RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269618
ทั้งหมด:13580905
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสีเขียวเข้ม(หมอชิต-สะพานใหม่) และเขียวอ่อน(แบริ่ง-ปากน้ำ)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 100, 101, 102  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2015 3:18 am    Post subject: Reply with quote

จี้เร่งปิดดีลรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กทม.บริหาร
เดลนิวส์
วันพุธ 4 มีนาคม 2558 เวลา 17:30 น.
ประจิน สั่ง รฟม.เร่งถกแผนขาย รถไฟฟ้าสายสีเขียว แบริ่ง-สมุทรปราการ 1.9 หมื่นล้าน ให้ กทม.บริหาร ชี้ต้องทำแผนละเอียด ห้ามเก็บค่าโดยสารแพง ไม่เช่นนั้นล้มดีลแน่

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้หารือร่วมกับ พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และสั่งให้ รฟม.ไปเร่งเจรจากับกรุงเทพมหานคร(กทม.)เพื่อหาข้อสรุปในการเข้ามารับช่วงต่อการบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กม.ต่อจาก รฟม. ให้เสร็จโดยเร็ว

ทั้งนี้เนื่องจากโครงการนี้ เป็นโครงการที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งปัจจุบันกทม. ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว โดยได้ให้นโยบายไปว่า หาก กทม.รับไปบริหารจะต้องมีการจัดทำแผนเกี่ยวกับการเข้ามารับภาระหนี้ค่าก่อสร้าง หรือแผนการนำเงินค่าก่อสร้างโครงการทั้งหมดมาใช้คืนให้กับรฟม.อย่างละเอียด และมีรูปแบบและเงื่อนไขที่ชัดเจน ที่สำคัญจะต้องมีการจัดทำแผนการเชื่อมต่อการเดินทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน พร้อมกับต้องจัดเก็บค่าโดยสารที่ไม่แพงเกินไป จนส่งผลกระทบให้ผู้ใช้บริการต้องเดือดร้อน

“รฟม.ต้องไปคุยกับ กทม.ให้ละเอียด หลักการเบื้องต้น กทม.จะต้องเข้ามาเคลียร์หนี้ค่าก่อสร้างทั้งหมดให้รฟม.ก่อน ต้องบอกมาให้ชัดว่าจะเข้ามารับภาระหนี้รูปแบบไหน ซึ่งวิธีการมีอยู่หลายแบบ เช่น การขอความช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังให้จัดหาเงินกู้ให้ ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่รฟม.เคยใช้ หรือจะใช้วิธีอื่นก็ให้กทม.ไปคิดมา ส่วนค่าโดยสารที่จะจัดเก็บก็ต้องไม่แพงจนคนใช้บริการเดือดร้อน “

รมว.คค.สั่ง รฟม.เจรจา กทม.หาข้อสรุปรับช่วงบริหารรถไฟฟ้าสายสีเขียว


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
4 มีนาคม 2558 19:23 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้หารือร่วมกับ พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และสั่งให้ รฟม.ไปเร่งเจรจากับกรุงเทพมหานคร(กทม.)เพื่อหาข้อสรุปในการเข้ามารับช่วงต่อการบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 13 กิโลเมตร ต่อจาก รฟม.ให้เสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้เนื่องจากโครงการนี้ เป็นโครงการที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งปัจจุบัน กทม.ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว โดยได้ให้นโยบายไปว่า หาก กทม.รับไปบริหารจะต้องมีการจัดทำแผนเกี่ยวกับการเข้ามารับภาระหนี้ค่าก่อสร้าง หรือแผนการนำเงินค่าก่อสร้างโครงการทั้งหมดมาใช้คืนให้กับ รฟม.อย่างละเอียด และมีรูปแบบ และเงื่อนไขที่ชัดเจน ที่สำคัญจะต้องมีการจัดทำแผนการเชื่อมต่อการเดินทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน พร้อมกับต้องจัดเก็บค่าโดยสารที่ไม่แพงเกินไป จนส่งผลกระทบให้ผู้ใช้บริการต้องเดือดร้อน


Last edited by Wisarut on 07/03/2015 11:58 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 05/03/2015 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

กทม.ยินดี รฟม.ยกสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการให้ ยันพร้อมรับภาระหนี้ลงทุน19,000ล้าน
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 5 มีนาคม 2558 เวลา 17:00 น.

เมื่อวันที่5มี.ค.นายอมรกิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)กล่าวถึงกรณีที่พล.อ.อ.ประจินจั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เจรจาหาข้อสรุปกับกทม.เรื่องการบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ แทน รฟม.เนื่องจากเป็นโครงการที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่กทม.ดำเนินการอยู่แล้วว่า กทม.มีความยินดีดำเนินการโครงการดังกล่าวแทนรฟม.ซึ่งที่ผ่านมากทม.ได้พยายามเสนอให้รัฐบาลพิจารณาหลายครั้งแล้วว่ากทม.มีความต้องการลงทุนก่อสร้างและบริหารจัดการเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนที่จะได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งในอนาคตคือในปี2575เส้นทางสัปทานคือตั้งแต่สถานีหมอชิต-อ่อนนุชที่กทม.ให้บีทีเอสลงทุนจะครบกำหนดสัญญาสัปทานและทรัพย์สินจะเป็นของกทม.ก็จะเป็นประโยชน์ในการบริหารจัดการทั้งหมดนอกจากนี้กทม.ได้เคยเสนอให้สภากทม.พิจารณาแล้วเนื่องจากการก่อสร้างอยู่นอกพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งก็ได้รับการอนุมัติรวมทั้งได้หารือกับทางอ.สำโรงจ.สมุทรปราการแล้วดังนั้นในเรื่องการดำเนินการนอกพื้นที่จึงไม่ใช่อุปสรรคส่วนการเดินรถก็สามารถว่าจ้างทางบีทีเอสเดินรถไฟฟ้าต่อเนื่องได้เลย

นายอมรกล่าวต่อว่าส่วนเรื่องภาระหนี้ค่าก่อสร้างจำนวนกว่า19,000ล้านบาทนั้นกทม.ก็พร้อมใช้คืนให้แก่รฟม.แต่อาจต้องขอการสนับสนุนจากรัฐบาลในส่วนของดอกเบี้ยเงินกู้ที่ทางรฟม.กู้เงินมาลงทุนก่อสร้างเพื่อไม่ให้กระทบกับค่าโดยสารของประชาชนในอนาคตเนื่องจากอัตราค่าโดยสารต้องพิจารณาในส่วนนี้ด้วยส่วนการกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้นกทม.จะอิงตามมาตรฐานของรฟม.และสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)ที่ได้ศึกษาไว้ทั้งนี้สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการมีจำนวน9สถานีระยะทางทั้งสิ้น13กิโลเมตรหากได้รับมอบหมายโครงการแล้วตามแผนงาน กทม.จะเปิดเดินรถจากแบริ่งไปอีก1สถานีคือสถานีสำโรงให้ได้ภายในปี60นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2015 1:15 pm    Post subject: Reply with quote

“ประจิน” ขีดเส้น กทม.สรุปรับโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียว มิ.ย.นี้


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
6 มีนาคม 2558 08:00 น. (แก้ไขล่าสุด 6 มีนาคม 2558 09:52 น.)

