RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179817
ทั้งหมด:13491049
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 100, 101, 102 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 22/10/2014 9:11 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ต้องเร่งทำรถไฟฟ้าได้แล้วหละ
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20141021/612652/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%99-%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5.html
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/10/2014 1:57 pm    Post subject: Reply with quote

อีก11เดือนมีรถไฟฟ้าวิ่งไปเมืองนนท์ ปี58เปิดประมูลอีก3สายใหม่พร้อมสายเชื่อม2สนามบิน สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง
วันศุกร์ 24 ตุลาคม 2557 เวลา 10:11 น.

นางสร้อยทิพย์ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคมว่าโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างในความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ขณะนี้ประกอบด้วย
1.รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่2.รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ
2.รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนใต้จากแบริ่ง– สมุทรปราการ
และยังมีอีก1โครงการที่กำลังหาผู้ดำเนินการก่อสร้างคือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนเหนือต่อจากหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

ซึ่งโครงการที่จะได้ใช้บริการก่อนเป็นเส้นทางแรกคือรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ขณะนี้การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแล้วเสร็จไปค่อนข้างมากโดยตามแผนจะมีการสั่งขบวนรถเข้ามาเพื่อทดสอบระบบได้ประมาณเดือนก.ย.2558หรืออีกไม่ถึง1ปีนับจากนี้ซึ่งจะเป็นการทดลองเดินรถฟรีก่อนและคาดว่าจะเปิดใช้อย่างเป็นทางการได้ในปี2559นี้ซึ่งจะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่วิ่งไปถึงจังหวัดนนทบุรี ส่วนในสายอื่นๆจะทยอยเปิดบริการได้ประมาณปี2560-2561

นอกจากนี้ยังมีโครงการของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างคือสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตพร้อมสถานีกลางบางซื่อซึ่งจะเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนาดใหญ่ของการขนส่งระบบรางโดยใปี 2558ก็ประมูลสร้างส่วนต่อขยายสายสีแดงที่สิ้นสุดที่รังสิตต่อยาวไปถึงธรรมศาสตร์และโครงการก่อสร้างส่วนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เชื่อม2สนามบินสุวรรณภูมิ-ดอนเมืองซึ่งขณะนี้รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มาถึงบริเวณพญาไทจะประมูลสร้างเชื่อมต่อมาทางด้านเหนือถึงบริเวณสนามบินดอนเมือง

นางสร้อยทิพย์กล่าวต่อว่าทั้งนี้ทุกโครงการได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนแล้วและจะมีการเสนออนุมัติเพื่อดำเนินการโครงการอีกครั้งเมื่อโครงการมีความพร้อมผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)แล้วเสร็จโดยในปี 2558จะมีโครงการรถไฟฟ้าของรฟม.ที่พร้อมเปิดประมูลอีก3โครงการแน่นอนคือ
รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี)
รถไฟฟ้าสายสีส้ม(ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) และ
รถไฟฟ้าสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง)

ซึ่งทั้ง3โครงการนี้มีความพร้อมทั้งแบบการก่อสร้างและผลการศึกษาอีไอเอเสร็จเรียบร้อยทั้งหมดแล้ว ขณะนี้รฟม.เสนอมาที่กระทรวงคมนาคมแล้วและพร้อมจะเสนอรัฐบาลอนุมัติเดินหน้าโครงการได้ตามแผน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/10/2014 2:01 pm    Post subject: Reply with quote

สำรวจโปรเจ็กต์เชื่อมเจ้าพระยา รถไฟฟ้า สะพาน...ยันทางด่วน เปิดหน้าดินบูม"นนท์-กทม."
ประชาชาติธุรกิจอนนไลน์ วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 12:46:37 น.

Click on the image for full size

ปัจจุบัน 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามีการพัฒนาก่อสร้างใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายอย่างคึกคัก ทั้งคอนโดมิเนียมโลว์ไรส์-ไฮไรส์ ไล่ไปจนถึงอาคารสำนักงาน รับกับโครงการใหญ่ที่กำลังตอกเข็มก่อสร้าง ไม่ว่าสะพานข้ามแม่น้ำ รถไฟฟ้าสารพัดสีและทางด่วนที่ "คมนาคม" กำลังเร่งให้เปิดใช้โดยเร็ว เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางพื้นที่รอยต่อ "นนทบุรีและกรุงเทพฯ" ใกล้กันมากขึ้น

ปลายปีเปิดใช้สะพานนนท์ 1

ใกล้จะเปิดใช้ปลายปีนี้มี "สะพานนนทบุรี 1" ของ "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้า 90% จะเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงพื้นที่ 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และเพิ่มทางเลือกการเดินทางให้คนนนทบุรีและกรุงเทพฯตอนบนสะดวกมากยิ่งขึ้น ที่น่าสนใจสำหรับโครงการนี้อยู่ที่ "สะพาน" ที่ออกแบบเป็นคานขึงหรือ Extradosed Bridge แห่งแรกในประเทศไทย โดยโครงสร้างสะพานเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างสะพานเคเบิลขึงและสะพานคอนกรีตอัดแรงความยาว 460 เมตร มาต่อเชื่อมถนน มีระยะทางรวม 4.3 กม.

เร่งสายสีม่วงเปิดหวูดปีหน้า

ที่กำลังจะตามมา คือ รถไฟฟ้าสีม่วงช่วง "บางซื่อ-บางใหญ่" ของ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" ที่โครงสร้างช่วงแม่น้ำเจ้าพระยาจะสร้างคู่ขนานกับ "สะพานพระนั่งเกล้า" ขณะนี้งานก่อสร้างใกล้เสร็จ ยังเหลือรอรถไฟฟ้ามาวิ่งบริการ จะเริ่มทดสอบกลางปีหน้า จากนั้นเดือนกันยายนเปิดบริการอย่างไม่เป็นทางการก่อนจะเปิดเต็มรูปแบบเดือนสิงหาคม 2559

นอกจากนี้ ในอนาคต "สถานีพระนั่งเกล้า"ยังจะมี "สร้างสถานีท่าเรือ" รองรับคนจังหวัดปทุมธานีและใกล้เคียงนั่งเรือมาต่อรถไฟฟ้าเข้าเมือง ทำให้ภาพการพัฒนาแม่น้ำช่วงนี้ไม่น้อยหน้าในเมือง เพราะจาก "ท่าปากเกร็ด" ไล่มาจนถึง "สะพานพระนั่งเกล้า" มีคอนโดมิเนียมติดแม่น้ำกำลังสร้างอยู่หลายตึก นอกจากโครงการเก่าที่สร้างเสร็จรอไปก่อนหน้านี้

ทางด่วนสายใหม่เสร็จกลางปี"59

มาถึงโค้งน้ำเชิง "สะพานพระราม 7" จุดนี้มีก่อสร้าง 2 โครงการใหญ่ คือ รถไฟชานเมืองสายสีแดง "บางซื่อ-ตลิ่งชัน" ที่สร้างเสร็จปี 2555 แต่ยังรอซื้อรถไฟฟ้ามาวิ่งบริการพร้อมกับรถไฟสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" คาดว่าจะเปิดในปี 2561 ปัจจุบัน "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า นำรถไฟดีเซลรางมาวิ่งไปพลาง ๆ เพื่อรักษาโครงสร้างไม่ให้ร้างและสึกหรอ จนกว่ารถไฟฟ้าขบวนใหม่ที่สั่งซื้อจะมาถึงอีก 4 ปีข้างหน้า

นอกจากนี้ ยังมีโครงการทางด่วนสายใหม่ "ศรีรัช-วงแหวนตะวันตก" ของ "กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย" จะสร้างคู่ขนานไปกับรถไฟสายสีแดงและรถไฟสายใต้ ขณะนี้งานก่อสร้างรุดหน้าไปด้วยดี คืบหน้าแล้ว 33% เนื่องจาก "บีอีซีแอล-บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ" ผู้รับสัมปทานต้องการเร่งเปิดใช้เร็วขึ้นเป็นกลางปี 2559

