Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264764
ทั้งหมด:13576047
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 94, 95, 96 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/07/2014 9:08 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชงคสช.อนุมัติแผนลงทุนโครงสร้าง 4 ปีแรกลุ้นประมูลทางคู่ 2 สายปลายปี 57
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กรกฎาคม 2557 08:06 น.

คมนาคมเสนอแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 8 ปี(58-65) ให้คสช.พิจารณา 22 ก.ค.นี้คาดเน้นโครงการในแผน4 ปีแรกก่อน ลุ้นดันรถไฟทางคู่2เส้นทาง ถนนจิระ-ขอน แก่น 2.6 หมื่นล้าน และประจวบฯ-ชุมพร 1.7 หมื่นล้านเริ่มได้ในปลายปี57เหตุพร้อมที่สุดรอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมชุดใหญ่พิจารณา

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่22 กรกฎาคมจะเสนอแผนการจัดทำยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ระยะเวลาดำเนินการปี 2558-2565ต่อที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเบื้องต้นคงยังไม่สามารถระบุว่าจะมีโครงการใดและวงเงินชัดเจนเท่าไรจนกว่า คสช.จะให้ความเห็นชอบ โดยในส่วนของกระทรวงคมนาคมแนวทางที่จะเสนอให้ คสช.พิจารณานั้นจะเน้นโครงการที่พร้อมดำเนินการในช่วง 4 ปีแรกก่อน

"เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ได้มีการประชุมร่วมกับพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง หัวหน้าด้านเศรษฐกิจคสช.เพื่อเตรียมพร้อมรายละเอียดแผนการจัดทำยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปีก่อนเสนอคสช. ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมทุกโครงการและมีข้อมูลเพียงพอที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่าโครงการไหนมีความพร้อมและสามารถลงมือทำได้ในปี58โดยจะเน้นไปที่แผน 4ปีแรกก่อนเพื่อให้เห็นผลที่เป็นรูปธรรม ส่วนที่เหลือก็ค่อยทยอยพิจารณาไป” นางสร้อยทิพย์ กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า ตามแผนยุทธศาสตร์ที่กระทรวงคมนาคมจัดทำไว้ในระยะ 8 ปี จะแบ่งการดำเนินโครงการเป็น 3 เฟส โดยเฟสแรกคือโครงการที่มีความพร้อมมากสุดซึ่งส่วนใหญ่ได้บรรจุอยู่ในแผนเสนอของบประมาณปี 2558 เพื่อเริ่มดำเนิน การเวนคืนที่ดิน เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สายทาง ประกอบด้วย สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี สายสีส้มเฟสแรก ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สุวินทวงศ์ และสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท คือ
1.ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม.วงเงิน 2.4 หมื่นล้านบาท
2.มาบกะเบา-นครราชสีมา (ถนนจิระ) ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท
3.ถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กม. วงเงิน 2.6 หมื่นล้านบาท
4.นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม.วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท และ
5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท

สำหรับโครงการรถไฟทงคู่นั้นนางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า เบื้องต้นรถไฟทางคู่ทั้ง5เส้นทางไม่อยู่ในแผนงบประมาณปี2558 เพราะยังติดเรื่องที่ยังไม่ผ่านการพิจารณาผลกระสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการสิ่งแวด้อมแห่งชาติ ได้ตั้งประธานแล้วโดยทางพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาหัวหน้าคสช.เป็นประธานเองคาดว่าเร็วๆ นี้น่่าจะพิจารณาซึ่งหากโครงการใดพร้อมสามารถนำมาบรรจึและดำเนินการในปีงบประมาณ2558 ได้ไม่มีปัญหา

โดย 2 โครงการแรกที่จะเริ่มดำเนินการได้ปลายปี 57 คือ รถไฟทางตรลาสายถนนจิระ-ขอนแก่น และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร เนื่องจากผ่านการพิจารณา EIA จากคณะกรรมการผู้ชำนาญการแล้ว เหลือเพียงนำส่งให้คณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติชุดใหญ่พิจารณาเท่านั้น โดยกระทรวงคมนาคมจะมีการประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิด เพื่อให้โครงการผ่านการพิจารณาอนุมัติ EIA เร็วที่สุด

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเคยเสนอความเห็นไปแล้วว่า หาก คสช.จะดำเนินโครงการทุกโครงการตามแผนจัดทำยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ระยะเวลาดำเนินการปี 2558-2565 วงเงินรวมเบื้องต้น 3 ล้านล้านบาทตามกระทรวงคมนาคมนำเสนอก็สามารถกระทำได้ เพราะมีแหล่งเงินลงทุนเพียงพอจากการกู้สถาบันการเงิน ที่กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วว่าจะไม่เกินเพดานหนี้สาธารณะ แต่ขอให้ คสช.รีบตัดสินใจเพราะในขณะนี้ อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินอยู่ในระดับต่ำ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/07/2014 2:02 pm    Post subject: Reply with quote

อาจารย์สามารถ ตั้งประเด็นว่าเราจะใช้ชื่อตั๋วร่วมอย่างไรดี
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ wrote:
ถ้ากรุงเทพฯ มีตั๋วร่วม รถไฟฟ้า – ทางด่วน – ร้านค้า

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวว่าอีกไม่นาน เราจะมีโอกาสได้ใช้ตั๋วใบเดียวในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า การใช้ทางด่วน และการซื้อของในห้างร้านต่างๆ นับว่าเป็นข่าวที่น่ายินดีที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน

ตั๋วใบเดียว หรือ ตั๋วร่วม เป็นที่นิยมแพร่หลายในหลายเมือง โดยมักใช้กับระบบขนส่งมวลชน ถือว่าเป็นตั๋วอัจฉริยะที่มีระบบประมวลผลอย่างแม่นยำภายในเวลาสั้นๆ สามารถใช้กับการเดินทางได้หลายประเภท เช่น เดินทางเที่ยวเดียว เดินทางหลายเที่ยว เดินทางแบบกำหนดจำนวนวัน และเดินทางแบบได้ส่วนลด เป็นต้น

เวลานี้มีหลายเมืองในหลายประเทศที่ใช้ตั๋วร่วม เช่น

1. กรุงโตเกียว ใช้ต๋วร่วมที่เรียกว่า “Suica” ซึ่งย่อมาจาก Suisui Ikuru แปลว่า เดินทางอย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว โดยเริ่มใช้มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2544

2. ฮ่องกง ใช้ตั๋วร่วม “Octopus” มาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 “Octopus” เป็นชื่อที่ได้มาจากการประกวด แปลว่าปลาหมึกยักษ์ซึ่งมีหนวด 8 เส้น ความหมายนี้สอดคล้องกับชื่อตั๋วร่วมในภาษาจีนที่แปลว่าไปได้ 8 ทิศทาง แต่อนุโลมว่าไปได้ทุกทิศทาง เหตุที่ต้องมีเลข 8 ก็เพราะคนจีนเชื่อว่าเป็นเลขนำโชค

3. กรุงโซล ใช้ตั๋วร่วม “T-Money” มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2547 “T” หมายถึง Travel, Touch, Traffic and Technology

4. กรุงลอนดอน ใช้ตั๋วร่วม “Oyster” มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 “Oyster” เป็นชื่อที่ได้มาจากการศึกษาวิจัยเป็นเวลานาน ซึ่งไม่ได้สื่อความหมายถึงการเดินทาง แต่สื่อความหมายถึงความปลอดภัยดังเช่นหอยที่มีเปลือกห่อหุ้ม

ถ้ากรุงเทพฯ มีตั๋วร่วม คุณมีความเห็นอย่างไร และควรจะตั้งชื่อว่าอะไรครับ

https://www.facebook.com/Dr.Samart/photos/a.232032303608347.1073741828.232025966942314/476304432514465/?type=1&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/07/2014 2:09 pm    Post subject: Reply with quote

อย่างบัตร "Rabbit" นี่ ได้ชื่อนี้เพราะอะไรครับ หรือหมายถึง Rapid แปลว่าเร็ว Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/07/2014 7:10 am    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์สายสีม่วงติดปีกวิ่งต้นปี 59 คมนาคมล้ม 20 บาทตลอดสาย ชง คสช.เร่งก่อสร้างรถไฟฟ้า
ไทยรัฐออนไลน์ 24 ก.ค. 2557 05:15

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า จากกรณีนโยบายหาเสียงของพรรคไทยรักไทย ในสมัยรัฐบาลที่แล้ว ที่มีนโยบายหาเสียงที่จะกำหนดราคารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น ขณะนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังไม่มีการหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา จึงไม่ถือว่าเป็นนโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการ ขณะที่เป้าหมายหลักของ คสช. ต้องการให้มีการเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด ส่วนโครงการที่ยังล่าช้าอยู่และต้องรอขออนุมัตินั้น ให้มีการสรุปเสนอให้ คสช.พิจารณาต่อไป

ด้านนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า นโยบายหลักที่ คสช.มอบให้กับผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คือขอให้เร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าทุกสายที่อยู่ระหว่างก่อสร้างให้เป็นไปตามแผน ส่วนโครงการที่จะต้องเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เช่น สายสีเหลือง สายสีชมพูและสายสีส้มก็ให้ส่งเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมเพื่อที่จะเสนอขออนุมัติจาก คสช.ต่อไป

“สิ่งที่เป็นห่วงคือ การจัดหาขบวนรถและผู้ที่จะเข้ามาบริหารโครงการในระหว่างที่ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างรถไฟฟ้า เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาว่าตัวโครงการก่อสร้างเสร็จแล้ว แต่การบริหารจัดการเดินรถหรือการจัดหารถไฟฟ้าเสร็จไม่พร้อมกัน จึงจำเป็นเร่งรัดในแต่ละเส้นทาง
โดยเฉพาะสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และ
สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายรวมทั้ง
สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ด้วย ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก และพร้อมเปิดให้บริการได้ในต้นปี 2559 เพื่อให้เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทย”

ขณะที่ นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า โครงการเร่งด่วนที่จะต้องเสนอขออนุมัติจาก คสช.รวม 3 โครงการ ประกอบด้วย
Quote:
รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กิโลเมตร วงเงิน 55,986 ล้านบาท
รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงปากเกร็ด-แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. วงเงิน 58,642 ล้านบาท และ
สายสีส้มระยะแรก ช่วงมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 20 กม. วงเงิน 95,108 ล้านบาท

ซึ่งขณะนี้ได้ส่งเรื่องมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว โดยรถไฟฟ้าสายสีชมพูล่าช้ามากว่า 1 ปี ส่วนสายสีเหลืองและสีส้มล่าช้ากว่า 6 เดือนแล้ว จึงจำเป็นต้องปรับแผนให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงต่อไปและเริ่มนับหนึ่งอีกครั้ง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/07/2014 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเสนอ คสช.เพิ่มรถไฟฟ้า 5 สาย
เดลินิวส์ วันจันทร์ 28 กรกฎาคม 2557 เวลา 16:55 น.