“ประจิน” ขีดเส้น กทม.สรุปรับโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียว มิ.ย.นี้

“ประจิน” ขีดเส้น กทม.เร่งสรุปรายละเอียดรับโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการ ไปดูแลใน มิ.ย.นี้ ยันต้องรับหนี้ค่าก่อสร้าง 1.9 หมื่นล้าน ไม่รับข้อเสนอผ่อนจ่าย ยอมรับเจรจาตรง BTS ทำยาก ต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หวั่นครหาไม่ประมูล ไม่โปร่งใส

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างการเจรจากับกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ให้ กทม.รับไปดูแล ซึ่งขณะนี้มี 3 ประเด็นที่ทาง กทม.จะต้องหาข้อสรุปภายในเดือนมิถุนายนนี้ คือ ประสานกับกระทรวงการคลังกรณีให้ กทม.รับภาระค่าใช้จ่ายค่างานโยธา วงเงิน 19,000 ล้านบาท แทน รฟม. เนื่องจากก่อนหน้านี้ กทม.ได้เสนอขอผ่อนชำระค่าก่อสร้างให้ รฟม.เป็นระยะเวลา 10 ปี แต่กระทรวงคมนาคมเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ไม่สามารถรับได้เพราะนานเกินไป และต้องการตัดภาระหนี้ส่วนนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันให้ รฟม.ออกไปทั้งหมด

นอกจากนี้ กทม.ต้องประสานกับจังหวัดสมุทรปราการกรณีที่ต้องเดินรถออกนอกพื้นที่ กทม. ซึ่ง กทม.แจ้งว่าได้ประสานในขั้นต้นแล้วไม่มีปัญหา โดยจะทำหนังสือเป็นทางการระหว่าง กทม.กับท้องถิ่น และประเด็นการเดินรถต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนจะต้องได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ และค่าโดยสารต้องไม่เป็นภาระแก่ประชาชน ซึ่ง กทม.ขอเวลาไปกำหนดรายละเอียดและแผนการโอนค่าใช้จ่ายให้ รฟม.

“รฟม.ได้เจรจากับ กทม.มาประมาณเดือนครึ่งแล้ว ซึ่งทาง กทม.อยากให้ช่วยเรื่องการโอนค่าใช้จ่ายโดยขอผ่อน 10 ปี ซึ่งนานเกินไป จึงแนะให้ กทม.ไปเจรจากับกระทรวงการคลังเอง รายละเอียดการเจรจาต้องสรุปชัดเจนภายใน มิ.ย.นี้ เพราะต้องการให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการจัดหารถไฟฟ้า ซึ่งทราบว่าทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS มีแผนจัดซื้อรถใหม่ หากซื้อรวมเป็นล็อตเดียวกันจะทำให้ได้ราคาถูก และจะส่งผลให้กำหนดค่าโดยสารได้ถูกไปด้วย” พล.อ.อ.ประจินกล่าว

พล.อ.อ.ประจินกล่าวยืนยันว่า ขณะนี้การเจรจาเพื่อโอนโครงการสายสีเขียวใต้ให้ กทม.รับไปเป็นเจ้าของและจ้าง BTS เดินรถเป็นแนวทางแรกที่มีเหตุผลเหมาะสมที่สุด เนื่องจากหาก รฟม.จะเจรจาตรงกับ BTS จะต้องเข้ากระบวนการร่วมทุน ซึ่งต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 เนื่องจากเกิดหลังปี 2556 ซึ่งการปฏิบัติทำได้ 2 แนวทาง คือ เปิดประกวดราคา หรือเจรจา ซึ่งหาก รฟม.เลือกเปิดประกวดราคาต้องเริ่มต้นและใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน หรือหากเลือกวิธีเจรจาตรงกับ BTS อาจจะมีคำถามว่าทำไมไม่เปิดประกวดราคา อาจทำให้งานเดินรถล่าช้ายิ่งขึ้น ในขณะที่การก่อสร้างงานโยธามีความคืบหน้าไปมากแล้ว เกรงว่าจะไม่ทัน และเห็นว่า กทม.มีสัญญากับ BTS อยู่แล้ว และหาก รฟม.สามารถโอนงานให้ กทม.ไปได้ก็จะเดินรถได้รวดเร็ว เพราะทางบีทีเอสจะสามารถวางแผนซื้อรถได้ทันที ในขณะเดียวกันทาง รฟม.ได้ศึกษาทีโออาร์กรณีประกวดราคาไว้เป็นแผนสำรอง หากการเจรจาโอนให้ กทม.ไม่ประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้ นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะมาพบเพื่อหารือความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคตนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเจรจากับ BTS เดินรถต่ออีกหรือไม่ เพราะต้องรอความชัดเจนแนวทางในสายสีเขียวใต้ก่อน และยังมีเวลาพิจารณาไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ เนื่องจากการก่อสร้างงานโยธายังไม่ได้เริ่ม และ รฟม.สามารถดูแลการเดินรถได้เอง

ก่อนหน้านี้ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร BTS เปิดเผยว่า BTS มีความพร้อมอย่างเต็มที่ต่อการรับงานเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอความชัดเจนจาก กทม.และกระทรวงคมนาคมเท่านั้น ขณะที่ BTS มีแผนจัดซื้อรถจำนวน 10 ขบวน (ขบวนละ 4 ตู้) วงเงิน 5,000 ล้านบาท เพื่อมารองรับการให้บริการในสายทางดังกล่าว ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เคยศึกษาไว้ว่าในปีแรกที่เปิดให้บริการจะมีผู้โดยสารที่ 1.4 แสนคนต่อวัน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้โดยสารเก่าแต่โดยสารไกลขึ้น

ขณะเดียวกัน ในปีนี้ BTS ยังมีแผนจัดซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 7 ขบวน วงเงิน 2,000 ล้านบาทเพื่อมาวิ่งบริการในสายทางปัจจุบัน ดังนั้นรวมแล้ว BTS จะต้องจัดหารถเพิ่มอีกประมาณ 20 ขบวน และจะเริ่มการจัดซื้อช่วงปลายปี 2558 ด้านเงินลงทุนนั้น BTS มีเพียงพอโดยไม่ต้องหาแหล่งเงินทุนเพิ่ม เพราะปัจจุบัน BTS มีเงินสดที่นำฝากไว้ในธนาคารจำนวน 30,000 ล้านบาท
//----------------

ประจินปัดข้อเสนอผ่อน10ปี

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
5 มีนาคม 2558 19:42 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน-“ประจิน” ขีดเส้น กทม.เร่งสรุปรายละเอียดรับโอนรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ แบริ่ง-สมุทรปราการไปดูแล ในมิ.ย.นี้ ยันต้องรับหนี้ค่าก่อสร้าง1.9 หมื่นล. ไม่รับข้อเสนอผ่อนจ่าย ยอมรับเจรจาตรง BTS ทำยาก ต้องเข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ หวั่นครหาไม่ประมูล ไม่โปร่งใส เผยเตรียมถกรถไฟ ไทย-จีน ครั้งที่ 3 ด้านรมช.กลาโหม พร้อมหนุนสำรวจออกแบบเสร็จใน 6 เดือน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อยู่ระหว่างการเจรจากับกรุงเทพมหานคร(กทม.) เพื่อโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ให้กทม.รับไปดูแล ซึ่งขณะนี้มี 3 ประเด็นที่ทางกทม.จะต้องหาข้อสรุป ภายในเดือนมิถุนายนนี้ คือ ประสานกับกระทรวงการคลังกรณีให้กทม.รับภาระค่าใช้จ่ายค่างานโยธา วงเงิน 19,000 ล้านบาท แทนรฟม.

