Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311276
ทั่วไป:13258054
ทั้งหมด:13569330
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โทรทัศน์สีมีเรื่องจะคุย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โทรทัศน์สีมีเรื่องจะคุย
Goto page 1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/10/2014 10:24 pm    Post subject: โทรทัศน์สีมีเรื่องจะคุย Reply with quote

สวัสดีครับ...

ผมเพิ่งเซ็นรับคูปองเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตัล จาก กสทช. มูลค่า 690 บาท มาหนึ่งฉบับครับ ต่อจากนี้ไปก็นำคูปองนี้กับสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนพร้อมรับรองไปแลกซื้อกล่อง setbox จากร้านค้าที่มี sticker รับแลก ซึ่งกำลังสืบข่าวค้นหาอยู่ว่าอยู่ตรงไหนบ้าง รับกล่อง setbox มาชื่นชมปรารถนาต่อไป

คูปองนี้จะหมดเขตในวันที่ 31 พฤษภาคม 2558 และการนำคูปองแลกนั้นต้องแลกคนละชุด ห้ามนำไปเป็นโหลๆ เพราะทางการเกรงว่าจะมีการกว้านซื้อจากชาวบ้านมาแลกไปจำหน่ายอีกต่อหนึ่งนะครับ

และในเวลาใกล้เคียงกัน ผมได้รื้อหนังสือเก่าที่บ้าน ตจว.และเจอหนังสือ "ความรู้คือประทีป" ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอสโซ่ สแตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด ได้พิมพ์แจกเป็นมิตรพลีแก่ผู้มีอุปการะคุณ ช่วงปี พ.ศ.2510 - 2513 ซึ่งผมได้ขอลืมมาจากบ้านญาติอีกต่อหนึ่ง Razz

ที่เก็บไว้นานจนเกือบลืมเพราะพิมพ์ด้วยกระดาษหนา จัดรูปเล่มแบบ pop art คุมทีมโดยคุณ วิตต์ สุทธิเสถียร พ่อของคุณนันทนา เงากระจ่าง อดีตนางเอกหนังไทยในสมัยหนึ่งนั่นแหละครับ ซึ่งมีเรื่องราวเก่าๆ ที่น่าสนใจในนั้นอยู่หลายเรื่องด้วยกัน และผมจะทะยอยนำมาลงเผยแพร่ตามแต่โอกาสต่อไป

สำหรับเรื่องราวที่ขอนำมาชิมลางในวันนี้ เห็นจะเป็นเรื่องโทรทัศน์สีในประเทศไทย จัดทำโดยบริษัทกรุงเทพวิทยุและโทรทัศน์ หรือ BB TV ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 โดยที่ในสมัยนั้น เราเคยชินอยู่กับสถานีโทรทัศน์ไทยโทรทัศน์ ช่อง 4 และสถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 ซึ่งเป็นระบบ 525 เส้น (ขาวดำ) พอเขาพูดเรื่องโทรทัศน์สีที่มีสีสันพราวพรายแล้ว ตื่นเต้นกันทั้งบ้านทั้งเมืองว่าเป็นยังไงหนอ ? แถมมีข่าวว่าถ้าดูมากๆ อาจทำให้ผู้หญิงเป็นหมันได้ ทำเอาคุณประยูร จรรยาวงศ์ เขียนการ์ตูนล้อเป็นรูปสุภาพสตรีหันก้นให้โทรทัศน์เป็นแถว สุดท้ายก็เป็นข่าวลือ

สำหรับผู้คนสมัยนี้ คงเป็นเรื่องที่ไม่น่าตื่นเต้นเลย เพราะโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ก็เป็นจอสีหมดแล้ว แถมโทรทัศน์ยังเป็นระบบดิจิตัลออกอากาศผ่านดาวเทียมอีกด้วย แต่ในสมัยโน้น ขนาด ทีวี.ที่เปิดดู ต้องรอให้หลอดวงจรร้อนก่อนร่วม 3 นาที มิได้เปิดปุ๊บ ติดปั๊บเช่นทุกวันนี้ โทรทัศน์สียังเป็นระบบอนาล็อก มีปืนอิเล็กตรอนยิงภาพร่วม 3 หลอดด้วยกัน ราคา ทีวี.สี ขณะนั้นเครื่องละ 12,000 บาท ทีวี.ขาวดำ เครื่องละ 6,000 บาท ทองคำราคาบาทละ 400 บาท การถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมมีเพียงดาวเทียมอินเทลแซท ผ่านสถานีถ่ายทอดของกรมไปรษณีย์โทรเลขที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จะได้ดูคราวชกมวยชิงแชมป์โลก หรือมนุษย์อวกาศไปเหยียบดวงจันทร์เท่านั้น

ฟังคนรุ่นเก่าเขาเล่าเรื่องโทรทัศน์สีกันดีกว่า...


