Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181781
ทั้งหมด:13493020
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมบันทึกมักกะสัน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมบันทึกมักกะสัน
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
casanotoey
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 412

PostPosted: 18/04/2014 12:19 pm    Post subject: Reply with quote

ผมว่าถ้าจะให้ไปอยู่เขาคอกมาอยู่ภาชียังดีกว่า ที่ดอนน้ำไม่ท่วม มลพิษไม่มีเพราะไม่มีโรงงานอุสาหกรรมแบบแก่งคอย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2014 3:06 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
เทศบาลเมืองบ้านภาชี เขาจะยอมหรือ?
Back to top
View user's profile Send private message
casanotoey
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 03/07/2006
Posts: 412

PostPosted: 18/04/2014 3:18 pm    Post subject: Reply with quote

ผมสงสัยอย่างหนึ่งครับทำไมเวลาโรงงานภาคเอกชนสร้างได้ขยายกิจการได้ตั้งมากมายแต่พอเป็น รฟท กลับมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก หรือแม้กระทั่งเรื่องการขยายถนนจาก 2 เลนเป็น 4 เลน เห็นมีการขยายกันทั่วประเทศทั้งถนนหลักถนนรอง แต่เวลาทำรางคู่กลับมีปัญหามากมายทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม ป่าสงวน บ้าง ทั้งๆที่เป็นพื้นที่ของการรถไฟทั้งสิ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 18/04/2014 3:20 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
ไม่น่าถาม ต้องคุยกะคณะกรรมาธิการงบประมาณ และกระทรวงการคลังให้ยอมให้กู้นี่ครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 19/04/2014 5:39 pm    Post subject: Reply with quote

หลังจากการขุดเรื่องโรงงานมักกะสันแล้ว ชักจะมัน Embarassed Laughing เลยขุด เรื่องการขยายโรงงานมักกะสัน ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๐ มาเล่าสู่กันฟังในส่วนรายละเอียดเพื่มเติมที่เพิ่งค้นเจอ เลยเอามาเรียงเรียงเป็นลำดับเวลาไว้ดั่งนี้

๑๘ มกราคม พ.ศ ๒๔๗๘ ที่ประชุม คณะกรรมการรถไฟครั้งที่ ๑๒ อนุมัติให้กรมรถไฟตั้งกรรมการขึ้นพิจารณาการขยายและดัดแปลงโรงงานมักกะสันได้ตามที่ อธิบดีกรมรถไฟเสนอ

๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๔๗๙ ที่ประชุม คณะกรรมการรถไฟครั้งที่ ๑๙ ได้อนุมัติหลักกการที่จะขยาย ขยายและดัดแปลงโรงงานมักกะสัน เนื่องจากขณะ นี้ กรมรถไฟมีปัญหาในการ ซ่อมแซม รถจักรรถพ่วง โดยใน ๑ ปี โรงงานมักกะสัน จะต้องสามารถ ซ่อมใหญ่ รถจักรรถพ่วง ให้ได้ตามเป้าหมาย แต่ ทำได้จริงต่ำกว่าเป้า ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างโรงงานใหม่โดยรื้อ อาคารโรงงานเก่าให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นการประหยัดรายจ่ายในการก่อสร้าง และ รองรับปริมาณรถจักรรถพ่วงที่ต้องทวีขึ้นอีกเป็นอันมาก

แต่ขอให้กรมรถไฟเสนอแผนการที่ดีที่สุดมาแผนเดียว หลังจากพบว่า มีการเสนอแผนโครงการ ขยายและดัดแปลงโรงงานมักกะสัน เป็น ๒ แผนคือ

แผนที่ ๑ ของนายช่างใหญ่ ฝ่ายช่างกล และ ของนายช่างกำกับโรงงาน
แผนที่ ๒ ของนายช่างเอก

๒๕ สิงหาคม พ.ศ ๒๔๘๐ กรรมการชุดใหม่ที่กรมรถไฟแต่งตั้งขึ้น เริ่มการประชุม เรื่องการแก้ไขและ ขยายโรงงานมักะะสัน เนื่องจากสภาพปัจจุบันพบว่า

รถจักรต้องซ่อมหนักได้ ๖๖ คันใน ๑ ปี แต่ซ่อมหนักได้จริง ๔๘ คัน - ไม่พอสำหรับรถจักร ๒๐๐ คันที่มีอยู่ ซึ่งต้องได้รับการซ่อมหนักทุกๆ ๓ ปี
รถบรรทุกต้องซ่อมหนักได้ ๑,๗๖๕ คัน ใน ๑ ปี แต่ซ่อมหนักได้จริง ๑,๒๐๐ คัน - ไม่พอสำหรับรถบรรทุก ๓๕๓๐ คันที่มีอยู่ซึ่งต้องได้รับการซ่อมหนักทุกๆ ๒ ปี
รถโดยสารต้องซ่อมหนักได้ ๒๐๐ คัน ใน ๑ ปี แต่ซ่อมหนักได้จริง ๑๔๔ คัน - ไม่พอสำหรับรถโดยสาร ๓๐๐ คันที่มีอยู่ซึ่งต้องได้รับการซ่อมหนักทุกๆ ๑ ปีครึ่ง

นี่คือข้อมูลที่ได้จากประสบการณ์ของบรรดานนายช่างโรงงานมักกะสัน

รถจักรรถพ่วงที่รอซ่อมต้องตากแดดตากฝนตากลม ทำให้รถชำรุดหนักกว่าเดิม ซึ่งให้เปลืองค่าซ่อมแซมเพิ่มเติมเข้าไปอีก และทำให้ไม่มีรถจะใช้งานหารายได้ตามต้องการ ยิ่งกรมรถไฟต้องสั่งรถจักร รถพ่วง มาเพิ่มให้ทันต่อความต้องการของมหาชนแล้ว ยิ่งทำให้โรงงานมักกะสันไม่สามารถซ่อมรถจักรรถพ่วงได้ทันตามต้องการ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ

๑. เครื่องจักรเครื่องกลที่มีอยู่โดยมาเป็นเครื่องที่พ้นสมัย และมีสภาพทรุดโทรม ทำงานได้ประสิทธิภาพไม่พอ ที่มีมาใหม่ก็เพียงเครื่องกลึง นอกจากนี้ เครื่องจักรที่จำเป็นสำหรับโรงงานมักกะสัน เช่นเครื่องกลึงที่จำนวนจำกัด ไม่พอซ่อมได้ตามต้องการ
๒. ทั้งคนงานและผู้ควบคุมงาน (นายงาน) ไม่เคยมีเต็มจำนวนที่จำเป็นต้องมี
๓. พื้นที่โรงงานที่มีอยู่นั้นคับแคบ ทำให้สิ่งของต่างๆแออัดปะปนกันอยู่เพราะ ไม่มีที่เก็บข้าวของเพียงพอ จนต้องเอาข้าวของไปกองตามพื้นที่อาคารโรงงานย่อย ทำให้ของมีโอกาสตกหล่นสูญหาย เพราะอยู่พ้นตาผู้ควบคุมไปได้ แม้จะซื้อเครื่องกลึงมาใหม่ เพื่อมาแทนเครื่องกลึงเก่า ก็หาที่ตั้งเครื่องกลึงใหม่ได้ลำบาก ต่อให้มีการสร้างหลังคาคลุมขึ้นได้ ก็จะมีการสร้างหลังคาคลุมการตามยถากรรม หาความเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ได้เลย

นอกจากนี้ พื้นที่โรงงานที่ คับแคบจนขยายโรงงานใหญ่และโรงงานย่อยที่ทำหน้าที่เสริมโรงงานใหญ่ไม่ได้ จนที่สุด โรงงานมักกะสันไม่มีที่สำหรับตั้งโรงทาสีรถจักร และ รถพ่วงแยกมาเป็นพิเศษ ทำให้ต้องทาสีกันในโรงซ่อมทำให้เสียเวลารอให้รถจักรรถพ่วงสีแห้งเสียก่อนจึงจะเอาออกมาได้ ซึ่งเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ

นอกจากนี้ พื้นที่โรงงานที่คับแคบทำให้รถจักร รถโดยสารและ รถบรรุทกต้องตากแดดตากลมรอซ่อม เนื่องไม่มีโอกาสเข้าเข้าไปคอยในโรงงาน จนสภาพทรุดโทรม จนต้องนำรถชำรุดไปจอดซ่อมในย่านสถานีใหญ่ก็มี

นี่เองที่ทำให้คณะกรรมการมีมติเอกฉันท์ ในการเปลี่ยนสภาพโรงงาน มักกะสันเสียใหม่ เพื่อแก้ไขส่วนไม่ดี และขยายโรงงานให้กว้างขวางออกไป ให้สามารถซ่อมรถจักรรถพ่วงได้มากกว่าเดิม และเผื่อแผ่ไปถึงกาลภายหน้าด้วย

๑๘ ตุลาคม พ.ศ ๒๔๘๐ เวลา ๙.๐๐น. ที่ประชุม คณะกรรมการรถไฟครั้งที่ ๒๓ ได้พยายมคัดเลือกแผนโครงการ ขยายและดัดแปลงโรงงานมักกะสัน ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยแผนโครงการใหม่นี้ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ กฤษฎากร ได้ร่างแผนและ วางรูปงาน โดยนำแผนทั้ง ๒ มารวมกัน และ ได้ทรงชี้แจงและ อธิบายต่อคณะกรรมการรถไฟว่า

๑. ให้ขยาย โรงงานมักกะสัน ไปทางตะวันออกแต่ทางเดียว อีกประมาณ ๑.๒ กิโลเมตร แต่ทางเดียว เพราะทางอื่นขยายไม่ได้ เพราะ

๑.๑ ที่ดินทางตะวันตกระหว่างถนนศรีอยุธยา และ ทางรถไฟสายตะวันออกนั้นแคบนัก ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ - ที่ดินด้านตะวันตกติดถนนราชปรารภให้เป็นทางเข้าโรงงาน ที่ตั้งกองอำนวยการ และ โรงเรียนฝึกหัดนักเรียนช่างกล และ โรงทดลอง ที่มีอุปกรณ์ทดลองกำลังสิ่งของและ แยกธาตุ

๑.๒ ที่ดินทางใต้จากทางรถไฟสายตะวันออกถึงคลองแสนแสบ ราคาแพงมาก เพราะเต็มไปด้วยบ้านเรือนผู้คน
๑.๓ ที่ดินทางเหนือ นั้นแม้จะเป็นทุ่งนาเหมือนที่ดินทางตะวันออกแต่ก็มีปัญหาในการวางรางขึ้นเหรือที่โค้งแคบนัก เพราะ พื้นที่ระหว่าง ถนนราชปรารถและ สถานีมักกะสันนั้นยาวไม่พอ

