RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179751
ทั้งหมด:13490983
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 183, 184, 185 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/08/2014 2:13 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เดินหน้ารถไฟทางคู่ 2 สาย จีนเสนอปัดฝุ่นแผนร่วมทุน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
28 สิงหาคม 2557 เวลา 12:00:49 น.


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าว่า สนข.เตรียมงบประมาณ 350 ล้านบาท ศึกษาและออกแบบโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน (สแตนดาร์ด เกจ) 1.435 เมตร ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าระยะเร่งด่วน จำนวน 2 เส้นทาง คือ

1.เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตพุด ระยะทาง 737 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 392,570 ล้านบาท และ

2.เส้นทางเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 348,890 ล้านบาท โดยเดือนตุลาคมนี้ จะเริ่มศึกษาถึงรูปแบบการก่อสร้างและรูปแบบการลงทุนที่เกิดความคุ้มค่าสูงสุด กำหนดใช้เวลา 1 ปีแล้วเสร็จ ต่อจากนั้นจะเริ่มก่อสร้าง ซึ่งตามแผนงานจะเสร็จปี 2564

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านทูตพาณิชย์ของประเทศจีน ได้เดินทางเจ้าพบนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม แสดงความสนใจจะเข้าร่วมลงทุนในโครงการสแตนดาร์ด เกจ และขอให้ฝ่ายไทย นำข้อตกลงเดิมในอดีตระหว่างไทยกับจีนกลับมาพิจารณาใหม่ คือ การจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 3 ฝ่าย รัฐบาลไทย-เอกชนไทย-เอกชนจีน เพื่อใช้เป็นรูปแบบการลงทุน แต่แท้จริงแล้วจะดำเนินการตามแนวทางไหนก็ขึ้นอยู่กับระดับนโยบายของฝ่ายไทยว่าจะตัดสินใจอย่างไร

"จีนสนใจลงทุน เพราะมองว่าเป็นการพึ่งพาเศรษฐกิจระหว่างกัน และ 2 เส้นทางจะเชื่อมต่อประตูการค้าไปสู่จีน ขณะที่จีนก็เตรียมที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมมายังลาว ซึ่งภาพรวมคงคุยกับจีนประเทศเดียวไม่ได้ ต้องเปิดโอกาสให้ประเทศอื่นๆ ด้วย เพื่อให้การดำเนินโครงการเกิดประโยชน์สูงสุด" นายชัยวัฒน์กล่าว

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ในส่วนของการดำเนินงานระยะที่ 2 กระทรวงคมนาคม ยังจะมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า เพิ่มเติมอีก 3 เส้นทาง คือ 1.ตาก-พิษณุโลก-บ้านไผ่
2.หนองคาย-อุบลราชธานี และ
3.บ้านภาชี-กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์

โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างปี 2565-2572

นายชาญชัย สุวิสุทธะกุล รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน จะวิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถพัฒนาต่อยอดให้รองรับระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง ที่วิ่งด้วยความเร็วมากกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไปได้ เพราะออกแบบระบบเทคนิคเผื่อไว้แล้ว เช่น ระบบราง ระบบการเข้าโค้ง

//------------------------

ลุยทางคู่2สายใหม่ เชื่อมด่านชายแดน
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 27 สิงหาคม 2014 เวลา 13:07 น. -
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,978 วันที่ 28 - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คมนาคม โยกงบรถไฟทางคู่ ระยะ 2 ใน 5 เส้นทางวงเงินกว่า2แสนล้านบาท ลุยก่อสร้าง2 สายใหม่เชื่อมด่านชายแดนตามแผนคสช. ส่วนโครงการระยะที่1 ช่วงจิระ-ขอนแก่นรอชงครม.ใหม่ไฟเขียว เปิดประมูลหลังอีไอเอผ่านฉลุย ส่วนที่เหลือเลื่อนไปปีหน้า กูรูประเมินราคาที่ดินชี้ระยะต้นนักเก็งที่ยังไม่คึกคัก หลังเข็ดเขี้ยวไฮสปีดเทรน

แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ได้มีการปรับแผนก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 5 เส้นทาง ประกอบด้วย

1. เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 3.2 หมื่นล้านบาท ,
2. เส้นทางชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 5.9 หมื่นล้านบาท ,
3. เส้นทางปากน้ำโพ-เด่นชัย วงเงิน 5.5 หมื่นล้านบาท ,
4. เส้นทางชุมพร-สุราษฎร์ธานี วงเงิน 3.1 หมื่นล้านบาท และ
5. เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ในวงเงินงบประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท

