RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263995
ทั้งหมด:13575278
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวโครงการรถไฟทางคู่
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 86, 87, 88 ... 389, 390, 391  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/07/2014 2:59 pm    Post subject: Reply with quote

มั่นใจรถไฟทางคู่"จิระ-ขอนแก่น" กระตุ้นเศรษฐกิจคึกคัก เล็งเชื่อมโยงสวนสัตว์เขาสวนกวาง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2557 14:27 น.

ศูนย์ข่าวขอนแก่น - กรอ.ขอนแก่นยิ้มแก้มปริ หลังโครงการรถไฟทางคู่ถนนจิระ-ขอนแก่น 185 กิโลเมตรผ่านอีไอเอ รอเข้าที่ประชุมครม.ตั้งงบประมาณก่อสร้าง เชื่อส่งผลต่อเศรษฐกิจเมืองขอนแก่น ทั้งด้ลดต้นทุนขนส่งสินค้าอุตสาหกรรม สะดวกรวดเร็ว และการท่องเที่ยว ด้านพ่อเมืองเล็งโปรโมทสวนสัตว์ขอนแก่นเป็นแหล่งท่องที่ยวใหม่

เมื่อเร็วๆนี้ นายกำธร ถาวรสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานประชุมนอกสถานที่ของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ(กรอ.)จังหวัดขอนแก่น ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557 ที่ห้องประชุมอาคารสวนสัตว์ อ.เขาสวนกวาง โดยนั่งรถไฟเที่ยวพิเศษจากสถานีรถไฟขอนแก่น ไปสถานีรถไฟเขาสวนกวาง เพื่อร่วมกันสำรวจเส้นทางรถไฟทางคู่ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด พร้อมระดมความคิดเห็นของภาครัฐและเอกชน

นายกำธร กล่าวว่า ถือเป็นข่าวดีที่ขอนแก่นจะมีเส้นทางรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 10 อำเภอ ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา ตั้งแต่อ.เมือง อ.โนนสูง อ.คง อ.บัวใหญ่ อ.บัวลาย และจ.ขอนแก่น ตั้งแต่อ.พล อ.โนนศิลา อ.บ้านไผ่ อ.บ้านแฮด และอ.เมือง คาดว่าจะเสริมศักยภาพและเกิดความตื่นตัวด้านเศรษฐกิจในอนาคต

ซึ่งกรอ.ขอนแก่น พร้อมเป็นกลไกสนับสนุนให้จังหวัดเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยใช้ประโยชน์ต่อเนื่องจากรถไฟทางคู่ โดยอำเภอเขาสวนกวางมีจุดแข็งจากการที่รัฐลงทุนสร้างสวนสัตว์ขอนแก่นและสวนน้ำ ทัดเทียมกับสวนสยามกรุงเทพฯ การเดินทางมาท่องเที่ยวที่สวนสัตว์ขอนแก่นด้วยรถไฟ มีความเร็วประมาณ 40 นาที เทียบกับรถยนต์ประมาณ 30 นาทีแล้วแทบไม่ต่างกัน โดยเขาสวนกวางเป็นโลเคชั่นที่เหมาะสมกับการส่งเสริมท่องเที่ยว ซึ่งจังหวัดขอนแก่นจะเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป

ด้านนายวิฑรูย์ กมลนฤเมธ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ในฐานะคณะกรรมการกรอ.จังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงโครงการรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น ว่าเห็นด้วยที่คสช.ไม่ล้มเลิกรถไฟทางคู่ และอนุมัติโครงการ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเร็วๆนี้ ซึ่งโครงการรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น มีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจขอนแก่นมาก เพราะเดิมทีการขนส่งสินค้าจากจ.ขอนแก่น จะขนส่งทางรถยนต์เป็นหลัก มีข้อจำกัดเรื่องการจราจรที่ค่อนข้างหนาแน่นบนถนนมิตรภาพ และค่าใช้จ่ายสูง ส่วนการการขนถ่ายสินค้าด้วยรถไฟทางเดียวมีอุปสรรคมาก เพราะมีการขนส่งน้อย และใช้เวลานาน

การที่คสช.อนุมัติรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่น จะทำให้การขนส่งสินค้าผ่านทางรถไฟขอนแก่นได้เพิ่มมากขึ้น รถบรรทุกบนถนนมิตรภาพจะลดลง อุบัติเหตุก็ลดลงไปด้วย อีกทั้งค่าใช้จ่ายขนถ่ายทางรถไฟต้นทุนจะถูกกว่าทางรถยนต์

และด้วยศักยภาพจังหวัดที่มีความพร้อมเป็นศูนย์กลางในหลายด้าน หากแผนสร้างรถไฟทางคู่สำเร็จ จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมสนใจขยายการลงทุนเข้ามา แม้ว่าโครงการนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวขอนแก่นจะยุติไปแล้ว แต่โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดนั้น ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนสูงสุด รองลงมาคือ การค้า และภาคการเกษตร

"ชื่อว่าเมื่อก่อสร้างรถไฟทางคู่เสร็จ จะเป็นทางเลือกให้ผู้นิยมโดยสารรถไฟ หันมาใช้บริการเมากขึ้น โดยรถไฟอางคู่จะสามารถเพิ่มขบวนรถได้มากขึ้น ส่งผลให้การเดินทางสะดวกรวด เพราะเดิมการโดยสารรถไฟทางเดียวถูกกำจัดความเร็วที่ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อสร้างรถไฟทางคู่แล้วจะเกิดความสะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น"

ด้านนายเทวิน รัตนะวงศะวัต ผู้อำนวยการสวนสัตว์ขอนแก่น กล่าวว่า สวนสัตว์ขอนแก่น พร้อมจัดกิจกรรมรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งการเดินทางโดยรถไฟเป็นอีกทางเลือก หากมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่จิระ-ขอนแก่นเสร็จ จะเสริมศักยภาพทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟมาถึงอ.เขาสวนกวาง สะดวกสบายมากขึ้น ที่สำคัญสวนสัตว์ขอนแก่น ได้จัดรถรับ-ส่งนักท่องเที่ยวจากสถานีรถไฟมายังสวนสัตว์เขาสวนกวางด้วย

ทั้งนี้ สวนสัตว์ขอนแก่นมีความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว ทั้งรถพ่วงที่มีบริการ 8 ขบวน ต่อไปจะเพิ่มเป็น 14 ขบวน แต่ละขบวนรับนักท่องเที่ยวได้ 50 คน รถกอล์ฟ 40 คัน จะเพิ่มเป็น 100 คัน อีกทั้งยังมีรถจักรยานยนต์ จักรยานยนต์ไฟฟ้าไว้บริการเที่ยวชมสวนสัตว์ด้วย

----

ชงโครงสร้างพื้นฐาน 2.4 ล้านล้าน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2557 10:00

Click on the image for full size

เสนอ'ประยุทธ์'ชี้ขาด ส่งต่อครม.ใหม่เดินหน้าทันที โครงสร้างพื้นฐาน2.4ล้านล้าน ไม่รวม'รถไฟความเร็วสูง'

สนข.เตรียมชง “ประยุทธ์”เคาะยุทธศาสตร์คมนาคม 8 ปี วงเงินกว่า 2.4 ล้านล้านบาท ชงรัฐบาลใหม่เดินหน้าได้ทันที หวังฟื้นเชื่อมั่นระยะยาว แต่ยังไม่รวมรถไฟความเร็วสูง ขณะสศช.เสนอโครงการระบบราง ยันสร้างทางคู่ขนาดราง 1 เมตรเพียงพอรองรับการขนส่งในประเทศ ส่วนรางมาตรฐาน 1.4.35 เมตรสำหรับรถไฟความเร็วสูง

แหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่าสนข.ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของไทยระยะเวลา 8 ปีช่วงปี 2558-2565 กระทรวงคมนาคมได้เตรียมที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อบริหารราชการแผ่นดินพิจารณาแล้ว โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ต้องการให้ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ก่อนที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลเนื่องจากต้องการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการเรื่องนี้ได้ทันทีที่เข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศในช่วงปลายเดือน ส.ค.นี้

นอกจากนี้การที่มีความชัดเจนเรื่องแผนการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับเศรษฐกิจของไทยในระยะยาว

สำหรับแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทยที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้ คสช.พิจารณา ประกอบด้วย 5 แผนงาน ซึ่งยังไม่รวมโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ คสช.ให้มีการศึกษาเพิ่มเติม วงเงินรวมประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท

แผนงานแรก การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง วงเงินประมาณ 6.7 แสนล้านบาท โดยโครงการส่วนใหญ่เป็นโครงการในการดำเนินการของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เช่น โครงการรถไฟทางคู่ 17 เส้นทางวงเงินรวมกว่า 4.7 แสนล้านบาท โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณทั่วประเทศ โครงการซ่อมบำรุงรถจักร และรถจักรดีเซลไฟฟ้า โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้า และโครงการจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ เป็นต้น

ส่วนรถไฟความเร็วสูงตามแผนงานที่เสนอให้พิจารณา คสช.อาจจะทางอาจจะไม่รวมโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงไว้ในแผนยุทธศาสตร์เลย หรืออาจเลือกเอาบางโครงการที่มีศักยภาพและมีความจำเป็นในอนาคต ที่ สนข. ได้เสนอไปก่อนหน้านี้ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ 3.8 แสนล้านบาท คสช.อาจพิจารณาดำเนินการในระยะที่ 1 กรุงเทพ - พิษณุโลก วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท

ส่วนเส้นทางกรุงเทพ - หนองคาย วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท อาจมีการปรับแผนในการผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางท่าเรือแหลมฉบัง-หนองคาย ซึ่งเป็นเส้นทางที่เชื่อมกับ รถไฟความเร็วสูงในประเทศลาวและจีน ซึ่งจะเป็นโครงการที่มีศักยภาพในอนาคตหลังจากที่รถไฟความเร็วสูงในลาวจะสร้างเสร็จ โดยจะต้องมีการศึกษาวงเงินสำหรับโครงการดังกล่าวอีกครั้ง

พัฒนาขนส่งสาธารณะ-ถนนกทม.1.2 ล้านล้าน

แผนงานที่สอง การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจร ใน กทม.และปริมณฑล วงเงินรวมประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท โดยโครงการสำคัญในแผนงานนี้คือโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง โดยโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพและปริมณฑล หรือโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย โดยจะมีการประกวดราคาเพิ่มเติมอีก 112 กิโลเมตร หรืออีก 5 โครงการในระหว่างปี 2557 - 2558

นอกจากนี้ มีโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,416 ล้านบาท ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์สั่งให้มีการดำเนินการให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2558

นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างถนนและสะพานใน กทม.และปริมณฑลเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ขยายตัว ได้แก่ โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อถนนราชพฤกษ์ - ถนนกาญจนาภิเษก แนวเหนือ-ใต้ และโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย

สร้างทางหลวงเชื่อมฐานผลิต

สำหรับแผนงานที่ 3 เป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศสู่ประชาคมอาเซียน วงเงินประมาณ 6.4 แสนล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการโครงการสร้างโครงข่ายทางหลวงชนบทสนับสนุนการเกษตรและการท่องเที่ยว การสร้างโครงข่ายเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลักและระหว่างฐานการผลิตหลักของประเทศ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง

นอกจากนี้ แผนงานที่ 4 พัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำเพื่อเพิ่มการขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้น 20% วงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือปากบารา โครงการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ท่าเรือแหลมฉบัง โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสัก โดยการก่อสร้างระบบป้องกันตลิ่งเพื่อพัฒนาร่องน้ำทางเดินเรือ เป็นต้น

พัฒนาสุวรรณภูมิเฟส2รวม8.9หมื่นล้าน

สำหรับการพัฒนาท่าอากาศยาน เป็นแผนงานสุดท้าย วงเงินรวมประมาณ 8.9 หมื่นล้านบาท เช่น แผนการเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานในประเทศ เช่น แผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท การพัฒนาท่าอากาศดอนเมืองระยะที่ 2 - 3 (2561 - 2565) รวมทั้งแผนพัฒนาท่าอากาศยานท่าอากาศยานภูเก็ต

"แผนงานที่ 5 นี้จะมีการหารือถึงความเหมาะสมในการลงทุน โดยโครงการลงทุนในการพัฒนาแผนงานนี้แนวทางการลงทุนอาจให้รัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัทการท่าอากาศยาน จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ลงทุนเองเนื่องจากมีศักยภาพเพียงพอ หรืออาจให้เป็นการลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (พีพีพี) รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโดยใช้กลไกกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เป็นทางเลือกในการลงทุนเช่นเดียวกับโครงการอื่นๆ ที่มีขนาดการลงทุนเกินกว่า 1 แสนล้านบาทในแผนงานอื่นๆ ก็ให้มีการศึกษาทางเลือกของการลงทุนในรูปแบบต่างๆ"

เผยภาคเอกชนต้องการรางคู่ก่อน

ด้านแหล่งข่าวจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยด้วยว่าในการประชุม ร่วมกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง หัวหน้าคสช. ฝ่ายเศรษฐกิจ เมื่อเร็วๆนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการคมนาคมขนส่งของประเทศ ได้แก่ กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ สนข.ได้ให้ข้อมูลกับ พล.อ.อ.ประจิน เกี่ยวกับการลงทุนในระบบรางของประเทศไทย ภายหลังได้มีข้อเสนอว่าในการลงทุนรถไฟทางคู่ที่ คสช.กำลังผลักดัน ควรจะมีการสร้างโดยใช้รางขนาด 1.435 เมตร เพื่อให้รองรับระบบรางในอนาคต

"ส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชนที่ต้องการให้การลงทุนรถไฟทางคู่สามารถรองรับการขนส่ง ทั้งคนและสินค้าได้ในเวลาอันรวดเร็วขึ้น"

ใช้ราง1.435เมตรทั่วประเทศใช้ทุนสูง

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงให้ พล.อ.ประจิน ทราบว่าปัจจุบันเส้นทางรถไฟของประเทศไทยมีประมาณ 4,000 กิโลเมตร หากจะมีการเปลี่ยนแปลงรางเป็นขนาด 1.435 เมตร ทั้งหมด รวมทั้งสร้างรถไฟทางคู่ขึ้นมาใหม่ในขนาดรางเดียวกันจะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล เนื่องจากจะต้องมีการจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ด้วย โดยเพื่อให้ใช้วิ่งในรางใหม่ที่จะมีการสร้าง

ปัจจุบัน ค่าก่อสร้างรางรถไฟในแต่ละก.ม.ต้องใช้งบประมาณมากกว่าการก่อสร้างทางถนนประมาณ 10 เท่า

เล็งใช้รถไฟความเร็วสูงราง1.435เมตร

แหล่งข่าวกล่าวว่าข้อเสนอที่ต้องการให้ไทยสร้างราง ขนาด 1.435 เมตร เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต แหล่งข่าวกล่าวว่าปัจจุบันขนาดรางรถไฟในประเทศเพื่อนบ้านมีขนาดเท่ากับรางรถไฟของไทยคือขนาด 1 เมตร ซึ่งเมื่อมีการปรับปรุงให้มีสภาพดีขึ้นก็จะสามารถทำความเร็วได้ถึง 90 - 100 ก.ม./ช.ม. และเมื่อมีทางคู่อีกเส้นหนึ่งที่ขนานกันก็จะทำให้การขนส่งโดยระบบรางมีความคล่องตัวขึ้นโดยไม่ต้องเปลี่ยนรางใหม่ทั้งระบบ