Last edited by black_express on 18/10/2014 10:53 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/10/2014 10:28 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

โทรทัศน์สีมีเรื่องจะคุย

โดย เรวดี เทียนประภาส กรรมการผู้จัดการ BBTV – Colour

พิมพ์ในหนังสือ ความรู้คือ “ประทีป” หนังสือวิทยาทานพิมพ์แจกเป็นมิตรพลี บริษัท เอสโซ่ สแตนดาร์ด ประเทศไทย จำกัด


Click on the image for full size

การส่งโทรทัศน์ คือ การเปลี่ยนภาพหรือที่ถูกก็คือแสงสะท้อนจากภาพ ให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าด้วยหลอดภาพถ่าย แล้วแปลงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่งออกอากาศไปยังเครื่องรับ

Click on the image for full size

การส่งโทรทัศน์สีก็ขึ้นอยู่กับหลักเดียวกันนี้ เป็นแต่เพียงว่ามีกรรมวิธีสลับซับซ้อนเพิ่มขึ้นเพื่อให้ภาพขาวดำที่แลเห็นในจอโทรทัศน์ธรรมดา กลายเป็นภาพที่สวยสดงดงามตามธรรมชาติ ทั้งนี้ ด้วยการแยกสีของแสงสะท้อนที่ผ่านเข้ามาในเลนซ์โดยแก้วแยกสี หรือที่เรียกทับศัพท์ว่า “แก้วปริซึ่ม” ออกเป็นแสงสีในกลุ่มแม่สี คือ แดง เขียว น้ำเงิน ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนแสงสีทั้งสามให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า โดยหลอดถ่ายภาพ ๔ หลอดด้วยกัน คือ

๑.หลอดถ่ายภาพขาวดำ
๒.หลอดถ่ายภาพสีแดง
๓.หลอดถ่ายภาพสีเขียว
๔.หลอดถ่ายภาพสีน้ำเงิน

แล้วจึงส่งออกอากาศเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/10/2014 10:33 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

คงเป็นที่สังเกตเห็นแล้วว่า แม่สีทางโทรทัศน์แตกต่างกับทางฝ่ายศิลปกรรม ที่จิตรกรทุกนายใช้ แดง เหลือง น้ำเงินเป็นแม่สี ส่วนสีวิจิตรพิสดารอื่นๆ ทุกสีเกิดจากการรวมของแม่สีทั้งสามนี่เอง เช่น สีเขียว ได้จากการผสมสีน้ำเงินกับสีเหลืองเข้าด้วยกัน สีม่วง ได้จากการผสมสีแดงกับสีน้ำเงิน เป็นต้น

Click on the image for full size

เรื่องราวของสีในโทรทัศน์ ไม่มีอะไรที่พอจะเรียกได้ว่าคล้ายคลึงกับด้านศิลปะ

ประการแรกทีเดียว ได้แก่ การผสมสีของเครื่องรับโทรทัศน์ซึ่งความจริงหาใช่การผสมสีไม่ ตามหลักการและข้อเท็จจริงแล้ว จะต้องเรียกว่าการผสมแสงจะถูกต้องกว่า คำอธิบายง่ายๆ ก็คือ แสงสว่างของพระอาทิตย์ซึ่งเปรียบเสมือนสีขาว เมื่อผ่านแท่งแก้วแยกสี แสงจะหักเหออกเป็นเจ็ดสีเหมือนสีรุ้ง ในบรรดาสีทั้งเจ็ดนี้ ตามหลักวิชาแสงถือว่า มีแม่สีอยู่เพียงสามสีเท่านั้น คือ แดง เขียว น้ำเงิน เพราะถ้านำสีทั้งสามมาผสมกันในอัตราส่วนที่ถูกต้อง สีที่เกิดขึ้นจะเป็นสีขาว นี่คือที่มาของสีในโทรทัศน์

Click on the image for full size

นอกจากนั้น ยังมีรายละเอียดอีกประการหนึ่งที่ควรนำมากล่าวไว้ในที่นี้ก็คือ สีสันอันแพรวพรายอื่นๆ นอกเหนือไปจากแม่สีทั้งสามของโทรทัศน์ดังกล่าวแล้ว เกิดจากผลต่างของแม่สีผสมกัน ไม่ใช่มาจากผลรวมของแม่สีอย่างวิธีของฝ่ายศิลปะ แสงสีต่างๆ ของโทรทัศน์มีที่มา ดังนี้

สีเหลือง เกิดจากผลต่างของ สีแดง กับ สีเขียว
สีฟ้า เกิดจากผลต่างของ สีเขียว กับ สีน้ำเงิน
สีชมภู เกิดจากผลต่างของ สีแดง กับ สีน้ำเงิน ในกรณีที่มีสีแดงมากกว่า
สีม่วง เกิดจากผลต่างของ สีแดง กับ สีน้ำเงิน ในกรณีที่มีสีน้ำเงินมากกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/10/2014 10:38 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

คุณลักษณะของสีที่สำคัญมีอยู่ ๓ ประการ คือ

๑.ความสว่าง (Brightness) ซึ่งเป็นเรื่องที่คุ้นเคยต่อสายตามาแล้วในภาพขาวดำหรือโทรทัศน์ขาวดำ คือ ภาพขาวดำนั้น ได้มาจากการเอาจุดขาวกับจุดดำมาเรียงกันเข้าอย่างได้สัดส่วนก็จะทำให้เกิดเป็นภาพขาวดำขึ้น และถ้าจุดขาวดำนี้ละเอียดหรือเล็กมาเท่าใด ภาพที่ปรากฏจะยิ่งชัดมากขึ้นเท่านั้น สำหรับโทรทัศน์สี ก็เปลี่ยนมาใช้จุดแม่สีทั้งสามเรียงกัน โดยความเข้มที่ต่างกัน
๒.ความต่างกันของสี (Hue) หมายถึงความแตกต่างของเนื้อสีที่ในสายตาเราบอกให้ทราบ เช่น สีแดง สีเขียว สีฟ้า เป็นต้น
๓.ความเข้มของสี (Saturation) หมายถึง สีต่างๆ ที่เราแลเห็น บางทีอาจเป็นสีตระกูลเดียวกัน แต่มีความเข้มต่างกันเมื่อเทียบกับสีขาว ตัวอย่างเช่น สีแดงกับสีชมพูเป็นสีตะกูลเดียวกัน แต่มีความเข้มต่างกัน

