Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181627
ทั้งหมด:13492865
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 131, 132, 133 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/02/2015 3:57 am    Post subject: Reply with quote

ข่าวดี! ครม.เศรษฐกิจ ชงกองทุนออมแห่งชาติสำหรับแรงงานนอกระบบ เข้าครม.สัปดาห์หน้า
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
25 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14:00:10 น.


@ มาตรการเฟ้นเอกชนเดินรถไฟสายสีน้ำเงิน วางเงื่อนไขต้องลงทุนแบบ Net Cost –เชื่อมต่อกันตลอดสาย

เรื่องสุดท้ายกระทรวงคมนาคมได้หารือเรื่องรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ว่าจะทำอย่างไรให้เดินต่อไป โดยหลักการที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ไว้ว่า จะทำอย่างไรให้เดินแล้วต้องเดินตลอดสาย เพราะสายสีน้ำเงินมีทั้งตะวันออกและตะวันตก ไม่ใช่เดินแล้วตะวันตกกับตะวันออกไม่ต่อกัน

จึงเสนอให้ยกเลิกมติ ครม.เดิม เพราะมติเขียนไว้ไม่ต่อกัน โดยให้หลักเกณฑ์ในการจัดหาผู้เดินรถให้เป็นเดินตลอดทั้งสายและเป็นประโยชน์กับประชาชนให้ได้มากที่สุด และต้องเป็น Net Cost ด้วย คือ รัฐลงทุนราง เอกชนลงทุนรถและระบบสัญญาณ ทำให้รัฐลดการลงทุนลงตลอดสาย ทำให้คิดค่าโดยสายตลอดสาย จากเดิมที่รัฐลงทุนเองทั้งหมดและจ้างให้เอกชนเดินรถ ซึ่งสุดท้ายก็จะเหมือนขสมก.มีหนี้พอกเต็มไปหมด แต่มีเงื่อไขว่าเดินแล้วต้องต่อกับสายเดิม โดยห้ามวางรางไม่ให้ตรงกัน โดยยังไม่ได้หารือว่าจะให้บริษัทเอกชนรายเดิมหรือรายใหม่ดำเนินการ

ผู้สื่อข่าวถามว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วงหลังวางระบบรางแล้วเมื่อไรจะมีรถลงมาวิ่งได้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า กระทรวงคมนาคมรายงานคาดว่าประมาณเดือน ต.ค.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/03/2015 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

“ประจิน” ห่วงสร้างรถไฟสะดุด
บ้านเมือง
วันศุกร์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558, 05.35 น.

งานนี้ BMCL ได้ไปเต็มๆ เพื่อการเชื่อมต่อโดยสะดวก

//------------

รถไฟฟ้าดันที่ดินรัชดาฯพุ่ง 'พระราม9-ลาดพร้าว'ขยาย100%
โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ อสังหา REAL ESTATE -
คอลัมน์ : อสังหาฯ REAL ESTATE
ออนไลน์เมื่อ วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 12:30 น.
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,028 วันที่ 19 - 21 กุมถาพันธ์ พ.ศ. 2558

กูรูอสังหาฯ แนะจับตาที่ดินย่านรัชดาฯ อนาคตสุขุมวิท คาดโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มดันที่ดินพุ่งกว่า 1 ล้านบาทต่อตร.ว. ส่งผลราคาขายคอนโดฯทะยานสู่ 1.8 แสนบาทต่อตร.ม. แย้มพื้นที่พระราม9-ลาดพร้าว จะมีอัตราการขยายตัวกว่า 100% ด้าน คอลลิเออร์ส เปิดตัวเลขที่อยู่อาศัยย่านรัชดาฯ พบยูนิตเหลือขาย 2.8 พันหน่วย ราคาขายเฉลี่ยกว่า 1 แสนบาทต่อตร.ม.
altนายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทโมเดิร์นพร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากแผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ส่งผลให้ราคาที่ดินที่โครงการรถไฟฟ้าพาดผ่านขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งราคาขายอสังหาริมทรัพย์ก็สูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยพื้นที่ที่น่าจับตามองในขณะนี้คือ พื้นที่ รัชดาฯ ซึ่งได้รับการกล่าวขานว่าเป็นย่านธุรกิจแห่งใหม่ (ซีบีดี) เนื่องจากมีอาคารสำนักงานเกิดใหม่จำนวนมาก อาทิ เอไอเอ แคปปิตอล ,จีแลนด์ ทาวน์เวอร์ ฯลฯ ทำให้มีบรรดาดีเวลอปเปอร์เข้าไปพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยจำนวนมาก เพื่อรองรับความต้องการในอนาคตที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ในอนาคตพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นเส้นทางเดินรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-มีนบุรี) ซึ่งจะยิ่งทำให้พื้นที่นี้มีศักยภาพมากขึ้น และจะทำให้ที่ดินเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันราคาขายอยู่ที่ประมาณ 5-6 แสนบาทต่อตร.ว. และในอนาคตหากโครงการต่างๆแล้วเสร็จราคาขายที่ดินก็จะมากกว่า 1 ล้านบาทต่อตร.ว. และเมื่อนำมาพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยก็จะต้องพัฒนาโครงการที่มีราคาขายมากกกว่า 1.8 แสนบาทต่อตร.ม. ซึ่งเป็นราคาขายใกล้เคียงกับสุขุมวิท
"หากผู้ประกอบการซื้อที่ดินมาในราคา 1 ล้านบาทต่อตร.ว. คิดเป็นมูลค่า 400 ล้านบาทต่อไร่ แต่ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยได้ 7 เท่าของแปลงที่ดิน ตามผังเมืองกทม.ที่จัดสรรให้พื้นที่รัชดาฯอยู่ใน ย.9 คือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ดังนั้นที่ดินขนาด 1 ไร่ หากพัฒนาเต็มพื้นที่จะได้ 1.6 พันตร.ม. แต่ในความเป็นจริงสร้างได้เพียง 1.12 หมื่นตร.ม.ตามกฎผังเมือง ซึ่งเมื่อหักพื้นที่ส่วนกลางแล้ว จะเหลือเป็นพื้นที่ขายจริงเพียง 5.6 พันตร.ม. และเมื่อนำราคาขายที่ดินต่อไร่มาหารกับพื้นที่ขายจริง ผู้ประกอบการจะต้องขายในราคาต้นทุนที่ 7.1 หมื่นบาทต่อตร.ม. แต่เมื่อบวกกับค่าก่อสร้างอีก 2.5 หมื่นบาทตร.ม.และค่าดำเนินการอื่นๆ อีกปะมาณ 10% ก็จะทำให้ผู้ประกอบการต้องขายในราคา 1.8 แสนบาทต่อตร.ม. ซึ่งขณะนี้ราคาขายจริงในตลาดก็กว่า 1 แสนบาทต่อตร.ม.แล้ว ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตพื้นที่ย่านรัชดาฯจะมีคอนโดมิเนียมราคาขายมากกว่า 1.8 แสนบาทต่อตร.ม.เกิดขึ้นอย่างแน่นอน" นายวสันต์ กล่าวและว่า
สำหรับพื้นที่ที่จะมีการขยายตัวของราคาที่ดินมากกว่า 100% ได้แก่ พระราม 9 และลาดพร้าว ซึ่งได้รับอานิสงส์จากโครงการรถไฟฟ้า ซึ่งการขยายตัวของราคาที่ดินที่สูงมีพื้นฐานมาจากราคาที่ดินที่ไม่มีการขยับตัวมาเป็นเวลานาน
โดยปัจจัยที่จะส่งผลให้ราคาที่ดินและความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมเพิ่มสูงขึ้นประกอบด้วย 1.รถไฟฟ้า 2.รถไฟฟ้าสายที่ผ่าน สามารถเดินทางเข้าสู่แหล่งธุรกิจได้สะดวกและรวดเร็ว 3.รถไฟฟ้าต้องผ่านแหล่งชุมชน ซึ่งเมื่อราคาที่ดินแพง จนไม่สามารถพัฒนาโครงการแนวราบได้ ผู้บริโภคก็จะมองหาที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคยังยึดติดกับแหล่งที่อยู่อาศัยเดิม
"หากพิจารณาตามปัจจัยต่างๆในเบื้องต้นก็จะพบว่า รถไฟฟ้าไม่ได้ส่งผลให้ราคาที่ดินที่มีรถไฟฟ้าทุกสายขยับขึ้นหรือมีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นมากนัก เช่น สายสีเขียว (เกษตรฯ-สะพานใหม่) ที่ราคาที่ดินขยับขึ้นไม่มาก และไม่ค่อยมีโครงการคอนโดมิเนียมมากนัก เนื่องจากการเดินทางเข้าสู่ใจกลางธุรกิจใช้เวลานาน"
ด้าน นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า จากการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมบนถนนรัชดาภิเษกที่เปิดขายตั้งแต่ปี 2554 - 2557 พบว่า มีโครงการในตลาดทั้งหมดจำนวน 1.26 หน่วย โดยเป็นคอนโดมิเนียมที่อยู่ใน 4 สถานีหลักได้แก่ สถานีศูนย์วัฒนธรรม , สถานีห้วยขวาง ,สถานีพระราม 9 และสถานีสุทธิสาร รัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากสถานีรถไฟใต้ดิน รวมจำนวน 1.21 หมื่นหน่วย คิดเป็นอัตราการดูดซับ 78% มีหน่วยเหลือขาย 2.8 พันหน่วย ราคาขายเฉลี่ยที่ประมาณ 1.05 แสนบาทต่อตร.ม.
"ทำเลรัชดาฯ ถือเป็นอีกหนึ่งทำเลที่มีศักยภาพ เนื่องจากมีอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ รวมทั้งมีรถไฟฟ้าสายปัจจุบัน และในอนาคตจะมีสายสีส้มผ่าน" นายสุรเชษฐ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2015 10:11 am    Post subject: Reply with quote

