RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264577
ทั้งหมด:13575860
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 124, 125, 126 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/10/2014 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. แจ้งข่าวปิดทางแถวท่าพระ:

รฟม. แจ้งปิดจราจรบริเวณแยกท่าพระ-วัดท่าพระ บนถนนจรัญสนิทวงศ์ขาเข้า เพื่อก่อสร้างเสาตอม่อรถไฟฟ้า (Portal Frame) ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป
โดยมีการปิดการจราจรและจัดการจราจร ดังนี้
1. กรณีผู้ที่มาจากถนนเพชรเกษมขาเข้า (มาจากเดอะมอลล์บางแค) ต้องการไปถนนจรัญสนิทวงศ์ (ซอยพาณิชย์ธนหรือสามแยกไฟฉาย) เมื่อถึงแยกท่าพระ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ได้ 1 ช่องจราจร
2. กรณีผู้ที่มาจากถนนรัชดาภิเษกต้องการไป ถนนจรัญสนิทวงศ์ (ซอยพาณิชย์ธนหรือสามแยกไฟฉาย) ให้ลงอุโมงค์หรือใช้พื้นราบด้านข้างอุโมงค์ ผ่านแยกท่าพระได้ 1 ช่องจราจร
3. กรณีผู้ที่มาจากวงเวียนใหญ่ ต้องการไปถนนจรัญสนิทวงศ์ (ซอยพาณิชย์ธนหรือ สามแยกไฟฉาย) ให้เลี้ยวขวาใช้พื้นราบด้านข้างอุโมงค์ 1 ช่องจราจร
4. กรณีผู้ที่มาจาก ถนนจรัญสนิทวงศ์ขาเข้า (ซอยพาณิชย์ธนหรือสามแยกไฟฉาย) ให้ลงอุโมงค์
- ต้องการไป ถนนเพชรเกษม ให้ลงอุโมงค์ ข้ามคลองบางกอกใหญ่แล้วกลับรถ เลี้ยวซ้าย
- ต้องการไป วงเวียนใหญ่ ให้ลงอุโมงค์ข้ามคลองบางกอกใหญ่แล้วกลับรถ เลี้ยวขวา
- ต้องการไป ถนนรัชดาภิเษก ให้ลงอุโมงค์ ตรงไป
โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เวลาเที่ยงคืนของวันที่ 18 ตุลาคม 2557 เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 3 เดือน
ทั้งนี้ การปิดช่องจราจรดังกล่าวอาจทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง ดังนั้น หากไม่มีความจำเป็นกรุณาหลีกเลี่ยงเส้นทางที่กำลังก่อสร้างดังกล่าว และ รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้

https://www.facebook.com/prpmc.blueline/posts/807840222570521
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1515781598638569&id=1409174012632662
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2014 12:51 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. เชื้อเชิญบริษัทที่ปรึกษา เพือโครงการส่วนต่อขยายจากบางแคไปพุทธมณฑลสาย 4
https://www.facebook.com/1409174012632662/photos/a.1409211292628934.1073741828.1409174012632662/1516645901885472/?type=1&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2014 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

“เจาะอุโมงค์ – เปิดสถานี – สำรวจรถไฟฟ้า” ความหวังของคนกรุง
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 20 ตุลาคม 2557 21:38 น.

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รถไฟฟ้าสร้างความสะดวกสบายให้แก่วิถีชีวิตคนกรุงฯ มันกลายเป็นขนส่งมวลชนที่ได้รับความนิยมในเวลาไม่นาน พื้นที่โดยรอบรถไฟฟ้าถูกพัฒนาขึ้น ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและจนหลายคนใฝ่ฝันอยากมีที่อยู่อาศัยติดรถไฟฟ้า

ถึงตอนนี้รถไฟฟ้าในฝันของคนเมืองอันมีแบบแผนใหญ่คือภาพอนาคตทำให้หลายคนรู้สึกตื่นเต้น วันนี้ทีมงาน “ASTV ผู้จัดการ LIVE” ลงพื้นที่สำรวจอุโมงค์รอดใต้เจ้าพระยา - เปิดสถานีใหญ่ที่สุดของโครงการ และสำรองม็อกอัปของรถไฟฟ้าที่กำลังจะมีขึ้น เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น อนาคตอันใกล้จะมีอะไรรอเราอยู่กันแน่

เจาะอุโมงค์ลอดใต้เจ้าพระยา

สิ่งที่ดูจะเป็นงานสร้างที่ยิ่งใหญ่ของการสร้างรถไฟฟ้าคือส่วนของการสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา ถือเป็นงานสร้างที่แปลกไปกว่าทุกที หากทว่าเมื่อมองในมุมของวิศวกรหรือผู้ที่อยู่เบื้องหลังแล้ว งานดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินอย่างที่ผ่านมา ไม่ได้มีอะไรแปลกใหม่มากนัก

“จริงๆ มันก็ไม่ได้มีสีสันขนาดนั้น เหมือนทำกันอยู่ทุกวัน แต่ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยามันก็ไม่ได้อยู่ในน้ำ มันยังอยู่ในดินเพียงแค่มีน้ำอยู่ด้านบนเท่านั้น วิธีเจาะก็เหมือนเดิม ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ไม่มีเทคโนโลยีใหม่” ดร.โสภัชย์ วรวิวัฒน์ รองผู้จัดการฝ่ายก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สัญญา 2 เอ่ยถึงสิ่งที่เกิดขึ้น

ในส่วนของการเจาะ เขาเผยว่า ยังคงใช้ระบบเดิมคือใช้หัวเจาะแบบเอิร์ท เพรสเชอร์ บาลานซ์ หรือ อีพีบี (earth pressure balance - EPB) ที่มีกลไกในการเจาะเริ่มจากฉีดโฟมโพลิเมอร์เข้าไปปรับสภาพดินให้เจาะง่ายขึ้น ก่อนใช้คัตเตอร์ตัดดินไปเรื่อยๆ โดยจะมีแจ็คคอยทำการดันหัวเจาะไปข้างหน้า พอได้ระยะติดตั้งผนังประมาณ 1.2 เมตรขึ้นไปก็จะทำการถอยแจ็คกลับ และใช้แฮนด์ของเครื่องจักรทำการวางผนังอุโมงค์แต่ละชิ้นให้เข้าที่

ผนังอุโมงค์นั้นจะมีการบรรทุกชิ้นส่วนลำเลียงส่งเข้าไปจากด้านนอกโดยใช้หัวจักรซึ่งจะทำหน้าที่ลำเลียงสิ่งของอื่นๆ อีกด้วย เมื่อหัวเจาะทำการวางครบ 1 วงหรือเรียกว่า 1 ริงก์แล้ว ก็จะมีการใช้คนเข้าไปติดตั้งผนัง จากนั้นก็ทำต่อไปเรื่อยๆทีละวง ส่วนการบังคับทิศทางนั้นก็จะมีการใช้แม่แรงควบคุมทิศทางการเจาะรวมกับการวางผนังที่ชิ้นส่วนหันไปตามทิศทางที่กำหนด

