RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179732
ทั้งหมด:13490964
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รถไฟในหนังสือ
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รถไฟในหนังสือ
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> พักผ่อนหย่อนใจ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/08/2013 5:41 pm    Post subject: Reply with quote

เรื่องปี ค.ศ.กับ พ.ศ. ในยุคเก่านี่ สร้างปัญหาจริง ๆ ครับ
แม้แต่เรื่องเปิดเดินรถไฟสายสงขลา 1 ม.ค. 2456 ก็เคยทำให้สับสนมาแล้ว ว่าจะครบ 100 ปีเมื่อไหร่

เดี๋ยวผมรอให้หนังสือเล่มจริงจากอาจารย์ถนอมนวลมาถึงก่อน แล้วจะอ่านดูด้วยครับ Very Happy
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2013 9:13 pm    Post subject: Reply with quote

วันนี้ได้รับหนังสือจาก ศ.ถนอมนวล เรียบร้อยแล้วครับ Very Happy

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/10/2013 5:37 pm    Post subject: Reply with quote

สมุดภาพพระยาพหลพลพยุหเสนา ภาค ๑ (พิมพ์ปี 2556)
ธงชัย ลิขิตพรสวรรค์: บรรณาธิการ
สำนักพิมพ์ต้นฉบับ ราคาเล่มละ 700 บาท หนา208 หน้า
ISBN 978-616-7176-16-1
ขายอยู่ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ลด 20% ครับ บูธสำนักพิมพ์ต้นฉบับ
ท่านใดชอบภาพประวัติศาสตร์ ก็ซื้อได้ครับ (ไม่เกี่ยวกับรถไฟ แต่มีภาพรถไฟอยู่ 2-3 ภาพครับ)

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/10/2013 5:45 pm    Post subject: Reply with quote

นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 34 ฉบับที่ 12 เดือนตุลาคม 2556
ปกน้ำตาลขาว ภาพอนุสาวรีย์ปราบกบฏ
มีบทความเรื่อง พระปกเกล้าฯ กับ "กบฏบวรเดช": 80 ปีของการก่อกบฏต่อต้านระบอบประชาธิปไตย โดย ณัฐพล ใจจริง สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น ม.ราชภัฏสวนสุนันทา
มีภาพเกี่ยวกับรถไฟเก่า ๆ หลายภาพครับ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/01/2014 8:48 am    Post subject: Reply with quote

นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 3 มกราคม 2557
ปกสีน้ำเงิน
มีบทความเรื่อง ๑๑๐ ปีสถานีรถไฟคลองสาน โดยคุณโมน สวัสดิ์ศรี สมาชิกรถไฟไทยดอทคอมครับ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/02/2014 2:27 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์ Ichiro Kakizaki ออกหนังสือเล่มใหม่ เกี่ยวกับนโยบายการเมืองของขนส่งมวลชนในกรุงเทพ ปี 1886-2012 ครับ หนา 500 กว่าหน้า
都市交通のポリティクス: バンコク1886~2012年
ISBN: 978-4876983773
ราคา 7,000 เยน เร็ว ๆ นี้คงจะมีฉบับภาษาอังกฤษตามมาครับ Very Happy

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 16/04/2014 11:22 pm    Post subject: Reply with quote

นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 6 เมษายน 2557
มีบทความเรื่อง Arrow
ตะลึง!
Blueprint ยุครัชกาลที่ 5
โครงการช้างทางรถไฟสยามสู่จีน
มีจริงหรือ? ใครอยู่เบื้องหลัง?

โดยคุณไกรฤกษ์ นานา
Click on the image for full size

เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโครงการสร้างทางรถไฟจากพม่าผ่านประเทศไทยโดยมีจุดหมายอยู่ที่ดินแดนสิบสองปันนาของจีน ซึ่งดำเนินการโดยอังกฤษ ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ครับ

แต่เนื้อหาในฉบับนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการปูพื้นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการทูตในยุคล่าอาณานิคม รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับอังกฤษที่ทำให้สยามรู้จักรถไฟเป็นครั้งแรกผ่านคณะฑูต ส่วนประเด็นหลักเกี่ยวกับตัวโครงการทางรถไฟมีอยู่เล็กน้อยช่วงท้ายบทความ โดยจะมีต่อตอนที่ 2 ในฉบับถัดไป
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 17/04/2014 9:31 am    Post subject: Reply with quote

เรื่องของเรื่องคือทางอังกฤษต้องการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสำหรับขนไม้ซุงและแร่ธาตุต่างๆ จากจีนและอาณาจักรล้านนามายังเมืองมะละแหม่ง แทนที่ขบวนคาราวานวัวต่างหรือฬ่อต่างมาตามแม่น้ำสาละวิน และแน่นอนแหละครับ ต้องมีผลประโยชน์อยู่สองข้างทางและยังจูงใจให้ขยายอิทธิพลของอังกฤษเองตลอดสองข้างทางรถไฟหากก่อสร้างเสร็จด้วย เช่น จีนในปัจจุบัน ยื่นข้อเสนอกับ สปป.ลาว เพื่อขอทำประโยชน์สองข้างทางรถไฟความไวสูงข้างละ 1 ก.ม.เป็นเวลา 50 ปี โดยอ้างว่า ใช้ต้นทุนการก่อสร้าง แรงงานจากบริษัทชาวจีนทั้งหมด และเทคโนโลยีสูงมาก

