Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269461
ทั้งหมด:13580748
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/08/2014 6:58 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม ชี้รางรถไฟไทยต่ำกว่ามาตรฐาน หัวรถจักรใช้นานกว่า 50 ปี
สำนักข่าวอิศรา วันพฤหัสบดี ที่ 28 สิงหาคม 2557 เวลา 17:30 น.

รองปลัดคมนาคมชี้รางรถไฟของไทยมีขนาดต่ำกว่ามาตรฐาน หัวรถจักรเดินรถใช้ยาวนานมากกว่า 50 ปี เผยแผนพัฒนาระบบรางรถไฟ5 ด้าน

วันที่ 28 สิงหาคม 2557 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ(สวทน.) จัดงานประชุมวิชาการการระบบขนส่งรางแห่งชาติประจำปี 2557 (Thailand Symposium 2014) ทั้งนี้มีการบรรยายพิเศษเรื่อง “แผนการพัฒนาระบบการขนส่งรางของไทย” โดยนายชาญชัย สุวิสุทธะกุล รองปลัดกระทรวงคมนาคม ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ

นายชาญชัย กล่าวถึงปัญหาและแผนพัฒนาระบบการขนส่งการรถไฟของไทยในอนาคตว่า ปัญหาที่พบมีหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องของรายได้ที่ขาดทุนสะสม การแข่งขันกับขนส่งอื่นๆน้อย เหตุเพราะที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุทางด้านรถไฟในหลายครั้ง และความล่าช้าของขบวนรถไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้ประชาชนเลือกที่จะไม่ใช้รถไฟในการเดินทางหรือเลือกใช้รถไฟลดน้อยลง

“ปัญหาเรื่องขนาดของราก็ยังมีขนาดที่ต่ำกว่ามาตรฐาน และประเภทของจุดตัดผ่านหรือเครื่องตั้งต่างๆ ในบางส่วนยังไม่ได้มาตรฐาน ขณะเดียวกันระบบหัวรถจักรบางส่วนก็มีการใช้งานมากเกือบ 50 ปี เนื่องจากไม่มีงบประมาณในการจัดซื้อ ซึ่งในข้อนี้เป็นข้อจำกัดของการรถไฟพอสมควร อีกทั้งสถานีต่างๆยังจำเป็นต้องมีการปรังปรุงมีระบบอัตโนมัติมากขึ้น” รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าว และว่า ขณะนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีแผนการแก้ไขปัญหาในเรื่องของระบบรางรถไฟ ซึ่งเน้นที่ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนามและขนส่ง โดยภายในปี 2558-2565 มีแผนพัฒนา 5 แผนงานได้แก่ พัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟระหว่างเมือง ,พัฒนาโครงข่ายระบบสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ,พัฒนาขีดความสารถทางถนน ,ทางน้ำ และทางอากาศ

อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาปรับปรุงเส้นทางเดิมที่เร่งด่วน รองปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า จะมีการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟระหว่างเมือง ,พัฒนาโครงข่ายระบบสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยแผนงานโครงข่ายระบบรถไฟระหว่างเมืองจะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างของรถไฟเดิม (Meter Gauge) และพัฒนาระบบทางคู่ให้ได้มาตรฐานเส้นทางใหม่ ซึ่งจะดำเนินการเพิ่มระบบทางคู่จากเดิม 5 เส้นทางเพิ่มอีก 1 เส้นทาง เป็นระระทางรวม 887 กิโลเมตร ใช้งบลงทุนประมาณ 127,000 ล้านบาท จะเริ่มก่อสร้างภายในปี 2558 และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2561

รองปลัดคมนาคม กล่าวอีกว่า หากทางรถไฟแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มความเร็วในการเดินรถ (รถสินค้าจาก 29 กม./ชม. เป็น 60 กม./ชม. และรถด่วนพิเศษจาก 50 กม./ชม. เป็น 100 กม./ชม.) ทำให้สามารถเพิ่มขบวนเดินรถได้มากขึ้นอย่างน้อย 3 เท่า และสามารถเพิ่มน้ำหนักลงเพลาเพิ่มการขนส่งได้ขบวนละ 25% อีกทั้งการขนส่งทางรถไฟในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากเดิมจาก 1.5 เป็น 5% ในปี 2563

"ในอนาคต รัฐบาลได้วางเป้าหมายการวางมาตรฐานใหม่ (Standard Gauge) ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีมาตรฐานมากขึ้น สามารถเชื่อมโยงกับประเทศจีนตอนใต้ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของประเทศ และเพิ่มความเร็วการเดินรถสินค้า เป็น 120 กม./ชม. รถโดยสาร เป็น 160 กม./ชม.อีกทั้งเพิ่มความปลอดภัยในการเดินรถ"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/08/2014 6:24 pm    Post subject: Reply with quote

ข้อเท็จจริงระบบรถไฟไทย (ตอนที่1): ความเข้าใจผิดและความจริงเกี่ยวกับระบบ “ราง” ของไทยและอาเซียน
ThaiPublica 26 ส.ค. 57
Arrow http://thaipublica.org/2014/08/the-truth-of-thailand-rail-system-1/

ข้อเท็จจริงรถไฟไทย (ตอนที่ 2): รางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร VS รางขนาด 1 เมตร
ThaiPublica 29 ส.ค. 57
Arrow http://thaipublica.org/2014/08/the-truth-of-thailand-rail-system-2/
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/08/2014 6:47 pm    Post subject: Reply with quote

ใส่พาน "ครม.ตู่" เซ็นสัญญาแสนล้าน หมดช่วงคืนสุขสินค้าขยับราคา
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 29 ส.ค. 2557 เวลา 17:43:43 น.

หน่วยงานรัฐ-รัฐวิสาหกิจตั้งแท่นรอ "ครม.ประยุทธ์" เซ็นอนุมัติเมกะโปรเจ็กต์ วงเงินกว่าแสนล้าน คมนาคมจ่อชงยกแพ็กเกจ กรมชลฯไม่น้อยหน้า ขอสร้างเขื่อน 8.9 พันล้าน รมว.พาณิชย์งานเข้าเตรียมรับมือราคาสินค้าพุ่ง หมดเวลาคืนความสุข

Click on the image for full size

รายงานข่าวจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ทันทีที่รัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้รับการโปรดเกล้าฯและเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ จากขณะนี้อยู่ระหว่างการฟอร์มทีม โดยนายกฯประยุทธ์จะเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้ายเลือกบุคคลใดที่เห็นว่าเหมาะสมกำกับดูแลงานแต่ละกระทรวงด้วยตนเอง

โดยชื่อที่คาดหมายว่าจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีสายเศรษฐกิจที่โผนิ่งแล้วคือตำแหน่งรัฐมนตรีที่มาจากสาย คสช. เช่น พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ เป็น รมว.พาณิชย์ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เป็น รมว.คมนาคม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ที่ปรึกษา คสช.จะเป็นรองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ

ส่วนโผที่ยังฝุ่นตลบ เช่น ตำแหน่ง รมว.คลัง โดยล่าสุดมีชื่อนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล กลับมาเป็น รมว.คลังอีกครั้ง และนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา จะได้นั่งเป็น รมว.เกษตรฯ ซึ่งนายปีติพงศ์ระบุว่าได้รับการทาบทามให้เป็นรัฐมนตรีจริง ขณะที่นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษา คสช. คาดว่าจะเป็น รมว.พลังงาน ทั้งนี้ คาดว่า พล.อ.ประยุทธ์จะทาบทามบุคคลมาเป็นรัฐมนตรีให้ครบทุกตำแหน่งในสัปดาห์นี้ และน่าจะจัดทำรายชื่อ ครม.ขึ้นทูลเกล้าฯในสัปดาห์หน้าซึ่งเป็นต้นเดือนกันยายน

ขณะที่ครม.มีงานเร่งด่วนที่รออยู่โดยเฉพาะโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ รถไฟฟ้า ถนน เขื่อนกักเก็บน้ำ รวมทั้งภารกิจสำคัญที่หน่วยงานในระดับกรม กระทรวง รอเสนอให้นายกฯ และรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงพิจารณานับสิบโครงการ เช่นเดียวกันงานนโยบายที่กำลังรอการตัดสินใจจากรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล และคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ เช่น แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ของประเทศ (PDP) ของกระทรวงพลังงาน เป็นต้น

คมนาคมชงเคาะลงทุนแสน ล.