โดยเลื่อนระยะเวลาก่อสร้างออกไปก่อน เพื่อนำงบประมาณดังกล่าวไปก่อสร้างรถไฟทางคู่อีก 2 เส้นทางขนาดทาง 1.435 เมตร ทั้งนี้เพื่อรองรับยุทธศาสตร์เชื่อมด่านชายแดนตามความเห็นของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)

สำหรับรายละเอียดแนวเส้นทางรถไฟทางคู่ 2 เส้นทางดังกล่าว

เส้นทางที่ 1 ลากผ่านหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 กม. วงเงิน 392,570 ล้านบาท
เส้นทางที่ 2 เริ่มจากเชียงของ-เด่นชัย-พิษณุโลก-บ้านภาชี-แก่งคอย-แหลมฉบัง ระยะทาง 655 กม. วงเงิน 348,890 ล้านบาท

ซึ่ง 2 เส้นทางนี้จัดเป็นการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ในอนาคต ทั้งนี้ใช้ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standgard Gauge)และรถไฟขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ความเร็ว 160 กม./ชม.
นอกจากนี้แหล่งข่าวยังกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ในระยะที่1 เส้นทาง ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีความพร้อมดำเนินการแล้วนั้นว่า กระทรวงคมนาคมเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในรัฐบาลชุดใหม่อนุมัติ ให้มีการประกวดราคาในปลายปีนี้หรืออย่างช้าต้นปี 2558 ส่วนเส้นทางอื่นๆอาจจะต้องเลื่อนไปเปิดประมูลในปีหน้าด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังได้มีการยกเอาช่วงเส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ วงเงิน1.6 หมื่นล้านบาท ขึ้นมาเร่งดำเนินการพร้อมกับ 5 ช่วงแรกตามแผนเร่งด่วนก่อนเพื่อให้เชื่อมโยงกันของช่วงนครปฐม-หัวหิน
ด้านแหล่งข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการประมูลโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอยรวมระยะทางประมาณ 97 กม.วงเงินประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท ตามที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2555 อนุมัติให้ร.ฟ.ท.ดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อให้เชื่อมโยงกับช่วงศรีราชาแหลมฉบังที่เปิดให้บริการแล้วนั้น ขณะนี้ร.ฟ.ท.เร่งทำหนังสือชี้แจงคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ (คตร.)ที่ขอตรวจสอบโครงการต่างๆตามคำสั่งคสช.ให้แล้วเสร็จ โดยคาดว่าจะได้ตัวผู้รับจ้างทั้ง 2 สัญญาในเดือนตุลาคมนี้ และจะเริ่มก่อสร้างในปลายปีได้ทัน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับว่าคตร.จะเห็นชอบด้วยหรือไม่เท่านั้น
ขณะที่นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านประเมินราคาที่ดิน กล่าวถึงสถานการณ์ราคาที่ดินตามแนวรถไฟทางคู่ว่า หลังจากโครงการรถไฟความเร็วสูงถูกพับแผนโครงการ ได้สร้างเข็ดขยาดกับนักเก็งกำไรที่ดินพอสมควร ดังนั้นเมื่อรัฐบาลประกาศแผนเดินหน้ารถไฟทางคู่คาดได้ว่าคราวนี้หลายคนคงไม่ผลีผลาม เพราะมีบทเรียนที่ซื้อไว้ ยังค้างเติ่งติดดอยอยู่จนทุกวันนี้
สำหรับราคาที่ดินนั้นหากโครงการได้ดำเนินการจริง การปรับตัวของราคาที่ดินขึ้นอยู่กับ ฐานราคาที่ดินในปัจจุบัน ถ้าปัจจุบันราคาที่ดินยังต่ำอยู่ เช่นไร่ละหลักแสน หรือ 1-2 ล้านบาท ก็จะมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้มาก แต่ทั้งนี้การปรับเพิ่มก็มีเพดานตามศักยภาพในการใช้สอยดังนั้น ขึ้นอยู่กับศักยภาพการใช้ประโยชน์ในอนาคต ขึ้นอยู่กับแผนงานในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบของภาครัฐ เช่น การพัฒนาพื้นที่จุดขนถ่ายสินค้า การพัฒนาด้านพาณิชยกรรม ด้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น แต่หากไม่มีแผนงานใด ก็จะเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยภาคเอกชน
ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่จะเกิดใหม่ตามแนวสายทางรถไฟทางคู่นั้น ในอนาคตจะมีอาคารโกดังขนถ่ายสินค้า ศูนย์กระจายสินค้ามากขึ้น รวมถึงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมตามเมืองสำคัญต่างๆ หรือความต้องการด้านที่พักอาศัย ทั้งโรงแรม อพาร์ตเมนต์ ร้านค้าอาคารพาณิชย์ จากความจำเป็นของคนทำงานในแหล่งงานต่างๆ ส่วนตลาดบ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม ขึ้นอยู่กับสภาพความเจริญของชุมชนในปัจจุบัน และกำลังซื้อของคนในพื้นที่นั้นๆ


