจเรการช่างทหารบก คือ ทรงเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๓ เป็นพระองค์แรกในตำแหน่งนั้น แล้วทรงเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๑ รักษาพระองค์ ซึ่งแต่ก่อนมา กองพลนี้ไม่เคยออกทำการในสนามได้เลย พึ่งมาออกทำการได้ในสมัยที่พระองค์เป็นผู้บัญชาการเป็นต้นมา

เห็นได้ว่า กองพลนี้มีความเจริญผิดแปลกขึ้นเป็นอันมาก แล้วได้ทรงเป็นแม่ทัพน้อยทหารบกที่ 1 เป็นพระองค์แรกในตำแหน่งนี้ ได้ทรวางการงานให้เป็นระเบียบแบบแผนเป็นอันดีต่อมา ได้ทรงเป็นจเรทัพบกและการปืนเล็กปืนกล อันเป็นตำแหน่งที่ต้องตรวจตราการทหาร และทางการงานทุกสิ่งทุกอย่างทั่วไปทั้งราชอาณาจักร เพื่อให้การดำเนินไปถูกต้องตามกฎข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม เป็นตำแหน่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำรงมาครั้งยังดำรงพระราชอิสริยายศเป็นสมเด็จพระยุพราช

เมื่อได้พิจารณาการงานที่พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธินได้ทรงกระทำมา เป็นที่เห็นได้ว่า พระองค์เป็นผ็ประกอบด้วยพระคุณวุฒิปรีชาสามารถในราชการและประกอบด้วยพระอุตสาหวิริยะเป็นอย่างยิ่ง เมื่อได้ทรงรับราชการอยู่ในตำแหน่งใดก็ได้ทรงจัดราชการในตำแหน่งนั้น ให้ได้ระเบียบเรียบร้อยเป็นหลักฐานอันดี มีความเจริญเป็นผลเห็นปรากฎ ทั้งได้ทรงพระอุตสาหเสด็จออกไปเที่ยวทรงตรวจการทหารบกทั้งในกรุงฯ และหัวเมืองเนืองๆ มิได้ทรงเห็นแก่ความลำบากเหน็จเหนื่อย สมควรจะนับว่าทรงเป็นผู้สมารถในราชกิจเป็นอย่างเอกได้พระองค์หนึ่ง อีกทั้งในส่วนพระองค์ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน ก็ได้ทรงสำแดงปรากฎชัดด้วยประการต่างๆ ว่า ทรงมีความจงรักภักดีรักใคร่ในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทยิ่งนัก จึงได้ทรงรับราชการในพระองค์โดยความเต็มพระราชหฤทัยทุกเมื่อ มิได้ทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยในเมื่อใดๆ เลย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเห็นน้ำพระหฤทัยของพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์นี้โดยถ่องแท้แล้ว จึงทรงพระราชทานสิเนหาและทรงพระเมตตานัก และทรงพระราชดำริว่า สมควรเลื่อนพระราชอิสริยายศให้ใหญ่ยิ่งขึ้น

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นกรมขุน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธินพยัฆนาม ให้ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง จงทรงพระเจริญพระชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ คุณสารสมบัติ สรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล วิบุลยศุภผล สกลเกียรติยศมโหฬารทุกประการ

ให้ทรงเลื่อน เจ้ากรม เป็นกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ถือศักดินา ๖๐๐
ปลัดกรม คงเป็นหมื่นขาณุบุรินทรโยธี ถือศักดินา ๔๐๐
สมุห์บัญชี คงเป็นหมื่นโกสัมพีพลโยธา ถือศักดินา ๓๐๐”


Last edited by black_express on 12/11/2013 8:21 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/11/2013 8:31 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ในบรรดาวิชาการและสิ่งประดิษฐ์ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าทดลอง และนำมาใช้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ทั่วไปนั้น วิชาการสร้าและใช้เครื่องบิน เป็นวิชาการอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง แลฃะนับวันจะทวีความสำคัญสืบไป ความคิดเรื่องการบินได้เกิดขึ้นก่อนในอเมริการาว พ.ศ.๒๔๕๐ เป็นที่สนใจขึ้นในทวีปยุโรปรับเอาความคิดนั้นไปสร้างเครื่องบินทดลอง