แต่การขยายไปทางตะวันออกนั้นจะไม่ขยายไปถึงสถานีคลองตัน เพราะเป็นการเปลืองเปล่า อย่างไม่มีเหตุผล ดังนั้น ขยายไปเพียง ๑-๒ กิโลเมตรก็น่าจะเพียงพอแล้ว ที่สุดคณะกรรมการ จึงตกลงให้ขยาย พื้นที่ไปทางตะวันออกอีก ๑.๒๐๐ กิโลเมตร และให้ลองวางรุปโรงงานขึ้นและคำนวณว่าจะซ่อมได้เพิ่มเติมจากที่เป็นอยู่ทุกวันนคี้ได้เพียงใด

ส่วนระบบการซ่อม นั้นแม้ใจจริงอยากจะใช้ ระบบสายพาน (Belt system) ที่จำกัดเวลาซ่อม ในการซ่อมรถจักร รถพ่วง อย่างที่อังกฤษสามารถซ่อมได้ ใน ๑๔ วันแต่สำหรับกรุงสยามนั้น ทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะ

๑. มีรถจักรมีมากชนิด และแต่ละชนิดมีไม่มากพอจะทำระบบสายพาน (Belt system)
๒. เครื่องประกอบและเครื่องอาไหล่ใน ระบบสายพาน (Belt system) จะสับเปลี่ยนกันไม่ได้ และ
๓. การซ่อม ระบบสายพาน (Belt system) นั้นต้องฝึกหัดคนงานต้องมีความชำนาญเฉพาะอย่างนั้น อยู่ดี แม้จะสั่งเครื่องจักรมาแทนของเก่าที่พ้นสมัย มามากกว่าเดิมก็ต้องใช้คนมากเหมือนเดิม เลยทำตามวิธีธรรมดาไปก่อน

ทำให้โรงงานมักกะสันต้องซ่อมแบบปกติต่อไป ถ้าเกินพิกัด กำลังของ โรงงานมักกะสันแล้วจะจ่ายงานให้โรงงานภูมิภาค เพื่อให้เข้ากับลักษณะทางยุทธศาสตร์ คือให้กระจายการซ่อมออกไป ไม่รวมไว้ที่เดียวกัน ซึ่งในการขยายโรงงานนี้ จะรื้อถอนโรงงานเก่าให้น้อยที่สุดเท่าที่จะพึงทำได้ เพื่อเป็นการประหยัดรายจ่าย และ สิ่งที่จัดวางขึ้นใหม่ ต้องให้ประสิทธิ์ภาพในการซ่อมอย่างดีที่สุดเหมือนกัน โดยวางเค้ารูปให้เหมาะที่จะขยายกิจการได้บ้างในภายหน้า โดยไม่ต้องรื้อถอนหรือดัดแปลงอย่างใดอีก ทำให้ต้องเผื่อที่ว่างให้พอละสะดวกต่อการก่อสร้างเพิ่มเติมในเวลาที่จำเป็น

นอกจากนี้ได้แบ่งเขตโรงงานใหม่ออกเป็น ๔ ส่วน จากตะวันตกไปตะวันออก

๑. ที่ทำการกองอำนวยการ โรงเรียน โรงทดลอง พัสดุ
๒. โรงซ่อมรถจักรใหม่ โรงซ่อมรถโดยสารใหม่ โรงซ่อมรถบรรทุกใหม่ เนื่องจาก

๒.๑ ต้องมีการสร้างโรงซ่อมรถจักรเพิ่มอีก ๑ โรงนอกเหนือจากโรงปัจจุบัน ที่เพิ่งสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยในโรงใหม่ต้องแบ่งไปซ่อมรถจักรดีเซล ด้วย เพื่อรองรับรถจักรใหม่ ที่เป็นเช่นนี้ โดยตั้งเป้าว่าซ่อมหนักรถจักร ได้ปีละ ๗๙ คัน แทนที่จะซ่อมหนักได้แค่ปีละ ๔๘ คัน โดยให้ถือว่ารถจักร ใหญ่จะมีการซ่อมใหญ่ทุก ๓ ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รถจักรทำระยะทางเกิน ๑ แสนกิโลเมตร เพราะเพียงเพิ่มรถจักรใหม่อีก ๓๗ คัน จากที่มีอยู่ ๒๐๐ คันก็จะเต็ม capacity ซึ่งใช้เวลาไม่กี่ปี

ส่วนโรงซ่อมรถจักรและหม้อน้ำเดิม ที่เพิ่งสร้างเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ คงทำหน้าที่ตามเดิม แต่ด้านตะวันออกให้มีสะพานเลื่อนขนาด ๒๒ เมตร เชื่อมกับโรงซ่อมรถจักรและหม้อน้ำใหม่ ส่วนด้านเหนือโรงซ่อมรถจักรและหม้อน้ำเดิม ให้ต่อโรงกลึงล้อเพื่อสะดวกต่อการกลึงล้อ ส่งเข้าโรงรถจักรทางสะพานเลื่อน ส่วนสะพานเลื่อนด้านโรงหม้อน้ำ (โรงงานมักกะสันที่เคยมีแต่เดิมแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่แปรสภาพเป็นโรงซ่อมหม้อน้ำแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๒) ให้เปลี่ยนสะพานเลื่อนด้านโรงซ่อมหม้อน้ำเป็นขนาด ๑๒ เมตร

ส่วนโรงซ่อมรถจักรและหม้อน้ำใหม่ ให้มีสะพานเลื่อนรถจักรขนาด ๑๘ เมตร ให้ใหญ่พอกับรถจักรที่สั่งเข้ามาใหม่

๒.๒ โรงซ่อมรถโดยสาร ต้องสร้างใหม่ ถัดจากโรงซ่อมรถจักรแห่งใหม่ โดยมีโรงทาสีและโรงหม้อไฟฟ้า (แบตเตอรี่) รวมเป็นอาคาร ๑ หลัง โดย โรงหม้อไฟฟ้า จะต้องซ่อมแผ่นธาตุและอัดหม้อไฟฟ้าสำหรับจ่ายให้รถโดยสาร และ ระหว่างโรงซ่อมรถโดยสาร ใหม่ โดยให้โรงซ่อมรถโดยสารเดิม (ตึก รฟผ. ๒๔๖๕) จะสงวนเป็นพัสดุมักกะสันที่ขึ้นกับพัสดุกลาง เพราะอาคารยังอยู่ในสภาพดีอยู่บริบูรณ์ โดยโรงซ่อมรถโดยสารใหม่ มีเป้าหมายซ่อมรถโดยสารปีละ ๒๖๔ คัน แทนที่จะซ่อมหนักได้แค่ปีละ ๑๔๔ คัน โดยให้ถือว่ารถโดยสารจะมีการซ่อมหนักทุก ๑ ปีครึ่ง เนื่องจากต้องซ่อมรถโดยสารให้ดูดีเสมอ ซึ่งต้องมีการขัีดชำระ และ ทาสีใหม่ เพราะเพียงเพิ่มรถจักรใหม่อีก ๙๖ คัน จากที่มีอยู่ ๓๐๐ คันก็จะเต็ม capacity ซึ่งใช้เวลาไม่กี่ปี ส่วนอาคารพัสดุมักกะสันเดิมที่อยู่ด้านตะวันออกนั้น ทรุดโทรมลงมาก ต้องรื้อทำโรงซ่อมรถโดยสารและรถบรรทุก

๒.๓ เนื่องจากรถบรรทุกสินค้ามีมาก ต้องสร้างโรงซ่อมรถบรรทุก ใหม่ พร้อมกับเตรียมพื้นที่สำหรับการก่อสร้างโรงซ่อมรถบรรทุกสินค้าแห่งที่ ๒ เพิ่มเติมอีกด้วย โดยมีเป้าหมายซ่อมรถบรรทุกปีละ ๒๖๘๘ คันแทนที่จะซ่อมหนักได้แค่ปีละ ๑๒๐๐ คัน โดยให้ถือว่ารถบรรทุกจะมีการซ่อมหนักทุก ๒ ปี และ ในอนาคตข้างหน้าถ้าจำเป็นแล้ว จะนำรถบรรทุกเข้าระบบซ่อมด้วยสายพาน (belt system) เพื่อให้ทันต่อความต้องการ - โดยโรงซ่อมรถบรรทุก แห่งแรก สะพานเลื่อน ขนาด ๑๒ เมตร ๒ สะพานอยู่สองข้างโรงซ่อมรถบรรทุก ส่วนระหว่างโรงรถบรรทุกแห่งแรกและโรงรถบรรทุกแห่งที่ ๒ ให้นำสะพานเลื่อนขนาด ๘ เมตร ที่ย้ายมาจากโรงซ่อมหม้อน้ำ (โรงงานมักกะสันเดิมแต่ปี ปี พ.ศ. ๒๔๕๓)เพื่อช่วยขนส่งรถเข้าออก ทางด้านเหนือ โรงซ่อมรถบรรทุกแห่งใหม่ ให้ตั้งโรงกลึงล้อเช่นเดียวกับโรงซ่อมรถจักร

ส่วน โรงซ่อมรถบรรทุกเดิม นั้นให้ดัดแปลงเป็นพัสดุมักกะสันแห่งที่ ๒ ที่ขึ้นกับพัสดุกลางเพื่อเก็บเหล็กแผ่นหนา และ พัสดุโรงงานมักกะสัน ซึ่งรับของจากพัสดุมักกะสันมาอีกที ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ การเบิกของจากพัสดุมักกะสันที่ขึ้นกับพัสดุกลางนั้นเสียเวลามากและจะมีความสลับซับซ้อน เลยให้ไปเบิดของจากพัสดุโรงงานมักกะสันซึ่งขึ้นกับกองอำนวยการ จะสะดวกกว่า

ส่วนที่ดินว่าง ระหว่างโรงซ่อมรถบรรทุกและคลอง [มักกะสัน] สงวนไว้สร้างโรงซ่อมรถบรรทุกเพิ่มเติมในภายหน้า แต่เมื่อในชั้นต้นยังไม่สร้างอะไร ให้วางรางไว้จอดรถแทน