“ความเร็วในการทำงานจริงๆ มันไม่เหมือนโรงงานที่เรารู้แล้วว่าไปได้เท่านี้เป๊ะๆ บางวันถ้าหัวเจาะเสียก็ไม่ได้ระยะเลย บางวันถ้าดินมันอ่อนหน่อย คัตเตอร์สามารถตัดได้เร็วก็ได้ระยะเยอะ ของโครงการนี้วันหนึ่งเราสามารถทำได้มากสุดถึง 20 ริงก์ต่อวันซึ่ง 1 ริงก์มีระยะประมาณ 1.2 เมตร แต่ในแผนงานเราก็วางไว้ว่าประมาณ 12 ริงก์ต่อวันเท่านั้นครับ”

ปัญหาที่เจอในส่วนของการเจาะอุโมงค์ลอดใต้เจ้าพระยานั้น เขาเผยว่า ได้ผ่านจุดที่หนักที่สุดมาแล้ว เป็นจุดก่อนลอดใต้เจ้าพระยาซึ่งพอหน้าดินเป็นทรายที่มีน้ำอยู่มาก


“ตามหลักวิศวกรรมแล้วน้ำจะอยู่ในทรายครับ การเจาะยากง่ายก็ขึ้นกับสภาพดิน ดินเหนียวไม่มีน้ำก็ไม่ยาก ทรายก็จะยากซึ่งก่อนถึงแม่น้ำเจ้าพระยาเราก็ผ่านจุดที่ยากที่สุดมาแล้วคือเจอทรายทั้งหน้าเลย น้ำเยอะมาก ก็ต้องกันน้ำไม่ให้เข้า ส่วนบริเวณใต้แม่น้ำนั้นจะเป็นดินเหนี่ยวครึ่งหนึ่งทรายครึ่งหนึ่งเท่านั้น”

ในส่วนของความเชื่อในเจาะอุโมงค์นั้น มีคนญี่ปุ่นมีความเชื่อกันว่า ไม่ควรให้ผู้หญิงลงไปในอุโมงค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ แน่นอนว่า ผู้จัดการหลายคนในโครงการก็เป็นคนญี่ปุ่น รวมถึงคนงานที่ทำงานขุดเจาะก็มีบางส่วนที่เชื่อเหมือนกันในเชิงโชคลาง

“เขาก็เชื่อกันแบบนั้น แต่จริงๆแล้ว มันก็เป็นเหตุผลที่รวมกันของความเชื่อด้วย และเรื่องความปลอดภัยเพราะในอุโมงค์มันเป็นพื้นที่อับอากาศ และมันมีกฎหมายคุ้มครองผู้หญิงในการทำงานที่เยอะพอสมควรซึ่งคนทั่วไปอาจจะไม่รู้ ฉะนั้น การลงไปในอุโมงค์จริงๆ แล้วสภาพร่างกายต้องพร้อมพอสมควร ไม่ใช่ผู้หญิงอย่างเดียว คนแก่ที่มีความดันสูงเราก็ไม่ให้ลง และเท่าที่เจอจากหลายๆที่ที่ทำงานอุโมงค์ ผู้หญิงลงไปก็มีการเป็นลมหลายคน คือมันมีความเชื่อด้วย แต่ก็มีประเด็นด้านความปลอดภัยอยู่ด้วยเช่นกัน”

หลังจากลงมาสำรวจในอุโมงค์ที่มีการเจาะเรียบร้อยแล้ว เขาเผยว่า ความก้าวหน้าทางวิศวกรรมในประเทศนั้นมีขึ้นแน่นอน จากเดิมของโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินโครงการแรกต้องใช้คนคุมงานเป็นชาวต่างชาติเสียส่วนใหญ่ มาถึงปัจจุบันเวลาล่วงเลยมาถึง 10 ปี เขาเผยว่า คนไทยเริ่มเจาะอุโมงค์เองในหลายจุดจนสามารถใช้คนไทยในการทำงานได้ทั้งหมดแล้ว

“เตาปูน”สถานีใหญ่ที่สุดและยากลำบากที่สุด

รางที่วางเรียงตัวมาจากทิศทางหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินตัดกับรางรถไฟฟ้าสายสีม่วงยกตัวซ้อนกันเป็นจุดตัดของสถานีเตาปูนทำให้ที่นี่กลายเป็นสถานีใหญ่ที่สุด สูงที่สุด การตั้งอยู่ในย่านชุมชนก็ยิ่งทำให้ที่นี่ก่อสร้างได้ยากที่สุดไปด้วย

สภาพสถานีเตาปูนแบจะใช้งานได้แล้ว พงษ์เทพ พงษ์สวัสดิ์ วิศวกรจากช.การช่าง เผยว่า ตอนนี้คือ 99.75 เปอร์เซ็นต์แล้ว เหลือเพียงรอต่อสัญญารับไม้ต่อเก็บงานติดป้ายสัญญาต่างๆ กับที่กั้นระหว่างชานชาลากันขบวนรถเท่านั้น โดยสิ่งที่สร้างมาแล้วเสร็จนั้นประกอบไปด้วยชั้นพื้นดินที่เป็นชั้นอเนกประสงค์ ชั้นขายตั๋ว และชั้นชานชาลาอีก 2 ชั้นสำหรับรถไฟฟ้า 2 สายที่ตัดผ่าน

“ตามแผนก็ล่าช้าไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ครับ ตัวชานชาลาจะออกแบบให้รับกับรางตามแผนการของโครงการ ส่วนรางก็จะออกแบบจากพื้นที่ ซึ่งสถานีจะต่างกับบีทีเอสที่ชานชาลาจะอยู่ทั้ง 2 ฝั่งแต่สถานีของเอ็มอาร์ทีจะอยู่ตรงกลางมีรางวางอยู่ 2 ฝั่งแทน ซึ่งมาจากการออกแบบที่คำนึงถึงพื้นที่และแบบเดิมที่รถไฟฟ้าใต้ดินใช้มา”

ส่วนที่ยากที่สุดของการสร้างก็คืองานสร้างที่ต้องอยู่บน 3 แยกเตาปูนที่ต้องสร้างไปด้วยพร้อมทั้งมีรถสัญจรผ่านไปด้วย การเตรียมงานก่อสร้างต่างๆจึงยากกว่าปกติ

“ทำได้แต่ช่วงกลางคืนเลยครับ ปิดกลางวัน แทบทำไม่ได้”

ทว่าในส่วนของการก่อสร้างสถานีที่ใหญ่และสูงนั้นเขาเผยว่าไม่เป็นปัญหา ปัญหาของการก่อสร้างมักจะอยู่ที่พื้นที่เดิมที่ต้องมีการประสานงานกับจราจรบ้าง ทั้งยังมีปัญหาชุมชนรอบๆ

จิรัฏฐ์ ศรีวารีรัตน์ บริหารโครงการ ดูแลประชาชนในพื้นที่ การก่อสร้างในแทบทุกที่มีปัญหาในลักษณะนี้หมด เพราะการเข้ามาของรถไฟฟ้านั้นมีทั้งผู้เสียประโยชน์และได้ประโยชน์ทั้งสิ้น

