Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180576
ทั้งหมด:13491811
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - จากสถานีบางกอกน้อย สู่...โรงพยาบาลศิริราช (ข่าวหนังสือพิมพ์)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

จากสถานีบางกอกน้อย สู่...โรงพยาบาลศิริราช (ข่าวหนังสือพิมพ์)
Goto page Previous  1, 2
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2013 6:23 pm    Post subject: Reply with quote

ย้อนรอย "คู่กรรม" ตามหาโกโบริที่ "สถานีรถไฟบางกอกน้อย"

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
29 มีนาคม 2556 15:30 น.
ท่านสามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com


เรื่องราวความรักของนายทหารหนุ่มแห่งกองทัพดินแดนอาทิตย์อุทัยกับสาวไทยฝั่งธนฯ แห่งคลองบางกอกน้อย จากนวนิยายเรื่อง “คู่กรรม” ของทมยันตี ถูกนำมาสร้างเรียกน้ำตาคนดูอีกครั้ง ทั้งในเวอร์ชั่นของโกโบริบี้ในจอแก้ว และโกโบริแบร์รี่ในจอเงิน

โกโบริบี้เรื่องราวกำลังสนุกเข้มข้นจนคนติดกันทั่วบ้านทั่วเมือง ส่วนโกโบริณเดชน์ก็ใกล้ลงโรงฉายเต็มทีและฉันเชื่อว่าสาวๆ จำนวนมากก็ตั้งตารอชมพร้อมควักตังค์ซื้อตั๋วกันแล้ว ฉันเองอาจจะ “อิน” กว่าคนอื่น เพราะพอได้เห็นกระแสคู่กรรมแล้วก็นึกอยากจะมาไว้อาลัยให้โกโบริและรำลึกความหลังสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาในสถานที่จริง วันนี้ก็เลยอยากพาทุกคนมาเยือน “สถานีรถไฟบางกอกน้อย”

ก่อนอื่นต้องเท้าความไปถึงตั้งแต่สมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้มีพระราชดำริให้ก่อตั้งกิจการรถไฟหลวงขึ้นในปี 2433 ด้วยสาเหตุทางความมั่นคงของประเทศ โดยเริ่มจากสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือก่อน แล้วจึงเริ่มสร้างทางรถไฟสายใต้

นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นการก่อสร้างสถานีรถไฟบางกอกน้อยในปี 2443 โดยตัวสถานีสร้างขึ้นบริเวณปากคลองบางกอกน้อยซึ่งเป็นที่ดินเวนคืนจากชุมชนชาวมุสลิม โดยพระองค์ได้พระราชทานที่ดินฝั่งตรงกันข้าม พร้อมกับสร้างมัสยิดอันซอริซซุนนะห์ (มัสยิดหลวง) ให้เพื่อเป็นการทดแทน


ทางรถไฟสายใต้ในขณะนั้นสร้างจากปากคลองบางกอกน้อยไปยังเพชรบุรี รวมระยะทาง 150 กิโลเมตร โดยเปิดเดินรถเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2446 ถือเป็นเส้นทางสู่ภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศ ผู้คนจากฝั่งพระนครที่ต้องการโดยสารรถไฟสายนี้จะต้องอาศัยเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยามายังสถานี เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีสะพานข้ามแม่น้ำ

ผู้คนในย่านคลองบางกอกน้อยอาศัยอยู่อย่างสงบใกล้กับสถานีรถไฟบางกอกน้อยได้ราว 40 ปี สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบไปทั่วโลก ประเทศไทยเองต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับสงครามครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อญี่ปุ่นซึ่งเป็นฝ่ายอักษะ ยกพลขึ้นบกบุกขึ้นฝั่งไทย บีบบังคับให้เราต้องยอมอนุญาตให้กองทัพญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทยเพื่อไปโจมตีพม่าและอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองในความควบคุมของฝ่ายสัมพันธมิตร


บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยจึงกลายเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในการบัญชาการ การขนส่งเสบียงและยุทธปัจจัยขึ้นรถไฟไปยังสะพานข้ามแม่น้ำแควเพื่อสร้างทางรถไฟต่อไปยังพม่า ดังนั้น ผู้คนในชุมชนย่านคลองบางกอกน้อยจึงได้รับผลกระทบจากสงครามในครั้งนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนเกิดเป็นเรื่องราวหลากหลายระหว่างชาวบางกอกน้อยและทหารญี่ปุ่น ทั้งรักทั้งชัง ทั้งสนุกทั้งเศร้า หลายรสชาติอย่างที่ในนวนิยายถ่ายทอดออกมา