Last edited by Wisarut on 03/09/2014 10:34 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2014 9:45 am    Post subject: Reply with quote

′ชัชชาติ′แนะไม่คุ้ม ให้ ทบทวนรถไฟรางคู่ไฟฟ้าเร็ว 160 ก.ม./ช.ม.
มติชน
วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 08:17:54 น.



อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แนะให้ทบทวนโครงการรถไฟรางคู่ความเร็ว 160 กิโมตรต่อชั่วโมง เพราะไม่คุ้มทุน



นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกรณีการพัฒนาระบบรถไฟของ คสช.ว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่ คสช.มีแผนพัฒนาระบบรถไฟของไทย โดยนายชัชชาติได้เเสดงความเห็นกรณีโครงการรถไฟ2 เส้นทาง คือหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 737 ก.ม. วงเงิน 392,570 ล้านบาท และเชียงของเด่นชัย-บ้านภาชี ระยะทาง 655 ก.ม. วงเงิน 348,890 ล้านบาทนั้น ว่าจะต้องวางเป้าหมายให้ชัดว่ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร และที่สำคัญคือ คุ้มค่ากว่าการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรือ ไฮสปีดเทรน ที่วิ่งด้วยความเร็วมากกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามแผนเดิมอย่างไร

ทั้งนี้มองว่าแผนการพัฒนาที่ต่างกันไม่ใช่เรื่องผิด แต่โครงการใหม่เน้นการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะการเน้นเชื่อมโยงกับจีน ที่ไม่ต้องใช้ความเร็วมาก เพียง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงต้องขนส่งคนด้วย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างเมืองใหม่และขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนกว่า โดยหากรถไฟของไทยยังไม่เป็นรถไฟฟ้าความเร็วสูงก็ไม่สามารถแข่งขันกับสายการบินโลว์คอสต์ ได้

//--------------------------

เจตนาดี แต่ ถ้าไม่กระจายให้ทั่วถึงในราคาที่ใครๆก็พอยอมจ่ายได้แล้ว ก็เห็นจะยากอยู่
Back to top
View user's profile Send private message
milkonline
2nd Class Pass (Air)
2nd Class Pass (Air)


Joined: 02/07/2009
Posts: 810
Location: อ.เมือง จ.ลพบุรี

PostPosted: 29/08/2014 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

รีบโผล่มาออกสื่อแบบนี้ กลัวเสียหน้าตกขบวนหรือครับ ฮาๆๆ
ทำมาขนได้แต่คน(ที่ต้องมีตังค์จ่าย)กับทำมาใช้ได้เอนกประสงค์ อันไหนมันจะคุ้มกว่ากัน?


ปรับปรุงให้แข่งกับรถทัวร์ให้ได้ก่อนดีกว่าครับ ก่อนจะไปมองโลวคอสต์
_________________
N-Scale model train lovers.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 23/09/2014 11:44 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนนี้ผลการศึกษาทางรถไฟความไวสูง ซึ่งเป็น Airport Link ส่วนต่อขยาย จากลาดกระบังไปพัทยาและระยอง ออกมาแล้ว เชิญชมได้ที่นี่ครับ
http://www.thaihispeedtrain-rayong.com/PDF/ALSR%20PP-2%2011-12%20Dec%202013.pdf

รายละเอียดสำคัญที่ควรกล่าวถึง:

ความเร็วสูงสุดจาก สถานีกลางบางซื่อ ถึงสถานี ลาดกระบัง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่
ความเร็วสูงสุดจาก สถานีลาดกระบัง ถึงสถานีระยอง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีกำหนดเวลาการเดินทางดั่งนี้