“มีร้านกวยจั๊บที่เขาอยู่มา 40 - 50 ปีแล้วโดนเวนคืน เขาสร้างชื่อเสียงไว้ตั้งแต่ต้นตระกูล ให้เขาไปที่อื่น ให้เปิดใหญ่เขาขายได้ปกติวันละหมื่นแม้จะเป็นร้านเล็กๆ แต่ให้ไปเริ่มใหม่แล้วชื่อเสียงที่เขาสร้างมาละ รสชาติเหมือนเดิมก็จริง แต่มันก็แทนกันไม่ได้ เราเข้าใจเขานะ แต่มันเพื่อส่วนรวม ทุกที่ทุกเส้นมันมีคนเสียประโยชน์คนได้ประโยชน์”

เบื้องหลังในการจัดการงานเหล่านี้ หากใส่ชุดทำงานมาก็มีโดนสาดน้ำไล่ เอากล้องมาถ่ายก็ต้องบอกว่ามาถ่ายวิว เขาทำเรื่องส่งจดหมายร้องไปให้หน่วยงานอย่าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จัดการตามมาตรการที่มีโดยมากมักเป็นการจ่ายเงินชดเชยตามที่เรียกร้อง

รถไฟฟ้าหน้าตาจะเป็นอย่างไร?

ทีมงาน ASTV ผู้จัดการ LIVE กำลังยืนอยู่หน้าอนาคตอันเป็นรูปธรรมที่สุดของรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่น่าจะได้วิ่งไปบนในปี 2559 มันคือม็อกอัปตัวอย่างที่ทำขึ้นในขนาดจริง การตกแต่งที่ดูแปลกตาหลายอย่างเป็นต้นแบบที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ก็อยู่ในขั้นตอนท้ายๆของการตัดสินใจแล้ว

หลักฐาน ทองนพคุณ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ(มหาชน) จำกัด หรือBMCL เผยว่า โดยรวมแล้วไม่ได้มีอะไรแตกต่างกันมากนัก มีเพียงเพิ่มกล้อง CCTV ในขบวนรถ และมีแผนที่เป็นดิสเพลย์ที่บอกจุดที่รถไปถึงอยู่ด้วย ขณะที่แผนที่เดิมเป็นเพียงภาพนิ่งเท่านั้น

“นอกจากนั้น ก็จะมีเรื่องของการปรับบรรดาราวจับต่างๆ ให้มันดีขึ้น สามารถจับได้ง่ายขึ้น” เขาเอ่ยก่อนผายมือไปทางเสาในรถม็อกอัป “ที่เห็นอยู่คือยังไม่ใช่ไฟนอล มันเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบ มีไอเดียต่างๆก็เอามาใส่ ออกแบบขนาดจริงเพื่อให้เห็นว่า รูปร่างหน้าตาการใช้สอยต่างๆ จะเป็นแบบใด”

โดยขั้นตอนในการออกแบบรถนั้น ประเทศไทยจะซื้อรถไฟจากผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่นและทางผู้ผลิตรถไฟฟ้าจะทำการจ้างบริษัทออกแบบทั้งภายนอก และภายในรถไฟฟ้าอีกต่อหนึ่ง ทั้งนี้สเปกต่างๆของรถไฟก็จะเป็นไปตามข้อกำหนดจากทั้งรฟม.และ BMCL

“มันต้องมีฟังก์ชันอะไรบ้าง มาตรฐานความปลอดภัยอะไรบ้าง เรื่องของสมรรถนะต่างๆ จะมีสเปกต่างๆ ควบคุมอยู่ ความเร็ว ความจุผู้โดยสาร ความหนาแน่น อัตราเร่ง เบรก หลายอย่างก็ใกล้เคียงเดิมและมากกว่าเดิมนิดหน่อย”

ในส่วนของการออกแบบตัวรถนั้นทีมงานญี่ปุ่นเข้ามาศึกษาไลฟ์สไตล์ของคนไทยพอสมควร การออกแบบภายนอกนั้นในส่วนของต้นแบบมีการใช้สีธงชาติเป็นหลัก ขณะที่การออกแบบภายในเน้นความโปร่งสว่างโล่ง ผสมกับความเป็นโมเดิร์น

ทั้งนี้ ในประเด็นการใช้รถไฟฟ้าที่ต้องซื้อจากญี่ปุ่นนั้น เขาตอบด้วยน้ำเสียงเป็นกลางว่า เป็นเรื่องของโมเดลธุรกิจ และความเหมาะสมในเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วย ความต้องการในประเทศไทยยังไม่สูงพอที่จะประเทศไทยจะผลิตเองแล้วคุ้มค่า

“มันเป็นเรื่องปกติครับ อย่างจีนความต้องการเขาเยอะมาก ผลิตเองก็คุ้มกว่า ของไทยนานๆจะมีโครงการมาทีหนึ่ง ซื้อก็คุ้มกว่า มันขึ้นอยู่กับความต้องการในประเทศ เราพร้อมที่จะพัฒนาหรือเปล่า อย่างรถยนต์ ประเทศมีความต้องการเยอะมาก กระทั่งมีโรงงานมาตั้งมาผลิตในไทยส่งออก แต่ก็ยังต้องใช้เทคโนโลยีต่างประเทศ จนถึงตอนนี้ประเทศไทยก็ยังนำเข้ารถอยู่เลย ถามดูถ้าคนไทยผลิตรถใช้เองจะมีคนใช้มั้ย ไม่ต้องมองถึงรถไฟเลย”

…

ภาพอนาคตของรถไฟฟ้าดูจะเป็นเรื่องน่าตื่นตาตื่นใจ ด้านหนึ่งทุกคนก็ยังคงรอคอยความหวังที่กำลังจะมาถึง แต่อีกด้านหนึ่งความตื่นตาตื่นใจก็ยังคงเต็มไปด้วยอุปสรรคและความแน่นอนที่ทุกคนต้องจับตามองต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2014 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

ดีแทค อัด 4G ลงรถไฟใต้ดิน ออฟโหลดคนใช้ 3G
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 ตุลาคม 2557 16:25 น.