บางโพคึกรับสายสีน้ำเงิน

เมื่อลัดเลาะจากช่วงแม่น้ำบริเวณนี้ไปถึง "ท่าบางโพ" นับว่าคึกคักมาก เพราะกำลังมีการก่อสร้างคอนโดมิเนียมแนวสูงอยู่หลายตึกติดวิวแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะย่าน "บางโพ" นอกจากจะมีท่าเรือแล้ว ยังเป็นจุดจอดสถานีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วง "บางซื่อ-ท่าพระ" ที่กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดการพัฒนาคึกคักเป็นพิเศษทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำ ที่ดูจะเป็นไฮไลต์คือโปรเจ็กต์ของ

ค่าย "แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์" โครงการคอนโดมิเนียมหรูริมน้ำแบรนด์ "333 ริเวอร์ไซด์" มูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท พัฒนาพื้นที่ 11 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัยพ่วงด้วยคอมมิวนิตี้มอลล์ริมน้ำ ขณะนี้กำลังเร่งตอกเข็ม จะแล้วเสร็จพร้อมรถไฟฟ้าเปิดใช้บริการพอดีในปี 2560

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นไซต์ก่อสร้างสัญญาที่ 3 ของ "บมจ.ยูนิคฯ" ผลงาน ณ สิ้นกันยายนที่ผ่านมา คืบหน้าแล้ว 42.87% เร็วกว่าแผนงาน 0.29% โดย "รฟม." กำลังเร่งรัดจะเปิดบริการปลายปี 2560 เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นโครงข่ายเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดินสายปัจจุบันและสายสีม่วงที่สถานีเตาปูน

สะพาน-รัฐสภาใหม่บูมเกียกกาย

ถัดไปจะเป็นโค้งน้ำบริเวณ "เกียกกาย" กำลังมีการก่อสร้าง "อาคารรัฐสภาแห่งใหม่" มูลค่า 12,280 ล้านบาท มี "บมจ.ซิโน-ไทยฯ" เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและกำลังเร่งตอกเข็ม ตามแผนจะแล้วเสร็จวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 แต่ติดรื้อย้าย คาดว่าจะเลื่อนเปิดใช้ไปอย่างน้อย 1 ปี

ทั้งนี้ ในอนาคตบริเวณนี้จะมีการก่อสร้าง "สะพานเกียกกาย" พร้อมถนนต่อเชื่อม โครงการหมื่นล้านของ "กทม.-กรุงเทพมหานคร" มารับกับการเปิดใช้รัฐสภาใหม่ ซึ่ง กทม.วาดแผนจะสร้างมาตั้งแต่ปี 2553 จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ตอกเข็ม เพราะขาดเงินมาก่อสร้าง

ตอนนี้ "กทม." กำลังลุ้น "รัฐบาลประยุทธ์" จะอัดฉีดเม็ดเงินก่อสร้างให้หรือไม่

แม้โครงการจะยังไม่เริ่มลงมือก่อสร้าง ปัจจุบันมีนักพัฒนาที่ดินหลายค่ายเข้าไปจับจองพื้นที่ผุดคอนโดมิเนียม ซีวิวรัฐสภาใหม่ และแม่น้ำเจ้าพระยากันอย่างครึกครื้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2014 4:57 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ’ เข้าทำเนียบฯ นั่งหัวโต๊ะนำถกครม.
คมชัดลึก
วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2557


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ (28 ต.ค.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานในการประชุมตามปกติ โดยใช้สถานที่ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เป็นสถานที่ประชุม

สำหรับวาระในการประชุมในวันนี้ที่หลายกระทรวง/หน่วยงานเสนอเข้ามายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อให้ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบนั้นมีหลายวาระที่น่าสนใจ โดยเฉพาะวาระจรเพื่อทราบ ที่กระทรวงมหาดไทย โดยพลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เสนอแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เพื่อไปทำหน้าที่แทนผู้ที่เกษียณอายุราชการจำนวน 22 ตำแหน่ง ขณะที่พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว.ยุติธรรม จะเสนอแต่งตั้งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษคนใหม่ ที่มีกระแสข่าวว่าจะเสนอชื่อ นางสุวณา สุวรรณจูฑะ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม มานั่งในตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ขณะที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเสนอ ร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ...(ตำรวจกองประจำการ)

ส่วนวาระด้านเศรษฐกิจมีหลายวาระ โดยเฉพาะวาระที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ที่เสนอผ่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในฐานะที่หัวหน้าคสช.เป็นประธานสสว.เสนอขอความเห็นชอบยกเลิกโครงการบ่มเพาะวิาสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให่มีศักยภาพในการประกอบธุรกิจ (กองทุนตั้งตัวได้) วงเงิน 1,300 ล้านบาท และนำงบประมาณดังกล่าวไปดำเนินการตามกรอบแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2558-2559

ส่วนวาระด้านเศรษฐกิจที่เสนอผ่าน หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ฐานะกำกับดูแลงานด้านเศรษฐกิจ มีหลายวาระที่น่าสนใจที่เกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าหลายสาย โดยเริ่มจาก เสนอร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ พ.ศ... ในท้องที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ...

เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา2ฉบับ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง คือ ร่างพระกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร ห้วยขวาง วังทองหลาง บางกะปิ สวนหลวง ประเวศ บางนา และอำเภอเมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ พ.ศ... และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการของการขนส่งมวลชนในท้องที่ เขตจตุจักร ห้วยขวาง วังทองหลาง บางกะปิ สวนหลวง ประเวศ บางนา และอำเภอเมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ พ.ศ...

เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนและร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน เพื่อดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และยังเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาฯของโครงการสายสีชมพู และสายสีเขียวรวมอีก 4 ฉบับ

และนอกจากนี้วาาระด้านเศรษฐกกิจ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ยังจะขออนุมัติดำเนินการตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดยการเจรจาตรงกับ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วง เตาปูน-บางซื่อ (งานสัญญาที่5)

รองนายกฯด้านเศรษฐกิจ ยังจะเสนอวาระเสนอร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (ฉบับที่...) พ.ศ... และขอโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และขออนุมัติเพิ่มวงเงินค่าก่อสร้างและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการก่อสร้างทางสายเชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก พร้อมปรับปรุงทางเดิมสายเมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรี ของกรมทางหลวง และขอความเห็นชอบให้สัตยาบันภาคผนวก 10 แนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

อย่างไรก็ตาม วาระที่ถูกเสนอเข้ามาให้ครม.พิจารณาจะได้รับความเห็นชอบหรือไม่นั้น ทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นำโดยร้อยเอกนายแพทย์ ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรฯ จะแถลงมติครม.ให้ทราบในเวลา 14.00น. ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล

//---------------

เคาะเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้า 4 สาย - “ประวิตร” สั่งทบทวน “ตำรวจเกณฑ์” หวั่นกระทบกลาโหม


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2557 18:41 น.




ครม. ไฟเขียวเวนคืนที่ดินก่อสร้างรถไฟฟ้า 4 สาย ลาดพร้าว-สำโรง, ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี, แคราย-มีนบุรี, หมอชิต-คูคต เห็นชอบเกณฑ์ตำรวจกองประจำการ “บิ๊กป้อม” ให้ สตช. ทบทวนหวั่นเป็นภาระ ก.กลาโหม ให้ ขสมก. โยกงบ 2.7 พันล้านทำรถเมล์ฟรีต่อ ยุบทิ้ง “กองทุนตั้งตัวได้” โยน ศธ. ดูแล นศ. จบใหม่ เพิ่มงบสร้างถนนเชิงเขาตะนาวศรี เหตุปรับเส้นทางเลี่ยงชนกลุ่มน้อย อนุมัติแผนรับมือการเดินทางเทศกาลลอยกระทง เอาจริงห้ามปล่อยโคมลอย “บิ๊กตู่” กำชับตัวเลขสูญเสียต้องลดลง