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า งานด่วนที่จะเสนอให้ ครม.ใหม่พิจารณา ประกอบด้วย การขออนุมัติวงเงินค่าก่อสร้างเพิ่มเติม 8,140 ล้านบาท ของรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ และสัญญาที่ 2 งานก่อสร้างโยธาและสถานี หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะปรับแบบก่อสร้างใหม่เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ซึ่งทำให้ผู้รับเหมารอการปรับแบบทำให้การก่อสร้างโครงการปัจจุบันงานก่อสร้างล่าช้ามาก

อีกทั้งจะเร่งรัดขออนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ เช่น สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีกำหนดเปิดยื่นซองราคาวันที่ 30 ก.ย.นี้ วงเงิน 29,224 ล้านบาท สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี 56,691 ล้านบาท สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 110,117 ล้านบาท สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง 56,110 ล้านบาท

การบริหารจัดการเอกชนมาเดินระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) 9,555 ล้านบาท และสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค 22,231 ล้านบาท เพื่อให้ทันกับการเปิดใช้บริการในปี 2560-25561 นอกจากนี้มีการจัดหารถเมล์ NGV 3,183 คัน พร้อมอู่จอดรถ 13,416 ล้านบาท ให้ทันได้รถใหม่วิ่งบริการประชาชนภายในปี 2558

"ทุกโครงการของคมนาคมเร่งด่วนหมด อยู่ที่หน่วยงานจะเสนอขออนุมัติกับรัฐบาลใหม่ ทั้งโครงการใหม่ในปีงบประมาณประจำปี มีงบฯลงทุนใหม่ 108,845 ล้านบาท และตามยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ที่จะเร่งรัดคือถนนเชื่อมประตูการค้าชายแดนในเขตเศรษฐกิจ 5 พื้นที่ เริ่มประมูลตั้งแต่ ต.ค.นี้"


ทช.ตั้งแท่นประมูล 3 พันสัญญา

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี อธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กล่าวว่า งานเร่งด่วนที่รอให้ ครม.อนุมัติคือ ผลประมูลถนนตามผังเมืองนครราชสีมา 1,700 ล้านบาท แบ่งก่อสร้าง 3 สัญญา และได้ผู้รับเหมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ สัญญาที่ 1 บจ.ทิพากร 512.8 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 10% สัญญาที่ 2 บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคา 491.3 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 12% และสัญญาที่ 3 บจ.โชคชัยการโยธา เสนอราคา 485.7 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 14%

"ส่วนงานใหม่ของปี 2558 จะเปิดประมูลเดือนตุลาคมนี้ วงเงิน 26,000 ล้านบาท จำนวน 2,000-3,000 สัญญา จะได้ผู้รับเหมาทั้งหมดภายในธันวาคมนี้"

กรมทาง-รถไฟไม่น้อยหน้า

ส่วนกรมทางหลวง (ทล.) มีโครงการใหญ่วงเงินเกิน 1,000 ล้านบาท 27 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท เปิดประมูลแล้ว จะต้องขออนุมัติจาก ครม. และมีโครงการใหม่ในงบประมาณปี 2558 รอประมูลอีกกว่า 3 หมื่นล้านบาท

นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯ เปิดเผยว่า งานด่วนรออนุมัติคือค่าก่อสร้างเพิ่มเติมของรถไฟสายสีแดง และประมูลก่อสร้างรถไฟทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย 11,348 ล้านบาท สายจิระ-ขอนแก่น 26,007 ล้านบาท และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 17,293 ล้านบาท อีกทั้งจะอนุมัติซื้อหัวรถจักรที่ได้บริษัทมาจัดหาแล้ว 2 โครงการ คือ ซื้อรถโบกี้ขนส่งสินค้า 308 คัน วงเงิน 770 ล้านบาท และซื้อรถโดยสารใหม่ 115 คัน วงเงิน 4,668 ล้านบาท รวมถึงขออนุมัติซื้อหัวรถจักร 50 คัน 6,563 ล้านบาท จะประกาศทีโออาร์เดือน ต.ค.นี้ และซื้อรถจักร 39 คัน 3,360 ล้านบาท

เซ็นสัญญาสร้างเขื่อน 8.9 พัน ล.

ด้านกรมชลประทาน มีงานก่อสร้างโครงการลงทุนเกินกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะกรรมการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินภาครัฐ (คตร.) เข้าตรวจสอบ ซึ่งเพิ่งเปิดประมูลประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ 4 โครงการ ทุกโครงการมีกำหนดจะเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้างปลายเดือน ก.ย.นี้ คือ 1.งานก่อสร้างระบบส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้าย โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก จ.อุตรดิตถ์ ราคากลาง 2,078 ล้านบาท มีเอกชนซื้อแบบ 17 ราย ยื่นเอกสาร 10 ราย เปิดให้เสนอราคาแบบอีออกชั่นเมื่อ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา

2.งานระบบชลประทานฝั่งซ้าย สัญญาที่ 1 โครงการห้วยโสมง จ.ปราจีนบุรี ราคากลาง 1,198 ล้านบาท ซื้อแบบ 19 ราย ยื่นเอกสาร 10 ราย เสนอราคาอีออกชั่นเมื่อ 22 ส.ค. 3.งานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำและอาคารประกอบ ช่วงแม่งัด-แม่กวง สัญญาที่ 1 ราคากลาง 3,138 ล้านบาท ซื้อแบบ 24 ราย จะเปิดให้เสนอราคาอีออกชั่นวันที่ 29 ส.ค.นี้ และ 4.งานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำและอาคารประกอบ อุโมงค์ ส่งน้ำแม่งัด-แม่กวง สัญญาที่ 2 ราคากลาง 2,583 ล้านบาท ซื้อแบบ 22 ราย จะเปิดให้เสนอราคาอีออกชั่น 29 ส.ค.นี้


คลังยกแพ็กเกจภาษีชง ครม.ใหม่

ขณะนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังมีนโยบายสำคัญหลายเรื่องที่ คสช.มอบหมาย รอเสนอ ครม.ชุดใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างภาษีที่เสนอเป็นแพ็กเกจทั้ง 3 กรมภาษี คือ กรมสรรพากร กรมศุลกากร และกรมสรรพสามิต ส่วนภาษีประเภทใหม่อย่างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีมรดก ต้องรอพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมทั้งเรื่องปรับเงินเดือนข้าราชการที่ต้องรอ ครม.พิจารณาว่าจะใช้แหล่งเงินจากไหนส่วนแนวทางการพิจารณาลดภาษีให้ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) จะแยกออกมาจากแพ็กเกจปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบ ขณะนี้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียด นอกจากนี้มีมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวที่จะให้นำใบเสร็จค่าโรงแรมที่พักมาหักลดหย่อนภาษีได้ ได้สั่งการให้กรมสรรพากรไปพิจารณาในแง่ผลกระทบต่อรายได้มารายงานในสัปดาห์นี้

รอชี้ขาดแผนระบายข้าว-ยาง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างเดินทางร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ที่เนย์ปิดอว์ ประเทศเมียนมาร์ ระหว่าง 22-28 ส.ค.นี้ มีกำหนดจะหารือกับคณะเจรจาความตกลงเปิดเขตการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป (เอฟทีเอไทย-อียู) เพื่อสรุปความคืบหน้ารวมถึงท่าทีของฝ่ายอียูเสนอรัฐบาลใหม่ ให้เจรจาให้ทันการตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (จีเอสพี) จะหมดในปี 2558 รวมทั้งกรอบเจรจาความตกลงต่าง ๆ ที่ยังค้างอยู่ เช่น ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (TPP)

ภารกิจสำคัญของ รมว.พาณิชย์คนใหม่ คือต้องดูแลบริหารจัดการสต๊อกข้าวสารในสต๊อกรัฐ 18 ล้านตัน เพราะการระบายข้าวโดยวิธีการประมูลทั่วไปลอตแรกขายไปเพียง 73,200 ตัน ขณะที่การส่งมอบข้าวให้กับคอฟโก้ รัฐวิสาหกิจจีน ตามสัญญาที่ยังคงเหลือ 9 แสนตัน ต้องส่งมอบข้าวขาว 5% ลอตที่ 2 เดือน ก.ย.นี้ และกระทรวงพาณิชย์มีกำหนดประชุมประเมินสถานการณ์การส่งออกปี 2557 เพื่อให้ขยายตัวได้ 3.5% ในโอกาสที่ทูตพาณิชย์จากทั่วโลกจะเดินทางมาร่วมงานบางกอกเจมส์ ครั้งที่ 54 ก.ย.-ต.ค.นี้

ภารกิจด้านการค้าภายใน แผนเร่งด่วนคือ รมว.พาณิชย์ มีกำหนดจะต้องประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เพื่อกำหนดมาตรการดูแลราคาสินค้า ตลอดจนวางนโยบายการดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น เนื่องจากจะสิ้นสุดระยะเวลาขอความร่วมมือตรึงราคาเดือน ก.ย.นี้ นอกจากนี้ ครม.ใหม่ยังมีงานแก้ปัญหาราคายาง และต้องตัดสินใจแนวทางระบบยางในสต๊อกรัฐ และแก้ปัญหาพืชผลอื่น ๆ ราคาตกต่ำ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/09/2014 6:19 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเตรียมเสนอแผนเร่งด่วนให้รมว.
INN News วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2557 17:35น.

