RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269542
ทั้งหมด:13580829
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44613
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/10/2014 5:03 pm    Post subject: Reply with quote

"ประจิน"จัดทัพโปรเจ็กต์ด่วนรถไฟฟ้า-ทางคู่ กระตุ้นศก.ปี"58กดปุ่ม6.5หมื่นล.ชง"ครม.ตู่"เปิดประมูล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 ต.ค. 2557 เวลา 09:04:53 น.

Click on the image for full size

คมนาคมลุยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนส่ง 10 ปีกว่า 1.8 ล้านล้านบาท เปิดโผโปรเจ็กต์ด่วนปี"58 กดปุ่มทันที 6.5 หมื่นล้าน ทั้งถนน ซ่อมราง ปรับปรุงแม่น้ำ ซื้อรถเมล์ใหม่ "บิ๊กจิน" เร่งเครื่องระบบรางเต็มสูบ จี้เวนคืน เคลียร์พื้นที่ทับซ้อน กทม. สั่ง รฟม.เจรจาเดินรถสายสีม่วง-น้ำเงิน-เขียว คัดรถไฟฟ้าหลากสี-รถไฟทางคู่ ชง "ครม.บิ๊กตู่" ให้ทันสิ้นปีนี้ หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ


แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การประชุมแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยปี 2558-2565 ใน 4 ยุทธศาสตร์ 5 แผนงาน เบื้องต้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เสนอกรอบวงเงินลงทุนรวมไว้ทั้งทางบก อากาศและทางน้ำ 1.829 ล้านล้านบาท แยกเป็นกรอบลงทุนระยะเร่งด่วนปี 2558 วงเงิน 65,782 ล้านบาทและผูกพันระยะยาว 10 ปี (2559-2568) วงเงิน 1.763 ล้านล้านบาท

ตัดซื้อเครื่องบิน-ทางคู่ 1.435 ม.

ยังไม่รวมแผนซื้อเครื่องบินของ บมจ.การบินไทย โครงการรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร 2 สายทางของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้แก่ สายหนองคาย-โคราช-แหลมฉบัง-มาบตาพุด 737 กม. และสายเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี 655 กม. เงินลงทุนรวม 741,460 ล้านบาท แต่ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาศูนย์คมนาคมย่านพหลโยธินและพื้นที่โดยรอบเข้ามาแทน เงินลงทุน 49,034 ล้านบาทเพื่อรองรับการเชื่อมต่อสถานีกลางบางซื่อของรถไฟสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)

"วงเงินที่ สนข.รวบรวมมา จะเป็นโครงการได้รับงบฯปี 2558 จะปรับให้เข้ากับยุทธศาสตร์ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.อนุมัติเมื่อวันที่ 29 ก.ค.รวมถึงนโยบายของรัฐบาลเน้นโครงการทำก่อน ทำจริง ทำทันที และปรับแผนใช้เงินสอดคล้องกับสำนักงบประมาณที่ให้ขยายการลงทุนจาก 8 ปี เป็น 10 ปี"


โปรเจ็กต์ด่วนลงทุน 8.7 แสนล้าน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งจะมีเงินลงทุนปี 2558 จำนวน 65,782 ล้านบาท จากนั้นผูกพันปี 2559-2568 รวม 10 ปี จะใช้เงินลงทุน 872,641 ล้านบาท ยังไม่รวมเงินกู้ เอกชนร่วมลงทุนและโครงการอินฟราสตรักเจอร์บางส่วน ซึ่งเม็ดเงินลงทุนภาพรวมยังไม่นิ่ง ต้องรอผลสรุปทางอากาศและทางน้ำก่อนหลังเวิร์กช็อปเสร็จในวันที่ 11 ต.ค.นี้

"ช่วง 3 เดือนนี้ (ต.ค.-ธ.ค.) คงเร่งโครงการใหญ่ได้ไม่มาก จะพยายามผลักดันออกมาโดยเร็วเรื่องประมูล และเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการ แต่ต้นปี"58 จะเห็นชัดมากขึ้น เช่น รถไฟฟ้า 10 สาย รถไฟทางคู่"

รวมถึงรูปแบบการลงทุนของมอเตอร์เวย์ใหม่ 2 สายทางที่อยู่ในยุทธศาสตร์และยังไม่มีเงินลงทุน คือ สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-บ้านโป่ง ว่าจะใช้เงินกู้ หรือให้เอกชนร่วมลงทุน จะสรุปทั้งหมดปี 2558 เพื่อเพิ่มทางเลือกการเดินทางให้ประชาชนมากขึ้นในช่วงวันหยุดที่จะประสบปัญหารถติด เพราะที่ผ่านมาไม่ได้ก่อสร้างถนนใหม่เพิ่ม จะเน้นซ่อมและขยาย 4 ช่องจราจรเป็นหลัก ซึ่งมอเตอร์เวย์สายใหม่ จะปรับแบบก่อสร้างจาก 4-6 ช่องจราจร เหลือ 2 ช่องจราจร


เร่งสปีดรถไฟฟ้า-รถไฟทางคู่

ส่วนรถไฟทางคู่จะเร่งก่อสร้าง 6 สายทาง เพื่อเชื่อมการขนส่งสินค้าชายแดน 6 แห่งในปี 2558 รวม 903 กม. เงินลงทุน 129,393 ล้านบาท คือ
1.ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย 106 กม. 11,348 ล้านบาท
2.จิระ-ขอนแก่น 185 กม. 26,007 ล้านบาท
3.มาบกะเบา-จิระ 132 กม. 29,855 ล้านบาท
4.ลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม. 24,842 ล้านบาท
5.นครปฐม-หัวหิน 165 กม. 20,038 ล้านบาท และ
6.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม. 17,293 ล้านบาท


"ปี"58 พร้อมสร้าง 2 เส้นทางคือ
ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอยที่กำลังประมูล และ
จิระ-ขอนแก่น จะเสนอ ครม.อนุมัติให้ทันปีนี้
ที่เหลือรออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ ปีนี้จะเร่งให้ผ่านทั้งหมด และจะเริ่มประมูลปี"58 ส่วนปี"59 จะก่อสร้างเพิ่ม 6 สายทาง หลังปีหน้าศึกษาโครงการจบ เช่น หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์"

ด้านรถไฟฟ้าจะเร่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟฯ ให้ทำแผนงานโครงการชัดเจนในปี 2558 ทั้งประมูลและขออนุมัติโครงการจาก ครม. โดยเฉพาะเร่งรัดการก่อสร้างและการเดินรถ 4 สายทางเพื่อเปิดบริการตามกำหนดปี 2559-2560 คือ
สีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) 23 กม.
สีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) 27 กม.
สีเขียว (แบริ่ง-สมุทรปราการ) 12.8 กม.และ
สีแดง (บางซื่อ-รังสิต) 26 กม.