เนื่องจากก่อนหน้านี้ กทม.ได้เสนอขอผ่อนชำระค่าก่อสร้างให้ รฟม. เป็นระยะเวลา 10 ปี แต่กระทรวงคมนาคมเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ไม่สามารถรับได้ เพราะนานเกินไปและต้องการตัดภาระหนี้ส่วนนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันให้รฟม. ออกไปทั้งหมด

นอกจากนี้ กทม.ต้องประสานกับจังหวัดสมุทรปราการ กรณีที่ต้องเดินรถออกนอกพื้นที่ กทม. ซึ่งกทม.แจ้งว่าได้ประสานในขั้นต้นแล้วไม่มีปัญหา โดยจะทำหนังสือเป็นทางการระหว่างกทม.กับท้องถิ่น และ ประเด็น การเดินรถต่อเนื่อง เพื่อให้ ประชาชนจะต้องได้รับความสะดวกสบายในการใช้บริการ และค่าโดยสารต้องไม่เป็นภาระกับประชาชน ซึ่งกทม.ขอเวลาไปกำหนดรายละเอียดและแผนการโอนค่าใช้จ่ายให้รฟม.

"รฟม.ได้เจรจากับกทม.มาประมาณ เดือนครึ่งแล้ว ซึ่งทางกทม.อยากให้ช่วยเรื่องการโอนค่าใช้จ่ายโดย ขอผ่อน 10 ปี ซึ่งนานเกินไป จึงแนะให้กทม.ไปเจรจากับกระทรวงการคลังเอง รายละเอียดการเจรจาต้องสรุปชัดเจนภายในมิ.ย.นี้ เพราะต้องการให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการจัดหารถไฟฟ้า ซึ่งทราบว่า ทางบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS มีแผนจัดซื้อรถใหม่ หากซื้อรวมเป็นล็อตเดียวกัน จะทำให้ได้ราคาถูก และจะส่งผลให้กำหนดค่าโดยสารได้ถูกไปด้วย" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวยืนยันว่า ขณะนี้การเจรจาเพื่อโอนโครงการสายสีเขียวใต้ให้กทม.รับไปเป็นเจ้าของและจ้าง BTS เดินรถ เป็นแนวทางแรกที่มีเหตุผลเหมาะสมที่สุด เนื่องจาก หากรฟม.จะเจรจาตรงกับBTS จะต้องเข้ากระบวนการร่วมทุน ซึ่งต้องปฎิบัติตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ2556 เนื่องจากเกิดหลังปี 2556 ซึ่งการปฎิบัติทำได้ 2 แนวทาง คือ เปิดประกวดราคา หรือเจรจา ซึ่งหาก รฟม.เลือกเปิดประกวดราคา ต้องเริ่มต้นและใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน หรือหากเลือกวิธีเจรจาตรงกับ BTS อาจจะมีคำถามว่าทำไมไม่เปิดประกวดราคา อาจทำให้งานเดินรถล่าช้ายิ่งขึ้น ในขณะที่การก่อสร้างงานโยธามีความคืบหน้าไปมากแล้ว เกรงว่า จะไม่ทัน และเห็นว่า กทม.มีสัญญากับBTS อยู่แล้ว และหากรฟม.สามารถโอนงานให้กทม.ไปได้ก็จะเดินรถได้รวดเร็ว เพราะทางBTSจะสามารถวางแผนซื้อรถได้ทันที ในขณะเดียวกัน ทางรฟม.ได้ศึกษาทีโออาร์กรณีประกวดราคาไว้เป็นแผนสำรอง หากการเจรจาโอนให้กทม.ไม่ประสบความสำเร็จ

อย่างไรก็ตาม เร็วๆนี้ นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะมาพบเพื่อหารือความคืบหน้าเรื่องดังกล่าว ส่วนโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคตนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเจรจากับ BTS เดินรถต่ออีกหรือไม่ เพราะต้องรอความชัดเจนแนวทางในสายสีเขียวใต้ก่อน และยังมีเวลาพิจารณา ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ เนื่องจากการก่อสร้างงานโยธายังไม่ได้เริ่ม และรฟม.สามารถดูแลการเดินรถได้เอง

***เตรียมข้อมูลถกรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 3

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย (คบร.) กล่าวภายหลังประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการที่ปรึกษา ที่มีพล.อ. อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เป็นประธานวานนี้ (5 มี.ค.) ว่า เป็นการเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร เพื่อประชุมร่วมกับจีน ครั้งที่ 3 ในวันที่ 10 มี.ค.ที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะสามารถสรุปรายละเอียดในการจัดทำบันทึกความร่วมมือเพื่อการทำงานร่วมกัน (Memorandum of Cooperation : MOC) รูปแบบการลงทุน เงื่อนไขทางการเงิน ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ เป็นต้น ซึ่งคณะที่ปรึกษาฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อทำให้สามารถเริ่มการสำรวจและออกแบบทั้ง 4 ช่วงได้ในเดือนมีนาคมนี้

ทั้งนี้ กก. ในคณะอนุฯที่ปรึกษานั้น มีหลายกระทรวงเกี่ยวข้องเพื่อให้คำแนะนำทั้งด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินโครงการราบรื่นตั้งแต่เริ่มต้นสำรวจ ออกแบบ ก่อสร้าง และเดินรถ รวมถึงให้ข้อคิดเห็นในการทำ MOC ให้ชัดเจนและเป็นสากล สามารถปฎิบัติได้จริง โดยกระทรวงกลาโหม จะให้การสนับสนุนในเรื่องแผนที่ภาพถ่าย อุปกรณ์และเจ้าหน้าที่ในการสำรวจเส้นทางพร้อมกับล่ามและช่วยประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับประชาชนในรูปแบบต่างๆ ส่วนกระทรวงมหาดไทย จะประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาลและอบต. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ช่วยดูแลกระบวนการด้านสิ่งแวดล้มให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน กระทรวงการคลัง ช่วยในเรื่องรูปแบบลงทุนและเงื่อนไขทางการเงินเป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/03/2015 11:30 pm    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์ มี.ค.ได้ฤกษ์เซ็นรถไฟฟ้าสายสีเขียว "หมอชิต-คูคต"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
6 มีนาคม 2558 เวลา 18:05:03 น.


ดีเดย์มี.ค.ได้ฤกษ์เซ็นรถไฟฟ้าสายสีเขียว "หมอชิต-คูคต" ยักษ์รับเหมาลดราคาประมูลอีก56 ล้านรับน้ำมันโลกดิ่ง ลงเข็มพ.ค.นี้

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ดเมื่อวันที่ 6 มีนาคมที่ผ่านมา ได้เร่งรัดการเวนคืนที่ดินเพื่อเตรียมการก่อสร้างรถไฟฟ้าสานสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.4 กิโลเมตร

หลังได้ข้อสรุปเรื่องการปรับลดราคาก่อสร้างที่ผู้รับเหมา ทั้ง 4 สัญญายอมลดราคาให้อีก 56 ล้านบาทมาอยู่ที่ 28,786 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ให้ทบทวนราคากลางใหม่ให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวลดลง

โดยสัญญาที่1งานโยธาช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ ของบริษัท อิตาเลีนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) วงเงิน 15,269 ล้านบาท

สัญญาที่ 2 งานโยธาช่วงสะพานใหม่-คูคต ของกิจการร่วมค้า บมจ.ยูนิคฯ บริษัท ซิโนไฮโดรและบริษัทไชน่าฮาร์เบอร์ จากประเทศจีน วงเงิน 6,657 ล้านบาท