ปลัดกระทรวงคมนาคม เผยเตรียมที่จะเสนอภาพรวมของโครงการเร่งด่วนต่อรัฐมนตรีว่าการคนใหม่

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ว่า กระทรวงคมนาคมเตรียมที่จะเสนอภาพรวมของโครงการเร่งด่วนต่อ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ เพื่อดำเนินการตามมติของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม และขนส่งของไทย ระยะเวลา 8 ปี (2558-2565) รวมถึงโครงการในปีงบประมาณ 2557-2558 เพื่อดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ในการพัฒนาด่านชายแดน 6 ด่าน/ รวมถึงจะมีการเสนอในเรื่องแผนฟื้นฟูของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงต่อคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.)/ คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) เพื่อพิจารณา

นอกจากนี้ ยังมีโครงการเร่งด่วนที่จะต้องนำเสนอ เช่น
โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิต),
โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี),
สายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง),
สายสีส้ม (ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) และ
ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิ้งค์ (พญาไท-ดอนเมือง)
ซึ่งขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างการศึกษา

ส่วนของโครงการรถไฟทางคู่ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำรายละเอียด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/09/2014 7:42 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเตรียมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐาน-รถไฟฟ้าสีชมพูเสนอ"ประจิน"อนุมัติ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 กันยายน 2557 07:02 น.

"ปลัดคมนาคม"สั่ง สนข.เตรียมข้อมูลแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งแผนเร่งด่วน 57-58 และแผน 8 ปีเสนอ"ประจิน" พร้อมชงอนุมัติรถไฟฟ้าสีชมพู และงานปรับแบบสถานีกลางบางซื่อก่อนเสนอครม.เห็นชอบเดินหน้า ยันรถไฟทางคู่ 2 สายเปิดประมูลได้ในปีนี้ เผยเจ้าหน้าที่เตรียมห้องทำงานรับรมว.คมนาคมคนใหม่ คาด"ประจิน"เข้าหระทรวงเป็นทางการ 4 ก.ย.

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดเตรียมข้อมูลรายละเอียดโครงการต่างๆ ที่สำคัญเพื่อเตรียมเสนอ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่อยู่ในแผนดำเนินงานเร่งด่วนปี 2557-2558 และแผนการจัดทำยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ระยะเวลา 8 ปี (2558 - 2565) ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติในหลักการแล้ว รวมทั้งแผนฟื้นฟูกิจการหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ขาดทุน 3 แห่ง คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)

นอกจากนี้ในส่วนของโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินก่อสร้างและจะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) นั้นได้เตรียมเสนอให้พล.อ.อ.ประจินพิจารณาลงนาม ประกอบด้วย
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กิโลเมตร วงเงิน 58,642 ล้านบาท และ
การปรับแบบสถานีกลางบางซื่อของรถไฟสายสีแดง รวมถึง
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กิโลเมตร วงเงิน 55,986 ล้านบาท และ
สายสีส้ม เฟสแรก ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี วงเงินประมาณ 90,000 ล้านบาท

“จะต้องเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วน โดยต้องระบุรายละเอียดวงเงินลงทุน แหล่งเงินทุน เช่น จะใช้เงินกู้สัดส่วนเท่าไร ซึ่งตอนนี้มี 2 โครงการที่พร้อมเสนอ ครม.แล้ว เหลือเพียงให้รมว.คมนาคมอนุมัติเท่านั้น คือ สายสีชมพู กับการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อ ” นางสร้อยทิพย์ กล่าว

สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางของ ร.ฟ.ท.นั้น นางสร้อยทิพย์ กล่าวยืนยันว่า ภายในปลายปีนี้จะสามารถเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาได้ 2 เส้นทางแน่นอน คือ
สายชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 26,007 ล้านบาท และ
สายประจวบคีรีขันธ์ –ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,293 ล้านบาท
โดยขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างรวบรวมรายละเอียดเรื่องสิ่งแวดล่อม ( EIA ) หลังจากได้รับการอนุมัติมาแล้ว ส่วนเส้นทางที่ 2 กำลังรอเข้าที่ประชุม EIA รอบสุดท้ายซึ่งมั่นใจว่าไม่มีปัญหาแน่นอน”ส่วนอีก 3 สายทางที่เหลือจะสามารถดำเนินการได้ประมาณต้นปี 2558 ประกอบด้วย
สายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 20,038 ล้านบาท
สายมาบกะเบา-นครราชสีมา ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 29,855 ล้านบาท และ
สายลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท


นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ได้เรียกประชุมหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อติดตามและประเมินผลตัวชี้วัดตามเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์กระทรวงคมนาคมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ (พ.ศ.2556-2560 จำนวน 111 โครงการ วงเงิน 708,410 ล้านบาท) ประจำปีงบประมาณ 2556 ปรากฏว่ามีโครงการที่ดำเนินการรวม 34 โครงการ วงเงิน 54,154 ล้านบาท คิดเป็น 23% จากโครงการในแผนทั้งหมด

โดยพบว่ามีโครงการที่สามารถดำเนินการได้ตามแผน 18 โครงการ ล่าช้ากว่าแผน 12 โครงการ และไม่สามารถดำเนินการได้ 4 โครงการ ขณะที่มีโครงการแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2556 จำนวน 2 โครงการ คือ การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง (สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4) ของกรมทางหลวง และโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ ประกอบการขนส่งสินค้าทางถนนรองรับการเปิด AEC ของกรมการขนส่งทางบก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ื 1 กันยายน เจ้าหน้าที่กระทรวงคมนาคมได้มีการจัดเตรียมความพร้อมพื้นที่จอดรถและห้องทำงานสำหรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่ โดยคาดว่าพล.อ.อ.ประจิน จะเข้าปฏิบัติงานที่กระทรวงฯเป็นวันแรกในวันที่ 4 กันยายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2014 9:59 pm    Post subject: Reply with quote

หนุน'สภาพัฒน์'ลุยระบบราง
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
ออนไลน์เมื่อ วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2014 เวลา 12:42 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,979
วันที่ 31 สิงหาคม - 3 กันยายน พ.ศ. 2557

สวทน.หนุนคมนาคมเร่งหารือสศช.ยกระดับขีดความสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า ทั้งรับผลิตทั้งตัวรถและอุปกรณ์ชิ้นส่วนครบวงจรสอดคล้องกับแผนพัฒนาระบบโครงข่ายระบบรางทั้งในประเทศและเชื่อมโยงเออีซีเพื่อปั้นไทยเป็นศูนย์กลาง ด้านคมนาคมเร่งนำระบบไอทีมาปรับใช้กับแผนพัฒนาระบบราง ล่าสุดเร่งร.ฟ.ท.จัดซื้อหัวรถจักร 50 คัน ค่ากว่า 6 พันล้านคาดเปิดประมูลตุลาคมนี้
altนายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) เปิดเผยในการประชุมแห่งชาติระบบขนส่งทางรางปี 2557 ว่า ต้องการให้กระทรวงคมนาคมเร่งหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ถึงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าทั้งการผลิตชิ้นส่วนและตัวรถ ตลอดจนการผลิตแบบครบวงจรให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี(ปี 2558-2565)

เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ดังนั้นหากสามารถยกระดับประเทศไทยให้เป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้ารูปแบบศูนย์กลางการพัฒนาระบบรางป้อนให้ระบบโครงข่ายในประเทศกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเซียนที่มีแผนจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปี 2558 ต้องเริ่มกำหนดแผนยุทธศาสตร์ของประเทศไว้ตั้งแต่วันนี้
"ขณะนี้สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้เริ่มจัดหลักสูตรการผลิตบุคลากรระบบรางไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งหากโครงการขยายเส้นทางระบบขนส่งทางรางที่จะเกิดขึ้นตามแผนให้ครบในปี 2565 นั้นจะมีความต้องการบุคลากรปฏิบัติการทั้งสิ้นกว่า 3 หมื่นคน และจำนวนนี้ต้องการบุคลากรด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีไม่ต่ำกว่า 1.7 หมื่นคน ดังนั้นรัฐบาลจึงควรเร่งสนับสนุนตั้งแต่วันนี้"
ทั้งนี้สวทน.เห็นว่าสิ่งที่ด้านวิชาการต้องดำเนินการเพื่อรองรับระบบการขนส่งทางรางในอนาคตจะมีด้วยกันอยู่ 2 ประการคือ 1. การเตรียมความพร้อมในเรื่องกำลังคน ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาครัฐบาลและมหาวิทยาลัยตลอดจนกลุ่มผู้ประกอบการจะต้องร่วมกันดำเนินการคิดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับระบบราง เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต 2.การเตรียมความพร้อมด้านเทคโนโลยี เพื่อรองรับการบริหารการจัดการระบบราง ในด้านการซ่อมบำรุงและการผลิตชิ้นส่วน โดยเชื่อว่าหากมีการเตรียมความพร้อมทั้ง 2ด้าน ก็จะทำให้การพัฒนาระบบขนส่งทางรางมีความคล่องตัวมากขึ้น
ด้านนายชาญชัย สุวิสุทธะกุล รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การขนส่งด้วยระบบรางในอนาคตอีก 5 -7 ปีข้างหน้าจะมีความก้าวหน้าอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่หรือการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าสำหรับการเดินทางไกล ดังนั้นสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมให้เติบโตควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบรางคือเรื่องบุคลากร ซึ่งในอนาคตจะเห็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งระบบราง ทั้งในระดับอาชีวศึกษาและระดับมหาวิทยาลัย
"เชื่อว่าหากการพัฒนาระบบรางเป็นไปตามแผนที่วางไว้ จะทำให้การขนส่งและเดินทางด้วยระบบรางในอีก 5 ปีข้างหน้ามีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็น 5% จากปัจจุบันเพียง 1.5% โดยเฉพาะการพัฒนารถไฟทางคู่ระยะทาง 887 กิโลเมตร คิดเป็นวงเงินลงทุนประมาณ 1.2 แสนล้านบาท และน่าจะทำให้ความเจริญกระจายไปสู่ต่างจังหวัดซึ่งจะเป็นการยกระดับรายได้ให้กับชุมชนในประเทศอีกทางหนึ่งด้วย"
ด้านพล.อ.อ.คำรบ ลียะวณิช รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทรถไฟฟ้าร.ฟ.ท. จำกัด ผู้บริหารโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์กล่าวว่าขณะนี้มีความพร้อมด้านบุคลากรและการบริหารจัดการระดับหนึ่งแล้วสำหรับการให้บริการรถไฟฟ้าในประเทศไทย ขอเพียงได้รับการต่อยอดจากรัฐบาลอย่างต่อเนื่องและจริงจังควบคู่กันไปกับการขยายเส้นทางเพิ่ม โดยแนวทางหนึ่งสามารถดึงภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศมาร่วมบูรณาการก็จะส่งผลให้การยกระดับขีดความสามารถด้านการพัฒนาบุคลากรตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าในประเทศไทยก้าวไกลอย่างรวดเร็วได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2014 2:55 pm    Post subject: Reply with quote

"ประยุทธ์" สั่งลุยผ่าทางตันศก. "สภาพัฒน์" วางพิมพ์เขียว 1 ปีฟื้นประเทศ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 ก.ย. 2557 เวลา 21:00:25 น.

Click on the image for full size

ครม.ใหม่ เร่งสร้างผลงาน "ประยุทธ์" สั่ง สศช.-กระทรวงหลักทำยุทธศาสตร์ผ่าทางตันเศรษฐกิจขับเคลื่อนประเทศ "ประจิน-อาคม" ดันลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฉลุย คลังรอ "หม่อมอุ๋ย"ไฟเขียว หั่นภาษีกระตุ้นท่องเที่ยว


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายให้รัฐบาล "ประยุทธ์ 1" เริ่มปฏิบัติหน้าที่โดยสานต่อการบริหารราชการแผ่นดินจาก คสช.ทันที หลังพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากรัฐบาลชุดใหม่มีภารกิจเร่งด่วนต้องดำเนินการหลากหลายเรื่อง โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจที่ชะลอตัวให้เดินหน้าต่อได้

ในส่วนของการแถลงนโยบายรัฐบาล นายกฯได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมแผนงานและโครงการสำคัญของแต่ละกระทรวง กรม นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) และให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมรวบนโยบายด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11, แนวทางฟื้นฟูและสร้างความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ ทั้งในระยะสั้นระยะยาว ซึ่ง สศช.จัดทำขึ้น ตลอดจนแผนและมาตรการที่จะเสนอเพิ่มเติม รวมทั้งนโยบายของ คสช. เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อ สนช. ตามเจตนารมณ์ของ พล.อ.ประยุทธ์


ถก ครม.ใหม่เร่งเบิกจ่ายงบฯปี 58

นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า รัฐบาลจะแถลงนโยบายต่อ สนช. แม้รัฐธรรมนูญปัจจุบันจะไม่ได้กำหนดให้ต้องแถลง สำหรับนโยบายรัฐบาลในระยะ 1 ปีข้างหน้านี้ จะสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 11 เช่นเดียวกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 สำหรับงบประมาณปี 2558 จะสรุปผลในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ วันที่ 5 ก.ย.นี้ ซึ่งจะพิจารณากันว่า งบฯส่วนที่ปรับลดของแต่ละกระทรวงจะนำไปใช้อย่างไร จากนั้นจะนำเข้า สนช. เพื่อพิจารณาวาระ 2-3 วันที่ 17 ก.ย. โดย 1-2 สัปดาห์ หลังแถลงนโยบายต่อ สนช. จะเสนอมาตรการเร่งรัดเบิกจ่ายงบฯปี 2558 ให้รัฐบาลใหม่พิจารณาอีกครั้ง แม้ก่อนหน้านี้จะมีการพิจารณาใน คสช.ไปแล้ว


คลังจัดมาตรการส่ง "หม่อมอุ๋ย"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง มีกำหนดเดินทางเข้าทำงานที่กระทรวงการคลัง วันที่ 5 ก.ย.นี้ ส่วนการแถลงนโยบายรัฐบาลอาจเป็นวันที่ 5 ก.ย. หรือไม่ก็ต้นสัปดาห์หน้า จากนั้น รมว.คลังจะเรียกประชุมผู้บริหารเพื่อพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวในระดับ 2% ต่อปี ทั้งมาตรการด้านการใช้จ่ายและด้านการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมาได้หารือเตรียมพร้อมเบื้องต้นแล้ว จากที่ได้หารือกับผู้บริหารสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เตรียมการจัดทำแนวนโยบายการคลังช่วง 1 ปีจากนี้ไป

อย่างไรก็ตาม นายสมหมายกล่าวว่า ยังไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายได้ต้องรอเข้าเฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณตน และให้นายกฯแถลงนโยบายต่อ สนช.ก่อน ยอมรับว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เตรียมพร้อมไว้แล้ว แต่ต้องนำเสนอ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯที่กำกับดูแลด้านเศรษฐกิจพิจารณาก่อน