รฟม. เคลียร์ กทม.-เวนคืนที่ดิน

"ปัญหาความล่าช้าช่วงนี้ ไม่ว่าการสำรวจพื้นที่ เวนคืน เจรจาจุดทับซ้อนระหว่าง รฟม. กทม.หรือจุดที่ทับซ้อนกันเองในกระทรวง จะให้คลี่คลายในเดือนพ.ย.นี้และออกเป็นแผนงานชัดเจน รวมถึงการต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสเดิม คือ สายสีเขียวจากแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-คูคต จะสรุปเดือนพ.ย.นี้เช่นกัน"

พล.อ.อ.ประจินกล่าวอีกว่า พร้อมกันนี้จะเร่งประมูลและเสนอขออนุมัติ ครม.สายใหม่ ได้แก่
สีเขียว (หมอชิต-คูคต) 18.4 กม. 58,861 ล้านบาท จะยื่นซองราคาวันที่ 30 ก.ย.
สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) 36 กม. 58,264 ล้านบาท
สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) 20 กม. 100,523 ล้านบาท
สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) 30.4 กม. 55,986 ล้านบาท
สีแดง (บางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก) 25.5 กม. 38,469 ล้านบาท และ
ต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-ดอนเมือง) 21.8 กม. 31,102 ล้านบาท


"3 เดือนนี้จะเสนอ ครม.ได้ 1 สาย ที่เหลือจะเสนอปีหน้า เช่น สีชมพู เพราะจะต้องดูแหล่งเงินลงทุนจะนำมาจากไหนก่อสร้าง และให้เอกชนลงทุนอะไร อยากจะให้แหล่งเงินไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อเสนอรัฐบาลเลือกว่าจะได้รูปแบบไหน หากชัดเจนก็เดินหน้าพร้อมกัน"

มี.ค.ได้ใช้แน่รถเมล์ใหม่ 489 คัน

อีกเรื่องที่เร่งด่วน คือ การจัดซื้อรถเมล์ NGV จำนวน 3,183 คัน 13,416 ล้านบาท จะให้เดินหน้าเปิดประมูลโดยเร็วหลังจากคณะกรรมการ (บอร์ด) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) อนุมัติร่างทีโออาร์วันที่ 15 ต.ค.นี้ เพื่อนำรถลอตแรก 489 คันมาวิ่งบริการเดือนมี.ค.- เม.ย. 2558 นี้ ส่วนที่เหลือทยอยส่งมอบให้เสร็จสิ้นปี 2559

"เป้าหมายการขนส่งคมนาคมทางบกจะให้เห็นภาพว่าจะเชื่อมต่อทั่วประเทศกันได้อย่างไรให้สะดวก ปลอดภัย มีการบริการที่ดี ไม่ว่าจะเป็นทางถนนและรถไฟ จะเป็นการเชื่อมโครงข่ายระหว่างเมืองใหญ่มาสู่กรุงเทพฯและจากกรุงเทพฯไปเมืองใหญ่และชนบท รวมถึงชายแดน ให้เข้าถึงง่ายและพัฒนามากขึ้น จะเน้นการเชื่อมโยงในประเทศก่อน"

โดยผลตอบรับที่จะได้กลับคืนมาจากการลงทุนในปี 2558-2559 คือ
1.ลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีไม่น้อยกว่า 2% จาก 15.2% เหลือ 12%
2.ลดการเดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถส่วนบุคคลลง จาก 59% เหลือ 40%
3.เพิ่มความเร็วของรถไฟด้านขนสินค้าจาก 39 กม./ชม. เป็น 60 กม./ชม. รถโดยสารจาก 60 กม./ชม. เป็น 100 กม./ชม. หลังซ่อมทางรถไฟให้เป็นมาตรฐานและสร้างทางรถไฟใหม่เป็นทางคู่
4.เพิ่มสัดส่วนขนส่งสินค้าทางราง จาก 2.5% เป็น 5%
5.เพิ่มการเดินทางรถไฟฟ้าจาก 5% เป็น 30%
6.เพิ่มขนส่งสินค้าผ่านชายแดนที่สำคัญอีก 5% และ
7.เพิ่มผู้โดยสารทางรถไฟจาก 45 ล้านคน/ปี เป็น 75 ล้านคน/ปี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2014 10:50 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นล็อบบี้ “คมนาคม” ยันพร้อมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในไทย


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 ตุลาคม 2557 17:34 น.



ทูตญี่ปุ่นพบ “ประจิน” ยืนยันพร้อมทุ่มเงินทุนและเทคโนโลยีเร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทย ทั้งรถไฟ ท่าเรือ และถนน ฟุ้งมีมาตรฐานปลอดภัยและทันสมัยที่สุด ขอให้พิจารณาเป็นรายแรก พร้อมเปิดทางร่วมทุนพัฒนาท่าเรือทวายด้วย ด้าน “ประจิน” ยืนยันการลงทุนจะต้องเปิดกว้าง





พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลัง นายมิโนะรุ คิอุชิ (H.E. Mr.Minoru Kiuchi) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นในฐานะผู้แทนพิเศษรัฐบาลญี่ปุ่น และนายชิเกะคะสุ ซะโต (H.E.Mr.Shigekazu Sato) เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้าพบวันนี้ (2 ต.ค.) ว่า รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทย ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟ และการเดินรถ การปรับปรุงและก่อสร้างท่าเรือ และอุตสาหกรรมต่างๆ โดยยืนยันว่า ญี่ปุ่นมีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีระบบรถไฟของญี่ปุ่นที่มีความทันสมัยและปลอดภัยมากที่สุด โดยยกตัวอย่างรถไฟความเร็วสูงชิงคังเซ็นที่เปิดให้บริการมา 50 ปีแล้ว มีความรวดเร็ว ตรงเวลา และยังไม่เคยประสบอุบัติเหตุ จึงขอให้ไทยพิจารณาเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก

โดยรัฐบาลญี่ปุ่นยังระบุว่ามีความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับไทยในการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งทะเลอันดามัน เช่น ท่าเรือทวาย ซึ่งจะเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งไทยและพม่าและประเทศฝั่งยุโรป ฝั่งแปซิฟิก และญี่ปุ่นด้วย โดยญี่ปุ่นแสดงความปรารถนาดีที่จะให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของไทยที่เกี่ยวข้องเดินทางไปเยือนเพื่อเจรจาความร่วมมือในทุกเรื่องรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งเพื่อนำไปสู่ความร่วมมือ และการปฏิบัติในอนาคต