๓. โรงงานย่อย ที่จะต้องทำงานช่วยเหลือโรงซ่อมในข้อ ๒. นั้น ให้สร้างตอนเหนือโรงซ่อมรถจักร รถโดยสารและรถพ่วงทั้งสิ้น เพื่อสะดวกในการขนของที่ทำจากโรงงานย่อยมาส่งโรงซ่อมรถโดยตรง
โดยต้องสร้าง โรงอาไหล่ โรงไฟฟ้า โรงทองเหลือง และ โรงกลึ่งขึ้นใหม่ เนื่องจากโรงงานที่กล่าวมาในข้างต้นซึ่งสร้างรวมหมู่กันนั้นชำรุดทรุดโทรมลงมาก ไม่เหมาะที่จะใช้สอยอีกต่อไป ต้องรื้อออก แล้วแปรสภาพเป็นลานเก็บของหนักสำหรับพัสดุมักกะสัน โดยตั้งเสามีคานรองรับปั้นจั่น ๑๕ ตัน ๒ อันที่ย้ายมาแต่โรงซ่อมรถโดยสารเดิม ใช้ยกของลงจากรถหรือสำหรับยกของบรรทุก

ในการนี้ ให้โรงเครื่องทำไฟฟ้าและโรงทำกำลังไอน้ำ กับโรงเหล็ก ที่จะสร้างใหม่ อยู่ด้านตะวันตกดุจเดิม โดยมีโรงรับกระแสไฟแรงสูงจากการไฟฟ้าหลวงสามเสนก่อนเพื่อเคินเครื่องทำไฟฟ้า ก่อนจะจ่ายไฟฟ้าไปที่โรงงานย่อยและโรงซ่อมรถทั่วไป ส่วนโรงทำไอน้ำจะส่งไปเดินเครื่องตีเหล้กในโรงเหล้กที่อยู่ข้างเคียงและจะใช้ไอน้ำ ไปหมุนเครื่องทำไฟฟ้า ในเวลาฉุกเงินเมื่อไฟฟ้า แรงสูงจากไฟฟ้าหลวงสามเสนขาดตอนไปชั่วคราวเนื่องจาก งานต่างๆในโรงงานมักกะสัน จะหยุดชงักไม่ได้เด็ดขาด

ถัดจากโรงเหล็ก ให้สร้างโรงกลึงใหญ่ ทางตอนเหนือโรงซ่อมรถจักร สำหรับรถจักรโดยเฉพาะ โดยเผื่อที่สำหรับขยายโรงกลึงด้วย เวลาจำเป็นในภายหน้า

ถัดจากโรงกลึงใหญ่ ทางตอนเหนือโรงซ่อมรถจักร ให้สร้างโรงซ่อมเครื่องไฟฟ้า โรงทองเหลือง และ โรงซ่อมของเบ็ดเตล็ด รวมอยู่ในหมู่เดียวกัน

ถัดจาก โรงซ่อมเครื่องไฟฟ้า โรงทองเหลือง และ โรงซ่อมของเบ็ดเตล็ด ให้สร้างโรงกลึง ทางตอนเหนือโรงซ่อมรถโดยสาร และ โรงกลึง ทางตอนเหนือโรงซ่อมรถบรรทุก จะได้ไม่ต้องแก่งแย่งในการงานแก่กัน โดยเผื่อที่สำหรับขยายโรงกลึงด้วย เวลาจำเป็นในภายหน้า

ถัดจากโรงกลึง ทางตอนเหนือโรงซ่อมรถบรรทุก ให้เป็นโรงช่างไม้ โรงเลื่อยไม้ และ โรงเก็บไม้หมู่หนึ่ง เพื่อให้สะดวกต่อการ ขนถ่ายไม้

ถัดจาก โรงงานย่อยสำหรับงานไม้ หมู่นั้นให้ เป็นโรงหล่อและ โรงเก็บแบบไม้ (โรงกระสวน - pattern) เพื่อทำแบบไม้เพื่อการหล่อเหล็กได้โดยง่าย

ตอนปลายสุดให้เป็นโรงซ่อมของเบ็ดเตล็ด (Reclaiming shop) พร้อมสถานีที่เก็บเศษเหล็กต่างๆเพื่อนำไปหลอมใช้ใหม่ หรือนำไปใช้ในงานอื่น ต่อไป

จะต้องมีการวางรางทางตอนเหนือสำหรับลำเลียงของมาส่งและ ภายในโรงมีอีก ๑ รางวางให้ทะลุถุึงกัน พร้อมวงเวียนกลับรถ ติดต่อรางที่วางเป็นฉากในโรงซ่อมต่างๆ อีกด้วย เพื่อใช้สอยในการขนของไปมาระหว่างโรงงานย่อยกับโรงซ่อมรถได้โดยสะดวก เพื่อไม่ให้งานนชักช้า นอกจากนี้มีถนนกว้าง ๑๐ เมตร ตั้งแต่ทางเข้าโรงงานผ่านที่ทำการกองอำนวยการมาระหว่างโรงงานย่อยและโรงซ่อมรถเพื่อให้สะดวกในการตรวจงานและขนของจากพัสดุมาจำหน่ายตามโรงงานด้วย

ถ้าถึงคราวจำเป็นต้องขยายโรงงานย่อยมากออกไปกว่าที่เเผื่อแผ่ที่ดินไว้แล้ว ให้ขยายทางด้านเหนือ โดยถมบ่อขังน้ำ (บึงมักกะสัน) เสีย ซึ่งอาจจะทำการถมล่วงหน้าไว้ก่อนก็ได้

ส่วนที่ทำการ ปัจจุบันนั้น ใช้สำหรับเก็บของที่ไม่ต้องการ ซึ่งต่อไปต้องรื้อออกไปเนื่องจากสภาพไม่ค่อยดี -

๔. บริเวณที่จอดรถซึ่งจำนำเข้าซ่อมและบริเวณที่เตรียมไว้สำหรับทำการขยายในภายหน้า - ให้จากตอนสุดด้านตะวันออกเลยคลองไปแล้ว ซึ่งเป็นที่ดินต้องจัดซื้อใหม่ ทำย่านวางรางจอดรถที่จะนำเข้ามาซ่อม ต้องมีโรงหลังคาคลุมตามสมควร เพื่อป้องกันแดดและฝน พร้อมกะสถานีที่สร้างโรงซ่อมของหนัก ใกล้ทางสายประธาน สำหรับการซ่อมหัวประแจรางหลีก และเหล็กสะพาน และ จะมีการขุดดินมาถมที่เผื่อนการกองของชิ้นใหญ่ ถ้าไม่สามารถนำของไปกองที่สถานีแม่น้ำเนื่องจากไม่สามารถขยายย่านสถานีแม่น้ำได้อีกต่อไปแล้ว เนื่องจากโดนกันไปเป็นคลังน้่ำมันกรมเชื้อเพลิง กระทรวงกลาโหม หรือถ้าไม่ทำเป็นที่กองของก็ให้เป็นที่สร้างโรงงานเพิ่มเติมในกาลภาคหน้า

รางที่จะวางในย่านโรงงานมักกะสันนี้จะต้องสงวนรางเป็นรางอาไหล่ สำหรับโรงซ่อมรถจักร โรงละ ๔ ราง สำหรับโรงซ่อมรถโดยสาร ๑ ราง และ โรงซ่อมรถบรรทุก โรงละ ๒ ราง และ รางอะไล่ดังกล่าวยังจะใช้เก็บรถหุ้มเกราะ หรือรถชนิดอื่นๆสำหรับราชการทหาร ที่ต้องใช้สอยยามฉุกเฉินด้วย

ในการนี้ ได้กะการณ์จะสร้างสะพานข้ามคลอง (มักกะสัน) ๒ แห่งแต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาถมคลองมักกะสัน เสียให้แผ่นดินติดกันเป็นผืนเดียว

ส่วนการตั้งส้วมสำหรับกรรมกรโรงงาน ให้ไปอยู่เหนือโรงงานย่อย โดยตั้งให้ห่างไปเสียหน่อย และ กรณีที่ปัสสาวะนั้นให้ตั้งริมกำแพงโรงงานต่างๆเพื่อกรรมกรจะได้ไม่ต้องเดินไกล

ส่งนถังน้ำสำหรับใช้สอยนั้นให้ตั้งที่ โรงทำกำลังไอน้ำ เป็นถังน้ำจุ ๒๐๐ เมตรลูกบาศก์ สำหรับจ่ายน้ำล้างรถจักรรถพ่วง ให้พอและใช้ในบริเวณทั่วไป

ส่วนกรณีเครื่องจักรเก่า นั้น ได้แจ้งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังว่า จะจ่ายเครื่องจักรที่เก่า ไม่ทันสมัยแต่ยังพอใช้การได้ก็จะจ่าน ให้โรงงานย่อยตามภูมิภาคเช่นที่ทุ่งสง และ นครราชสีมา เป็๋นต้น -

ในการตั้งงบประมาณเพื่อการแก้ไขและขยายโรงงานมักกะสัน ๖ ปี เป็นเงินค่าก่อสร้าง ค่ารื้อถอน และ ค่าซื้อเครื่องจักรใหม่รวม ๕ ล้านบาท นั้น ๒ ปีแรก (พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒) จะขอแค่ ๑,๕๕๒,๘๕๐ บาท แต่ในงบประมาณประจำปี ๒๔๘๑ นั้น จะขอเพียงเท่าที่จำเป็นก่อน โดยมีรายละเอียดแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น โดยไม่ทำให้งานซ่อมรถจักรรถพ่วงต้องหยุดชงักลง ดังนี้:

๑. ขั้นที่ ๑ ใช้เวลา ๒ ปี (พ.ศ. ๒๔๘๑ - ๒) กำหนดเงินใช้จ่าย ๑,๕๕๒,๘๕๐ บาท - เพื่อการสร้างโรงซ่อมรถโดยสารใหญ่โตและ โรงงานย่อยที่จำเป็น ที่ไม่สามารถสร้างให้เสร็จใน ๑ ปี มีรายละเอียดดังนี้

๑.๑ ซื้อที่ดินด้านตะวันออกและถมดิน แบ่งเป็น
๑.๑.๑. ค่าซื้อที่ ดิน ๖๑,๔๐๐ บาท
๑.๑.๒. ค่าถมดินด้านตะวันตกของคลอง (มักกะสัน) ๘๕,๐๐๐ บาท
๑.๑.๓. ค่าถมดินด้านตะวันออกของคลอง (มักกะสัน) ๑๖๐,๐๐๐ บาท
รวม ๓๐๖,๔๐๐ บาท