จับตา..ครม.เตรียมให้เจรจาเอกชนเดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน-อาจขัดมติกก.มาตรา13เดิมที่ให้เปิดประมูล
มติชน
วันที่ 02 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 22:17:17 น.

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในวันที่ 3 มีนาคมนี้ มีวาระพิจารณาที่น่าสนใจคือ กระทรวงคมนาคมจะเสนอการดำเนินการในโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง - บางแค และช่วงเตาปูน - ท่าพระ

ทั้งนี้ ในการประชุมครม. เศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ให้หลักการว่า การเดินรถให้มีความต่อเนื่องกับรถไฟฟ้าใต้ดินทั้งระบบ โดยกำชับให้กระทรวงคมนาคมหาวิธีการสรรหาผู้เดินรถให้มีความชัดเจนว่าจะใช้วิธีการเจรจากับผู้เดินรถเดิมหรือประมูลหาผู้เดินรถใหม่ โดยจะต้องให้เกิดความสะดวกในการเชื่อมต่อในการเดินทางของประชาชน

นอกจากนี้จะต้องมีการยกเลิกมติ ครม.เดิมที่เขียนไว้ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเดินรถต่อเนื่องทั้งสายสีน้ำเงิน โดยหลักเกณฑ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นคือ การให้จัดหาผู้เดินรถโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับมากที่สุดโดยต้องทำให้ระบบรางต่อเนื่องกัน และสัญญาที่จะเกิดขึ้นจะมีการแก้ไขจากรูปแบบ PPP-Gross Cost ที่รัฐบาลลงทุนเองทั้งหมดแล้วเราจ้างเอกชนเดินรถอย่างเดียว โดยจะเปลี่ยนเป็นระบบ PPP Net Cross คือการให้สัมปทานเอกชนเดินรถ โดยให้เอกชนลงทุนในระบบรถและอาณัติสัญญาณ ขณะที่ฝ่ายรัฐลงทุนเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ภาครัฐจะมีต้นทุนการลงทุนโดยรวมลดลง

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตามมติครม. เศรษฐกิจนั้น เหมือนว่ารัฐบาลต้องการที่จะใช้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 มาดำเนินการในโครงการดังกล่าว โดยต้องการที่จะให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เจรจากับเอกชนรายเดิม ซึ่งอาจจะผิดจากมติคณะกรรมการตามมาตรา 13 ที่มีมติว่าจะต้องเปิดประมูลเป็นการทั่วไป

"ในการประชุมคณะกรรมการตามมาตรา 13 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2557 มีมติให้เปิดประมูลเพื่อหาเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน แค่คณะกรรมการ รฟม. และกระทรวงคมนาคม ต้องการที่จะให้เจรจากับผู้เดินรถเดิม จนมีการเปลี่ยนตัวประธานคณะกรรมการตามมาตรา 13 หลายครั้ง แต่ยังไม่มีความคืบหน้า จึงอาจจะต้องมีการเปลี่ยนมาใช้พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 แต่ก็อาจจะเกิดปัญหาในส่วนของบทเฉพาะกาลของพ.ร.บ.ดังกล่าวที่หากจะมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการดำเนินการอาจจะมีปัญหาตามมาได้ ดังนั้นคงจะต้องรอดูมติครม. วันที่ 3 มีนาคมนี้ ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/03/2015 6:39 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียว เอกชนเจรจาตรง สร้างรถไฟฟ้าส่วนขยายสายสีน้ำเงิน-ม่วง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 03 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 17:44:58 น.


เมื่อเวลา 15.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติการดำเนินการของคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงเตาปูน – ท่าพระ ซึ่งเป็นการเดินรถแบบต่อเนื่อง (Through Operation) โดยให้มีการศึกษาทบทวนโดยนำรูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net Cost มาเป็นแนวทางการลงทุนในลำดับแรกก่อนในการเจรจาตรงกับผู้ประกอบการรายเดิม

โดยรวมการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – บางซื่อ (สัญญาที่ 5) ไปในคราวเดียวกันตามที่ครม.มีมติเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 57 ให้เจรจาไว้แล้วเพื่อให้ขนาดการลงทุนมีความคุ้มค่า (Economies of Scale) โดยการเจรจาให้อยู่บนพื้นฐานการเจรจาที่คำนึงถึงประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนพร้อมทั้งให้เกิดความเป็นธรรม และประโยชน์ต่อภาครัฐสูงสุด

ทั้งนี้มอบหมายให้คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง- บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็วเพื่อให้ทันกับการเปิดใช้บริการแก่ประชาชนตามแผนงานที่กำหนด

//---------------


เคาะเอกชนเจรจาตรงรถไฟฟ้า
เดลินิวส์
วันอังคาร 3 มีนาคม 2558 เวลา 20:11 น.