Click on the image for full size

ด้วยวิธีการดังกล่าว และด้วยกลไกอันประณีตสลับซับซ้อนของเครื่องอีเลคโทรนิคอันมีมูลค่าแพงลิบลิ่ว สถานีโทรทัศน์สีจึงสามารถแพร่ภาพได้ในลักษณะที่ทั้งภาพและสีเหมือนจริงมากทีเดียว แต่ที่ปรากฏทางเครื่องรับผิดเพี้ยนกันไปบ้างนั้น เพราะมูลเหตุหลายประการ คือ

๑.สภาพดินฟ้าอากาศ มีผลกระทบกระเทือนต่อการแพร่ภาพมาก เช่น ขณะที่อากาศร้อนจัดหรือฝนตก ภาพที่ปรากฏทางเครื่องรับจะไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
๒.ประสิทธิภาพของเครื่องรับ เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความประณีตและวงจรพิเศษต่างๆ ซึ่งผู้ประดิษฐ์ได้ประกอบขึ้นมา
๓.การปรับสีตามความพอใจของผู้ชม เนื่องจากเครื่องรับทุกเครื่องมีปุ่มปรับสี ผู้ชมบางท่านอาจชอบสีอ่อน แก่ จาง หรือเข้ม ไม่เท่ากัน สีที่ปรับย่อมเป็นไปตามความพอใจของแต่ละบุคคล
๔.ความสมบูรณ์ของการปรับเครื่อง ย่อมขึ้นอยู่กับเทคนิค เนื่องจากอุปกรณ์ส่วนใหญ่ของเครื่องรับโทรทัศน์ประกอบด้วยสนามแม่เหล็ก ฉะนั้น เมื่อมีการเคลื่อนย้าย อนูของสนามแม่เหล็กย่อมสั่นสะเทือนและเปลี่ยนทิศทางไปบ้าง จึงควรให้ช่างเทคนิคปรับเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
๕.การติดตั้งและทิศทางของเสาอากาศ ต้องตั้งเสาอากาศให้ตรงกับทิศทางที่ถูกต้อง
๖.ความสูงของเสาอากาศ โดยที่การส่งโทรทัศน์เป็นการส่งแบบคลื่นระดับสายตา (Line of Sight) จึงต้องคำนึงถึงความสูงของเสาอากาศด้วย

Click on the image for full size

กิจกรรมของโทรทัศน์ มีกรรมวิธี ๓ อย่าง คือ

๑.รายการภายใน เป็นรายการซึ่งจัดทำภายในห้องส่งโดยตรง หรือจากเทปบันทึกภาพ หรือจากภาพยนตร์ก็ได้
๒.รายการภายนอก เป็นรายการซึ่งจัดภายนอกสถานี จะเป็นรายการถ่ายทอดออกอากาศโดยตรงในขณะนั้น หรือจะบันทึกเทปเอาไว้ หรือ
จะถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ แล้วนำไปออกอากาศภายหลังก็ได้
๓.ระบบตรวจสอบ ใช้วงจรปิดด้วยทางสาย เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยเป็นการภายในก่อนออกอากาศ
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/10/2014 10:40 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ระบบสีของโทรทัศน์สีมีอยู่ ๓ ระบบ คือ

๑.ระบบ NTSC (National Television System Commette) ๕๒๕ เส้น เป็นระบบที่คิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอเมริกา และเนื่องจากเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่เอี่ยมนี่เอง จึงยังมีข้อบกพร่องอยู่บ้าง คือสีที่ปรากฏทางเครื่องรับจะไม่คงที่ อาจจะเปลี่ยนเป็นเข้มขึ้น หรือค่อยจางลง เป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ หรือไม่ก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากสีหนึ่งไปอีกสีหนึ่งวนเวียนตลอดเวลา ไม่สามารถจะบังคับสีให้คงที่เหมือนจริงได้ตลอดไป ซึ่งเรื่องนี้ทางสหรัฐฯ ก็อยากจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเหมือนกัน แต่เนื่องจากเครื่องรับโทรทัศน์ระบบดังกล่าวได้ออกสู่ตลาดมาแล้วเป็นจำนวนมากมายหลายล้านเครื่อง จึงเป็นต้นเหตุสำคัญให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงกระทำได้ลำบาก

Click on the image for full size

๒.ระบบ PAL ( Phase Alternation Line) ๖๒๕ เส้น เป็นระบบที่คิดขึ้นในเยอรมัน ภายหลังได้ศึกษาวิชาการของระบบ NTSC มาเป็นเวลากว่า ๑๐ ปี โดยใช้พื้นฐานของระบบ NTSC มาปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้น ฉะนั้น จึงขจัดข้อบกพร่องต่างๆ ออกไปได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสีของระบบนี้สามารถจะบังคับให้คงที่อยู่ได้ และเป็นระบบเดียวกันที่ใช้ในโทรทัศน์สีของประเทศไทยในปัจจุบันนี้