๑.๒ สร้างโรงกลึงสำหรับโรงรถจักร แบ่งเป็น
๑.๒.๑. อาคารโรงกลึง ๑๑๒,๐๐๐ บาท
๑.๒.๒. เครื่องจักรสำหรับโรงกลึงรถจักร ๔๕๒,๗๐๐ บาท
๑.๒.๓. ปั้นจั่นเลื่อนไฟฟ้า ๕ ตัน ๑๐,๐๐๐ บาท
รวม ๕๗๔,๗๐๐ บาท

๑.๓ สร้างโรงซ่อมรถโดยสารและโรงแบตเตอรี่ ๒ โรง (เปิดใช้ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔) แบ่งเป็น
๑.๓.๑. อาคารโรงซ่อมรถโดยสาร ๔๓๗,๕๐๐ บาท
๑.๓.๒. โรงแบตเตอรี่สำหรับด่าง (แบตเตอรี่อัลคาไลน์ - ใช้โซดาไฟ) ๑๐,๘๐๐ บาท
๑.๓.๓. โรงแบตเตอรี่สำหรับกรด (แบตเตอรี่ทั่วไป - ใช้กรดกำมะถัน) ๑๐,๘๐๐ บาท
๑.๓.๔. ปั้นจั่นเลื่อนไฟฟ้า ๓๐ ตัน ๓๐,๐๐๐ บาท
๑.๓.๕. Sand Taper machine ๙,๐๐๐ บาท
รวม ๔๙๘,๑๐๐ บาท

๑.๔ สร้างบ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๒)(๓) และ (๔)
๑.๔.๑. บ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๒) ๑๕,๐๐๐ บาท
๑.๔.๒. ซื้อสะพานเลื่อน ๒๒ เมตร สำหรับบ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๒) ๓๐,๐๐๐ บาท
๑.๔.๓. บ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๓) ๑๓,๐๐๐ บาท
๑.๔.๔. สะพานเลื่อน ๑๘ เมตร สำหรับบ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๓) -> ใช้ของเก่าที่มีอยู่แล้ว
๑.๔.๕. บ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๔) ๑๓,๐๐๐ บาท
๑.๔.๖. ซื้อสะพานเลื่อน ๑๘ เมตร สำหรับบ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๔) ๒๕,๐๐๐ บาท

๑.๕ สร้างถนนด้านหลังโรงไฟฟ้าไปจดคลอง (มักกะสัน) มูลค่า ๒๒,๐๕๐ บาท

๑.๖ ต่อโรงไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย การต่อโรงไฟฟ้า มูลค่า ๔,๕๐๐ บาท และ การซื้อ Rotary Converter มูลค่า ๒๕,๐๐๐ บาทรวม ๒๙,๕๐๐ บาท

๑.๗ สร้างโรงทองเหลือง มูลค่า ๒๖,๑๐๐ บาท

๒. ขั้นที่ ๒ ใช้เวลา ๒ ปี (พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๔) กำหนดเงินใช้จ่าย ๑,๓๒๖,๒๐๕ บาท - เพื่อการสร้างโรงซ่อมรถบรรทุกใหญ่โต และ โรงงานย่อยที่จำเป็น ที่ไม่สามารถสร้างให้เสร็จใน ๑ ปี มีรายละเอียดดังนี้
๒.๑ สร้างโรงซ่อมรถบรรทุก และ โรงกลึงล้อรถบรรทุก
๒.๑.๑ อาคารโรงซ่อมรถบรรทุก ๖๒๒,๐๘๐ บาท
๒.๑.๒ อาคารโรงกลึงล้อรถบรรทุก ๑๒๘,๐๐๐ บาท
๒.๑.๓ ปั้นจั่นเลื่อน ๒๐ ตันสำหรับโรงซ่อมรถบรรทุก ๒๐,๐๐๐ บาท
๒.๑.๔ เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor) โรงซ่อมรถบรรทุก ๒๐,๐๐๐ บาท
๒.๑.๕ เครื่องจักรสำหรับ โรงกลึงล้อรถบรรทุก ๖๐,๐๐๐ บาท
๒.๑.๖ เครื่องปั้นจันไฟฟ้า ๕ ตัน ๑๐,๐๐๐ บาท
รวม ๙๐๐,๐๘๐ บาท

๒.๒ สร้างโรงกลึง สำหรับ รถบรรทุกและรถโดยสาร
๒.๒.๑ อาคารโรงกลึง สำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร ๕๖,๐๐๐ บาท
๒.๒.๒ เครื่องจักรสำหรับ โรงกลึงรถบรรทุกและรถโดยสาร - ๒๐๕,๐๐๐ บาท
รวม ๒๖๑,๐๐๐ บาท

๒.๓ สร้างบ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๕) และ (๖)
๒.๓.๑ บ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๕) ๘,๐๐๐ บาท
๒.๓.๒ สะพานเลื่อน ๘ เมตร สำหรับบ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๕) -> ใช้ของเก่าที่มีอยู่แล้ว
๒.๓.๓ บ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๖) ๑๒,๐๐๐ บาท
๒.๓.๔ สะพานเลื่อน ๑๒ เมตร สำหรับบ่อสะพานเลื่อนหมายเลข (๖) -> ใช้ของเก่าที่มีอยู่แล้ว
รวม ๒๐,๐๐๐ บาท

๒.๔ สร้างโรงเลื่อยไม้ โรงช่างไม้ และ โรงเก็บไม้
๒.๔.๑ โรงเลื่อยไม้ และ โรงช่างไม้ ๑๐๕,๐๐๐ บาท
๒.๔.๒ โรงเก็บไม้ ๒๘,๒๑๕ บาท
๒.๔.๓ โรงเลื่อยท่อนซุง (Log mill) ๑๒,๐๐๐ บาท
รวม ๑๔๕,๑๒๕ บาท

๓. ขั้นที่ ๓ ใช้เวลา ๑ ปี (พ.ศ. ๒๔๘๕) กำหนดเงินใช้จ่าย ๙๔๙,๕๗๕ บาท - ที่เน้นการสร้างโรงกลึงสำหรับของเบ็ดเตล็ด โรงงานย่อยอื่นๆ และ ซื้อเครื่องจักรเครื่องกลใหม่ มีรายละเอียดดังนี้

๓.๑ โรงกลึงสำหรับของเบ็ดเตล็ด และ โรงซ่อมเครื่องไฟฟ้า
๓.๑.๑ อาคารโรงกลึงสำหรับของเบ็ดเตล็ด ๖๑,๒๕๐ บาท
๓.๑.๒ อาคารโรงซ่อมเครื่องไฟฟ้า ๒๔,๕๐๐ บาท
๓.๑.๓เครื่องจักรสำหรับโรงกลึงของเบ้ดเตล็ด ๓๒,๐๐๐ บาท
รวม ๑๑๗,๗๕๐ บาท

๓.๒ โรงหล่อและโรงเก็บและทำแบบไม้ (โรงกระสวน)
๓.๒.๑ อาคารโรงหล่อ ๖๑,๒๕๐ บาท
๓.๒.๒ โรงเก็บและทำแบบไม้ (โรงกระสวน) ๓๑,๒๕๐ บาท
๓.๒.๓ เครื่องจักรสำหรับโรงหล่อ ๒๑,๘๐๐ บาท
รวม ๑๑๔,๓๐๐ บาท

๓.๓ อาคารโรงซ่อมของเบ็ดเตล็ดที่เสีย ๓๐,๖๒๕ บาท

๓.๔ ซื้อเครื่องจักรอื่นๆ
๓.๔.๑ เครื่องจักรสำหรับโรงตีเหล็ก ๕๙,๐๐๐ บาท
๓.๔.๒ เครื่องจักรสำหรับโรงรถดีเซล ๕๓,๕๐๐ บาท
๓.๔.๓ เครื่องปั้นจั่นเลื่อน ๕๐ ตันสำหรับ โรงรถดีเซล ๓๕,๐๐๐ บาท
๓.๔.๔ เครื่องปั้นจั่นเลื่อน ๕ ตันสำหรับ โรงรถดีเซล ๑๐,๐๐๐ บาท
๓.๔.๕ เครื่องปั้นจั่นเลื่อน ๓ ตันสำหรับ โรงหล่อ ๖,๐๐๐ บาท
๓.๔.๖ เครื่องปั้นจั่นเลื่อน ๑ ตันสำหรับ โรงหล่อ ๕,๐๐๐ บาท
๓.๔.๗ เครื่อง Hydromatikus สำหรับโีรงรถจักร ๑),)๐๐ บาท
๓.๔.๘ เครื่อง Rotary Converter สำหรับโรงไฟฟ้า ๒๕,๐๐๐ บาท
รวม ๒๑๑,๒๐๐ บาท

๓.๕ วางรางรถในโรงต่างๆ
๓.๕.๑ ทางรถไฟ ๑๐๔,๔๐๐ บาท
๓.๕.๒ วงเวียนกลับรถ ๔ ล้อ ๓๖,๐๐๐ บาท
๓.๕.๓ บ่อวงเวียนกลับรถ ๗,๒๐๐ บาท
๓.๕.๔ หัวประแจ ๓,๒๐๐ บาท
๓.๕.๕ ถังน้ำ ๒๐๐ เมตรลูกบาศก์ และ ท่อจ่ายน้ำ ๔๐,๐๐๐ บาท
รวม ๑๙๐,๘๐๐ บาท

๓.๖ ย่านเก็บรถ
๓.๖.๑. สะพาน ๓๐ เมตร รวมฐานต่อม่อ ๔๐,๐๐๐ บาท
๓.๖.๒. ทางรถไฟรวมหินโรยทาง ไม้หมอน ๒๑๔,๕๐๐ บาท
๓.๖.๓. หัวประแจ ๓๐,๔๐๐ บาท
รวม ๒๘๔,๙๐๐ บาท

๔. ขั้นที่ ๔ ใช้เวลา ๑ ปี (พ.ศ. ๒๔๘๖) กำหนดเงินใช้จ่าย ๘๔๑,๘๐๐ บาท

๔.๑ สร้างโรงรถจักรดีเซลและ โรงรถจักร ๕๔๘,๔๐๐ บาท

๔.๒ สร้างบริเวณที่ทำการ
๔.๒.๑ ตึกที่ทำการ ๗๙,๒๐๐ บาท
๔.๒.๒ โรงเรียน และ โรงทดลอง ๒๘,๐๐๐ บาท
๔.๒.๓ โรงรถยนต์ ๓,๒๐๐ บาท
๔.๒.๔ โรงอาหาร ๙,๐๐๐ บาท

