RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13268639
ทั้งหมด:13579926
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟแลนด์บริดจ์สงขลา-สตูล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 50, 51, 52  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2014 9:45 pm    Post subject: Reply with quote

“สมัชชาปากน้ำสตูล” จี้รัฐทบทวนสร้างท่าเรืออุตสาหกรรมปากบารา


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 4 กันยายน 2557 18:23 น.


ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - กลุ่ม “สมัชชาปากน้ำ” อ.ละงู จ.สตูล แถลงชี้พื้นที่ ต.ปากน้ำทรัพยากรทางทะเลเริ่มร่อยหรอ แนะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลสร้างรายได้แก่ท้องถิ่น จัดการปัญหาเรื่องการถือครองที่ดินของประชาชน จี้รัฐทบทวนสร้างเรือปากบารา หวั่นพังธรรมชาติยับ พร้อมตั้งปณิธานร่วมใจสร้างตำบลน่าอยู่

วันนี้ (4 ก.ย.)จากการประชุมสมัชชาคนปากน้ำ ครั้งที่ 1 ที่ประชุมได้พิจารณารายงานข้อมูลเบื้องต้น และได้ประชุมหารือกันเกี่ยวกับศักยภาพของพื้นที่ตำบลปากน้ำแล้ว ที่ประชุมได้มีมติให้ ประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันว่า ชุมชนชาวตำบลปากน้ำ มีรากฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกิดจากการก่อร่างสร้างตัวเองมาเป็นเวลานานเป็นรากฐานทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณี เป็นสังคมของคนปากน้ำในรุ่นปัจจุบัน รวมทั้งความสัมพันธ์ฉันเครือญาติของผู้คนในท้องถิ่น ที่เอื้อต่อการประสานการทำงานสามัคคีกันได้

“คำประกาศเจตนารมณ์สมัชชาคนตำบลปากน้ำ ครั้งที่ 1” ความว่า เราขอประกาศว่า ตำบลปากน้ำ มีศักยภาพที่โดดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งนิเวศพื้นที่บนฝั่ง และทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์ มีพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะตะรุเตา เป็นปราการธรรมชาติ และระบบนิเวศด้านนอกมีอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เป็นระบบนิเวศด้านใน ตลอดจนถึงชายฝั่งมีแหล่งธรณีวิทยาที่สำคัญของประเทศ และเป็นแหล่งการประมง การท่องเที่ยว การนันทนาการ และรากฐานอาชีพของชาวตำบลปากน้ำ ที่สำคัญที่สุดดังจะเห็นได้จากฐานอาชีพการประมง และการเกษตรที่เกี่ยวข้องกัน

เรามีความเห็นว่า ความสามารถของประชาชนคนปากน้ำ บุคลากรชาวปากน้ำที่มีอยู่กับศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่ สามารถพัฒนาตำบลของเราให้เติบโต ยั่งยืนได้ ทั้งสามารถหนุนเสริมเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวได้อย่างมั่นคง โดยที่ภาคส่วนต่างๆ ให้การสนับสนุนตามสมควร

เราตระหนักดีว่า ทรัพยากรธรรมชาติในตำบลปากน้ำ เริ่มร่อยหรอ และเริ่มประสบกับปัญหาต่างๆ มากมาย แต่เราเชื่อว่าหากเราร่วมมือกันเราสามารถจัดการทรัพยากร อ่าวปากบาราและระบบนิเวศให้คงอยู่ยั่งยืนได้

เรายังรู้อีกว่า เศรษฐกิจการท่องเที่ยวทั้งภาคธุรกิจ และชุมชนได้สร้างรายได้เข้าสู่ตำบลปากน้ำ ปีละนับพันล้านบาท โดยที่รายได้สามารถกระจายไปสู่กลุ่มคนต่างๆ หลากหลาย เราจึงเชื่อว่า ทิศทางพัฒนาการท่องเที่ยว ยังเป็นแนวทางที่สำคัญของเราต่อไป

นอกจากนี้ เราขอประกาศว่า เราจะร่วมกันอย่างเต็มที่ในการจัดการปัญหาความไม่มั่นคงในการถือครองที่ดินของชาวปากน้ำ เราจะร่วมกันป้องกันเด็กๆ ลูกหลานของเราจากความเสี่ยงด้านต่างๆ เพื่อให้พวกเขามีชีวิตที่ดีต่อไปภายหน้า และเราจะช่วยกันดูแล ให้เกียรติแก่ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มต่างๆ ในตำบลให้พวกเขาได้มีชีวิตที่ดี และมีโอกาสเท่ากับพี่น้องคนอื่นๆ

ในขณะที่เรากำลังช่วยกันทำให้ตำบลปากน้ำ เป็นตำบลที่น่าอยู่ เป็นบ้านที่อบอุ่น โดยมีฐานเศรษฐกิจที่ทุกคนล้วนได้ประโยชน์ ไม่เหลื่อมล้ำกันมากนัก เราได้ทราบเช่นกันว่า ตำบลปากน้ำ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยตำบลปากน้ำ จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจสงขลา-สตูล เป็นพื้นที่เป้าหมายในการก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อชุมชนตำบลปากน้ำโดยรวม โดยที่ยังไม่ได้จัดทำการศึกษาผลกระทบอย่างรอบด้าน

เราอยากขอให้ผู้เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบาย ได้ทบทวนโครงการ และเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่น ตำบลปากน้ำ ตามศักยภาพของพื้นที่ที่มีอยู่อย่างแท้จริง

ท้ายที่สุดนี้ พวกเราประกอบด้วย แกนนำชุมชน ภาคประชาชนตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล ทั้งภาคท้องที่ ท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และแกนนำภาคประชาชน ขอให้สัญญาต่อกันว่า จะพยายามร่วมมือร่วมใจกันเพื่อให้สามารถพัฒนาท้องถิ่นของเราเองไปสู่ “บ้านน่าอยู่ หมู่บ้านน่าอยู่ และตำบลน่าอยู่” เพื่อเป็นทางเลือกในการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต ขอความสันติสุขจงมีแด่ทุกท่าน ที่ประชุมสมัชชาคนปากน้ำ วันที่ 4 กันยายน 2557 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2014 2:42 am    Post subject: Reply with quote

สิงคโปร์กังวลเรื่องโครงการปากบารา เพราะว่าเป็นการทุบหม้อข้าวสิงคโปร์เป็นการใหญ่
http://www.straitstimes.com/the-big-story/asia-report/thailand/story/thailands-junta-resurrects-plan-build-andaman-port-20140906
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/09/2014 12:14 pm    Post subject: Reply with quote

สศช.ชงรัฐบาลใหม่ หั่นคณะกรรมการร่วมมือเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย เหลือ แค่ระดับนโยบาย และระดับทำงาน เพื่อความคล่องตัวการทำงาน
เดลินิวส์ วันอาทิตย์ 14 กันยายน 2557 เวลา 19:00 น.