Click on the image for full size

๓.ระบบ SECAM (Sequential Couleur A Memoire) ๘๑๙ เส้น นัยว่าเป็นระบบสีที่ดีมากระบบหนึ่ง แต่ไม่เหมาะในการใช้เพราะทางเทคนิคสูงมาก จึงยุ่งยากในทางปฏิบัติและบำรุงรักษา นอกจากเครื่องส่งจะมีราคาแพงลิบลิ่วแล้ว เครื่องรับก็มีราคาสูงตามไปด้วย ตามหลักเศรษฐกิจทั่วๆ ไป ระบบนี้จึงยังไม่แพร่หลายนัก
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/10/2014 10:43 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

หัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งของโทรทัศน์ก็คือ ระบบเส้นการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ ในครั้งแรกเริ่มในระบบ ๔๒๕ เส้น แล้วค่อยวิวัฒนาการไปเรื่อยๆ ไปเป็น ๕๒๕ เส้น ๖๒๕ เส้น และในปัจจุบันมีมากถึง ๘๑๙ เส้น ยิ่งมีจำนวนเส้นมากขึ้นเท่ใด ภาพที่ปรากฏทางเครื่องรับจะชัดยิ่งขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เอง ทั้งสถานีไทยโทรทัศน์ (ช่อง ๔) และสถานีโทรทัศน์กองทัพบก (ช่อง ๗) ซึ่งแพร่ภาพอยู่ในระบบ ๕๒๕ เส้น กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบ ๖๒๕ เส้น ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานโลก เพราะนอกจากภาพจะมีความชัดเจนดีมากแล้ว ราคาทุนของเครื่องรับ – ส่ง ก็ไม่แพงจนเกินไปนัก

Click on the image for full size

สำหรับเครื่องรับโทรทัศน์ ขาว – ดำ ที่ใช้อยู่ในเมืองไทยขณะนี้ เป็นระบบ FCC (Federal Communication Commission) ๕๒๕ เส้น ถ้าต้องการจะรับสัญญาณ ๖๒๕ เส้น ระบบ CCIR ของสถานีโทรทัศน์สีช่อง ๗ ต้องหมุนไปที่ช่อง ๙ จึงจะรับภาพได้ เพราะเครื่องรับโทรทัศน์ขาว – ดำ ระบบ FCC รับภาพซึ่งส่งด้วยความถี่ภาพ ๑๘๗.๒๕ เมกกะไซเกิล แต่สถานีโทรทัศน์สีช่อง ๗ ระบบ CCIR ส่งภาพด้วยขนาดคลื่น ๑๘๙.๒๕ เมกกะไซเกิล นับเป็นขนาดคลื่นที่ใกล้เคียงกันมาก

เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกันก็คือเรื่องเสียง เนื่องจาก ไอเอฟ (IF) ภาคเสียงของระบบ FCC เป็น ๔.๕ เมกกะไซเกิล แต่ไอเอฟ (IF) ภาคเสียงของระบบ CCIR นั้น เป็น ๕.๕ เมกกะไซเกิล จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขโดยใช้ออสซิลเลเตอร์ (Oscillator) ทำความถี่ ๑ เมกกะไซเกิล ส่งเข้าไปบีท (Beat) กับ ๔.๕ เมกกะไซเกิล หรือให้เหลือเพียง ๔.๕ เมกกะไซเกิลเสียก่อน จึงจะสามารถรับฟังเสียงได้ตามปกติ

สำหรับเครื่องรับที่ไม่มีเสียงหรือยังไม่ได้ปรับเสียง จะรับฟังเสียงได้จากวิทยุด้วยขนาดคลื่น ๙๖๘ กิโลไซเกิล ของภาค เอ.เอ็ม หรือ ๙๘.๐ เมกกะไซเกิล ของภาค เอฟ.เอ็ม. ซึ่งเป็นภาษาอังกฤษ

(ช่างหลายคนร่ำรวยจากการรับจ้างใส่เสียงให้โทรทัศน์รุ่นเก่าด้วยเหตุนี้ แรกๆ ถึงครั้งละ 100 บาททีเดียว และวิทยุที่ถ่ายทอดเสียงคราวโน้น กลายเป็นวิทยุของค่ายเพลงต่างๆ ที่ประมูลสัมปทานได้ไปแล้วครับ)
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 18/10/2014 10:45 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๗ เริ่มทดลองแพร่ภาพเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๐ ด้วยคุณลักษณะทางเทคนิค ดังนี้

มาตรฐานสัญญาณ ระบบเส้นเป็นระบบ CCIR (Commite Coneultatief International des Radiocomunication) ๖๒๕ เส้น ระบบสี PAL
เสาอากาศสูง ๗๐.๕๐ เมตร
ความถี่ภาพ ๑๒๙.๒๕ เมกกะไซเกิล
ความถี่สี ๑๘๔.๘๑๖๓๘๑๒๕ เมกกะไซเกิล
ความถี่เสียง ๑๙๔.๗๕ เมกกะไซเกิล
กำลังออกอากาศ (ERP) ๘๐๐ วัตต์
รัศมีรับสัญญาณ ๔๐ – ๕๐ กิโลเมตร