คมนาคม พร้อมเปิดซองประมูล งานระบบ สายสีแดง วันนี้ พร้อมชงก่อสร้างรถไฟฟ้าอีก 5 โครงการ ให้ คสช.อนุมัติ

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าที่ประชุมติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทางได้เชิญตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศ (ร.ฟ.ท.) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) รายงานความคืบหน้า ซึ่งในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิตขณะนี้สัญญา 1และสัญญาที่ 2 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ส่วนสัญญาที่ 3 ด้านงานระบบ จะเปิดซองประมูลได้ในวันที่29 ก.ค.นี้ หากไม่ติดขัดอะไรภายในปลายปี 59ก็จะเริ่มดำเนินการโครงการทั้งระบบแล้วเสร็จพร้อมกันได้

ส่วนความคืบการก่อสร้างโครงการเชื่อมต่อสายสีแดงจากทางทิศเหนือไปยังทิศใต้จากรังสิตต่อไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งผ่านการเห็นชอบจาก ครม.ที่แล้ว รวมถึงผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินั้นล่าสุด ร.ฟ.ท.ได้เสนอเรื่องมาที่กระทรวงคมนาคมเรียบร้อยแล้วซึ่งคาดว่าจะเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เร็วๆนี้ เช่นเดียวกันกับอีก 2โครงการ ที่ต้องขออนุมัติเพิ่มเติม คือ โครงการส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง และส่วนต่อขยายสายสีแดง จากบางซื่อ-หัวลำโพง ซึ่งการรถไฟส่งเรื่องมาเช่นกัน

นายสร้อยทิพย์ กล่าวว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายอื่น ตอนนี้ รฟม.ได้จัดทำรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี สีส้ม ตลิ่งชัน-มีนบุรี และสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง เสนอมาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว ขั้นตอนต่อไปเหลือการทำงานจากกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอให้คสช. เห็นชอบ ซึ่งหากได้รับอนุมัติจาก คสช.เร็ว ก็อาจเริ่มเปิดซองประมูลได้ภายในปีนี้

ทั้งนี้ความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงก่อสร้างงานโยธาได้แล้ว 94%คาดว่าปลายปี58 หรือต้นปี 59 จะเริ่มบริการทดสอบระบบวิ่ง ซึ่งระหว่างนั้นจะประชาชนได้ใช้บริการฟรีขณะที่สีน้ำเงินบางซื่อ-หัวลำโพง-ท่าพระ ตอนนี้ก่อสร้างล่าช้าไปกว่าแผน 2 ปี จึงคาดจะแล้วเสร็จได้ในปี62 จากเป้าหมายเดิมปี 60 เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ก่อสร้างทับซ้อนกับกทม. ส่วนสายสีเขียวใต้แบริ่ง-สมุทรปราการ ก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว31.87% เร็วกว่าแผน 3% และสีเขียวเหนือ เส้นหมอชิต-สะพานใหม่ ตอนนี้ประกวดราคาล่าช้าไปแล้วกว่า2 เดือน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2014 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

BTS ไม่ลดราคาระบบตั๋วร่วมยืน 399 ล้าน สนข.ต่อรองเพิ่มคุณภาพงานแทน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2557 08:13 น.



BTS ยืนราคาทำระบบตั๋วร่วม 399 ล้านไม่ลดแล้ว ด้าน สนข.เจรจาขอเพิ่มคุณภาพงานแทน นัดหารือ 1 ส.ค.นี้ คาดสรุปเสนอ “คมนาคม” และ คสช.ได้ใน ส.ค.นี้ ส่วนกรณีมีอีกกลุ่มร้องเรียน เชื่อชี้แจงเข้าใจแล้วไม่มีปัญหา

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ภายหลังคณะกรรมการประกวดราคาโครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Clearing House หรือ CCH) ที่มีนายปริญญา ถนัดทาง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศการขนส่งและจราจร สนข.เป็นประธานได้เปิดซองข้อเสนอด้านราคา และปรากฏว่ากลุ่ม BSV Consortium ประกอบด้วย BangkokMass Transit System PCL. ร่วมกับ Smart Traffic Co.,Ltd. และ VIX Mobility Pty.,Ltd. ประเทศออสเตรเลีย เสนอราคาต่ำสุดที่ 339,689,668 บาทแล้ว คณะกรรมการฯ ได้มีการหารือกับกลุ่ม BSV ในเบื้องต้น โดยให้เอกชนจัดทำรายละเอียดการทำงานนำเสนอมาที่ สนข.อีกครั้งในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน จากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการเจรจาต่อรองเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต

ทั้งนี้ หลักการเจรจาของส่วนราชการจะยึดเรื่องประโยชน์ของภาครัฐเป็นหลัก ซึ่งมี 2 แนวทาง คือ เพื่อคุณภาพและประสิทธิภาพ หรือต่อรองเพื่อลดราคาลง โดยภาครัฐต้องมีเกณฑ์ในการพิจารณาเปรียบเทียบด้วย ซึ่งยอมรับว่าทางกลุ่ม BSV เสนอราคาที่ต่ำกว่า กรอบมูลค่าโครงการที่ 409 ล้านบาทค่อนข้างมาก โดยคาดว่าจะสรุปผลการประกวดราคาได้ในต้นเดือนสิงหาคมนี้ และนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อไป