เคาะลดหย่อนภาษีปลุกท่องเที่ยว

ขณะที่นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า สรรพากรได้เสนอกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับมาตรการภาษีส่งเสริมการท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวนำค่าที่พักโรงแรม หรือซื้อแพ็กเกจทัวร์ในประเทศ มาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ 1.5 หมื่นบาท ซึ่งจะหักได้ในปีภาษี 2557-2558 รวม 2 ปี ส่วนค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมสัมมนาต่าง ๆ นำมาหักลดหย่อนภาษีนิติบุคคลได้ 2 เท่า เช่น จ่าย 100 บาท หักค่าใช้จ่ายได้ 200 บาท เป็นต้น 2 ส่วนนี้จะกระทบต่อรายได้กรมสรรพากรแค่ 1-2 พันล้านบาท/ปี แต่คาดหวังรายได้ทางอ้อมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) กลับมาทดแทน จากการใช้จ่ายในการท่องเที่ยวมากขึ้น

"มาตรการนี้เคาะแล้ว ผมส่งไปกระทรวงการคลัง ปลัดเซ็นเมื่อไหร่มีผลทันที แล้วไปสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2558" ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีของสรรพากรเดือน ส.ค.พบว่า การบริโภคขยายตัวดีขึ้น15% ยอดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายภายในประเทศโตขึ้น 8.5% จากก่อนหน้านี้เก็บได้ปริ่มๆ บางช่วงติดลบ โดยเดือน ก.ค.โตขึ้น 1.97% และ ส.ค.โต 8.5% แต่การเก็บรายได้ในปีงบฯ 2557 ซึ่งเหลือเพียง 1 เดือนอาจต่ำกว่าเป้ากว่า 1 แสนล้านบาทสำหรับเดือน ก.ย.ห่วงภาษีนิติบุคคล โดยเฉพาะธุรกิจรถยนต์และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น น่าจะต่ำกว่าเป้า 1.4-1.5 หมื่นล้านบาท เพราะผลกระทบจากนโยบายรถคันแรก ทำให้การซื้อขายรถยนต์ชะลอตัวมากในปีนี้ ส่วนปีงบฯ 2558 เป้าจัดเก็บรายได้ 1.9652 ล้านล้านบาท น่าจะทำได้ตามเป้า เพราะเศรษฐกิจขณะนี้ดีขึ้นโดยเฉพาะภาคเอกชน สะท้อนจากตัวเลขการจัดเก็บอากรแสตมป์ที่กระเตื้องขึ้น เดือน ก.ค.โตขึ้นกว่า 10% และ ส.ค.โตกว่า 30%


โรดแมปขับเคลื่อน ศก. "บิ๊กตู่"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ สศช.ได้เสนอแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของประเทศทั้งในระยะสั้น ระยะยาว ต่อหัวหน้า คสช. แบ่งเป็นมาตรการเร่งด่วน ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย. 2557 มาตรการระยะสั้นภายใน 1 ปี ตั้งแต่ พ.ค. 2557-พ.ค. 2558 และมาตรการระยะยาว โดยมาตรการเร่งด่วนที่ดำเนินการแล้ว อาทิ จ่ายหนี้โครงการรับจำนำข้าว มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) การฟื้นฟูความเชื่อมั่นนักลงทุนและนักท่องเที่ยว เร่งรัดออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) เร่งรัดการเบิกจ่ายภาครัฐ อนุมัติลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 23 โครงการ ซึ่งล่าช้ากว่าแผน วงเงิน 5.09 แสนล้านบาท อาทิ รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ งานปรับปรุงทางสะพาน ติดตั้งรั้วสองข้างทาง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ฯลฯ


ปฏิรูปพลังงาน-ยุทธศาสตร์ BOI

มาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจช่วง 1 ปีมีมาตรการทางการเงินการคลัง เช่นเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ ขยายฐานภาษี ปรับปรุงอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน การดำเนินมาตรการทางการคลังกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนภายในประเทศ การดูแลเอสเอ็มอีส่วนนโยบายพลังงานต้องกำหนดทิศทางให้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะการทบทวนนโยบายอุดหนุนด้านราคา อัตราการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เก็บภาษีสรรพสามิตดีเซล แต่จะไม่สร้างภาระให้ประชาชน

มาตรการด้านลงทุนและการบริโภคจะประกาศยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2562 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน และเอื้อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยมีศักยภาพในการแข่งขัน อาทิ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตฯยานยนต์ อุตฯเกษตร และส่งเสริมให้เอกชนไทยไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรดัน 9 โปรเจ็กต์เร่งด่วนนอกจากนี้จะเร่งรัดการลงทุนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะโครงการที่มีความพร้อมและผ่านการพิจารณาตามกระบวนการแล้ว 9 โครงการ วงเงินลงทุน 2.95 หมื่นล้านบาท

ได้แก่
1.โครงการพัฒนาศูนย์ขนส่งสินค้าทางรถไฟบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง
2.พัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่งแหลมฉบัง
3.ปรับปรุงท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 2
4.โครงการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)
5.โครงการขยายเขตระบบไฟฟ้าครัวเรือนที่ห่างไกล
6.การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เมืองพัทยา จ.ชลบุรี
7.โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2557 ของการประปาส่วนภูมิภาค
8.ปรับเปลี่ยนโครงข่ายส่วนทดแทนอุปกรณ์ชุมสายและข่ายสายที่หมดอายุ และ
9.โครงการระบบเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศ รองรับบริการอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศ


แก้ส่งออก-บูมเขต ศก.พิเศษ

ด้านเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ต้องเร่งแก้ไขปัญหาการส่งออกทั้งในตลาดหลักที่กำลังประสบปัญหาอย่างสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และหาตลาดใหม่ นอกจากนี้ให้ผลักดันการเจรจาการค้าภายใต้กรอบการค้าเสรี (FTA) ที่อยู่ระหว่างดำเนินการส่งเสริมการค้าชายแดน พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งมาตรการด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวขณะที่แผนพัฒนาด้านอุตสาหกรรม จะผลักดันจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมใหม่ รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) อาทิ นิคมอุตฯเอสเอ็มอี นิคมพลังงานทดแทน นิคมโลจิสติกส์เชียงของ และฟื้นฟูนิคมอุตฯมาบตาพุด รวม 8 โครงการ วงเงิน 677 ล้านบาท ทั้งแผนงานกำจัดขยะและมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การป้องกันดูแลสิ่งแวดล้อม แก้ปัญหาด้านการจราจร ผังเมือง ปรับปรุงสาธารณูปโภค ฯลฯ


โปรเจ็กต์คมนาคมฉลุย

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า 1 ปีจากนี้ไปมั่นใจว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยที่ คสช.อนุมัติเมื่อ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อทำเป็นโรดแมปการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศใน 8 ปี (2558-2565) จะเป็นรูปธรรม ขับเคลื่อนการลงทุนสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจาก พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้า คสช. และ รมว.คมนาคม เรียนรู้งานมาตลอด 3 เดือน โดยยุทธศาสตร์ดังกล่าวมี 5 แผนงาน ได้แก่

1.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง
2.การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑล
3.การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศ และเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน
4.การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำและ
5.การเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการขนส่งทางอากาศ

เช่นเดียวกับ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการ สศช. ในฐานะ รมช.คมนาคม ซึ่งทำงานร่วมกับกระทรวงมาตลอด ยุทธศาสตร์ของกระทรวงจึงสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 เรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางถนน ราง น้ำ และอากาศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ และเร่งปรับโหมดการขนส่งสินค้าจากทางถนนเป็นทางรางและทางน้ำมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์


อัดฉีดลงทุน 6.7 หมื่นล้าน

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า สำหรับโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเร่งด่วนปี 2557-2558 กรอบเงินลงทุน 67,145 ล้านบาท แยกเป็นใช้งบฯประจำปี 19,011 ล้านบาท เงินกู้ 16,155 ล้านบาท รายได้รัฐวิสาหกิจ 24,974 ล้านบาท และให้เอกชนร่วมลงทุน PPP เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) 7,004 ล้านบาท แต่หากรวมทั้งโครงการ (2558-2564)จะใช้เงินลงทุน 217,351 ล้านบาท โครงการเร่งด่วนเป็นโครงข่ายคมนาคมสนับสนุนประตูการค้าชายแดน 6 ด่าน ที่ คสช.จะพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ได้แก่ ด่านแม่สอด บ้านคลองลึก คลองใหญ่ มุกดาหาร ปาดังเบซาร์ และสะเดา เพื่อขนส่งสินค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน


ประมูลรถไฟฟ้า 6 สาย 3 แสน ล.