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สศช.ได้เสนอให้รัฐบาลใหม่ปรับกลไกการเข้าร่วมพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง โดยให้ปรับลดคณะกรรมการร่วมที่มีอยู่ทั้งหมด 3 ระดับในรัฐบาลก่อน คือ คณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ (เจเอชซี) คณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมาร์ (เจซีซี) และคณะทำอนุกรรมการร่วม 6 สาขา เหลือเพียง คณะกรรมการระดับนโยบาย และคณะอนุกรรมการฯ เท่านั้น เพราะที่ผ่านมาการทำงานของคณะกรรมการทั้ง 3 ระดับมีความซ้ำซ้อน จึงทำให้การเข้าร่วมมือพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศมีความล่าช้ามาก

สำหรับความร่วมมือในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายนั้น ในสมัยรัฐบาลของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการหารือถึงความร่วมมือ โดยได้ตั้งกลไกคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาร์ ขึ้นมา 3 ระดับ คือคณะกรรมการร่วมระดับสูงฯมีรองนายกรัฐมนตรีไทย และรองประธานาธิบดีเมียนมาร์เป็นประธานร่วม มีหน้าที่ประสานนโยบายเพื่อผลักดันความคืบหน้าและการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจระหว่างกันรวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้

รองมาคือ คณะกรรมการประสานงานร่วมฯ มีหน้าที่ติดตามประเมินผลความคืบหน้า และประสานงานตามบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน และสุดท้ายเป็นคณะอนุกรรมการร่วม 6 สาขา ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง ,อุตสาหกรรมเฉพาะด้านและการพัฒนาธุรกิจ ,พลังงาน ,การพัฒนาชุมชนและการย้ายถิ่นฐาน ,กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และด้านการเงิน

“เชื่อว่ารัฐบาลใหม่จะเดินหน้าโครงการนี้ต่อ แต่ก็ต้องมาดูนโยบายที่ชัดเจนอีกครั้งว่า จะไปในทิศทางไหน หลังจากปรับการทำงานเหลือเพียงสองชุด เพื่อให้เกิดความรวดเร็วขึ้น ซึ่งตอนนี้ในระดับคณะอนุกรรมการก็ยังเดินหน้าอยู่ ล่าสุดอยู่ระหว่างการศึกษาการลงทุนของบมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ไอทีดี) โดยเฉพาะสัญญาสัมปทานที่ไอทีดีได้รับจากคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (ดีเอสอีแซด) ของเมียนมาร์ ทั้ง สิทธิ์การเช่าที่ดิน การก่อสร้างท่าเรือ และถนน เพื่อให้รู้ว่า สิ่งที่ไอทีดีสร้างไปมีวงเงินลงทุนเท่าใด จากนั้นจึงจะจ่ายเงินคืนให้ ก่อนจะไปเปิดประมูลใหม่ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนต.ค.นี้”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2014 2:15 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคม เดินหน้า แลนด์บริด สงขลา-สตูล
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2557 16:04น.

กระทรวงคมนาคม เดินหน้า แลนด์บริด สงขลา-สตูล โดยการเชื่อมท่าเรือน้ำลึกปากบารา กับ ท่าเรือสงขลา
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคม จะมีการดำเนินโครงการสะพานเชื่อมเศรษฐกิจพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน และอ่าวไทย หรือ แลนด์บริด สงขลา-สตูล โดยทำการเชื่อมท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล กับท่าเรือสงขลา ระยะทาง 2 ฝั่ง รวม 142 กิโลเมตร และเสริมเรื่องถนนและโลจิสติกส์ การประหยัดพลังงานควบคู่กัน โดยเบื้องต้นโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ได้ผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว EIA รวมถึงการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินโครงการ ได้ในปี 2559 สำหรับเส้นทางเดินเรือหลัก จะกำจัดสิ่งกีดขวาง เพื่อให้เดินเรือได้ตลอดทั้งปี ทั้งแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน และป่าสัก ในปี 2558 และในปี 2559 จะเสริมความแข็งแกร่งของตลิ่ง ไม่ให้ทรุด จัดเป็นพื้นที่สาธารณะ และเส้นจักรยานในหลายช่วง โดยกรณีที่มีการขุดลอกดินจะนำดินไปเป็นวัสดุก่อสร้าง หรือใช้เป็นส่วนผสมวัสดุอินทรีย์

นอกจากนี้ จะลดผลกระทบต่อการขนส่งทางเรือ กรณีที่มีสะพานขวางการเดินเรือในเขตแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจากการสำรวจมีจำนวน 3 สะพานที่มีระดับต่ำเกินมาตรฐานที่กำหนด 5.6 เมตร ได้แก่ สะพานพุทธ สะพายกรุงธน และสะพานนวลฉวี จะต้องมีการศึกษารายละเอียด และแนวทางการแก้ไขอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/10/2014 1:38 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ เสนอคมนาคมสร้างรถไฟฟ้า “มาเลย์-หาดใหญ่-ท่าเรือน้ำลึกสงขลา”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 ตุลาคม 2557 13:45 น.

ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - การรถไฟแห่งประเทศไทย เสนอกระทรวงคมนาคมสร้างรถไฟฟ้าระหว่างประเทศสายแรกในไทย เส้นทางมาเลเซีย-หาดใหญ่-ท่าเรือน้ำลึกสงขลา ชี้มีผลดีทางระบบการขนส่ง และการท่องเที่ยว เผยขณะนี้กำลังเร่งปรับปรุงระบบรางเส้นทางสายใต้ใหม่แก้ปัญหารถไฟตกราง

วันนี้ (13 ต.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายออมสิน ชีวพฤกษ์ ประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยในระหว่างลงพื้นที่ตรวจเส้นทางรถไฟในพื้นที่ภาคใต้ว่า การรถไฟฯ ได้เสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อสร้างรถไฟฟ้าระหว่างประเทศสายแรกในประเทศไทย เส้นทางเชื่อมต่อจากมาเลเซีย-หาดใหญ่-ปลายทางท่าเรือน้ำลึกสงขลา ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร เนื่องจากขณะนี้ทางมาเลเซียได้เชื่อมต่อรถไฟฟ้าจากกัวลาลัมเปอร์ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย จ.สงขลา แล้ว

ซึ่งหากมีการเชื่อมต่อรถไฟฟ้ากับมาเลเซียจะส่งผลดีทั้งด้านการท่องเที่ยวที่จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเดินทางเข้ามามากขึ้น รวมทั้งระบบการขนส่งที่สามารถขนส่งสินค้าจากท่าเรือปีนังมายังท่าเรือน้ำลึกสงขลาได้โดยตรง และไม่ต้องอ้อมจากมาเลเซียไปยังสิงคโปร์ ซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 7 วัน แต่สามารถมาทางรถไฟฟ้าได้ทันทีในระยะทางเพียง 100 กิโลเมตร

ด้าน นายออมสิน ชีวพฤกษ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ได้หารือกับทางปลัดกระทรวงคมนาคมไปแล้ว และทางการรถไฟแห่งประเทศไทย กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ โดยเฉพาะเรื่องของเส้นทางรถไฟระหว่างสถานีหาดใหญ่ ไปยังสงขลาระยะทางราว 70 กิโลเมตร ซึ่งเลิกใช้มานาน และมีการบุกรุกของชาวบ้านซึ่งยังเป็นปัญหาอยู่ และจะต้องมีการเจรจากันต่อไปแต่น่าจะมีความเป็นไปได้สูง

นอกจากนี้ ในส่วนของระบบรางเส้นทางสายใต้ก็กำลังเร่งปรับปรุงใหม่เช่นกัน โดยเปลี่ยนรางใหม่จาก 80 ปอนด์ เป็น 100 ปอนด์ และเปลี่ยนไม้หมอนใหม่จากไม้มาเป็นคอนกรีตทั้งหมด เพื่อแก้ปัญหารถไฟตกรางซึ่งภาคใต้เกิดขึ้นบ่อย และทำให้การเดินรถไฟสะดวก และปลอดภัยยิ่งขึ้น

---

รฟท. ฟุ้ง! เตรียมสร้าง "รถไฟฟ้า" ระหว่างประเทศเชื่อม“มาเลเซีย-หาดใหญ่-ท่าเรือน้ำลึกสงขลา”
มติชนออนไลน์ วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 12:11:36 น.