ดีแทค เร่งอัด 4G คลุมทั่วกรุงเทพฯ ปริมณฑล และ 30 หัวเมืองใหญ่ให้ได้ภายในสิ้นเดือน มีนาคม 2558 ประเดิมด้วยการเปิดให้บริการครอบคลุมทั่วสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT 18 สถานี ระยะทางกว่า 21 ก.ม. หวังช่วยออฟโหลดคนใช้ 3G ให้มาใช้งาน 4G

นายซิคเว่ เบรคเก้ รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า เพื่อให้ดีแทคขึ้นเป็นผู้นำในการให้บริการอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ สิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือ การออฟโหลดผู้ใช้งานจาก 3G ให้ไปใช้งาน 4G ในพื้นที่ที่มีการใช้งานหนาแน่น

ล่าสุด ดีแทค จึงมีการประกาศความพร้อมในการให้บริการเครือข่าย 4G ตลอดเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้า MRT) ตลอดทั้งเส้นทางที่มีระยะทาง 21กิโลเมตร รวมสถานีทั้งหมด 18 สถานี โดยจากรายงานข้อมูลประจำปีของบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ.2556 ระบุว่า มีจำนวนผู้โดยสารในกรุงเทพฯ และปริมณฑลใช้งานรถไฟฟ้ามากกว่า 177,000 คนต่อวัน

โดยข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการจากข้อมูลข่าวของรถไฟฟ้า MRT ที่น่าสนใจระบุว่า มีจำนวนผู้โดยสารใช้งานสูงถึง 270,000 คนต่อวัน คิดเป็นปริมาณผู้ใช้งานต่อปีกว่า 64.9 ล้านราย มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 1.1 ล้านราย

ขณะที่รายงานการใช้งานดาต้าล่าสุดจากดีแทคพบว่า มีจำนวน 20-30% ของผู้โดยสาร MRT ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือจากเครือข่ายดีแทคต่อวัน ซึ่งช่วงเวลาที่ใช้งานดาต้ามากที่สุดคือเวลา 07.00-09.00 น. และ 17.00-20.00 น. ผู้ใช้งานบนรถไฟฟ้านิยมการใช้งานผ่านเฟซบุ๊ก ยูทิวบ์ และการใช้งานผ่านเว็บไซต์บนมือถือต่างๆ

“ถ้าเทียบปริมาณใช้งานระหว่างช่วงไตรมาส 2 ถึงไตรมาส 3 ปริมาณการใช้งานดาต้าบนรถไฟใต้ดินเติบโตราว 24% ซึ่งถือว่าสูงขึ้นมากในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีแก่ลูกค้า ดีแทค จึงมองหาช่องทางในการพัฒนาเครือข่ายให้รองรับการใช้งานได้สมบูรณ์มากขึ้น”

จุดประสงค์หลักของการลงเครือข่าย 4G คือ ช่วยให้การใช้งานเครือข่าย 3G ของลูกค้าไหลลื่นขึ้น ในขณะเดียวกัน ลูกค้าที่ใช้งาน 4G ก็จะได้ความเร็วที่ดีขึ้นเช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันลูกค้าของดีแทคกว่า 20% มีเครื่องที่รองรับการใช้งาน 4G อยู่แล้ว เพียงแต่มาใช้งานราว 10% เท่านั้น

“ปริมาณคลื่น 5 MHz ที่แบ่งจาก 2.1 GHz มาให้บริการ 4G สามารถรองรับการใช้งานของลูกค้าที่มีเครื่องรองรับการใช้งาน 4G สบายๆ และดีแทคหวังว่าลูกค้าทั้ง 20% จะหันมาใช้งานเพราะจะช่วยให้คลื่น 3G ที่เริ่มหนาแน่นใช้งานได้โล่งขึ้น”

ขณะเดียวกัน พื้นที่อื่นๆในกรุงเทพฯ ปริมณฑล และอีก 30 หัวเมือง ก็จะทยอยเปิดให้บริการ 4G ภายในสิ้นเดือนมีนาคม 2558 เช่นเดียวกัน ซึ่งก็จะรวมถึงตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า BTS ที่มีปริมาณผู้ใช้งานต่อวันสูงมากเช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน ดีแทคมีลูกค้าในระบบทั้งหมด 28 ล้านราย โดยมีลูกค้าที่ใช้งานดาต้าในทุกๆ เดือนอยู่ราว 40% เท่านั้น แต่ถ้าเฉพาะเจาะจงในกรุงเทพฯ จะมีปริมาณลูกค้าใช้งานดาต้าราว 60% ยังเหลืออีกกว่า 40% ที่ยังไม่ใช้งาน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/10/2014 7:42 pm    Post subject: Reply with quote

พร้อมเดินหน้าสร้างรถไฟฟ้าถึง“สาย4”จากหลักสองไปตามแนวเพชรเกษมเร่งศึกษาพร้อมออกแบบเสร็จส.ค.58
เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี 23 ตุลาคม 2557 เวลา 10:07 น.

นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย(ฝ่ายปฏิบัติการ)รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย(รฟม.)กล่าวว่ารฟม.มีโครงการที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4ระยะ 8กิโลเมตร งบประมาณ44 ล้านบาทซึ่งเป็นโครงข่ายรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เชื่องโยงกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระ ดังนั้นรฟม.จึงประกาศเชิญชวนบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดจัดทำเอกสารประกวดราคาโดยบริษัทเอกชนที่สนใจสามารถยื่นเอกสารได้ในวันที่ 14พ.ย.2557ภายหลังจากนั้นรฟม.จะมีเกณฑ์การประเมิณเพื่อคัดเลือกบริษัทที่จะเข้ามาดำเนินการศึกษารูปแบบโครงการ คาดว่าประมาณปลายปี 2557นี้จะได้บริษัทที่ปรึกษาเข้ามาทำงานทั้งนี้ภายหลังจากที่ได้บริษัทเอกชนแล้วก็จะเริ่มเข้าพื้นที่เพื่อดูรายละเอียดประมาณเดือนม.ค.2558และการศึกษาจะต้องเสร็จประมาณเดือนส.ค.2558

นายรณชิตกล่าวต่อว่าสำหรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย4 นั้นมีแนวสายทางไปตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษมเริ่มต้นที่สถานีหลักสองมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกและไปสิ้นสุดที่บริเวณจุดตัดถนนพุทธมณฑลสาย4รูปแบบโครงสร้างเป็นแบบยกระดับตลอดแนวเส้นทางซึ่งการก่อสร้างโดยส่วนใหญ่ไม่ติดพื้นที่เวนคืนเนื่องจากมีการก่อสร้างไปตามแนวถนนและขอบทางเท้าช่วงที่จะเป็นตัวสถานีก็มีความกว้างเพียงพอรวมทั้งแนวสายทางที่จะก่อสร้างนั้นเป็นเขตชานเมืองจึงไม่มีจุดที่ประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นอย่างไรก็ตามภายหลังจากที่ศึกษารายละเอียดเสร็จแล้วรฟม.จะต้องนำเสนอให้ทางคณะกรรมการบริการกิจการ(บอร์ด)รฟม.พิจารณาและเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อพิจารณเห็นชอบอีกครั้งจึงจะสามารถดำเนินการก่อสร้างได้

รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับการศึกษาต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินให้ต่อเนื่องยาวถึงสี่แยกพุทธมณฑลสาย4อยู่ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(เอ็ม-แม็พ)ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)ได้บรรจุไว้ในแผนขยายโครงการรถไฟฟ้าในระยะ20 ปีโดยในส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินจากหลักสองไปถึงพุทธมณฑลสาย4 จะมี 4สถานี คือสถานีพุทธมณฑลสาย2 สถานีทวีวัฒนา สถานีพุทธมณฑลสาย3และสถานีปลายทางสถานีพุทธมณฑลสาย4เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในด้านพื้นที่ฝั่งธนฯให้สามารถใช้ระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้าได้อย่างครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นโดยตามแผนเดิมนั้นส่วนต่อขยายนี้จะอยู่ในช่วงการขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในระยะสุดท้ายที่จะขยายโครงข่ายหลักไปยังศูนย์ชุมชนและศูนย์พาณิชยกรรมย่อยตามผังเมืองรวมและเพิ่มเติมเส้นทางสายใหม่รองรับที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางภายในพ.ศ.2572 แต่ขณะนี้รฟม.เห็นว่าเป็นเส้นทางที่มีความพร้อมที่จะเร่งดำเนินการศึกษา.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 29/10/2014 5:34 am    Post subject: Reply with quote

รฟม.แจ้งปิดจราจรแยกบางพลัด 1-30 พ.ย. สร้างทางขึ้นสถานีสิรินธร
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 ตุลาคม 2557 03:44 น.
รฟม. แจ้งปิดจราจรแยกบางพลัด สร้างสถานีสิรินธร 1-30 พ.ย.นี้
by Phennapha Chayasuntorn
Voice TV
29 ตุลาคม 2557 เวลา 11:02 น.

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า กิจการร่วมค้า เอสเอช-ยูเอ็น ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ (สัญญาที่ 3) จะดำเนินงานก่อสร้างทางขึ้น-ลงสถานีสิรินธร จึงมีความจำเป็นต้องปิดจราจรบนถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณแยกบางพลัด ฝั่งใต้ทั้ง 2 ฝั่งตั้งแต่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 64 (วัดสิงห์) ถึงซอยจรัญสนิทวงศ์ 62 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2557 เวลา 22:00-05:00น. โดยขอให้ผู้ใช้เส้นทางวางแผนการเดินทาง ดังนี้

- กรณีผู้ที่มาจากถนนสิรินธร ต้องการเลี้ยวขวาไปแยกบรมราชชนนี ให้เลี้ยวซ้ายแยกบางพลัดแทน เพื่อกลับรถบริเวณซอยจรัญฯ 73/1 และลงอุโมงค์เพื่อมุ่งหน้าไปแยกบรมราชชนนี

- กรณีผู้ที่มาจากสะพานกรุงธน (ซังฮี้) ต้องการเลี้ยวซ้ายไปแยกบรมราชชนนี ให้เลี้ยวขวาแยกบางพลัดแทน เพื่อกลับรถบริเวณซอยจรัญฯ 73/1 และลงอุโมงค์เพื่อมุ่งหน้าไปแยกบรมราชชนนี

- กรณีผู้ที่มาจากแยกบรมราชชนนี ต้องการเลี้ยวขวาไปสะพานกรุงธน ให้ลงอุโมงค์บางพลัดและกลับรถบริเวณซอยจรัญฯ 73/1 จากนั้นเลี้ยวซ้ายแยกบางพลัดเพื่อมุ่งหน้าสะพานกรุงธน

- กรณีผู้ที่มาจากแยกบรมราชชนนี ต้องการเลี้ยวซ้ายไปถนนสิรินธร ให้ลงอุโมงค์บางพลัด และกลับรถบริเวณซอยจรัญฯ 73/1 จากนั้นเลี้ยวขวาแยกบางพลัดเพื่อมุ่งหน้าไปถนนสิรินธร

การปิดการจราจรดังกล่าวอาจทำให้ผู้ใช้เส้นทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางหากไม่มีความจำเป็น โปรดหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าวและ รฟม. ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้

//---------------------------------------

รัฐจี้คมนาคมช้า บี้สายน้ำเงินต่อขยาย


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 28 ตุลาคม 2557 22:38 น.


ASTVผู้จัดการรายวัน - รัฐบาลจี้ติดกระทรวงคมนาคมเร่งรัดคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย (คณะกรรมการมาตรา 13) ให้พิจารณาการเจรจาตรงกับ BMCL ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หวั่นประชาชนเสียประโยชน์และแก้ปัญหาการจราจรติดขัด ขณะที่ มติ ครม.อนุมัติให้เจรจา BMCL ช่วงต่อสถานีสถานีเตาปูน -บางซื่อ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวถึงความคืบหน้า ที่ผ่านมาคณะกรรมการมาตรา 13 และผู้บริหาร รฟม.บางกลุ่มพยายามเร่งรัดให้เกิดประมูลคัดเลือกเอกชนให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) แบบเดินรถไม่ต่อเนื่องกับสายสีน้ำเงินเดิม (ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ) ทำให้ประชาชนไม่สะดวก ต้องเสียเวลาเปลี่ยนขบวนรถระหว่างการเดินทางที่สถานีหัวลำโพงและเตาปูนทุกครั้ง และทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยในการบริหารจัดการเดินรถ โดยอ้างว่าต้องการให้เกิดการแข่งขัน โปร่งใส ไม่สนใจว่าระบบรถไฟฟ้าจะให้บริการต่อเนื่องกันได้หรือไม่ ทำให้เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลต้องหาข้อสรุปให้ได้โดยเร็ว เพราะขณะนี้การคัดเลือกเอกชนล่าช้ามากว่า 4 ปีแล้ว และงานก่อสร้างจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า แม้ว่าจะได้ตัวผู้รับสัมปทานในตอนนี้ก็ต้องใช้เวลาในการจัดหาระบบรถไฟฟ้าอีกกว่า 3 ปีครึ่ง จึงเปิดให้บริการได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความสูญเสีย ผลกระทบต่อประชาชนและปัญหาต่างๆตามมามากมายจากการที่งานก่อสร้างแล้วเสร็จแต่ไม่มีรถไฟฟ้าให้บริการอีกกว่า 2 ปี

ขณะที่ กระทรวงคมนาคมได้ทราบถึงปัญหาทั้งหมดแล้วว่าเกิดขึ้นจากขบวนการใต้ดินที่จะผลักดันให้เกิดการประมูลรถไฟฟ้าสายต่างๆซึ่งเกี่ยวโยงกับกลุ่มอำนาจเก่า โดยอาศัยผู้บริหาร รฟม.และกลุ่มเสนาธิการทหารอ้างความโปร่งใส การแข่งขันเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนของตนที่ต้องการจัดซื้อรถไฟฟ้าจากจีน โดยไม่สนประโยชน์และความเดือดร้อนของประชาชน และได้สั่งการให้คณะกรรมการ รฟม. และคณะกรรมการมาตรา 13 หยุดการประชุมไว้ก่อนเพื่อปรับปรุงและกำหนดแนวทางการดำเนินงานโดยใช้วิธีเจรจาตรงกับ BMCL ก่อนที่จะเริ่มประชุมใหม่เพื่อเสนอ ครม.เห็นชอบให้เจรจาตรงกับ BMCL เพราะหากไม่แก้ไขหรือจัดการกับกลุ่มผลประโยชน์นี้ก็จะทำให้คณะกรรมการมาตรา 13 ไม่สามารถหาข้อยุติในการเจรจากับ BMCL ได้ และทำให้กำหนดการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายล่าช้าออกไปอีก