ส่วนการแก้ไขปัญหาจราจรในเมืองหลักและภูมิภาคจะเร่งรัดก่อสร้างรถไฟฟ้า 6 สายทาง 348,427 ล้านบาท ปลายปี 2557 จะประมูลสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ค่าก่อสร้าง 29,224 ล้านบาท จากทั้งโครงการ 58,590 ล้านบาท เสนอรัฐบาลอนุมัติประมูล 5 สายทาง ได้แก่ สายสีชมพู 56,691 ล้านบาท สีส้ม 110,117 ล้านบาท สีเหลือง 55,986 ล้านบาท สีแดง 38,469 ล้านบาท ต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์เชื่อมสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง 28,574 ล้านบาท ประมูลต้นปี 2558 และจัดซื้อรถเมล์ใหม่ 3,183 คัน 13,416 ล้านบาท รวมถึงเร่งก่อสร้างรถไฟทางคู่ราง 1 เมตร ระยะเร่งด่วน 6 สายทาง 887 กิโลเมตร เสนอรัฐบาลใหม่อนุมัติประกวดราคาปีนี้มี 2 สายทาง 43,300 ล้านบาท ได้แก่

สายจิระ-ขอนแก่น และสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ที่เหลือเริ่มปี 2558 รถไฟทางคู่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าขนาดราง 1.435 เมตร ความเร็ว 160 กก./ชม. 2 สายทาง 741,460 ล้านบาท ได้แก่ สายหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด และสายเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ที่ คสช.ให้ดำเนินการเชื่อมการค้ากับจีนตอนใต้ เร่งรัดงานของการรถไฟฯที่ล่าช้า เช่นซื้อหัวรถจักร 80 คัน 9,923 ล้านบาท จัดหารถโดยสารใหม่ 115 คัน 4,668 ล้านบาท ประมูลทางคู่สายฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย 11,348 ล้านบาท



ชง "ครม.ตู่" อนุมัติ" 10 โครงการ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า โครงการเร่งด่วนที่จะสรุปเสนอ ครม.ใหม่อนุมัติมี 10 โครงการ เช่น ก่อสร้างถนน 4 เลน ที่ใช้เงินกู้มีสายพิษณุโลก-หล่มสัก 644 ล้านบาท, สายเชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก 1,320 ล้านบาท, จ้างที่ปรึกษาดำเนินการให้เอกชนมาร่วมลงทุนมอเตอร์เวย์สายบางใหญ่-กาญจนบุรี, เพิ่มงบฯก่อสร้างสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) 8,140 ล้านบาท, รถไฟฟ้าสายใหม่ เช่น สีชมพู สีส้ม และสีเหลือง เสนอให้พิจารณารูปแบบการเดินรถสายสีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) เงินลงทุน 9,555 ล้านบาท สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย 22,231 ล้านบาท ที่จะให้เอกชนร่วมทุน


ธปท.จ่อปรับเป้าส่งออก

นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) 17 ก.ย.นี้ จะมีการทบทวนปรับลดเป้าการส่งออก จากเดิมคาดเติบโต 3% เนื่องจากการส่งออกในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ยังติดลบ 0.2% ไม่ฟื้นตัวตามที่คาด อีกทั้งการส่งออกในภูมิภาคเอเชียก็ยังไม่ฟื้นตัวดีนัก การปรับเป้าส่งออกครั้งนี้อาจกระทบต่อการขยายตัวของจีดีพีบ้าง แต่ไทยพึ่งการนำเข้าเยอะ หากตัวเลขทั้งส่งออกและนำเข้าลดลงทั้งคู่จะไม่กระทบมาก ดังนั้นขณะนี้ ธปท.ยังคงยืนคาดการณ์จีดีพีเติบโตที่ 1.5%

"สมมติเดิมส่งออกอยู่ที่ 3% และปรับลงเหลือ 2% ก็เชื่อว่าจะมีส่วนอื่น ๆ มาชดเชย เช่น การใช้จ่ายในประเทศ การลงทุนต่างๆ"


แพ็กเกจเอกชนล้อแผน 3 ระยะ

ด้านนายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย ให้ความเห็นว่า ขณะนี้คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) อยู่ระหว่างพิจารณาข้อเสนอของภาคเอกชนที่เคยเรียกร้องไปในสมัยรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร216 ประเด็น นำมาจัดลำดับความสำคัญ เตรียมนำมาเสนอรัฐบาลชุดใหม่ ประเด็นจำเป็นเร่งด่วนที่ กรอ.ให้ความสำคัญคือ โลจิสติกส์ และการสนับสนุนการค้า และการลงทุน เช่น รถไฟทางคู่ การพัฒนาถนน 4 เลน เป็นต้น

ส่วนนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า หลังรัฐประหารผ่านมา 3 เดือน ตัวเลขเศรษฐกิจด้านการจับจ่ายไม่ขยายตัวมากนัก แม้ความเชื่อมั่นจะเริ่มกลับมา รัฐบาลจึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นผ่านการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น กลาง และยาว ระยะสั้น คือการเร่งสร้างกำลังซื้อของประชาชนฐานราก การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนำร่อง 2-3 โครงการ อาทิ สุวรรณภูมิเฟส 2 รถไฟทางคู่ และการพัฒนาการค้าชายแดน การยกเลิกกฎอัยการศึก รองรับฤดูการท่องเที่ยวไตรมาส 4/57 และต้องแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง ระยะกลางต้องเร่งสร้างความยั่งยืนให้สังคม และเกษตรกรเข้มแข็ง พร้อมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนระยะยาว ต้องปฏิรูปเพื่อวางรากฐานเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2014 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

จีนทวงสัญญาพัฒนารถไฟไทย1.435เมตร คมนาคมชงรัฐบาลเคาะสาย"หนองคาย-มาบตาพุด"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 05 ก.ย. 2557 เวลา 17:15:29 น.

Click on the image for full size

จีนทวงสัญญารัฐบาลไทยลงขันลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน สานต่อเอ็มโอยูรถไฟไทย-จีน ทั้งรถไฟทางคู่และรถไฟขับเคลื่อนไฟฟ้าราง 1.435 เมตร สปีด 160 กม./ชม. นำร่องสายแรก "หนองคาย-แหลมฉบัง" หวังเชื่อมการค้าจากคุนหมิงทะลุสิงคโปร์ ยาหอมถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ คมนาคมเตรียมชงรัฐบาลใหม่พิจารณา "ชัชชาติ" ชี้ไทยเป็นได้แค่ทางผ่าน คสช.เร่งตั้งกรรมการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย-จีน

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางอุปทูตประเทศจีนได้เข้าพบเพื่อหารือถึงแผนการลงทุนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีแผนจะลงทุน 8 ปี (2558-2565) หลังมีรัฐบาลใหม่มาบริหารประเทศอย่างจริงจังแล้ว

จีนขอสานต่อลงทุนระบบรถไฟ

"จีนมายืนยันความสัมพันธ์กับรัฐบาลและมายืนยันการลงทุนที่จีนสนใจทั้งหมด ตามที่จีนเคยมีทำบันทึกความร่วมมือหรือเอ็มโอยูกับรัฐบาลไทยมาแล้วเมื่อปี"53 และรัฐบาลชุดที่แล้วเรื่องการพัฒนาระบบรถไฟและถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีให้"

โดยโครงการที่จีนสนใจมีรถไฟทางคู่ 1 เมตร จำนวน 6 สาย เงินลงทุน 127,472 ล้านบาท และรถไฟทางคู่มาตรฐานราง 1.435 เมตร ความเร็ว 160 กม./ชม. ที่คสช.ให้ศึกษารายละเอียดโครงการ 2 สายทาง เงินลงทุน 741,460 ล้านบาท (ดูแผนที่)

ประกอบด้วย
1.สายหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด 737 กม. ลงทุน 392,570 ล้านบาท และ
2.สายเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี 655 กม. ลงทุน 348,890 ล้านบาท เพื่อเชื่อมกับรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตรของจีนที่จะสร้างมายัง สปป.ลาวที่นครเวียงจันทน์ผ่าน จ.หนองคาย และห้วยทรายผ่าน อ.เชียงของ