สัญญา ที่3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร ของกิจการร่วมค้าบมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บ.เอ.เอส.แอสโซซิเอทฯ วงเงิน 4,019 ล้านบาท

และสัญญาที่4 งานจ้างออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบราง ของกิจการร่วมค้าบมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บ.เอ.เอส.แอสโซซิเอทฯ วงเงิน 2,841 ล้านบาท

โดยคาดว่าจะเซ็นสัญญาก่อสร้างได้ภายในเดือนมีนาคมนี้ หลังการประชุมบอร์ดอนุมัติผลประกวดราคาทีาต่อรองใหม่แล้วในวันที่ 13 มีนาคมและเสนอให้ตรม.รับทราบแล้ว จากนั้นประมาณ 1 เดือนหรือภายในพฤษภาคมนี้จะเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ และมีกำหนดแล้วเสร็จเปิดใช้บริการในปี 2562

//----------------

บอร์ดรฟม. มีมติเร่งเวนคืนสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
โดย คเณ มหายศ
ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ พิมพ์
ฐานเศรษฐกิจ
วันศุกร์ที่ 06 มีนาคม 2558 เวลา 19:18 น.
รฟม.เตรียมเซ็นจ้างผู้รับเหมาสร้างสีเขียวเหนือ มี.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 มีนาคม 2558 08:14 น. (แก้ไขล่าสุด 8 มีนาคม 2558 12:53 น.)

บอร์ด รฟม. เร่งเวนคืนสายสีเขียวเหนือ ล่าสุดมีมติรับรอง เปลี่ยนแปลงสัญญาสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่ต้อง จ่ายเงินเพิ่ม 290 ล้าน ทำถูกต้องขั้นตอน มีเหตุผลโยนบอร์ดชุด 'รัชนี'อนุมัติ เตรียมร่อนหนังสือแจง สตง-คมนาคม ส่วนกรณีเซ็นจ้างผู้ว่า รฟม.ใหม่ คาดมี.ค.นี้

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยน (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ด รฟม. เมื่อ6 มี.ค.ว่า ขณะนี้อนุมัติเรื่องกำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตแล้ว

พร้อมกันนี้บอร์ดได้รับทราบผลการสอบสวนกรณีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีสนามไชย-ท่าพระ ทำให้ รฟม.ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 290 ล้านบาท ที่มีนายไกร ตั้งสง่า กรรมการ รฟม.เป็นประธานสอบ

สรุปว่าการดำเนินการดังกล่าวทำถูกต้องตามขั้นตอนและมีการเสนอขออนุมัติจากบอร์ด รฟม.ชุดที่แล้ว ที่มีนางสาวรัชนี ตรีพิพัฒน์กุล เป็นประธานเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2557 ดังนั้นจะมีการสรุปรายละเอียดเสนอบอร์ดรับทราบในวันศุกร์ที่ 13 มี.ค.นี้ จากนั้นสัปดาห์ถัดไปจะทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงคมนาคม และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) หากไม่มีข้อท้วงติงใดๆ คาดว่าจะมีผลต่อเนื่องทำให้สามารถลงนามในสัญญาว่าจ้างนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนกุล เป็นผู้ว่า รฟม.คนใหม่ได้ภายใน มี.ค.นี้

พล.อ.ยอดยุทธ ระบุว่าปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อสร้างทำให้ รฟม.ต้องจ่ายเงินเพิ่มนั้น บอร์ดได้มีการพิจารณาและเห็นว่าขั้นตอนดำเนินการทุกอย่างถูกต้อง และมีเหตุผลจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงสัญญาก่อสร้างตามที่บอร์ดชุดเดิมได้อนุมัติ เพราะมีการเปลี่ยนวิธีการก่อสร้างทำให้มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจริง และไม่ได้มีการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนแต่อย่างใด รวมทั้งการดำเนินการของนายพีระยุทธก็ไม่ได้มีข้อบกพร่องตามกล่าวหา หากการแก้ไขสัญญาครั้งนี้ถูกต้องแล้ว

นอกจากนี้ พล.อ.ยอดยุทธ กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลสอบสวนที่ตั้งนายภัทรุตม์ ทรรชานนท์ กรรมการ รฟม.เป็นประธานสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีนายรณชิต แย้มสะอาด ในขณะที่เป็นรักษาการผู้ว่า รฟม. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนนายพีระยุทธกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาทำให้ รฟม.ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม 290 ล้านบาทว่าเนื่องจากนายรณชิตยืนยันว่าอยู่ในอำนาจที่ดำเนินการได้ แต่กรณีนี้บอร์ดเห็นว่าจะต้องรายงานต่อบอร์ดก่อน

ประธานบอร์ด รฟม.กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้รับทราบผลการเจราจาต่อรองราคากับเอกชนที่ชนะการประมูลก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.2 กม. ว่าสามารถต่อรองปรับลดราคาทั้ง 4 สัญญาลงได้ 56 ล้านบาท จากราคารวม 28,842 ล้านบาท เหลือ 28,786 ล้านบาท จะนำเสนอต่อบอร์ดในการประชุมวันที่ 13 มี.ค.นี้ และรายงานต่อ ครม. คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาได้ภายในเดือน มี.ค.นี้

ส่วนราคาที่ปรับลดสัญญาที่ 1 งานโยธา ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่ บมจ.อิตาเลียนไทย ชนะประมูล จาก 15,284,924,844.86 บาท เหลือ 15,269 ล้านบาท


สัญญา 2 งานโยธาช่วงสะพานใหม่-คูคต กลุ่มกิจการร่วมค้า UN-SH-CH (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ SINOHYDRO CORPORATION LIMITED และ CHINA HARBOUR ENGINEERING COMPANY LIMITED) ชนะประมูลจาก 6,659,991,127.04 บาท เหลือ 6,657ล้านบาท

สัญญา 3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดและจร กลุ่มกิจการร่วมค้า STEC-AS Joint Venture (บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) จำกัด) ชนะประมูลจาก 4,029,567,257.11 บาทเหลือ 4,019, พันล้านบาท และ

สัญญา 4 งานจ้างออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบราง กลุ่มกิจการร่วมค้า STEC-AS Joint Venture (บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) จำกัด) ชนะประมูล จาก 2,867,796,694.73 บาท เหลือ 2,841 พันล้านบาท

ส่วนความคืบหน้าการโอนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ) ให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) นั้น พล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้หารือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยให้ กทม.ไปจัดทำข้อเสนอด้านค่าใช้จ่ายที่ รฟม.ได้ลงทุนก่อสร้างไปแล้วประมาณ 19,000 ล้านบาท ว่าจะใช้คืน รฟม.อย่างไร ซึ่งถือเป็นประเด็นหลักที่ รฟม.จะพิจารณาข้อเสนอของ กทม. นอกจากนี้ ทาง กทม.จะต้องไปหาข้อสรุปในเรื่องข้อกฎหมายในการก่อสร้างและเดินรถนอกพื้นที่ กทม. เมื่อได้คำตอบจะมีการเจรจากันอีกรอบ ซึ่งขณะนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะให้ กทม.รับไปดำเนินการ 100% หรือไม่ แต่แนวทางเบื้องต้นตรงกันแล้วคือต้องการให้เดินรถต่อเนื่อง ซึ่งหาก รฟม.ดำเนินการเองจะต้องเจรจากับ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ซึ่งจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ในขณะที่หากโอนให้ กทม.จะมีความรวดเร็วมากกว่า เพราะ กทม.มีสัญญากับ BTS อยู่แล้ว สามารถเจรจากับ BTS ได้เลย