“ยิ่งล่าช้าเท่าไหร่ ประชาชนก็จะเสียโยชน์ ขณะที่รัฐบาลต้องการให้มีความคืบหน้าในโครงการขนาดใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาจราจร ซึ่งขั้นตอนต่าง ๆ ตอนนี้ล่าช้ามาก เพราะหากมีการเจรจาเกิดขึ้นก็ต้องใช้เวลาและขั้นตอน ซึ่งถ้าไม่มีการเตรียมการที่ดีก็จะทำให้ต้องชะลอการเปิดให้บริการออกไปอีก “

สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) มีระยะทางรวม 27 กิโลเมตร เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินสายเฉลิมรัชมงคล (ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ) ที่สถานีหัวลำโพงและสถานีเตาปูน จะทำให้เส้นทางสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายรวมกับเส้นทางใต้ดินเดิมเป็นระบบรถไฟฟ้าวงแหวนรอบเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในสายหลักที่รัฐบาลเร่งรัดให้ก่อสร้างตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 57 โดย รฟม.คาดการณ์ว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2561

แหล่งข่าว กล่าวต่อไป ปัจจุบันคณะกรรมการมาตรา 13 ได้หยุดการประชุมมากว่า 2 เดือนแล้ว โดยยังไม่มีมติที่ชัดเจนว่าจะเจรจาตรงกับ BMCL เพราะมีการผลักดันจากกลุ่มผลประโยชน์นี้ให้ทำการประมูลแบบเดินรถแยกระบบ (ไม่ต่อเนื่องกับระบบเดิม) โดยอาศัยผู้บริหารของ รฟม. กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สนับสนุน แม้ว่าคณะกรรมการ รฟม.และกระทรวงคมนาคมจะพยายามผลักดันเร่งรัดให้เกิดการเจรจาตรงกับ BMCLเพื่อเดินรถแบบต่อเนื่องเพราะทราบว่าจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนแต่ก็ยังเดินหน้าต่อไปไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาจนผู้ใหญ่ระดับสูงของรัฐบาลต้องลงมาแก้ไข โดยสั่งการให้กระทรวงคมนาคมกำกับดูแลและเร่งรัดเรื่องดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

เมื่อวานนี้( 28 ต.ค.) คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการพิจารณาการคัดเลือกเอกชนร่วมงานหรือดำเนินการตามมาตร 13 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ดำเนินกาเจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - บางซื่อ (งานสัญญาที่ 5 ) ด้วยรูปแบบการลงทุนที่มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อภาครัฐ โดยมีระยะเวลาของสัญญาที่เท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 2 ก.ค. ตามมติครม.

ทั้งนี้มีความเห็นว่าเทคนิคเกี่ยวกับการเดินรถไฟฟ้าให้เกิดความต่อเนื่องและความเหมาะสม ในการเดินรถ และจุดเปลี่ยนผู้โดยสารในระบบรถไฟฟ้าที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเกิดความสะดวกในการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางของผู้โดยสารสูงสุด จึงเห็นว่ามีความเหมาะสมการเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่สถานีบางซื่อและสถานีเตาปูน สำหรับการให้บริการระบบรถไฟฟ้าจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ สายหัวลำโพง -บางซื่อ , บางใหญ่ - บางซื่อ และบางซื่อ -ท่าพระ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 31/10/2014 8:57 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าใต้ดินแจ้งซ้อมจัดการเหตุเพลิงไหม้ภายในขบวนรถ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 31 ตุลาคม 2557 19:34 น.


บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT แจ้งกำหนดการฝึกซ้อมการจัดการเหตุการณ์เพลิงใหม้ภายในขบวนรถไฟ ณ สถานีรถไฟฟ้า MRT สุทธิสาร ในวันที่ 1 พ.ย.57 เวลา 00.30 - 04.30 น.

พลตรีชาติชาย ประดิษพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า BMCL จะทำการฝึกซ้อมการจัดการเหตุการณ์เพลิงไหม้ภายในขบวนรถไฟ ณ สถานีรถไฟฟ้า MRT สุทธิสาร ในวันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2557 ระหว่างเวลา 00.30 - 04.30 น. ซึ่งเป็นการฝึกซ้อมระหว่างบริษัทฯ กับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สถานีดับเพลิงสุทธิสาร สถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร รพ.ราชวิถี สำนักงานเขตดินแดง สำนักงานเขตห้วยขวาง และศูนย์เอราวัณ ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อทดสอบและปรับปรุงขั้นตอนให้สามารถตอบสนองและจัดการเหตุการณ์ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งเพิ่มความชำนาญและทักษะให้กับพนักงานอีกด้วย

BMCL จึงใคร่ขอประชาสัมพันธ์มายังประชาชนทั่วไป เพื่อทราบและป้องกันการเข้าใจผิด และขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ โอกาสนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2624-5200
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/11/2014 9:47 pm    Post subject: Reply with quote

"ประจิน"เร่งหาข้อยุติเดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงินต่อขยาย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤศจิกายน 2557 20:14 น.

“ประจิน”หวั่นมติกก.มาตรา 13 เดินหน้าประมูลเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายไม่ชอบด้วยกฎหมาย กก.มาตรา 13 ขอปรึกษาบอร์ดรฟม.ก่อนประชุม ยันอำนาจบอร์ดไม่ก้าวล่วง แต่ให้คำปรึกษาได้ ยันรอตั้งบอร์ดรฟม.เพิ่ม 1 คน พร้อมพิจารณาเดินหน้าหรือทบทวนมติได้ทันที ด้านประธานกก.มาตรา13 เผยข้อมูลประกอบพร้อมวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ประมูลหรือเจรจาตรง

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าคัดเลือกเอกชนเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และ บางซื่อ-ท่าพระ) ระยะทาง 27 กิโลเมตร ว่า เนื่องจากยังมีความเห็นต่างกันเรื่องเปิดประกวดราคาหรือเจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เนื่องจากในมติของคณะกรรมการมาตรา 13แห่งพระราชบัญญัติเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) ชุดเก่า ที่มีนายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าฯ รฟม.เป็นประธานนั้น มีกรรมการมาตรา 13 จำนวน 2 คนไม่ได้อยู่ในที่ประชุม จึงมีการตีความว่า กรณีมติเห็นชอบให้ประกวดราคาคัดเลือกนั้น ถูกต้องตามกติตาและข้อกฎหมายหรือไม่ และล่าสุดคณะกรรมการมาตรา 13 ชุดที่มีนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าฯรฟม. (ฝ่ายวิศวกรรมและก่อสร้าง) ได้ขอคำปรึกษามาที่บอร์ดรฟม.ในประเด็นดังกล่าว ซึ่งในส่วนของนโยบายเห็นว่า หากบอร์ดรฟม.จะให้คำปรึกษาควรมีการแต่งตั้งบอร์ดให้ครบถ้วนก่อน ซึ่งขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) แต่งตั้งบอร์ดรฟม.เพิ่มเติม 1 คน คือ นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า (จท.) เป็นบอร์ดรฟม.ในส่วนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ทั้งนี้เมื่อตั้งบอร์ดรฟม.เพิ่มเติมแล้ว จะสามารถให้ความเห็นได้อย่างเต็มที่ ซึ่งยืนยันว่า แม้กรรมการมาตรา13 จะมีอำนาจเต็มในการพิจารณา ตามพ.ร.บ.ร่วมทุน ฯ 35 แต่เมื่อได้มีการปรึกษามา บอร์ดรฟม.สามารถให้ความเห็นได้ตามขั้นตอน โดยบอร์ดรฟม.นั้นมีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลเชิงยุทธศาสตร์และการบริหาร เพื่อให้ฝ่ายบริหารได้ทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ส่วนคณะกรรมการมาตรา 13 นั้น มีอำนาจดูแลในการจัดซื้อจัดจ้างในประเด็นที่ได้รับมอบหมาย