วันนี้ (28 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า
ในส่วนของความคืบหน้าในการดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ นั้น พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ที่ประชุม ครม. ได้พิจารณาเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน และร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ในบริเวณที่ที่จะดำเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดำเนินการตรวจสอบสภาพพื้นที่และลักษณะการใช้ประโยชน์เดิม เพื่อวางแผนและออกแบบกิจการขนส่ง โดยเส้นทางที่ 1 รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี มีที่ดินที่ต้องจัดกรรมสิทธิ์และอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอน จำนวน 184 หลัง เส้นทางที่ 2 รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สุวินทวงศ์ ระยะทาง 21.2 กม. เป็นเส้นทางใต้ดิน 12.2 กม. และอยู่บนทางยกระดับ 9 กม. มีที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามแนวเส้นทาง สถานีและอาคารจอดรถประมาณ 594 แปลง และต้องรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างอาคารประกอบ 222 หลัง เส้นทางที่ 3 รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. และเส้นทางที่ 4 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต ระยะทาง 18.4 กม. โดยแต่ละสายจะมีร่าง พ.ร.ฎ. จำนวน 2 ฉบับดังกล่าว

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังได้เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ซึ่งในส่วนนี้ได้มีการออก พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินฯจำนวน 2 ฉบับในการเข้าไปสำรวจพื้นที่แล้ว โดยในพื้นที่รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ มีความเกี่ยวข้องกับที่ดินของเอกชน จำนวน 83 แปลง ซึ่งเบื้องต้นเจ้าของที่ดินได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เรียบร้อยแล้วจำนวน 76 ราย เหลืออีก 7 แปลงที่ยังเจรจาไม่ลงตัว แต่ได้วางเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทั้ง 7 รายไปแล้ว จึงจำเป็นที่ต้องออก ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพื่อให้โครงการดำเนินการต่อไปได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2014 10:03 pm    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน้ารถไฟฟ้า สี่สายที่จะทำ หลังออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน
เส้นทางที่ 1 รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กิโลเมตร จำนวน 23 สถานี มีที่ดินที่ต้องจัดกรรมสิทธิ์และอาคารสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อถอน จำนวน 184 หลัง
เส้นทางที่ 2 รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สุวินทวงศ์ ระยะทาง 21.2 กม. เป็นเส้นทางใต้ดิน 12.2 กม. และอยู่บนทางยกระดับ 9 กม. มีที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามแนวเส้นทาง สถานีและอาคารจอดรถประมาณ 594 แปลง และต้องรื้อถอนอาคารและสิ่งปลูกสร้างอาคารประกอบ 222 หลัง
เส้นทางที่ 3 รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 36 กม. และ
เส้นทางที่ 4 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-คูคต ระยะทาง 18.4 กม.
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000124113
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1414488883
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=FnCY85l2SnU
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2014 6:30 pm    Post subject: Reply with quote

เกาะติดรถไฟฟ้า "รัฐบาลตู่" เลื่อนสีเขียวไปปากน้ำเปิดปี"63
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 31 ตุลาคม 25577 เวลา 05:54:31 น.


โปรเจ็กต์รถไฟฟ้าสารพัดสี ยุค "รัฐบาลประยุทธ์" มี "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม คุมการก่อสร้างและจัดแถวประมูลที่ตั้งเป้าจะเร่งรัดประมูลทุกสายให้เสร็จในปีหน้า มูลค่าการลงทุนกว่า 512,262 ล้านบาท ล่าสุด ข้อมูลที่ "คมนาคม" นำเสนอ "ครม.-คณะรัฐมนตรี" อนุมัติเมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา ดูเหมือนแผนงานจะขยับไปจากเดิม โดย 4 สายที่กำลังเร่งรัดก่อสร้าง มีปรับแผนการเปิดให้บริการ เริ่มจาก "สีม่วง" ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ จากเดิมจะเร่งเปิดหวูดปลายปีหน้า ล่าสุด "นายกฯตู่" ระบุจะรีบดำเนินการให้เสร็จก่อนปี 2560 ขณะที่ "สีน้ำเงิน" ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค และ "สีแดง" ช่วงบางซื่อ-รังสิต ดีเลย์ 2 ปี จะเสร็จในปี 2562 จากเดิมปี 2560



แต่ที่น่าแปลกใจ สาย "สีเขียว" ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่เลื่อนเปิดบริการไปไกลถึงปี 2563 จากเดิมปี 2560 ทั้งที่การก่อสร้างรุดหน้าเร็วกว่าแผน ว่ากันว่าเป็นเพราะความไม่แน่นอนของระดับนโยบาย จึงทำให้เปิดหวูดช้ากว่ากำหนดถึง 3 ปี


สำหรับ 7 สายใหม่ ในปีหน้าน่าจะเริ่มเห็นการเปิดประมูล ได้แก่ สีเขียว (หมอชิต-คูคต) สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) สายต่อเชื่อมสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง สีแดง (บางซื่อ-พญาไท-หัวหมาก และบางซื่อ-หัวลำโพง) และสีแดง (รังสิต-ธรรมศาสตร์) จะเวนคืนก่อสร้างปี 2558-2559 แล้วเสร็จปี 2564

//-----------------
เวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้า 5 สาย
กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 29 ตุลาคม 2014 เวลา 17:18 น.
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,996 วันที่ 30 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 28 ตุลาคม 2557 อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามที่กระทรวงคมนาคมนำเสนอ 5 เส้นทาง ได้แก่
1.ร่าง พ.ร.บ.เวนคืนฯ เพื่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ) ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
2.ร่างพ.ร.บ.กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร และอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว - สำโรง
3.ร่างพ.ร.บ.กำหนดเขตที่จะเวนคืน และร่างพ.ร.บ.กำหนดเขตที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และ
4.ร่างพ.ร.บ.กำหนดเขตที่จะเวนคืน เพื่อดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ปากเกร็ด-มีนบุรี) และรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต - คูคต - ดอนเมือง)
นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมงานหรือดำเนินการตามมาตรา 13 ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง โดยให้เจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - บางซื่อ (งานสัญญาที่ 5 ) ด้วยรูปแบบการลงทุนที่มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อภาครัฐ โดยมีระยะเวลาของสัญญาเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 2 กรกฎาคม ตามมติครม. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556

//--------------
รถไฟฟ้า4เส้นส่อช้ารอชาติหน้า แฉมีกลุ่มโยงใยประมูลขัดขา


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 30 ตุลาคม 2557 22:18 น.


จับตาโครงการรถไฟฟ้า4 เส้นทางส่อช้าเป็นเรือเกลือ เผยคนในรัฐบาลกุมเศรษฐกิจหวั่นล่าช้าในทุกส่วนงานถึงพร้อมก่อสร้างก็ไม่สามารถทำได้ แฉมีขบวนการใต้ดินแฝงอยู่ในรฟม.และ รฟท. แม้ คสช.จะกุมอำนาจในคมนาคมแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ดึงงานให้ล่าช้า โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อประชาชนหวังดิสเครดิตรัฐบาลชุดนี้ ชี้หากรัฐยังปล่อยล่าช้าเศรษฐกิจไทยหมดสิทธิโต เหตุนักลงทุนจับตาโครงการขนาดใหญ่ที่มีผลต่อการเติบโตต่อเศรษฐกิจไทย

หลังจากที่ ครม.ได้มีมติเมื่อ 21 ตุลาคม 2557 เห็นชอบเร่งรัดก่อสร้างรถไฟฟ้า 4 เส้นทาง คือ

1.สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
2.สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ 3.สายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และ 4.สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต

ซึ่งการประกวดราคา 1 เส้นทาง คือ สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เตรียมการประกวดราคา 6 เส้นทาง คือ
1.สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี
2.สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี
3.สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
4.รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท
5.สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกระสัน-หัวหมาก และสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง 6.สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต และ