(13 ต.ค.) นายออมสิน ชีวพฤกษ์ ประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยในระหว่างลงพื้นที่ตรวจเส้นทางรถไฟในพื้นที่ภาคใต้ว่า การรถไฟได้เสนอเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อสร้างรถไฟฟ้าระหว่างประเทศสายแรกในประเทศไทย เส้นทางเชื่อมต่อจากมาเลเซีย-หาดใหญ่-ปลายทางท่าเรือน้ำลึกสงขลา ระยะทางประมาณ100 กม. เนื่องจากประเทศมาเลเซียได้เชื่อมต่อรถไฟฟ้าจากกัวลาลัมเปอร์มาถึงสถานีปาดังเบซาร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ชายแดนไทยมาเลเซียจ.สงขลาแล้ว

“หากมีการเชื่อมต่อรถไฟฟ้ากับมาเลเซียจะส่งผลดีต่อทั้งด้านการท่องเที่ยว ที่จะมีนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียเดินทางเข้ามามากขึ้น ระบบการขนส่งที่สามารถขนส่งสินค้าจากท่าเรือปีนัง-ท่าเรือน้ำลึกสงขลาโดยตรง ไม่ต้องอ้อมไปประเทศสิงคโปร์ ต้องใช้เวลานานถึง7 วัน”

นายออมสินกล่าวว่า ตนได้หารือกับทางปลัดกระทรวงคมนาคมไปแล้ว และทางการรถไฟแห่งประเทศไทย กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ โดยเฉพาะเรื่องของเส้นทางรถไฟระหว่างสถานีหาดใหญ่-สงขลา ระยะทาง 40 กม. ที่เลิกใช้มานานและมีการบุกรุกของชาวบ้าน ซึ่งยังเป็นปัญหาอยู่ และจะต้องมีการเจรจากันต่อไป แต่จะมีความเป็นไปได้สูง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44606
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/10/2014 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

ฟื้นแลนด์บริดจ์เชื่อมปากบารา-สงขลาบูมขนส่ง2ฝั่งทะเล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 17 ต.ค. 2557 เวลา 22:01:25 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมเวิร์กช็อปเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมทางน้ำ 10 ปี (2559-2568) ลงทุนรวม 76,666.27 ล้านบาท เน้นพัฒนาเพื่อเพิ่มการขนส่งสินค้าทางลำน้ำและชายฝั่งทะเลของประเทศ จากปัจจุบัน 15% เป็น 19% ลดต้นทุนขนส่งสินค้าไม่เกิน 1.75 บาทต่อตันต่อกิโลเมตรในปี 2559

โครงการระยะเร่งด่วนได้รับงบประมาณปี 2558 จำนวน 2,206 ล้านบาท มี 4 โครงการ ได้แก่ 1.พัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ท่าเรือแหลมฉบัง 782.25 ล้านบาท พื้นที่ 43 ไร่ รองรับเรือ 1,000 และ 3,000 DWT (ระวางบรรทุกสูงสุด) ได้พร้อมกันทั้ง 2 ลำ

Click on the image for full size

2.พัฒนาศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ระยะที่ 1) 1,049.65 ล้านบาท สร้างรางรถไฟเพิ่ม 1 ชุดรางคู่ขนานกับรางเดิม จากสถานีแหลมฉบังเข้ามายังพื้นที่โครงการยาว 4.3 กิโลเมตร และชุดพวงรางภายในย่านตู้สินค้า 1.5 กิโลเมตร

3.ศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเรือสำราญขนาดใหญ่หรือ Cruise จ.กระบี่ และ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 9 ล้านบาท

4.เพิ่มประสิทธิภาพขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสัก โดยก่อสร้างระบบป้องกันตลิ่งเพื่อพัฒนาร่องน้ำทางเรือเดิน (ระยะที่ 1) 365.17 ล้านบาท

"งานเร่งด่วนและขุดลอกแม่น้ำสำคัญ เช่น แม่กลอง ท่าจีน ปิง วัง ยม น่าน จะทำเป็นแผนแม่บทปี"58-59 เพื่อให้เดินเรือได้ทั้งปี รวมถึงกำจัดผักตบชวาให้เสร็จสิ้นปีนี้ ดูแลการกัดเซาะตลิ่ง การจัดจราจรท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือคลองเตย ปีหน้ายังไม่มีลงทุนสร้างท่าเรือใหม่ ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เช่น ท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล ให้กรมเจ้าท่าเร่งทำรายงาน" พล.อ.อ.ประจินกล่าวและว่า

โดยจะสร้างรถไฟเป็นแลนด์บริดจ์ 142 กิโลเมตรเชื่อมท่าเรือปากบารา อยู่ฝั่งอันดามันกับท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 ในฝั่งอ่าวไทยที่มีแผนสร้างควบคู่กันไป เพื่อเสริมประสิทธิภาพโลจิสติกส์ด้านขนส่งทางน้ำให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นสำหรับแม่น้ำเจ้าพระยามีปัญหาการขนส่งสินค้าทางเรือ เพราะมีสะพาน 3 แห่งที่ระยะห่างจากระดับน้ำกับท้องสะพานไม่ถึงเกณฑ์ 5.6 เมตร คือสะพานพุทธ สะพานกรุงธน สะพานนวลฉวี มอบหมายให้กรมเจ้าท่าศึกษาความเป็นไปได้ยกสะพานให้สูงขึ้นเพื่อเดินเรือสะดวก รวมถึง 2 สะพานมนตรีพงษ์พานิช และสะพานโพธิ์เอนสามัคคี ในแม่น้ำป่าสักด้วย

ขณะที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จะเร่งพัฒนาระบบขนส่งทางน้ำให้เชื่อมโยงกับระบบขนส่งรูปแบบอื่น โดยกรมเจ้าท่ามีแผนพัฒนา 19 ท่าเรือสำคัญทั้งหลังท่าและเรือโดยสารให้ทันสมัย ปลอดภัย อำนวยความสะดวกการเดินทางของประชาชน ใช้เงินลงทุน 450 ล้านบาท