รวม ๑๑๙,๔๐๐ บาท

๔.๓ รื้อถอน ดัดแปลงโรงต่างๆ เป็นพันพัสดุ ทำถนนรั้วและทำส้วม
๔.๓.๑ ดัดแปลงโรงรถโดยสารเก่า (อาคาร รฟผ. ๒๔๖๕) เป็นพัสดุมักกะสัน ๑๕,๐๐๐ บาท
๔.๓.๒ ทำพื้น ซ่อมแซมโรงรถบรรทุกเก่าเป็นพัสดุมักกะสันและพัสดุโรงงาน ๕๐,๐๐๐ บาท
๔.๓.๓ ซื้อปั้นจั่นเลื่อนสำหรับที่เก็บของหนัก ๑๕,๐๐๐ บาท
๔.๓.๔ ทำถนนให้เสร็จเรียบร้อย ๔๒,๐๐๐ บาท
๔.๓.๕ ทำส้วม ๕,๐๐๐ บาท
๔.๓.๖ ค่ารื้อถอนโรงต่างๆ ๒๐,๐๐๐ บาท
๔.๓.๗ รั้วถาวร ๒๗,๐๐๐ บาท
รวม ๑๗๔,๐๐๐ บาท

รวม ๔,๖๗๐๔๓๐ บาท

ส่วนจำนวนเงินที่ขาดไปอีก ๓๒๙,๕๗๐ บาท นั้น จะใช้ในการพาดสาย ตั้งเครื่องไฟฟ้า และโคมไฟกับสร้างโรงงานซ่อมของหนัก เช่นเหล็กสะพานเป็นต้น ที่ไม่สามารถกำหนดเข้าในขั้นทำงานทั้ง ๔ ขั้นได้ เนื่องจากต้องกะสถานีที่ตั้งโรงงานซ่อมของหนักให้เป็นที่แน่นอน เสียก่อน ถ้าทางการต้องการให้แก้ไขแบบ การพาดสายก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย

ส่วนผลตอบแทนจากการขยายโรงงาน นั้น สามารถอธิบายให้กระจ่างได้ดังนี้

รถจักร ๑ คันใช้หารายได้ เดือนละ ๓๐๐๐ บาท (ซื้อทองแท่งได้ ๑๒๐ บาท) การปรับปรุงให้ซ่อมรถจักร ๔๘ คันจากเสร็จใน ๔ เดือนเป็นเสร็จใน ๓ เดือน ทำให้ได้ประโยชน์ ถึง ๔๘ x ๓๐๐๐ เท่ากับ ๑๔๔,๐๐๐ บาท นอกจากนี้ ยังประหยัดค่าแรงซ่อมรถ ๔๘ x ๗๕๐ เท่ากับ ๓๖,๐๐๐ บาท รวมเป็นเง้น ๑๘๐,๐๐๐ บาท (ซื้อทองแท่งได้ ๗,๒๐๐ บาท)

ส่วนกรณี รถบรรทุกและรถโดยสารนั้นแม้จะใช้เวลาซ่อมได้เท่าเดิม แต่ มีผลทำให้ไม่มีรถตกค้างซ่อมดุจแต่ก่อนเลย และ ถ้าพิจารณา ว่า รถจักรมีอายุการใช้งาน ๒๕ ปี รถโดยสารมีอายุการใช้งาน ๒๐ ปี และ รถบรรทุกมีอายุการใช้งาน ๑๕ ปี แล้วการสำรองเงินลด ก็จะมากพอซื้อรถจักรรถพ่วงแทนของเก่าที่หมดอายุได้ แต่ถ้าสามาารถยืดอายุการใช้งานรถจักร และ รถพ่วง ให้สามารถใช้งานได้เกินอายุนั้นก็คุ้มกับทุนที่ต้องลงไปในการแก้ไขและขยายโรงงานมักกะสันในภายหลังได้

นอกจากนี้คณะกรรมการ เห็นว่าจะต้องซื้อที่ดินเพิ่ม เพื่อสร้างกรรมกรนิคม (นิคมรถไฟมักกะสัน) ให้กรรมกรโรงงานมักกะสันได้เช่าอาศัยใกล้โรงงานมักกะสันในราคาย่อมเยา ไม่ต้องเดินทางไกลมาทำงาน แม้ต้องลงทุนมากแต่ ก็คุ้มค่าเพราะ ตัดความจำเป็นต้องเดินรถงานระหว่างกรุงเทพ และ มักกะสันลงได้ และ ที่ต่างประเทศก็มีการตั้งกรรมกรนิคมกันอยู่เป็นตัวอย่าง ซึ่งกรมรถไฟสมควรอนุโลมตามนี้ แม้จะต้องรอนานกว่าจะจะนำประโยชน์รายได้มาให้กรมรถไฟ แต่ก็เป็นการยังประโยชน์ในการเกื้อกูลฐานะของกรรมกรให้ดีขึ้นตลอดจนครอบครัวของกรรมกรเอง เช่นการประหยัดรายจ่าย มีสถานีที่ศึกษาให้บุตรธิดาในที่ใกล้เคียง (เช่นที่โรงเรียนวัดดิษหงสาราม และ โรงเรีนมักกะสันพิทยาคม) และ ได้รับการอนามัยเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม ในการตั้งกรรมกรนิคมนี้ หาได้รวมอยู่ในโครงการที่จะแก้ไขและขยายโรงงานมักกะสันแต่ที่กรรมการ ที่ หม่อมเจ้าเสริมสวาสดิ กฤษฎากร เป้นประธาน ได้เสนอขึ้นนั้นเป็นข้อที่น่าคิด ซึ่งก็ต้องแล้วแต่ทางการจะพิจารณาต่อไปตามเห็นสมควร

เลิกประชุม เวลา ๑๑.๓๐ น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2014 12:49 am    Post subject: Reply with quote

๑ กรกฎาคม ๒๔๙๓ หลวงเสรีเริงฤทธิ์และบรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของ กรมรถไฟ ได้ทำบัญชีรายการอาคารที่ต้องซ่อมสร้างกันใหม่ ในวงรอบงบประมาณ ๒๔๙๓-๒๔๙๔

๑. โรงกลึงล้อขนาด ๓๕ เมตร x ๑๒๐ เมตร ที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนในปี ๒๔๙๓ ซึ่งประกอบด้วย
ก. ตัวอาคารคิดเงินประมาณ ๑,๔๐๐,๐๐๐ บาท
ข. ค่าวางรางคิดเงินประมาณ ๒๑๘,๐๐๐ บาท
ค. วงเวียนกลับล้อ ๑๙ ชุด ชุดละ ๒ หมื่นบาท รวม ๓๘๐,๐๐๐ บาท
๒. โรงเบ็ดเตล็ด ขนาด ๓๕ เมตร x ๘๐ เมตรที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนในปี ๒๔๙๓ คิดเงินประมาณ ๑,๑๒๐,๐๐๐ บาท
๓. โรงซ่อมรถบรรทุก ขนาด ๖๔ เมตร x ๑๓๙.๕ เมตร ที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนในปี ๒๔๙๓ ซึ่งประกอบด้วย
ก. ตัวอาคารคิดเงินประมาณ ๓,๕๘๐,๐๐๐ บาท
ข. บ่อสะพานขนาด ๑๖ เมตร x ๑๕๒ เมตร คิดเงินประมาณ ๓๑๐,๐๐๐ บาท (ยังไม่คิดค่าสะพานเลื่อน)
๔. โรงหล่อและโรงกระสวน ซึ่งประกอบด้วย
ก. ขนาด ๓๔ เมตร x ๔๘ เมตร คิดเงินประมาณ ๖๕๓,๐๐๐ บาท
ข. โรงเก็บและทำแบบไม้ (โรงกระสวน - pattern shop) ขนาด ๒๖ เมตร x ๔๘ เมตร คิดเงินประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ บาท
๕. โรงซ่อมรถดีเซล ขนาด ๘๒ เมตร x ๑๐๕ เมตร คิดเงินประมาณ ๓,๔๕๐,๐๐๐ บาท
๖. โรงซ่อมรถโดยสาร ขนาด ๑๓๒.๕๐ เมตร x ๗๑ เมตร คิดเงินประมาณ ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๗. โรงเลื่อนและโรงไม้ ขนาด ๓๕ เมตร x ๘๐ เมตร คิดเงินประมาณ ๑,๔๒๐,๐๐๐ บาท

เฉพาะส่วนงบประมาณเร่งด่วนที่ต้องใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ คิดเงินประมาณ ๗,๐๐๘,๐๐๐ บาท
ถ้าคิดทั้งหมดจะเป็นเงินถึง ๑๗,๐๓๑,๐๐๐ บาท

//------------------------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2014 2:57 am    Post subject: Reply with quote

ช่วงปี ๒๔๙๑ นั้นโรงงานมักกะสันซ่อมรถได้ช้ามากเพราะ คนงานโรงหล่อที่มีฝีมือก็หนีไปทำงานเอกชน
ไฟฟ้าก็มีแต่โรงไฟฟ้าวัดเลียบที่ส่งมาวันเว้นวัน หรือไม่ก็ไปจากโรงานปูนซีเมนต์ไทยในบางครั้ง ส่วน
เหล็ก และ เหล็กกล้าขาดมือ ทองแดงขาดมือ จนต้องสั่งจากอเมริกาเพื่อนำทองแดงไปหล่อกะ สักะสีและ ดีบุกให้ได้ทองเหลือง แทนของเก่าที่โดนลักขโมยไป ตอนแรกใช้เตาถ่านโค้กแต่ถ้านโค้กแพงมาก เลยหันไปใช้ถ่านไม้ที่กำลังไม่ดีเท่า หรือ ไม่ก็ดัดแปลงเตาหลอมทองเหลือให้ใช้น้ำมันขี้โล้ที่ราคาถูกในเวลานั้น (เป็นยุคนี้ถ้าไม่ใช้ไบโอดีเซลก็ต้องเอาน้ำมันเครื่องมากรองและรีไซเคิล) ก็เลยไหว้วานให้ กรมอู่ทหารเรือ กรมช่างแสง กรมโยธาเทศบาล กรมช่างทหารอากาศ และ ครุกะนักเรียนช่างกลปทุมวัน ช่วงเหลือกรมรถไฟเรื่องงานหล่อเหล็กหล่อทองแดงให้กรมรถไฟโดยจะส่งแม่แบบไปให้ เป็นตัวอย่างพร้อมการสร้างเตาน้ำมันขี้โล้ โดยจะออกค่า แรงให้ และถ้าโรงงานดัีงกล่าวมีโลหะก็ขอยืมไปใช้ก่อน แล้วจะหาโลหะชนิดเดียวกันมาคืนให้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2014 3:43 am    Post subject: Reply with quote