“ญี่ปุ่นยืนยันว่ามีศักยภาพทางการเงิน มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีความพร้อมที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งที่ผ่านมาการเข้ามาลงทุนในไทยได้สร้างกำไรให้ญี่ปุ่น จึงพร้อมจะนำกำไรนั้นมาลงทุนเพิ่มในประเทศไทย ซึ่งผมได้ยืนยันกับญี่ปุ่นว่า ในการดำเนินโครงสร้างพื้นฐานของไทยนั้นจะเปิดกว้างให้ทุกประเทศได้เข้ามาร่วม โดยรัฐบาลไทยจะเดินหน้าในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ทั้งการสร้างโครงข่ายให้เชื่อมโยงในประเทศ เชื่อมต่อไปชายแดน และเชื่อมโยงไปยังประเทศอาเซียนที่มีพรมแดนติดกัน ทั้งทางถนน ทางราง และจะเชื่อมต่อทางทะเล และทางอากาศด้วย” พล.อ.อ.ประจินกล่าว

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ในส่วนของโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวายนั้น อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล โดย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบเพื่อนำเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์รับทราบ ซึ่งการพัฒนาท่าเรือทวายนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการเดินเรือจากยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ เพื่อขึ้นฝั่งได้ทางทะเลอันดามัน และเชื่อมต่อไปยังประเทศในฝั่งแปซิฟิกได้สะดวก

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างเร่งสรุปผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (เวิร์กชอป) งานด้านการขนส่งทางบกเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan) นำเสนอ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอความเห็นชอบ โดยจะมีการจัดลำดับความสำคัญโครงการ ซึ่งลำดับแรกจะเป็นการลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง และรถไฟทางคู่สายใหม่

//-------------

ญี่ปุ่นลุ้นรถไฟฟ้าชินคันเซ็น
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐออนไลน์
3 ตุลาคม 2557 06:20


ไทยเนื้อหอม! ต่างชาติรุมจีบลงทุนระบบราง

แผนลงทุนระบบรางเนื้อหอม เอกชน-ต่างชาติรุมทึ้งร่วมลงทุน ญี่ปุ่นเสนอตัวใช้เทคโนโลยี ชินคันเซ็นและเงินทุนให้ไทยเลือก พร้อมชวน “ประยุทธ์-ประจิน” ไปทดลองนั่ง พ่วงพัฒนาท่าเรือทวาย ส่วนบีทีเอส สนบริหารรถไฟฟ้า 2 เส้น พร้อมรถไฟเร็วสูง 1.435 เมตร

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังหารือกับนายมิโนะรุ คิอุชิ รมช.ต่างประเทศญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนพิเศษรัฐบาลญี่ปุ่นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความสนใจร่วมลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานของไทย โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร รถไฟรางคู่ รวมถึงโครงการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามัน และท่าเรือน้ำลึกทวาย เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียแปซิฟิกกับยุโรปและตะวันออกกลาง

“รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการให้ไทยช่วยพิจารณาการลงทุนจากญี่ปุ่นก่อน เพราะมีประสบการณ์เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี และความปลอดภัยจากรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นที่ใช้มากว่า 50 ปี จึงสนใจเข้ามาก่อสร้าง บริหารเดินรถ และร่วมทุนกับรัฐบาลไทย พร้อมเชิญนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของไทยให้เดินทางไปญี่ปุ่นด้วย ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นยังพร้อมสนับสนุนเรื่องเงินลงทุน เทคโนโลยี และการขยายการลงทุนภาคอุตสาหกรรมอื่นๆให้ พร้อมการันตีนำชาวญี่ปุ่นมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่ม”

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้ชี้แจงไปว่า ไทยพร้อมเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมภายในประเทศ ชายแดน และประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งทางถนน ราง อากาศ และทะเล ส่วนข้อเสนอของญี่ปุ่น ไทยก็รับไปพิจารณา เพราะไทยมีนโยบายเปิดกว้างรับการลงทุนจากทุกประเทศ และหลังจากนี้จะมีการหารือกับตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อลงรายละเอียด

อีกครั้ง สำหรับแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางบก ถนน และราง กระทรวงคมนาคมจะทำให้เสร็จใน 15 วัน และเสนอให้ ครม.ได้รับทราบ โดยโครงการที่สำคัญคือ การลงทุนรถไฟทางคู่

พล.อ.อ.ประจินกล่าวต่อว่า ในวันเดียวกันนายคีรี กาญจน์พาสน์ ประธานบริหารบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) ได้เข้าพบและแสดงความสนใจร่วมบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต รวมทั้งเสนอขอเข้าร่วมลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร แต่เรื่องนี้มอบให้ไปหารือกับนายรณชิต แย้มสะอาด รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

“เบื้องต้นบีทีเอสได้สอบถามถึงนโยบายของกระทรวงคมนาคมและโอกาสที่จะเข้าร่วมดำเนินโครงการโดยเฉพาะรถไฟทางคู่สายใหม่ รางขนาด 1.435 เมตร ซึ่งมี 2 เส้นทางคือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ เส้นทางหนองคาย -นครราชสีมา-สระบุรี -แหลมฉบัง-มาบตาพุด และสายเหนือ เส้นทาง เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี ส่วนรายละเอียดให้ไปคุยกับที่ปรึกษาของผม พล.อ.ท.บรรจง คลายนสูตร์”

ด้านนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการและผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ ของบีทีเอสซี กล่าวว่า บริษัทสนใจเข้ามาบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายส่วนใต้ ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และส่วนเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เพื่อให้เป็นระบบและโครงข่ายเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอส เพราะจะช่วยให้ประชาชนไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายขบวนรถ รวมถึงยังใช้เวลาบริหารน้อย และต้นทุนประหยัดกว่า ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร ก็สนใจเช่นกัน.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/10/2014 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

สบน.กู้เงินแสนล้านสร้างรถไฟฟ้า
โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ
6 ตุลาคม 2557 07:01

ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ว่า ในปีหน้า (2558) สบน.จะกู้เงินจากแหล่งเงินทุนในประเทศวงเงิน 100,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง แบ่งเป็นการลงทุนในโครงการใหม่ 44,000 ล้านบาท ประกอบด้วย