ครั้นเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๗ ได้เปลี่ยนเครื่องส่งใหม่ ซึ่งมีกำลังส่งออกอากาศ (ERP) ๒๕ กิโลวัตต์ รัศมีรับสัญญาณประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร ซึ่งจากการติดตามผลงานอย่างใกล้ชิดของเจ้าหน้าที่ ปรากฏว่าในจังหวัดใกล้เคียง อาทิ ลพบุรี เพชรบุรี พัทยา สามารถรับได้ทั้งภาพและเสียงได้อย่างชัดเจน

Click on the image for full size

ก้าวต่อไป... สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง ๗ ได้วางแผนงานปรับปรุงไว้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางของประชาชนทั่วประเทศ ขณะนี้ได้เตรียมติดตั้งเครื่องส่งใหม่อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งมีกำลังออกอากาศมากถึง ๒๕๐ กิโลวัตต์ เสาอากาศสูงที่สุดเท่าที่เคยมีในประเทศไทย คือ ๗๐๐ ฟุต กำหนดจะเสร็จเรียบร้อย และแพร่ภาพได้ในราวเดือนพฤศจิกายน ๒๕๑๑ เป็นอย่างช้า เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศสามารถรับชมโทรทัศน์สีได้อย่างทั่วถึง และได้รับผลสมบูรณ์จริงๆ.
Back to top
View user's profile Send private message
ksomchai
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 08/04/2009
Posts: 6384
Location: เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าว สัปรด สวยสดหาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ ป่าชุ่มน้ำผืนใหญ่ แหล่งวางไข่ปลาทู

PostPosted: 18/10/2014 11:22 pm    Post subject: Reply with quote

Laughing อยู่บ้านนา..อย่างผมสมัยก่อนไม่เคยเห็นโทรทัศน์เลย ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร เท่าที่จำความได้ ได้ดูโทรทัศน์ครั้งแรก
เมื่อมีการถ่ายทอด อพอลโล่ ๑๑ ไปจอดที่ดวงจันทร์โดยมี นีล อาร์มสตรอง ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์นั่นแหละ ครับ
ตอนนั้นไปเรียนหนังสืออยู่ในเมืองบางตะพาน เลยมีโอกาสได้ดูโทรทัศน์ข้าง ๆ บ้าน ตอนนั้นโทรทัศน์ยังเป็นขาว-ดำ
ไม่มีสถานีถ่ายทองโทรทัศน์ในส่วนภูมิภาค ต้องรับสัญญาณจากกรุงเทพฯ และต้องตั้งเสาอากาศสูง ๆ
ปัจจุบันเสาอากาศสูง ๆ ก็ยังมีอยู่ให้เห็นบ้าง ผมเคยถามเจ้าของบ้านที่มีเสาสูง ๆ ทำไมไม่เอาลง ยังใช้อยู่หรือเปล่า?

คำตอบก็คือ ไม่ได้ใช้แล้วและไม่มีช่างเอาลงให้เสี่ยงมาก พลาดล้มมาถูกสายไฟแรงสูง ตายลูกเดียว
ช่วงพายุเกย์ เสาสูง ๆ ล้มไปเยอะแล้วน่ะ ครับ
_________________
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Send e-mail
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 19/10/2014 12:42 am    Post subject: Reply with quote

ขอบคุณที่นำเรื่องเกี่ยวกับโทรทัศน์สีมาคุยครับ ผมขอเพิ่มเติมให้เรื่องทฤษฎีสีนะครับ

การผสมสีของจอทีวีเป็นแบบบวกครับ คือเกิดจากแม่สีของแสงรวมกันจริงๆ ดังภาพข้างล่าง
Click on the image for full size
จากภาพ พิสูจน์ได้ว่า ถ้ารวมแม่สีทั้ง 3 จะได้สีขาว
ซึี่งเหตุที่เรามองเห็นเป็นสีขาวนั้น เกิดจากเซลส์รับแสงในลูกตาที่แยกรับเป็น 3 สี เมื่อแสงที่เข้ามามีครบทั้งสามสี ตาเรา หรือประสาทในสมองเราก็จะตีความว่าเป็นสีขาวครับ ซึ่งแน่นอนว่า เซลส์รับแสงแม่สีของแต่ละคนก็รับรู้แสงไม่เท่ากัน ก็เลยทำให้มีคนตาบอดสี คือมองเห็นสีเดียวกับเราแล้วบอกว่าต่างกัน พูดง่ายๆ ก็คือ เขาก็เห็นสีขาวแตกต่างจากเรานั่นเอง ถ้าเป็นเรื่องกล้องเขาเรียกว่า White Balance มีปัญหาครับ