นอกจากนี้ บอร์ดยังได้รับทราบผลการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบว่ามีผู้บริหาร รฟม.เปลี่ยนแปลงสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย สถานีสนามไชย-ท่าพระ ส่งผลให้ รฟม.ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 290 ล้านบาท ชุดที่มีนายไกร ตั้งสง่า กรรมการ รฟม.เป็นประธาน โดยสรุปว่า การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระก่อสร้างนั้นมีความจำเป็น ซึ่งตรงกับกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงชุดที่นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าฯ รฟม. แต่งตั้ง โดยมีนายสราวุธ เบญจกุล เป็นประธาน เพราะเป็นการปรับวิธีก่อสร้างเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่โดยรอบและไม่ทำให้โครงการก่อสร้างหยุดชะงัก นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาร่วมของทีมที่ปรึกษาทั้ง PMC และ CSC เห็นควรให้เปลี่ยนแปลงวิธีการก่อสร้าง และได้พิจารณาว่าเห็นควรต้องชดเชยเงินให้ผู้รับเหมา และได้นำเสนอบอร์ด รฟม.เห็นชอบแล้ว ถือว่า รฟม.ทำถูกต้องในการเปลี่ยนแปลงสัญญาและจ่ายเงินชดเชยให้ผู้รับเหมา

และหลังจากนี้ รฟม.จะทำหนังสือชี้แจงไปยัง สตง. และหาก สตง.ไม่มีข้อสงสัยเพิ่มเติมก็จะสามารถลงนามสัญญาจ้างนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าฯ รฟม. เป็นผู้ว่าฯ รฟม.คนใหม่ได้เร็วๆ นี้


Last edited by Wisarut on 10/03/2015 2:56 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2015 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม...ให้มากกว่าความสะดวกในการเดินทาง
โดย บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์
คอลัมน์ : ข่าวรายวัน - ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2014 เวลา 15:43 น.

ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม...ให้มากกว่าความสะดวกในการเดินทาง:EIC

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์หรือEICออกบทวิเคราะห์"ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม...ให้มากกว่าความสะดวกในการเดินทาง"

ไฮไลท์:ส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต นอกจากจะอำนวยความสะดวกในการเดินทางต่อผู้อยู่อาศัยในย่านที่รถไฟฟ้าพาดผ่านแล้ว ยังเพิ่มโอกาสให้ 2 ธุรกิจที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจค้าปลีกอีกด้วย ทั้งนี้ อีไอซีประเมินว่าธุรกิจทั้งสองยังไม่อยู่ในภาวะ oversupply และยังมีโอกาสที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต


ปัจจุบันกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีรถไฟฟ้าให้บริการจำนวน 4 สาย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 สายในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่บริการมากขึ้นประมาณ 2 เท่าตัว ทั้งนี้ รถไฟฟ้าที่ดำเนินการให้บริการในปัจจุบันทั้ง 4 สาย ได้แก่ 1) รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มเส้นทางหมอชิต-แบริ่ง 2) สายสีเขียวอ่อน เส้นทางสนามกีฬา-บางหว้า 3) โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เส้นทางหัวลำโพง-พระราม4-บางซื่อ และ 4) รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) เส้นทางพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ โดยในปัจจุบันรถไฟฟ้าทั้ง 4 สายนี้ สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้เพียง 537 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในอนาคตหากรถไฟฟ้าทั้ง 9 สายแล้วเสร็จ ทางอีไอซีประเมินว่าระบบรถไฟฟ้าจะสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ถึง 1,640 ตารางกิโลเมตร (รูปที่ 1)

สำหรับเส้นทางที่กำลังจะก่อสร้างในระยะต่อไปคือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มส่วนต่อขยายจากหมอชิตไปยังสะพานใหม่และคูคต จะสร้างความเจริญให้กับย่านพหลโยธินตอนบนซึ่งมีแหล่งชุมชนและส่วนราชการหลายแห่ง โดยขณะนี้โครงการได้รับอนุมัติการก่อสร้างเรียบร้อยแล้วและอยู่ในระหว่างรอการประมูลงานก่อสร้าง โดยเส้นทางนี้เป็นส่วนต่อจากรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มในปัจจุบันที่สิ้นสุดที่สถานีหมอชิต ซึ่งจะต่อขยายเส้นทางเพิ่มเติมจากสถานีหมอชิตไปทางทิศเหนือของกรุงเทพฯ ตามแนวถนนพหลโยธิน (เขตบางเขน-เขตสายไหม) ไปสิ้นสุดที่ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ผ่านสถานที่สำคัญต่างๆ มากมาย อาทิ ห้างสรรพสินค้า, ที่อยู่อาศัย, มหาวิทยาลัย, โรงพยาบาล, ท่าอากาศยานดอนเมือง และส่วนราชการ เช่น กรมป่าไม้ กรมทหารบกและทหารอากาศ รวมระยะทางทั้งสิ้นราว 18 กิโลเมตร (รูปที่ 2)

แน่นอนว่าเมื่อรถไฟฟ้าเส้นทางนี้แล้วเสร็จจะเพิ่มความสะดวกในการเดินทางเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ของผู้อยู่อาศัยย่านสะพานใหม่-คูคต อ.ลำลูกกา และบริเวณใกล้เคียง โดยปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยบริเวณย่านดังกล่าวประมาณ 12 ล้านคน โดยในจำนวนนี้เป็นนักเรียนถึงราว 2.5 ล้านคน ซึ่งอีไอซีคาดว่าหากผู้อยู่อาศัยย่านดังกล่าวมีความต้องการเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นในโดยรถยนต์ส่วนบุคคลจะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง แต่ถ้าหากเปลี่ยนมาใช้ระบบรถไฟฟ้าเดินทางจากสถานีคูคตถึงสถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิจะใช้เวลาเพียง 35 นาที และเสียค่าเดินทางราว 50 บาทเท่านั้น

นอกจากนี้แล้วรถไฟฟ้าเส้นนี้ยังสามารถพัฒนาให้เชื่อมต่อกับท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสารในการเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ อีกด้วย จำนวนผู้โดยสารที่ใช้สนามบินดอนเมืองมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการเพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบ 16 ล้านคน หรือประมาณ 4.5 เท่าตัวในปี 2013 จากเดิมที่มีจำนวนผู้โดยสารโดยเฉลี่ยระหว่างปี 2007 ถึง 2012 (รูปที่ 3) เนื่องจากท่าอากาศยานดอนเมืองถือว่าเป็น hub ของสายการบินต้นทุนต่ำ รวมถึงหากมีการย้ายฐานปฏิบัติการสายการบินไทยสไมล์ จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมายังท่าอากาศยานดอนเมืองในเดือนสิงหาคม 2014 ก็ยิ่งทำให้การจราจรในการเดินทางทั้งขาเข้าและขาออกสนามบินดอนเมืองมีความคับคั่งมากยิ่งขึ้น