สถานีกลางบางซื่อถึงสถานีกลางมักกะสัน ระยะทาง 8.5 กิโลเมตร ใช้เวลา 6 นาที
สถานีกลางบางซื่อถึงสถานีลาดกระบัง ระยะทาง 8.5 + 21.65 = 30.15 กิโลเมตร ใช้เวลา 16 นาที
สถานีกลางบางซื่อถึงสถานีฉะเชิงเทราใหม่ ระยะทาง 30.15 + 34.25 = 64.40 กิโลเมตร ใช้เวลา 26 นาที
สถานีกลางบางซื่อถึงสถานีชลบุรี ระยะทาง 64.40 + 46.80 = 111.20 กิโลเมตร ใช้เวลา 40 นาที
สถานีกลางบางซื่อถึงสถานีพัทยา ระยะทาง 111.20 + 47.30 = 158.50 กิโลเมตร ใช้เวลา 54 นาที
สถานีกลางบางซื่อถึงสถานีระยอง ระยะทาง 158.50 + 65.00 = 223.50 กิโลเมตร ใช้เวลา 72 นาที

มีการขุดอุโมงค์ที่ เขาชีจรรย์

สถานี ลาดกระบังให้สร้างใหม่ บนอาคารสถานีเดิม โดยเพื่ม track 3-4 สำหรับ Airport Link เพื่อให้ High Speed train ใช้ทางคู่ตรงกลางได้

สถานีฉะเชิงเทราใหม่ อยู่เหนือ สถานีชุมทางฉะเชิงเทราที่มีอยู่เดิม 1 กิโลเมตร โดยด้านตะวันตกติดทางหลวง 304 ทางใต้ติด ย่านสถานีชุมทางฉะเชิงเทราตอนเหนือ

สถานีชลบุรีและพัทยาตจะสร้าง ณ บริเวณสถานีที่มีมาแต่เดิม

สถานีระยอง จะอยู่ระหว่าง ทางหลวง 3191 (Bypass) และ มอเตอร์เวย์ (ทางหลวง 36) โดยปลายรางอยู่ที่ จุดตัดระหว่าง มอเตอร์เวย์ (ทางหลวง 36) กะ ทางหลวง 3138
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2014 2:08 am    Post subject: Reply with quote

ข้อเท็จจริงรถไฟไทย (ตอนที่ 4): รถไฟธรรมดา VS ความเร็วสูง ผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน
Thai Publica
18 กันยายน 2014

นอกจากประเด็นความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของเส้นทางรถไฟแล้ว ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับการตัดสินใจในเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่เส้นใหม่ขนาดรางมาตรฐาน 2 เส้นทาง ระยะทางกว่า 1,400 กิโลเมตร ที่กำลังถูกผลักดันเป็น “โครงการวางมาตรฐานใหม่สำหรับอนาคต” รองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ตามยุทธศาสตร์ 8 ปีของกระทรวงคมนาคม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาความเป็นไปได้ รวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

แม้ปัจจุบันภาครัฐจะบังคับให้โครงการต่างๆ เหล่านี้ต้องส่งรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ประกอบการตัดสินใจ แต่มักจะเป็นการศึกษาผลกระทบตามกรอบแต่ละโครงการ ขาดการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของรถไฟรูปแบบต่างๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ในลักษณะทางเลือกอื่นๆ ของโครงการ แตกต่างจากต่างประเทศที่มีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเลือกประเภทรถไฟที่เหมาะสมที่สุด

จากข้อมูลเน็ตเวิร์กเรล (Network Rail) เจ้าของและผู้ให้บริการรถไฟรายใหญ่ในประเทศอังกฤษ ได้ศึกษาเปรียบเทียบอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่าง รถไฟแบบธรรมดา (ระบบรถไฟอังกฤษเป็นขนาดรางมาตรฐาน ความเร็วออกแบบ 200 กม./ชม. ลักษณะเดียวกับโครงการรถไฟทางคู่เส้นใหม่ 2 สายของไทยที่กำลังศึกษาในปัจจุบัน) กับรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ความเร็วมากกว่า 250-350 กม./ชม. เพื่อวางแผนการสร้างและพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศอังกฤษในปี 2568 – 2598 ระยะเวลา 30 ปี