ส่วนการผสมสี บนวัตถุ หรือหมึกนั้นเป็นการผสมแบบลบแสดงตามแผนภาพข้างล่างนี้
Click on the image for full size
คือสีแต่ละสีที่เราเห็นนั้นเป็นการสะท้อนจากวัตถุที่ดูดกลืนแม่สีตรงข้ามไป 1 สี (เพราะแสงในธรรมชาติที่ดูไม่มีสีนั้นจะประกอบด้วยแม่สี 3 สีเสมอ) ทำให้เหลือผลรวมของแม่สีอีก 2 สีแทน และตั้งเป็นแม่สีแบบลบไป (ยกตัวอย่างสีเหลือง เกิดจากแม่สีแดง และแม่สีเขียวผสมกัน ซึ่งมองอีกแบบหนึ่งก็คือ ขาดแม่สีน้ำเงินไป ซึ่งหมึกสีเหลืองที่เราเห็นก็คือ หมึกได้ดูดกลืนสีน้ำเงินนั่นเอง) เมื่อเราแม่สีแบบลบมาผสมกัน 2 สี ก็คือการเพิ่มการดูดกลืนแม่สีเข้าไปอีก 1 สี เช่น เอาหมึกสีเหลืองมารวมกับสีม่วง ก็จะได้สีแดง เพราะ สีเหลืองดูดแม่สีน้ำเงิน ม่วงดูดแม่สีเขียว เลยเหลือแม่สีแดงเท่านั้น และแน่นนอนถ้าหากเรานำแม่สีแบบลบมารวมกันทั้ง 3 จะได้สีดำคือ ไม่มีสีใดๆ หลุดออกมานั่นเองครับ ความจริงเราสามารถทดลองได้ง่ายในทางปฏิบัติคือใช้แผ่นฟิลเตอร์สีฟ้า ม่วง เหลือง ที่มีลักษณะกลมๆ มาวางซ้อนกัน ถ้าหากเขาออกแบบให้ตัดแม่สีได้ตรงเป๊ะ ก็จะทำให้ ฟิลเตอร์ 3 อันที่ซ้อนกัน ดูมืดทันทีครับIdea (คงเข้าใจนะครับว่าฟิลเตอร์สีใด ก็จะตัดแม่สีฝั่งตรงข้ามออกไป)

เรื่องการผสมสีสองแบบนี้ ผมเองก็เพิ่งเข้าใจตอนนี้เอง ครับ ตอนเรียนหนังสือก็จำไปสอบเท่านั้น


Last edited by mirage_II on 19/10/2014 2:23 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 19/10/2014 1:41 am    Post subject: Reply with quote

คุณสมชายครับ สำหรับความทรงจำเรื่องทีวี ที่บ้านเกิดของผมนั้น ถือว่าเป็นเรื่องตื่นเต้นมาก

สมัยเด็กๆ ที่ยังเรียนชั้นประถมต้น บ้านผม ต.ดงขุย อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ นั้น ยังไม่มีไฟฟ้าจากเขื่อนมาใช้ (นิยมเรียกว่าไฟหลวง) ต้องปั่นกันเอง โดยมีโรงไฟฟ้าอยู่ไม่ไกลจากชุมชน ตอนใกล้ค่ำ เขาจะติดเครื่องปั่นไฟ บางทีได้ยินเสียงมาถึงบ้านผมเลยนะครับ เพราะส่วนใหญ่จะไม่มีเสียงเพลง เสียงทีวี ตามบ้าน มันเงียบ จะมีก็เสียงคนนั่งคุยกัน ส่วนรถยนต์ที่วิ่งบนถนนหน้าบ้าน ก็นานๆ มาคัน เวลาไม่มีรถวิ่ง จะได้ยินสรรพเสียง กบ จักจั่น นก ร้อง อ้อ..เสียงเพลงก็มีเหมือนกัน เฉพาะพวกร้านตัดผม ร้านตัดผ้า จะใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ที่ใช้ถ่านไฟฉาย(ตรากบ หรือไม่ ก็ตราแพะ ผิวกระดาษ) เปิดเป็นบางเวลา แต่บอกว่าฟังแล้วเพราะจริงๆ ในความเงียบ เช่นพวกเพลงคุณสุเทพ คุณธานินทร์ นี่นะ

เครื่องปั่นไฟจะดับประมาณ 4 ทุ่ม ซึ่งหมายถึงว่าพวกเราต้องจุดตะเกียง หรือเท่ียนอยู่กันเป็นปกติ ส่วนคุณแม่ผมบางวันที่งานเย็บผ้ายังไม่เสร็จ ต้องให้คุณพ่อ (นิยมเรียกว่า "เตี่ย") ติดตะเกียงเจ้าพายุแทน ส่วนเรื่องโทรทัศน์นั้น ยังไม่มีใครมีเลย จนไฟหลวงเข้ามา เปิดให้ใช้กัน 24 ชั่วโมง ไม่มีปิด ก็เริ่มมีบางบ้านในตลาด หรือใกล้ตลาด (นิยมเรียกว่า ตลาดคุณแม่มุกดา ซึ่งท่านเป็นเจ้าขอ่งตลาดมาแต่กาลก่อน) ซื้อทีวีขาวดำมาดู และมีบางบ้านเป็นเพื่อนเรียน เพื่อนเล่น เลยขอเข้าไปดูในบ้าน พอไปดูบ่อยๆ นานๆ ก็เกิดปัญหา ว่าบางทีเขาอยากจะปิดบ้านก็ต้องแกล้งบอกว่าไม่มีรายการการ์ตูน หรือทีวีปิดสถานีแล้ว ดับให้ผมและเพื่อนบางคนที่ไม่มีทีวี ต้องกลับออกมาก่อน แล้วสักพักก็แอบได้ยินว่าเขาเปิดอีก เจอแบบนี้ก็หลายครั้ง หลายบ้าน คุณพ่อผมท่านก็ไม่อยากให้ใครดูถูกว่าลูกตัวเองต้องไปตะลอนดูทีวีตามบ้านอื่นเขา เลยตัดสินใจมากรุงเทพฯ ซื้อโตชิบ้า ขาวดำ ขาไม้กางๆ แบบหมุนได้ ปุ่มก็หมุนบิดแกร๊กๆ เป็นช่องๆ แต่เป็นระบบหลอดผสมทรานซิสเตอร์ ต้องรออุ่นหลอดเป็นนาทีกว่าภาพจะปรากฏ แต่เสียงจะมาก่อน บางทีได้ยินบ้านอื่นเปิด รีบวิ่งมาดู กว่าจะติดอีก รายการจบไปแล้วก็มี Wink