อีไอซี เห็นว่าหากการท่าอากาศยานมีการจัดสรรรถบัสเพื่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างท่าอากาศยานดอนเมืองมายังสถานีรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มที่สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่หรือสถานีสะพานใหม่ เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสารในการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้า จะช่วยย่นระยะเวลาเดินทางเข้าและออกจากสนามบินดอนเมืองสู่กรุงเทพฯ ชั้นในได้ และยังลดการจราจรที่ติดขัดบริเวณย่านสนามบินดอนเมืองอีกด้วย โดยประเมินว่ารถไฟฟ้าเส้นนี้จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ถึง 60,000-80,000 คนต่อวัน ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของทั้งผู้อยู่อาศัยในย่านดังกล่าวและผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมือง ทั้งนี้ ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเข้มจะสามารถเปิดให้บริการได้ก่อนที่ส่วนต่อขยาย Airport Rail Link (พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) แล้วเสร็จถึง 4 ปี

นอกจากความสะดวกในการเดินทางแล้ว ภาคอสังหาริมทรัพย์ยังเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับปัจจัยบวกจากรถไฟฟ้าเส้นทางนี้โดยตรง ทั้งนี้ ยังมีความต้องการทั้งโครงการบ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์ และคอนโดมิเนียมที่แตกต่างกันในย่านต่างๆ เช่น ในย่านลำลูกกาและสายไหมจะเน้นบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์เพื่อตอบสนองลูกค้าที่มีครอบครัวและต้องการความเป็นส่วนตัวเป็นหลัก โดยระหว่างปี 2011-2013 มีการเปิดตัวบ้านเดียวในช่วงราคา 3-5 ล้านบาทประมาณ 1,200 ยูนิต ขณะที่การเปิดตัวบ้านโครงการที่อยู่อาศัยในย่านสะพานใหม่และรัชโยธิน เน้นคอนโดมิเนียมเพื่อตอบสนองลูกค้ากลุ่มนักศึกษาและวัยเริ่มทำงาน เนื่องจากมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึง 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และมหาวิทยาลัยเกริก รวมถึงสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย โดยระหว่างปี 2011-2013 ย่านสะพานใหม่มีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมในช่วงราคา 0.5-2 ล้านบาทถึงราว 800 ยูนิต ทั้งนี้ อีไอซีประเมินว่าการเติบโตด้านอสังหาริมทรัพย์ยังคงไม่เข้าสู่ภาวะ oversupply ซึ่งเห็นได้จากคอนโดมิเนียมช่วงรัชโยธิน ซอยเสนา 2 ถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว มีคนเข้าพักถึง 78% สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการที่ยังมีอยู่และไม่มีปัญหาการซื้อ-ขายและการโอน

แต่คาดว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียวนี้แล้วเสร็จ อีไอซี ประเมินว่าอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมที่ขึ้นใหม่จะมีราคาสูงขึ้นประมาณ 25-45% นับจากเมื่อโครงการรถไฟฟ้าเริ่มประมูลจนก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยช่วงการประมูลโครงการรถไฟฟ้า คอนโดมิเนียมที่ขึ้นใหม่คาดว่าจะมีราคา 55,000 บาทต่อตารางเมตร จากนั้นจะปรับขึ้นเป็น 60,000- 65,000 บาทต่อตารางเมตร ในช่วงก่อสร้างรถไฟฟ้าและ 70,000-80,000 บาทต่อตารางเมตร เมื่อโครงการโครงการรถไฟฟ้าแล้วเสร็จ ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับราคาที่ปรับขึ้นของส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสีเขียวช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ทั้งนี้ รวมถึงที่ดินซึ่งเป็นต้นทุนของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่คาดว่าหลังจากที่รถไฟฟ้าก่อสร่างแล้วเสร็จราคาจะปรับตัวสูงขึ้นราว 10%-15%

อีไอซีมองว่าธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะ grocery store ขนาดเล็กจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์ตามมาจากการที่มีรถไฟฟ้า เนื่องมาจากการขยายตัวของเมืองและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง การเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าก่อให้เกิดความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคตามมา รวมถึงโครงสร้างประชากรและพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชากรในกรุงเทพฯ ซึ่งมีการเพิ่มจำนวนของครอบครัวขนาดเล็กและส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยทำงานที่ต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการจับจ่ายสินค้า โดยจะซื้อสินค้าจำนวนไม่มากนักในแต่ละครั้ง แต่จะซื้อสินค้าถี่ขึ้นและนิยมซื้อสินค้าใกล้บ้าน ทำให้ธุรกิจ grocery store ขนาดเล็กสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคย่านที่รถไฟฟ้าพาดผ่านได้อย่างลงตัว

ถึงแม้ว่า grocery store ขนาดเล็กจะมีการเปิดสาขาอย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แต่จำนวนสาขาในย่านบางเขน-สายไหมก็ยังอยู่ในระดับต่ำ และยังสามารถเพิ่มจำนวนได้อีก ทั้งนี้ จำนวนร้านค้าปลีกขนาดเล็กในย่านดังกล่าวยังอยู่ที่ 11 สาขาต่อประชากร 1 ล้านคน ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปในกรุงเทพฯ ซึ่งอยู่ที่ 20 สาขาต่อประชากร 1 ล้านคน ประกอบกับความหนาแน่นของผู้อยู่อาศัยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคตจากคอนโดมิเนียม ซึ่งส่วนใหญ่มีสมาชิกครอบครัวประมาณ 1-3 คน ทำให้ธุรกิจค้าปลีกถือเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2015 8:59 pm    Post subject: Reply with quote

สายสีเขียวลดจิ๊บๆ 56 ล.จากมูลค่าโครงการ 2.6 หมื่นล.
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 12 มีนาคม 2558 เวลา 18:22 น.

รฟม.เผยค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ลดลงกว่า 56ล้านบาทเม.ย.นี้เตรียมเซ็นสัญญาผู้รับเหมา - รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)

แจ้งว่าภายหลังจากที่รฟม.ได้มีการเจรจาต่อรองราคากับเอกชนที่ชนะการประกวดราคารถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคตตามมติของคณะรัฐมนตรีที่มีนโยบายให้หน่วยงานที่กำลังดำเนินการ ก่อสร้างให้ดำเนินการต่อรองราคาให้เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจซึ่งสามารถลดราคากลางรวมทั้ง 4 สัญญาได้เพียง56ล้านบาทจากทั้ง4สัญญารวมมูลค่าโครงการรวมกว่า26,000 ล้านบาท โดยในวันศุกร์(13 มี.ค.2558)นี้จะมีการเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด)รฟม.เพื่อรับทราบและอนุมัติต่อไป ทั้งนี้ภายหลังจากบอร์ดอนุมัติทางรฟม.จะต้องใช้เวลาในการเตรียมเอกสารเพื่อเซ็นสัญญากับผู้รับเหมาทั้งนี้คาดว่าประมาณเดือนเม.ย.2558 จะสามารถลงนามสัญญากับผู้รับเหมาได้ซึ่งภายหลังจากลงนามเรียบร้อยแล้วผู้รับเหมาจะต้องเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ สำหรับการเวนคืนที่ดินจะต้องมีการเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจจุดที่จะต้องเวนคืนอีกครั้งได้เพื่อรองรับการก่อสร้างโดยขณะนี้ครม.ได้เห็นชอบในร่างพ.ร.ฎเวนคืนเรียบร้อยแล้ว แต่รฟม.ต้องเข้าไปดำเนินการสำรวจอีกครั้งว่าจุดใดที่จะสามารถส่งมอบให้เอกชนดำเนินการได้ก่อนเพื่อไม้ให้เกิดความล้าช้าในการทำงานด้านโครงสร้าง อย่างไรก็ตามเบื้องต้นการเวนคืนพื้นที่ส่วนมากนั้นจะอยู่บริเวณสถานีและอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 130 ไร่เฉพาะจุดศูนย์ซ่อมบำรุงบริเวณสถานีกม. 25 ส่วนสถานีนั้นจะอยู่บนทางเท้าซึ่งรฟม.ต้องเจรจากับกรุงเทพมหานคร(กทม.) เพ่ื่อขอใช้พื้นที่รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือลักษณะเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดเส้นทาง มีสถานียกระดับจำนวน 16 สถานี แนวเส้นทางเริ่มต้นต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ที่สถานีหมอชิต และตรงไปตามแนวถนนพหลโยธิน ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึง บริเวณซอยพหลโยธิน 55 จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงออกไปเลียบกับแนวถนนฝั่งซ้ายจนถึงอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรือวงเวียนหลักสี่ และเบี่ยงกลับมาแนวเกาะกลางถนน พหลโยธิน ผ่านหน้าตลาดยิ่งเจริญ เมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปทางด้านทิศตะวันออกผ่านบริเวณ ด้านข้างของสถานีตำรวจภูธรคูคต เข้าสู่บริเวณเกาะกลางของถนนลำลูกกา และสิ้นสุดที่บริเวณคลองสอง บริเวณสถานีคูคต ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/03/2015 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.เตรียมเซ็นจ้างก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ(หมอชิต-คูคต) 3 เม.ย.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 มีนาคม 2558 18:53 น.