สำหรับกรณีที่การร้องเรียนของกลุ่ม MS Consortium นั้น ทางคณะกรรมการประกวดราคาฯ ได้รายงานว่ามีการชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ร้องเรียนแล้ว ซึ่งตามกระบวนการ หลังสรุปผลการประกวดราคาแล้วจะต้องเสนอให้ คสช.พิจารณาอีกครั้ง หากได้รับความเห็นชอบจึงจะลงนามสัญญาได้

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สนข. และกรรมการประกวดราคาโครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง กล่าวว่า สนข.ไม่ได้ต่อรองราคากับกลุ่ม BSV แต่ขอเพิ่มงานบางอย่างเข้าไปเพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์ขึ้น เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ รวมทั้งขอให้กลุ่ม BSV แสดงรายการเกี่ยวกับบุคลากรให้ชัดเจนทั้งจำนวนคนและอัตราค่าตอบแทน เป็นต้น โดยในวันที่ 1 สิงหาคมนี้คณะกรรมการประกวดราคาฯ จะประชุมร่วมกับกลุ่ม BSV อีกครั้ง เพื่อสรุปราคาและรายละเอียดงานเป็นครั้งสุดท้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2014 10:33 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวบอร์ดรฟม.ไฟเขียว "ยงสิทธิ์" นั่งเก้าอี้ต่อ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
30 กรกฎาคม 2557 เวลา 20:30:18 น.


บิ๊ก รฟม.โล่งบอร์ดชุดใหม่ประเมินผลงานฉิวเฉียด รั้งเก้าอี้ต่อ รออีกครั้งรอบหน้าก.ย.นี้ คาดปลายปีได้ผู้รับเหมาสายสีเขียวแน่นอน

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคมที่ผ่านมา พลเอกยอดยุทธ บุญญาธิการ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และในฐานะประธานคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟม. ได้นัดประชุมบอร์ดเป็นครั้งแรกนับจากได้รับการแต่งตั้ง โดยมีวาระเรื่องการประเมินผลการทำงานของ นายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการฯรฟม.

ซึ่งเป็นการประเมินในรอบแรกที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ระหว่างเดือนตุลาคม 2556-เดือนมีนาคม 2557 โดยบอร์ดให้ผ่านการพิจาณรณาด้วยคะแนนฉิวเฉียดอยู่ที่ 3.8 คะแนน จากเต็ม 5 คะแนน เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องการทำงานที่ยังไม่เข้าเป้าเพราะรัฐบาลมีการยุบสภาทำให้ผลักดันโครงการต่างๆ ไม่เป็นตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้บอร์ดชุดใหม่นี้จะมีการประเมินผลงานในรอบต่อไปในเดือนมีนาคม-กันยายน 2557นี้



แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับการเปิดประมูลรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างกว่า 2.9 หมื่นล้านบาทนั้น บอร์ดยังไม่การนำมาพิจารณาว่าจะปรับแก้ร่างทีโออาร์ใหม่ ตามที่มีผู้รับเหมาร้องเรียนมา หรือจะเดินหน้าตามร่างเดิม อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะปรับแก้หรือเดินหน้า คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาก่อสร้างในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้อย่างแน่นอน เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของคสช.ที่จะเริ่มก่อสร้างในปี 2558

//----------------------

“ยงสิทธิ์” ผ่านประเมินฉิวเฉียด บอร์ด รฟม.ชุดใหม่รอดูผลงานถึง ก.ย.


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 กรกฎาคม 2557 21:38 น.



บอร์ด รฟม.ชุดใหม่ถกนัดแรก ประเมิน “ยงสิทธิ์” ผู้ว่าฯ รฟม.ให้โอกาสทำงานต่อหลังคะแนนผ่านเกณฑ์ประเมินแบบฉิวเฉียด เหตุรอยต่อรัฐบาลเก่าแม้ผลงานผลักดันรถไฟฟ้าไม่เข้าเป้า ลุ้นประเมินรอบใหม่ช่วง ก.ย. 57 ยังไม่กล้าเคาะประมูลสีเขียว เหตุความเห็นแตกแก้ทีโออาร์หลังถูกร้องเรียนหรือไม่

รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ช่วงบ่ายวันนี้ (30 ก.ค.) ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรก หลังได้รับการแต่งตั้ง โดยบอร์ด รฟม.ชุดใหม่ได้มีการพิจารณาการประเมินผลการทำงานของนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการ รฟม. ระหว่างเดือนตุลาคม 2556-มีนาคม 2557 โดยนายยงสิทธิ์ได้รับคะแนนที่ 3.8 จากคะแนนเต็ม 5 ผ่านเกณฑ์เพียง 0.8 เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องการทำงานที่ยังไม่เข้าเป้า ประกอบกับรัฐบาลได้ยุบสภาไปทำให้การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ไม่สามารถผลักดันให้เป็นตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ในขณะที่บอร์ดชุดใหม่เห็นว่าการประเมินผลการทำงานของผู้ว่าฯ รฟม.นั้นเป็นช่วงเวลาที่ต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ขณะที่ตามกำหนดแล้วจะมีการประเมินผลงานของนายยงสิทธิ์ในรอบต่อไปในช่วงเดือนมีนาคม-กันยายน 2557 อีกครั้ง