ครม. เห็นชอบ ให้กระทรวงคมนาคม ทบทวนการนใช้ พีพีพี เป็นแนวทางลงทุนในลำดับแรกก่อนเจรจาตรงกับผู้ประกอบการรายเดิม ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ พร้อมทั้งสายสีม่วง


พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. ได้เห็นชอบให้กระทรวงคมนาคมการศึกษาทบทวนโดยนำรูปแบบการลงทุนรัฐร่วมเอกชน (พีพีพี) แบบเน็ตครอส คือการให้เอกชนลงทุนในระบบรถไฟฟ้า และอาณัติสัญญาณ ส่วนรัฐลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน มาเป็นแนวทางการลงทุนในลำดับแรกก่อนในการเจรจาตรงกับผู้ประกอบการรายเดิมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ให้เกิดความต่อเนื่องในการเดินรถ โดยรวมการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – บางซื่อ (สัญญาที่ 5) ด้วย

พร้อมทั้งเห็นชอบโครงการตามแผนพัฒนาระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วนของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท โดยใช้เงินกู้วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท แยกเป็นกรมทางหลวงวงเงิน 25,000 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบทวงเงิน 15,000 ล้านบาท

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวว่า โครงการตามแผนพัฒนาระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วนวงเงินรวม 40,000 ล้านบาท จะสร้างรากฐานความมั่นคงเศรษฐกิจและสังคม สร้างโอกาสในการเข้าสู่เออีซี เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าการลงทุน ในการเชื่อมต่อไปยังแหล่งการท่องเที่ยวในภูมิภาค และเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมทั้งทำให้เกิดการจ้างงานเพื่อการก่อสร้าง ทำให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมจะเริ่มดำเนินการร่างสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง กับบริษัทฯ ต่างๆ ที่สนใจเข้ามารับงานสร้างและซ่อมถนนรอไว้ก่อน ซึ่งไม่น่าจะใช้เวลานานในการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นโครงการขนาดเล็ก คาดว่า ปลายเดือนมี.ค. หรือก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ น่าจะมีเงินเข้าระบบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น

//----------------

“ประจิน”ดันปรับใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ56เจรจาตรงเดินรถสายสีน้ำเงินแบบต่อเนื่อง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 มีนาคม 2558 19:39 น.




ครม.เห็นชอบ รฟม. เดินรถสายสีน้ำเงินต่อขยายแบบต่อเนื่อง สั่งคมนาคมหารือ สศช.และกฤษฎี หาข้อสรุปใช้พ.ร.บ.ร่วมทุน ฯ 56 ฉบับใหม่ หรือ พ.ร.บ.ปี 35ตามเดิม ใน 2 สัปดาห์ “ประจิน”เผย พ.ร.บ.ร่วมทุน 56 เปิดกว้างเจราตรงได้ก่อน ช่วยแก้ปัญหากม.เดิมต้องประมูลก่อน หวั่นเป็นปัญหาเดินรถต่อเนื่องไม่ได้

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (3 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเรื่องการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) ระยะทาง 27 กม.ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอประกอบกับข้อสังเกตของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกฤษฎีกาให้เป็นการเดินรถแบบต่อเนื่อง (Through Operation) และดำเนินการตามขั้นตอนการร่วมลงทุนรัฐกับเอกชน PPP- Net Cost คือ รัฐบาล เป็นผู้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนรับสัมปทาน เก็บค่าโดยสารและแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ เช่นเดียวกับสัญญาสัมปทานเดินรถสายเฉลิมรัชมงคล โดยให้กระทรวงคมนาคม สภาพัฒน์ ฯ และกฤษฎีกา ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการใน 2 แนวทาง ระหว่าง ดำเนินการตามแนวทางเดิมคือ พระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 หรือ แนวทางใหม่ ใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 โดยจะเร่งสรุปภายใน 2 สัปดาห์

ทั้งนี้ มีข้อสังเกตในประเด็นกฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับรูปแบบการลงทุนระหว่างการใช้พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ 35 หรือพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 โดยทางกฤษฎีกา ให้ความเห็นถึงความแตกต่างว่า หากใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 คณะกรรมการมาตรา 13 จะต้องเลือกวิธีการประมูลคัดเลือกเอกชนเป็นลำดับแรก ในขณะที่หากใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า เนื่องจากสามารถใช้วิธีเจรจากับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCLผู้รับสัมปทานเดินรถรายเดิมได้ ซึ่งตรงกับแนวทางของกระทรวงคมนาคมที่เห็นว่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ใช้บริการมากกว่าเพราะสามารถเดินรถต่อเนื่องได้ จึงต้องหารือกับสภาพัฒน์ ฯ และกฤษฎีกาก่อน เพื่อสรุปรูปแบบ และไม่ให้การดำเนินการติดปัญหาข้อกฎหมาย แต่หลักการนั้นมีความเข้าใจตรงกันว่า เป้าหมายเพื่อให้เกิดความสะดวกกับประชาชนและไม่เป็นภาระการลงทุนต่อภาครัฐและเอกชนและ หากได้ข้อสรุปอย่างไร ไม่ต้องเสนอครม.แล้ว ให้เดินหน้าต่อทันที

“ของเดิมใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 รูปแบบ PPP- Gross Cost ตามข้อกฎหมายกำหนดให้ต้องใช้วิธีประมูลก่อน แต่หากต้องการเดินรถต่อเนื่อง ต้องพิจารณาใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 เพราะผ่อนปรนให้ใช้การเจรจได้ ซึ่งกระทรวงต้องการปรับไปใช้ รูปแบบ PPP- Net Cost อีกด้วย ซึ่งการเปลี่ยนไปใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56อาจ จะต้องเริ่มต้นขั้นตอนตามกติกากันใหม่ซึ่งจะใช้เสียเวลาอีก 1-2 เดือน

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินโครงการเนื่องจากหากพิจารณาล่าช้าและทำให้การจัดหารถล่าช้าจะเกิดปัญหาค่าใช้จ่ายในการดูแลงานโครงสร้างและรางที่คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมารกลางปี 2560 ระยะเวลาในการลงนามสัญญาและจัดหารถไฟฟ้า 2.5-3 ปี ซึ่งจะทำให้เปิดเดินรถได้ช่วงกลางปี-ปลายปี 2560 ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐในเรื่องการลงทุนศูนย์ซ่อมบำรุงอย่างไร และจะทำให้การเดินรถของเอกชนที่เข้ามาเกิดความต่อเนื่องและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่สูง เพราะจะส่งผลไปถึงการกำหนดอัตราค่าโดยสารเพื่อไม่ให้ผู้ใช้บริการเดือดร้อน โดยต้องให้ผู้ใช้บริการทุกวัย ทุกระดับ คนพิการ เข้าถึงบริการได้สะดวก

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า แม้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 จะทำให้ต้องเริ่มต้นกระบวนการพิจารณาเรื่องเดินรถกันใหม่ซึ่งคาดว่าจะเสียเวลา 1-2 เดือนเท่านั้น แต่จะสามารถเลือกวิธีการเจรจาตรงได้ทันที ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหากรณีที่คณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 เดิม ยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนมติ จากวิธีประมูลเป็นการเจรจาตรงได้ และทำให้การเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายไม่สามารถหาข้อสรุปและได้

นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบ ให้กระทรวงการคลังกู้เงินจากต่างประเทศ วงเงิน 40,000 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างและซ่อมแซมถนนที่อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบททั่วประเทศ แบ่งเป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง (ทล.) 800 โครงการ วงเงิน 25,000 ล้านบาท และโครงการของทางหลวงชนบท (ทช.) 1,300 โครงการ วงเงิน 15,000 ล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงในพื้นที่เกษตรกรรมการ พื้นที่ท่องเที่ยว พื้นที่เขตเมืองเล็ก เมืองใหญ่ และพื้นที่เชื่อมไปยังเขตเศรษฐกิจชายแดน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องเดินรถและความปลอดภัย โดยเป็นโครงการขนาดเล็กเพื่อให้บริษัท ที่มีขนดาเล็กเข้าร่วมงานได้ และเป็นการกระจายเงินสู่ท้องถิ่น ขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างงานในพื้นที่ ระยะเวลาดำเนินงานประมาณ 8-10 เดือน คาดว่าปลายเดือนมีนาคม- ต้นเดือนเมษายน จะเริ่มดำเนินงานได้และแล้วเสร็จภายในปี 2558
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44334
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/03/2015 5:38 pm    Post subject: Reply with quote

ฟังความเห็นยืดรถไฟฟ้าไปสาย 4
เดลินิวส์ วันพุธ 4 มีนาคม 2558 เวลา 15:49 น.

ต่อ “สายสีน้ำเงิน”บางแคถึงพุทธมณฑลสาย 4 เปิดฟังความเห็น 18 มี.ค.นี้

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เปิดเผยว่า รฟม.ได้กำหนดให้มีการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่1ในการศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมออกแบบและจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงบางแค – พุทธมณฑลสาย4ซึ่งกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาได้กำหนดรับฟังความคิดเห็นพร้อมแนะนำโครงการแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันที่ 18 มี.ค.นี้ เวลา 09.00– 12.00 น.ณ ห้องประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เขตหนองแขม

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวรฟม.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษากลุ่มบริษัทอินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป จำกัดดำเนินงานศึกษาความเหมาะสมพร้อมออกแบบรายละเอียดและจัดทำเอกสาประกวดราคาโดยในโครงการจะศึกษาต่อเส้นทางจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินปัจจุบันที่กำลังก่อสร้างในส่วนต่อขยายถึงบางแค ให้ทำการออกแบบเส้นทางไปตามถนนเพชรเกษมไปจนถึงสิ้นสุดโครงการที่จุดบรรจบกับถนนพุทธมณฑลสาย4 ตลอดเส้นทางมี 4 สถานี คือ
- สถานีพุทธมณฑลสาย 2 ที่จุดตัดถนนพุทธมณฑลสาย 2
- สถานีทวีวัฒนา ก่อนถึงจุดตัดคลองทวีวัฒนา
- สถานีพุทธมณฑลสาย 3 ที่บริเวณจุดตัดถนนพุทธมณฑลสาย 3 และ
- สถานีพุทธมณฑลสาย 4 สิ้นสุดโครงการ

ทั้งนี้จะเป็นโครงสร้างยกระดับไปตามเกาะกลางถนนไม่มีการเวนคืนที่ดิน โดยจะต้องมีการออกแบบสถานีพร้อมประราคาค่าก่อสร้างการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอดจนการทำเอกสารเพื่อเตรียมพร้อมในการนำไปประกวดราคาซึ่งเมื่อผลการศึกษาแล้วเสร็จจะต้องนำเสนอบอร์ดรฟม.และคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติดำเนินการต่อไปทั้งนี้โครงการดังกล่าวอยู่ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล(เอ็ม-แม็พ)ซึ่งได้ขยายแนวเส้นทางให้ครอบคลุมศูนย์ชุมชนและศูนย์พาณิชยกรรมย่อยตามผังเมืองรวมและเพิ่มเติมเส้นทางสายใหม่รองรับที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2015 1:02 am    Post subject: Reply with quote


งานนี้ แม้ว่ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่กำลังก่อสร้างยังไม่เสร็จดีก็เริ่มคิดจะก่อสร้างต่อจากหลักสองไป พุทธมณฑลสาย 4 ยาว 8 กิโลเมตร โดยไม่ต้องเวนคืน มี 4 สถานี ได้แก่

1. พุทธมณฑลสาย 2 -ที่แยก พุทธมณฑลสาย 2 หน้าหมู่บ้านเพชรเกษม (เหนือ) และ หมู่บ้านเพชรเกษม 2
2. ทวีวัฒนา - ใกล้ๆคลองทวีวัฒนา หน้าหมู่บ้านเศรษฐกิจ
3. พุทธมณฑลสาย 3 - ที่หน้า มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
4. พุทธมณฑลสาย 4 - ที่แยก พุทธมณฑลสาย 4 - ชายเขตกรุงเทพ ตรงฝั่งกรุงเทพ หน้าหมู่บ้านพรทิพา - ต่อรถไปมหิดลศาลายาได้

จะเริ่มการ พูดคุยกะชาวบ้าน ที่ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ วันที่ 18 มีนาคม 2558 ตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงเทียง
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%84-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A5-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A24/335611156628595
http://news.voicetv.co.th/business/174696.html
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=n9zimdCbj6s
http://dailynews.co.th/Content/bangkok/305244/%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A24


Last edited by Wisarut on 10/03/2015 3:01 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2015 11:58 am    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเดินรถแบบต่อเนื่อง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 มีนาคม 2558 19:09 น.

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (3มี.ค.) มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ เป็นการเดินรถแบบต่อเนื่อง โดยให้มีการศึกษาทบทวนโดยนำรูปแบบการลงทุนแบบ PPP Net Cost มาเป็นแนวทางการลงทุนในลำดับแรกก่อนในการเจรจาตรงกับผู้ประกอบการรายเดิม โดยรวมการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางซื่อ (สัญญาที่ 5) ไปในคราวเดียวกันตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557 ให้เจรจาไว้แล้วเพื่อให้ขนาดการลงทุนมีความคุ้มค่า โดยการเจรจาให้อยู่บนพื้นฐานการเจรจาที่คำนึงถึงประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน พร้อมทั้งให้เกิดความเป็นธรรม และประโยชน์ต่อภาครัฐสูงสุด
พร้อมกันนี้ มอบหมายให้คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อ
ขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ดำเนินการตามแนวทางในข้อ 1 ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้ทันกับการเปิดใช้บริการแก่ประชาชนตามแผนงานที่กำหนด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 09/03/2015 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ เป็น ปธ.เปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้เจ้าพระยา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มีนาคม 2558 11:24 น. (แก้ไขล่าสุด 9 มีนาคม 2558 11:52 น.)