ผลการศึกษาระบุว่า เมื่อเทียบประสิทธิภาพโดยตรงในการขนส่ง “ขบวนรถไฟที่มีจำนวนที่นั่งเท่ากัน” จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง (Direct Performance หรือ Per seat-km) รถไฟธรรมดาปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถไฟความเร็วสูงโดยเฉลี่ย 9.3% โดยรถไฟความเร็วสูงปล่อยก๊าซที่ 12.8 กรัมเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ต่อที่นั่งต่อกิโลเมตร (gCO2eq/seat-km) และรถไฟธรรมดาปล่อยก๊าซที่ 11.7 gCO2eq/seat-km ขณะที่ถ้าคำนวณตลอดระยะเวลาใช้งาน 30 ปี รถไฟธรรมดายังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า แต่ลดลงเหลือเพียงน้อยกว่า 4.3%

อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อที่นั่ง

อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบประสิทธิภาพต่อการขนส่งผู้โดยสาร (Per Passenger-km) แล้ว พบว่ารถไฟความเร็วสูงสร้างก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถไฟธรรมดาถึง 15% ในปัจจุบัน และน้อยกว่าสูงถึง 18.8% เมื่อคำนวณตลอดระยะเวลาใช้งาน 30 ปี ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนระบบการขนส่งจากทางอากาศและถนนมาเป็นรถไฟมากขึ้น หรือ Modal shift จะส่งผลให้รถไฟความเร็วสูงปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า 17.4% ในปัจจุบัน และ น้อยกว่า 23.5% เมื่อคำนวณตลอดระยะเวลาการใช้งาน 30 ปี

อัตราการปล่อยก๊าซกระจกต่อผู้โดยสาร

อัตราการปล่อยก๊าชเรือนกระจก

เหตุผลที่รถไฟความเร็วสูงปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อผู้โดยสารน้อยกว่ากรณีประสิทธิภาพโดยตรง เพราะรถไฟความเร็วสูงสามารถขนส่งผู้โดยสารจำนวนมากกว่าในระยะเวลาเท่ากัน เนื่องจากความเร็วที่มากกว่า ส่งผลให้จำนวนก๊าซเรือนกระจกต่อผู้โดยสารลดลง
ทั้งนี้ ประสิทธิภาพแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ รถไฟความเร็วสูงต้องอาศัยจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการขั้นต่ำระดับหนึ่ง โดยผลการศึกษาของเน็ตเวิร์กเรลระบุว่าต้องมีอัตราโดยสารมากกว่ารถไฟธรรมดาประมาณ 4% ถึงจะ “เริ่ม” ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อผู้โดยสารน้อยกว่ารถไฟธรรมดา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2014 9:29 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ตอนนี้ผลการศึกษาทางรถไฟความไวสูง ซึ่งเป็น Airport Link ส่วนต่อขยาย จากลาดกระบังไปพัทยาและระยอง ออกมาแล้ว เชิญชมได้ที่นี่ครับ
http://www.thaihispeedtrain-rayong.com/PDF/ALSR%20PP-2%2011-12%20Dec%202013.pdf



ตอนนี้ออกเป็นวิดีโอคลิปแล้วหละ
http://www.youtube.com/watch?v=R0M0odtYZcY&feature=share
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2014 11:36 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชนไทยพร้อม ญี่ปุ่นเสนอให้เทคโนโลยี ลงขัน สร้างระบบราง
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 2 ตุลาคม 2557 เวลา 16:45 น.

แผนลงทุนระบบรางเนื้อหอม เอกชน-ต่างชาติรุมทึ้งร่วมลงทุน ญี่ปุ่นเสนอตัวใช้เทคโนโลยี ชิงกันเซ็ง +เงินทุน ส่วนบีทีเอส สนใจบริหารรถไฟฟ้า 2 เส้น พร้อมรถไฟเร็วสูง 1.435 เมตร

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังหารือกับ นายมิโนะรุ คิอุชิ รมช.ต่างประเทศญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนพิเศษรัฐบาลญี่ปุ่นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความสนใจร่วมลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานของไทย โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร รถไฟรางคู่ รวมถึงโครงการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามัน และท่าเรือน้ำลึกทวาย เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียแปซิกฟิกกับยุโรปและตะวันออกกลาง

“รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการให้ไทยช่วยพิจารณาการลงทุนจากญี่ปุ่นก่อน เพราะมีประสบการณ์เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี และความปลอดภัย จากรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งที่ใช้มากว่า 50 ปี จึงสนใจเข้ามาก่อสร้าง บริหารเดินรถ และร่วมทุนกับรัฐบาลไทย พร้อมเชิญนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของไทยให้เดินทางไปญี่ปุ่นด้วย ขณะเดียวกันญี่ปุ่นยังพร้อมสนับสนุนเรื่องเงินลงทุน เทคโนโลยี และการขยายการลงทุนภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้ พร้อมการันตีนำชาวญี่ปุ่นมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่ม”

ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้ชี้แจงไปว่าไทยพร้อมเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมภายในประเทศ ชายแดน และประเทศเพื่อนบ้านทั้งทางถนน ราง อากาศ และทะเล ส่วนข้อเสนอของญี่ปุ่นไทยก็รับไปพิจารณา เพราะไทยมีนโยบายเปิดกว้างรับการลงทุนจากทุกประเทศ และหลังจากนี้จะมีการหารือกับตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อลงรายละเอียดอีกครั้ง สำหรับแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางบก ถนน และราง กระทรวงคมนาคมจะทำให้เสร็จใน 15 วัน และเสนอให้ ครม.ได้รับทราบ โดยโครงการที่สำคัญ คือการลงทุนรถไฟทางคู่

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า ในวันเดียวกันนายคีรี กาญจน์พาสน์ ประธานบริหารบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) ได้เข้าพบและแสดงความสนใจร่วมบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต รวมทั้งเสนอขอเข้าร่วมลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร แต่เรื่องนี้มอบให้ไปหารือกับนายรณชิต แย้มสะอาด รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2014 10:11 am    Post subject: Reply with quote

สุดยอดไอเดียออกแบบ "สถานีไฮสปีดเทรน" กทม.-เชียงใหม่ "ประจิน"ปิ๊งนำมาต่อยอดรถไฟทางคู่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 ตุลาคม 2557 เวลา 20:34:43 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2557 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มอบรางวัลมอบรางวัล และเปิดนิทรรศการแสดงผลงานการประกวดแนวคิดการออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ “อัตลักษณ์สร้างคุณค่า” (Identity Creates Value)

โดยมีรางวัลให้ผู้ชนะแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับอาชีพ เป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และ ระดับสมัครเล่น คือนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป มีเงินรางวัลแบ่งออกเป็น 3 สถานี สถานีละ 3 รางวัล ได้แก่
1.1 รางวัลที่ 1 รางวัลละ 40,000 บาท
1.2 รางวัลที่ 2 รางวัลละ 25,000บาท และ
1.3 รางวัลที่ 3 รางวัลละ 15,000 บาท

นอกจากนี้ ยังมีรางวัล popular vote อีก 1 รางวัลต่อสถานี รางวัลละ 10,000 บาท มูลค่าเงินรางวัลทั้งสิ้นรวม 510,000 บาท

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การประกวดแนวคิดการออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูงครั้งนี้ เพื่อให้ประชาชน นิสิต และนักศึกษา มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ผ่านการออกแบบอัตลักษณ์ภายในสถานีรถไฟให้มีความงาม สื่อถึงเอกลักษณ์ไทย สร้างเสน่ห์ดึงดูดให้คนจดจำ ช่วยเพิ่มมูลค่าในการให้บริการระบบรถไฟของประเทศไทย

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า "ผลงานการประกวดที่ได้รับรางวัลในระดับต่างๆ นี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประกอบการออกแบบสถานีรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐานหรือ Standard Gauge ตามยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและแนวนโยบายการพัฒนารถไฟทางคู่ของประเทศไทยต่อไป"

รถไฟทางคู่เป็นการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน โดยมีขนาดทางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร ในระยะแรก กำหนดให้ใช้ความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง รองรับน้ำหนักขบวนรถสินค้า น้ำหนักลงเพลา 20 ตันต่อเพลาได้ เป็นการพัฒนาเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในด้านความปลอดภัย ความสะดวกรวดเร็ว และความเชื่อมั่นในการขนส่งสินค้าและการเดินทางให้กับประชาชน พร้อมทั้งสร้างบูรณภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต

"ปี2558 จะออกแบบรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตรเสร็จ ในยุทธศาสตร์มี 2 สายทางเพื่อเชื่อมการค้ากับประเทศจีนในอนาคตที่หนองคายและเชียงของ" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

สำหรับประกวดแนวคิดการออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ ทาง สนข.เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2557 ใน 3 สถานี ได้แก่ สถานีพิษณุโลก (น่าจะเป็นสถานีสุโขทัยหละมากกว่า) สถานีลำปาง และสถานีเชียงใหม่ มีผู้สนใจส่งผลงาน เข้าประกวดรวม 52 ผลงาน

จากผลการตัดสินของคณะกรรมการ ได้แก่
1.ระดับสมัครเล่น

1.1 “สถานีเชียงใหม่” ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานของนางสาวอิชยา ปิยสุนทราวงษ์ และ นายนพัตธร จิตวีรภัทร จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีแนวคิดการออกแบบที่ได้แรงบันดาลใจจาก “การไหว้” ที่แสดงถึงความเคารพ ต้อนรับ ขอพร และการขอบคุณ ส่วนการออกแบบตัวอาคาร เน้นให้มีความอ่อนน้อมต่อบริบทรอบข้างอย่างลงตัว

1.2. “สถานีลำปาง” มีเฉพาะรางวัลที่ 3 ได้แก่ผลงานของนายเอกพล ลอเรืองโชค และนางสาวมุฑิตา พรเสริมสุข จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ

1.3. “สถานีพิษณุโลก” (น่าจะเป็นสถานีสุโขทัย) ไม่มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ สำหรับรางวัลที่ 2 เป็นผลงานของนางสาวจุฑามาศ มาตุเวช และ นางสาวชนิตา วรรณมาศจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และรางวัลที่ 3 เป็นผลงานของนายธนธรณ์ ภูหริรักษ์สกุล และนายภคพล ทิพยรัตน์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

2.ส่วนระดับอาชีพ

2.1 “สถานีเชียงใหม่” ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

2.2 “สถานีลำปาง” มีผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานของนายพิษณุ ฟูใจ จากบริษัทจุติ อาร์คิเท็คส์ จำกัด ได้แนวคิดจากสถาปัตยกรรมล้านนา โดยการนำเอกลักษณ์ของลำปางมาตกแต่งภายในอย่างครบครัน เช่น ซุ้ม ร่ม ส่วนรางวัลที่ 2 และ 3 ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

2.3 “สถานีพิษณุโลก” ไม่มีผู้ได้รับรางวัลทั้งชนะเลิศและรางวัลที่ 2 ส่วนรางวัลที่ 3 ได้แก่ผลงานของนายพงศ์ธร ธาราไชย , นายธานินทร์ ศรีเบญจรัตน์ และนายไชบูน ลิม จาก บริษัท สวอน แอนด์ แมคคลาเรน (ประเทศไทย) จำกัด มีแนวคิดจากการนำสภาพแวดล้อมมาเป็นแรงบันดาลใจแล้วนำเสนอดีไซน์มุ่งสู่อนาคต

3. ส่วนรางวัล Popular Vote
3.1 “สถานีเชียงใหม่” เป็นผลงานของนางสาวอิชยา ปิยสุนทราวงษ์ และ นายนพัตธร จิตวีรภัทร ได้คะแนนโหวต 516 คะแนน

3.2 “สถานีลำปาง” เป็นผลงานของนายพิษณุ ฟูใจ ได้คะแนนโหวต 638 คะแนน และ
3.3 “สถานีพิษณุโลก” เป็นผลงานของ นางสาวจุฑามาศ มาตุเวช และ นางสาวชนิตา วรรณมาศ ได้คะแนนโหวต 542 คะแนน

สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมผลงานที่ได้รับรางวัล และผลงานการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงทั้ง 52 ชิ้น ได้ ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค. – 10 พ.ย. 2557

รายละเอียดเพิ่มเติมเชิญชมได้ที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/hispeedchiangmaiphase2
https://www.facebook.com/hispeedchiangmaiphase2/posts/730170777069032
http://www.youtube.com/watch?v=jJv1fj6tOjM
http://www.thaihispeedtrain.com/chiangmai_phase2/index.php

[youtube.http://www.youtube.com/v/NQ0quoRcz44[/youtube.]
วิดีโอรถไฟความไวสูง
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=NQ0quoRcz44
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/10/2014 11:36 am    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์ประกอบการสัมมนาครั้งที่ 3 รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ระยะที่ 2
Daoreuk Studio Oct 26, 2014

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2014 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เดินหน้าเปิดเวทีรถไฟความเร็วสูงพิษณุโลก-เชียงใหม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2557 14:49 น.