ต่อมาในปลายมกราคม ๒๔๕๓ มีชาวยุโรป ชื่อ วันเดนฟอน ได้นำเครื่องบินมาแสดงการบินให้ประชาชนชมที่สนามราชกรีฑาสโมสร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ก็ได้ไปทอดพระเนตร เป็นที่น่าอัศจรรย์กันทั่วไป

ในโอกาสนี้เอง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ซึ่งขณะนั้นยังดำรงพระอิสริยายศเป็นกรมหมื่น ได้ทรงเห็นการณ์ไกล ทรงทดลองขึ้นเครื่องบินของนายวันเดอฟอนเป็นชุดแรกของผู้โดยสารเมื่อนำออกแสดงต่อประชาชน

และเมื่อนายวันเดนฟอนแสดงให้ประชาชนชมแล้ว ก็ทรงซื้อเครื่องบินลำนั้นไว้เพื่อศึกษา และได้กราบทูลปรึกษาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น จัดส่งนายทหารไทยออกไปเรียนวิชาการสร้างเครื่องบินและการบิน มีนายพลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ เป็นต้น กิจการบินได้ไหวตัวและเริ่มขึ้นในประเทศไทย แต่ในสมัยแรกของการค้นคว้าทดลองที่เริ่มขึ้นในอเมริกาและยุโรป การเตรียมและเริ่มงานเบื้องต้นด้วยการจัดตั้งโรงงานและสนามบินที่ดอนเมือง เป็นเครื่องแสดงพระปรีชาสามารถของพระองค์ยิ่งนัก
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/11/2013 8:48 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

นอกจากวิชาการบินที่พระองค์ทรงสนใจ และชักนำมาสู่ประเทศไทยอย่างได้การได้งานแล้ว ก็มีวิชาช่างวิทยุอีกวิชาหนึ่ง ทรงสนพระทัยมาตั้งแต่ในปลายสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้กราบทูลถามไปเมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งสุดท้าย (ร.ศ.๑๒๖) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงตอบมา มีความตอนหนึ่งในพระราชหัตถเลขา ดังนี้

“ถึง บุรฉัตร

พ่อได้รับหนังสือแต่แรกมาฉบับ ๑ ของหญิงเล็กด้วยฉบับ ๑ ไม่ได้ตอบ ไม่ใช่นึกรังเกียจอย่างหนึ่งอย่างใด แต่ไม่มีธุระอะไรมาก ก็คิดเห็นว่าไม่สำคัญจึงเฉยไป บัดนี้ได้รับอีกฉบับหนึ่ง ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ซึ่งได้รับตำแหน่งราชการหลายตำแหน่ง และมีความชื่นชมทำงานด้วยความอุตสาหนั้นเป็นที่พอใจนัก

เรื่องโทรเลขไม่มีสาย มันยังไม่สู้สนิทแท้ แต่สามารถที่จะเล่าได้ดีกว่าที่เคยฟังใครเล่ามา ตามที่ได้เห็นนั้นเป็นอย่างเยอรมัน เป็นข้อที่ไม่ถูกคอกันกับมาโกนี ต่างคนต่างเถียงกันว่าใครเอาอย่างใคร ได้เห็นที่เขาทำใช้สำหรับกองทหารดูยังประดักประเดิดมากและจำเป็นต้องมีสเตชั่น ถ้าไม่มีสเตชั่นคงจะยังใช้ไม่ได้ จึงอยากรู้เรื่องนี้ พ่อจึงขอให้หม่อมชาติไปดู หม่อมชาติได้ไปเห็นแล้วคงจะอธิบายได้ดีกว่าพ่อมาก เพราะพ่อมีเวลาดูน้อยและไม่ได้จดจำเลย...”