“พล.อ.ประยุทธ์” เป็นประธานพิธีเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา อุโมงค์ที่ 2 โครงการสายสีน้ำเงิน สัญญาที่ 2 ช่วงสถานีสนามไชย - ท่าพระ เผยกำหนดแผนเดินรถทั้งระบบปี 2562

เวลา 09.00 น. วันนี้ (9 มี.ค.) ที่บริเวณสถานที่ก่อสร้างอุโมงค์ขุดเปิดท่าพระ (Cut and Cover Tunnel) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เป็นประธานในพิธีเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาอุโมงค์ที่สอง (Eastbound TBM Launching Ceremony) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายฯ สัญญา 2 ช่วงสถานีสนามไชย - สถานีท่าพระ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท ช.การช่าง จำกัด มหาชน โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ ประธานกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. พร้อมด้วยรักษาการผู้ว่าการ รฟม. คณะผู้บริหาร เข้าร่วมงาน

จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมนิทรรศการและหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมร่วมเป็นเกียรติถ่ายภาพที่ระลึกกับหัวเจาะและทีมงาน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค และ บางซื่อ - ท่าพระ มีระยะทาง 27 กิโลเมตร แบ่งเป็นโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบยกระดับ ระยะทาง 22 กิโลเมตร สถานียกระดับ 17 สถานี และโครงสร้างรถไฟฟ้าแบบใต้ดิน ระยะทาง 5 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 4 สถานี ซึ่งปัจจุบันนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สัญญาที่ 2 ได้ดำเนินงานมีความก้าวหน้า ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เท่ากับร้อยละ 60.19 โดย รฟม. ได้กำหนดแผนเปิดเดินรถไฟฟ้าทั้งระบบ ในปี 2562

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425894166

//-----------------------------------------

นายกฯ เปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา คาดเสร็จทันปี 2562
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 มีนาคม 2558 เวลา 16:30:35 น.


เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 9 มี.ค. ที่บริเวณสถานที่ก่อสร้างอุโมงค์ขุดเปิดท่าพระ (Cut and Cover Tunnel) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธานในพิธีเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาอุโมงค์ที่สอง (Eastbound TBM Launching Ceremony) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายฯ สัญญา 2 ช่วงสถานีสนามไชย-สถานีท่าพระ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และ บริษัท ช.การช่าง จำกัด มหาชน โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และประธานกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. พร้อมด้วยรักษาการผู้ว่าการรฟม. คณะผู้บริหาร เข้าร่วมงาน

จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมนิทรรศการและหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมร่วมเป็นเกียรติถ่ายภาพที่ระลึกกับหัวเจาะและทีมงาน สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ มีระยะทาง 27 กิโลเมตร แบ่งเป็นยกระดับระยะทาง 22 กิโลเมตร และแบบใต้ดินระยะทาง 5 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าในการดำเนินการไปแล้ว กว่าร้อยละ 60 และมีกำหนดการเปิดรถไฟฟ้าได้ทั้งระบบได้ในปี 2562

จากนั้นเวลา 09.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ ให้สัมภาษณ์ว่า โครงการเปิดแผนเดินรถไฟฟ้าทั้งระบบ นั้นเป็นไปตามโรดแมปที่เขียนไว้แล้ว แต่ที่ผ่านมามันช้า เพราะมีปัญหาในเรื่องของสัญญาและการดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในช่วงปลายปี 2561 หรือในปี 2562 ที่จะเปิดให้ประชาชนได้ใช้ ก็อยากเร่งรัดให้เร็วขึ้น และวันนี้ก็แก้ปัญหาไปได้เปราะหนึ่งแล้ว สำหรับปัญหาสัญญาที่ติดขัดทำให้ล่าช้าไปปีกว่านั้น ตนได้บอกไปว่าต้องทำให้ถูกต้อง และเดินหน้าให้เร็วขึ้น ส่วนสายสีส้มและสีชมพูนั้นก็ยังคงดำเนินการอยู่ นอกจากนี้ยังมีอีก 3 สายที่รอเข้าที่ประชุม ครม.

ผู้สื่อข่าวถามว่า ความล่าช้าในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ จะทำอย่างไรให้เร็วขึ้น นายกฯกล่าวว่า ปัญหาอย่างเดียวคือเรื่องการทำสัญญา ถ้าเราทำสัญญาให้โปร่งใสเป็นธรรม มันก็คงเร็ว ซึ่งรัฐบาลเข้ามาต้องการเร่งรัดทุกอย่างให้มันเร็วขึ้น ขับเคลื่อนประเทศให้เร็วขึ้น โดยในช่วงเวลาปกติมันก็มีปัญหามาโดยตลอด ไม่ว่าจะด้วยคน หรือกระบวนการ วันนี้เราเร่งทุกอย่าง ฉะนั้น ขอให้เข้าใจด้วย ไม่ได้ทำเพื่ออย่างอื่น

ส่วนโครงการที่ดำเนินการไปแล้วนั้นตนไม่เป็นห่วง เพราะมีการใช้วัสดุและแรงงานในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้น จึงเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วย ซึ่งทุกอย่างต้องประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านเศรษฐกิจ ทั้งการส่งออก นำเข้า ผลิตค้าขายในประเทศ แรงงานต่าง ๆ ทั้งหมด อย่างที่บอกแล้วว่า ประเทศเราตัวเลขคนว่างงานนั้นน้อย เพราะประเทศไทยอะไรก็เป็นอาชีพไปหมด ทำอะไรก็มีรายได้ แรงงานได้วันละ 300 ตนยังบอกเลยว่ารอบบ้านยังได้ไม่ถึงเลย ฉะนั้นวันนี้ประเทศไทยต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ มันไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงได้โดยเร็ว

เมื่อถามว่า การตรวจสอบความโปร่งใสของสัญญาจะเป็นปัญหาหรือไม่ เมื่อมีการเร่งรัดโครงการ นายกฯกล่าวว่า ก็ตรวจคู่ขนานไป ถ้าผิดก็ลงโทษ หยุดแล้วเดินหน้าต่อเท่านั้นเอง นโยบายตนเป็นแบบนั้น ทั้งนี้การปรับขั้นตอนให้รวดเร็วขึ้นคงได้แค่นี้ เพราะขั้นตอนเป็นแบบนี้ ถ้าเร็วก็มาบอกว่าไม่ไว้วางใจ โดยวันนี้เรามีหน่วยงานตรวจสอบจากภายนอกเยอะแยะที่ทำคู่ขนานกัน ก็ยังไม่พบอะไร โดยรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งอยู่ในข้อตกลงสัญญาคุณธรรมนั้น เพื่อให้ช่วยกันตรวจสอบพร้อมกับเดินหน้า ถ้าผิดก็จำเป็นต้องหยุดแล้วหาคนอื่นมาทำ แค่นั้นเอง

เมื่อถามว่า หลังจากสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเสร็จ จะแก้ปัญหารถติดในย่านเยาวราชได้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ต้องไปถามกันตั้งแต่คนที่เขาให้ซื้อรถคันแรก ไปถามเขานู้น รถมันเยอะเหลือเกิน เท่าไหร่ก็ไม่พอ ไม่ได้ไปห้ามใคร แต่เมื่อรถเยอะก็ต้องใช้อย่างประหยัด ต้องระมัดระวังการใช้พลังงาน รถหนึ่งคันควรขึ้นหลายคน ไม่ใช่ขับคนเดียว แล้วไปขึ้นรถไฟฟ้าก็บอกแพงอีก จะให้ตนทำอย่างไร