สมัยโน้น เชียงใหม่ยังอยู่ในฐานะประเทศราชของสยาม หากหันเหความสนใจไปทางอังกฤษเมื่อใด อาจกลายเป็นรัฐในอารักขาก็ไม่รู้ นั่นเป็นสิ่งที่รัฐบาลสยามปฏิเสธโครงการก่อสร้างทางรถไฟของอังกฤษดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า ผลประโยชน์ไม่ตกมาถึงสยาม แต่อังกฤษเป็นฝ่ายได้อย่างเดียว

และติดตามมาถึงแนวทางรถไฟสายเหนือที่แต่เดิมจะไปถึงเมืองเชียงแสนหลวง ต้องเบนแนวไปยังเชียงใหม่ และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้าเมืองเชียงใหม่มากขึ้นในฐานะ "เขยหลวง" โดยทรงมีพระชายา คือ เจ้าดารารัศมี นั่นไงครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 17/04/2014 11:07 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
วันนี้ได้รับหนังสือจาก ศ.ถนอมนวล เรียบร้อยแล้วครับ Very Happy

เล่มนี้ผมซื้อแล้ว ในงานสัปดาห์หนังสือ - ต้องตัดส่วนแปลงเป็นพ.ศ. ออกไปเลย และ รู้สึกว่าส่วนที่เป็นศีศะดงก็จะหายไปด้วย

Nakhonlampang wrote:
นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 35 ฉบับที่ 6 เมษายน 2557
มีบทความเรื่อง Arrow
ตะลึง!
Blueprint ยุครัชกาลที่ 5
โครงการช้างทางรถไฟสยามสู่จีน
มีจริงหรือ? ใครอยู่เบื้องหลัง?

โดยคุณไกรฤกษ์ นานา


ออ น่าจะเป็นกรณีสร้างทางรถไฟจากเชียงใหม่ไปตามลำน้ำปิง แล้วไปออกมะละแหม่ง และ ชวนให้รัฐบาลไทยสร้างทางรถไฟตามลำน้ำปิงด้วย ได้ทางจากเชียงใหม่ค่อยทำทางไปออกเชียงแสนหลวงเข้าพม่า ก่อนออกไปจีนหงะ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/04/2014 1:35 pm    Post subject: Reply with quote

ตะลึง! Blueprint ยุครัชกาลที่ 5 โครงการช้างทางรถไฟสยามสู่จีน มีจริงหรือ? ใครอยู่เบื้องหลัง?
มติชนออนไลน์ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 เวลา 12:40:25 น.

ไกรฤกษ์ นานา นักวิชาการทางประวัติศาสตร์

( ตัดบางตอนมาจากต้นฉบับ รัฐบาลสมัยรัชกาลที่ ๕ กับโครงการช้างทางรถไฟจากสยามสู่จีน ศิลปวัฒนธรรม เมษายน ๒๕๗๗)


ปี ค.ศ. ๑๘๘๖ (พ.ศ. ๒๔๒๙) ในยุคที่สยามยังไม่มีรถไฟเป็นของตนเอง แต่รัฐบาลกลับสนใจที่จะสำรวจเส้นทางรถไฟนานาชาติสายหนึ่ง อีก ๑๒๘ ปีต่อมา บริษัทประมูลยักษ์ใหญ่ของอังกฤษได้นำผลสำรวจโครงการนี้ออกประมูลขายในราคาแพงลิบลิ่ว โดยโฆษณาว่าเป็นข้อมูลลับของทางการไทยที่ไม่เคยเปิดเผยสู่ประชาชน แต่ผู้รับเหมาอังกฤษก็ได้รับพระบรมราชานุญาตจากรัชกาลที่ ๕ ให้สำรวจและตีราคาในทางลับหลังค้นพบเส้นทางใหม่จากสยามไปจีน ทว่า โครงการนี้กลับสาบสูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย และไม่มีใครพูดถึงอีกเลยจนตลอดรัชกาล ท่ามกลางการหลีกเลี่ยง ที่จะกล่าวถึงโดยนักประวัติศาสตร์สมัยหลัง และเป็นข้อมูลที่ถูกถอดออกไปจากประวัติการรถไฟไทยของทางราชการอย่างมีปริศนา