การวิทยุกระจายเสียง ที่จัดทำกันแพร่หลายในบัดนี้ เริ่มด้วยสถานีทดลอง ๑ พีเจ.ของพระองค์
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/11/2013 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

กิจการสำคัญอย่างหนึ่งที่ทรงปฏิบัติอีกส่วนหนึ่งเป็นผลความเจริญอย่างไพศาลแก่ประเทศชาติไทย คือ การรถไฟไทย แต่เดิมนั้นต้องอาศัยชาวต่างประเทศเป็นผู้บัญชาการและอำนวยการในหน้าที่สำคัญๆ ครั้นเมื่อรัฐบาลไทยประกาศสงครามเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ณ วันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๔๕๙ ในสงครามโลกครั้งแรก ตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงขณะนั้นว่างลง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ไปรักษาการในตำแหน่งนั้น ครั้นวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๐ ก็ได้ตราพระราชกฤษฎีกา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ ซึ่งขณะนั้นมียศเป็นนนายพลโท ตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง เพิ่มขึ้นจากตำแหน่งประจำในทางการทหารดังกล่าวมาแล้ว

การรถไฟ เป็นงานที่ต้องใช้วิชาช่างเป็นเอก และในการดำเนินงานการรถไฟ ก็เกี่ยวเนื่องอย่างกว้างขวางในศาสตร์ทั้งหลาย อันเป็นส่วนสำคัญในรัฐาภิปาลนโยบาย เช่น รัฐประศาสนศาสตร์ ยุทธศาสตร์ การเศรษฐกิจ และพาณิชยการ ตลอดจนการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยการสื่อสารขนส่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอย่หัว ทรงเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์เหล่านี้ และทรงดำเนินรัฐาภิปาลนโยบายเป็นคุณ เป็นประโยชน์ปลอดภัยแก่ชาติบ้านเมืองมาแล้วอย่างไร ก็ด้วยอาศัยพระปรีชาญาณเล็งการณ์ไกล จัดเลือกบุคคลประจำตำแหน่งสำคัญๆ ได้มั่นเหมาะ

การที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ มาดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงสมัยนั้น ดูเหมือนจะเป็นพระราชประสงค์จำนงหมายไว้แต่เดิมมากกว่าเป็นการบังเอิญเนื่องแต่สงคราม เพราะเมื่อทรงแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ให้เป็นผู้บัญชาการในเดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๐ แล้วนั้น ต่อมาในเดือนพฤจิกายน พ.ศ.เดียวกัน ก็ได้มีพระราชหัตถเลขาเป็นส่วนพระองค์แสดงความในพระราชหฤทัยที่ทรงมีอยู่ (พระราชหัตถเลขาลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๐) ทรงกล่าวว่า

“รู้สึกว่า ราชการกรมรถไฟ เป็นราชการสำคัญและมีงานที่ต้องทำมาก เพราะเต็มไปด้วยความยุ่งยาก และฉันรู้สึกว่าเป็นเคราะห์ดีอย่างยิ่งที่ฉันได้เลือกให้ตัวเธอเป็นผู้บัญชาการรถไฟ และอาจพูดได้โดยไม่แกล้งยอเลยว่า ถ้าเป็นผู้อื่นเป็นผู้บัญชาการ การงานอาจยุ่งเหยิงมากจนถึงแก่เสียทีได้ทีเดียว เมื่อความจริงเป็นอยู่เช่นนี้ ฉันจึงได้มารู้สึกว่า

๑) การงานกรมรถไฟไม่ใช่เป็นของที่จะวานให้เธอทำเป็นชั่วคราวเสียแล้ว จะต้องคิดอ่านเป็นงานแรมปี....

๒) ฉันเห็นว่า เธอควรจะต้องให้เวลาและกำลังส่วนตัวสำหรับกิจการรถไฟนี้มากกว่าอย่างอื่น....