ในปี 2558-2559 จะดำเนินการ 9 แห่ง ลงทุน 70 ล้านบาท ได้แก่ ท่านนทบุรีพระราม 7 บางโพ เทเวศร์ พระปิ่นเกล้า พรานนก ราชวงศ์ สี่พระยา และสาทร จากนั้นในปี 2560-2561 จะดำเนินการอีก 10 ท่า ได้แก่ ท่าปากเกร็ด พระนั่งเกล้า พระราม 5 เกียกกาย พายัพ กรุงธน (ซังฮี้) ท่าพระอาทิตย์ ท่าช้าง ท่าเตียน และท่าราชินี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 09/01/2015 1:20 am    Post subject: Reply with quote

เจ้าท่าลุย'ปากบารา'คาดเริ่มก่อสร้างปี61
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 7 มกราคม 2558 13:15

เจ้าท่าลุย "ปากบารา" คาดเริ่มก่อสร้างปี61 ดึงเอกชนพัฒนาท่าเรือเจ้าพระยาเชิงพาณิชย์

กรมเจ้าท่าเร่งแผนปี 58 เผยได้งบประมาณ 2,600 ล้านบาท ลุยพัฒนาท่าเรือโดยสารเจ้าพระยา เปิดเอกชนเข้าพัฒนาท่าเรือเชิงพาณิชย์ พร้อมเดินหน้าสร้างท่าเรือน้ำลึกปากบารา คาดเริ่มก่อสร้างปี 2561

นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยว่า ปีนี้ กรมฯเร่งแผนการดำเนินงานโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ภายใต้วงเงินรวม 2.6 พันล้านบาท โดยมีแผนพัฒนาท่าเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยาจำนวน 17 แห่ง วงเงิน 70 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2558 จะสามารถดำเนินการพัฒนาท่าเรือโดยสารในเบื้องต้นได้จำนวน 8 ท่า วงเงิน 14 ล้านบาท

โดยการพัฒนาท่าเรือนั้นจะกำหนดให้ภาคเอกชนเข้ามาบริหารและหารายได้ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งบริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา มีความสนใจที่จะเข้ามาดำเนินการท่าเรือปิ่นเกล้า ท่าเรือสาทร และท่าเรือนนท์ ซึ่งจะดำเนินการแล้วเสร็จในครึ่งปีแรก

อย่างไรก็ตามในการดำเนินการพัฒนาท่าเรือแต่ละแห่ง กรมต้องเร่งเจรจากับกรมธนารักษ์เกี่ยวกับการเช่าพื้นที่ท่าเรือเชิงพาณิชย์ลงเหลือประมาณ 20-25% เพื่อให้เอกชนเกิดแรงจูงใจในการเช่าพื้นที่โดยคาดว่าเดือน ม.ค. 2558 นี้จะสามารถสรุปรายละเรื่องค่าเช่าได้

กรมฯยังดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งในแม่น้ำป่าสักและสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง วงเงิน 2,070 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2558 รวมถึงการจ้างเหมาขุดลอกร่องน้ำทางเข้าท่าเรือกรุงเทพร่องที่ 2 วงเงิน 60 ล้านบาท

กรมฯยังเสนอของบกลางปีงบประมาณ 2558 ประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์(เอสอีเอ)โครงการก่อสร้างท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล หลังจากก่อนหน้านี้ได้จัดรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ไปแล้ว โดยการจัดทำเอสอีเอจะใช้เวลาประมาณ 10 เดือนคาดว่ากลางปี 2559 จะแล้วเสร็จ และทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(อีเอชไอเอ)ไปด้วย ดังนั้นอย่างเร็วสุดคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี แล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการได้ในปี 2565

“หากรัฐบาลเห็นความสำคัญและผลักดันโครงการจะเดินหน้าก่อสร้างได้แน่นอน โดยปัจจุบันถือว่าช้ากว่ากำหนดแล้ว เพราะเดิมจะต้องก่อสร้างในปี 2558 เมื่อเลื่อนออกไปจะทำให้ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก 20% จากงบประมาณเดิมที่ตั้งไว้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท หากไม่สามารถก่อสร้างได้ตามแผนในปี 2561 ก็ไม่จำเป็นต้องเดินหน้าก่อสร้างอีก เพราะจะช้าเกินไป ผู้ประกอบการขนส่งสินค้าจะหันไปใช้ท่าเรือใกล้เคียงจนหมด เช่น ท่าเรือปีนัง ของมาเลเซีย”นายจุฬา กล่าว

นายจุฬา กล่าวว่า กรมฯมีแผนจะก่อสร้างท่าเทียบเรือรองรับเรือสำราญขนาดใหญ่(ครูซส์)จังหวัดกระบี่ และเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบ คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท เพื่อให้ท่าเรือเป็นศูนย์กลาง(ฮับ)การขนส่งทางน้ำ ซึ่งจะมีทั้งท่าเรือสำราญ เรือโดยสาร และท่าเทียบเรือท่องเที่ยวในทะเลอันดันดามัน แบบครบวงจร

"จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าในแต่ละปีจะมีเรือสำราญขนาดใหญ่ที่มีอัตราการบรรทุกผู้โดยสารกว่า 2,000 คนต่อลำ เข้ามาท่องเที่ยวและจอดอยู่กลางทะเลเพื่อนั่งเรือเล็กเข้ามาเทียบเป็นจำนวนมาก เรือขนาดกลางที่มีผู้โดยสารระหว่าง 950-2,000 คนต่อลำ และเล็กที่มีผู้โดยสารไม่เกิน 950 คนต่อลำ มีประมาณ 4-5 แสนคนต่อปีที่จอดเทียบท่าที่จังหวัดภูเก็ต และเมื่อรวมทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านคนต่อปี หากก่อสร้างสำเร็จจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล"

//---------------------


"บิ๊กจิน"เผยอังกฤษเล็งร่วมทุนสร้างเมกะโปรเจ็กต์ไทย สั่งกรมเจ้าท่าเร่งศึกษาท่าเรือปากบารา
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 08 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 19:20 น.

วันที่ 8 ม.ค. พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เผยหลังนายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย เข้าพบว่า ทูตอังกฤษแสดงความสนใจร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทย ได้แก่ การลงทุนรถไฟทางคู่ สนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงท่าเรือชายฝั่งขนาดใหญ่ ซึ่งไทยชี้แจงถึงแผนพัฒนาทั้งรถไฟทางคู่ การปรับปรุงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตลอดจนการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ท่าเรือปากบารา จ.สตูล และท่าเรือสงขลา 2 นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย ในประเทศเมียนมาร์ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าจากเมียนมาร์มาอ่าวไทย หลังจากนี้กระทรวงคมนาคมจะให้ตัวแทนรัฐบาลอังกฤษไปหารือรายละเอียดการลงทุนลงทุนรถไฟทางคู่ กับนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมถึงให้ไปหารือกับบริษัทท่าอากาศไทย จำกัด (มหาชน) เกี่ยวกับการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิด้วย