ตอนที่ผู้ว่าแสง จุลจาริตต์ ตรวจพินิจงาน ที่โรงงานมักกะสัน เมื่อ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ตีพิมพ์เมื่อ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๙ เลยได้ทราบความว่า

๑) วญก. รายงานว่ารถจักรเล้ก หมายเลข ๑๕๖ พร้อมรถโดยสารโบกี้ ๒ คัน นั้น ฝ่ายการช่างกล ได้ทำจำลอง โดยย่อส่วนมาแต่ของจริง เดินได้ด้วยลมอัด

๒) วญก. รายงานแผนพัฒนาโรงงาน อันได้แก่
๒.๑) จัดสร้างศูนย์เครื่องมือการกล ๑ แห่ง
๒.๒) สร้างโรงงานผลิตยางและพลาสติก
๒.๓) วางศูนย์การขนส่ง เพื่อลดค่าใช้จ่ายในกาสรขนส่งลงจากตันละ ๑๐ บาท เศษ เหลือตันละ ๓.๑๑ บาท
๒.๔) วางแผนการใช้เครื่องมอืกลให้เป็นประโยชน์
๒.๕) วางโครงการผลิตอาไหล่เครื่องยนต์ดีเซล ที่เริ่มมา ๒ ปีแล้ว
๒.๖) วางแผนการสร้างรถดดยสารและรถสินค้า
๒.๗) วางแผนการปรับปรุงโรงหล่อ
๒.๘) จัดการในด้านสวัสดิการคนงาน

๓) วญก. รายงานกิจการภายในโรงงาน อันได้แก่
๓.๑) ปรับปรุงการซ่อมรถ
๓.๒) แผนการสร้างรถพ่วงในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔

๔) วอฟ. บรรยายสรุปการดำเนินงานของกองไฟฟ้าคือ
๔.๑) งานของแผนกซ่อมรถดีเซล
๔.๒) งานของแผนกกำกับการซ่อมไฟฟ้า

๕) ตรวจโรงซ่อมหม้อน้ำ ซึ่ง วซจ. ได้ชี้แจงว่าโรงซ่อมหม้อน้ำได้แบ่งงานออกเป็น ๓ หน่วยคือ
๕.๑) หน่วยซ่อมหม้อน้ำรถจักร
๕.๒) หน่วยซ่อมรถจักร
๕.๓) หน่วยงานโลหะแผ่น (Sheet metal Work) และ ซ่อมเก๋งรถจักร

๖) ตรวจพินิจโรงงานเครื่องมือกล โดย วซจ. อธิบายว่า โรงงานผลิตชิ้นส่วนของรถจักรไอน้ำทุกชิ้นได้เอง (น่าจะรวมเป็นตำราให้ โรงรถจักรธนบุรีจริงๆ) และ นำชมชิ้นส่วนต่างๆ ชมเครื่องจักรกล และ เขตการซ่อมภายในโรงงาน

๗) ตรวจโรงซ่อมรถจักรไอน้ำ โดย วซจ. บรรยายวิธีซ่อมรถจักรไอน้ำ และ อธิบายหน้าที่ของเครื่องจักรกล แสดงแผ่นป้ายติดรถจักรในแต่ละสมัย นำชมรถจักรไอนำ้ เลขที่ ๓๒ ได้รับจากรถไฟสายแม่กลองเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์ (ชอบกลแฮะ เพราะ รถจักร ๓๒ นี่มันของสูงเนินชัดเลย)

๘) ตรวจโรงซ่อมรถจักรดีเซล วซซ. นำตรวจผลการคว้าน อัดปลอกบ่ากระบอกสูบ เครื่องยนต์ดีเซล รถขนส่ง แม่แบบ Jigs ต่างๆ เครื่องล้างส่วนประกอบเครื่องยนต์ อุปกรณ์รถจักรดีเซล ตรวจกิจการแผนกไฟฟ้ารถโดยสาร การซ่อมพัดลมและอืนๆ

๙) ตรวจโรงซ่อมรถโดยสาร โดย สซส. นำตรวจการซ่อมรถชำรุด การะประกอบตลับลูกกลิ้ง การซ่อมสร้างรถไฟเล็ก การสร้างรถดดยสารใช้เอง ตรวจการดัดแปลงตู้เหล็กเก็บเงิน ตามที่ ท่าน คกร. (พลโท ไสว ดวงมณี) ให้ข้อคิดไว้ และเชินท่าน ปกนร. และท่าน ผวก. (ผู้ว่าแสง) ทำพิธีการเปิด รถบชส. เลขที่ ๓๖๓ ซึ่งเป็นรถคันสุดท้ายในจำนวน ๑๐ คัน ในจำนวน ๑๐ คัน ที่ ท่าน ผวก. (ผู้ว่าแสง) เมื่อครั้งยังเป็น รผบ. ริเริ่มให้ดำเนินการสร้างขึ้นใช้เองเป็นครั้งแรก

๑๐) สซส. ชี้แจงว่า การสร้างรถดดยสารแต่ละคันใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ ๙๐ วัน แต่ ถ้าจัดระบบการประกอบรถให้เกี่ยวเนื่องกันเป็นลุกโซ่ จะลดเวลาได้อีก ๑๐ วัน

๑๑) วซส. นำตรวจตัวอย่างหน้าต่างกระจกและหน้าต่างอลูมิเนียม รถโดยสารที่ผลิตขึ้นแทนหน้าต่างไม้ และ หน้าต่างกระจกของเดิม หน้าต่างใหม่นี้ขึ้นลงได้ทุกระดับ น้ำหนักเบา จะใช้แก่รถโดยสารทุกคันที่เข้าซ่อมหนักตามวาระ

๑๒) ตรวจโรงงานซ่อมรถบรรทุก ชมการประกอบรถ ตญ. รุ่นใหม่ ตรวจเครื่องพ่วงอัตโนมัติ แบบต่างๆ
ตรวจแหนบรถบรรทุกของญี่ปุ่นระห่วงแขวน แหนบ ๑ ห่วงซึ่งประสิทธิ์ภาพด้อยกว่า รถบรรทุกของเบลเยี่ยม ที่ใช้ระบบห่วงแขวนแหนบ ๒ ห่วง และ ฟังการชี้แจงลักษระการทำงานของเครื่องพ่วงอัตโนมัติ

๑๓) ตรวจ รถ ตญ. ที่สร้างขึ้นใช้เอง เปรียบเทียบกับรถ ตญ. ที่ซื้อจากญี่ปุ่น วซท. ชี้แจงว่า รถ ตญ. ที่สร้างขึ้นใช้เองดีกว่า รถที่ซื้อจาก ต่างประเทศ ราคาถูกกว่าคันละ ๘ พันบาท

๑๔) วญก. ชี้แจงว่า รถ ตญ. ญี่ปุ่น รุ่น ๘๔๐ คัน มีข้อบกพร่อง ๓ ประการ คือ
๑๔.๑) กาบเพลาเปิดปากน้อยไป
๑๔.๒) เหล็กรองรับก้านเครื่องบังคีบห้ามล้อชิดเกินไป
๑๔.๓) สปริงทวารช่วยส่งลมห้ามล้ออ่อนไป

แต่กระนั้นก็ให้ออกใช้งานได้ โดยไม่ต้องแก้ไข เนื่องจากอยูา่ในอายุสัญญา

๑๕) ตรวจโรงหล่อและโรงกระสวน ตรวจแบบกระสวนที่สร้างด้วยไม้ที่จะทำเป็นแบบหล่อ ตรวจสอบสถิติการหล่อหลอม ดูวิธีการหล่อแท่งห้ามล้อ การตกแต่งการจัดวางเครื่องทำแบบหล่อให้เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตแท่งห้ามล้อจากเดือนละ ๕ พันแท่งเป็นเดือนละ ๙ พันแท่ง

๑๖) ตรวจโรงล้อ วผผ. นำชมเพลาต่างๆ อธิบายการตรวจเพลาร้าวด้วยระบบ อีเล้คทรอนิกส์ และ ระบบแม่เหล็ก ชมการใส่ปลอกล้อ ใส่วงแหวน ดูลานเก็บล้อพร้อมเพลา ดูล้อสมัยต่างๆ ที่เก็บไว้เป็นพิพิธภัณฑ์

๑๗) ตรวจโรงเบ็ดเตล็ด ชมการผลิตเบาะน้ำมันไหมพรม การทอแผ่นเบาะ ส่วนใหญ่ใช้คนงานสตรี ที่เป็นลุกหลานผู้ปฏิบัติงานรถไฟในโรงงานมักกะสัน

๑๘) ตรวจโรงเครื่องมือกล ชมกิจการศูนย์เครื่องมือกล การผลิตมีดกลึง การเชื่อมกน้ามีดกลึง การประกอบหน้ามีดด้วยไฟฟ้าและแก๊ส การซ่อมหม้อเพลาระบบใหม่ การกลึง ไส เจียน เจาะ และ อื่นๆ

๑๙) ตรวจโรงเหล็ก วผผ. ชี้แจงว่า โรงงานนี้ผลิตแหนบมีคุณภาพไม่ยิ่งหย่อนกว่าที่สั่งจากต่างประเทศ สามารถผลิตได้เดือนละ ๔๕๐ ตับ ใช้ในกิจการโรงงานเดือนละ ๔๐๐ ตับ ส่งสำนักงานคลังพัสดุ เดือนละ ๕๐ ตับ

๒๐) ตรวจโรงงานเชื่อมราง ฝ่ายการช่างโยธา วงท. บรรยาย สรุปกิจการราชเชื่อม ประโยชน์ของรางเชื่อม และ แสดงวิธีการเชื่อมรางขนาด ๗๐ ปอนด์ (BS70) เป็นรางเชื่อมยาวท่อนละ ๑๔๔ เมตร

๒๑) ฝ่ายการช่างกล และ ฝ่ายการช่างโยธา - ตรวจโรงฟื้นของเก่า ชมผลิตภัณฑ์จากเศษเหล็ก และ ชิ้นส่วนจักรกลที่ไม่ใช้แล้ว ตรวจการผลิตยางรูปพรรณใช้กะล้อเลื่อน ซึ่งการนี้ผวก. (ผู้ว่าแสง) ขอให้ นาวาอากาศ โท จรินทร์ ผู้ชำนาญการยาง กาทางผลิตยางเพื่อใช้กะหมอนคอนกรีตที่ วญธ ได้ส่งแบบตัวอย่างให้ศึกษา