แต่เรื่องที่ทำให้คนบางกอกน้อยเดือดร้อนที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องที่เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรวนเวียนมาทิ้งระเบิดแถวสถานีรถไฟบางกอกน้อยซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์อยู่บ่อยครั้ง แต่ละครั้งก็สร้างความสูญเสียมากบ้างน้อยบ้างแก่ชาวบ้าน แต่วันที่รุนแรงที่สุดก็คือวันที่ 29 พ.ย. 2487 เมื่อฝ่ายทหารพันธมิตรส่งฝูงบิน B-29 เข้าโจมตีทิ้งระเบิดบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อย เนื่องจากทราบจากฝ่ายข่าวกรองมาว่า ในวันนั้นกองทัพญี่ปุ่นจะมีการขนส่งสัมภาระยุทธปัจจัยจำนวนมาก ฝ่ายสัมพันธมิตรจึงเริ่มการโจมตีตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนของวันที่ 29 พ.ย. ไปจนรุ่งเช้า เล่ากันว่า ตอนเช้าหลังจากการทิ้งระเบิดในวันนั้นเงียบเหมือนป่าช้า ศพทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่อยู่เต็มริมคลอง จนสนามโรงเรียนสุวรรณารามยังไม่พอฝัง และพ่อดอกมะลิของเราก็คงเสียชีวิตจากแรงระเบิดในวันนั้นด้วยเช่นกัน

และสำหรับสถานีรถไฟบางกอกน้อยเองก็ถูกระเบิดทำลายจนแทบไม่เหลือซาก ดังนั้น เมื่อสงครามสงบ ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มีการสร้างสถานีขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปากคลองบางกอกน้อย โดยสร้างเป็นอาคารอิฐสีแดง มีหอนาฬิกา ซึ่งถือว่าเป็นอาคารที่มีความสวยงามมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง และตั้งชื่อสถานีนี้ใหม่ว่า “สถานีธนบุรี” และเปิดใช้งานอาคารหลังใหม่เมื่อปี 2493

หลังจากนั้นอีกราว 50 ปีต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อรถไฟสายใต้หลายขบวนได้เปลี่ยนต้นทาง-ปลายทางไปที่สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) สถานีธนบุรีจึงไม่คึกคักเหมือนก่อน และในปี 2542 ได้มีโครงการปรับปรุงอาคารสถานีธนบุรีและพื้นที่โดยรอบ การรถไฟจึงสร้างสถานีรถไฟอีกแห่งหนึ่งขึ้นมาในบริเวณใกล้เคียงกันเพื่อใช้เป็นที่รับส่งผู้โดยสารทดแทนสถานีธนบุรี ตั้งชื่อว่าสถานีบางกอกน้อย (ปัจจุบันสถานีอยู่บริเวณหลังตลาดศาลาน้ำร้อน)


และในที่สุด การรถไฟก็ได้มอบที่ดินและตัวอาคารบริเวณสถานีธนบุรีที่อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 33 ไร่ ให้แก่โรงพยาบาลศิริราช และเปลี่ยนไปใช้สถานีรถไฟบางกอกน้อยที่สร้างขึ้นใหม่ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีธนบุรี” ซึ่งก็ยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีทั้งขบวนรถชานเมือง รถธรรมดา และรถเร็ว วิ่งขึ้นล่องไปยังสถานีศาลายา (นครปฐม) สถานีหลังสวน (ชุมพร) สถานีน้ำตก (กาญจนบุรี) สถานีนครปฐม สถานีราชบุรี

นอกจากนั้น ในบริเวณใกล้เคียงสถานีธนบุรียังเป็นที่ตั้งของ “โรงรถจักรธนบุรี” ซึ่งเป็นสถานีบำรุงรักษา-ซ่อมแซมรถจักรดีเซล และเป็นที่เก็บรักษารถจักรไอน้ำที่เหลืออยู่ของการรถไฟฯ ซึ่งได้นำมาวิ่งลากจูงขบวนรถพิเศษในโอกาสสำคัญๆ เช่น วันสถาปนากิจการรถไฟ วันปิยมหาราช วันพ่อแห่งชาติ อยู่เป็นประจำ


ส่วนสถานีธนบุรีหลังเดิมที่ยกให้โรงพยาบาลศิริราชไปนั้น ปัจจุบันตั้งอยู่ในพื้นที่ของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ โดยทางโรงพยาบาลได้ปรับปรุงและจัดทำเป็น “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” เป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนวังหลัง-บางกอกน้อย และสิ่งแสดงทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์การแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราช ขอบอกว่าน่าเข้าไปชมมาก ซึ่งหากฉันมีโอกาสจะพาไปชมกันอีกที หรือหากใครอยากลองไปดูก่อนก็ตามสะดวก ซึ่งถ้าใครไปชมภายในวันที่ 30 มี.ค. ซึ่งเป็นช่วงแนะนำก็จะสามารถซื้อตั๋วในราคาพิเศษ คือผู้ใหญ่ 50 บาท (ปกติ 150 บาท) เด็ก 20 บาท (ปกติ 50 บาท) แต่ต้องรีบหน่อยเพราะเหลือเวลาแค่ 2 วันเท่านั้น