“ตอนนี้ มติของคณะกรรมการมาตรา 13 ชุดเดิมไม่เป็นที่ยอมรับ เพราะมีกรรมการ 2 ท่านไม่ได้อยู่ในที่ประชุม ผมไม่อยากให้เรื่องค้างคาใจกัน เพราะจะทำงานกันต่อไม่ได้ ในขณะที่อยากให้เรื่องนี้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว ซึ่งมีบอร์ดครบแล้วก็จะทำหน้าที่ให้ความเห็นได้เลยว่า จะเห็นด้วยกับมติประมูลหรือไม่ทบทวนอีกครั้ง”พล.อ.อ.ประจินกล่าว

ด้านนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่า (วิศวกรรมและก่อสร้าง) รฟม. ในฐานะประธานคณะกรรมการตามมาตรา 13 พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35 ในการคัดเลือกเอกชนดำเนินการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย กล่าวว่า ขณะนี้ได้เตรียมข้อมูลเปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสีย ระหว่างการประกวดราคากับการเจรจาตรงกับ BMCL ไว้แล้ว โดยรอความเห็นจากบอร์ดรฟม.ก่อน จากนั้นจะเรียกประชุมคณะกรรมการมาตรา13 เพื่อพิจารณาร่วมกัน ซึ่งในหลักการจะต้องนำข้อมูลในทุกด้านมาวิเคราะห์ประกอบการก่อนตัดสินใจ ซึ่งจะเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งหลักในการพิจารณาของกรรมการมาตรา 13 ยังเหมือนเดิม คือยึดตามความเห็นของบอร์ดรฟม.ที่ต้องการให้มีการเดินรถที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งการประกวดราคาและการเจรจาตรง

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ กก.มาตรา 13 จะพิจารณาเปรียบเทียบระหว่างวิธีประกวดราคากับการเจรจาตรง จะเป็นเรื่องความปลอดภัย ความสะดวกของผู้โดยสาร ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา ข้อกฎหมายและความเป็นธรรม ซึ่งเชื่อว่าเมื่อมีข้อมูลครบถ้วนเพียงพอ กก.มาตรา 13 ที่มีผู้แทนจากหน่วยงานสำคัญทั้งอัยการ กฤษฎีกา คลัง จะพิจารณาในทุกแง่มุมได้อย่างรอบคอบ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2014 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

วิดีโอโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
https://www.facebook.com/video.php?v=1520391081510954&set=vb.1409174012632662&type=2&theater

BMCL จ่อรับงานส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน
Money Wise ช่วง Sniper :BMCL จ่อรับงานส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน (Now TV - 3 พฤศจิกายน 2557)


รฟม.เตรียมผุดรถไฟฟ้าสีน้ำเงินช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย4 คาดเปิดประมูลปี 59
ข่าวหุ้น
วันจันทร์ที่ 03 พฤศจิกายน 2557 เวลา 11:46:36 น.
รฟม.เตรียมผุดรถไฟฟ้าสีน้ำเงินช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย4 คาดเปิดประมูลปี 59
Infoquest
จันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2557 11:44:01 น.

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทสไทย(รฟม.)เปิดเผยว่า รฟม.ได้เตรียมดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค – พุทธมณฑล สาย 4 ระยะทาง 8 กม. ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระหว่างนี้อยู่ขั้นตอนการจัดจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด และจัดทำเอกสารประกวดราคาของโครงการดังกล่าว

โดยได้ที่ปรึกษาในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า และจะใช้เวลาออกแบบ 8 เดือน จากนั้นจึงจะนำเสนอขออนุมัติโครงการ และเปิดประกวดหาผู้รับเหมาในงานก่อสร้างโครงการนี้ในปี 59 ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 60 คาดแล้วเสร็จในปี 64

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค – พุทธมณฑล สาย 4 มีความเหมาะสมที่จะดำเนินต่อเนื่อง เพราะได้พิจารณาเห็นว่า บนถนนเพชรเกษม มีความหนาแน่นของประชาชน การเดินทางบนถนนเพชรเกษมมีปริมาณรถคับคั่ง บริษัทก็อยากดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องไป

โดยตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เชื่อมโยงต่อเส้นทางจากระบบรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง – บางแค โดยมีเส้นทางอยู่ตามแนวเกาะกลางของถนนเพชรเกษม เริ่มต้นที่สถานีหลักสอง มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก และสิ้นสุดบริเวณจุดตัดถนนพุทธมณฑลสาย 4 รวมระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

อนึ่ง รฟม.ได้ประกาศเชิญชวนบริษัทที่สนใจมารับเอกสารการจัดจ้างที่ปรึกษา ปรากฎมีบริษัทที่สนใจมาขอรับเอกสาร จำนวน 20 ราย และ บริษัทที่ขอรับเอกสารจัดจ้างที่ปรึกษานี้ จะต้องยื่นข้อเสนอภายในวันที่ 14 พ.ย.57 เพื่อให้ รฟม. ดำเนินการประเมินผลและพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอต่อไป

สำหรับการจัดหาผู้เดินรถ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง – บางแค ระยะทาง 27 กมนั้น นายพีระยุทธ กล่าวว่า ขณะนี้รอความชัดเจนจากกระทรวงคมนาคม จึงจะเรียกประชุมคณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) เพื่อพิจารณาจัดหาผู้เดินรถรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการ รฟม.ได้ให้หลักการเห็นชอบที่จะให้เจรจาตรงกับผู้เดินรถเส้นทางปัจจุบัน ช่วงหัวลำโพง- บางซื่อ คือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายเพราะจะทำให้ผู้โดยสารเกิดความสะดวก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2014 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

'บีเอ็มซีแอล'จี้รัฐชี้ขาดเดินรถ หวั่นล่าช้า-งบลงทุนบานปลาย
การเงิน - การลงทุน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 12:16