นายกฯกล่าวถึงการเปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) ว่า เรากำลังเจรจรากับภาคเอกชนอยู่ โดยเจรจากับเจ้าเดิมก่อน ถ้าเจรจาได้ก็จบ ซึ่งเรื่องนี้ ครม.อนุมัติไปแล้ว และไม่มีการติดขัดข้อกฎหมาย โดยยึดผลประโยชน์ของคนไทยมากที่สุด และควรจะต้องเจรจาให้เร็วที่สุดภายในปีนี้ มันต้องเกิดแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ก็ไปประมูลก็เท่านั้นเอง โดยเรากำลังแก้ปัญหาทั้งระบบไปสู่เศรษฐกิจดิจิตอล

เมื่อถามว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วงจะสามารถตัดริบบิ้นได้ทันรัฐบาลนี้หรือไม่ นายกฯ ได้ให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ตอบคำถาม โดย พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า รถไฟฟ้าสายสีม่วงจะเสร็จเรียบร้อยในเดือน ธ.ค.ปี 2558 และสามารถเปิดบริการประชาชนในเดือน มี.ค. 2559 แล้วทันรัฐบาลนี้หรือไม่

เมื่อถามย้ำว่า นายกฯวางไว้ให้มีการเลือกตั้งเดือน ก.พ. 2559 จะทันหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า "ผมไม่รู้ ก็แล้วแต่สิ ท่านจะเลือกไหมเล่า ไปถามประชาชนสิจะเลือกตั้งไหม ผมถามกลับไปอย่างนี้"

//----------------

ภาพข่าว โดนประชาสัมพันธ์ รฟม.
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1564788083737920&id=1409174012632662


Last edited by Wisarut on 10/03/2015 9:49 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 3:02 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟม.การันตี “พีระยุทธ” พ้นมลทิน เตรียมเซ็นจ้างนั่ง “ผู้ว่าฯ รฟม.” กลางเดือน มี.ค.นี้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มีนาคม 2558 06:42 น. (แก้ไขล่าสุด 9 มีนาคม 2558 16:48 น.)


คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
บอร์ด รฟม.การันตี “พีระยุทธ” พ้นมลทิน เตรียมเซ็นจ้างนั่ง “ผู้ว่าฯ รฟม.” กลางเดือน มี.ค.นี้
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)



บอร์ด รฟม.การันตี “พีระยุทธ” พ้นมลทิน เดินหน้าเซ็นจ้างนั่ง “ผู้ว่าฯ รฟม.” กลางเดือน มี.ค.นี้ หลังผลสอบข้อเท็จจริงระบุเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายและเพิ่มเงินผู้รับเหมา 290 ล้านทำตามขั้นตอน ไม่เอื้อเอกชน ส่วนข้อติงไม่เสนอบอร์ดตอนแก้สัญญาไม่ผิดเพราะมีเหตุผล เตรียมแจง สตง.เชื่อไม่ติดใจ “ยอดยุทธ” ขีดเส้นเร่งเซ็นสัญญาจ้างเดินรถสีน้ำเงินต่อขยายในปี 58 หวั่นเปิดไม่ทันปี 61

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด รฟม.เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ได้พิจารณาผลการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีหนังสือถึง รฟม.ให้ตรวจสอบนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ รฟม. (ฝ่ายวิศวกรรมและปฏิบัติการ) ในกรณีที่มีการปรับเปลี่ยนสัญญาการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค สัญญาที่ 2 (สนามไชย-ท่าพระ) ส่งผลให้ รฟม.ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 290 ล้านบาท โดยกรรมการสอบสวนชุดที่มีนายไกร ตั้งสง่า กรรมการ รฟม.เป็นประธาน ได้สรุปว่าการปรับแผนก่อสร้างจากวิธีสูบน้ำระบายออกจากอุโมงค์เป็นระบบฉีดน้ำเพื่อรักษาสภาพดิน เนื่องจากหลังลงนามสัญญาแล้วสำรวจพบระดับน้ำสูงและเป็นดินทรายมีความจำเป็นเพื่อรักษาสภาพโครงสร้างไม่ให้ทรุดตัวและเกิดความเสียหายต่อโบราณสถานรอบๆ และไม่ทำให้โครงการก่อสร้างหยุดชะงัก และคณะทำงาน รฟม. และที่ปรึกษาโครงการ (PMC) ที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้าง (CSC) ร่วมกันพิจารณาและเห็นควรให้จ่ายชดเชยเงินผู้รับเหมา และได้มีการเสนอบอร์ดชุดที่แล้วที่มี น.ส.รัชนี ตรีพิพัฒน์กุล เป็นประธานเห็นชอบแล้ว ซึ่งตรงกับความเห็นของกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงชุดที่นายชรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าฯ รฟม. แต่งตั้ง โดยมี นายสราวุธ เบญจกุล เป็นประธาน

ส่วนประเด็นที่กรรมการสอบฯ ชุดนายสราวุธเห็นว่า นายพีระยุทธ ในฐานะ ผอ.โครงการ ไม่ได้นำข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสัญญาจากข้อ 13 เป็นข้อ 17 เสนอบอร์ดเห็นชอบนั้น กรรมการสอบฯ ชุดนายไกรเห็นว่าเรื่องดังกล่าวมีการพิจารณาขั้นต้นร่วมกันของทีมที่ปรึกษาและผู้แทน รฟม.แล้ว ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสาระรูปแบบก่อสร้างแล้วเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแก้สัญญาและเพิ่มวงเงินให้ผู้รับเหมา การเปลี่ยนสัญญาจากข้อ 13 เป็นข้อ 17 จึงมีเหตุผลสามารถทำได้

พล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า ข้อเท็จจริงไม่มีประเด็นสงสัย ถือว่า รฟม.ทำถูกต้องในการเปลี่ยนแปลงสัญญาและจ่ายเงินชดเชยให้ผู้รับเหมา บอร์ดจึงมีมติว่า การดำเนินการของนายพีระยุทธไม่เอื้อประโยชน์ต่อผู้รับเหมา ไม่ทุจริต และให้ รฟม.รวบรวมรายละเอียดการสอบสวนทั้งหมดเสนอบอร์ดเพื่อตรวจสอบอีกครั้งในวันที่ 13 มีนาคม จากนั้นจะเร่งชี้แจงไปยัง สตง.ทันที หาก สตง.ไม่มีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็จะสามารถลงนามสัญญาจ้างนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ รฟม. เป็นผู้ว่าฯ รฟม.คนใหม่ได้ในสัปดาห์ต่อไป

“สตง.ไม่ได้ชี้มูลว่าผิด แต่ให้ตรวจสอบเพราะมีคนไปร้อง ถ้าชี้แจงขั้นตอนว่าถูกต้องก็ไม่น่ามีปัญหา ซึ่งนอกจากแจ้งไป สตง.แล้วจะรายงานผลตรวจสอบต่อกระทรวงคมนาคมและ ครม.รับทราบด้วยเพื่อความเป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา ในขณะที่กระบวนการสอบวินัยนายพีระยุทธก็จะต้องยุติด้วย สามารถรับหน้าที่ผู้ว่าฯ ได้ ส่วนกรณีที่มีการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเรื่องการสรรหาฯ ผู้ว่าฯ รฟม.นั้น ศาลยังไม่มีคำสั่งใดๆ ดังนั้น จะยังไม่กระทบต่อขั้นตอนการว่าจ้างผู้ว่าฯ รฟม.” พล.อ.ยอดยุทธกล่าว