ส่วนในอนาคตจะมีรางรถไฟที่ประเทศจีนลงทุนให้ สปป.ลาวขนาดราง 1.435 เมตรนั้นในอนาคตเมื่อไทยศึกษาเส้นทางสำหรับรถไฟความเร็วสูงก็จะมีการลงทุนโดยใช้ขนาดราง 1.435 เมตร ซึ่งก็จะเชื่อมต่อเส้นทางไปยังประเทศจีนได้โดยเบื้องต้นได้ศึกษาการเชื่อมต่อในเส้นทาง กรุงเทพ - หนองคาย

“ตอนที่มีการวางแผนที่จะมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง เราได้วางแผนว่าจะสร้างรางขนาด 1.435 เมตรเอาไว้ เนื่องจากเป็นรางที่จะสามารถทำความเร็วได้ในระดับมากกว่า 150 ก.ม./ช.ม.ขึ้นไป ซึ่งตามแผนรถไฟความเร็วสูงจะใช้สำหรับการขนส่งคนหรือสินค้าที่มีมูลค่าสูง ขณะที่รถไฟขนาดรางปกติจะใช้สำหรับขนส่งสินค้าประเภทฮาร์ดแวร์ หรือผู้โดยสารที่ไม่ต้องการความเร่งรีบในการเดินทางมากนัก” แหล่งข่าวกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2014 4:12 pm    Post subject: Reply with quote

“DCON”โดดรับรางคู่เป้า18บ. ผลงานปี57เด่นทะลุ1.6พันล้าน
ทันหุ่น
28 กรกฎาคม 2557 09:03

ทันหุ้น - DCON ฟุ้งปี 2557 ผลงานทะลุเป้า 1.6 พันล้านบาท อานิสงส์โรดแมพคสช. หนุนภาคก่อสร้างคึกคัก แถม Backlog จ่อบุ๊กอื้อ ส่วนเรื่องตั้งโรงงานภาคอีสานชัดเจนปีหน้า ด้านนักวิเคราะห์ ชี้รับผลบวกรถไฟรางคู่ หนุนออเดอร์เสาเข็มเจาะบาน สั่งลุยเป้าหมาย 18.00 บาท

แหล่งข่าวระดับสูง บริษัท ดีคอนโปรดักส์ จำกัด (มหาชน) หรือ DCON เปิดเผยว่า ในปี 2557 รายได้จะเติบโตมากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ระดับ 1.6 พันล้านบาท เพราะได้รับปัจจัยบวกจากแนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้น หลังทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เตรียมจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในระบบโครงสร้างพื้นฐานเข้ามาช่วงครึ่งปีหลัง

โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่

นอกจากนี้ ในแง่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มียอดโอน (Backlog) อีกมูลค่าเกือบ 800 ล้านบาท จากโครงกาตรต่างๆ เช่น บ้านเดี่ยวภายใช้ชื่อ "อรดา", คอนโดมิเนียม Dzio (ราชพฤกษ์) ซึ่งคาดจะสามารถเริ่มโอนได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 นี้เป็นต้นไป

บุกตลาด AEC

ด้านนายวิทวัส พรกุล ประธานกรรมการบริหาร DCON กล่าวว่า ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของการผลิตและจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างประมาณ 92%, โครงการอสังหาริมทรัพย์ราว 8%

ขณะที่โรงงานแห่งจังหวัดระยองและขอนแก่น ขณะนี้ได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เรียบแล้ว โดยจะทำให้กำลังการผลิตแผ่นพื้นสำเร็จรูปของบริษัทปรับตัวเพิ่มเป็น 1.8 หมื่นตารางเมตรต่อวัน จากเดิมราว 1 หมื่นตารางเมตรต่อวัน ซึ่งเชื่อคงจะเพียงรองรับความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี

ส่วนเรื่องการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่เพิ่มเติมในภาคอีสานของไทย จากปัจจุบันโรงงานโซนดังกล่าวในจังหวัดขอนแก่นแล้ว 1 แห่ง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาทำเลที่ตั้งในจังหวัดชายแดนต่างๆ หวังใช้เป็นฐานในการผลิตและขยายตลาดไปในแถบภูมิภาคอาเซียน (AEC) โดยเบื้องต้นประเมินงบลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท และน่าจะได้เห็นความชัดเจนปีหน้า

นอกจากนี้ บริษัทมีแนวคิดขยายฐานไปในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มเติม โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดต่างๆ หลังพบความต้องการมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยหวังได้ความชัดเจนในปี 2558 หรือไม่เกินปี 2559

ส้มหล่นรับรถไฟรางคู่

นักวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ประเมินหุ้น DCON คาดกำไรครึ่งแรกปี 2557 น่าจะเติบโต 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 103 ล้านบาท เนื่องจากการบริหารจัดการต้นทุนที่มีประสิทธิ์ภาพ ประกอบกับแนวโน้มคำสั่งซื้อยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

พร้อมกันนี้เชื่อแนวโน้มกำไรครึ่งหลังปี 2557 จะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังเริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ผลจากปัจจัยการเมืองคลี่คลาย อีกทั้งมองว่าบริษัทน่าะจะได้รับประโยชน์จากโครงการรถไฟทางคู่นั้นจะต้องมีการใช้เสาเข็มคอนกรีตขนาดเล็ก (เสาเข็มตอก)

สำหรับเสาเข็มตอกนั้นปัจจุบันถือเป็นหลักของบริษัท โดยปัจจุบัน DCON อยู่ระหว่างศึกษาโครงการ และขออนุมัติ มอก.ของสินค้าที่เกี่ยวข้องทุกชนิด รวมถึงศึกษาการผลิตไม้หมอนรองรางรถไฟด้วย

อย่างไรก็ดี ตามแผน รฟม. จะมีการเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาทในครึ่งหลังปี 2557 ซึ่งในยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม ยังมีแผนก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง วงเงินรวม 1.16 แสนล้านบาท

โดยฝ่ายวิเคราะห์คาดว่าแนวโน้มความต้องการเสาเข็มคอนกรีตขนาดเล็ก จะมีสูงต่อเนื่องในอีกหลายปีข้างหน้า ตลอดจนน่าจะกลายป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้น

ส่องอนาคต 18 บาท

ดังนั้น จากประเด็นบวกดังกล่าว ฝ่ายวิเคราะห์ประมาณการกำไรปี 2557 ไว้ที่ระดับ 220 ล้านบาท รวมทั้งคาดกำไรปีหน้าจะเติบโตอย่างชัดเจนมาอยู่ระดับ 370 ล้านบาท เนื่องจากจะมีการรับรู้รายได้จากการโอนคอนโดมิเนียม ซึ่งตัวเลขกำไรดังกล่าวนั้นยังไม่ได้รวมผลบวกจากโครงการรถไฟทางคู่) ที่จะต้องมีการใช้เสาเข็มคอนกรีตขนาดเล็ก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของ DCON จึงแนะนำ "ซื้อ" ให้ราคาเป้าหมาย 18.00 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/07/2014 8:49 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่" เคาะแล้วรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร วิ่ง 160 ก.ม./ช.ม. เชื่อมจีน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 30 ก.ค. 2557 เวลา 08:20:07 น.