//--------------------------------------

"สถานีธนบุรี" ตั้งอยู่ที่ ถ.รถไฟ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ อยู่บริเวณด้านหลังตลาดศาลาน้ำร้อน ส่วน "สถานีบางกอกน้อย" (เดิม) ปัจจุบันเป็น “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เปิดวันจันทร์-เสาร์ 09.00-16.00 น. ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม เด็ก 50 บาท ผู้ใหญ่ 150 บาท (หากมาชมก่อนวันที่ 30 มี.ค. 56 เด็ก 20 บาท ผู้ใหญ่ 50 บาท)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2013 2:19 am    Post subject: Reply with quote

นี่ครับ เพจ พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ดูได้ที่ นี่ครับ
https://www.facebook.com/siriraj.museum

กว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.158503040981500.1073741843.141465012685303&type=1

เรื่อโบราณ ที่ พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.640114282682193.1073741831.307572292603062&type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 20/12/2013 9:52 pm    Post subject: Reply with quote

เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ธันวาคม 2556 19:53 น.


เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”
อาคารอนุรักษ์สถานีรถไฟธนบุรี (เดิม)

ฉันว่าช่วงนี้ในกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร อากาศเย็นสบายดีเป็นพิเศษมากกว่าในหลายๆ ปีที่ผ่านมา อากาศดีก็ทำให้อารมณ์ดี จะให้นั่งจับเจ่าอยู่บ้านก็กระไรอยู่ ว่าแล้วก็จัดแจงแต่งตัว ออกไปเที่ยวสนุกๆ แถมหาความรู้ไปในตัวกันดีกว่า

วันหยุดนี้ฉันก็เลยพาตัวเองมาอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชเสียเลย แต่ไม่ต้องตกใจว่าป่วยเป็นอะไร เพราะฉันจะมาเดินเที่ยวที่โรงพยาบาลแห่งนี้เท่านั้น ซึ่งอย่างที่เคยรู้กันว่าภายในโรงพยาบาลศิริราชนี้ก็มีพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์เปิดให้ผู้คนเข้าไปหาความรู้อยู่หลายแห่ง และล่าสุดนี้ก็ได้มีการเปิดพิพิธภัณฑ์ใหม่ ที่มีชื่อว่า “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” แบบนี้ฉันก็ต้องไม่พลาดที่จะเข้าไปเยี่ยมชมเสียหน่อย

เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”
ห้องโถงบรรยากาศสถานีรถไฟ

“พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” สร้างขึ้นบนพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่เดิมเคยเป็นที่ตั้งพระราชวังหลัง ต่อมามีการสร้างสถานีรถไฟธนบุรีและโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งเป็นพื้นที่ซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตของชุมชนบางกอกน้อย โรงพยาบาลศิริราชจึงได้รวบรวมประวัติศาสตร์ของพื้นที่นี้เพื่อนำมาจัดแสดงในอาคารสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) ที่เป็นอาคารอนุรักษ์ และมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

ฉันเดินมาถึงพิพิธภัณฑ์ก็ต้องยืนชื่นชมความสวยงามของอาคารอนุรักษ์ที่เป็นสีเหลืองอ่อนๆ สลับกับอิฐสีส้มแดง และด้านข้างยังมีหอนาฬิกาสูง ดูแล้วเป็นอาคารที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งใน กทม. เลยทีเดียว

เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”
ชมวิดีทัศน์เล่าเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์

พอเดินเข้ามาด้านในก็จะเจอกับห้องจำหน่ายบัตร ที่ตกแต่งบริเวณโดยรอบให้เหมือนกับสถานีรถไฟในสมัยก่อน ซึ่งก็เพื่อให้รำลึกถึงว่าสถานที่แห่งนี้คือสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) ที่เคยเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟสายใต้

ซื้อตั๋วเข้าชมกันแล้ว เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ก็พาฉันเข้ามาสู่การจัดแสดงห้องแรกที่มีชื่อว่า “ห้องศิริสารประพาส” ที่ห้องนี้จะนำเสนอเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์โดยรวมผ่านวิดีทัศน์และสิ่งจัดแสดงต่างๆ ส่วนฉันก็นั่งดูอยู่ที่เก้าอี้ไม้สักทองแบบที่นักศึกษาแพทย์หลายรุ่นเคยใช้มาก่อน

เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”
จิตรกรรมฝาผนังที่วิจิตรงดงาม