"บีเอ็มซีแอล" จี้ภาครัฐเร่งชี้ขาดกติกาดึงเอกชนร่วมเดินรถส่วนต่อขยายสีน้ำเงิน ยืนยันพร้อมประมูลทุกกติกาของรัฐ แต่อยากให้นึกถึงผลประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก ปูดมีกลุ่มต่อต้านดึงงานล่าช้า หวั่นงานก่อสร้างเสร็จแต่ไม่มีบริการเดินรถ

การลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้า ถือเป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่ดึงภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการก่อสร้างและบริหารการเดินรถ ล่าสุดภาคเอกชนกำลังรอกติกาของรัฐ ในการคัดเลือกภาคเอกชนที่เหมาะสม จะเป็นผู้ให้บริการเดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน

นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL กล่าวว่า บริษัทมีความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลเป็นผู้ให้บริการเดินรถในส่วนของรถไฟใต้ดินส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินในทุกกติกาที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด หลังจากล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบและอนุมัติให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกเอกชนร่วมงานหรือดำเนินการตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (คณะกรรมการตามมาตรา 13)โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ดำเนินการเจรจาตรงกับ BMCL สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ด้วยรูปแบบการลงทุนที่มีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อภาครัฐ โดยมีระยะเวลาของสัญญาเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของสายเฉลิมรัชมงคล

รอกติกาให้เอกชนร่วมบริหารเดินรถ

อย่างไรก็ตาม ในการเข้าเป็นผู้ให้บริการเดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน ขณะนี้ยังอยู่ระหว่าง "รอกติกา" ในการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมบริหารเส้นทางเดินรถ โดยมีความไม่ชัดเจนว่าจะใช้วิธีการเปิดประมูล หรือภาครัฐจะเจรจากับบริษัทโดยตรงในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินมาก่อนหน้านี้

“จริงๆ รัฐบาลและรฟม.ในฐานะหน่วยงานที่เป็นผู้ดูแลส่วนนี้มีความเข้าใจแล้ว มีท่าทีชัดเจนที่สุดเท่าที่เคยมีมา ชัดเจนถึงขั้นว่าจัดเป็นแผนยุทธศาสตร์ในรัฐวิสาหกิจว่าจะเดินรถแบบต่อเนื่องโดยใช้รถร่วมแบบ ทรู โอเปอเรชั่น (Through Operation) และบอกว่าควรเจรจาเพื่อให้เป็นประโยชน์ แต่ผู้ที่ดำเนินการคลอดกติกา คือกรรมการร่วมลงทุน”

ขณะนี้ กรรมการร่วมลงทุนอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะหาเอกชนมาร่วมเดินรถด้วยวิธีการประมูลหรือการเจรจาโดยตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ อย่างไรก็ตาม ท่าทีก่อนหน้านี้กรรมการร่วมลงทุนเห็นควรว่าให้เปิดประมูล เนื่องจากต้องการให้เกิดกระบวนการทำงานที่โปร่งใสและไม่เอื้อประโยชน์กับเอกชนรายใดรายหนึ่ง

ทั้งนี้ บริษัทได้เคยชี้แจงไปแล้วว่าการเจรจาระหว่างรัฐและเอกชน ในกรณีนี้คือ BMCL นั้นสามารถทำได้ด้วยกระบวนการที่โปร่งใสเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบคำตอบที่แน่ชัดว่ากติกาดังกล่าวจะออกมาเป็นอย่างไร

นอกจากนี้ ยังมีความน่ากังวลเรื่องการเดินรถต่อเนื่อง ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนมากที่สุด โดยหากรรมการร่วมลงทุนกำหนดกติกาให้ประมูลหาผู้ให้บริการเดินรถร่วม จะต้องใช้เวลาในการดำเนินการด้านการประมูล การกำหนดคุณสมบัติ ซึ่งอาจต้องใช้เวลา 2 ปี จะต้องให้เวลากับเอกชนที่เข้ามาให้บริการอีกมากกว่า 1 ปี ซึ่งจะไม่สอดรับกับเวลาในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟใต้ดินในส่วนของการโยธา ซึ่งมีกำหนดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2561

ลุ้นได้สิทธิ์บริการส่วนต่อขยาย

นายสมบัติกล่าวอีกว่า ผู้ให้บริการเดินรถของรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ควรเป็นผู้ประกอบการรายเดียวกับผู้ให้บริการสายสีน้ำเงินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดกับประชาชนผู้ใช้บริการ โดยข้อดีของการมีผู้ประกอบการรายเดียวกัน คือต้นทุนการดำเนินการที่ถูกลง ระบบความปลอดภัยในเส้นทางเดินรถและภายในสถานี รวมถึงความสะดวกสบายของผู้โดยสาร

“มีผลการศึกษาออกมาแล้วว่า ถ้าหากมีผู้ประกอบการให้บริการเดินรถเป็นรายเดียวกัน จะทำให้รัฐบาลประหยัดเงินในระยะ 10-20 ปี เป็นมูลค่าถึง 10,000 ล้านบาท”

เขากล่าวเพิ่มว่า ลักษณะทางกายภาพของรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินเป็นวงกลม ถือเป็นเส้นทางหลักที่อยู่กลางเมือง จึงควรมีผู้ประกอบการรายเดียวกันเพื่อให้เกิดการเดินรถต่อเนื่อง ส่วนเส้นทางเดินรถสายอื่นๆ ทั้งรถไฟใต้ดินและรถไฟฟ้า รวมไปถึงระบบขนส่งอื่นๆ จะมาเป็นตัดและเชื่อมเพื่อขนส่งผู้โดยสารไปยังปลายทาง

สำหรับความกังวลว่าหากได้ผลสรุปออกมาว่าจะให้รฟม. เจรจากับบริษัทเพื่อให้เป็นผู้ให้บริการสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน จะเป็นการเอื้อประโยชน์แก่บริษัทนั้น ยืนยันว่าไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ และหากพิจารณาตามลักษณะทางกายภาพของเส้นทางสีน้ำเงินแล้ว จะเห็นว่าบริษัทไม่สามารถเพิ่มเส้นทางใดๆ เข้าไปได้ หากบริษัทต้องการเป็นผู้บริหารเส้นทางเพิ่มในอนาคต บริษัทก็ต้องเข้าร่วมประมูลตามกติกาที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดเช่นเดียวกับเอกชนรายอื่น

ย้ำสายสีม่วงเปิดบริการเร็วกว่ากำหนด

นายสมบัติกล่าวอีกว่า ความคืบหน้าของงานสร้างและบริหารเส้นทางเดินรถที่ประมูลได้ก่อนหน้า สายสีม่วงจากเตาปูน-ท่าพระ คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการภายในเดือนต.ค.2559 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิมที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่เดือนธ.ค. 2559 ขณะที่ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินนั้น ขณะนี้งานโยธาแล้วเสร็จไปมากกว่า 50% แล้ว คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในปี 2561 ตามเป้าหมายของรัฐบาล
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 124, 125, 126 ... 228, 229, 230  Next
Page 125 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©