บิ๊กตู่เคาะแล้วรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร วิ่ง 160 ก.ม./ช.ม. เชื่อมจีน นำร่อง 2 สาย จากด่านเชียงงของ-หนองคาย ทะลุท่าเรือแหลมฉบัง ลงทุนกว่า 7.4 แสนล้าน คาดตอกเข็มปี 59 สร้างเสร็จปี 64

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชุดใหญ่ มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นประธาน ได้เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมศึกษาพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ระบบรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร หรือสแตนดาร์ดเกจ ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า วิ่งด้วยความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จำนวน 2 เส้นทาง เพื่อเชื่อมเศรษฐกิจการค้ากับประเทศจีน ระยะทางรวม 1,392 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 741,460 ล้านบาท

คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในปี 2558-2564 แยกเป็น
สายหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 กิโลเมตร วงเงิน 392,570 ล้านบาท และ
สายเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 กิโลเมตร วงเงิน 348,890 ล้านบาท

ทั้งนั้นใน 2 เส้นทางนี้ จะนำผลการศึกษาเดิมของรถไฟความเร็วสูงที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไปแล้วและอยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอมาต่อยอด แต่เปลี่ยนจากใช้ระบบรถไฟความเร็วสูงแบบหัวจรวดมาเป็นรถไฟทางคู่ที่ใช้รถไฟฟ้ามาวิ่ง เพื่อประหยัดงบลงทุน แต่จะออกแบบให้สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งด้วยความเร็วเกิน 200 กิโลเมตรได้ในอนาคต

"สนข.จะเริ่มศึกษาเพิ่มเติมในปี 2558 ก่อสร้างได้ปี 2559 แล้วเสร็จปี 2564 จะเชื่อมการค้าจากจีนใต้ ผ่านลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/07/2014 12:52 pm    Post subject: Reply with quote

High-speed train gets go ahead - Two routes okayed in B741bn scheme
Bangkok Post 30 Jul 2014

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/07/2014 1:32 pm    Post subject: Reply with quote

Nation on track for faster rail
Bangkok Post 31 Jul 2014 by AMORNRAT MAHITTHIROOK
Wider track gauge will boost Asian trade

The Transport Ministry will switch the country’s rail transport to wider tracks of 1.435 metres after finishing construction of the recently approved six dual-track routes which will be its last project using one-metre wide tracks.

Currently all of Thailand’s trains run on one-metre wide rails and the six dualtrack projects were needed to increase the speed with which goods and people are transported along these key routes in the immediate future.

But in the long run the new 1.435metre wide tracks will become the standard for the country’s future rail network, allowing it to connect with rail tracks from neighbouring countries, permanent secretary for transport Soithip Traisuth said yesterday.

The one-metre gauge dual tracks on six routes will total 887km. These routes include the 185km section from Jira junction in Nakhon Ratchasima to Khon Kaen, 167km from Prachuap Khiri Khan to Chumphon, and 165km from Nakhon Pathom to Prachuap Khiri Khan’s Hua Hin district. Their construction is scheduled for 2015 to 2018.

Another three routes, which are scheduled to be built between 2016 and 2020, are the 132km section from Map Kabao in Saraburi to Nakhon Ratchasima, 148km from Lop Buri to Pak Nampho in Nakhon Sawan, and 90km from Prachuap Khiri Khan to Hua Hin.

The six routes currently use single tracks and trains have to wait for shunting at junctions. This can lengthen traveling time. The Transport Ministry wants to first build dual tracks for these routes because they are key railways with high traffic volumes. Trains are expected to travel faster after the construction is complete, Ms Soithip said.

The speed of cargo trains will increase from 29km/h to 60km/h while passenger trains will go twice as fast, from 50km/h to 100km/h.

The new 1.435 metre gauge will be used with two pilot projects — the 737-kilometre route linking Nong Khai, Khorat, Saraburi, Laem Chabang and Mab Ta Phut and the 655km stretch from Chiang Khong, Den Chai to Ban Phachi.

These routes will meet at Ban Phachi, which currently serves as a rail junction in Ayutthaya’s Pachi district, Ms Soithip said.

On Tuesday, the National Council for Peace and Order gave the green light for the construction of the two routes, with costs estimated at 741.4 billion baht, under a plan to boost rail transport from southern China to Thailand.

Construction of the routes will be carried out between next year and 2021.

In the long term, transport officials also plan to extend the route from Ban Pachi to Padang Besa in Songkhla’s Sadao district, Ms Soithip added.

The plan to lay 1.435m-wide tracks along the routes will take the national rail system into a new phase of standard gauge, which is expected to help boost rail travel across all of South East Asia.

“When these plans are completed we will be then able to connect with China via Laos as well as Malaysia and Singapore,” Ms Soithip said.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/07/2014 1:36 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทยใช้สารพัดระบบราง - ตอกเข็มทางคู่ปี'58 - เชื่อมรถไฟวิ่งจีน-มาเลย์ ต่อรางเร็วสูงถึงปาดังเบซาร์
สแกนโดยคุณหนุ่มเมืองใต้
http://pantip.com/topic/32395672

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1406796325
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/07/2014 10:10 pm    Post subject: Reply with quote

ดูความพร้อม "รถไฟทางคู่" หลัง "คสช." ปลดล็อกอีไอเอ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 31 ก.ค. 2557 เวลา 20:52:30 น.

เมื่อ "คสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ" เข้ามาบริหารประเทศ ดูเหมือนโครงการเก่าตกค้างแรมปี จะได้รับการสานต่ออย่างฉับพลัน

ล่าสุด "รถไฟทางคู่" ระยะเร่งด่วน 5 สายทาง ระยะทาง 767 กิโลเมตร วงเงินลงทุนกว่า 1.18 แสนล้านบาท ของ"กระทรวงคมนาคม" ซึ่งติดแหง็กอยู่ที่"คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ" เพื่อรอการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ได้รับการอนุมัติทันที ในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ นัดแรกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมี "พลเรือเอกณรงค์ พิพัฒนาศัย" หัวหน้า คสช.ฝ่ายสังคมจิตวิทยา นั่งหัวโต๊ะประชุมแทน "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" หัวหน้า คสช.ที่ติดภารกิจ

Click on the image for full size

สำหรับรถไฟทางคู่ 6 สาย (ดูตาราง) ที่เสนอไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ทางบอร์ดสิ่งแวดล้อม ทุบโต๊ะไฟเขียว "สายจิระ-ขอนแก่น" ระยะทาง 187 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 26,007 ล้านบาท จากนี้ทาง "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" นำเสนอโครงการให้ "คสช." อนุมัติและเปิดประมูลได้ทันที คาดว่าจะเริ่มได้ในปี 2557-2558 นี้ จะต่อจากสาย "ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย" ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 11,348 ล้านบาท ที่รอการอนุมัติจาก คสช.เช่นกัน ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.) พิจารณา

หากผ่านก็สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดสิ่งแวดล้อมได้ทันที คาดว่านัดต่อไปในเดือนสิงหาคมนี้ จะเป็นคิวของสาย "ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร" ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 17,293 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/08/2014 7:21 am    Post subject: Reply with quote

หนุนรถไฟทางคู่ลงแหลมฉบัง
วันอังคารที่ 29 กรกฏาคม 2014 เวลา 14:04 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ

สนข.หนุน "บิ๊กจิน" พัฒนารถไฟทางคู่ ขนาดราง 1.435 เมตร ในเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมโยงเชียงของ-แหลมฉบัง,หนองคาย-แหลมฉบัง พร้อมแนะนำผลศึกษาไฮสปีดเทรนที่ถูกพับโครงการมาใช้เป็นฐาน ชี้ภายหลังยังติดตั้งระบบไฮสปีดเทรนเพิ่มเข้าไปได้ ด้านประธานสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีนเผยตั้งศูนย์บริการโลจิสติกส์ภาคเหนือตอนล่างรองรับไว้แล้ว