ในการนี้ได้ตรวจพินิจครั้งนี้ ผู้ว่าแสง ได้ให้ความเห็นว่ายังขาด การป้องกันอัคคีภัย และ การป้องกันการ ก่อวินาศกรรม ขอให้ตระหนักและหาวิธีป้องกัน

นอกจากนี้ ผู้ว่าแสง ขอให้ โรงงานมักกะสัน หาทางสร้างส่วนประกอบรถจักรขึ้นใช้เอง เช่นเดียวกันกับส่วนประกอบรถจักรไอน้ำ ที่ทำได้ในขณะนี้ - ถ้าเป็นยุคนี้ คงต้อง สั่งรถจักร ๑๐๐ คันขึ้นไปเพื่อให้ได้สายการผลิต รถจักรและเครื่องอาไหล่ท่าจะเหมาะกว่า

นอกจากนี้ ขอให้พยายามให้ความสะดวกสบาย แก่ผู้ปฏิบัติงาน ในด้านสวัสดิการณ์ และพยายามหาวิธีการใช้เครื่องมือกลนับร้อยชิ้นมูลค่า ๗๐ ล้านบาทที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์เต็มที่

เวลานั้น กองโรงงานมีพนักงาน ๑๙๖ คน คนงาน ๒,๐๖๖ คน และ นักเรียนช่างฝีมือ ๒๐๘ คน
ส่วนกองไฟฟ้า มี พนักงาน ๗๑ คน คนงาน ๓๓๓ คน และ คนงานชั่วคราว ๑๐๑ คน

ส่วนอาณาขตโรงงาน มีความยยาว ๒๔๐๐ เมตร กว้างเฉลี่ย ๒๙๐ เมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๔๓๕ ไร่ เป็นที่ทำการโรงกลจักร ถึง ๒๒๐ ไร่ มีอาคารสายงานซ่อม ๖ โรง สายงานผลิต ๘ โรง อาคารอื่นๆ ๑๐ อาคาร มีอาคารพัสดุโรงงาน ๕ โรงรวมทั้ง โรง รฟผ. ๒๔๖๕ ด้วย ถังน้ำจุ ๒๕๐ ลูกบาศก์เมตร ๑ ถัง

เป้าหมายในปี ๒๕๐๙ จัดหาเครื่องมือกลเพิ่ม ตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติแล้ว ๕.๗ ล้านบาท และ ทำ บัญชี Bill of material เพื่อทำผังรถ ที่จะสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ พร้อมตั้งเบิกแคร่ ล้อพร้อมเพลา อุปกรณ์ต่างๆในระบบล้ามล้อ และ อื่นๆ พร้อมจัดหา สถานีที่ในโรงงานมักกะสัน เพื่อดัดแปลงสำหรับสร้างรถพ่วง

เป้าหมายในปี ๒๕๑๐ นี้ ต้องทำโครงแคร่รถ บทค. ๑๖๐ คัน และ รถ บชส. ยาว ๑๙ เมตร จุได้ ๙๖ คัน จำนวน ๒๐ คัน แคร่ส่วนหนึ่งจะนำเข้า อีกสวนจะ ประกอบเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 05/05/2014 1:44 pm    Post subject: Reply with quote

๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ จดหมายจากเลขาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำให้ทราบว่า ตอนนี้ รถจักรรถพ่วงที่ชำรุดจอดรอซ่อมเต็มย่านกรุงเทพ มหานคร และ ธนบุรี เพราะที่โรงงานมักกะสันไม่มีที่วางให้ซ่อม และ ดรงงานก็ชำรุดทรุดโทรมหนัก และ ขาดเครื่องมือบูรณะ ตอนนี้ได้ว่าจ้างเอกชนให้ช่วยรับเหมาไปซ่อม แต่ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ และ ได้รับรายงานเมื่อ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑ ว่า
๑. ได้ซ่อมรถโบกี้โดยสารที่ ชำรุดเสียหายไป ๕๐ หลัง
๒. ได้ดัดแปลงรถ บตญ. ไม้อัดสั่งจากอินเดีย ให้เป็น รถโดยสารชั้นสาม (รถ บตส.) ๑๕๖ หลัง

จอมพลป. (นายกรัฐมนตรี) รับทราบเมื่อ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๑

๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ กรมรถไฟรายงานให้ ปลัดกระทรวงคมนาคมเรื่องคนโดยสารเบียดกัน ว่า ที่ ผู้โดยสารชั้น สาม ต้องเบียดเสียดยัดเยียดในรถชั้น สาม กันนัก จนต้องหนัีไปขึ้นรถชั้น สอง หรือ ชั้น หนึ่ง ก็เพราะ รถชำรุดมีมาก ซ่อมไม่ทัน ตามสถิติดังนี้

ก่อนสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๔) มีรถโดยสาร ๓๒๓ คัน ใช้การได้ ๒๙๘ คัน ชำรุด ๒๕ คัน
สิ้นสุดสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๘) มีรถโดยสาร ๓๑๑ คัน ใช้การได้ ๑๘๔ คัน ชำรุด ๑๒๗ คัน
ขณะนี้ (พ.ศ. ๒๔๙๑) มีรถโดยสาร ๔๕๐ คัน ใช้การได้ ๓๘๓ คัน ชำรุด ๖๗ คัน

นี่รับรวมรถพระที่นั่ง รถจัดจำเพาะ รถ บพห. รถ บสพ. หรือ รถที่กำลังรอซ้อมหรืออยู้ระหว่างซ่อมนะ และ ยังมีรถโดยกัก ซ่อมเบาอีก ร้อยละ ๑๐ ของรถโดยสารทั้งหมดอีกด้วย แม้จะมีรถเพิ่มขึ้นโดยการดัดแปลงรถ บตญ. ไม้อัดสั่งจากอินเดีย ให้เป็น รถโดยสารชั้นสาม (รถ บตส.) แต่ ใช้ได้ไม่นาน ก็เกิดปัญหา ชำรุด เนื่องจากโดนลูกไฟจากรถจักรไอน้ำกระเด็นไปไหม้ ตัวรถไม้อัด อีกทั้งรถที่ทำจากไม้อัดก็อยู่ไม่ทนด้วย

๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ได้เรียกประชุม อธิบดีกรมรถไฟ อธิบดีกรมชลประทาน เจ้ากรมช่างแสงทหารบก เจ้ากรมอู่ทหารเรือ ผู้อำนวยการโรงงานมักกะสัน (นายช่างอาชว์) ผู้อำนวยการโรงงานทหารอากาศ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนช่างกลปทุุมวัน (ภายหลังได้เพิ่ม อธิบดีกรมโยธาเทศบาล เข้าด้วยเมื่อ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑) เรื่องการหาทางช่วยโรงงานมักกะสัน เพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงรถจักรรถพ่วงเนื่องจากประสิทธิภาพ เหลือ เพียง ร้อยละ ๔๐ เมื่อเทียบกับเวลาก่อนเกิดสงคราม โดยการช่วยหล่อโลหะ เพื่อใช้ในการซ่อมรถจักรรถพ่วง โดย ผู้อำนวยการโรงงานมักกะสัน (นายช่างอาชว์) จะนำแม่แบบเพื่อการพิมพ์และหล่อโลหะ และ เตาหล่อทองเหลือง ที่ ใช้น้ำมันขี้โล้เป็นเชื้อเพลง ที่ได้จากการดัดแปลงเตาที่ใช้ถ่านโค้กและ ถ้าไม้เป็นเชื้อเพลิงในยามที่ถ่านโค้ก ขาดตลาด ไปให้ กรมช่างแสง กรมอู่ทหารเรือ โรงงานทหารอากาศ โรงเรียนช่างกลปทุมวัน และ กรมชลประทาน ได้จดัการหล่อไปส่งให้ใช้ โดยคิดค่า แรงงานและค่าวัสดุที่ ต้องนำมาใช้ ในกรณีที่ ไม่มีวัสดุที่ต้องการ ถ้ามีวัสดุที่ต้องการก็ให้กรมรถไฟ ไปหา วัสดุมาชดใช้คืนในภายหลัง โดยกำหนดงานให้ดั่งนี้

๑. กรมอู่ทหารเรือ ช่วยหล่อเหล็ก ทำสลักเกลียว แป้นเกลียว โดยโรงงานมักกะสัน ยอมจ่ายเหล็กถลุงและถ่านที่เพิ่งได้มาใหม่ให้ และ กรมอู่ทหารเรือคิดแต่ค่าแรง และค่าใช้สอยตามความจำเป็น ที่ได้จ่ายจริง โดยต้อส่งใบเสร็จมาเบิกค่าใช้้จ่าย

๒. โรงเรียนช่างกลปทุมวัน จะหล่อเหล้กและ เครื่องประกอบรถโดยสาร โดยโรงงานมักกะสัน ยอมจ่ายเหล็กถลุงและถ่านที่เพิ่งได้มาใหม่ให้ และ กรมอู่ทหารเรือคิดแต่ค่าแรง และค่าใช้สอยตามความจำเป็น ที่ได้จ่ายจริง

๓. ส่วนโรงงานกรมช่างแสง และ โรงงานทหารอากาศ ให้ซ่อมรถจักรรถพ่วง ตากำลังที่มีอยู่ โดย ผู้อำนวยการโรงงานมักกะสัน (นายช่างอาชว์) จะนำแม่แบบเพื่อการพิมพ์และหล่อโลหะ และ เตาหล่อทองเหลือง ที่ ใช้น้ำมันขี้โล้เป็นเชื้อเพลิง ที่ได้จากการดัดแปลงเตาที่ใช้ถ่านโค้กและ ถ้าไม้เป็นเชื้อเพลิงในยามที่ถ่านโค้ก ขาดตลาด ไปให้ โดยการช่วยหล่อโลหะ ด้วย

อย่างไรก็ตาม ในกรณีกรมชลประทานนั้นต้องรอ อีก ๖ เดือน กว่า โรงไฟฟ้าสามเสนเปิดใช้งานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด ๔ พันกิโลวัตต์ เพราะ โรงไฟฟ้าวัดเลียบ ต้องจ่ายไฟแบบวันเว้นวัน ระหว่างฝั่งพระนคร และ ฝั่งธนบุรี