ส่วนจุดเริ่มต้นในการเดินชมพิพิธภัณฑ์ที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ “ห้องศิริราชขัตติยพิมาน” ซึ่งเป็นห้องฉันได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีต่อโรงพยาบาลศิริราช และการแพทย์ของประเทศไทย ทำให้พวกเราได้มีสุขภาพที่ดีกันเหมือนในทุกวันนี้

ถัดมาเป็น “ห้องสถานพิมุขมงคลเขต” ที่ฉันได้นั่งชมจิตรกรรมไทยที่สวยงาม บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ที่ผสมผสานแสงสีเสียงให้ได้ตื่นตาตื่นใจ และได้รับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมาย

เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”
ภาพยนตร์ 4 มิติ ตื่นตาตื่นใจ

สำหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ถึงแม้จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาล ก็ไม่ได้มีแค่เรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์เท่านั้น ยังมีประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และเรื่องราวของชุมชนในละแวกนี้ ที่นำเสนอผ่านการจัดแสดงในส่วนต่างๆ เริ่มจาก “ฐานป้อม” ที่เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงอดีตของพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ที่เคยตั้งอยู่ในพื้นที่นี้ ก่อนที่จะผ่านความทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา ใกล้ๆ กันก็มีการจัดแสดง “เครื่องถ้วยโบราณ” ที่ขุดค้นพบในช่วงที่มีการก่อสร้างอาคารสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช

หรือจะเป็น “แผนที่เมืองธนบุรี” ซึ่งเป็นแผนที่จำลองมาจากของเก่าที่เขียนโดยชาวพม่าที่ลักลอบเข้ามาสืบความลับในสยาม มีการลงรายละเอียดของสถานที่ต่างๆ และยังมีการเปรียบเทียบกับสถานที่ในปัจจุบัน ทำให้พอนึกออกว่าสมัยธนบุรีนั้นบ้านเมืองเราเป็นอย่างไรบ้าง

เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”
สัมผัสบรรยากาศห้องตรวจโรค

และห้องที่ฉันชอบที่สุดในส่วนของประวัติศาสตร์ก็คือ “ห้องโบราณราชศัตรา” ที่ห้องนี้จะจัดแสดงศาสตราวุธหลากหลายชนิดและหลากหลายชาติพันธุ์ที่ทรงคุณค่า เพราะว่าเป็นของเก่าที่ได้รับมอบมาจากราชสกุลเสนีวงศ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ข้างๆ ตู้จัดแสดงก็ยังมีวีดิทัศน์ที่บอกเล่าเรื่องเกี่ยวกับการทำความสะอาดและการเก็บรักษาศาสตราวุธต่างๆ ทำให้รู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยในการรักษาของเก่าให้อยู่ในสภาพดีขนาดนี้ และแม้ว่าห้องนี้จะถ่ายรูปไม่ได้ แต่ฉันก็ได้เก็บเอาภาพความวิจิตรงดงามของศาสตราวุธทั้งหลายเอาไว้ในใจ

ห้องถัดไปเป็นห้องสุดท้ายของบริเวณชั้นล่าง ในอาคารพิพิธภัณฑ์ 1 นั่นก็คือ “ห้องคมนาคมบรรหาร” ที่มีภาพยนตร์สี่มิติให้ได้ชมกัน ฉันลองไปยืนในห้องแล้วก็ใส่แว่นตาสี่มิติพร้อมๆ กับชมภาพยนตร์ไป ก็รู้สึกเหมือนเข้าไปยืนอยู่ในเหตุการณ์จริงตั้งแต่ช่วงการสร้างสถานีแห่งนี้ เข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องเอี้ยวตัวหลบลูกระเบิดไปด้วย จนกระทั่งมาถึงช่วงปัจจุบันของสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม)

เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”
ลองมาเป็นแพทย์ผ่าตัด

ขึ้นมาที่ชั้นสอง ก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาทางด้านการแพทย์กันบ้าง อย่างห้องแรก “งานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์” ที่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อันเป็นจุดเริ่มต้นของโรงพยาบาลศิริราช เนื่องจากไม้ อาคารประกอบ และเครื่องเรือนจากงานพระเมรุครั้งนี้ ได้นำมาสร้าง “โรงศิริราชพยาบาล” โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของแผ่นดิน

ห้องต่อมาเล่าเรื่องราวของโรงเรียนแพทย์ในยุคแรก ที่จะต้องเรียนรู้ผ่าน “หุ่นกายวิภาคมนุษย์” ที่ทำมาจากเยื่อกระดาษ และยังเล่าเรื่องราวของพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย ในห้อง “สมเด็จพระบรมราชชนก”

เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”
จำลองร้ายขายสมุนไพร

ถัดมา ฉันก็ได้เรียนรู้เรื่องราวทางด้านการแพทย์มากขึ้น ทั้งการตรวจโรคในเบื้องต้น การสืบค้น การวินิจฉัยและรักษาโรค ในห้อง “หุ่นโรควิเคราะห์” ที่จัดแสดงให้เหมือนกับห้องตรวจโรคผู้ป่วย และได้ลองเป็นคุณหมอฟังเสียงปอด เสียงหัวใจที่เต้นเป็นจังหวะต่างๆ เพื่อการวิเคราะห์โรค

แต่ส่วนที่สำคัญของการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่นักศึกษาแพทย์ทุกคนจะต้องรู้จักดี ก็คือ “อาจารย์ใหญ่” ซึ่งเป็นผู้ที่เสียสละร่างกายของตนเองให้ทำการศึกษา เพื่อผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพในอนาคต การจัดแสดงในส่วนนี้ใช้โต๊ะปฏิบัติการที่เคยรองรับอาจารย์ใหญ่มารุ่นแล้วรุ่นเล่า ทำให้ฉันรู้สึกได้ถึงความขลังผ่านการจัดแสดงและการจัดแสงในส่วนนี้

มาถึงอีกห้องที่ฉันชอบมากก็คือ “ห้องจำลองการผ่าตัด” เป็นการจำลองการผ่าตัดแบบย้อนยุค ให้ได้รู้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือ และบุคลากรที่ทำงานในห้องผ่าตัดมีใครบ้าง แล้วฉันก็ได้ลองมาเป็นศัลยแพทย์มือหนึ่ง ลองจับเครื่องมือผ่าตัดให้คนไข้ (จำลอง) เป็นประสบการณ์สนุกๆ อีกอย่างหนึ่งที่ฉันได้ลอง

เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”
ชุมชนบางกอกน้อยในสมัยก่อน

นอกจากเรื่องราวของแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ก็ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยอีกด้วย โดยในห้อง “มหัศจรรย์ร่างกายมนุษย์” จะมาไขรหัสการแพทย์จากมุมมองของแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์แผนที่ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และยังมีการจำลอง “ร้านโอสถวัฒนา” ร้านยาสมุนไพรไทยมาให้ได้ชมกัน

เดินมาก็ตั้งนาน เพิ่งจะหมดบริเวณของอาคาร 1 ออกมาที่ระเบียงชั้น 2 ที่เชื่อมต่อกับอาคารพิพิธภัณฑ์ 2 ก็มีมุมร้านกาแฟให้นั่งพักผ่อนก่อนจะเดินต่อไปยังอาคาร 3 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับชุมชนบางกอกน้อย

เริ่มจากการมาสักการะ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)” อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม พระมหาเถระที่ได้รับการเคารพศรัทธาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ไปจนถึงชาวบ้านทั่วไป แล้วก็มาลองชม “วิถีชีวิตชาวบางกอกน้อย” ที่มีการจำลองโรงละคร ร้านค้า ร้านอาหาร แสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนสองฝั่งคลองบางกอกน้อยในสมัยก่อนว่าเป็นอยู่กันอย่างไร

เที่ยวย้อนยุค เจาะเวลา พาสนุก ที่ “พพ.ศิริราชพิมุขสถาน”
เรือโบราณลำใหญ่

สุดท้ายก็เดินมาชม “เรือโบราณ” ที่ขุดค้นพบในพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งเรือลำนี้เป็นเรือไม้โบราณขนาดใหญ่ มีความยาวถึง 24 เมตร และถือว่าเป็นเรือไม้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเท่าที่เคยขุดค้นได้ เดินดูรอบๆ แล้วก็ต้องทึ่งในความสามารถของคนไทยเราที่สามารถต่อเรือลำใหญ่ได้ขนาดนี้

กว่าจะเดินชมจนครบทุกห้องที่อยู่ภายในพิพิธภัณฑ์นี้ ก็ต้องใช้เวลาเกือบหมดวันเลยทีเดียว แต่ก็ได้ความรู้พร้อมๆ กับความสนุกสนาน ที่ทำให้เพลิดเพลินจนลืมเวลาไปเลย สถานที่ดีๆ แบบนี้ มาแล้วก็ต้องบอกต่อให้คนอื่นลองมาชมด้วย จะได้มีความรู้และสนุกสนานเหมือนกันฉัน

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

“พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กทม. เปิดให้บริการวันจันทร์, พุธ-อาทิตย์ (หยุดวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00-17.00 น. ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก (ไม่เกิน 18 ปี) 25 บาท ต่างชาติ 200 บาท เด็กสูงไม่เกิน 120 ซม. เข้าฟรี

นอกจากจะมีพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถานแล้ว ภายในโรงพยาบาลศิริราชยังมีพิพิธภัณฑ์การแพทย์อีก 5 แห่ง ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้ในวันและเวลาเดียวกัน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส, พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน, พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา, พิพิธภัณฑ์กายวิภาค-คองดอน และ พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร

ซึ่งหากสนใจเข้าชมทั้งพิพิธภัณฑ์ศิริรราชพิมุขสถาน และพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช สามารถซื้อบัตรเดียวเที่ยว 2 พิพิธภัณฑ์ได้ในราคาพิเศษ ผู้ใหญ่ 150 บาท เด็ก (ไม่เกิน 18 ปี) 50 บาท ต่างชาติ 300 บาท เด็กสูงไม่เกิน 120 ซม.