สุโขทัย - สนข.เดินหน้าเปิดเวทีนำเสนอสรุปผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 (พิษณุโลก-เชียงใหม่) ก่อนชง EIA เสนอ สผ.ต่อ

วันนี้ (28 ต.ค.) นายปิติ แก้วสลับสี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานเปิดงานสัมมนานำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการ และออกแบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ เพื่อสรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวกับผลการศึกษาโครงการ ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การลงทุน และสิ่งแวดล้อม พร้อมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ที่โรงแรมไพลินสุโขทัย

โดยมีการนำเสนอสาระสำคัญของผลการศึกษาโครงการในทุกด้าน ประกอบด้วยแนวเส้นทางผ่าน 6 จังหวัด มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และสถานีเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ มีจุดเริ่มต้นที่สถานีพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ไปสิ้นสุดที่สถานีเชียงใหม่

แนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงพิษณุโลก-ลำปาง ออกจากสถานีพิษณุโลก ใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิมตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 จากนั้นเลี้ยวซ้ายผ่าน อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เข้าสู่ อ.กงไกรลาศ และสถานีสุโขทัย และเข้าสู่สถานีศรีสัชนาลัย แล้วเบี่ยงขวาผ่าน อ.วังชิ้น อ.ลอง จ.แพร่ ไปตามเส้นทางที่กำหนดจนถึงสถานีเชียงใหม่

สำหรับผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ พบว่ามีความเหมาะสมในการลงทุน โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจร้อยละ 13.19 มูลค่าการลงทุน 226,574.46 ล้านบาท กำหนดค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เบื้องต้นเฉลี่ย 2 บาท/กม. เมื่อเดินทางจากสุโขทัย-เชียงใหม่ มีค่าโดยสาร 414 บาท/เที่ยว ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 8 นาที

ภายหลังการสัมมนาครั้งที่ 3 แล้ว สนข.จะนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน และนำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป

//-------------------------------------

สรุปผลศึกษารถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 28 ตุลาคม 2557 เวลา 14:13:17 น.


วันที่ 28 ตุลาคม ที่โรงแรมไพลิน จังหวัดสุโขทัย นายปิติ แก้วสลับสี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานเปิดงานสัมมนานำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการและออกแบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ เพื่อสรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวกับผลการศึกษาโครงการ ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การลงทุนและสิ่งแวดล้อม แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาพร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิษณุโลกเข้าร่วมสัมมนากว่า 400 คน

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ ได้นำเสนอสาระสำคัญของผลการศึกษาโครงการฯ ในทุกด้าน ประกอบด้วยแนวเส้นทางโครงการณ ผ่าน 6 จังหวัด มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย สถานีศรีสัชนาลัย สถานีลำปาง สถานีลำพูนและสถานีเชียงใหม่ โดยส่วนใหญ่เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ มีจุดเริ่มต้นที่สถานีพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ระยะที่ 1 (กรุ่งเทพฯ – พิษณุโลก) ไปสิ้นสุดที่สถานีเชียงใหม่ มีแนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงพิษณุโลก – ลำปาง ออกจากสถานีพิษณุโลกใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 จากนั้นเลี้ยวซ้าย ผ่าน อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เข้าสู่ อ.กงไกรลาศ และสถานีสุโขทัย และเข้าสู่สถานีศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย แล้วเบี่ยงขวาผ่าน อ.วังชิ้น อ.ลอง จ.แพร่ ไปตามเส้นทางที่กำหนดจนถึงสถานีเชียงใหม่

สำหรับผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจของการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ช่วงพิษณุโลก – เชียงใหม่ พบว่ามีความเหมาะสมในการลงทุน โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 13.19 มูลค่าการลงทุน 232,411.88 ล้านบาท โดยกำหนดค่าโดยสารจากกรุ่งเทพฯ – เชียงใหม่ เบื้องต้นเฉลี่ย 2 บาท / กม. เมื่อเดินทางจาก สุโขทัย – เชียงใหม่ มีค่าโดยสาร 414 บาท / เที่ยว ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 8 นาที

ภายหลังการสัมมนาครั้งนี้ (ครั้งที่ 3) สนข.จะนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนและนำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดโครงการฯเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.thaihispeedtrain.com/chiangmai_phase2/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 183, 184, 185 ... 542, 543, 544  Next
Page 184 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©