ศึกษาออกแบบรายละเอียด 1 เส้นทาง คือ สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 โดยโครงการที่น่าจับตามองมากที่สุด คือ สายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสั่งการให้ รฟม.เร่งรัดให้ได้ข้อสรุปโดยเร็วเพราะโครงสร้างโยธากำลังจะแล้วเสร็จ หากการคัดเลือกเอกชนผู้ให้บริการเดินรถยังล่าช้าอยู่จะทำให้เกิดปัญหาเหมือนสายสีม่วง ที่ไม่มีรถไฟฟ้าวิ่งให้บริการ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ขณะนี้ฝ่ายเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์เป็นกังวลมากเกี่ยวกับความล่าช้าในการดำเนินงานของกระทรวงคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นในส่วนงานก่อสร้างและงานให้บริการเดินรถ ในส่วนของงานก่อสร้าง โครงการที่พร้อมจะก่อสร้างก็ไม่สามารถประกวดราคาได้ทั้งที่หน่วยงานรายงานว่ามีความพร้อมแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องน่าแปลกว่าเพราะเหตุจึงที่ไม่สามารถเร่งรัดดำเนินการได้ ทั้งรถไฟทางคู่ 6 เส้นทางและรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีชมพู ในส่วนงานให้บริการเดินรถซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะหมายถึงประชาชนจะใช้รถไฟฟ้าได้หรือไม่ ขณะนี้ก็ยังล่าช้าอยู่ โดยรัฐบาลสั่งกระทรวงคมนาคมแก้ไขในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ และรถไฟฟ้าสายสีแดงก่อน เพราะเป็นสายที่พร้อมให้บริการแก่ประชาชน

สำหรับปัญหาทั้งหมดเกิดจากขบวนการใต้ดินซึ่งฝังตัวอยู่ใน รฟม.และ รฟท. แม้ว่ารัฐบาลและ คสช.จะกุมอำนาจบริหารอยู่ แต่ขบวนการนี้ก็ยังหาโอกาสประสานผลประโยชน์เพื่อจะให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อระบบรถไฟฟ้าและจัดตั้งบริษัทลูกต่างๆ ใน รฟม.และ รฟท. จนทำให้งานต่างๆล่าช้า เพราะรู้ว่ารัฐบาลและคสช.มีจุดอ่อนคือความโปร่งใสและความรวดเร็ว ทำให้ขบวนการนี้หาข้ออ้างเรื่องความโปร่งใสและการแข่งขันมาสร้างปัญหาอยู่ตลอดโดยไม่สนใจว่าผลลัพท์ที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ซึ่งขณะนี้กำลังขยายอิทธิพลไปสู่การตั้งผู้บริหารสำคัญในหน่วยงาน รวมถึงตำแหน่งผู้ว่า รฟม. และ รฟท.ด้วย โดยยังคงมีแรงสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ และเนื่องจากขบวนการนี้เชื่อมโยงกับกลุ่มอำนาจเก่า ว่ากันว่ามีความเป็นไปได้ว่าเป็นการดิสเครดิตรัฐบาลชุดนี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวต่อไปว่าจะต้องจับตาฝ่ายเศรษฐกิจของรัฐบาลและกระทรวงคมนาคมจะดำเนินการแก้ปัญหานี้อย่างไร เพราะตั้งแต่รัฐบาลและ คสช.เข้ามาบริหารงานกว่าครึ่งปีแต่ยังไม่มีผลงานใดๆเลย ทั้งๆที่ได้ให้นโยบายมาตลอดว่าจะเร่งรัดงานโครงสร้างพื้นฐานและต้องการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งเป็นส่วนสำคัญมาก เพราะปีนี้ GDP ของประเทศตกลงไปกว่า ...% หากโครงการของรัฐทั้งหมดยังไม่เริ่มดำเนินการก่อสร้างภายในปีหน้าจะส่งผลประทบต่อภาคเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ในส่วนของการให้บริการรถไฟฟ้าหากยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ก็จะทำให้ประชาชนเดือนร้อน เพราะทุกวันนี้ประชาชนเดือนร้อนอย่างมากกับปัญหาจราจร และราคาเชื้อเพลิงพลังงานที่เพิ่มขึ้น รถไฟฟ้าคงเป็นทางออกสำคัญที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้รัฐบาลได้

//-----------------------------------------------

เท 3 หมื่นล.เวนคืนสร้างรถไฟฟ้า 4 สายพื้นที่แจ็กพอตกว่า 2 พันแปลง
โดยคเณ มหายศ
คอลัมน์ : ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันเสาร์ที่ 01 พฤศจิกายน 2014 เวลา 07:23 น.

รฟม.เตรียมลงสำรวจพื้นที่เวนคืนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว-ชมพู-ส้ม-เหลือง วงเงินทั้ง 4 เส้นทางรวมกว่า 2.7แสนล้านบาท เบื้องต้นตั้งงบเวนคืนไว้ที่ 30,348 ล้านบาท “รณชิต” เผยมีพื้นที่แจ็กพอต 2,507 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 1,091 หลัง ชี้สายสีเขียว-ชมพูลงพื้นที่สำรวจได้ทันที คาด 6 เดือนรู้ผล ส่วนสายสีเหลืองและสรส้มยังไม่พร้อม ด้านเจ้าของที่ดินผืนใหญ่ “ประตูกรุงเทพ” ย่านกม.25 พหลโยธินระบุยินดีให้ความร่วมมือเต็มที่แต่ขอแลกเปลี่ยนสิทธิเวนคืนบางประการ

หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไฟเขียวร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน และร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ในบริเวณที่ที่จะดำเนินการโครงการรถไฟฟ้า 4 สายทาง ได้แก่ สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สุวินทวงศ์) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดำเนินการตรวจสอบสภาพพื้นที่และลักษณะการใช้ประโยชน์เดิม เพื่อวางแผนและออกแบบกิจการขนส่ง โดยทั้ง 4 สายดังกล่าว จะมีร่าง พ.ร.ฎ.ทั้ง 2 ฉบับกำกับนั้น


ในกรณีนี้นายรณชิต แย้มสอาด รักษาการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากนี้ ทาง รฟม.จะลงพื้นที่สำรวจบริเวณที่จะเวนคืนที่ดิน เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้ง 4 สายทาง ได้แก่ สายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ระยะทาง 19 กม. มี 16 สถานี ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 52,972 ล้านบาท โดยเบื้องต้นได้ตั้งงบเวนคืนไว้ที่ 7,863 ล้านบาท สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กม. มี 30 สถานี วงเงินก่อสร้างรวม 58,264 ล้านบาท เบื้องต้นตั้งงบเวนคืนไว้ประมาณ 6,847 ล้านบาท

ในส่วนสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สุวินทวงศ์) ระยะทาง 21.2 กม. มี 23 สถานี วางเงินก่อสร้างรวม 110,325 ล้านบาท เบื้องต้นตั้งงบเวนคืนไว้ประมาณ 9,625 ล้านบาท และสายสีสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 29.1 กม. มี 23 สถานี วงเงินก่อสร้างรวม 55,986 ล้านบาท เบื้องต้นตั้งงบเวนคืนไว้ประมาณ 6,013 ล้านบาท

แหล่งข่าวระดับสูงจาก รฟม. กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียว และสายสีชมพู สามารถลงพื้นที่สำรวจบริเวณที่จะเวนคืนได้เลย โดยจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนในการสำรวจ เบื้องต้นคาดว่า รถไฟฟ้าสายสีเขียวจะมีพื้นที่ถูกเวนคืนประมาณ 500 กว่าแปลง สิ่งปลูกสร้างประมาณ 400-500 หลัง ส่วนรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้น เบื้องต้นสำรวจไว้ที่ประมาณ 648 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 185 หลัง

“ในจำนวนนี้เป็นเพียงการสำรวจเบื้องต้นเท่านั้น ถ้าจะให้ชัดเจนต้องรอสำรวจในระยะเวลา 6 เดือนต่อจากนี้ อาจจะมีเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ โดยสายสีเขียวจะถูกเวนคืนมากที่สุดในช่วงสถานี กม.25 และคูคต เพราะจะมีทั้งที่จอดรถ สถานี และศูนย์ซ่อมบำรุง เบื้องต้นบริเวณนี้จะเวนคืนประมาณ 50 ไร่ ส่วนสายสีชมพูจะเวนคืนมากสุดในช่วงห้าแยกปากเกร็ด และมีนบุรี”

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีส้ม และสายสีเหลือง จะมีการสำรวจและนำเข้า ครม.อีกครั้ง จึงจะสามารถลงพื้นที่ได้เหมือนกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และสายสีชมพู แต่เบื้องต้นรถไฟฟ้าสายสีส้มต้องเวนคืนจำนวน 594 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 222 หลัง และสายสีเหลือง จำนวน 765 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 184 หลัง