ใช้มานานครับเครื่องนี้ ขนาดเคยมีไฟไหม้ที่ตลาดดงขุย ครั้งหนึ่งคุณพ่อเอาทีวีใส่บนรถเข็นแล้วไหลหล่นไปที่ถนน เพราะช่วงนั้นเป็นทางโค้งเอียง คุณพ่อทันไว รีบไปยกขึ้นมาได้ ทั้งๆที่หนักไม่น้อย กลับมาจอหดเหลือแค่ เซ็นติเมตรเดียว แต่ท่านค่อยๆ ซ่อมใช้งานได้ปกติ จะว่าไปทีวีเครื่องนี้เสียงดีไม่น้อย เพราะเป็นตู้ไม้

ต่อมา ทีวีได้พัฒนาเป็นสี มีบางบ้าน โดยเฉพาะบ้านแรกๆ ที่เคยมีทีวีขาวดำนั่นแหละ ได้ซื้อทีวีสีมา สีตอนนั้นจำได้ว่า มืดๆ เพี้ยนๆ ไม่สว่างใสเหมือนปัจจุบัน แต่เป็นที่ตื่นเต้นกันในตลาด จนมีคนซื้อตามกันมากขึ้น บ้านผมก็ยังไม่เปลี่ยนสักที ต้องใช้ฟิลเตอร์ หรือแผ่นกรองแสงที่ทำเป็นแถบสี 3 สีสลับกันในแนวระนาบ หลอกตาตัวเองไปแทน Laughing

จนทีวีเริ่มเสีย ซ่อมไม่หาย คุณพ่อก็เลยไปซื้อทีวีสีมาให้ จำได้ว่า ยี่ห้อ กรุนดิก ขนาด 14 นิ้ว มีเสาอากาศในตัว แต่ก็ใช้ไม่ได้ เพราะต้องใช้แผงเสาอากาศ (ที่เรียกว่า ยากิ) บนหลังคาบ้านเหมือนเดิม เสียงไม่ค่อยดี เพราะตัวเล็ก ตัวถังทำถ้วยพลาสติค ใช้การกดปุ่มเปลี่ยนช่อง แต่ดันมีให้แค่ 8 ปุ่ม ทีวีสีเครื่องนี้ใช้นาน ทนใช้ หรือใช้ทน จนผมไปเรียนมหาวิทยาลัย กลับมาคุณแม่ท่านก็ยังใช้อยู่ จำแทบไม่ได้ว่าหายไปไหน หรือยกไปให้ใครใช้แล้ว (อ้อ..เครื่องขาวดำนั้น ยกให้คนรู้จักกันในตลาด)

ผมเล่าข้ามไปนิดว่า ก่อนที่ผมจะซื้อทีวีสี ชาวตลาดดงขุยได้เริ่มซื้อเครื่องเล่นเทปวิดีโอ ที่สามารถเล่นเทปแบบ VHS กันแล้ว บ้านแรกที่มีก็เจ้าเดิมที่มีทีวีนั่นแหละครับ ส่วนบ้านผมนั่นหรือ ลืมไปได้เลย ผมมาซื้อเครื่องเล่นเทปวิดีโอเอง ตอนทำงานที่กรุงเทพฯ จำได้ว่ายี่ห้อ เนชั่นแนล รู้สึกว่าซื่อต่อจากญาติด้วยนะครับ ตั้งเวลาอัดได้ รายการโปรดที่อัดคือ "สี่ทุ่มแสควร์" และรายการอื่นๆ ทีคิดว่าตัวเองกลับบ้านมาดูไม่ทัน หรือ ดึกเกินไป

กลับมาที่ตลาดดงขุย สมัยที่ผมยังเรียนมัธยมศึกษาอยู่ พอวิดิโอเทปเป็นที่นิยม ก็มีร้านค้าร้านหนึ่งหัวใส เปิดบริการเคเบิ้ลทีวีซะเลย บ้านผมไม่เอาด้วยก็แค่เดินสายผ่านหน้าบ้าน แต่สัญญาณแรงมาก ขนาดทีวีผม ตอนนั้นยังเป็นขาวดำ จำได้ว่ารับ เรื่อง "อีที" ได้ลางๆ เลย ร้านนี้ทำให้ผมรู้สึกอิจฉา และตั้งใจอยากจะทำแบบเขาสักวันในอนาคต เมื่อโตแล้ว เพราะเขายังซื้อกล้องถ่ายวิดิโอไปรับงานถ่ายสำคัญๆ ด้วย ตอนนั้นจะเป็นแบบแยกส่วน คือ มือถือกล้องเปล่าๆ แบบหลอด และต้องสะพายเครื่องบันทึกไว้ด้วย ซึ่งต้องมีสายไฟลากยาว และมีคนคอยเดินตามถือ และระวังสายไฟสะดุด ตึง และพันกับสิ่งต่างๆ ตลอดเวลาที่มีการบันทึกเทป นับว่าดูยุ่งยาก อ้อ.. ต้องมีไฟฉาย สว่างจ้ามากๆ ด้วย คือต้องใช้คน 3 คนอย่างน้อยในการบันทึกเทปวิดีโอ แต่ผมก็อยากได้ ซึ่งกว่าความฝันเป็นจริง ก็มาทำงานซะเป็นสิบปีแล้ว ถึงจะได้ซื้อกล้องถ่ายวิดิโอกับเขา เป็นแบบมีหน้าจอ LCD ข้างหลัง เวลาถ่ายก็ต้องยกชู หรือยื่นไปข้างหน้า ทำให้มือสั่น แต่ชอบที่ไม่ต้องหลับตาข้างเดียวเพื่อดูที่มองภาพแบบกล้องถ่ายทั่วไป แต่พอมาใช้จริงกลับมีปัญหาเรื่องภาพไหว เพราะผมชอบเดินไปถ่ายไป หรือ ส่าย(Pan) ไป ตอนหลังมีปัญหาเรื่องม้วนวิดีโอ ถ่ายแล้วยับ ภาพล้ม เลยขายไปถูกๆ และไม่เคยซื่้อกล้องวีดิโอโดยเฉพาะอีกเลย เพราะกล้องคอมแพคก็สามารถถ่ายวิดีโอได้อยู่แล้ว แถมยังสะดวกกว่าใช้เทป ไม่ต้องมีการ์ดแปลงสัญญาณลงแผ่นซีดีอีก