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2419-2601, 0-2419-2618-9


//---------------------------------------------------------------
ท่าจะต้องไปสักคราวหนึ่งหละ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/12/2013 9:16 am    Post subject: Reply with quote

พิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ศิริราช (พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์) เคยไปเมื่อหลายปีก่อน สมัยนั้นยังเปิดให้เข้าชมเฉพาะวันธรรมดาครับ เสาร์-อาทิตย์ปิด แต่ตอนนี้คงเปิดวันเสาร์แล้ว
บรรยากาศอาคารเรือนไม้ มีศพดองน้ำยาตั้งแสดงไว้ ทำให้นึกถึงเรื่อง ตึกกรอสส์ ของ อ.อุดากรครับ
ส่วนพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ยังไม่เคยไปเลยครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/05/2019 2:37 am    Post subject: Reply with quote

รูปอาคารสถานีธนบุรีสมัยยังมีการใช้งานเดินรถ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2300151376698461&set=a.1903923496321253&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2019 12:56 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
พิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ศิริราช (พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์) เคยไปเมื่อหลายปีก่อน สมัยนั้นยังเปิดให้เข้าชมเฉพาะวันธรรมดาครับ เสาร์-อาทิตย์ปิด แต่ตอนนี้คงเปิดวันเสาร์แล้ว
บรรยากาศอาคารเรือนไม้ มีศพดองน้ำยาตั้งแสดงไว้ ทำให้นึกถึงเรื่อง ตึกกรอสส์ ของ อ.อุดากรครับ
ส่วนพิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน ยังไม่เคยไปเลยครับ


พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน นั้นผมพาเพื่อน จาก สิงคโปร์ที่ เป็น railfan มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ที่ว่านี้ครับ
//--------------------

“พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” เพลิดเพลินย้อนยุควังหลัง สู่เส้นทางการแพทย์
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 12 ส.ค. 2559 17:09
ปรับปรุง: 15 ส.ค. 2559 14:52



ในวันหยุดแบบนี้ จะให้นอนอยูบ้านก็คงไม่ใช่ฉันสักเท่าไร จึงขอหาที่เที่ยวพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจ ที่มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ให้ไปเยี่ยมชมแถวโรงพยาบาลศิริราชกันหน่อย ซึ่งอย่างที่รู้ว่าภายในโรงพยาบาลศิริราชนั้น มักจะมีพิพิธภัณฑ์ทางการแพทย์เปิดให้ผู้คนเข้าไปหาความรู้อยู่หลายแห่ง แต่วันนี้จะพาไปเที่ยว พิพิธภัณฑ์ที่มีทั้งเรื่องการแพทย์และถิ่นฐานดั้งเดิมของที่นี่ อย่าง “พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” นอกจากเรื่องเล่าขานแล้วที่นี่ยังเต็มไปด้วยความสนุกน่าตื่นเต้นอีกด้วย


“พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” สร้างขึ้นบนพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่เดิมเคยเป็นที่ตั้งพระราชวังหลัง ต่อมามีการสร้างสถานีรถไฟธนบุรีและโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งเป็นพื้นที่ซึ่งผูกพันกับวิถีชีวิตของชุมชนบางกอกน้อย โรงพยาบาลศิริราชจึงได้รวบรวมประวัติศาสตร์ของพื้นที่นี้เพื่อนำมาจัดแสดงในอาคารสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) ที่เป็นอาคารอนุรักษ์ และมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม


พอเดินเข้ามาด้านในก็จะเจอกับห้องจำหน่ายบัตร ที่ตกแต่งบริเวณโดยรอบให้เหมือนกับสถานีรถไฟในสมัยก่อน ซึ่งก็เพื่อให้รำลึกถึงว่าสถานที่แห่งนี้คือสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) ที่เคยเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟสายใต้ ซื้อตั๋วเข้าชมกันแล้ว เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ก็พาฉันเข้ามาสู่การจัดแสดงห้องแรกที่มีชื่อว่า “ห้องศิริสารประพาส” ห้องนี้จะนำเสนอเรื่องราวของพิพิธภัณฑ์โดยรวมผ่านวีดิทัศน์และสิ่งจัดแสดงต่างๆ ส่วนฉันก็นั่งดูอยู่ที่เก้าอี้ไม้สักทองแบบที่นักศึกษาแพทย์หลายรุ่นเคยใช้มาก่อน