ขณะที่นายวิเชียร กลิ่นสุคนธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทศรีศุภราช จำกัด และเจ้าของที่ดินบริเวณ กม.25 ถนนพหลโยธิน กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ถือเป็นโครงการที่ดี เพราะจะช่วยลดปัญหาจราจรให้กับประชาชนได้ และโครงการตลอดแนวได้วิ่งตามเกาะกลางถนนมาโดยตลอด มีเพียงช่วงสถานี กม.25 และคูคตเท่านั้น ที่แยกออกไปในพื้นที่เอกชน

“บริษัทมีที่ดินบริเวณ กม.25-คูคต ประมาณ 250 ไร่ซึ่งเรียกย่านนั้นกันว่าประตูกรุงเทพ แต่เมื่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนี้มีแผนตัดผ่านไปในระยะ 2 กม. ที่ดินของบริษัทก็ถูกเวนคืนไป 50 ไร่ ซึ่งก็เห็นด้วยถ้าเกิดประโยชน์กับประชาชนโดยรวม และก่อนหน้านี้ผู้ว่าการ รฟม. คนก่อนได้เข้าไปเจรจากับผมในเบื้องต้นแล้ว ว่า อาจจะไม่มีค่าเวนคืนให้ โดยอาจจะแลกกับสิทธิประโยชน์ในเรื่องอื่นแทน ตรงนี้ก็ต้องคุยกันว่าจะได้สิทธิอะไร อย่างไรก็ดี การเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าต่างๆ อยากให้เกิดประโยชน์กับทั้ง 3 ฝ่าย ทั้งประชาชน รัฐ และเจ้าของที่ดินในการเวนคืนที่ดินในโครงการรถไฟฟ้าทุกๆ สายด้วย” นายวิเชียรกล่าวในตอนท้าย


Last edited by Wisarut on 02/11/2014 4:32 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 02/11/2014 4:25 pm    Post subject: Reply with quote

ชงครม.สร้างรถไฟฟ้า 3 สายปลายปี
เศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันศุกร์ 31 ตุลาคม 2557 เวลา 15:55 น.

กระทรวงคมนาคมพร้อมเสนอครม.ไฟเขียวสร้างรถไฟฟ้า 3 สายก่อนสิ้นปีนี้ ทั้งบางซื่อ-หัวหมาก-หัวลำโพง และแอร์พอร์ตลิ้งค์ พญาไท-ดอนเมือง

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดว่า เตรียมเสนอโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย คือ โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก, ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ให้ ครม. พิจารณาภายในสิ้นปีนี้ หาก ครม.อนุมัติจะเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาเพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป

“ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ได้เสนอรายละเอียด ให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วโดยทั้ง 3 เส้นทาง จะลงอุโมงค์ในจุดเดียวกัน ตรงอุโมงค์ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งต์ อุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีแดง และอุโมงค์ของรถไฟดีเซลอีกเส้นทางหนึ่งที่ไปหัวลำโพงด้วย ซึ่งจะเป็นภาพรวมของโครงการขนาดใหญ่ที่จะเห็นในช่วง 3 เดือนข้างหน้านี้”

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวว่า การเปิดประกวดราคารถไฟทางคู่เส้นทางชุมทางจิระ-ขอนแก่น จะเปิดภายในสิ้นเดือนธ.ค.นี้ ส่วนอีก 2 เส้นทาง จะประกวดราคาได้ไตรมาส 3 และที่เหลืออีก 4 เส้นทางจะประกวดราคาได้ในไตรมาส 4

//------------------------------

คค.เล็งชงครม.ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย
ISN Multimedia
Post Today

01 พฤศจิกายน 2557

คมนาคม เตรียมชง ครม. ก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย บางซื่อ-หัวหมาก-หัวลำโพง และแอร์พอร์ตลิ้งค์ พญาไท-ดอนเมือง ก่อนสิ้นปี 2577


นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เสนอรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารวม 3 สายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว คือ
1. โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก และ
2. โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และ
3. ส่วนต่อขยายรถไฟฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง

โดยกระบวนการพิจารณาทั้งหมดจะแล้วเสร็จเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ภายในสิ้นปีนี้ หาก ครม.อนุมัติจึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการประกวดราคาเพื่อดำเนินการก่อสร้าง

ทั้งนี้ ทั้ง 3 เส้นทางดังกล่าวจะต้องก่อสร้างอุโมงค์เพื่อใช้เป็นทางวิ่งเดียวกันระหว่างสวนจิตลดา-แยกยมราช โดยจะเป็นอุโมงค์ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งต์ อุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีแดง และอุโมงค์ของรถไฟดีเซลอีกเส้นทางหนึ่งที่ไปหัวลำโพงด้วย ซึ่งจะเป็นภาพรวมของโครงการขนาดใหญ่ที่จะเห็นในช่วง 3 เดือนข้างหน้านี้

สำหรับความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย อยู่ระหว่างรอคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ตอบกลับมาหลังจาก ร.ฟ.ท. ได้ชี้แจงประเด็นที่สงสัยไปแล้ว หากไม่มีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็เปิดซองประกวดราคาได้ ---ISN 05
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2014 12:24 pm    Post subject: Reply with quote

รายงานพิเศษ: ลุยรถไฟฟ้า7แสนล. อสังหาฯรวย-คนไทยแบกหนี้
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค
ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ 04 พฤศจิกายน 2557

ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยระยะ 8 ปี (2558-2565) ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเร็วๆนี้ กำหนดว่านับตั้งแต่ปี 2558-2564 ไทยจะมีการลงทุนรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างน้อย 8 เส้นทาง 170 กิโลเมตร วงเงินกว่า 7 แสนล้านบาท

ได้แก่ 1.สายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 2.สายสีส้มศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี 3.สายสีชมพูแครายมีนบุรี 4.สายสีเหลืองลาดพร้าว-พัฒนาการ 5.แอร์พอร์ตลิงค์ดอนเมือง-พญาไท 6.ส่วนต่อขยายสายสีแดงบางซื่อ-หัวลำโพง-หัวหมาก 7.ส่วนต่อขยายสายสีแดงรังสิต-มหาวิทยาลัยศูนย์ธรรมศาสตร์รังสิต และ 8.ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินบางแค-พุทธมณฑลสาย 4

แต่ปรากฏว่าสถานะทางการเงินของหน่วยงานเจ้าของโครงการลงทุน ทั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กลับไม่เอื้ออำนวยนัก เพราะปัจจุบันองค์กรทั้งสองแห่ง มีหนี้สินสะสมรวมกันกว่า 2 แสนล้านบาท ส่งผลให้ภาระการลงทุนและการกู้เงินทั้งหมดตกเป็นของรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

"โมเดลการพัฒนารถไฟฟ้าของไทยผิดมาตั้งแต่ต้นแตกต่างจากฮ่องกงที่วางแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าไปพร้อมๆ กัน (TOD หรือ Transit-Oriented Development) ทำให้เกิดการสร้างเมืองและสร้างรายได้ให้กับองค์กรรถไฟฟ้าของฮ่องกง อย่างของไทยที่เห็นได้ชัดคือ รฟม.สูญเสียโอกาสในการพัฒนาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าสายสีม่วงบางใหญ่-บางซื่อ รฟม.ไม่ได้วางรากฐานศูนย์ซ่อมต่างๆ เพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นเมื่อโครงการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จก็ไม่มีกิจกรรมใดที่จะช่วยให้ รฟม.มีรายได้เพิ่มเติมเลย"เอกชัย สุมาลี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าระบุ

เอกชัย ยังสะท้อนให้เห็นถึงจุดอ่อนของการพัฒนารถไฟฟ้าของไทยว่า ที่ผ่านมา รฟม.ต้องกู้เงินมาลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้มีหนี้สินสะสมมหาศาลจนถึงวันนี้ ในขณะที่เอกชนที่ได้รับว่าจ้างให้มาเดินรถไม่ต้องแบกรับภาระหนี้แต่อย่างใด นอกจากนี้ผลประโยชน์จากการลงทุนรถไฟฟ้ากลับตกอยู่กับเอกชนที่