1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กม.วงเงินค่าก่อสร้างประมาณ 29,000 ล้านบาท และ
2. สายสีส้ม เส้นทางตลิ่งชัน-มีนบุรี ระยะทาง 39.6 กม.วงเงินค่าก่อสร้าง 110,000ล้านบาท และรวมถึง

3. รถไฟรางคู่ เส้นจิระ (โคราช)-ขอนแก่น
4. ส่วนที่เหลืออีกราว 56,000 ล้านบาท จะเป็นโครงการที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เช่น
4.1 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นต้น

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู เส้นทาง แคราย-มีนบุรีระยะทาง 34.5 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 58,300 ล้านบาท และเส้นสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 56,100 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2559 อย่างไรก็ตาม ทั้งสองสายหากมีความพร้อม โดยเฉพาะในเรื่องการเวนคืนและการทำเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็สามารถเลื่อนโครงการขึ้นมาดำเนินการก่อนได้

ทั้งนี้ โครงการ 2.4 ล้านล้านบาท จะใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากต้นทุนทางการเงินยังอยู่ในระดับต่ำ ที่ สบน.สามารถบริหารจัดการได้ ส่วนจะใช้เงินกู้จากแหล่งเงินต่างประเทศหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลไทยจะได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษหรือไม่

สำหรับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งช่วงปี 2558- 2565 ประกอบด้วย การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรใน กทม.-ปริมณฑล โดยการพัฒนาระบบ รถไฟได้วางแผนเร่งด่วนในการลงทุนโครงการรถไฟรางคู่ 6 เส้นทาง จากทั้งหมด 17 เส้นทาง คือ เส้นทางจิระ (โคราช)-ขอนแก่น, เส้นทางประจวบ-ชุมพร, เส้นทางนครปฐม-หัวหิน, เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ, เส้นทางมาบกะเบา-จิระ และเส้นทางหัวหิน-ประจวบ รวมระยะทาง 887 กิโลเมตร งบประมาณ 127,000ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังปรับเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 สาย เป็นรถไฟรางคู่มาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทาง เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี- แหลมฉบัง ระยะทาง 655 กม. วงเงินค่าก่อสร้าง 348,000 ล้านบาท และเส้นหนองคาย-โคราช-สระบุรี-แหลมฉบัง-มาบตาพุต ระยะทาง 737 กม. วงเงิน 392,000 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2014 4:57 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเดินหน้ารถไฟทางคู่เร่งด่วน 6 เส้นทาง
สำนักข่าวไทย
10 ตุลาคม 2557 เวลา 14:34

รมว.คมนาคม กำหนดกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ระยะ 10 ปี พร้อมเดินหน้ารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง

กรุงเทพฯ 10 ต.ค. - รมว.คมนาคม กำหนดกรอบยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ระยะ 10 ปี พร้อมเดินหน้ารถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชนต่อการพัฒนาระบบเส้นทางคมนาคมของประเทศ โดยเฉพาะระบบราง ซึ่งมีการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง เพื่อการขนส่งในอนาคต ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบขนส่งต่างๆ โดยกำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2568 วงเงินรวม 1,938,009.50 ล้านบาท ประกอบด้วย 4 ด้าน 5 แผนงาน เช่น
1. การสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม
2. การสร้างมาตรฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
3. การสร้างโอกาสสำหรับการใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และ
4. เสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง

ส่วน 5 แผนงาน ได้แก่
1. การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง
2. การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
3. การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวง เพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
4. การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ
5. การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ กำหนดระยะเร่งด่วนปีงบประมาณ 2557-2558 เพื่อเชื่อมโยงประตูการค้าของประเทศ และพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง รวมทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินเชียงใหม่ สนามบินภูเก็ต และสนามบินอู่ตะเภา ที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลยังได้กำหนดโครงการเร่งด่วนปี 2557-2558 ประกอบด้วย ขยายรถไฟทางคู่เดิม 6 เส้นทาง และรถไฟทางคู่แบบขนาดทางมาตรฐาน ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (ไฮสปีดเทรนเดิม) 2 เส้นทาง และโครงข่ายถนนสายหลักเชื่อมเมืองหลักกรุงเทพฯ และปริมณฑล และรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน หรือรางขนาด 1.435 เมตร ความเร็ว 160 กม./ชม.

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน 6 เส้นทาง 887 กม. ประกอบด้วย
1. ชุมทางจิระ-ขอนแก่น
2. ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร
3. นครปฐม-หัวหิน
คาดว่าจะดำเนินการได้ในปี 2558-2561 ส่วน
4. มาบกะเบา-นครราชสีมา
5. ลพบุรี-ปากน้ำโพ
6. หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะเวลาดำเนินการ 2559-2563

ยังไม่รวม สายฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย หากสามารถขยายทางคู่ได้ตามแผน จะทำให้ขบวนรถไฟที่ให้บริการวันละ 288 เที่ยว/วัน เพิ่มเป็น 800 เที่ยว/วัน

ทั้งนี้ โครงการเร่งด่วนจะเน้นเชื่อมโยงโครงข่ายประตูการค้าระหว่างประเทศ การค้าชายแดน และระบบถนนที่เชื่อมโยงประตูการค้าของประเทศ เชื่อมโยงเมืองหลัก เชื่อมโยงกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งการพัฒนาท่าเรือชายฝั่ง ศูนย์ขนส่งสินค้า ทางรถไฟ ถนนเชื่อมกับท่าเรือ ท่าอากาศยานต่างๆ ทั้งสุวรรณภูมิ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ และอู่ตะเภา รวมทั้งด่านการค้าตามแนวชายแดน เช่น ด่านแม่สอด จ.ตาก, ด่านแม่สาย ด่านเชียงแสน ด่านเชียงของ จ.เชียงราย, ด่านบ้านคลองลึก จ.สระแก้ว, ด่านคลองใหญ่ จ.ตราด, ด่านสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี, ด่านมุกดาหาร ด่านนครพนม ด่านหนองคาย และด่านปาดังเบซาร์ จ.สงขลา และด่านสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ตลอดจนการจัดทำศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าด้วย โดยข้อเสนอแนะการเปิดรับสัมมนาในครั้งนี้จะถูกรวบรวมนำกลับไปปรับปรุงแผนต่างๆ ให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44613
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2014 7:46 pm    Post subject: Reply with quote

ทูตจีนพร้อมหนุนลงทุนสร้างทางรถไฟไทย-จีน ชี้ล่าช้าเหตุรัฐบาลไทยไม่ชัดเจน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 ตุลาคม 2557 15:30 น.