แหล่งข่าวระดับสูงของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ต่อกรณีที่พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ(ผบ.ทอ.) รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ มีแนวคิดจะพัฒนารถไฟทางคู่จากภาคเหนือเส้นทางเชียงของ-แหลมฉบังและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเส้นทางหนองคาย-แหลมฉบังโดยจะใช้ขนาดรางเป็น 1.435 เมตรนั้น เห็นว่าน่าจะใช้ผลการศึกษาของโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ถูกพักโครงการไปก่อนหน้านี้ กลับมาดำเนินการแทน และหากมีความจำเป็นต้องใช้รถไฟความเร็วสูงในอนาคตก็สามารถติดตั้งระบบไฮสปีดเทรนเข้าไปเพิ่มได้อีกด้วย

"เสียดายโอกาสของประเทศไทยที่ต้องล่าช้าไปอีกไม่น้อยกว่า 1 ปี สิ่งสำคัญขณะนี้โครงการไฮสปีดเทรนอยู่ระหว่างการขอรับรองผลการศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม คาดว่าไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่แนวเส้นทางกำหนดเอาไว้แล้ว หากผ่านอีไอเอก็สามารถก่อสร้างได้ทันที ไม่ต้องรอกระบวนการศึกษารอบใหม่ให้เสียเวลาอีกนาน"

ด้านพล.อ.ศิริ ทิวะพันธุ์ ประธานสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน กล่าวว่า สถาบันได้จัดตั้งศูนย์บริการโลจิสติกส์ภาคเหนือตอนล่าง ที่จังหวัดพิษณุโลกเพื่อรองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับแผนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของคสช.ที่จะตั้งเขตเศรษฐกิจในพื้นที่โซนต่างๆโดยเฉพาะแม่สอดให้สามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยพิษณุโลกถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางกระจายไปสู่พื้นที่ต่างๆได้อย่างเหมาะสมทั้งภาคเหนือไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกหรือภาคใต้โดยระบบโครงข่ายคมนาคม

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)กล่าวว่าล่าสุดเส้นทางภาคเหนือได้ปิดซ่อมทางครบทั้งหมดแล้ว เปลี่ยนหมอน เปลี่ยนรางเป็น 100 ปอนด์ และแก้ไขจุดที่เป็นปัญหาซึ่งพบว่าสามารถเพิ่มความเร็วได้มากขึ้น แต่จุดที่น่ากังวลคือช่วงจากเด่นชัย-เชียงของเนื่องจากผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำสำคัญตลอดจนผืนป่าจำนวนมาก อาจต้องเวนคืนกว่า 1,000 แปลง โดยยืดเยื้อมานานหลาย 10 ปีแล้วแต่ยังดำเนินการไม่สำเร็จในด้านผลการรับรองอีไอเอ

"หากยังใช้ขนาดราง 1 เมตรน่าจะเร่งดำเนินการได้ทันที เพราะมีพื้นที่รองรับไว้แล้วโดยสามารถก่อสร้างได้มากถึง 12 ทางในหลายช่วงการเดินทาง แต่ยังเป็นห่วงเรื่องกรณีศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหากจะต้องดำเนินการก่อสร้างทางเพิ่มใหม่ซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบสิ่งแวดล้อม ประการสำคัญขนาดราง 1.435 เมตรที่เพิ่มความเร็วได้ยังพบว่ามีหลายจุดต้องปรับปรุงแน่ๆ อาจล่าช้าอีกหลายปี จึงน่าจะใช้ราง 1 เมตรให้เต็มประสิทธิภาพมากกว่าจึงค่อยเพิ่มเป็น 1.435 เมตรในภายหลังหากรองรับไม่ได้แล้ว"

ทั้งนี้ทราบว่าผลจากการหารือร่วมกับหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคสช. และพล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครั้งล่าสุดเมื่อ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทราบว่าแนวคิดของหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจคสช.เสนอให้ทำรถไฟทางคู่เป็น 4 ทางจากเชียงของ-แหลมฉบังคู่ขนานไปกับทางคู่เดิมที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบันที่มีอยู่แล้ว 1 ทางเริ่มจากสถานีเด่นชัย จังหวัดแพร่ เป็นต้นไป โดยมอบหมายให้วิทยาลัยโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน มหาวิทยาลัยนเรศวร เร่งสรุปผลการศึกษาแล้วนำเสนอเพื่อประชุมหารือร่วมกันอีกครั้งภายในปลายเดือนนี้ ทั้งนี้ได้มีการเตรียมพื้นที่ประมาณ 200-300 ไร่รองรับเอาไว้แล้วอีกด้วย

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า มี 2 แนวทางให้พิจารณาโดยแนวทางแรกจะก่อสร้างรางขนาด 1.435 เมตรเพิ่มอีก 2 เส้นทางและแนวทางที่ 2 เพิ่มขนาดราง 1 เมตรอีก 1 เส้นทางคู่ขนานเส้นทางปัจจุบัน รวมเป็น 4 เส้นทางหลักเพื่อขนสินค้าและผู้โดยสารแยกออกจากกันให้ชัดเจน เพิ่มความถี่ได้มาก และยังลดจุดรอหลีกให้น้อยลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลาได้มากขึ้น โดยประเด็นหลักอาจเลือกสร้างทางคู่ขนาด 1 เมตรคู่ขนานกันไปก่อนก็ได้จนกว่าจะเต็มพิกัดเกินกว่าจะรองรับได้ไหวจึงจะก่อสร้างขนาด 1.435 เมตรเพิ่มมาในภายหลัง"

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,970 วันที่ 31 กรกฎาคม - 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

----

'วรรณพ'เผยรถไฟรางคู่ผ่านอีไอเอพร้อมชงครม.
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 1 สิงหาคม 2557 16:20

โครงการรถไฟรางคู่,การรถไฟแห่งประเทศไทย,วรรณพ ไพศาลพงศ์,ขอนแก่น,จิระ,คสช.,คณะรักษาความสงบแห่งชาติ

"วรรณพ"วิศวกรอำนวยการฯ เผยโครงการรถไฟรางคู่ผ่านอีไอเอ รอเข้าประชุมครม. ตั้งงบก่อสร้าง2.6หมื่นลบ.

นายวรรณพ ไพศาลพงศ์ วิศวกรอำนวยการ ศูนย์โครงการก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยหลังเข้าพบ นายธงชัย ลืออดุลย์ ผวจ.นครราชสีมา เพื่อรายงานความคืบหน้าการดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร ตามที่ คสช. ได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ว่า ความคืบหน้าได้ผ่านขั้นตอนความเห็นชอบการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) รอเข้าที่ประชุม ครม. เพื่อตั้งงบประมาณก่อสร้าง 2.6 หมื่นล้านบาท ช่วงกลางปี 2558 จะเปิดประมูลหาผู้รับเหมา ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 36 เดือน แล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการปี พศ. 2562

ส่วนโครงการรถไฟทางคู่สายทางมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. มูลค่า 29,855 ล้านบาท อยู่ระหว่างการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเส้นทางบางช่วง ในเขตอำเภอปากช่อง ได้ผ่านผืนป่า ต้องเจาะอุโมงค์ หรือทำสะพานข้าม สำหรับโครงการรถไฟทางคู่สายทางชุมทางถนนจิระ- อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม. มูลค่า 32,398 ล้านบาท ได้ผ่านการศึกษา และออกแบบ ช่วงประมาณปี 2558 บริษัท ฯ ที่ปรึกษา จะลงพื้นที่ เพื่อปฐมนิเทศ หรือชี้แจงข้อมูลโครงการฯ