ซื้อที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามาพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เช่น คอนโดมิเนียมราคาแพงตามแนวสายทางรถไฟฟ้าส่งผลให้คนมีรายได้สูงเข้าถึงการใช้บริการรถไฟฟ้ามากกว่าผู้มีรายได้น้อย

"ปัจจุบันคนมีรายได้สูงและมีรถขับเข้าถึงรถไฟฟ้าได้มากกว่าผู้มีรายได้น้อย เห็นได้จากที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าเป็นคอนโดราคาแพง แต่ผู้มีรายได้ต่ำกลับเข้าถึงการใช้รถไฟฟ้าน้อย เพราะอยู่ห่างจากแนวรถไฟฟ้ามาก" เอกชัย ระบุ

เอกชัย เสนอว่า หากต้องการให้การลงทุนรถไฟฟ้าไม่สร้างภาระให้ภาครัฐมากเกินไป รัฐบาลจำเป็นต้องกำหนดแนวทางพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นโมเดลที่ใช้กันทั่วโลกคือ การพัฒนาพื้นที่ใจกลางเมืองเป็นลักษณะคอมเพล็กซ์ สำนักงานเช่า โรงแรมที่พัก เช่นที่ก่อนหน้านี้ รฟม.มีแผนพัฒนาที่ดินบริเวณศูนย์ซ่อมห้วยขวาง หรือที่ตั้งสำนักงานใหญ่ รฟม. ส่วนตามแนวสายทางก็จะพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้ปานกลาง เหมือนที่ผู้ได้รับสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอสนำที่ดินตามแนวรถไฟฟ้ามาสร้างคอนโด ตลอดจนการเปิดแนวรถไฟฟ้าใหม่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเมืองใหม่ ซึ่งนอกจากจะทำให้หน่วยลงทุนมีรายได้จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แล้ว ยังเป็นการเพิ่มจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถไฟฟ้าด้วย

"หาก รฟม.ไม่พัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีในเชิง

พาณิชย์ รถไฟฟ้าตั้งแต่วันนี้อนาคตก็แย่แน่ โดยเอกชนที่มีที่ดินหรือเก็งกำไรที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าจะได้ประโยชน์ ผู้มีรายได้น้อยและต้องการใช้รถไฟฟ้าไม่สามารถเข้าถึงการบริการ ปัญหาการจราจรติดขัดก็แก้ไม่ตกและมีแนวโน้มหนักขึ้นเรื่อยๆ" เอกชัย ระบุ

ยิ่งล่าสุดในการประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อนที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการเป็นประธาน พล.อ.ยอดยุทธ ได้สั่งให้ทบทวนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า โดยเห็นว่าการพัฒนารถไฟฟ้าไม่ควรผูกติดกับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ และให้ว่าจ้างสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งไปศึกษาแนวทางพัฒนาพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับผลการศึกษาในปีหน้า

"แม้จะเริ่มพัฒนาพื้นที่ช้า แต่เราต้องการศึกษาเรื่องนี้ให้ชัดเจนก่อน เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ซึ่งเรื่องนี้บอร์ด รฟม.เข้าใจดีว่า ยังไม่ได้ยกเลิกแนวคิดพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้า แต่จะรอผลศึกษาให้แน่ชัด" แหล่งข่าวจากบอร์ด รฟม.ให้ข้อมูล

อาจสรุปได้ว่ายิ่งการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์ของหน่วยลงทุนรถไฟฟ้าเนิ่นช้าไปเท่าใด คนที่ได้ประโยชน์คือนักเก็งกำไรที่ดินและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในขณะที่ประชาชนทั่วไป ซึ่งนอกจากไม่มีกำลังเงินที่จะซื้อคอนโดราคาสูงลิบลิ่วได้แล้ว ยังต้องมีส่วนแบกรับภาระหนี้สินจากการลงทุนกันชั่วลูกชั่วหลาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2014 3:08 pm    Post subject: Reply with quote

ทุ่ม 3 หมื่นล้าน เวนคืนที่ดิน 100 กม. ปักตอม่อรถไฟฟ้า 4 สาย 86 สถานี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 12:47:04 น.


ผ่านการอนุมัติจาก "ครม.-คณะรัฐมนตรี" เป็นที่เรียบร้อย สำหรับร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินก่อสร้างรถไฟฟ้า 4 สายทาง หลังตกค้างมาหลายปี เพื่อให้ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" เข้าไปสำรวจที่ดินก่อนที่ราคาจะกระฉูดไปมากกว่านี้

อีกทั้งยังเป็น การส่งสัญญาณจาก "รัฐบาลประยุทธ์" ว่านับจากปีหน้าเป็นต้นไป จะลงมือตอกเข็มรถไฟฟ้าทั้ง 4 สายแน่นอน เพื่อพลิกฟื้นการลงทุนของประเทศให้คึกคัก

สีเขียวรื้อกว่า 500 ราย

ทั้ง 4 สายทาง มีระยะทางรวม 106 กม. มีทั้งหมด 86 สถานี ใช้เงินลงทุนเฉียด 3 แสนล้านบาท ในนี้มีค่าเวนคืนที่ดินกว่า 2.7 หมื่นล้านบาท ที่กำลังประมูลสายแรก "สีเขียว" (หมอชิต-คูคต) 18.4 กม. 58,861 ล้านบาท มีค่าเวนคืน 7,863 ล้านบาท มีผู้ถูกเวนคืน 262 แปลง และสิ่งปลูกสร้าง 275 หลัง

จุดเวนคืนจะเป็นจุดขึ้น-ลงสถานี และศูนย์ซ่อมบำรุง ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจะเชื่อมบีทีเอสที่หมอชิต ไปตามแนวถ.พหลโยธิน ข้ามดอนเมืองโทลล์เวย์ ผ่านห้าแยกลาดพร้าว รัชโยธิน เกษตร อนุสาวรีย์วงเวียนหลักสี่ หน้าตลาดยิ่งเจริญ เมื่อถึงกม.ที่ 25 เบี่ยงเข้า ถ.ลำลูกกา ผ่านสถานีตำรวจคูคต สิ้นสุดที่คลอง 2 มีอาคารจอดแล้วจร 2 แห่งและศูนย์ซ่อมบำรุง 130 ไร่

สำหรับ 16 สถานี ได้แก่

1. ห้าแยกลาดพร้าว
2. พหลโยธิน 24
3. รัชโยธิน
4. เสนานิคม
5. ม.เกษตรศาสตร์
6. กรมป่าไม้
7. บางบัว
8. กรมทหารราบที่ 11
9. วัดพระศรีมหาธาตุ
10. อนุสาวรีย์หลักสี่
11. สายหยุด
12. สะพานใหม่
13. โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
14. พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
15. สถานีกม.25 และ
16. คูคต

ยืดสายสีส้มถึงสุวินทวงศ์

ส่วน "สีส้ม" จะเริ่มเฟสแรก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ยืดระยะทางจาก 20 กม. เป็น 21.2 กม. รูปแบบก่อสร้างเป็นทางวิ่งยกระดับ 9 กม. และใต้ดิน 12.2 กม. มี 17 สถานี ลงทุน 110,325 ล้านบาท มีค่าเวนคืน 6,410 ล้านบาท

โครงการเริ่มจาก สถานีศูนย์วัฒนธรรมที่เชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง สำนักงาน รฟม. ไป ถ.พระราม 9 เลี้ยวซ้ายไป ถ.รามคำแหง ผ่านแยกลำสาลี ถนนกาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่สุวินทวงศ์ ใกล้จุดตัด ถ.รามคำแห่งกับสุวินทวงศ์ มีเวนคืนที่ดิน 594 แปลงและอาคาร 222 หลัง