หนองคาย - เอกอัครราชทูตจีนนำคณะเยือนหนองคาย ยืนยันสนับสนุนและลงทุนการสร้างรถไฟจีน-ไทย ติดขัดเพียงแนวทางรัฐบาลไทยยังไม่ชัดเจน ย้ำถ้าสร้างจริงจะเป็นฐานการลงทุนร่วมกัน และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

วันนี้ (16 ต.ค.) นายหนิง ฟู่ ขุย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย นายเซี่ย ฝูเกิน กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ขอนแก่น พร้อมคณะที่ปรึกษาฝ่ายการเมือง ฝ่ายพาณิชย์ ฝ่ายชาวจีนโพ้นทะเล และเจ้าหน้าที่องค์การรถไฟแห่งประเทศจีน มายังศาลากลางจังหวัดหนองคาย โดยมีนายสุชาติ นพวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอโณทัย ธรรมกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด นำคณะหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนในจังหวัดเข้าพบ

คณะทูตได้ลงนามถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนจะประชุมร่วมกัน โดยคณะทูตได้มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของจั.หนองคาย และภาคอีสานของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใผลักดันให้เกิดความร่วมมือการก่อสร้างรถไฟจีน-ไทย พร้อมรับฟังความคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว

นายสุชาติกล่าวว่า แผนพัฒนาประเทศไทยในปี 2558-2565 มีเป้าหมายขยายโครงข่ายด้านการคมนาคมขนส่งภูมิภาคทั่วประเทศ โดยหนองคายเป็นเมืองหลักเชื่อมโยงไปประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีความพร้อมในการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น รถไฟทางคู่ ระบบลอจิสติกส์ ศูนย์กระจายสินค้า และเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น

ด้านนายหนิง ฟู่ ขุย กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่อยากจะพูดคุย คือ การผลักดันการสร้างรถไฟระหว่างประเทศ จีน-ไทย รวมถึงการสร้างรถไฟทางคู่สายใหม่หนองคาย-ระยอง ระยะทาง 600 กิโลเมตร ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการสร้างรถไฟแบบมาตรฐาน หรือรถไฟความเร็วสูง รัฐบาลจีนพร้อมให้การสนับสนุน ทั้งการลงทุนและงบประมาณ แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการพูดคุยระดับสูงบ้างแล้ว แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ปรากฏว่าทางรัฐบาลไทยยังไม่มีความชัดเจนในแผนงาน ทางรัฐบาลจีนจึงยังไม่สามารถเสนอรูปแบบทั้งหมดได้ เช่น การระดมทุน ทางรัฐบาลไทยยังจะใช้สินค้าเกษตรชดใช้ค่าก่อสร้างรถไฟเช่นเดิมหรือไม่ ซึ่งหากใช้สินค้าเกษตรแลกเปลี่ยน จะช่วยเหลือประชาชนของทั้งสองประเทศเป็นอย่างมาก หรือทางไทยจะใช้การระดมทุนโดยนักธุรกิจ จะมีการพัฒนาอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษริมทางที่รถไฟผ่านหรือไม่

ทั้งนี้จึงอยากให้รัฐบาลไทยมีความชัดเจนก่อน ส่วนรัฐบาลจีนนั้นยืนยันว่าพร้อมให้การสนับสนุน โดยเฉพาะที่ จ.หนองคาย เพราะถือเป็นศูนย์กลางในการค้าการ ลงทุน การท่องเที่ยวของประเทศในเอเชีย ซึ่งปัจจุบันชาวจีนที่มีมากกว่า 1,300 ล้านคน เป็นประเทศคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย รวมถึงภาคการท่องเที่ยว ซึ่งในปีที่ผ่านมา มีชาวจีนเข้ามาเที่ยวในประเทศไทย โดยเฉพาะที่ จ.ภูเก็ต และอีกหลายแห่งที่มีทะเลมากถึง 4.7 ล้านคน สูงสุดในประวัติศาสตร์ และจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น เมื่อมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมเชื่อมโยงถึงกัน จากจีน-ลาว-ไทย-สิงคโปร์ จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี

หลังจากรับฟังความคิดเห็นต่างๆ แล้ว ทางจังหวัดหนองคาย จะรวบรวมและรายงานส่งกระทรวงที่เกี่ยวข้องรับทราบและดำเนินการต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 16/10/2014 8:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ทูตจีนพร้อมหนุนลงทุนสร้างทางรถไฟไทย-จีน ชี้ล่าช้าเหตุรัฐบาลไทยไม่ชัดเจน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 16 ตุลาคม 2557 15:30 น.

ประยุทธ์" หารือนายกฯ จีน ย้ำสัมพันธ์ไม่เปลี่ยน เผยสนใจสินค้าเกษตร-รถไฟความเร็วสูง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
16 ตุลาคม 2557 20:05 น.



นายกฯ ไทย-จีน หารือทวิภาคี ยันความสัมพันธ์ไม่เคยเปลี่ยน เป็นหุ้นส่วนที่ดีพร้อมร่วมมือต่อไป เผยพร้อมหนุนสินค้าเกษตร และสนใจดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง "ประยุทธ์" ยันโครงการจัดการน้ำและรถไฟความเร็วสูงทบทวนบางโครงการเท่านั้น เตรียมถกต่อในเวทีประชุมร่วมการค้าไทย-จีนครั้งที่ 3 เดือนพฤศจิกายนนี้

วันนี้ (16 ต.ค.) ที่ประเทศอิตาลี เมื่อเวลา 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง ระหว่างเดินทางเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป ที่นครมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน

โดยนายกรัฐมนตรีจีน กล่าวว่า มิตรภาพความสัมพันธ์ของสองประเทศไม่เคยเปลี่ยน แปลงแม้สถานการณ์จะเปลี่ยนไป ถือว่าสองประเทศเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือที่ดีต่อกันและพร้อมจะร่วมพัฒนาความร่วมมือต่างๆ ต่อไป และขอเป็นกำลังใจให้นายกรัฐมนตรีในการทำงาน จีนยินดีต้อนรับนายกรัฐมนตรีของไทยในการเดินทางเยือน ทั้งนี้ จีนพร้อมให้การสนับสนุนสินค้าทางการเกษตร ทั้งข้าวและยางพารา ส่วนเรื่องรถไฟความเร็วสูง จีนสนใจเข้ามาดำเนินโครงการ

ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวขอบคุณจีนที่เข้าใจไทย พร้อมระบุว่า ไทยต้องการความเข้มเข็งและเท่าเทียม และความเชื่อมั่น จีนถือเป็นมิตรประเทศที่ดีเสมอมาจึงต้องการพัฒนาความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศให้ดีขึ้น โดยเน้นพัฒนาความสัมพันธ์ทุกด้าน และขอให้จีนสนับสนุนเรื่องข้าว เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้และจะได้นำเงินไปลงทุนด้านอื่นๆ

ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการในเรื่องโครงการบริหารจัดการน้ำ และรถไฟความเร็วสูง และขอให้จีนอย่ากังวลว่าจะยกเลิกโครงการต่างๆ เพียงแค่ทบทวนในบางโครงการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทย ขอขอบคุณรัฐบาลจีนที่จะช่วยสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทย พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีของไทยยังหารือกับนายกรัฐมนตรีจีนว่า จะทำอย่างไรให้อาเซียนเป็นแหล่งอาหารโลกอีกด้วย

ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการหารือของนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 นายกรัฐมนตรีจีนย้ำจะให้ความร่วมมือในการนำเข้าผลิตภัณฑ์เกษตรของไทย อาทิ ข้าวและยางพารา และสนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาเส้นทางคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค ที่สอดคล้องกับแนวคิดเส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเล โดยอาจมีการหารือรายละเอียดประเด็นต่างๆ ในเวทีการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านการค้าการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย – จีน ครั้งที่ 3 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ ในเดือนพฤศจิกายน นี้
//-----------------------
'นายกฯจีน'ย้ำสัมพันธ์ไทย-จีนแน่นปึ้ก แย้มสนใจ'รถไฟความเร็วสูง'
แนวหน้า
วันพฤหัสบดี ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557, 19.47 น.

16 ต.ค.57 "ดาวี ไชยคีรี" ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ซึ่งติดตามภารกิจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 15-18 ตุลาคม ที่นครมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี รายงานว่า เวลา 11.00 น. วันนี้ ตามเวลาท้องถิ่นซึ่งช้ากว่าประเทศไทย 5 ชั่วโมง นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อ เฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจีน ย้ำว่า มิตรภาพความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศไม่เคยเปลี่ยนแปลง แม้สถานการณ์จะเปลี่ยนไป ถือเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือที่ดีต่อกัน และพร้อมจะร่วมพัฒนาความร่วมมือต่างๆ ต่อไป และขอเป็นกำลังใจให้นายกรัฐมนตรีในการทำงาน พร้อมยืนยันว่า จีนยินดีต้อนรับนายกรัฐมนตรีของไทย หากเดินทางเยือน และพร้อมให้การสนับสนุนสินค้าทางการเกษตร ทั้งข้าวและยางพารา ขณะเดียวกัน จีนสนใจเข้ามาดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง

ด้าน พล.อ.ประยุทธ ขอบคุณจีนที่เข้าใจไทยว่า ไทยต้องการความเข้มเข็งและเท่าเทียม และเชื่อมั่นในรัฐบาลไทย จีนถือเป็นมิตรประเทศที่ดีเสมอมาจึงต้องการพัฒนาความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศให้ดีขึ้น เน้นพัฒนาความสัมพันธ์ทุกด้าน และขอให้จีนสนับสนุนเรื่องข้าว เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ จะได้นำเงินไปลงทุนด้านอื่นๆ

พล.อ.ประยุทธ์ ยังชี้แจงว่า รัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการเรื่องโครงการบริหารจัดการน้ำ และรถไฟความเร็วสูง พร้อมขอให้จีนอย่ากังวล ว่าจะยกเลิกโครงการต่างๆ เพราะเพียงแค่ทบทวนบางโครงการ และขอบคุณที่จะช่วยสนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของไทย

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้หารือกับนายกรัฐมนตรีจีนว่า จะทำอย่างไรให้อาเซียนเป็นแหล่งอาหารโลกอีกด้วย

ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการหารือของนายกรัฐมนตรีทั้ง 2 นายกรัฐมนตรีจีนย้ำจะให้ความร่วมมือในการนำเข้าผลิตภัณฑ์เกษตรของไทย อาทิ ข้าวและยางพารา และสนับสนุนความร่วมมือในการพัฒนาเส้นทางคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค ที่สอดคล้องกับแนวคิดเส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเล โดยอาจมีการหารือรายละเอียดประเด็นต่างๆ ในเวทีการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านการค้าการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย – จีน ครั้งที่ 3 ที่จีนเป็นเจ้าภาพ ในเดือนพฤศจิกายน นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 20/10/2014 5:51 pm    Post subject: Reply with quote

“ประจิน”เผยจีนปรับรถไฟเร็วสูงเข้าลาวเหลือ 160 กม./ชม. เตรียมถกเอ็มโอยูเชื่อมทางคู่1.435ม.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ตุลาคม 2557 16:08 น.

“ประจิน”หารือเอกอัครราชทูตจีน เตรียมข้อมูลชง”ประยุทธ์” เจรจาความร่วมมือไทย-จีน พ.ย.นี้ ดันโครงการรถไฟทางคู่ ราง 1.435 เมตรเชื่อมลาว-จีน ปรับความเร็วเหลือ 160-180 กม./ชม. เสียบแทนความเร็วสูงในข้อตกลงเดิม


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังนายหนิง ฟู่ ขุย เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนและคณะเข้าพบ วันนี้ (20 ต.ค.) ว่า จากที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เดินทางไปร่วมประชุมผู้นําเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting – ASEM) นครมิลาน สาธารณรัฐอิตาลี และได้พบกับผู้นำจีนและได้เจรจาถึงความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ และโครงสร้างพื้นฐาน ระหว่างไทย-จีน จึงได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรวบรวมความเป็นมา รายละเอียดความร่วมมือระหว่างไทย-จีนก่อนหน้านี้ เพื่อนำเสนอนายกฯและพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบเพื่อนำไปประกอบการเตรียมไปเจรจากับผู้นำจีนในเดือนพฤศจิกายนนี้

ทั้งนี้ จากการหารือทางเอกอัคราชทูตจีนได้เสนอให้ไทย เตรียมพร้อมในเรื่องข้อมูลรวมถึงแผนงานและแนวทางเพื่อหาข้อสรุปในความร่วมมือที่จะเกิดขึ้น ว่าควรเป็นความร่วมมือในระดับรัฐบาลหรือระดับเอกชน โดยหลักในการเจรจาความร่วมมือครั้งนี้ จะนำข้อมูลที่เป็นข้อตกลงในความร่วมมือเดิมระหว่าไทย – จีน ตั้งแต่ปี 2553 และ ปี 2556 มาสานต่อ ซึ่งข้อตกลงสุดท้ายที่เห็นชอบร่วมกันคือ ในด้านความร่วมมือในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน, ความร่วมมือในการชำระเงินทั้งในรูปแบบเงินสด หรือชำระด้วยสินค้าเกษตร และ ความร่วมมือในการจัดตั้งคณะทำงานศึกษารายละเอียดร่วมกันโดยให้อยู่ภายใต้กฎหมายกฎระเบียบของสองประเทศ