คมนาคมชงรัฐบาลใหม่พิจารณา

"จะเตรียมข้อมูลการเอ็มโอยูไทย-จีนทั้ง 2 ฉบับว่าแต่ละฉบับมีความคืบหน้าแค่ไหนแล้ว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมคนใหม่และรัฐบาลใหม่พิจารณาต่อไป เพราะเป็นเรื่องระดับนโยบาย จึงให้ทางจีนกลับมาหารือร่วมกับรัฐบาลไทยอีกครั้งหลังมีรัฐบาลใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว"

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ทางจีนอยากมาร่วมมือพัฒนาระบบรถไฟกับประเทศไทยทางด้านวิชาการที่ทางจีนได้ผลิตเทคโนโลยีรถไฟรวมถึงการพัฒนาคน โดยดูข้อตกลงเดิมที่ทำร่วมกันไว้ เช่น ตั้งบริษัทร่วมทุนที่เคยเอ็มโอยูร่วมกันไว้เมื่อปี"53 สัดส่วนไทย 51% และจีน 49% โดยจีนสนใจลงทุนก่อสร้างรถไฟราง 1.435 เมตร สายหนองคาย-แหลมฉบัง-มาบตาพุด เพราะเป็นเส้นยุทธศาสตร์ของจีนที่ขีดไว้นานแล้วเพื่อจากคุนหมิง ผ่านลาว มาไทยไปถึงประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์

ย้อนรอยโมเดลรถไฟไทย-จีน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า เมื่อปี"53 สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ไทยและจีนได้เซ็นเอ็มโอยูร่วมกันจัดตั้งบริษัทร่วมทุนรูปแบบรัฐวิสาหกิจ สัดส่วน 51:49 มีทุนจดทะเบียนเริ่มที่ 1 แสนล้านบาท ซึ่งบริษัทนี้จะขอสัมปทานเช่าใช้เส้นทางจากการรถไฟฯ เป็นเวลา 50 ปี ได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภามาตรา 190 แล้ว แต่รัฐบาลยุบไปก่อน

โดยจีนสนใจสร้างรถไฟราง 1.435 เมตร สายกรุงเทพฯ-หนองคายที่เชื่อมจากคุนหมิง ผ่านเวียงจันทน์มากรุงเทพฯไปสิงคโปร์ ระยะแรกเริ่มสร้างจากหนองคายมากรุงเทพฯก่อน ค่าก่อสร้าง 180,000 ล้านบาท จากนั้นถึงต่อขยายไปถึงภาคใต้เชื่อมกับมาเลเซีย ต่อมาสมัยรัฐบาลเพื่อไทยเมื่อปี"55 ทางไทยและจีนได้เซ็นเอ็มโอยูร่วมกันจะพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง โดยจีนศึกษารายละเอียดโครงการให้ไทยด้วย คือ สายกรุงเทพฯ-หนองคายและกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วิ่งด้วยความเร็ว 200-250 กม./ชม. พร้อมกับถ่ายทอดความรู้ให้ 100 คน

คาด 1 ปีศึกษาและออกแบบเสร็จ

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ้แผนการลงทุนคงยังไม่เดินหน้าในเร็ว ๆ นี้ จะต้องศึกษารายละเอียดโครงการและรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)จะเสร็จในปี 2558 โดยนำผลการศึกษาของรถไฟความเร็วสูงจากรัฐบาลชุดที่แล้วทั้ง 3 สายทาง ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กรุงเทพฯ-หนองคายและสายต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์จากสุรรณภูมิ-พัทยา-ระยองมาต่อยอด โดยปรับความเร็วจาก 250 กม./ชม.อยู่ที่ 160 กม./ชม. จะก่อสร้างบนเขตทางใหม่คู่ขนานไปกับทางรถไฟเดิม ล่าสุด สนข.อยู่ระหว่างของเปลี่ยนแปลงการใช้เงินจากงบประมาณ 350 ล้านบาท มาจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาใน 2 เดือนนี้

ภาชีศูนย์กลางเดินทาง-ขนสินค้า

สำหรับแนวรถไฟขนาด 1.435 เมตร 2 สายทางใหม่นี้ จะเชื่อมการเดินทางมายังกรุงเทพฯที่สถานีกลางบางซื่อที่เป็นศูนย์รวมของรถไฟทุกสาย โดยมีชุมทางบ้านภาชีเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางสำหรับผู้โดยสาร ส่วนการขนส่งสินค้าจะไม่เข้ามา จากเดิมแนวเส้นทางบ้านภาชี-กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์จะเริ่มในปี 2565 แต่จะเลื่อนแผนงานเพื่อศึกษาให้เร็วขึ้น

สำหรับเส้นทางสายหนองคาย-นคร ราชสีมา-สระบุรี-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด จะเชื่อมจากหนองคายลงมาถึงมาบกะเบาก่อนจะเปลี่ยนถ่ายคนจากบ้านภาชีเข้ากรุงเทพฯ ส่วนสายเชียงของ-เชียงราย-เด่นชัย-บ้านภาชี จะส่งคนที่บ้านภาชีเพื่อเข้ากรุงเทพฯ ส่วนการขนสินค้าจะเดินรถไปทางแหลมฉบังและมาบตาพุด

ชัชชาติชี้ไทยเป็นแค่ทางผ่าน

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เสนอแนะว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลใหม่จะสร้างรถไฟทางคู่ 2 ระบบ คือ ราง 1 เมตรกับราง 1.435 เมตร วิ่งด้วยความเร็ว 160 กม./ชม.เพื่อเชื่อมกับจีน แต่อยากให้พิจารณาวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าต้องการขนสินค้าอย่างเดียวหรือผู้โดยสาร หากขนสินค้าอย่างเดียวอาจจะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบเพราะจะเป็นแค่ทางผ่าน จะไม่มีรายได้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าระวางสินค้า เนื่องจากสินค้าจะไม่เข้ามายังประเทศไทยจะไปยังประเทศลาวและท่าเรือเพื่อส่งออกไปประเทศอื่นมากกว่า อีกทั้งการขนสินค้าไม่ต้องการความเร็วแต่ต้องการความตรงเวลา

ส่วนการขนส่งผู้โดยสารหากความเร็ว 160 กม./ชม.จะแข่งขันกับสายการบินลำบาก จะไม่คุ้มค้าการลงทุน หากจะขนคนต้องวิ่งความเร็ว 200 กม./ชม.ขึ้นไปเพื่อให้การเดินทางสั้นลงไม่เกิน 3 ชั่วโมงครึ่ง

คสช.ตั้งกรรมาธิการร่วมไทย-จีน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุม คสช.ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.สั่งการให้ฝ่ายความมั่นคง โดยกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างไทย-จีน (Joint Committee) เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินงานจากผลการเจรจาและความตกลงด้านเศรษฐกิจร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2014 10:14 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมปรับแผนยุทธศาสตร์เป็น 10 ปี ให้สอดคล้องกับกรอบงบประมาณระยะยาว


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กันยายน 2557 17:44 น.


คมนาคมปรับแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานฯ จากระยะ 8 ปี เป็น 10 ปี (59-68) เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณระยะยาว 10 ปี ยันโครงการเดิมไม่ลดหรือเพิ่ม “สร้อยทิพย์” ยันชะลอสุวรรณภูมิเฟส 2 ยังไม่ยุติ ชี้เป็นความเห็นบอร์ด ทอท.เท่านั้น รมว.คมนาคมยังไม่อนุมติ และยังบรรจุในยุทธศาสตร์คมนาคมอยู่

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับสำนักงบประมาณวันนี้ (4 ก.ย.) ว่า สำนักงบประมาณต้องการวางแผนการใช้จ่ายงบประมาณของประเทศในภาพรวมระยะยาว ( Long Term Expenditure Framework : LTEF) ระยะ 10 ปี (ปี 2559-2568) ซึ่งการวางแผนดังกล่าวต้องทำความเข้าใจกับทุกหน่วยงานที่ต้องการใช้เงินลงทุนเพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกันและเพื่อให้สอดคล้องกับแผนการจัดสรรงบประมาณของสำนักงบประมาณ ว่าในการลงทุนในทุกยุทธศาสตร์ของประเทศจะใช้เงินอย่างไร จำนวนเท่าไร โดยในส่วนของกระทรวงคมนาคมมีความชัดเจนแล้ว คือปรับยุทธศาสตร์ โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย 4 ด้าน 5 แผนงาน ระยะเวลา 8 ปี (2558-2565) เป็นระยะ 10 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการจัดสรรงบประมาณของสำนักงบประมาณ โดยมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ปรับแผนงานให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์หน้าเพื่อนำเสนอ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