นอกจากนี้ บอร์ดได้หารือถึงโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กิโลเมตร ค่าก่อสร้างกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท ในประเด็นการปรับแก้ร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) หลังจากมีการร้องเรียนของผู้รับเหมาว่าเงื่อนไขทีโออาร์เอื้อประโยชน์แก่ผู้รับเหมาบางราย และบอร์ดชุดที่แล้วได้ให้ รฟม.ไปดำเนินการปรับแก้ทีโออาร์ให้เหมาะสม ซึ่งที่ประชุมยังมี 2 ความเห็นต่างจึงยังไม่ได้ข้อยุติหรือมีมติที่ชัดเจนว่าจะให้ปรับแก้ทีโออาร์ใหม่หรือใช้ทีโออาร์เดิมเดินหน้าประมูลต่อ
//-------------------------

ประธานบอร์ด รฟม. คนใหม่จี้ผู้ว่าฯ เดินหน้ารถไฟฟ้า3 สาย
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เวลา 22:28 น.

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานบอร์ดการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดครั้งแรกว่า ได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าให้แล้วเสร็จทันตามเป้าหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการจรจาแออัดให้กับคนกรุงเทพมหานคร โดยจะต้งยึดหลักการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม คุ้มค่า รวดเร็วและ โปร่งใส

เบื้องต้นได้กำชับให้เร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟฟ้า3 เส้นทาง คือ สายสีเขียว ช่วงหมอชิต สะพานใหม่ คูคต ได้สั่งการให้รฟม.เร่งปรับแก้ไขร่างทีโออาร์ให้เสร็จ และพร้อมที่จะเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมาก่อสร้าง ส่วนสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายบางสื่อ ท่าพระ ให้เร่งเจรจาเพื่อเปิดประกวดราคาจัดหาผู้บริหารโครงการเดินรถ และสายสีชมพู ช่วงแคราย มินบุรี จะเร่งประสานให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) นำโครงการก่อสร้างเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติโดยเร็ว

“สายสีเขียว และน้ำเงิน รฟท.ต้องไปเจรจาหาข้อยุติและทางออกโครงการให้ได้ และต้องนำเรื่องกลับมาเสนอให้บอร์ดพิจารณาในการประชุมครั้งหน้าวันที่ 19ส.ค. โดยจะต้องเร่งรัดให้สามารถรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย สามารถเปิดประมูลเพื่อหาผู้รับเหมาและผู้เดินรถให้ได้ภายในเดือนส.ค. นี้ ส่วนสีชมพูไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ คสช. ส่วนเรื่องของแหล่งเงินทุนไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร เพราะมีความพร้อมอยู่แล้ว ” พล.อ.ยอดยุทธกล่าว

ผู้สื่อข่าว "ข่าวสด" ถามว่า บอร์ดรฟม.จะมีการปรับเปลี่ยนตัวผู้ว่ารฟม. หรือไม่ พล.อ.ยอดยุทธ กล่าวว่า ล่าสุดประธานบอร์ดคนเดิมเพิ่งทำการได้ประเมินผลงานรอบการทำงานประจำเดือนมี.ค.ของผู้ว่า รฟม.ไปแล้ว โดยสามารถผ่านการประเมิน แต่ในรอบการประเมินครั้งต่อไปประจำเดือนก.ย. ตนจะเป็นผู้ประเมินนั้นยังบอกไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร ขอดูการทำงานก่อน

“ผมจะให้โอกาสผู้ว่ารฟม.ได้ทำงานไปก่อน เท่าที่ดูการทำงานเบื้องต้นก็ถือว่ามีความตั้งใจดี แต่ก็มีหลายเรื่องที่ต้องปรับปรุง โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเร่งรัดการทำงานให้เร็วขึ้น ซึ่งการประเมินผลงานครั้งหน้าประเด็นที่นำมาประเมินจะมีความละเอียดและรอบคอบมากขึ้นกว่าเดิม” พล.อ.ยอดยุทธกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/08/2014 9:15 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า คสช. 10 สายทาง สีน้ำเงินดีเลย์-จ่อประมูล 7 สาย 3 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 05 ส.ค. 2557 เวลา 08:01:13 น.

โปรเจ็กต์รถไฟฟ้าหลากสีเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่ "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" เร่งรัดให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ล่าสุด "กระทรวงคมนาคม" ติดตามแผนงานก่อสร้างและแผนลงทุนเพื่อขับเคลื่อนโครงการให้เดินหน้าไปตามยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย ที่ "บิ๊ก คสช." เพิ่งอนุมัติไปเมื่อ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเปิดประมูลในปี 2557 อย่างน้อย 1-2 สายทาง

Click on the image for full size

เร่งรัด 4 สายอยู่ระหว่างสร้าง

"สร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์" ปลัดกระทรวงคมนาคมระบุว่า ได้รายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้า 10 สายทางให้ที่ประชุม คสช.ชุดใหญ่รับทราบ เพราะเป็น 1 ใน 5 แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ภายใต้กรอบเวลา 8 ปี (2558-2565) มีเป้าหมายแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑล ใน 10 สายทางมีที่กำลังก่อสร้าง ประกอบด้วย สายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ระยะทาง 26 กิโลเมตร คืบหน้า 16% ล่าช้าจากแผนงาน เนื่องจากรอการอนุมัติเพื่อปรับแบบก่อสร้างใหม่ คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการในปี 2560