ขีดเส้นเร่งเซ็นสัญญาจ้างเดินรถสีน้ำเงินต่อขยายในปี 58

ส่วนความคืบหน้าการเดินรถส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินนั้น พล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า กรรมการมาตรา 13 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ยังไม่มีการประชุม เพราะต้องรอนโยบายที่ชัดเจนอีกครั้ง รวมถึงจะใช้วิธีการเจรจาหรือไม่ โดยหลังจากที่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม เห็นชอบการเดินรถต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุดและต้องการเปลี่ยนจากการร่วมทุนแบบ PPP-Gross Cost เป็นแบบ PPP-Net Cost ที่ให้เอกชนลงทุนและแบ่งส่วนแบ่งให้รัฐแทนที่รัฐลงทุนเองเพื่อไม่ต้องให้หนี้สาธารณะเพิ่ม โดย ครม.ต้องการให้เร่งเปิดเดินรถ ซึ่งตามแผนงานโยธาจะก่อสร้างเสร็จปลายปี 60 ไม่เกินต้นปี 61 ซึ่งหากต้องการเปิดเดินรถพอดีจะต้องลงนามสัญญากับผู้เดินรถในปี 58 นี้เพราะต้องใช้เวลาจัดหารถอีก 3 ปี ดังนั้นหากช้ากว่านี้จะไม่ทันแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 9:50 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่” สั่งเจรจา BMCL เดินรถน้ำเงินต่อขยาย เร่งเปิดเดินรถในไตรมาส 3/61
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มีนาคม 2558 14:28 น. (แก้ไขล่าสุด 9 มีนาคม 2558 16:36 น.)


“นายกฯ” สั่ง รฟม.เจรจาเดินรถสายสีน้ำเงิน เร่งเปิดบริการไตรมาส 3/61 พร้อมเร่งสปีดรถไฟฟ้าอีก 3 สายเข้า ครม. และผุดรถไฟความเร็วสูงเกิดในปีนี้ ยันนักลงทุนไทยเสนอตัวลงทุนเป็นไปได้ “ยอดยุทธ” เผยรอมติ ครม.เป็นทางการ คาด กก.มาตรา 13 ประชุมสัปดาห์หน้า เร่งเคาะเจรจากับ BMCL ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 เพื่อเดินรถต่อเนื่องตามนโยบาย มั่นใจประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด

วันนี้ (9 มี.ค.) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาอุโมงค์ที่สอง (Eastbound TBM Launching Ceremony) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) สัญญา 2 ช่วงสถานีสนามไชย-ท่าพระ ณ สถานที่ก่อสร้างอุโมงค์ขุดเปิดท่าพระ (Cut and Cover Tunnel)

พลเอก ประยุทธ์เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาโครงการล่าช้าแล้วกว่า 1 ปี เพราะติดขัดการทำสัญญาต่างๆ ทำให้ต้องเลื่อนเปิดเดินรถเป็นปี 2562 ซึ่งได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ (รฟม.) เร่งรัดการดำเนินงานโดยเฉพาะการหาผู้เดินรถโดยให้เจรจากับผู้ให้บริการรายเดิมก่อน คือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ซึ่งรับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคลในปัจจุบัน เพื่อให้การเดินรถเชื่อมต่อเป็นวงกลม ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไปแล้วให้เจรจาได้เลย ถ้าเจรจาไม่สำเร็จค่อยเปิดประมูล โดยจะต้องยุติในปีนี้เพื่อให้สามารถเปิดเดินรถเร็วขึ้นเป็นภายในไตรมาส 3 ปี 2561

พร้อมกันนี้ รัฐบาลจะเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าในแผนแม่บท โดยเตรียมเสนอเข้า ครม.อนุมัติอีก 3 สาย คือ สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-พระราม 9-มีนบุรี) เพื่อขับเคลื่อนประเทศในทุกมิติ เพื่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ โดยยืนยันว่าการนำระบบการลงทุนการก่อสร้างภาครัฐ (Construction Sector Transparency : COST) เข้ามาตรวจสอบการดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเพื่อความโปร่งใสนั้นจะไม่ทำให้โครงการล่าช้าแน่นอน เพราะการตรวจสอบทำคู่ขนานไปกับการดำเนินโครงการตามขั้นตอน หากถูกต้องงานก็ไม่หยุดชะงัก แต่หากพบมีความผิดถึงค่อยหยุด ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) นั้นจะเปิดทดลองเดินรถได้ในประมาณเดือนธันวาคม 2558-มีนาคม 2559 ซึ่งภายในปีจะสรุปเรื่องการลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีนักธุรกิจไทยหลายรายแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน ซึ่งกำลังเจรจารูปแบบและสัดส่วนการลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชนเพราะต้องเข้ามาเป็นกลุ่ม

ด้านพลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. กล่าวว่า มติ ครม.ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายต่อเนื่องกับสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ซึ่งขอยืนยันว่าสามารถใช้วิธีการเจรจาได้ เพราะ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เปิดช่องให้ใช้ได้ทั้งวิธีเจรจาหรือเปิดประมูล โดยมีคณะกรรมการมาตรา 13 เป็นผู้พิจารณา ซึ่งขณะนี้รอเพียงมติ ครม.เมื่อวันที่ 3 มีนาคมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนก่อนว่าเป็นอย่างไร จากนั้นคณะกรรมการมาตรา 13 จะประชุม ซึ่งคาดว่าไม่เกินสัปดาห์หน้า หากจะใช้การเจรจาจะต้องดำเนินการตามมาตรา 16 โดยเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลัง เห็นชอบ และเสนอ ครม.อนุมัติ จากนั้นเข้าสู่กระบวนการเจรจา ซึ่งจะต้องสรุปทั้งหมดภายในปีนี้เพื่อให้สามารถจัดหารถและเปิดให้บริการได้ภายในปี 2561 ตามนโยบาย

“นายกฯ เป็นห่วงเรื่องเดินรถเพราะเกรงว่างานโยธาก่อสร้างเสร็จปี 2560 แล้วสัญญาเดินรถจะไม่ทัน รฟม.เดินตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 มา 2 ปีกว่าแล้ว หากจะปรับไปใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 (ฉบับใหม่) จะต้องเริ่มต้นกระบวนใหม่ตั้งแต่รับฟังความเห็นสาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง, ตั้งคณะกรรมการพิจารณาใหม่ ใช้เวลาอีกเป็นปี ซึ่งบอร์ด รฟม.เห็นว่า หากเดินรถต่อเนื่อง วิธีเจรจาจะง่ายและเร็วที่สุด หากเปิดประมูลหากได้รายใหม่ก็ต้องมาเจรจาเพื่อเดินรถเชื่อมต่ออยู่ดีซึ่งอาจมีปัญหาก็ได้ นอกจากนี้ ครม.มีมติให้เดินรถช่วง 1 สถานี (เตาปูน-บางซื่อ) ของสายสีม่วงสัญญา 5 โดยวิธีเจรจากับ BMCL รูปแบบ PPP COST ก็เป็นแนวทางที่ทำให้สายสีน้ำเงินต่อขยายควรใช้วิธีเดียวกัน เพื่อให้ระบบตั๋วและการจ่ายค่าโดยสารครั้งเดียวตลอดสาย พลเอก ยอดยุทธกล่าว

สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2558 งานโยธามีความคืบหน้ารวม 60.19% ช้ากว่าแผน 1.31% โดยตามแผน