จึงขอบอกตามตรง และเธอต้องอย่าเสียใจว่าในขณะนี้ เธอมีหน้าที่ราชการหลายอย่างเกินไป จนทำให้ฉันนึกวิตกว่า ภถึงแม้เธอจะเต็มใจรับทำอยู่ทั้งหมดก็ดี แต่กำลังกายของเธอจะไม่ทนไปได้ จริงอยู่ฉันได้ยินเธอกล่าวอยู่เสมอว่า “ยอมถวายชีวิต” แต่ฉันขอบอกอย่างดื้อๆ เพราะฉันรักเธอว่า ฉันไม่ต้องการชีวิตของเธอ ฉันต้องการใช้กำลังความสามารถของเธอมากกว่า”

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงกล่าวต่อไปว่า จำเป็นที่ต้องขอให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์นี้ย้ายจากจเรทัพบก เพราะ “ฉันเห็นว่า จำเป็นต้องขอให้เธอใช้กำลังกายและสติปัญญาในทางรถไฟมากที่สุด.....ผู้ที่จะเป็นจเรทัพบก หาตัวแทนพอได้.....” และทรงกล่าวว่า “แต่การที่เธอจะย้ายจากจเรทัพบกแล้ว ก็คงจะยังติดต่อกับทหารบกอยู่ต่อไปเหมือนกัน เพราะทหารบกต้องการอาศัยความรู้ของเธอในทางการทหารช่าง”


Last edited by black_express on 12/11/2013 7:31 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/11/2013 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

กิจเบื้องแรกที่ทรงปฏิบัติ เมื่อทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงก็คือ การประกาศราชกฤษฎีการวมกรมรถไฟหลวงสายเหนือกับสายใต้เข้าเป็นกรมเดียวกัน ในการนี้ ได้ทรงมีแผนการแก้ไขทางสายเหนือซึ่งเป็นทางขนาดกว้าง ให้เป็นทางแคบขนาดเดียวกับทางสายใต้ และสามารถเดินรถไฟติดต่อกับสายสหรัฐมลายูซึ่งเป็นทางขนาดแคบเช่นเดียวกัน การดำเนินปฏิบัติตามแผนการนั้นเป็นมาโดยลำดับ

ในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายพลโท พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเลื่อนยศทหารขึ้นเป็นนายพลเอก

เมื่อได้รวมการรถไฟสายเหนือและใต้เป็นกรมเดียวกันแล้ว ก็ได้ทรงเป็นผู้นำในการออกพระราชบัญญัติจัดวางทางรถไฟและทางหลวง พ.ศ.๒๔๖๔ รวมราชการกรมทางหลวงซึ่งแต่เดิมแยกบังคับบัญชาอยู่ในที่อื่น ให้มาอยู่ในบังคับบัญชาเดียวกัน และบัญญัติให้การรถไฟราษฎร์ที่ได้รับอนุญาต และรถไฟอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับสภากรรมการรถไฟ


Last edited by black_express on 12/11/2013 7:32 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/11/2013 8:58 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

อนึ่ง นับแต่แรกที่ทรงปฏิบัติราชการในกรมรถไฟ พระองค์ทรงฝึกให้ข้าราชการไทย โดยการแนะนำสั่งสอนด้วยพระองค์เอง และโดยจัดให้มีนักเรียนสอบชิงทุนของกรมรถไฟออกไปศึกษาวิชาการรถไฟและการพาณิชย์ ณ ต่างประเทศ เพื่อเข้ามาสวมตำแหน่งสำคัญๆ แทนชาวต่างประเทศดั่งที่เคยจำเป็นต้องจ้างมาใช้แต่ก่อน ได้ทรงเริ่มนโยบายนี้เมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๖๑ และรุ่นสุดท้าย ได้ส่งไปในปี พ.ศ.๒๔๖๖ รวมเป็นนักเรียน รวมเป็นนักเรียน ๕๑ ค