ส่วนจุดเริ่มต้นในการเดินชมพิพิธภัณฑ์ที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ “ห้องศิริราชขัตติยพิมาน” ซึ่งเป็นห้องที่ฉันได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระเมตตาของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีต่อโรงพยาบาลศิริราช และการแพทย์ของประเทศไทย ทำให้พวกเราได้มีสุขภาพที่ดีกันเหมือนในทุกวันนี้

ถัดมาเป็น “ห้องสถานพิมุขมงคลเขต” ที่ฉันได้นั่งชมจิตรกรรมไทยที่สวยงาม บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ที่ผสมผสานแสงสีเสียงให้ได้ตื่นตาตื่นใจ และได้รับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมาย

สำหรับพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ถึงแม้จะเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาล ก็ไม่ได้มีแค่เรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์เท่านั้น ยังมีประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และเรื่องราวของชุมชนในละแวกนี้ ที่นำเสนอผ่านการจัดแสดงในส่วนต่างๆ เริ่มจาก “ฐานป้อม” ที่เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงอดีตของพระราชวังบวรสถานพิมุข (วังหลัง) ที่เคยตั้งอยู่ในพื้นที่นี้ ก่อนที่จะผ่านความทรุดโทรมลงไปตามกาลเวลา ใกล้ๆ กันก็มีการจัดแสดง “เครื่องถ้วยโบราณ” ที่ขุดค้นพบในช่วงที่มีการก่อสร้างอาคารสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช หรือจะเป็น “แผนที่เมืองธนบุรี” ซึ่งเป็นแผนที่จำลองมาจากของเก่าที่เขียนโดยชาวพม่าที่ลักลอบเข้ามาสืบความลับในสยาม มีการลงรายละเอียดของสถานที่ต่างๆ และยังมีการเปรียบเทียบกับสถานที่ในปัจจุบัน ทำให้พอนึกออกว่าสมัยธนบุรีนั้นบ้านเมืองเราเป็นอย่างไรบ้าง

และห้องที่ฉันชอบที่สุดในส่วนของประวัติศาสตร์ก็คือ “ห้องโบราณราชศัตรา” ที่ห้องนี้จะจัดแสดงศาสตราวุธหลากหลายชนิดและหลากหลายชาติพันธุ์ที่ทรงคุณค่า เพราะว่าเป็นของเก่าที่ได้รับมอบมาจากราชสกุลเสนีวงศ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ข้างๆ ตู้จัดแสดงก็ยังมีวีดิทัศน์ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการทำความสะอาดและการเก็บรักษาศาสตราวุธต่างๆ ทำให้รู้ว่าไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยในการรักษาของเก่าให้อยู่ในสภาพดีขนาดนี้ และแม้ว่าห้องนี้จะถ่ายรูปไม่ได้ แต่ฉันก็ได้เก็บเอาภาพความวิจิตรงดงามของศาสตราวุธทั้งหลายไว้ในใจ


ห้องถัดไปเป็นห้องสุดท้ายของบริเวณชั้นล่าง ในอาคารพิพิธภัณฑ์ 1 นั่นก็คือ “ห้องคมนาคมบรรหาร” ที่มีภาพยนตร์ 4 มิติให้ได้ชมกัน ฉันลองไปยืนในห้องแล้วก็ใส่แว่นตา 4 มิติพร้อมๆ กับชมภาพยนตร์ไป ก็รู้สึกเหมือนเข้าไปยืนอยู่ในเหตุการณ์จริงตั้งแต่ช่วงการสร้างสถานีแห่งนี้ เข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ต้องเอี้ยวตัวหลบลูกระเบิดไปด้วย จนกระทั่งมาถึงช่วงปัจจุบันของสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) นอกจากนั้นภายในห้องยังมี รางรถไฟ ซึ่งเป็นรางรถไฟจริงๆ ในสมัยนั้นให้ได้ชมกันด้วย


ขึ้นมาที่ชั้นสอง ก็เริ่มเข้าสู่เนื้อหาทางด้านการแพทย์กันบ้าง อย่างห้องแรก “งานพระเมรุสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์” ที่เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อันเป็นจุดเริ่มต้นของโรงพยาบาลศิริราช เนื่องจากไม้ อาคารประกอบ และเครื่องเรือนจากงานพระเมรุครั้งนี้ ได้นำมาสร้าง “โรงศิริราชพยาบาล” โรงพยาบาลหลวงแห่งแรกของแผ่นดิน

ห้องต่อมาเล่าเรื่องราวของโรงเรียนแพทย์ในยุคแรก ที่จะต้องเรียนรู้ผ่าน “หุ่นกายวิภาคมนุษย์” ที่ทำมาจากเยื่อกระดาษ และยังเล่าเรื่องราวของพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย ในห้อง “สมเด็จพระบรมราชชนก”