ทั้งนี้ ในการปรับแผนยุทธศาสตร์คมนาคมจาก 8 ปีเป็น 10 ปีมีเป้าหมายเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดสรรงบประมาณของประเทศที่มองในระยะยาว 10 ปี ซึ่งเป็นโครงการตามแผนเดิมและวงเงินเท่าเดิมไม่มีการปรับลดหรือเพิ่มขึ้น แต่เป็นการจัดทำกรอบเวลาให้เป็น 10 ปี และจะมีการจัดลำดับความสำคัญโครงการก่อนหลัง และการลงทุนรวมและกรอบแต่ละปี แบ่งเป็นงบประมาณ เงินกู้ ร่วมทุนเท่าไร และเป็นผูกพันการดำเนินงานที่ชัดเจนต่อไปจนแล้วเสร็จ โดยในปี 2557 กระทรวงคมนาคมมีกรอบลงทุนโครงการเร่งด่วนประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท ส่วนปี 2558 จะใช้งบลงทุนในส่วนของยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน 19,718.27 ล้านบาท จากกรอบงบประมาณปี 2558 รวมที่ 144,000 ล้านบาท

“ในปี 2558 ยังเหลือโครงการรถไฟทางคู่ เบื้องต้นได้รับงบประมาณในส่วนของค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือค่ารื้อย้าย ซึ่งคาดว่าทางคู่เส้นทางจิระ-ขอนแก่น วงเงินลงทุน 26,000 ล้านบาทที่ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว เหลือขั้นตอนการนำเสนอขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติประกวดราคา จะสามารถนำเสนอขอวงเงินลงทุนในปี 2558 เพิ่มเติมได้” นางสร้อยทิพย์กล่าว

ส่วนแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ที่มีนายประสงค์ พูนธเนศ เป็นประธาน มีมติให้ชะลอและศึกษาและจัดทำรายละเอียดการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ (Multi Terminal) แทนนั้น เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะเป็นเพียงความเห็นจากบอร์ด ทอท.เท่านั้น ขณะที่แผนยุทธศาสตร์ฯ มีการบรรจุเรื่องการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 ไว้แล้ว หากมีการปรับเปลี่ยนก็ต้องผ่านการพิจารณาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก่อน

“เรื่องปรับรูปแบบลงทุนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เรายังให้ความเห็นอะไรไม่ได้ เพราะ AOT ยังไม่ส่งเรื่องมา และถือว่าเป็นเพียงความเห็นจากบอร์ดเท่านั้น อีกทั้งโครงการพัฒนาเฟส 2 นี้ เราบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงไปแล้ว ถ้าจะต้องเปลี่ยนแปลงอะไรก็ต้องผ่านการพิจารณาจากกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีว่าการฯ ก่อน” นางสร้อยทิพย์กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 12/09/2014 2:26 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จีนทวงสัญญาพัฒนารถไฟไทย1.435เมตร คมนาคมชงรัฐบาลเคาะสาย"หนองคาย-มาบตาพุด"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 05 ก.ย. 2557 เวลา 17:15:29 น.


จีนขอชัดเจนไฮสปีดเชื่อมไทย เล็งใช้ทางรถไฟขนสินค้า-น้ำมัน-ก๊าซ กระตุ้น17ล้านคนจากยูนนานเที่ยวเพิ่ม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
11 กันยายน 2557 เวลา 16:50:33 น.


ตัวแทนรถไฟจีนเข้าพบกระทรวงคมนาคมขอความชัดเจนเอ็มโอยู เดินหน้าร่วมมือเชื่อมต่อทางรถไฟจีนตอนใต้-ลาว-ไทย พร้อมใช้ขนสินค้า น้ำมัน ก๊าซ หนุนนักท่องเที่ยวจีนยูนนาน 17 ล้านคนเข้าไทย ส่วนไฮสปีดเทรนในลาวยังไม่เริ่ม พร้อมเจรจาขั้นสุดท้าย ได้ข้อสรุปชัดเจนต้องใช้เวลาก่อสร้างอีก 5 ปี

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่ดูแลด้านการรถไฟที่ใหญ่ที่สุดของจีนได้เขาหารือเพื่อชี้แจงกรณีเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยได้ถามถึงบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย-จีน เกี่ยวกับรถไฟจะยังเดินหน้าต่อไปหรือไม่ ซึ่งก็ยืนยันว่าจะยังเดินหน้าต่อไป โดยที่ผ่านมาหน่วยงานของจีนก็ได้นำบุคลากรของไทยไปฝึกอบรมความรู้ในเรื่องของระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) มาแล้ว 4-5 รุ่น นอกจากนี้ทางจีนยังสอบถามถึงการเชื่อมต่อรถไฟจากจีนมายังไทยจะยังมีอยู่หรือไม่ ก็ได้สร้างความมั่นใจว่ายังเป็นเหมือนเดิม


"ทางการจีนที่เข้าพบในครั้งนี้ถือเป็นคณะที่ 2 โดยมาทำความรู้จักภายหลังมีการปรับโครงสร้างใหม่ให้เป็นหน่วยงานที่ครอบคลุมในเรื่องของรถไฟแทนกระทรวงรถไฟที่ยุบไปแล้ว จึงได้ยืนยันในหลายเรื่องที่สอบถามเข้ามาเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น" นางสร้อยทิพย์กล่าว

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ทางการจีนได้แจ้งความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากจีนตอนใต้เข้าลาว-เวียงจันทน์ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจารายละเอียดขั้นสุดท้ายยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใด หากเจรจาสำเร็จทั้งหมดจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี คือ เส้นทางคุนหมิง-ลาว-เวียงจันทน์ ระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร ซึ่งสาเหตุที่ใช้ระยะเวลานาน เพราะต้องขุดเจาะอุโมงค์ถึง 200 กิโลเมตร

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า สำหรับสินค้าที่จีนต้องการขนส่งเมื่อการก่อสร้างจากลาวเชื่อมมายังไทยแล้วเสร็จ คือ สินค้า น้ำมัน ก๊าซ และอื่นๆ ที่สำคัญ คือ นักท่องเที่ยวจีนตอนใต้ เนื่องจากปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวภายในจีนเดินทางไปท่องเที่ยวจีนตอนใต้หรือมณฑลยูนนานประมาณ 17 ล้านคนต่อปี และในจำนวนนี้ก็ต้องการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยด้วย จึงถือเป็นโอกาสที่ไทยจะดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย หากการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมระหว่างจีน-ลาว-ไทยสำเร็จ

"หากพิจารณานักท่องเที่ยวจากจีนที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังจีนตอนใต้แล้วจะเห็นว่ามีจำนวนมาก ถ้าเดินทางต่อมายังไทยสัก 10% รวมกับประชาชนจากยูนนานที่มีอยู่หลายล้านคนที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวไทยด้วยรวมเฉลี่ยประมาณ 2-3 ล้านคนต่อปีก็ถือว่าน่าสนใจแล้ว" นางสร้อยทิพย์กล่าว

นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า เรื่องของเอ็มโอยูระหว่างไทย-จีนเดิมถือว่ามีความสำคัญ โดยเป็นเรื่องระดับรัฐมนตรีกับผู้ปฏิบัติ หากให้เดินหน้าต่อไปก็สามารถหารือร่วมกันระหว่างไทย-ลาว เรื่องการทำสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่หนองคายเพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟไทยกับลาวได้ทันที โดยยืนยันว่าที่ผ่านมาการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวไม่ได้หยุดชะงัก ขณะนี้ไทยยังอยู่ระหว่างศึกษารถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร จากหนองคาย-นครราชสีมา-มาบตาพุดด้วย หากต้องการให้รวดเร็วก็สามารถศึกษาออกแบบจากหนองคายลงมาก็ได้ จึงไม่มีปัญหาเรื่องของความล่าช้าและยังดำเนินงานไปตามปกติ
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 121, 122, 123  Next
Page 19 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©