Click on the image for full size

นโยบายนี้ได้รับผลอันสมบูรณ์ราวต้นปี พ.ศ.๒๔๗๕ นอกจากนั้น ยังทรงรับโอนนักศึกษาไทยที่ศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศแล้ว มาเป็นนักเรียนใช้ทุนของกรมรถไฟหลวงก็อีกหลายนาย ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิดชักนำให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยในกรมรถไฟมีความรู้สึกฉันมิตรซึ่งกันและกัน ร่วมมือฏิบัติราชการโดยมิให้เป็นไปเยี่ยงนายกับบ่าว ความร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวของข้าราชการกรมรถไฟนับแต่สมัยพระองค์ทรงบังคับบัญชา เป็นผลความเจริญแก่กรมรถไฟมาจนทุกวันนี้

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 11/11/2013 9:02 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ด้วยความอุสาหและพระปรีชาสามารถของพระองค์นับแต่ได้ทรงรับตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟ มีการเปลี่ยนแปลงและขยายงานที่สำคัญ ด้วยการปฏิบัติอันเป็นผลจากแผนการที่เป็นไปได้ของพระองค์นั้น ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ก็ได้ทรงรับพระราชทานเลื่อนพระอิสริยยศขึ้นเป็นกรมหลวง ในพระราชทินนามเดิม ตามความในประกาศ ดังต่อไปนี้

"ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้รับราชการฉองพระเดชพระคุณมาในกระทรวงกลาโหมในหน้าที่ต่างๆ คือ ทรงดำรงตำแหน่งจเรการช่างทหารบก และเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๓ แล้วเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๑ รักษาพระองค์ เป็นแม่ทัพกองทัพน้อยทหารบกที่ ๑ แล้วเปนจเรทัพบกและการปืนเล็กปืนกลโดยลำดับมา ได้ทรงปฏิบัติราชการในหน้าที่ให้ดำเนินเจริญยิ่งขึ้นเป็นอเนกประการ ด้วยพระคุณวุฒิปรีชาญาณอันสามารถประกอบด้วยพระพิริยะสุสาหเป็นอย่างยิ่ง ดังมีข้อความปรากฎอยู่ในประกาศเลื่อนกรมครั้งก่อนนั้นแล้ว


Click on the image for full size

ต่อมาเมื่อปีพระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ทรงพระราชดำริเห็นว่าการรถไฟเป็นการงานที่สำคัญ ด้วยเป็นการกระทำให้บังเกิดผลประโยชน์และนำมาซึ่งความเจริญแก่ประเทศแก่ประเทศ แต่ส่วนการบังคับบัญชาแยกกันอยู่เป็น ๒ แผนก คือ รถไฟทางสายเหนือแผนกหนึ่ง รถไฟทางสายใต้แผนกหนึ่ง มิได้รวมกัน สมควรจะจัดการงานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งจะได้ประหยัดพระราชทรัพย์ในการจ่ายและบำรุงจัดประโยชน์ให้เจริญเร็วยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน รับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง โปรดเกล้าฯ ให้รวมการรถไฟทางสายเหนือและทางสายใต้เข้ามาอยู่ในกรมบัญชาการอันเดียวกัน

Click on the image for full size

ครั้นเมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ นั้นเอง ประเทศสยามได้ประกาศสงครามกับประเทศเยอรมันนี้ ออสเตรียฮังการี ในขณะนั้นราชการของกรมรถไฟหลวงมีกิจการสำคัญอยู่ที่แผนกทางสายเหนือซึ่งได้ใช้ชนชาติเยอรมันประจำการอยู่เป็นอันมากแต่เดิมมา

อาศัยพระปรีชาของพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงดำเนินราชการในเหตุการณ์อันสำคัญนี้ด้วยความว่องไวสามารถ ได้ทรงจัดข้าราชการไทย และชนชาติสัมพันธมิตรเข้ารับเปลี่ยนหน้าที่การงานกับชนชาติศัตรูโดยฉับพลัน ได้จัดให้การก่อสร้างแลการเดินรถไฟคงให้ดำเนินเป็นปกติเรียบร้อยโดยตลอด มิได้มีเหตุเสียหายเลย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2  Next
Page 1 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©