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวถึงแผนโครงการก่อสร้างท่าเรือปากบารา จ.สตูล ว่า สั่งให้กรมเจ้าท่าเร่งจัดทำรายละเอียดเพื่อเสนอครม. ขอใช้งบกลางปี 2558 วงเงิน 50 ล้านบาท สำหรับศึกษาและจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (เอสอีเอ) รวมถึงวิเคราะห์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโครงการก่อสร้างท่าเรือปากบารา จ.สตูล หลังจากก่อนหน้านี้ได้จัดรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ไปแล้ว หากวิเคราะห์เรื่องเสร็จจะออกแบบและจัดทำรายละเอียด รวมถึงตั้งงบประมาณเวนคืนที่ดิน คาดว่าเริ่มต้นก่อสร้างปลายปี 2560 และเสร็จในปี 2565

รมว.คมนาคม กล่าวต่อว่า เพื่อเร่งพัฒนาโครงการท่าเรือปากบาราให้เสร็จโดยเร็ว กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแผนลงไปศึกษาพื้นที่สร้างท่าเรือปากบารา จ.สตูล รวมทั้งท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 เพราะการสร้างท่าเรือน้ำลึกทั้ง 2 แห่ง ถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของระบบโลจิสติกส์ทางทะเล โดยท่าเรือปากบารา จ.สตูล จะอยู่ฝั่งอันดามันมียุทธศาสตร์ ซึ่งจะมีการสร้างถนนและทางรถไฟระยะทาง 142 กม. เชื่อมต่อกับท่าเรือสงขลาแห่งที่ 2 ซึ่งอยู่ฝั่งอ่าวไทย เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลของอาเซียน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2015 10:49 pm    Post subject: Reply with quote

'ญี่ปุ่น"ส่งสัญญาณ หนุนท่าเรือทวาย

โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 -
คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
ออนไลน์เมื่อ วันพุธที่ 28 มกราคม 2558 เวลา 13:24 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,022 วันที่ 29 - 31 มกราคม พ.ศ. 2558
"ญี่ปุ่น"กลัวตกขบวน ส่งบิ๊กเข้าร่วมประชุมไตรภาคี ไทย-เมียนมาร์-ญี่ปุ่น ประกาศท่าทีชัดหนุนโปรเจ็กต์ทวาย หวังปูทางรับทัพนักลงทุนญี่ปุ่น ด้านประชุม"เจเอชซี"หารือความคืบหน้าโครงการ และวางกรอบพัฒนาฟูลเฟส ส่วนประมูลอินิเชียลเฟส"ไอทีดี"ยังไม่ได้ข้อยุติเจรจาเร่งหาเงิน 4 พันล้านสร้างถนน
alt แหล่งข่าวระดับสูงจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงการประชุมคณะกรรมการระดับสูงความร่วมมือเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระหว่างไทย-เมียนมาร์ (เจเอชซี) ในวันที่ 30 มกราคมนี้ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนว่าจะเข้าร่วมในการพัฒนาโครงการทวาย โดยจะส่งตัวแทนเข้าร่วมในการประชุมในส่วนของ ไตรภาคี หรือการประชุม 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ไทย -เมียนมาร์และญี่ปุ่น ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถือเป็นส่วนสำคัญต่อการตัดสินใจของญี่ปุ่นในการเข้าร่วมพัฒนาโครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกทวาย แม้ว่าก่อนหน้านั้นญี่ปุ่นจะเคยเข้าร่วมประชุมแต่เป็นลักษณะคณะทำงานเฉพาะกิจหรือ Task Force เท่านั้น
"ก่อนหน้านั้นทั้งรัฐบาลไทยและเมียนมาร์ต่างก็ให้ความสำคัญที่จะเชิญญี่ปุ่นเข้าร่วมโครงการตั้งแต่แรกเริ่ม ทั้งด้วยวาจา ส่งหนังสือเทียบเชิญผ่านกระทรวงการต่างประเทศ แต่ญี่ปุ่นยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เพียงแต่แสดงท่าทีว่าสนใจเท่านั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังติดภารกิจที่ต้องผลักดันโครงการนิคมติลาวา ในเมียนมาร์ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนเดินหน้าได้ก่อน"
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า จึงส่งผลให้ไทยและเมียนมาร์ไม่รอและเดินหน้าร่วมทุนจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ทวาย เอสอีแซด ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด (เอสพีวี) โดยถือหุ้นฝ่ายละ 50 % เพื่อผลักดันให้โครงการแจ้งเกิด จนคืบหน้าถึงขั้นเปิดประมูลโครงการลงทุนระยะแรกเริ่มหรืออินิเชียลเฟส ซึ่งมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน)หรือไอทีดี เพียงรายเดียวที่ยื่นประมูล ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียด
อย่างไรก็ดี ขณะนี้ญี่ปุ่นเริ่มทีท่าที่ชัดเจนขึ้น ในการประชุมไตรภาคีครั้งนี้มีตัวแทนระดับสูงจากรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าร่วม นำโดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศและผู้แทนจาก กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (เมติ) เพื่อแสดงเจตจำนงว่าสนใจเข้าร่วมอย่างจริงจัง แต่จะเป็นลักษณะใดนั้นต้องรอผลการประชุมในวันนั้น แต่คาดว่าน่าจะมี 2 แนวทางคือ ร่วมทุนในเอสพีวีกลายเป็นผู้ถือหุ้น 3 ประเทศ หรือประกาศตัวขอเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการให้กับโครงการเพื่อร่วมทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ( Feasibility study ) ในการพัฒนาโครงการอย่างเต็มพื้นที่หรือฟูลเฟส
"ในเมื่อทุนญี่ปุ่นเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ให้ความสนใจโครงการนี้ เขาจึงต้องการเข้ามาศึกษารายละเอียดให้รอบด้าน ก่อนที่จะลงทุน และเห็นว่าแผนแม่บทที่ไอทีดีทำไว้ก่อนหน้านั้นมีหลายส่วนที่ญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย เช่นการสร้างท่าเรือญี่ปุ่นต้องการให้แยกเป็น 2 แห่งคือท่าเรือน้ำลึกเพื่อรองรับอุตสาหกรรมขนาดหนักและท่าเรือเพื่อรองอุตสาหกรรมเบา พวกส่งออกรถยนต์ แต่การศึกษาของไอทีดีมีท่าเรือเพียงแห่งเดียว"
แหล่งข่าว ยังระบุว่า สำหรับการประชุม ในวันที่ 30 มกราคมนี้ฝ่ายไทยจะมีรองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว. ปรีดียากร เทวกุล ในฐานะประธาน เจเอชซี และนายญาณ ชุน รองประธานธิบดีเมียนมาร์ในฐานะประธานฝ่ายเมียนมาร์ จะมีการหารือถึงความคืบหน้าของโครงการ ซึ่งได้ประมูล โครงการระยะเริ่มแรก (อินิเชียลเฟส) ซึ่งขั้นตอนอยู่ระหว่างการเจรจาเงื่อนไขบางอย่างที่ยังไม่ลงตัว ทั้งเรื่องถนนจากทวายถึงบ้านพุร้อนชายแดนไทยระยะทาง 135 กิโลเมตรใช้งบ 4 พันล้านบาทที่ต้องหาแหล่งเงินเข้ามาสนับสนุน อาทิ เงินกู้ทั้งหมด กู้ 70 % อีก 30 % เป็นเงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือทั้งหมด อยู่ระหว่างการหาข้อสรุปว่าแนวทางใดดีที่สุด
นอกจากนี้จะมีการหารือถึงแผนพัฒนาโครงการอย่างเต็มพื้นที่หรือฟูลเฟส ซึ่งจะเป็นการเปิดประมูลในระดับนานาชาติ หรืออินเตอร์เนชั่นแนล บิลดิ้ง เชิญชวนนักลงทุนจากทั่วโลกเข้าร่วมประมูล ซึ่งขณะนี้นอกเหนือจากทุนญี่ปุ่นแล้วยังมี ยุโรป สิงคโปร์ จีน แสดงความสนใจเช่นกัน ซึ่งขบวนการฟูลเฟสต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี นับตั้งแต่เริ่มศึกษาโครงการ หาแหล่งเงินทุน ซึ่งสามารถทำควบคู่กับอินิเชียลเฟสได้