ส่าวนการเบิกเงินซื้อของนั้น ให้ วิศวกรหัวหน้ากองโรงงานมักกะสันวางฎีกาเบิกสิ่งของไปยังกองพัสดุกรมรถไฟ เพื่อเรียกประกวดราคา ได้ผลประการใดก็แจ้งรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมให้ คณะรัฐมนตรีอนุมัติการจ่ายเงินตราต่างประเทศในอัตรารัฐบาล เพื่อการซือ้ของที่จำเป็นจากต่างประเทศ โดยด่วนที่สุด

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ รถ บตญ. ไม้อัดที่สั่งจากอินเดียใช้งานไม่ทนทาน ชำรุดง่าย แถมเมื่อนำไปดัดแปลงเป็น รถ บตส. ก็พบปัญหาไฟไหม้ต้องเปลี่ยไม้อยู่เนื่องๆ และ รถจักรแมคอาร์เธอร์ มีปัญหาล้อรถลำเลียงชำรุด ทั้งๆที่ใช้งานในประเทศไทยไม่ถึงสองปี จนนำออกมาใช้การไป่ได้ถึง ๑๘ คัน ร้ายกว่านั้นช่างฝีมือดีๆก้หนีไปทำงานเอกชยนหมด แม้จะขึ้นค่าแรง ให้ ก็จะเสียการปกครองเพราะ จะทำให้ คนงานมีเงินเดือนสูงกว่าผู้สั่งการ

นอกจากนี้ปัญหาโรงงานต้องได้รับการบูรณะ เพื่อให้มีประสิทธิภาพดีดุจดังก่อนสงครามกล่าวคือ สามารถซ่อมหนักรถจักร ได้ ๔-๕ คันต่อเดือน ซ่อมหนัก รถโดยสาร ได้ ๑๐ คันต่อเดือน และ รถบรรทุก ทั้งซ่อมหนัก กลาง เบา ได้เดือนละ ๒๐๐ คัน - แต่ตอนนี้ทำไม่ได้ เพราะ ปั้นจั่น ขนาด ๑๐ ตัน ในโรงซ้่อมรถบรรทุก ถูกระเบิดทำลายจนใช้การไม่ได้ ส่วนปั้นจั่น ๑๕ ตัน สองเครื่อง ในโรงซ่อม รถโดยสาร ก็โดนระเบิดทำลายจนทางเดินของสะพานใช้การไม่ได้ไป สามช่วง เพิื่งซ่อมเสร็จเมื่อ สองเดือน (กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ ) ส่วนปั้นจั่น ๘๐ ตันในโรงซ้่อมรถจักร ก็โดนระเบิดทำลายยับเยิน เพิ่งซ่อมให้ใช้การได้ เมื่อ เดือนที่แล้ว (สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๑) ตอนนี้ซ่อมรถบรรทุกได้ ๓๐ - ๔๐ คันต่อเดือน และ รถดดยสาร ๒ - ๓ คันตอ่เดือนถ้าทำรายวัน หรือ ถ้าใช้การเหมาก๋ซ่อมรถโดยสาร ไ้ด ๘๐-๑๐๐ คันต่อเดือน และ รถโดยสาร ๔ - ๕ คันต่อเดือน แต่ การเหมาได้งานคุณภาพต่ำกว่าการซ่อมรายวัน รถจักร ซ่อม ได้ เดือนละ ๑- ๒ คันเป็นอย่างมาก มิหนำซ้ำ รถจักร รถพ่วงที่จอดรอซ่อมตามย่านต่างๆ ก็โดนลักทองเหลืองทองแดง และ โลหะที่ถอดเอาไปขายได้ง่าย ตอนกล่อนส่งคราม (พ.ศ. ๒๔๘๔) สามารถหล่อเหล็ก ๕๙๗ ตัน หรือเดือนละ ๕๐ ตัน ซึ่งได้จากถ่านโค้ก ๗๒ ตัด ถลุงเหล้ก ๑๑๒ ตันให้ได้เหล้กหล่อออกมา ภายหลัง หล่อเหล็กได้เพียง ๑๕ - ๒๐ ตัน ถ้าใช้ถ่านไม้ ที่หาได้ง่าย หรือเดือนละ ๓๕ - ๔๐ ตัน ถ้าใช้ถ่ายนโค้กที่สั่งจากเมืองนอก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2014 12:19 pm    Post subject: Reply with quote

จาก คสช.ถึง ที่ดินรถไฟมักกะสัน
โดย พัฒนพันธุ์ วงษ์พันธุ์
คอลัมน์ สามัญสำนึก
ประชาชาติธุรกิจ
3 กรกฎาคม 2557 เวลา 10:30:56 น.


วัดความนิยมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในขณะนี้กระแสยังดีไม่มีตก แม้จะมีเสียงทำนองว่า ยังอยู่ในช่วงฮันนีมูนพีเรียด ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะทหารเองก็เรียนรู้บทเรียนในอดีตมาพอสมควร แม้ว่าบางเรื่องที่อาจเข้ารกเข้าพงอยู่บ้าง แต่หลาย ๆ เรื่องก็สร้างความพอใจให้ไม่น้อย ไม่ต้องดูอื่นไกล ดูพี่ ๆ ตำรวจที่ขยันขันแข็ง จากหน้ามือเป็นหลังมือ

บ่อน อาวุธสงคราม หรือแม้แต่การจัดระเบียบรถตู้ แท็กซี่ในสนามบินที่แก้กันยังไงก็ไม่สำเร็จ กลายเป็นเรื่องง่าย ๆ ไปเสียอย่างงั้น เมื่อบิ๊ก ๆ ทหารโดดลงไปเล่นเอง พอผลงานชักเข้าตา เสียงเรียกร้องให้จัดการเรื่องนั้นเรื่องนี้เลยอื้ออึงไปหมด

ขอให้จัดการเรื่องหวย หนี้นอกระบบ ขอทางเท้าคืนมาจากหาบเร่แผงลอย และอีกจิปาถะ

เพราะรู้ดีว่าเมื่อคืนสู่โหมดพรรคการเมืองกลับเข้ามาบริหารประเทศ อะไร ๆ ก็คงหวนกลับคืนสู่เส้นทางเดิม ๆ

นั่นคือวังวนของผลประโยชน์ และพวกพ้อง

ส่วนฟากฝ่ายภาคธุรกิจ การปลดล็อกลงทุนที่หยุดชะงักมานาน ทั้งกรณีบอร์ดบีโอไอ รวมทั้ง รง.4 เพื่อขออนุญาตตั้งโรงงานที่เคยยากเย็น

เช่นเดียวกับการเปิดห้องรับฟังข้อเสนอ และการดึง 7 องค์กรธุรกิจเข้าไปมีส่วนร่วม ล้วนสร้างความพึงพอใจให้ภาคธุรกิจไม่น้อย

สำรวจเสียงเรียกร้องต่อ คสช. ไปสะดุดตากับสเตตัสของ "วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์" อดีตบรรณาธิการนิตยสารสารคดี ที่ตอนนี้กลายเป็นรอง ผอ.ไทยพีบีเอส

โดยส่วนตัวไม่ได้รู้จักอะไรกับคุณวันชัยโดยตรง แต่เห็นคล้อยว่าข้อเสนอดังกล่าวน่าสนใจอย่างยิ่ง จึงขออนุญาตนำมาถ่ายทอดอีกต่อหนึ่ง

คุณวันชัยบอกว่า...ที่ดินย่านมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย พื้นที่ประมาณ 500 ไร่ กำลังจะกลายเป็นที่ดินผืนงามกลางเมือง เมื่อพัฒนาเป็น "มักกะสันคอมเพล็กซ์" มูลค่านับแสนล้านบาท ให้เอกชนเช่าเป็นศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม โรงพยาบาล รองรับชาวต่างชาติ

เป้าหมายของการรถไฟแห่งประเทศไทยคือ นำที่ดินมาปล่อยเช่าเพื่อนำมาชำระหนี้ของตัวเองอันสูงถึงแสนกว่าล้าน จากการบริหารงานผิดพลาดในอดีตและต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน แต่อีกด้านหนึ่งเริ่มมีกระแสสังคมเรียกร้องให้นำเอาสุสานรถไฟมักกะสันเปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ เพื่อเป็นปอดของกรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับที่โรงงานยาสูบ และกรมอุตุนิยมวิทยา เคยบริจาคที่ดินมาพัฒนาเป็นสวนเบญจกิติ และสวนเบญจสิริ ให้กับชาว กทม.

คุณวันชัยบอกด้วยว่า...ทุกวันนี้ กทม.มีพื้นที่ประมาณหนึ่งล้านไร่ มีสวนสาธารณะกระจายตามที่ต่าง ๆ รวมประมาณ 12,000 ไร่ ซึ่งถือเป็นพื้นที่สีเขียวที่ต่ำมาก ในการช่วยฟอกอากาศให้กับมหานครที่มีปัญหามลพิษสูงสุดในโลกแห่งหนึ่ง วันนี้คงต้องถามว่า พวกเราอยากได้โรงแรมหรู ช็อปปิ้งมอลล์ทันสมัย หรือปล่อยให้เป็นพื้นที่สีเขียว มีป่าใหญ่ให้ลูกหลานได้ออกกำลังกาย ได้หายใจเต็มปอด

คสช.วานตอบทีได้ไหมครับ...คุณวันชัยทิ้งท้ายไว้แบบนี้

นอกจากมักกะสัน เรื่องของปอดกรุงเทพฯอย่างบางกระเจ้า ที่ก่อนหน้านี้ข่าวปรากฏว่ามีกลุ่มทุนพยายามรวบรัดเปลี่ยนผังเมือง เพื่อจะได้เข้าไปทำประโยชน์ก็น่าสนใจ

ที่ผ่านมาเรามุ่งแต่พัฒนาวัตถุ จนมองข้ามชีวิตความเป็นอยู่ผู้คน

เรามุ่งพัฒนาแต่เศรษฐกิจ จนกรุงเทพฯกลายเป็นเมืองไร้ระเบียบแบบแผน เป็นป่าคอนกรีต

เมื่อหน้าร้อนมาถึง เรามักบ่นว่าปีนี้ร้อนกว่าปีก่อน ๆ และเราลงความเห็นว่า เพราะคอนกรีตดูดความร้อนช่วงกลางวัน และปล่อยออกมาช่วงกลางคืน ในขณะที่มีพื้นที่สวนสาธารณะเพียงแค่หยิบมือ

ใครจะว่าอย่างไร ไม่รู้ นี่คือหนึ่งในคำร้องขอต่อ คสช. ที่ตรงใจมากที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  Next
Page 2 of 9

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©