สัญญา 1 (หัวลำโพง-สนามไชย) บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เป็นผู้รับเหมา คืบหน้า 68.24% ล่าช้า 1.27% กำหนดแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2560

สัญญา 2 (สนามไชย-ท่าพระ) บมจ.ช.การช่าง (CK) เป็นผู้รับเหมา คืบหน้า 70.84% เร็วกว่าแผน 1.55% กำหนดแล้วเสร็จมีนาคม 2559

สัญญา 3 (เตาปูน-ท่าพระ) กลุ่มกิจการร่วมค้า ชิโนไฮโดร-ยูนิค เป็นผู้รับเหมา คืบหน้า 46.04% เร็วกว่าแผน 0.05% กำหนดแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2560

สัญญา 4 (ท่าพระ-หลักสอง) บมจ.ซิโน-ไทยเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด เป็นผู้รับเหมา คืบหน้า 53.03% ล่าช้า 5.36% กำหนดแล้วเสร็จมิถุนายน 2560

สัญญา 5 (งานวางราง) บมจ.ช.การช่างเป็นผู้รับเหมา คืบหน้า 70.37% เร็วกว่าแผน 0.30% กำหนดแล้วเสร็จพฤษภาคม 2560

สัญญา 6 (งานเดินรถ) จะต้องลงนามสัญญาในเดือนมิถุนายน 2558 และดำเนินการออกแบบ ผลิต ติดตั้ง และทดสอบตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 และเปิดเดินรถเดือนมิถุนายน 2561

//----------------------------


เจรจาเดินรถสายน้ำเงิน'บิ๊กตู่'ขีดเส้นเปิดใช้Q3ปี61


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
9 มีนาคม 2558 23:55 น.

"นายกฯ"สั่งรฟม.เจรจาเดินรถสายสีน้ำเงิน เร่งเปิดบริการ ไตรมาส3/61พร้อมเร่งสปีด รถไฟฟ้าอีก 3 สายเข้าครม. และผุดรถไฟความเร็วสูงเกิดในปีนี้ ยัน นักลงทุนไทยเสนอตัวลงทุนเป็นไปได้ "ยอดยุทธ"เผยรอมติครม.เป็นทางการ คาด กก.มาตรา13 ประชุมสัปดาห์หน้า เร่งเคาะเจรจากับ BMCL ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35 เพื่อเดินรถต่อเนื่องตามนโยบาย มั่นใจประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด

วานนี้ (9 มี.ค.) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาอุโมงค์ที่สอง (Eastbound TBM Launching Ceremony) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) สัญญา 2 ช่วงสถานีสนามไชย - ท่าพระ ณ สถานที่ก่อสร้างอุโมงค์ขุดเปิดท่าพระ (Cut and Cover Tunnel)

พลเอก ประยุทธ์เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาโครงการล่าช้าแล้วกว่า 1 ปี เพราะติดขัดการทำสัญญาต่างๆ ทำให้ต้องเลื่อนเปิดเดินรถเป็นปี 2562 ซึ่งได้มอบหมายให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศ (รฟม.) เร่งรัดการดำเนินงานโดยเฉพาะการหาผู้เดินรถโดยให้เจรจากับผู้ให้บริการรายเดิมก่อน คือบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ซึ่งรับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคลในปัจจุบัน เพื่อให้การเดินรถเชื่อมต่อเป็นวงกลม ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไปแล้วให้เจรจาได้เลย ถ้าเจรจาไม่สำเร็จค่อยเปิดประมูล โดยจะต้องยุติในปีนี้เพื่อให้สามารถเปิดเดินรถเร็วขึ้นเป็นภายในไตรมาส 3 ปี 2561

พร้อมกันนี้รัฐบาลจะเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้าในแผนแม่บท โดยเตรียมเสนอเข้าครม.อนุมัติ อีก 3 สายคือ สายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี) สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-พระราม9-มีนบุรี) เพื่อขับเคลื่อนประเทศในทุกมิติ เพื่อให้เกิดสร้างงาน สร้างรายได้ โดยยืนยันว่าการนำระบบการลงทุนการก่อสร้างภาครัฐ (Construction Sector Transparency : COST) เข้ามาตรวจสอบการดำเนินการโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เพื่อความโปร่งใสนั้น จะไม่ทำให้โครงการล่าช้าแน่นอน เพราะการตรวจสอบทำคู่ขนานไปกับการดำเนินโครงการตามขั้นตอน หากถูกต้องงานก็ไม่หยุดชะงัก แต่หากพบมีความผิดถึงค่อยหยุด ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ)นั้น จะเปิดทดลองเดินรถได้ในประมาณเดือนธันวาคม 2558 -มีนาคม 2559 ซึ่งภายในปีจะสรุปเรื่องการลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงซึ่งมีนักธุรกิจไทยหลายรายแสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน ซึ่งกำลังเจรจารูปแบบและสัดส่วนการลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน เพราะต้องเข้ามาเป็นกลุ่ม

ด้านพลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.กล่าวว่า มติครม.ให้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายต่อเนื่องกับสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ซึ่งขอยืนยันว่า สามารถใช้วิธีการเจรจาได้ เพราะพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เปิดช่องให้ใช้ได้ทั้งวิธีเจรจาหรือเปิดประมูล โดยมีคณะกรรมการมาตรา 13 เป็นผู้พิจารณา ซึ่งขณะนี้รอเพียงมติครม.เมื่อวันที่ 3 มีนาคมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนก่อนว่าเป็นอย่างไร จากนั้นคณะกรรมการมาตรา 13 จะประชุมซึ่งคาดว่าไม่เกินสัปดาห์หน้า ซึ่งหากจะใช้การเจรจา จะต้องดำเนินการตามมาตรา 16 โดยเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลัง เห็นชอบและเสนอครม. อนุมัติจากนั้นเข้าสู่กระบวนการเจรจา ซึ่งจะต้องสรุปทั้งหมดภายในปีนี้เพื่อให้สามารถจัดหารถและเปิดให้บริการได้ภายในปี 2561 ตามนโยบาย

“นายกฯเป็นห่วงเรื่องเดินรถเพราะเกรงว่างานโยธาก่อสร้างเสร็จปี 2560 แล้วสัญญาเดินรถจะไม่ทัน รฟม.เดินตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 มา 2 ปีกว่าแล้ว หากจะปรับไปใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 (ฉบับใหม่) จะต้องเริ่มต้นกระบวนใหม่ ใช้เวลาอีกเป็นปี ซึ่งบอร์ดรฟม.เห็นว่า หากเดินรถต่อเนื่องวิธีเจรจาจะง่ายและเร็วที่สุด หากเปิดประมูลหากได้รายใหม่ก็ต้องมาเจรจาเพื่อเดินรถเชื่อมต่ออยู่ดีซึ่งอาจมีปัญหาก็ได้ นอกจากนี้ครม.มีมติให้เดินรถช่วง 1 สถานี (เตาปูน-บางซื่อ) ของสายสีม่วงสัญญา 5 โดยวิธีเจรจากับ BMCL รูปแบบ PPP COST ก็เป็นแนวทางที่ทำให้สายสีน้ำเงินต่อขยายควรใช้วิธีเดียวกัน เพื่อให้ระบบตั๋วและการจ่ายค่าโดยสารครั้งเดียวตลอดสาย"
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 131, 132, 133 ... 228, 229, 230  Next
Page 132 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©