ถัดมา ฉันก็ได้เรียนรู้เรื่องราวทางด้านการแพทย์มากขึ้น ทั้งการตรวจโรคในเบื้องต้น การสืบค้น การวินิจฉัยและรักษาโรค ในห้อง “หุ่นโรควิเคราะห์” ที่จัดแสดงให้เหมือนกับห้องตรวจโรคผู้ป่วย และได้ลองเป็นคุณหมอฟังเสียงปอด เสียงหัวใจที่เต้นเป็นจังหวะต่างๆ เพื่อการวิเคราะห์โรค แต่ส่วนที่สำคัญของการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ที่นักศึกษาแพทย์ทุกคนจะต้องรู้จักดี ก็คือ “อาจารย์ใหญ่” ซึ่งเป็นผู้ที่เสียสละร่างกายของตนเองให้ทำการศึกษา เพื่อผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพในอนาคต การจัดแสดงในส่วนนี้ใช้โต๊ะปฏิบัติการที่เคยรองรับอาจารย์ใหญ่มารุ่นแล้วรุ่นเล่า ทำให้ฉันรู้สึกได้ถึงความขลังผ่านการจัดแสดงและการจัดแสงในส่วนนี้


มาถึงอีกห้องที่ฉันชอบมากก็คือ “ห้องจำลองการผ่าตัด” เป็นการจำลองการผ่าตัดแบบย้อนยุค ให้ได้รู้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือ และบุคลากรที่ทำงานในห้องผ่าตัดมีใครบ้าง แล้วฉันก็ได้ลองมาเป็นศัลยแพทย์มือหนึ่ง ลองจับเครื่องมือผ่าตัดให้คนไข้ (จำลอง) เป็นประสบการณ์สนุกๆ อีกอย่างหนึ่งที่ฉันได้ลอง

นอกจากเรื่องราวของแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ก็ยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยอีกด้วย โดยในห้อง “มหัศจรรย์ร่างกายมนุษย์” จะมาไขรหัสการแพทย์จากมุมมองของแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์แผนไทยที่ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และยังมีการจำลอง “ร้านโอสถวัฒนา” ร้านยาสมุนไพรไทยมาให้ได้ชมกัน


เดินมาก็ตั้งนาน เพิ่งจะหมดบริเวณของอาคาร 1 ออกมาที่ระเบียงชั้น 2 ที่เชื่อมต่อกับอาคารพิพิธภัณฑ์ 2 ก็มีมุมร้านกาแฟให้นั่งพักผ่อนก่อนจะเดินต่อไปยังอาคาร 3 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับชุมชนบางกอกน้อย เริ่มจากการมาสักการะ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรังสี)” อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม พระมหาเถระที่ได้รับการเคารพศรัทธาตั้งแต่พระมหากษัตริย์ไปจนถึงชาวบ้านทั่วไป แล้วก็มาลองชม “วิถีชีวิตชาวบางกอกน้อย” ที่มีการจำลองโรงละคร ร้านค้า ร้านอาหาร แสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คนสองฝั่งคลองบางกอกน้อยในสมัยก่อนว่าเป็นอยู่กันอย่างไร


สุดท้ายก็เดินมาชม “เรือโบราณ” ที่ขุดค้นพบในพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งเรือลำนี้เป็นเรือไม้โบราณขนาดใหญ่ มีความยาวถึง 24 เมตร และถือว่าเป็นเรือไม้ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเท่าที่เคยขุดค้นได้ เดินดูรอบๆ แล้วก็ต้องทึ่งในความสามารถของคนไทยเราที่สามารถต่อเรือลำใหญ่ได้ขนาดนี้

ถือว่าเป็นการเดินชมที่เพลิดเพลินและสนุกสนานอย่างมาก นอกจากได้รู้เรื่องราวทางการแพทย์แล้วยังได้ทราบถึงวิถีชุมชนในย่านนี้อีกด้วย ถือว่าเป็นสถานที่ดีๆ ที่มาแล้วควรบอกต่อให้คนอื่นต้องมาเที่ยวสักครั้ง


“พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน” ตั้งอยู่ในพื้นที่โรงพยาบาลศิริราช เขตบางกอกน้อย กทม. เปิดให้บริการวันจันทร์, พุธ-อาทิตย์ (หยุดวันอังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00-17.00 น. (ปิดจำหน่ายบัตรเวลา 16.00 น.) ค่าเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก (ไม่เกิน 18 ปี) 25 บาท ต่างชาติ 200 บาท เด็กสูงไม่เกิน 120 ซม. เข้าฟรี สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2419-2601, 0-2419-2618-9 www.si.mahidol.ac.th/museums
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2
Page 2 of 2

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©