เรื่องทีวีของผมนี้ยังมีเรื่องเล่าที่ออกมหัศจรรย์อีก คือ ผมมาทำงานที่กรุงเทพฯ ก็อยากมีทีวีกับเขา ตอนนั้นปี 2532 ทีวีสีแพงมากเป็นหมื่น เงินหมื่นก็มีค่ามากนะครับ ข้าวจานละ 10 บาทเอง เงินเดือนผมก็ 7,500 บาท สตาร์ทที่ บริษัทซีเกต เทคโนโลยี จนบริษัทเขาย้ายไปทีี่ ถ.เทพารักษ์ อ.สำโรง ผมก็ย้ายตามและเริ่มอยากมีทีวี เดินไปหาซื้อ ด้วยงบไม่กี่พันบาท สามารถซื้อได้แค่ทีวีขาวดำเท่านั้น Sad ผมจำได้ไม่ลืม วันนั้นไปกับคุณแม่ที่คลองถม ใจคิดว่าอยากได้ทีวีสีโซนี่มือสอง ราคาสัก 2 พันกว่าบาท ซึ่งไปเจอร้านหนึ่งบอกแพงกว่านั้น(จำไม่ได้) มีคนมาสะกิดข้างๆ ผมว่า เขากำลังจะขายทีวีสีโซนี่แบบนี้ พอใจ 2 พันก็เอาไปเลย ผมเลยซ้อนมอเตอร์ไซด์เขามา ตอนนี้ผมจำแทบไม่ได้ว่าบ้านเขาอยู่ตรงไหน เป็นสามแยก เขาอยู่ในซอยตรงไฟแดงสามแยกพอดี ฝั่งธนบุรี สุดท้ายก็ได้ทีวีมาดู จนต่อมาผมก็ย้ายงานมาที่ปัจจุบัน แล้วก็ซื้อเครื่องเล่นวิดีโอเทปมาดู จนว้ันหนึี่ง ผมทำน้ำหกบนหลังทีวี ทำให้จอภาพดับทันที เนื่องจากมีฝุ่นในเครื่องมากเลยเสีย เอาไปซ่อมใช้ได้ไม่นานก็เสียอีก Crying or Very sad ผมก็เลยต้องซื้อทีวีใหม่ คราวนี้เอา 21 นิ้วเลย เพราะคิดว่าตัวเองเป็นถึงเอ็นจิเนีย จะมาดู 14 นิ้วทำไม ผมชอบโซนี่เพราะจอเป็นแบบไตรนิตรอน ภาพไม่เบี้ยวโค้ง เป็นสิ่งที่ผมตั้่งใจไว้แต่แรกแล้ว เพราะเจ้า กรุนดิกที่คุณพ่อซื้อให้ตอนสมัยเรียนนั้น จอป่องกลางภาพเบี้ยว ผมยังจำราคาทีวีโซนี่ 21 นิ้วได้ว่า หมื่นสี่พันบาท ผมใช้มาจนปัจจุบันก็ยังตั้งอยู่ข้างๆ ผมนี้เอง Embarassed รู้สึกรักมันมาก ขนาดปัจจุบันมีทีวีออกใหม่ดีกว่านี้ก็ไม่ยอมเปลี่ยน รูปทรงลำโพงด้านข้างถูกใจมาก เคยเสียครั้งหนึ่ง เมื่อหลายปีมานี้ ก็เอาไปซ่อมแถวๆ ตลิ่งชัน ก็ใช้งานได้ ลำบากตอนยกขึ้้นรถลงรถ เท่านั้นครับ
Click on the image for full size
นี่เป็นทีวีคู่ใจผมมานานร่วมา 20 ปีแล้ว ถ่ายเมื่อกี้เอง สดๆ เพื่อยืนย้นว่ายังอยู่และใช้งานได้ครับ (ต้องขออภัยห้องรกไปหน่อยครับ อยู่คอนโดแคบๆ ก็แบบนี้แหละครับ)

เฮ้อ...ร่ายยาวมาจนลืมว่า นี่มันกระทู้พี่ตึ๋ง ไม่ใช่กระทู้ผม.. Wink
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สัพเพเหระ All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3  Next
Page 1 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©