ส่วนที่ตั้งทั้ง 17 สถานี ได้แก่
1.ศูนย์วัฒนธรรมฯ หน้าห้างเอสพลานาด
2.สถานี รฟม.ติด ถ.พระราม 9
3.ประดิษฐ์มนูธรรม ปากซอยวัดพระรามเก้า
4.รามคำแหง 12 หน้าห้างเดอะมอลล์
5.รามคำแหง หน้า ม.รามคำแหง
6.ราชมังคลาหน้าสนามกีฬา
7.หัวหมากหน้า ร.พ.รามคำแหง
8.ลำสาลี แยกลำสาลี
9.ศรีบูรพา หน้าห้างบี๊กซี
10.คลองบ้านม้า ซ.รามคำแหง 92-94
11.สัมมากร ใกล้หมู่บ้านสัมมากร
12.น้อมเกล้า หน้า ร.ร.เตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า
13.ราษฎร์พัฒนา หน้ามิสทิน
14.มีนพัฒนา หน้าวัดบางเพ็ญใต้
15.เคหะรามคำแหง ซ.รามคำแหง 184
16.มีนบุรี อยู่สะพานข้ามคลองสองต้นนุ่น และ
17.สุวินทวงศ์ ใกล้แยกสุวินทวงศ์

สีเหลืองเวนคืนจิ๊บ ๆ

สำหรับ "สีเหลือง"(ลาดพร้าว-สำโรง) 30.4 กม. ลงทุน 56,110 ล้านบาท มีค่าเวนคืน 8,736 ล้านบาท แนวเส้นทางเริ่มต้นจะเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว วิ่งไปตาม ถ.ลาดพร้าว ยกข้ามทางด่วน ถึงแยกบางกะปิ เลี้ยวขวาไป ถ.ศรีนครินทร์ ยกข้ามแยกต่างระดับพระราม 9 ผ่านแยกพัฒนาการ ศรีนุช ศรีอุดม ศรีเอี่ยม ลาซาล ถึงแยกศรีเทพา เลี้ยวขวาไป ถ.เทพารักษ์ สิ้นสุดที่แยกสำโรง มีที่ดินและอาคารต้องรื้อถอน 184 หลัง มี 23 สถานี ได้แก่
1.รัชดาฯ
2.ภาวนา ปากซอยภาวนา ลาดพร้าว 41 - ไปวัดลาดพร้าวตรงนี้
3.โชคชัย 4 ลาดพร้าว 53
4.ลาดพร้าว 65 - ทางเขาเขตลาดพร้าวอยู่ซอย 71
5.ฉลองรัชหน้าห้างอิมพีเรียลเวิลด์ ลาดพร้าว 81
6.วังทองหลาง หน้าโรงเรียนบางกอกศึกษา ลาดพร้าว 112
7.ลาดพร้าว 101
8.บางกะปิ ใกล้เดอะมอลล์
9.แยกลำสาลี ด้านทิศใต้แยกลำสาลี
10.ศรีกรีฑา ด้านทิศใต้แยกศรีกรีฑา
11.พัฒนาการ ช่วงจุดตัดรถไฟและ ถ.พัฒนาการ
12.คลองกลันตัน หน้าธัญญะช็อปปิ้ง พาร์ค
13.ศรีนุช
14.ศรีนครินทร์ 38
15.สวนหลวง ร.9 กึ่งกลางห้างซีคอนสแควร์และพาราไดซ์ พาร์ค
16.ศรีอุดม
17.ศรีเอี่ยม เยื้องศุภาลัยปาร์ค
18.ศรีลาซาล
19.ศรีแบริ่ง
20.ศรีด่าน
21.ศรีเทพา
22.ทิพวัล ปากซอยหมู่บ้านทิพวัล และ
23.สำโรง ใกล้ตลาดเทพารักษ์

ล็อก 280 ไร่ผุดเดโปสีชมพู

สุด ท้าย "สีชมพู" (แคราย-มีนบุรี) 36 กม. ลงทุน 58,264 ล้านบาท มีค่าเวนคืน 4 พันล้านบาท แนวเส้นทางเริ่มต้นหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรีจะเชื่อมกับสายสีม่วง วิ่งเข้า ถ.ติวานนท์แล้วเลี้ยวขวาห้าแยกปากเกร็ด ผ่าน ถ.แจ้งวัฒนะรามอินทรา สิ้นสุดที่มีนบุรี มีเวนคืนที่ดินบริเวณจุดขึ้น-ลงสถานี และอีก 5 จุดใหญ่ คือ แยกปากเกร็ด เมืองทอง หลักสี่ วงเวียนหลักสี่ และมีนบุรีมีเวนคืนกว่า 280 ไร่ มี 30 สถานี ได้แก่
1.ศูนย์ราชการนนทบุรี
2.แคราย ใกล้ ร.พ.โรคทรวงอก
3.สนามบินน้ำ ซ.ติวานนท์ 35
4.สามัคคี ใกล้แยกสามัคคี
5.กรมชลประทาน ซ.ติวานนท์ 4-6
6.ปากเกร็ด หัวมุมห้าแยก
7.เลี่ยงเมืองปากเกร็ด ถ.แจ้งวัฒนะ
8.แจ้งวัฒนะ-ปากเกร็ด 28 ใกล้ห้างเซ็นทรัล พลาซา
9.เมืองทองธานี ใกล้ทางเข้าเมืองทองธานี
10.ศรีรัช ทางเข้าอิมแพ็ค
11.เมืองทอง 1 ซ.แจ้งวัฒนะ 14
12.ศูนย์ราชการ หน้ากรมการกงสุลและการสื่อสาร
13.ทีโอที ซ.แจ้งวัฒนะ 5-7
14.หลักสี่ ใกล้ไอทีสแควร์ เชื่อมต่อสายสีแดง
15.ราชภัฏพระนคร หน้าห้างแม็กซ์แวลู และม.ราชภัฏพระนคร
16.วงเวียนหลักสี่ ใกล้อนุสาวรีย์หลักสี่ เชื่อมสายสีเขียว
17.รามอินทรา 3 ใกล้ห้างเซ็นทรัล
18.ลาดปลาเค้า ใกล้สะพานข้ามแยก
19.รามอินทรา 31 ใกล้ฟู้ดแลนด์
20.มัยลาภ รามอินทรา ซ.12 -14
21.วัชรพล ใกล้ซอยวัชรพล
22.รามอินทรา 40 ระหว่างซ. 40-42
23.คู้ บอน แยกนวมินทร์
24.รามอินทรา 83 ใกล้ร.พ.สินแพทย์
25.วงแหวนตะวันออก หน้าแฟชั่นไอส์แลนด์
26.นพรัตนราชธานี ใกล้แยกเข้าสวนสยาม
27.บางชัน รามอินทรา ซ.109-115
28.เศรษฐบุตรบำเพ็ญ
29.ตลาดมีนบุรี ถ.สีหบุรานุกิจใกล้ตลาดมีนบุรี และ
30.มีนบุรี ถ.รามคำแหงซอย 192 ใกล้แยกร่มเกล้า จะเชื่อมกับสายสีส้ม
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2014 3:23 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดศึกธุรกิจเดินรถไฟฟ้าแสนล้านจับตาBMCL-BTSฮุบ"น้ำเงิน-ม่วง-เขียว"จีน-ญี่ปุ่นชิงดำโมโนเรล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 06 พ.ย. 2557 เวลา 14:05:33 น.