//---------------------

พร้อมเดินหน้านิคมฯ ทวายกลางปีนี้
ข่าวเศรษฐกิจ
เดลินิวส์
วันศุกร์ 30 มกราคม 2558 เวลา 17:17 น.

ตอกหมุดนิคมฯ ทวายกลางปีนี้ หลังไทย-เมียนมาร์ หารือครั้งแรกยุครัฐบาล “บิ๊กตู่” ยันเป็นประวัติศาสตร์ความร่วมมือหลังช้ามานาน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย และเมียนมาร์ เพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (เจเอชซี) โดยฝ่ายไทยมีม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ร่วมกับนายอู ญาณ ทุน รองประธานาธิบดีของเมียนมาร์ ซึ่งถือเป็นการประชุมครั้งแรกในสมัยของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้รับทราบการพัฒนาโครงการในระยะแรก วงเงินลงทุนประมาณ 1,700 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 52,000 ล้านบาท จะเริ่มดำเนินการได้ประมาณกลางปีนี้ หลังจากเจรจาสัญญาสัมปทานกับกลุ่มบริษัทร่วมทุนที่ได้รับคัดเลือกเสร็จสิ้นประมาณเดือนก.พ.นี้ และคาดว่า จะลงนามในสัญญาทันทีประมาณเดือนมี.ค.58 โดยผู้ที่ได้รับคัดเลือก คือ
กลุ่มบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) รวมกับ
สวนอุตสาหกรรมโรจนะ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และ
บริษัท แอล เอ็น จี พลัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

“การร่วมมือกันครั้งนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์ ที่ไทยและเมียนมาร์ จะร่วมมือกันผลักดันโครงการให้เห็นว่า ในที่สุดโครงการเกิดขึ้นอย่างแน่ๆ และจะเริ่มตั้งแต่ปีนี้ที่อาจจะเห็นบางโครงการเกิดขึ้นก่อน และการร่วมมือครั้งนี้เป็น 2 ฝ่าย ต่อไปจะมีประชุม 3 ฝ่ายเพิ่มขึ้นมา คือ ประเทศญี่ปุ่น ที่แสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนที่จะเข้ามาร่วมโครงการ และเสนอให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและเทคนิค ส่วนการจะเข้ามาร่วมในโครงการเลย โดยเข้ามาเป็นหุ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 01/02/2015 11:21 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย-เมียนมาร์ ไฟเขียว ITD โรจนะเดินหน้าทวายเฟสแรก
ข่าวค่ำ ตรงประเด็น
Now TV
วันที่ 30 มกราคม 2558

หลังจากเมื่อวานนี้รองประธานาธิบดีของสหภาพเมียนมา เข้าพบและหารือกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย และเห็นพ้องกันว่าจะเร่งพัฒนาพื้นที่ชายแดนโดยเฉพาะพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อย่างแม่สอด และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมท่าเรือทวายที่เป็นความร่วมมือของทั้งสองประเทศซึ่งเราจะมาติดตามความคืบหน้าของโครงการนี้ จากผลการประชุม คณะกรรมการร่วมระดับสูง ไทย - เมียนมาร์ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง

//------------------

"ไทย-เมียนมาร์"เร่งดันเขตศก.พิเศษทวาย-ถนน3เส้นทาง เชื่อมชายแดน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
29 มกราคม 2558 เวลา 18:00:16 น.


ไทย-เมียนมาร์ เร่งผลักดันโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย-พัฒนาถนน และโครงสร้างพื้นฐาน 3 เส้นทาง เชื่อมโยงพื้นที่ชายแดน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 58 เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ทำเนียบรัฐบาล นายญาน ทุน รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงไทย-เมียนมาร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง(JHC) ระหว่างวันที่ 29-30 มกราคม 2558

โดยการประชุมครั้งนี้ นับเป็นการประชุม JHC และการประชุมร่วม 3 ฝ่ายกับญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ภายใต้รัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นก้าวที่สำคัญของโครงการทวาย และแสดงถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยและเมียนมาร์ ทั้งนี้ ภายหลังการหารือ ร้อยเอกยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับรองประธานาธิบดีเมียนมาร์ โดยได้ฝากความปรารถนาดีถึงนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ ซึ่งประธานาธิบดีเมียนมาร์ ได้ฝากความระลึกถึงนายกรัฐมนตรีด้วยเช่นกัน ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นว่า ในช่วงเวลานี้ ความสัมพันธ์ไทย-เมียนมาร์ มีความแน่นแฟ้นและใกล้ชิดกันมากที่สุด พร้อมยืนยันที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องการพัฒนาความเชื่อมโยงและพื้นที่ชายแดน โดยไทยย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาในอาเซียนที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งระหว่างประเทศสมาชิก

"สำหรับการพัฒนาความเชื่อมโยงและพื้นที่ชายแดนไทยให้ความสำคัญและสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความมั่นคงและการพัฒนาของไทยและเมียนมาร์ โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่า มี 3 เส้นทางยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ 1) แม่สอด – เมียวดี 2) สิงขร – มอต่อง 3) พระเจดีย์สามองค์ – พญาตองซู โดยนายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า การเปิดเส้นทางเหล่านี้ ไม่ใช่การกำหนดเส้นเขตแดน ไม่อยากให้เป็นอุปสรรคต่อการค้าขาย ซึ่งทางเมียนมาเห็นด้วยและรับที่จะไปพิจารณาบางจุดตามที่ไทยเสนอเพิ่มเติม"

ในโอกาสนี้ เมียนมาร์ได้แสดงความขอบคุณที่ไทยช่วยซ่อมสะพานมิตรภาพแห่งที่ 1 และจะสนับสนุนความช่วยเหลือทางการเงินในการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแห่งที่ 2 ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นว่า เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษ

"สำหรับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายเมียนมาร์กล่าวว่า โครงการนี้ มีความสำคัญกับเมียนมาร์และประเทศในภูมิภาคนี้ เนื่องจากจะเป็นประตูทางทิศตะวันตกจากเมียนมาร์-ไทย ไปสู่โฮจิมินห์และพนมเปญได้ในอนาคต ซึ่งไทยได้ยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะร่วมมือกับเมียนมาร์อย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายให้คืบหน้าโดยเร็ว โดยเฉพาะในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนเชื่อมโยงระหว่างบ้านน้ำพุร้อน-ทวาย โดยนายกรัฐมนตรีจะหยิบยกเรื่องนี้หารือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการในช่วงต้นเดือนก.พ.นี้ ด้วย"