ส่วนสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) 23 กิโลเมตร งานก่อสร้างโยธาคืบหน้า 92% อยู่ระหว่างเร่งรัดงานระบบรถไฟฟ้าที่ "BMCL-บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)" ให้จัดหารถมาวิ่งทดสอบเพื่อเตรียมความพร้อมเปิดบริการอย่างไม่เป็นทางการทันปลายปี 2558 หรือต้นปี 2559

สายสีน้ำเงินดีเลย์ 2 ปี

ด้านสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค) 27 กิโลเมตร ก่อสร้างคืบหน้า 52% ล่าช้าจากแผนงาน 2 ปี คาดว่าจะเลื่อนเปิดบริการ จากเดิมเปิดในปี 2560 เนื่องจากติดเรื่องพื้นที่ทับซ้อน 3 จุดกับโครงการก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร (กทม.) บริเวณแยกไฟฉาย แยกบรมราชชนนี และจุดตัดถนนบางแค

ส่วนงานระบบรถไฟฟ้าอยู่ระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พิจารณาว่าดำเนินการรูปแบบไหน

ขณะที่สายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) 12.8 กิโลเมตร การก่อสร้างเร็วกว่าแผนงาน 3% โดยมีผลงานคืบหน้า 33% คาดว่าจะเปิดใช้บริการปลายปี 2559-2560

จ่อประมูล 7 สายกว่า 3 แสนล.

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ "ปลัดคมนาคม" อธิบายว่า จะเปิดประมูล 7 สายทาง ลงทุนรวม 355,937 ล้านบาท (ดูตาราง) สายทางที่กำลังประมูลมีสาย สีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) เฉพาะงานโยธาค่าก่อสร้างกว่า 2.9 หมื่นล้านบาท ล่าช้าจากแผน 2 เดือน รอการพิจารณาของคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดใหม่ จะเดินหน้าให้ยื่นซองราคาหรือเปิดประมูลใหม่

ส่วนสายทางที่ขออนุมัติโครงการจาก คสช.เพื่อประมูลก่อสร้างมี 6 สาย รวม 142.8 กิโลเมตร เริ่มดำเนินการปี 2557-2558 ได้แก่
1.สายสีแดงส่วนต่อขยายจากรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์
2.สายสีแดง Missing Link (บางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก)
3.สายแอร์พอร์ตลิงก์ (สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินดอนเมือง)
4.สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
5.สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี)
6.สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

ทั้งหมดนี้คือภาพรวมเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้าที่คมนาคมเตรียมความพร้อม และกำลังจะเริ่มต้นโหมโรงรับ ครม. ใหม่ภายในเดือนกันยายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3292
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 05/08/2014 7:51 pm    Post subject: Reply with quote

Quote:
2.สายสีแดง Missing Link (บางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก)
3.สายแอร์พอร์ตลิงก์ (สนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินดอนเมือง)

2 โครงการนี้น่าจะลงมือพร้อมๆกันได้อยู่ แต่หากเงินไม่พอ ผมอยากได้สายสีแดงช่วง พญาไท-หัวหมาก ก่อน เพราะสภาพสายตะวันออกในปัจจุบันนั้นเป็นคอขวดช่วงนี้อยู่

Quote:
4.สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
5.สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี)
6.สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

3 สายนี้ถ้าลงมือพร้อมกันหมด ผมยังนึกภาพการจราจรซีกตะวันออกของกรุงเทพฯไม่ออกเลยว่าจะรันทดขนาดไหน Question ผมไม่ได้คัดค้านโครงการนะ แต่อยากให้มีการวางแผนสับหลีกกันให้ดี ให้คนเดินทางได้มีทางเลี่ยงบ้างก็เท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44538
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2014 8:24 am    Post subject: Reply with quote

สายสีส้ม ก็ยังมีปัญหาเรื่องชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบร้องเรียนเยอะครับ รฟม.กำลังจะสำรวจเส้นทางใหม่ อีกนานครับ
----

เรือด่วนฯ แนะคสช.เทงบ 750 ลบ.สร้างท่าเรือ 8 จุดเชื่อมต่อเรือ-รถไฟฟ้า
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 6 สิงหาคม 2557 05:02 น.

เรือด่วนเจ้าพระยาหนุนคมนาคมยกระดับมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ นำเสนอก่อสร้างท่าเรือ 12-15 แห่งคาดใช้งบกว่า 750 ล้าน แนะเร่งพัฒนาท่าเรือ 8 จุดเชื่อมต่อเรือ-รถไฟฟ้าในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อรองรับแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโยงทางน้ำ-ทางราง ล่าสุดนำเสนอ “ประจิน” ผลักดันให้ฝันเป็นจริงก่อนเปิดใช้รถไฟฟ้าเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

น.ท.ปริญญา รักวาทิน กรรมการผู้จัดการ บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด เปิดเผยถึงแนวทางการผลักดันให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)และกระทรวงคมนาคมเร่งยกระดับมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำในปัจจุบันว่าต้องการให้คสช.และกระทรวงคมนาคมเล็งเห็นถึงการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าและเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาโดยเฉพาะ 8 จุดเชื่อมต่อหลักๆเริ่มจากพื้นที่นนทบุรีไปจนถึงสมุทรปราการจะต้องเร่งก่อสร้างท่าเรือให้เชื่อมโยงกับการเปิดใช้งานรถไฟฟ้าให้พร้อมรองรับตั้งแต่วันนี้