บอร์ดรฟม.เคาะเซ็นสัญญาก่อสร้างสายเขียวเหนือทั้ง 4 สัญญา 3 เม.ย.นี้ วงเงินรวม 2.87 หมื่นล้าน ระยะเวลาก่อสร้าง 1,350 วัน แล้วเสร็จในปี 2561 “ยอดยุทธ”เร่งสรุปหาผู้เดินรถ เปิดในปี 61 ส่วนเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย กก.มาตรา 13 เตรียมประชุม 20 มี.ค.นี้ เร่งหาข้อยุติวิธีคัดเลือกเอกชน

พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดรฟม.วันนี้ (13 มี.ค.) ว่า บอร์ดเห็นชอบผลการเจรจาคต่อรองผู้ชนะการประกวดราคาจ้างก่อสร้างงานโยธา โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ (หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) วงเงิน 28,842,279,923.74 บาท โดยสามารถปรับลดวงเงินเหลือ 28,786,000,000 บาท ซึ่งคณะกรรมการประกวดราคาได้ตรวจสอบความถูกต้องของคุณสมบัติผู้รับเหมาทั้ง 4 สัญญาแล้ว และกำหนดลงนามในสัญญาก่อสร้างในวันที่ 3 เมษายนนี้ เวลา 11.00 น.หโดยจะใช้เวลาก่อสร้างรวม 1,350 วัน งานโยธาจะแล้วเสร็จในปี 2561 ซึ่งจะเร่งรัดการดำเนินการในส่วนของการเดินรถซึ่งจะใช้วิธีการร่วมทุนกับเอกชน (PPP) เพื่อให้เสร็จพร้อมเปิดเดินรถทันกับที่การก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ

โดยผลการเจรจารถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือเป็นรายสัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 1 (ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่) ราคากลาง 15,284,924,844.86 บาท บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ตกลงราคาที่ 15,269,000,000 บาท

สัญญาที่ 2 (ช่วงสะพานใหม่-คูคต) ราคากลาง 6,659,991,127.04 บาท กลุ่ม UN-SH-CH Joint Venture (บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และ SINOHYDRO CORPORATION LIMITED และ CHINA HARBOUR ENGINEERING COMPANY LIMITED ตกลงราคาที่ 6,657,000,000 บาท

สัญญาที่ 3 (งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร) ราคากลาง 4,029,567,257.11 บาท กลุ่ม STEC-AS Joint Venture (บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนจิเนียริ่ง (1964) จำกัด ตกลงราคาที่ 4,019,000,000 บาท

สัญญาที่ 4 (งานจ้างออกแบบควบคู่การก่อสร้างระบบราง ราคากลาง 2,867,796,694.73 บาท กลุ่ม STEC-AS Joint Venture ตกลงราคาที่ 2,841,000,000 บาท

พร้อมกันนี้ เห็นชอบผลการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบว่ามีผู้บริหาร รฟม.เปลี่ยนแปลงสัญญาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย สถานีสนามไชย-ท่าพระ ส่งผลให้ รฟม.ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 290 ล้านบาท ชุดที่มีนายไกร ตั้งสง่า กรรมการ รฟม.เป็นประธาน ว่า ได้ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง โดยยืนยันว่าการเปลี่ยนรุปแบบการก่อสร้างมีความจำเป็นเหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง และใช้สัญญาข้อ 13 พิจารณา ซึ่งบอร์ดเห็นชอบแล้ว ส่วนเหตุใช้สัญญาข้อ 17 เพื่อเปลี่ยนแปลงงาน เป็นกระบวนที่ ทีมที่ปรึกษาทั้ง ที่ปรึกษาโครงการ ( PMC) และ ที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง ( CSC) และคณะทำงานรฟม. ได้เห็นชอบร่วมกันมาแล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้าบอร์ดอีกครั้ง โดยจะส่งเอกสารรายละเอียดผลการสอบสวน ให้สตง. ,สํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ( ป.ป.ท. ) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), กระทรวงคมนาคม เพื่อชี้แจงกระบวนการว่าถูกต้องครบถ้วนและหากไม่มีข้อสงสัยเพิ่มเติมจะสามารถลงนามสัญญาจ้าง นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล รองผู้ว่าการ รฟม. (ฝ่ายวิศวกรรมและปฏิบัติการ) เป็นผู้ว่าฯรฟม.ได้

ส่วนความคืบหน้าการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) ระยะทาง 27 กม.นั้น พล.อ.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า ขณะนี้การก่อสร้างงานโยธาคืบหน้าแล้ว 60% จะแล้วเสร็จตามแผนปี 2561 โดยมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ล่าสุดให้ ดำเนินการตามมติครม.ปี 2553 โดยใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2535 และให้คณะกรรมการมาตรา 13 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 เร่งหาข้อยุติเพื่อให้เปิดเดินรถได้ตามแผน ซึ่งจะต้องหาข้อยุติในปี 2558 ส่วนจะเป็นวิธีการใดขึ้นกับผลการหารือของกก.มาตรา 13 ซึ่งได้รายงานให้บอร์ดทราบว่า จะมีการประชุมกันในวันที่ 20 มีนาคมนี้

ส่วนการเดินรถสายสีเขียวใต้ (แบริ่ง-สมุทรปราการ)นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับกรุงเทพมหานคร(กทม.) ซึ่งกทม.จะต้องรับหนี้ค่าก่อสร้างงานโยธาแทนรฟม. และหาข้อยุติเรื่องอำนาจการเดินรถนอกเขตกทม. ซึ่งหากรฟม.สามารถเจรจากับกทม.ได้ข้อยุติจะเสนอกระทรวงคมนาคมตามขั้นตอน แต่หากตกลงกันไม่ได้ รฟม.จะบริหารจัดการเดินรถเอง โดยอาจจะเจรจาตรงกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS หรือบริษัทอื่นให้เดินรถได้ โดยจะพยายามให้เสร็จทันและเปิดเดินรถได้ทันตามแผนปี 2561 ทั้งนี้ รฟม.พยายามเร่งรัดแผนการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถเปิดเดินรถไฟฟ้าได้ตามแผน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 17/03/2015 9:36 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสีเขียวมาแน่
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
17 มีนาคม 2558 เวลา 05:45

นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในปี 58 นี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.2 กิโลเมตร (กม.) จะมีการก่อสร้างแน่นอน โดยจะลงนามกับบริษัทที่ชนะประกวดราคาในเดือน เม.ย.58 นี้ และเริ่มก่อสร้างทันที ส่วนสายสีส้ม ระยะแรก ช่วงพระราม 9-มีนบุรี ได้ปรับแบบใหม่ เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน ระยะทาง 21.2 กม.นั้น ได้ส่งให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเมื่อเดือน ก.พ.58 และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ และเมื่อ ครม.อนุมัติแล้วก็เช่นกัน โดยย่านประตูน้ำปรับลดเหลือ 1 สถานี จาก 2 สถานี ซึ่งช่วยลดค่าก่อสร้างได้ คาดจะเสนอ ครม.อนุมัติได้ปีนี้ และเริ่มก่อสร้างได้กลางปี 59 และเมื่อรวมทั้ง 2 ระยะ รถไฟฟ้าสายสีส้ม จะมีความยาวประมาณ 35.4 กม.

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม.และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) นั้น ได้ส่งรายละเอียดให้กระทรวงคมนาคมแล้ว แต่ต้องจัดทำรายละเอียดการจัดซื้อขบวนรถก่อนที่จะก่อสร้าง เพื่อให้รถไฟฟ้าทั้ง 2 สายนี้ใช้ขบวนรถเหมือนกัน นอกจากนี้ รฟม.ยังได้ศึกษาออกแบบส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 6.5 กม.เสร็จแล้ว และรอเสนอ ครม.ต่อไป อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าในปีนี้จะไม่เกิดปัญหาแรงงานขาด วัสดุอุปกรณ์ขาดแคลน เนื่องจากจะเป็นการทยอยก่อสร้างไม่ได้เริ่มดำเนินการพร้อมกันทั้งหมด.

//--------------------
รถไฟฟ้าสายสีเขียวสร้างแน่
เดลินิวส์
วันจันทร์ 16 มีนาคม 2558 เวลา 21:30 น.

รฟม. การันตี เริ่มสร้างสายสีเขียว หมอชิต-คูคต ปีนี้แน่ สายสีส้มเริ่มสร้างปีหน้า ด้านสีชมพู-เหลืองรอแผนจัดซื้อขบวนรถก่อน


นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ คือ รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.2 กม.โดยจะมีการลงนามกับบริษัทที่ชนะการประกวดราคาในเดือนเม.ย.นี้ จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างได้ทันที ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม ระยะแรก ช่วงพระราม 9-มีนบุรี ที่ได้มีการปรับแบบใหม่เพื่อลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน ระยะทาง 21.2 กม.ได้ส่งให้กระทรวงคมนาคมแล้วเมื่อเดือนก.พ. และจะเสนอให้ ครม.อนุมัติโครงการ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วก็สามารถเปิดประกวดราคาหาผู้รับเหมาเข้ามาก่อสร้างได้ทันที คาดเริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 59

ส่วนรถไฟฟ้าสายสีส้ม ระยะที่ 2 ช่วงพระราม 9-ตลิ่งชัน ที่ผ่านมาได้ปรับแบบเพื่อลดผลกระทบของประชาชนแล้ว โดยเฉพาะในย่านประตูน้ำที่ได้ลดสถานีลงจาก 2 สถานีให้เหลือเพียง 1 สถานี ซึ่งช่วยลดค่าก่อสร้างลงได้ด้วย คาดจะเสนอ ครม.อนุมัติโครงการได้ปีนี้ และเริ่มก่อสร้างได้กลางปี 59 และเมื่อรวมทั้ง 2 ระยะ รถไฟฟ้าสายสีส้ม จะมีความยาวประมาณ 35.4 กม.

นายธีรพันธ์ กล่าวว่า ด้านรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม.และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว(โมโนเรล) ได้ส่งรายละเอียดให้กระทรวงคมนาคมเพื่อนำเสนอ ครม.แล้วเช่นกัน แต่การพิจารณาจะต้องมาจัดทำรายละเอียดจัดซื้อขบวนรถก่อนที่จะมีการก่อสร้างงานโยธา เพื่อให้รถไฟฟ้าทั้ง 2 สายนี้ใช้ขบวนรถเหมือนกันในการให้บริการ ดังนั้นงานก่อสร้างจึงจะเป็นระยะถัดไปที่ไม่ทับซ้อนกับรถไฟฟ้าสายอื่น นอกจากนี้ รฟม.ยังได้ศึกษาออกแบบส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 6.5 กิโลเมตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ก็รอนำเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ก็จะเริ่มดำเนินการประกวดราคาเพื่อก่อสร้างได้ต่อไป

“โครงการการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายของ รฟม.ในปีนี้จะไม่มีปัญหาเรื่องของคนงานก่อสร้างที่ไม่เพียงและวัสดุอุปกรณ์ที่ขาดแคลน เนื่องจากจะเป็นการทยอยก่อสร้างไม่ได้เริ่มดำเนินการพร้อมกันทั้งหมด จึงส่งผลให้ผู้รับเหมาสามารถเตรียมพร้อมในเรื่องดังกล่าวไว้ได้ทัน”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/03/2015 10:29 am    Post subject: Reply with quote

ถนนพหลโยธิน ช่วงแยกรัชโยธิน-ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน กว้างแค่ 30 เมตร และต้องทุบข้ามแยกเสนา-เกษตรอีก รถติดกันสนุกครับ Shocked
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 17/03/2015 11:05 am    Post subject: Reply with quote

ยินดีจริงๆ ครับ ที่เส้นทางรถไฟฟ้าช่วงจตุจักร - คูคต ได้ฤกษ์ดำเนินการเสียที จะได้ขายห้องพักในคอนโดได้มั่ง Razz

ตอนนี้ผมหัดใช้เส้นทางถนนลาดพร้าวออกจากบ้านไปยังที่ทำงานเพื่อสร้างความคุ้นเคยแล้ว ฮ๋า...

เรื่องเส้นทางช่วงต่อขยายช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ ส่วนตัวผมเห็นว่า กทม.จะรับผิดชอบเองนั้น ก็สมเหตุสมผลอยู่นะครับ เพราะเป็นหน่วยงานท้องถิ่น ควรสร้างและรับผิดชอบระบบขนส่งมวลชนเอง แต่แนวทางให้ สนข.เป็นผู้กำหนด แต่ถ้าเกินกำลังอย่าง เช่น อบจ.สมุทรปราการ ล่ะก็ ค่อยถึงมือรัฐบาล

ตอนนี้รัฐบาล ลองหันไปให้ความสนใจกับระบบขนส่งมวลชนเชื่อมระหว่าง สงขลา - หาดใหญ่ - ปาดังเบซาร์ หรือที่เชียงใหม่ นครราชสีมา บ้างเป็นไง ?

ที่ผ่านมา เห็นมุ่งมั่นเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น ทั้งๆ ที่ระบบเขาดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว

ทะเลาะกันอยู่ได้ เพราะเรื่องของเรื่องต้องการหาผลประโยชน์เข้าบำรุงฝ่ายตนแท้ๆ Sad
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 18, 19, 20 ... 100, 101, 102  Next
Page 19 of 102

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©