ความคิดที่จะสร้างทางรถไฟจากอาณานิคมของอังกฤษคือพม่าตรงไปยังจีนมีมาตั้งแต่ทศวรรษ ๑๘๘๐ เพื่อขยายอิทธิพลของอังกฤษเข้าไปยังศูนย์กลางและแหล่งทรัพยากรอันมั่งคั่งของจีนที่เรียกว่ามณฑลยูนนานและมณฑลกวางสี โครงการรถไฟไปจีนถูกร่างขึ้นเพื่อสนองนโยบายต่างประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจในอาณานิคมโพ้นทะเล ซึ่งแข่งขันกันในเชิงระหว่างคู่แข่งอื่นๆ เช่น ฝรั่งเศสและรัสเซีย ซึ่งต้องการจัดสรรดินแดนแหล่งทรัพยากรและเมืองท่าที่เต็มไปด้วยศักยภาพของจีนเพื่อผูกขาดการค้าและพัฒนาฐานเศรษฐกิจในอาณานิคมของตนโดยแข่งกันแบบใครมาก่อนได้ก่อน

ทีมงานสำรวจของอังกฤษนำโดยอดีตเจ้าหน้าที่สำนักข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่า ชื่อนายคอลคุฮอน (A. R. Colquhoun) และหัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมของสำนักข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอินเดียชื่อนายฮาเล็ต (H. Hallett) เริ่มดำเนินการออกสำรวจพื้นที่ครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๘๘๒ จากเมืองกวางตุ้งลงมาถึงกรุงร่างกุ้ง นายคอลคุฮอน หัวหน้าคณะเดินทางกลับไปอังกฤษ และรวบรวมข้อมูลที่ได้เสนอต่อสมาพันธ์หอการค้าอังกฤษเพื่อขอความเห็น

โดยในครั้งแรก คณะสำรวจได้เสนอให้วางเส้นทางเดินรถไฟพาดผ่านรัฐอิสระทางภาคเหนือของพม่า ได้แก่ รัฐฉานและแคว้นสิบสองปันนาซึ่งคั่นกลางอยู่ระหว่างพม่ากับจีนด้วยงบประมาณคร่าวๆ เป็นเงิน ๗ ล้านปอนด์สเตอร์ลิง เงินทุนจากงบประมาณนี้ครึ่งหนึ่งมาจากเงินสนับสนุนของหอการค้าอังกฤษ และอีกครึ่งหนึ่งมาจากงบประมาณแผ่นดินของรัฐบาลกลางที่ลอนดอน

ผลสำรวจและการคาดการณ์ผลกำไรสำหรับอนาคตได้รับการยอมรับและลงมติเห็นชอบอย่างท่วมท้นโดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอังกฤษในเบื้องต้น ถึงขนาดที่หอการค้าอังกฤษยินดีสำรองจ่ายเงินล่วงหน้าให้ครึ่งหนึ่งก่อนเพื่อศึกษาความเป็นไปได้เชิงรายละเอียดเพื่อจะได้เห็นสภาพรอบด้าน

ข้อมูลเชิงลึกรายงานอุปสรรคมากมาย ที่ผู้รับเหมาต้องประสบจากภูมิประเทศซึ่งเป็นเทือกเขาสูงชันหนาทึบเป็นแนวยาวตลอดพรมแดนพม่า-จีน แต่ทางคณะสำรวจก็ยังค้นพบทางเลือกเส้นทางสำรองจากมะละแหม่งลัดผ่านเข้าไปในเขตแดนสยามแล้วพุ่งตรงขึ้นไปทางเมืองเชียงแสนผ่านเชียงแขง สิบสองปันนาเข้าสู่ยูนนาน ย่อมจะทำได้ง่ายกว่า และรวดเร็วกว่าเส้นทางเดิมผ่านรัฐฉานของพม่าซึ่งเต็มไปด้วยความทุรกันดาร

เส้นทางสำรองได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากรัฐบาลสยามซึ่งตื่นเต้นที่จะได้ลืมตาอ้าปาก และยกระดับความสำคัญของสยามรัฐขึ้นไปเป็นภาพลักษณ์ชั้นแนวหน้าของประชาคมเอเชีย แต่สยามก็ตั้งเงื่อนไขว่าเส้นทางนี้จะมีศักยภาพเพิ่มขึ้นหากได้ผนวกลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่กลองอันมั่งคั่งของสยามเข้าไว้ด้วย โดยมีกรุงเทพฯ เป็นเมืองท่าใหญ่รองรับสินค้าที่จะบรรทุกลงมา และยังมีศักยภาพเกินความคาดหมายในวันหนึ่งข้างหน้า จะได้เชื่อมต่อทางรถไฟลงไปจนถึงอาณานิคมอันยิ่งใหญ่ของอังกฤษที่สิงคโปร์และมลายู

สูตรสำเร็จของแผนงานระยะสุดท้ายลงเอยที่เส้นทางรถไฟสาย Pan Asia สายแรก เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ พาดผ่านสยาม-พม่า-จีน ความยาวนับพันกิโลเมตร ด้วยความเห็นชอบของทุกฝ่ายเป็นเอกฉันท์ ในปี ค.ศ. ๑๘๘๖ เส้นทางรถไฟแห่งความหวังนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะได้นำเสนอในตอนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> พักผ่อนหย่อนใจ All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23  Next
Page 19 of 23

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©