นายวรรณพ วิศวกรอำนวยการฯ กล่าวถึงรายละเอียดโครงการพัฒนารถไฟทางคู่สายทางจิระ-ขอนแก่น ขนาดราง 1 เมตร (Meter Gauge) แบบใช้หินโรยทาง (Ballast) ใช้รางชนิด UIC54 และหมอนคอนกรีตแบบ Mono Block ก่อสร้างเพิ่มด้านขวาทาง (ทิศตะวันออก) ระยะทาง 187 กิโลเมตร ขนานไปกับทางรถไฟเดิม เริ่มต้นที่สถานีชุมทางถนนจิระ ถึงสถานีขอนแก่น รวม 26 สถานี เป็นทางวิ่งระดับพื้นทั้งหมด ยกเว้นช่วงบริเวณสถานีขอนแก่น จะเป็นทางรถไฟยกระดับ ระยะทางประมาณ 5.4 กิโลเมตร ย่านเก็บกอง และขนถ่ายตู้สินค้า CY มี 3 แห่ง ได้แก่ สถานีบ้านกระโดน สถานีชุมทางบัวใหญ่ และสถานีท่าพระ เพื่อรองรับการขนส่งที่จะเติบโตในอนาคตและหลีกเลี่ยงพื้นที่ชุมชนเมือง กระบวนการทั้งหมด ได้ผ่านความเห็นชอบของประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย การคัดค้านฯ

ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม อาจทำได้เพียงปรับเปลี่ยนรูปแบบตามงบประมาณที่คงเหลืออยู่ เพื่อลดผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชน ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ตามเส้นทางรถไฟ หากโครงการฯ นี้แล้วเสร็จ สามารถช่วยเพิ่มความจุของเส้นทางรถไฟ ให้มีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายการเดินทาง และการขนส่งสินค้าสะดวกรวดเร็วขึ้น และลดระยะการเดินทาง เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางรถไฟ ลดระยะเวลาการเดินทาง ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง และลดปัญหามลพิษ

นายขวัญชัย ติยะวานิช นายกสมาคมผู้ประกอบการรถบรรทุกภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ขณะนี้มีการขนส่งสินค้าทางขบวนรถไฟ สายทางจิระ-ขอนแก่น วันละ 5 ขบวน ซึ่งรถไฟบรรทุกสินค้า 1 ขบวน เทียบกับรถบรรทุกขนส่ง ได้เฉลี่ย 20 คัน หากโครงการนี้แล้วเสร็จ จะลดจำนวนรถบรรทุก ที่แล่นบนเส้นทางหลัก ถนนมิตรภาพ กว่า 100 คัน ต่อวัน ลดความคับคั่งของสภาพการจราจร รวมทั้งลดอุบัติเหตุ และอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง

การพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้ประกอบการรถบรรทุก เนื่องจากเส้นทางรถไฟไทย ยังจำกัดอยู่ตามหัวเมืองใหญ่เท่านั้น ศักยภาพการขนส่ง และโดยสารสาธารณะ ยังต้องใช้ถนนเป็นหลัก ดังนั้นการขนส่งสินค้าถึงปลายทาง ก็ต้องใช้รถบรรทุกเช่นเดิม ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ระบบรถไฟทางคู่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รถไฟไทย ต้องมีหัวรถจักรเพียงพอ และ ปรับปรุงการบริหาร จัดการ ให้เป็นรูปแบบอินเตอร์ โดยเฉพาะการตรงต่อเวลา ซึ่งผู้ประการการให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก นอกจากนี้การเพิ่มระบบทางรถไฟ ต้องเร่งดำเนินการครอบคลุมทั้งประเทศ

ด้าน นางสุบงกช วงศ์วิชยาภรณ์ กรรมการหอการค้าไทย ฐานะ ประธานหอการค้า กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง ว่า ขอขอบคุณ คสช. ที่เล็งเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ที่ผ่านมา ภาคเอกชน ได้นำเสนอยุทธศาสตร์โครงการรถไฟทางคู่สู่อีสาน ให้รัฐบาล เล็งเห็นความสำคัญ แต่ติดขัดปัญหาการเมือง ทั้งๆที่โครงการ ฯ ได้ผ่านขั้นตอนการศึกษา ข้อมูลครบทุกด้าน ตนในฐานะตัวแทนผู้ประกอบการด้านธุรกิจในเขต 20 จังหวัด ภาคอีสาน ขอสนับสนุนโครงการนี้ ฯ พร้อมที่จะให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งได้ลงพื้นที่ ศึกษาข้อมูลมาครบทุกด้าน เพื่อให้การขนส่งระบบราง ตอบโจทย์คนอีสานได้ครอบคลุมที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/08/2014 1:10 pm    Post subject: Reply with quote

หอการค้าเตรียมชงคสช.สร้างรางรถไฟทางคู่จากสุไหงโก-ลก-หาดใหญ่
News Plus 3 ส.ค. 57

เมื่อ เวลา 09.00 น. วันที่ 3 ส.ค. 57 ที่ห้องประชุมบังสูรย์ โรงแรมเก็นติ้ง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ดร.ณพพงศ์ ธีระวร ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายสลิล โตทับเที่ยง ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน นายสุทัศน์ เลิศมโนรัตน์ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ ก่อนจะนำเสนอ คสช. เพื่อสนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม โดยในที่ประชุมสรุปร่วมกันว่าจะเสนอโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่จากสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส – สถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้ คสช.พิจารณาดำเนินการต่อไป

โดยนายศรัณย์ วังสัตตบงกช ประธานหอการค้า จ.นราธิวาส เปิดเผยว่า การพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ หากจะให้ประสบความสำเร็จจริงๆนั้นความมั่นคงต้องเดินควบคู่กับการพัฒนา เพราะพื้นที่ 3 ลำดับแรกต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ที่คาดว่าน่าจะเป็นผลดีต่อการต้อนรับเข้าสู่กลุ่มประเทศอาเซียน เพราะ จ.นราธิวาส เป็นจังหวัดที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศมาเลเซีย โดยหอการค้ามองว่าการสร้างรถไฟ ทางคู่จาก อ.สุไหงโก-ลก ถึง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และถ้ามีการก่อสร้างจริงๆ หอการค้า จ.นราธิวาส มีศักยภาพเพียงพอที่จะเจรจากับทางการประเทศมาเลเซีย เพื่อสร้างรถไฟทางรถไฟคู่จากเมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน มาเชื่อมต่อกันที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก เพื่อเป็นศูนย์กลางในการขนส่ง ท่องเที่ยว และทำธุรกิจการค้าร่วมกัน

----

หอการค้าใต้ชงคสช.เชื่อมรถไฟโก-ลก-กลันตัน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 3 สิงหาคม 2557 18:01

ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ เผยเสนอคชส.เชื่อมรถไฟสุไหงโก-ลก-กลันตัน ดันการค้า-ท่องเที่ยวชายแดน

นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ เปิดเผยว่าการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ครั้งที่ 2/2557 วาะรการประชุม "ทบทวนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด" ระหว่างวันที่ 1-3 ส.ค. ณ โรงแรมเก็นติ้ง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ว่า เป็นการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมการประชุมมากครั้งหนึ่งกว่า 100 คน จากประธานหอการค้า 14 จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงการประชุมครั้งนี้รองประธานหอการค้าไทยที่รับผิดชอบด้านต่างๆรวม 5 ด้าน เข้าร่วม ทำให้การประชุมสามารถสรุปแนวทางและรายละเอียดการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีการสรุปยุทธศาสตร์ที่จะนำเสนอต่อหอการค้าไทย และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