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า จีนได้ให้ให้ข้อมูลล่าสุดว่า ทางจีนจะเริ่มก่อสร้างโครงการรถไฟทางขนาดมาตรฐานความกว้าง 1.435 เมตร (standard gauge ) มีความเร็ว 160 กม./ชม.จากคุนหมิง – ลาว ในปี 2558 ซึ่งเป็นแนวคิดเดียวกับโครงการที่รัฐบาลไทยจะดำเนินการ คือก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน ความเร็ว 160-180 กม./ชม. ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงเส้นทางกันได้ เพราะใช้ระบบและเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งขณะนี้จะมี 2 เส้นทางที่จะดำเนินการคือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ(หนองคาย-โคราช-แหลมฉบัง-มาบตาพุด) ระยะทาง 737 กม. และ สายเหนือ (เชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี) ระยะทาง 655 กม. เงินลงทุนรวม 741,460 ล้านบาท

“เส้นทางรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐานไปหนองคายนั้น เป็นเส้นทางเดิมที่ทางการจีนและไทยได้เคยร่วมสำรวจไว้แล้ว ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูง 250 กม./ ชม.ซึ่งจะปรับให้เป็นความเร็วที่ 160 กม./ชม. เพราะเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมและจะมีค่าก่อสร้างที่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าทางจีนจะเข้ามาลงหรือไม่อย่างไร จะต้องรวบรวมข้อมูลและให้ผู้เกี่ยวข้องศึกษารายละเอียดเพื่อเป็นข้อมูลในการเจรจาร่วมกันก่อน “พล.อ.อ.ประจินกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2014 8:46 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นจี้รัฐตัดสินใจเลือกประเทศร่วมลงทุนระบบราง-ดาวเทียม
โพสต์ทูเดย์
20 ตุลาคม 2557 เวลา 14:11 น.

2ชาติแย่งเค้กเศรษฐกิจไทย ทูตญี่ปุ่นพบรองนายกฯ บีบ ต้องเลือกข้างลงทุน
มติชน
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 07:59:10 น.

"ยงยุทธ"เผยญี่ปุ่นเร่งตัดสินใจเลือก จีน หรือ ญี่ปุ่น ลงทุนระบบราง-ดาวเทียมในไทย ย้ำถ้าเลือกต้องมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 20 ต.ค. นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายสังคม เปิดเผยภายหลังการหารือกับนายชิเกะคะสุ ซะโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ว่า ทางรัฐบาลญี่ปุ่นขอความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง และเทคโนโลยีดาวเทียมโดยเป็นสืบเนื่องจากการพบหารือกันระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่ประเทศอิตาลี และเนื่องจากรัฐบาลชุดนี้รักษาการชั่วคราว จึงต้องการความชัดเจน ว่ารัฐบาลจะเลือกประเทศจีน หรือ ญี่ปุ่นร่วมลงทุน

นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังนายชิเกะคะสุ ซะโตะ (H.E. Mr. Shigekazu Sato) เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะที่ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาลว่า สิ่งที่หารือกันเป็นงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีต่อสังคม เช่น เรื่องการทำขนส่งระบบราง ดาวเทียม โดยญี่ปุ่นได้ขอความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางและเทคโนโลยีดาวเทียม ซึ่งญี่ปุ่นมีความเป็นห่วงว่าตกลงว่าไทยจะร่วมมือกับจีนหรือญี่ปุ่น โดยรัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลชั่วคราว จึงขอความชัดเจนว่ารัฐบาลไทยจะเลือกจีนหรือญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึง เอกอัคราชทูตสอบถามว่าไทยจะมีกลไกอย่างไร ซึ่งตนตอบไปว่าเราจะพิจารณาว่าแต่ละประเทศมีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอย่างไร แต่จะพิจารณาอย่างรอบคอบในการร่วมมือกับประเทศต่างๆ

นายยงยุทธ กล่าวด้วยว่า ญี่ปุ่นมีความสำคัญที่เคยมีความร่วมมือและประสบความสำเร็จอย่างมาก อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ และผมยังเสนอว่าอนาคตในสังคมผู้สูงอายุเป็นประเด็นใหญ่ระดับโลกคิดว่าน่าจะมีอุตสาหกรรมที่เป็นความร่วมมือไทยกับญี่ปุ่นเช่นการทำหุ่นยนต์เพื่อช่วยผู้สูงอายุหรือผู้พิการหรือเทคโนโลยีด้านต่างๆที่จะช่วยผู้สูงอายุและผู้พิการซึ่งการหารือยังคุยด้วยว่าน่าจะมีการดึงบริษัทญี่ปุ่นที่มีความไฮเทคอาทิ บริษัท ไนเดค (NIDEC) ที่ทำเรื่องมอเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ว่าไทยให้ความสำคัญและยินดีที่ส่งเสริมถ้าอุตสาหกรรมด้านนี้จะมาตั้งฐานการผลิตที่ประเทศไทย เพราะมองว่าเรื่องอุตสากรรมคอมพิวเตอร์ ไอทีและหุ่นยนต์สำหรับผู้สูงอายุถือว่ามีความสำคัญรองลงมาจากอุตสาหกรรมรถยนต์ เพราะเป็นประโยชน์กับสังคมไทยและด้านพาณิชย์

หลังจากนั้นเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้เข้าพบ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ โดย ม.ร.ว.ปรีดียาธร เปิดเผยหลังหารือกับ นายชิเกะคะสุ ซะโตะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยว่า ทางญี่ปุ่นได้สอบถามถึงการจัดทำสำนักงานปฏิบัติการระดับภูมิภาคหรือ เทรดดิ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล เฮดควอเตอร์ ) ในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาค โดยทางเราก็บอกว่าจะทำ เพราะบริษัทญี่ปุ่นมาตั้งบริษัทลูกที่ไทยเป็นจำนวนมาก โดยจะต้องมีการแก้กฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบริษัทต่างประเทศที่ในประเทศไทย โดยขณะนี้ที่ไทยยังไม่มีการตั้งสำนักงานดังกล่าวขึ้น เพราะมีกฎเกณฑ์มาก ทั้งเรื่องภาษีและที่ไม่ใช่ภาษี จึงต้องแก้ไขให้ใกล้เคียงกับสิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกง ที่สนับสนุนเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว โดยหากแก้ให้ได้เสร็จสิ้น จะทำให้เกิดกิจกรรมทางการค้ามีกำไรเพิ่มมากขึ้นและเพื่อที่บริษัทจะสามารถเข้ามาควบคุมบริหารบริษัทลูกที่มาตั้งในไทยได้ทั้งนี้ในอีก2สัปดาห์จะแก้กฎหมายดังกล่าวก่อนเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อการพิจารณา