ด้านการประมง นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้ไทยและเมียนมาร์มีความร่วมมือกันในเรื่องนี้มากขึ้น โดยอาจร่วมทุนกันจัดตั้งกองเรือประมงเพื่อร่วมหาปลาในเขตสัมปทาน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาเรื่องแหล่งประมง ซึ่งฝ่ายเมียนมาเห็นด้วยว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองประเทศ โดยอาจต้องมีการกำหนดเรื่องการจับปลา รวมทั้งการกำหนดราคาร่วมกัน

ด้านการท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายต่างยินดีที่สองประเทศเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกันมากขึ้น อย่างไรก็ดี ไทยเห็นว่ายังสามารถขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกันได้อีก โดยในปีนี้ ไทยเน้นการท่องเที่ยววิถีไทย ซึ่งไทยจะส่งรายละเอียดให้กับเมียนมาร์ เพื่อให้เมียนมาร์สามารถมาเชื่อมโยงกับไทยได้ เพื่อร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้

นอกจากนี้ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับราคาผลผลิตทางการเกษตรและยางพารา ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความห่วงกังวลและอยากให้มีความร่วมมือระหว่างกันเพื่อช่วยกันวางแผนป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำในอนาคต

สำหรับความร่วมมือด้านแรงงานไทยขอให้เมียนมาร์ช่วยเร่งรัดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติแรงงาน เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีแรงงานเมียนมาร์มาลงทะเบียนไว้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่การพิสูจน์สัญชาติยังไม่คืบหน้ามากนัก ซึ่งฝ่ายเมียนมาจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการออกใบรับรองชั่วคราวให้ก่อน

ในตอนท้าย รองประธานาธิบดีเมียนมาได้กล่าวชื่นชมนายกรัฐมนตรีและเห็นว่าความร่วมมือระหว่างสองประเทศมีความก้าวหน้ามากขึ้นตั้งแต่ครั้งที่นายกรัฐมนตรีได้ไปเยือนเมียนมาร์อย่างเป็นทางการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2015 5:41 pm    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่" ดึงญี่ปุ่นลงทุนแบบจัดเต็ม! เหมาเข่งปั้นเขตศก.พิเศษ-รถไฟ-ทวาย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
2 กุมภาพันธํ์ 2558 เวลา 14:15:53 น.


"บิ๊กตู่" เยือนญี่ปุ่น 8-10 ก.พ.นี้ ดึงลงทุนในไทยดันเศรษฐกิจโต จัดเต็มเมกะโปรเจ็กต์รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง เคาะเส้นทางแนวระเบียงตะวันออก-ตะวันตกด้านล่างทะลุถึงทวาย ใช้เป็นแลนด์บริดจ์เชื่อม "เมียนมาร์-กัมพูชา-เวียดนาม" ปั้นเขตเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นจริง เสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเกทับจีน



พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่ได้หารือกับนายฮิโระโตะ อิซุมิ ที่ปรึกษาพิเศษด้านเศรษฐกิจ ของนายชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เบื้องต้นก่อนจะมีการหารือร่วมกันอย่างเป็นทางการระหว่างฝ่ายไทยกับญี่ปุ่น วันที่ 8-10 ก.พ.นี้ ช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่น นอกจากจะกระชับความพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศแล้ว ทางการญี่ปุ่นยังแสดงเจตนารมณ์สนใจจะพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐาน

ด้านคมนาคมร่วมกับรัฐบาลไทย เช่นเดียวกับที่รัฐบาลจีนได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) รูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) และพร้อมสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ ผ่านองค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า)



เปิดแพ็กเกจข้อเสนอญี่ปุ่น

โดยโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ญี่ปุ่นสนใจลงทุน ประกอบด้วย 1.รถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็ว 160-180 กม./ชม. เส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกด้านล่าง (Lower East-West Corridor) 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี, กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ซึ่งโครงการนี้เป็นแลนด์บริดจ์ หรือสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทะเลอันดามันกับอ่าวไทย จากท่าเรือทวาย-ท่าเรือแหลมฉบัง และเชื่อมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนจากเมียนมาร์-ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม หากได้ข้อสรุปจะลงนามบันทึกแสดงเจตจำนง (MOI) นำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันที่จะพัฒนาการขนส่งระบบรางต่อไป

2.ให้เงินกู้ไจก้าก่อสร้างท่าอากาศยาน เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ ที่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) มีแผนพัฒนาโครงการ 129,000 ล้านบาท และสนามบินอู่ตะเภา

3.ลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 พื้นที่นำร่อง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จ.ตาก การค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์, อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ค้าชายแดนไทย-กัมพูชา, มุกดาหาร ค้าชายแดนไทย-ลาว, คลองใหญ่ จ.ตราด ค้าชายแดนไทย-กัมพูชา และด่านสะเดาและปาดังเบซาร์ จ.สงขลา การค้าชายแดนไทย-มาเลเซีย

และ 4.ให้เร่งรัดการจัดหาระบบรถไฟฟ้าในสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ที่มีผู้ผลิตญี่ปุ่นเสนอประมูลนานแล้ว ล่าสุดอยู่ระหว่างต่อรองราคา รวมถึงสายสีน้ำเงินต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค)

ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กำลังคัดเลือกเอกชนมาเดินรถ อีกทั้งขอความร่วมมือญี่ปุ่นให้ผู้ผลิตรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) ส่งมอบรถทันตามกำหนดเดือน ก.ย.นี้


เปิดเส้นทางเชื่อม 2 ฝั่งทะเล

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นสนใจรถไฟเส้นทางเชื่อมทวาย-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-ประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมองว่ามีศักยภาพที่สุด โดยยุทธศาสตร์การลงทุนของญี่ปุ่น เน้นการพัฒนาประเทศต่อประเทศ ซึ่งเส้นทางนี้จะเชื่อมเมียนมาร์ ผ่านไทย ไปกัมพูชา ทะลุถึงเวียดนาม ที่ท่าเรือดานัง

โดยเส้นทาง "กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ" รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษอรัญประเทศ และจะเชื่อมกัมพูชาและเวียดนามในอนาคต ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังปรับปรุงเส้นทางจากคลอง 19-สะพานคลองลึก จะแล้วเสร็จปี 2559 และรัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือกัมพูชาเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟบริเวณชายแดน ส่วนเส้นทาง "กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง" (ระยอง) เป็นโครงการเชื่อมท่าเรือต่อท่าเรือจากทวายกับแหลมฉบัง หากพัฒนาได้จะเพิ่มปริมาณและขนส่งสินค้าได้เร็วขึ้น ทั้งยังรองรับฐานอุตสาหกรรมของไทยใน จ.ระยองและจันทบุรี มีบริษัทญี่ปุ่นตั้งอยู่จำนวนมาก ซึ่งช่วงนี้ ร.ฟ.ท.ได้ศึกษาโครงการเสร็จแล้ว มีเฉพาะระบบรถไฟความเร็วสูง