โดย 8 จุดเชื่อมต่อที่สำคัญได้แก่
จุดที่ 1 ช่วงท่าปากเกร็ดที่ในอนาคตจะเชื่อมโยงรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ซึ่งในอนาคตยังมีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าคู่ขนานไปกับสะพานพระราม 4 เพื่อบรรจบกับถนน 345
จุดที่ 2 ช่วงสะพานพระนั่งเกล้าเพื่อรองรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่
จุดที่ 3 ช่วงท่าสะพานพระราม 6 เพื่อรองรับรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน
จุดที่ 4 ช่วงพิบูลย์สงคราม-บางโพเส้นทางข้ามรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ
จุดที่ 5 ช่วงสะพานข้ามเกียกกาย รองรับรัฐสภาแห่งใหม่ซึ่งอยู่ไม่ไกลแนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
จุดที่ 6 ช่วงสะพานพระปิ่นเกล้า –รพ.ศิริราช รองรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม
จุดที่ 7 ช่วงสะพานพุทธ เพื่อรองรับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ และ
จุดที่ 8 ช่วงสะพานสาทร รองรับรถไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า


“ภาครัฐเร่งดำเนินการรถไฟฟ้า 10 สาย ซึ่งเห็นว่าเป็นการแยกพัฒนาประเภทการขนส่งโดยสาร ไม่มุ่งเน้นการเชื่อมต่อระบบราง รถโดยสาร และเรือโดยสารเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งแนวเส้นทางตัดผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาหลายเส้นทาง รัฐจึงควรเร่งยกระดับมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำโดยการสร้างท่าเรือ(Boat Pier)ให้เป็นสถานีเรือ(Boat Station)โดยสารรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้เพื่อเป็นฟีดเดอร์อย่างสอดคล้องกัน”

ทั้งนี้ภาครัฐโดยกรมเจ้าท่าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้วยการเสนอขออนุมัติงบประมาณในการพัฒนาเพื่อให้ระบบบริหารจัดการในรูปแบบเดียวกับระบบขนส่งทางรางโดยปรับปรุงท่าเทียบเรือเดิมหรือสร้างใหม่เพื่อทดแทนให้มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับสถานีรถไฟฟ้ารองรับการเดินทางของประชาชนเพื่อเชื่อมต่อระบบการเดินทางด้วยระบบขนส่งทางบก และทางราง โดยเมื่อคิดต้นทุนของการลงทุนระบบขนส่งมวลชนทางราง คิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 2.7 หมื่นบาทต่อคน ส่วนการลงทุนระบบขนส่งมวลชนทางน้ำคิดเป็นประมาณ 3,750 บาทต่อคนเท่านั้น

โดยในเบื้องต้นนำเสนอให้เร่งดำเนินการจำนวน 12-15 ท่าเรือโดยเฉพาะ 8 จุดสำคัญที่นำเสนอ คาดว่าจะใช้งบกว่า 750 ล้านบาท จำแนกเป็น 8 ท่าเรือขนาดใหญ่ใช้งบ 400 ล้านบาท ปรับปรุงท่าเรือขนาดกลาง 5 ท่าใช้งบ 175 ล้านบาท และปรับปรุงท่าเรือขนาดเล็ก 7 ท่า ใช้งบ 175 ล้านบาท ในส่วนภาคเอกชนจะลงทุนพัฒนารูปแบบเรือให้มีมาตรฐาน ทันสมัย และปลอดภัย การลงทุนสร้างเรือลำใหม่ ประมาณ 6 ลำ ใช้งบราว 240 ล้านบาท โดยเสนอรัฐบาลให้ส่งเสริมรูปแบบมาตรการส่งเสริมการลงทุน(BOI)

“แนวคิดการพัฒนาเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำในครั้งนี้ได้นำเสนอพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ไปแล้ว โดยนำเรียนให้ทราบถึงปัญหาระบบขนส่งโดยสารทางน้ำในปัจจุบัน และเสนอการพัฒนาระบบขนส่งโดยสารทางน้ำโดยยกระดับมาตรฐานการขนส่งโดยสารทางน้ำ ทั้งด้านความปลอดภัย การบริการและความรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินทางเปลี่ยนผ่านระบบได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เป้าหมายเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการจากเดิมประมาณ 4 หมื่นคนต่อวัน เพิ่มเป็นกว่า 2 แสนคนต่อวัน” น.ท.ปริญญากล่าว

กรมเจ้าท่าใช้งบปี 58 ราว 70 ล้านนำร่อง 7-8 แห่ง

นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า(จท.) กล่าวว่าเป็นการขับเคลื่อนนโยบายเชื่อมโยงการเดินทางทางน้ำและทางรางของรัฐบาล โดยในปี 2558 นี้นำเสนอขออนุมัติประมาณราว 70 ล้านบาทเพื่อนำไปก่อสร้างท่าเรือรูปแบบทันสมัยในจุดช่วงแม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่นนทบุรีและกรุงเทพมหานครที่ผู้คนใช้บริการจำนวนมาก โดยเฉพาะจุดเชื่อมต่อสะพานและเส้นทางรถไฟฟ้าประมาณ 7-8 แห่ง