ขณะเดียวกันญี่ปุ่นยังได้สอบถามถึงความคืบหน้าการพัฒนาโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องในประเทศเมียนมาร์ซึ่งเป็นความร่วมมือในระดับรัฐบาลของไทยกับเมียนมาร์โดยการเข้ามาร่วมของญี่ปุ่นนั้นไทยก็พร้อมที่จะสนับสนุนแต่ก็ต้องหารือกับรัฐบาลเมียนมาร์ก่อนว่า จะร่วมมือในแนวทางอย่างไรบ้าง ขณะเดียวกันในเรื่องของการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งประเทศญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญนั้น ล่าสุดยังไม่ได้หารือถึงเรื่องดังกล่าว


Last edited by Wisarut on 21/10/2014 1:14 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2014 1:13 pm    Post subject: Reply with quote

"ประยุทธ์"นั่งหัวโต๊ะครม.ก่อนครบ5เดือนคสช.พรุ่งนี้จับตาวาระศก.
Nation Channel Breaking News
วันอังคารที่ 21 ตุลาคม 2557 เวลา 10:19 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันนี้(21ต.ค.) มีการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันนี้ ยังคงใช้ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ประชุม โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เป็นประธานในการประชุม อย่างไรก็ตามเป็นการประชุมก่อนที่ในวันพรุ่งนี้ (22ตุลาคม) จะครบรอบ 5 เดือน ที่คสช.เข้ายึดอำนาจ โดยวาระพิจารณาในการประชุมครม. ที่น่าสนใจที่เสนอโดยกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ อาทิ กระทรวงคมนาคมเสนอ 2 วาระใหญ่ผ่าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี โดยวาระแรกเป็นแผนการดำเนินงานโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งปี พ.ศ. 2558 และวาระที่สอง เสนอแผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ ปีงบประมาณ พ.ศ.2558

กระทรวงการคลังเสนอรายงานการเงินรวมภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอผ่าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เช่นกันในวาระการแก้ไขปัญหายางพารา ตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ(กนย.) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2557

สำนักงบประมาณ เสนอวาระการกำหนดแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และสำนักงบประมาณ จะขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณสำหรับรายการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558

ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(กปร.) เสนอวาระการรอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมงบประมาณโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

กระทรวงกลาโหม เสนอขอรับความเห็นชอบต่อปฏิญญาร่วมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และขอรับการอนุมัติยกเว้นเป็นกรณีพิเศษในการก่อสร้างอาคารที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ในพื้นที่กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก(เดิม) จังหวัดนนทบุรี

กระทรวงการต่างประเทศ เสนอวาระการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยและการลดหย่อนค่าใช้จ่ายของผู้ขายเป็นกรณีพิเศษ และยังเสนอวาระตามที่รัฐบาลฮังการีเสนอขอแต่งตั้งนายเปเตอร์ ยาค็อบ (Mr.Peter Jakab) และตามที่รัฐบาลไอร์แลนด์เสนอขอแต่งตั้งนายเบร็นดัน รอเจอรส์(Mr.Brendan Rogers) เป็นเอกอัคราชทูตประจำประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2014 9:02 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติโครงสร้างพื้นฐาน เริ่มลงทุนปี 58

​คณะรัฐมนตรี เห็นชอบแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ปี 2558-2565 โดยในปีหน้า จะเริ่มลงทุนกว่า 6 หมื่น 8 พันล้านบาท ทั้งรถไฟชานเมือง , รถไฟรางคู่ และมอร์เตอร์เวย์

นายชัยวัฒน์ ทองคำพูน รองผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ระหว่างปี 2558-2565 ระยะเวลา 8 ปี โดยมีเป้าหมายพัฒนาโครงสร้าง 4 ยุทธศาสตร์ 5 แผนงานหลัก คือ 1. สร้างรากฐานความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ 2.สร้างความมั่นคงด้านความปลอดภัยในการเดินทาง 3.สร้างโอกาสจากการใช้ประโยชน์ของการเปิดเออีซี

และ 4.การสร้างรากฐานความมั่นคงด้านสังคม มุ่งหวังให้การขนส่งสินค้าทางราง ขยายตัวเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 2.5 เป็นร้อยละ 5 , การขนส่งทางน้ำ เพิ่มจากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 19 ซึ่งช่วยลดต้นทุนการขนส่ง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 ส่วนรถไฟฟ้าระหว่างเมือง จะช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว จากร้อยละ 60 เหลือเพียงร้อยละ 40

นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี ยังเห็นชอบในหลักการให้มีการขยายถนนทั่วประเทศ เป็น 4 ช่องจราจร พร้อมอนุมติการสร้างทางหลวงพิเศษ หรือ มอเตอร์เวย์ใน 4 เส้นทาง โดยเริ่มจากเส้นทางพัทยา-มาบตาพุด , เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา , บางใหญ่-กาญจนบุรี และต่อขยายไปยัง อำเภอพุนำ้ร้อน

ทั้งนี้ แผนดำเนินงานในปีหน้า(58) จะใช้เงินลงทุนโครงการด้านต่างๆ ประมาณ 6 หมื่น 8 พันล้านบาท เฉพาะการสร้างรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง จะเริ่มประกวดราคาในสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ก่อน

ส่วนปี 2559 จะเริ่มประกวดราคาสายอื่นเพิ่มเติม เช่น สายสีส้ม จากศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี สายสีชมพู แคราย-มีนบุรี สายสีเหลือง และสายสีแดงส่วนต่อขยายถึงธรรมศาสตร์ รังสิต ขณะที่ การจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี รอบแรกให้ส่งมอบ 489 คัน เพื่อนำออกมาวิ่งให้บริการในช่วงต้นปีใหม่นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 20, 21, 22 ... 121, 122, 123  Next
Page 21 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©