"ครั้งนี้เราได้ข้ามฝั่งไปยังประเทศมาเลเซียการค้าชายแดนของรัฐกลันตันกับอ.สุไหงโก-ลก ได้เห็นความแออัดของด่านที่ต้องเข้าคิวนานถึง 3 ชั่วโมงกว่าจะข้ามด่านไปได้ ตรงนี้เป็นอีกภาพหนึ่งที่เราจะนำเสนอประธานหอการค้าไทยและประธานคสช. เพราะการขยายสะพานระหว่างด่านสุไหงโก-ลกที่จะไปกลันตันมีอยู่ 2 ช่องจราจรเอง ซึ่งทางอำเภอสุไหงโก-ลก ได้ของบประมาณ 100 กว่าล้านบาท แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน แต่ในขณะที่ด่านฯสุไหงโก-ลก มีการเดินทางที่คับคั่งมากและมีผลต่อการค้าขายแดนต่อทั้งสองประเทศ นี่คือประเด็นที่เราจะนำเสนอ"

ประเด็นที่สองเรื่องโลจิสติกส์ ตอนนี้รถไฟจากรัฐกลันตันที่มาถึงอ.สุไหงโก-ลกถูกปิดมาประมาณ 20 กว่าปี รางยังอยู่แต่ไม่ได้เดินทาง ในขณะเดียวกันทางสุไหงโก-ลกก็เสนอว่า รถไฟทางคู่ที่จะมีงบประมาณจากกรุงเทพฯลงมาถึงหาดใหญ่ ซึ่งจะให้มาถึงหัวหินหรือประจวบคีรีขันธ์ก็แล้วแต่ เอางบประมาณนั้นสร้างกลับกัน คือ สร้างจากสุไหงโก-ลกมาหาดใหญ่ เพื่อจะได้นักท่องเที่ยวจากรัฐกลันตัน ซึ่งขณะเดียวกันเราก็จะได้นำเสนอฝ่ายบริหารของหอการค้าไทย เพื่อประสานไปยังสภาธุรกิจการค้าชายแดนทั้งสองประเทศ โดยขอให้ทางประเทศมาเลเซียเปิดเส้นทางรถไฟเช่นกัน เพื่อมาเชื่อมกับเส้นทางรถไฟสุไหงโก-ลก ซึ่งมีระยะทางประมาณ 20 กว่าถึง 30 กิโลกรัม ฉะนั้นถ้าตรงนี้เปิดก็จะเป็นช่องทางในการค้าชายแดน การท่องเที่ยว เยอะมาก

ประที่สามคือเสนอเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งมีอยู่แล้วในแผน แต่ที่เราเสนอก็คือในส่วนของเงื่อนไขที่พิเศษกว่า เช่น การตั้งกองทุน ซึ่งก่อนหน้าที่รัฐบาลมีนโยบายเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ (ซอฟท์โลน) ดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ประมาณ 25,000 ล้านบาท ซึ่งขณะมีการขยายเวลาออกไปอีก 3 ปี ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวยังปล่อยกู้ไม่หมด ยังเหลืออีกประมาณ 7,000 กว่าล้านบาท ให้นำเงินดังกล่าวมาตั้งเป็นกองทุนโดยรัฐบาลเป็นผู้ดูแลหรือมอบหมายให้ใครเป็นผู้ดูแล แล้วให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีกู้ เงื่อนไขในการปล่อยกู้ก็คล้ายกับธนาคาร เพียงแต่ว่าการพิจารณาจะมีความยิดหยุ่นกว่าธนาคาร ที่มุ่งแผนธุรกิจเป็นหลัก

"หากรัฐบาลบริหารจะเน้นไปที่กลุ่มที่ด้อยโอกาสเข้าไปถึงแหล่งทุน และสามารถค้าขายได้เป็นหลัก ส่วนจะกรณีเกิดความเสียหายเกิดขึ้น ก็ไปว่ากันตามระบบที่กำหนดขึ้นมา"

นอกเหนือจากปล่อยกู้แล้ว บทบาทของกองทุนดังกล่าวการจ่ายชดเชยผู้ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการก่อการร้ายหรือความมั่นคง โดยขอให้มีการจ่ายชดเชยให้ทุกกรณี เนื่องจากปัจจุบันการจ่ายชดเชยความเสียหายสำหรับภาคธุรกิจจะจ่ายเฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ได้ทำประกันเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงแม้ผู้ประกอบการจะมีการทำประกันกับบริษัทประกัน การจ่ายชดเชยความเสียหายก็ไม่ครอบคลุมกรณีการก่อการร้าย

"ตรงนี้เราเห็นว่าไม่เป็นธรรม เพราะรายที่ทำประกันเขาเสียหายเขาได้แค่ประกัน ส่วนประกันจะเต็มหรือไม่ เรื่องที่สองก็คือกรณีอาคาร บ้านเรือน โรงแรมถูกระเบิด กว่าจะสร้างขึ้นมาใหม่ไม่ใช่แค่เดือนสองเดือน การเสียโอกาสทางการค้าหายไป ฉะนั้นการชดเชยก็เรื่องหนึ่ง ประกันก็เรื่องหนึ่ง แต่ของให้จ่ายทุกกรณีหากเป็นการก่อการร้าย ไม่ว่าจะมีประกันหรือไม่มีประกัน"

ทั้งหมดคือภาพรวมของการนำเสนอต่อหอการค้าไทยและคสช. เนื่องจากปัจจุบันการค้าชายแดนภาคใต้มีมูลค่ากว่า 500,000 ล้านบาท ทั้งประเทศมีมูลค่าการค้าชายแดน 900,000 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งการค้าชายแดนภาคใต้สูงถึง 55 เปอร์เซ็นต์ ในแต่ในจำนวน 55 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่จะอยู่ด่านสะเดา และปาดังเบซาร์กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ด่านตากใบ, สุไหงโก-ลก,เบตง, และวังประจัน,

ประเด็นต่อการเรื่องการยกเว้นภาษีการซื้อสินค้าระหว่างทั้งสองประเทศ ที่เดิมมีอยู่ประมาณ 6,000 บาท ซึ่งมูลค่าดังกล่าวไม่สามารถกระตุ้นการค้าชายแดนได้ จึงเสนอให้ยกเว้นภาษีการซื้อสินค้าระหว่างทั้งสองประเทศเป็น 40,000-80,000 บาท/คน โดยไม่ต้องจ่ายภาษี เนื่องจากปัจจุบันการซื้อสินค้าข้ามแดนระหว่างทั้งสองฝั่งสุไหงโก-ลก กับกลันตัน ทำกันอยู่เป็นปกติ โดยช่องทางการหลบหนี ผ่านแม่น้ำโก-ลก ฉะนั้นควรจะทำให้สิ่งที่มันอยู่ใต้ดินขึ้นมาอยู่บนดินเท่านั้นเอง

"ถ้าคนมาเลเซียเข้ามาเลเซียมาซื้อสินค้าบ้านเรายอดเงิน 40,000-80,000 บาทไม่ถือว่าผิดกฎหมาย ไม่ต้องเสียภาษีทั้งสองฝ่าย เช่นเดียวกับที่ด่านแม่สอด จ.ตาก ซึ่งก่อนหน้าที่อนุญาตให้ซื้อสินค้าผ่านแดนได้ประมาณ 200 หยวน/คน หรือประมาณ 8,000 บาท ตอนนี้ขยายเป็น 80,000 บาท/คน ซึ่งจะสนับสนุนการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นได้มากทีเดียว"ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/08/2014 10:34 am    Post subject: Reply with quote

ใครทำคนแรกระบบรถไฟรางคู่ ?
โดย โอฬาร สุขเกษม
ออนไลน์เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2557เวลา 21:00 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,971 วันที่ 3 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โอฬาร สุขเกษม พูดถึงรถไฟทางคู่ บ้างก็เรียกว่า "รางคู่" กับ รถไฟฟ้าความเร็วสูงก็เห็นถกเถียงกันว่าใครเป็นคนคิด ใครเป็นคนริเริ่ม ใครทำได้ ใครทำไม่ได้ ซึ่งเท่าที่ผมอยู่กับวงการข่าวมาอย่างต่อเนื่องก็พอจะบอกได้ว่าสมัยพรรคไทยรักไทย ไม่มีไอเดียเกี่ยวกับรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือแม้กระทั่งระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครกับปริมณฑล

ที่ไม่มีโครงการเหล่านี้ก็เพราะส่วนใหญ่รัฐบาลสมัยนั้นให้ความสนใจกับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือโครงการประชานิยมอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดสำหรับนักการเมือง เพราะการเป็นนักการเมืองจะต้องนึกถึง "การเลือกตั้งครั้งต่อไป" จึงจำเป็นต้องวางรากฐานคะแนนนิยมเอาไว้ โครงการเหล่านี้จึงมักจะกวาดงบประมาณส่วนใหญ่ไป ในขณะที่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการขนส่งระบบรางจึงถูกปล่อยวางเอาไว้

เราก็เพิ่งได้ยินพรรคเพื่อไทยสมัยที่แล้วที่ประกาศว่า จะจัดทำโครงการระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง จะเปิดเส้นทางสายใหม่ไม่ว่าจะไปเหนือ จะไปชายแดนอีสานที่จังหวัดหนองคาย รวมทั้งสายใต้จากกรุงเทพมหานครถึงหัวหิน รวมทั้งโครงการรถระบบรางที่มีสีต่างๆ วิ่งขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แต่นั่นก็เป็นเพียงดำริว่าจะดำเนินการ แม้ว่าจะดันโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาทได้สำเร็จ แต่ก็ไม่มีผลเพราะรัฐบาลถูกยึดอำนาจเอาไว้ก่อน ซึ่งรัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็ไม่ต่างกับพรรคไทยรักไทยที่มุ่งเน้นที่รากหญ้าคือ เปิดโครงการรับจำนำข้าวแบบสุดโต่งเพื่อกวาดเอาฐานเสียงไว้ในมือ แต่แล้วโครงการรับจำนำข้าวต้องพังครืน และนัยว่าจะเสียหายจากโครงการดังกล่าวเป็นเงินไม่น้อยกว่า 400,000 แสนล้านบาทในระยะเวลากว่า 2 ปี ซึ่งจะว่าไปแล้วเงินเหล่านี้ถ้าเอามาทำระบบรางก็คงได้ไปหลายเส้นทางแล้ว แต่อย่างว่าล่ะครับ แม้จะเป็นเงินภาษีของรัฐ แต่ภาษีก็มีจำนวนจำกัด จะใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาล ก็ต้องเลือกก่อนว่าจะเอาอะไร จะเอา "ฐานเสียง" หรือ "จะเอาความมั่งคั่งและมั่นคงทางเศรษฐกิจ" สุดท้ายก็เป็นกันอย่างที่ทราบ

ระบบการขนส่งรถไฟทางคู่นั่น ผมจำได้ดี รัฐมนตรีคมนาคมคนแรกที่พูด และลงมือก่อสร้างจริงๆ ก็คือ พ.อ.วินัย สมพงษ์ รมว.คมนาคม (2537) สมัยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี และพร้อมๆ กันนั้นรัฐมนตรีท่านนี้ก็พูดถึงโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่ดำริจะดำเนินการ ครับนั่นก็หลายสิบปีมาแล้ว ยุคต่อๆ มาเราก็เห็นว่าโครงการทางรถไฟทางคู่กับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร และระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ก็มีอยู่ในแผนที่วาดเอาไว้แล้วตั้งหลากหลายเส้นทาง ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลไหนจะลงมือทำต่อจากสมัย พ.อ.สมพงษ์

ไม่ต่างอะไรกับโครงการสนามบินสุวรรณภูมิหรือสนามบินหนองงูเห่าซึ่งเป็นชื่อเดิม คนลงมือถมดินก็สมัยนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี แต่มาประมูลงานก่อสร้างในสมัยพรรคไทยรักไทย ครับ

จนผมอยากจะพูดว่าบรรดาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ทำแล้วประเทศชาติได้ประโยชน์ในแง่ของการใช้สอย และเอื้อศักยภาพในการแข่งขัน มักจะทำได้สำเร็จในยุครัฐบาลปฏิวัติเป็นสำคัญ เพราะคณะปฏิวัติ หรือรัฐบาลที่มาจากคณะปฏิวัติ "จะนึกถึงคนรุ่นหลัง" มากกว่านักการเมือง "ที่จะนึกถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไป" มากกว่า

ระบบรถไฟฟ้าในกทม.ที่ใช้กันทุกวันนี้ "บีทีเอส" ก็ กรุงเทพมหานคร สมัยพล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าฯ เป็นผู้ดำเนินการจึงทำได้สำเร็จ โครงการรถไฟฟ้ามหานคร ก็เขียนโครงการมาตั้งแต่ปี 2516 ก็มาทำในสมัยหลัง รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่กำลังก่อสร้างทุกวันนี้ หากพิจารณาให้ดีก็มาทำสมัยคุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นรัฐบาลที่มาจากทหาร จะว่าไปแล้วโครงการเหล่านี้หนีไม่พ้นต้องรัฐบาลที่มาจากทหารจึงจะสามารถทำได้สำเร็จ ครับ

//-----------------------------------

คมนาคมฟุ้งรางคู่-ทางคู่ลดต้นทุน
หน้าเศรษฐกิจ
ไทยโพสต์
วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 00:00

กระทรวงคมนาคมเผย คสช.อนุมัติโครงการรถไฟรางคู่และทางคู่เส้นใหม่ มูลค่าลงทุนกว่า 741,000 ล้านบาท เชื่อช่วยลดต้นทุนก่อสร้างลง 10-25% เมื่อเทียบรถไฟความเร็วสูง
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายหลังประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติกรอบหลักการแผนยุทธศาสตร์คมนาคมขนส่งของไทย ระหว่างปี 2558-2565 ได้อนุมัติแผนลงทุนโครงการรถไฟรางคู่ ขนาดราง 1 เมตร 6 เส้นทาง และโครงการรถไฟทางคู่เส้นใหม่อีก 2 เส้นทาง โดยจะใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร วิ่งด้วยความเร็ว 160 กม./ชม. ระยะทางรวม 1,392 กม. เงินลงทุนรวม 741,460 ล้านบาท
สำหรับรถไฟทางคู่เส้นใหม่อีก 2 เส้นทาง ได้แก่ 1.รถไฟทางคู่เส้นทางหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด รวมระยะทาง 737 กม. และ 2.เส้นทางเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 655 กม. ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เป็นผู้ดูแลและศึกษารายละเอียดโครงการ
ทั้งนี้ เมื่อมีการให้บริการเดินรถไฟความเร็วสูงควบคู่กับรถไฟทางคู่ จะทำให้การลงทุนก่อสร้างทางรถไฟความเร็ว 200 กม./ชม. เมื่อเปรียบเทียบกับความเร็วที่ 300 กม./ชม.ปรับลดลง ได้แก่ งานก่อสร้างด้านโยธาประมาณ 10% ขบวนรถประมาณ 15-25% และค่าไฟฟ้าที่รถวิ่งให้บริการประมาณ 20%
ส่วนด้านความปลอดภัยในการให้บริการ เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงมุ่งเน้นในการให้บริการผู้โดยสาร ในขณะที่รถไฟทางคู่เน้นในเรื่องการขนส่งสินค้า ซึ่งความเร็วที่แตกต่างกัน จะทำให้ประสิทธิภาพของการให้บริการในภาพรวมลดลง.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 86, 87, 88 ... 389, 390, 391  Next
Page 87 of 391

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©