โดยจุดเด่นๆต้องสามารถนำรถยนต์โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะเข้าไปรับ-ส่งได้ถึงท่าเรือ ตลอดจนพื้นที่หลังท่าเพียงพอ มองเอาไว้ทั้งพื้นที่ภาครัฐและพื้นที่ของเอกชนที่อาจจะเชิญชวนให้เข้ามาร่วมลงทุน จุดละประมาณ 20-30 ล้านบาท แต่จะใช้พื้นที่ของรัฐในช่วงแรกก่อนพร้อมพัฒนารูปแบบบิสสิเนสควบคู่กันไปด้วยเพื่อไม่ให้เป็นภาระงบประมาณซ่อมบำรุงของรัฐบาล ส่วนปี 2558 นี้มีงบประมาณอยู่ส่วนหนึ่งน่าจะทำเป็นสถานีนำร่องได้บ้างประมาณ 4-5 ท่า อาทิ สถานีพระนั่งเกล้าหรือสะพานพระราม 8 ท่าช้าง ท่าเตียน ท่าสะพานสาทร แต่จะเห็นภาพชัดในปี 2559 โดยต้องมีพื้นที่พักคอยไม่ต้องลงไปรวมกันที่โป๊ะเรือซึ่งไม่สามารถรองรับคนได้จำนวนมาก จัดโซนพื้นที่ขึ้น-ลงให้ชัดเจน พร้อมที่จะใช้งานกับระบบตั๋วร่วมในอนาคตได้อีกด้วย

ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายการขนส่งทางน้ำลดลงหรือสู้กับทางถนนได้ ดึงผู้ประกอบการมาใช้การขนส่งทางน้ำให้มากขึ้น ซึ่งพื้นที่นนทบุรีโดยเฉพาะโซนสะพานพระนั่งเกล้า หรือปากเกร็ดที่จะได้ใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วงเริ่มมีประชากรเพิ่มขึ้นจึงต้องสร้างท่าเรือไว้รองรับ หรือเพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทาง

“เฉพาะผู้ที่ใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาเฉลี่ยมีผู้เดินทางประมาณ 5-6 หมื่นคนต่อวัน หากเป็นภาพรวมแล้วมีประมาณกว่า 1 แสนคนต่อวัน ดังนั้นจึงต้องเร่งแนวคิดการพัฒนารองรับไว้ตั้งแต่วันนี้ คิดแม้กระทั่งเมื่อเรือจะเทียบท่าจะมีการส่งสัญญาณให้ทราบเพื่อเตรียมตัวเดินทางได้ทันตามตารางแสดงผลด้วยระบบอิเล่กทรอนิกส์พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ทั้งนี้จะมีการประชุมสรุปแนวทางและรูปแบบการดำเนินโครงการ จุดสถานีนำร่องและงบประมาณน่าจะชัดเจนในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ที่จะมีการประชุมร่วมกันที่กรมเจ้าท่า”

สอดคล้องกับที่นายณัฐ จับใจ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) กล่าวถึงโครงการเปิดประมูลซ่อมแซมและปรับปรุง 8 ท่าเรือ (โป๊ะ) ริมแม่น้ำเจ้าพระยาว่าเริ่มมาตั้งแต่ปี 2556 ปรากฏว่าไม่มีผู้รับเหมาแสดงความสนใจ ขณะที่กรมเจ้าท่าได้ปรับปรุงร่างเอกสารประกวดราคาจ้างเหมาซ่อมแซมและปรับปรุงโป๊ะจำนวน 8 แห่งด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ วงเงินทั้งสิ้น 5 ล้านบาทครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพฯและนนทบุรี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดประกวดราคาทั้ง 8 ท่าเรือ ดังนี้คือ
1.ท่าเรือสมุทรปราการ (หน้าสำนักงานเจ้าท่าสาขาสมุทรปราการ)
2.ท่าเรือสมุทรปราการหน้าตลาดสดวิบูลย์ศรี
3.ท่าเรือสุขสวัสดิ์ 53
4.ท่าเรือวัดบางกระสอบ
5.ท่าเรือถนนตก
6.ท่าเรือสี่พระยา
7.ท่าเรือสะพานพระราม 8 (ฝั่งพระนคร) และ
8.ท่าเรือพิบูลย์สงคราม 1

ทั้งนี้ในกรณีดำเนินการเปิดประมูลเป็นการเปิดประมูลตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2549 ใช้งบประมาณประจำปี 2557 โดยขอบข่ายหลักอยู่ที่งานซ่อมแซมโป๊ะเทียบเรือพร้อมสะพานปรับระดับ ระยะเวลาดำเนินการและส่งมอบงาน 240 วัน นับจากวันลงนามในสัญญา ซึ่งภายใต้งบ 5 ล้านบาทนั้นจัดเป็นค่าวัสดุและค่าแรงงานเป็นเงินกว่า 3.9 ล้านบาท ส่วนหลักเกณฑ์และสิทธิในการพิจารณาราคากรมเจ้าท่าจะพิจารณาตัดสินด้วยราคารวม

“แต่ละปีจะได้รับงบประมาณ 5 ล้านบาทอย่างต่อเนื่องเพื่อการปรับปรุงท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับค่าจ้างและการจ่ายเงินค่าจ้างกรมเจ้าท่าจะแบ่งชำระออกเป็น 4 งวดๆ แรกทำงานได้ 25% ของค่างานทั้งหมดให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับจากวันลงนามในสัญญา ส่วนงวดที่ 2 เมื่อผู้รับจ้างทำงานได้ 50% ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 120 วัน งวดที่ 3 ทำงานได้ 75% ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 180 วัน และงวดสุดท้ายเป็นเงินอีก 25% เมื่องานแล้วเสร็จครบถ้วน 100% ภายในเวลา 240 วัน”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 94, 95, 96 ... 278, 279, 280  Next
Page 95 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©