สำหรับเส้นทาง "กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี" จะรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษที่บ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี และเขตเศรษฐกิจทวาย ที่รัฐบาลไทย เมียนมาร์ และญี่ปุ่น จะร่วมกันพัฒนา ปัจจุบัน ร.ฟ.ท.กำลังจะจ้างศึกษาความเหมาะสมโครงการจากบ้านพุน้ำร้อน-กรุงเทพฯ

"จุดมุ่งหมายของญี่ปุ่นเพื่อคานอำนาจจีนที่เมียนมาร์ และช่วยหนุนท่าเรือทวายให้แจ้งเกิด รวมถึงดึงบริษัทเอกชนญี่ปุ่นมาลงทุนเขตเศรษฐกิจชายแดน เพื่อรองรับกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ใช้เป็นฐานส่งออกไปยังภูมิภาคได้ ถ้าหากทุนญี่ปุ่นรายใหญ่เข้าไปลงทุน จะดึงดูดนักธุรกิจไทยและต่างชาติเข้าไปลงทุนจำนวนมากด้วย"

ขณะที่รถไฟเส้นทาง "แม่สอด-ตาก-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-มุกดาหาร" ญี่ปุ่นรับไว้พิจารณาเช่นกัน เนื่องจากเป็นเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกด้านบน เชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษที่แม่สอดและมุกดาหาร เชื่อมการค้า 4 ประเทศ จากเมียนมาร์-ไทย-ลาว-เวียดนาม แต่ด้วยสภาพพื้นที่พาดผ่านภูเขาเพชรบูรณ์ การก่อสร้างจะซับซ้อนกว่าเส้นทางด้านล่างที่มีเส้นทางรถไฟเดิมอยู่แล้ว


จัดเงินกู้ดอกเบี้ยถูกเกทับจีน

"นอกจากนี้จะให้กู้เงินดอกเบี้ยต่ำผ่านไจก้า ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นพยายามผลักดันเช่นกัน ที่ผ่านมามีหลายโครงการที่ใช้เงินกู้จากไจก้า เช่น รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรก รถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) ถนน สะพาน อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างถูก ก่อนหน้านี้อยู่ที่ 0.75% ต่อปี ล่าสุดปรับเป็น 1.4-1.5% ต่อปี และให้กู้ระยะยาว 30-40 ปี"

ต่ำกว่าจีนที่เสนอให้กู้ระยะยาว 30-40 ปี แต่อัตราดอกเบี้ย 3%

ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์เปิดเผยว่า ได้หารือทวิภาคีกับนายกฯญี่ปุ่นแล้ว 2 ครั้ง เมื่อ 16 ต.ค. 2557 ในการประชุมผู้นำ ASEM ครั้งที่ 10 ที่นครมิลาน และ 13 พ.ย. 2557 ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 ที่กรุงเนย์ปิดอว์ โดยนายกฯญี่ปุ่นต้องการส่งเสริมความร่วมมือกับไทยในทุกมิติ โดยเฉพาะความร่วมมือระบบราง ได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับเส้นทางรถไฟที่มีความเป็นไปได้ คือ เส้นทางตะวันออก-ตะวันตก ได้แก่ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-ระยอง

ขณะเดียวกันไทยพร้อมให้ความร่วมมือญี่ปุ่นในทุกระดับ ทั้งโครงการทวาย เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน การส่งเสริมมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ในกรอบความตกลงเพื่อความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ทั้งหมดนี้จะหารือกับนายกฯญี่ปุ่น ในระหว่างการเยือนญี่ปุ่น 8-10 ก.พ.นี้ โดยฝ่ายไทยคาดหวังว่าจะมีการลงนามความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้


ดีเดย์ มี.ค.เซ็น ITD พัฒนาทวาย

ด้าน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงระหว่างไทย-เมียนมาร์ เพื่อการพัฒนาพื้นที่ครอบคลุมในเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย และพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 2 (JHC) วันที่ 30 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า มีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย ซึ่งครั้งนี้คืบหน้าเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการลงทุนโครงการระยะเริ่มต้นจะใช้เวลาพัฒนา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2558 มูลค่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ บนพื้นที่ 27 ตร.กม. มีสัญญาสัมปทาน 50 ปี และขยายได้ 25 ปี

ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับผู้ที่ประมูลได้ คือ กลุ่มอิตาเลียนไทย คาดว่าจะลงนามกันได้ มี.ค.นี้ หลังจากนี้จะมีญี่ปุ่นเข้ามาร่วมด้วย โดยกำลังหารือกันเพื่อชวนเข้าร่วมหุ้นในนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) จากที่ญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงเข้ามาสนับสนุนโครงการและช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและการเงินแล้ว การประชุมครั้งต่อไปจะเห็นความร่วมมือจริงจังมากขึ้น

ทั้งนี้ โครงการถนนเชื่อมทวายกับบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี 138 กม. วงเงิน 3,900 ล้านบาท ที่สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. ให้กู้ระยะยาว 20-30 ปี แบบซอฟต์โลน โดยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังเจรจากับญี่ปุ่นร่วมปล่อยกู้คนละครึ่ง จะทราบผลใน 1 เดือนนี้

นอกจากก่อสร้างถนน ยังมีโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ รวม 7 โครงการ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมขนาดเล็ก, สถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG), ระบบโทรคมนาคม, โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก, ท่าเรือขนาดเล็ก และอ่างเก็บน้ำ ล่าสุดกำลังเจรจาสัญญากับกลุ่มอิตาเลียนไทย โดยมีสวนอุตสาหกรรมโรจนะ, บมจ.ผลิตไฟฟ้า หรือเอ็กโก้ และบริษัทแอล เอ็น จี พลัส อินเตอร์เนชั่นแนล จะร่วมกันพัฒนาระยะแรก คาดว่าปี 2559 จะเริ่มขายพื้นที่นิคมได้

สำหรับโครงการทวายทั้งหมดบนพื้นที่ 196 ตร.กม. ขณะนี้จัดทำแผนแม่บทจะใช้เวลาพัฒนาระยะยาว 10-20 ปี รายละเอียดจะชัดเจนสิ้นปีนี้ ส่วนการย้ายชุมชนในพื้นที่เมียนมาร์จะดำเนินการ จากเดิมให้อิตาเลียนไทยดำเนินการ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการสภาพัฒน์กล่าวว่า การเจรจาข้อสัญญากับกลุ่มอิตาเลียนไทยคืบหน้าแล้ว 90% จะจบเดือน ก.พ. และลงนามได้เดือน มี.ค. ส่วนหนึ่งเป็นการเจรจาหาข้อสรุปว่าจ่ายชดเชยเงินลงทุนให้อิตาเลียนไทย อาจจะหักกลบลบหนี้โดยให้พื้นที่เพิ่ม หรือให้สัดส่วนถือหุ้นเพิ่ม
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 44, 45, 46 ... 50, 51, 52  Next
Page 45 of 52

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©