จับตาแบ่งเค้กเดินรถไฟฟ้าหลากสีกว่า 1 แสนล้าน "BMCL-BTS" กินรวบสีน้ำเงิน ม่วง เขียว ส้ม จับตาจีน-ญี่ปุ่น ชิงดำระบบโมโนโรล 3 สาย 3 สี "ชมพู-เหลือง-เทา" บิ๊กจินทุบโต๊ะเจรจาเจ้าเดิม ให้เดินรถต่อเชื่อม ยึดประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก กทม.เดินเกมขอบริหารสายสีเขียว เผยบีทีเอสเสนอค่าจ้าง 10 ปีเดินรถต่อขยาย 2 ช่วงพ่วงพื้นที่เชิงพาณิชย์

พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เจรจากับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เจ้าของรถไฟฟ้าบีทีเอส เพื่อให้การต่อเชื่อมระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กม. และสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กม. มีการเดินรถเชื่อมต่อกันเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มาใช้บริการ

สั่งเร่งเจรจาเดินรถสายสีเขียว

"ให้ รฟม.หารือ กทม.ให้เข้าใจก่อนถึงข้อสรุปการเดินรถไฟฟ้าระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯกับ ปริมณฑล เพราะจะต้องทำงานร่วมกัน จากนั้นถึงให้ รฟม.ไปคุยกับเอกชนคือ บีทีเอส เพื่อมาเดินรถไฟฟ้า ยังไงจะต้องเจรจากับบีทีเอสเป็นรายแรก หากไม่ได้ข้อสรุปถึงจะเปิดประมูลหารายใหม่ต่อไป คาดว่าจะสรุป ใน 4 เดือนนี้ ซึ่งการเดินรถต้องให้ รฟม.เป็นผู้ดำเนินการ"

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า การที่ให้เจรจากับบีทีเอสก่อน หากได้รายเดิมจะทำให้การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเร็วขึ้น โดยช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จะเปิดในปี 2561 จากเดิมคิดว่าจะล่าช้าไปถึงปี 2563 ส่วนช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะเปิดปี 2563 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเปิดประมูล จะเริ่มเวนคืนและก่อสร้างปี 2558

แหล่ง ข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า จากการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่าง รฟม.กับ กทม. และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ทาง กทม.มีข้อเสนอว่าพร้อมจะลงทุนระบบรถไฟฟ้าและเดินรถสายสีเขียวทั้ง 2 ช่วง หลัง รฟม.ก่อสร้างงานโยธาเสร็จ โดยไม่ต้องลงทุนก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงใหม่ เพราะสามารถใช้ศูนย์ซ่อมของบีทีเอสในปัจจุบัน ขณะที่ รฟม.ขอให้ กทม.ไปพิจารณาข้อกฎหมายและข้อสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

เปิดข้อเสนอบีทีเอส

สำหรับ บีทีเอสเสนอรูปแบบการลงทุน ในช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต บริษัทเสนอจะลงทุนงานโยธา (จะไม่รวมศูนย์ซ่อมบำรุง) และงานระบบรถไฟฟ้า ยังไม่รวมตัวรถ โดยให้รัฐบาลชำระคืน 10 งวด งวดละ 1 ปี รวม 10 ปี นับจากวันเปิดให้บริการครบทุกสถานี ส่วนช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ บริษัทเสนอจะลงทุนระบบรถไฟฟ้า ยังไม่รวมตัวรถ โดยให้รัฐบาลชำระคืน 10 งวด งวดละ 1 ปี รวม 10 ปีเช่นกัน

นอกจากนี้ บริษัทยังเสนอรูปแบบการเดินรถและผลตอบแทนให้พิจารณา แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1.ตั้งแต่เปิดให้บริการครบทุกสถานีจนถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2572 รวม 15 ปี จะขอรับสิทธิ์สัมปทานรับรายได้ค่าโดยสารและการใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์ และ
2.ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2572 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2602 รวม 30 ปี จะรับค่าจ้างการเดินรถและบำรุงรักษาระบบและรับสิทธิการใช้พื้นที่เชิง พาณิชย์และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนกรณีผลตอบแทนของโครงการเฉลี่ยตลอดอายุโครงการเกิน 12% บริษัทจะแบ่งผลประโยชน์ของส่วนที่เกิน 12% กับรัฐบาล

ทั้งนี้ใน อนาคต กทม.จะมีแผนลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเดี่ยว หรือโมโนเรล สายสีเทา ช่วงวัชรพล-สะพานพระราม 9 ระยะทาง 26 กม. ทาง รฟม.ขอจะให้หารือร่วมกันเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้ศูนย์ซ่อมบำรุง ร่วมกับโมโนเรลของ รฟม. 2 สาย คือ สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 36 กม. และสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม.

นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการ รฟม.และรักษาการผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รฟม.หารือกับบีทีเอสยังเป็นแค่เบื้องต้น ยังไม่สรุปเป็นรายละเอียดเชิงลึก จะหารือร่วมกัน 3 ฝ่าย คือ กทม. รฟม. และบีทีเอสอีกครั้ง ซึ่งบีทีเอสมีความสนใจจะเข้ามาลงทุนระบบรถสายสีเขียวทั้ง 2 ช่วง โดยมีข้อเสนอคล้ายกับที่บริษัทเดินรถบีทีเอสให้ กทม. คือเป็นสัญญาจ้างระยะยาว

BMCL ฮุบสีน้ำเงิน-ม่วง

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า สำหรับวงเงินลงทุนงานเดินรถสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต อยู่ที่ 20,055 ล้านบาท และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ อยู่ที่ 9,120 ล้านบาท ส่วนสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) 27 กม. อยู่ที่ 22,000 ล้านบาท ล่าสุด รฟม.กำลังเจรจากับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล บริษัทลูกของ บมจ.ช.การช่าง และผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายปัจจุบันและสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) 23 กม. ระยะเวลา 30 ปี วงเงิน 82,625 ล้านบาท

นอก จากนี้ บีเอ็มซีแอลยังมีแนวโน้มจะได้สัญญาจ้างเดินรถสายสีม่วงเพิ่ม 1 สถานี (เตาปูน-บางซื่อ) หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ รฟม.เจรจากับบริษัทเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา คาดว่าจะเป็นสัญญาจ้างระยะยาวเท่ากับอายุสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินที่ยัง เหลืออยู่ 15 ปี

เปิดเค้กรถไฟฟ้า-โมโนเรลแสนล.

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า ทั้งนี้การจัดหาเอกชนมาเดินรถไฟฟ้าเพื่อให้ประหยัดการลงทุนทั้งเอกชนและ รัฐบาล จะต้องเจรจาผู้เดินรถสายเดิมอยู่แล้วมาเดินส่วนต่อขยาย เช่น สายสีน้ำเงินและสีม่วง จะต้องให้บีเอ็มซีแอลเป็นผู้เดินรถให้ นอกจากจะเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางแล้ว ยังป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบเดิมได้อีกด้วย นอกจากนี้มีความเป็นไปได้สูงที่บีเอ็มซีแอลจะเดินรถสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กม.อีกด้วย เพราะเป็นส่วนต่อขยายกับรถไฟฟ้าใต้ดินเดิม ซึ่งมีวงเงินลงทุนงานระบบรถ 14,600 ล้านบาท

ส่วนสายสีเขียวที่ต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสจะต้อง ให้บีทีเอสเป็นผู้เดินรถ เนื่องจากบริษัทมีขบวนรถเดิมอยู่แล้วและสามารถวิ่งเชื่อมต่อกันได้ โดยที่ผู้โดยสารไม่ต้องลงจากรถเพื่อมาต่อขบวนรถคันใหม่

"ขณะที่สาย สีชมพูและสีเหลือง เนื่องจากใช้ระบบโมโนเรล และเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ใช้ระบบนี้ ปัจจุบันเริ่มมีซัพพลายเออร์จากต่างประเทศเข้ามาเดินสายเพื่อแพ็กรวมกับผู้ รับเหมาไทยพร้อมแหล่งเงินก่อสร้าง หลังรัฐบาลมีความชัดเจนจะเดินหน้าลงทุนอย่างแน่นอน" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

สำหรับ รูปแบบการลงทุน ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมกำลังพิจารณาจะใช้วิธีจ้างเหมาเบ็ดเสร็จหรือเทิร์น คีย์ มาก่อสร้างสายสีชมพูและเหลือง โดยผู้รับเหมาก่อสร้าง จัดหารถและเดินรถจะเป็น

กลุ่มเดียวกัน ขณะนี้ที่น่าจับตามีซัพพลายเออร์ 2 ประเทศ คือ จีนและญี่ปุ่น ที่กำลังเข้ามารุกตลาดในประเทศไทย หลังรัฐบาลประกาศมีแผนจะลงทุนรถไฟฟ้า 10 สายทางในปีหน้า รวมเบ็ดเสร็จเฉพาะค่าจ้างจัดหาระบบและรถไฟฟ้า สายสีเขียว น้ำเงิน ชมพู เหลือง ส้ม คิดเป็นเม็ดเงินรวม 107,275 ล้านบาท ยังไม่รวมโมโนเรลสายสีเทาของ กทม. อีก 34,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 100, 101, 102 ... 277, 278, 279  Next
Page 101 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©