Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269808
ทั้งหมด:13581095
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 34, 35, 36 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/03/2015 1:30 pm    Post subject: Reply with quote

'ประจิน'คาดสรุปรูปแบบลงทุนรถไฟไทย-จีน11มี.ค.
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 06 มีนาคม 2558, 12:49

"พล.อ.อ.ประจิน" รมว.คมนาคม คาดสรุปรูปแบบลงทุนรถไฟไทย-จีน 11 มี.ค.นี้ ชี้ไทยได้ประโยชน์ค่อนข้างมาก

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทยจีนครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-11 มี.ค.ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ คาดว่าจะได้ข้อสรุปรูปแบบการลงทุน ซึ่งเชื่อว่าไทยจะได้ประโยชน์จาก การลงทุนในโครงการนี้

"จะชัดเจนในวันที่ 11 มีนาคม สำหรับจะเป็นรูปแบบไฟแนนซ์ในลักษณะใด ก็จะมีการเจรจาในการประชุมครั้งนี้ และจะได้ความชัดเจนของรูปแบบการลงทุนแน่นอน" พล.อ.อ.ประจิน กล่าวกับผู้สื่อข่าว

ในเบื้องต้นเป็นความร่วมมือเป็นแบบ EPC (Engineering Procurement and Construction แยกเป็น Construction,operation และ maintenance ซึ่งไทยจะดูแลในโครงสร้างพื้นฐาน แต่ไทยก็มีข้อด้อยเรื่องการ สร้างรางและล้อของตัวเครื่องจักร แต่อื่นๆเราสามารถทำได้ทุกด้าน

"เท่าที่วิเคราะห์ ทางไทยได้ประโยชน์ค่อนข้างมาก เพราะเราจะดูแลในเรื่อง โครงสร้างพื้นฐาน แต่ส่วนงานของระบบราง เราอาจมีข้อด้อยในเรื่องของการสร้าง รางและล้อของตัวรถจักร แต่อื่นๆ เราทำได้เกือบทุกด้าน ก็ดูแล้วคงไม่เสียเปรียบอะไรมาก" รมว.คมนาคม กล่าว

คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟครั้งที่ 3 จะมีการจัดประชุมใน วันที่ 10 มี.ค.ที่กรุงเทพฯ และวันที่ 11 มี.ค.ที่จังหวัดหนองคาย

ที่ผ่านมาสองฝ่ายได้หารือกันไปแล้วสองครั้ง ซึ่ง รมว.คมนาคมระบุก่อนหน้านี้ ว่า โครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย และแก่งคอย- มาบตาพุด จะสำรวจและออกแบบแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.นี้ และเริ่มก่อสร้างในเดือน
ต.ค.58 โดยจะให้แล้วเสร็จภายในเวลา 30 เดือน หรือในเดือนเม.ย.61

ขณะที่ เส้นทางแก่งคอย-นครราชสีมา และ นครราชสีมา-หนองคาย จะสำรวจและออกแบบแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 58 และเริ่มก่อสร้างในเดือน ม.ค.59 โดยจะให้แล้วเสร็จภายในเวลา 36 เดือน หรือในเดือน ม.ค.62

แต่ในส่วนเรื่องเงินกู้ยืนนั้น ขณะที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่งธนาคารเพื่อการ ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน จะให้เงินกู้เงื่อนไขพิเศษ ด้วยอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน โดยจีนเสนออัตราดอกเบี้ยมาที่ 2% แต่ฝ่ายไทยขอศึกษารายละเอียดก่อน

เมื่อปลายเดือน ธ.ค.ปีที่แล้ว ไทยและจีนลงนามในบันทึกความเข้าใจว่า ด้วยความร่วมมือด้านรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา -แก่งคอย-มาบตาพุด และ แก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง รวม 873 กิโลเมตร ซึ่งมีความเร็วระหว่าง 160-180 กิโลเมตร/ชั่วโมง

การลงนามของทั้งไทยกับจีนดังกล่าว อยู่ในแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของไทยปี 58-65 ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะใช้งบลงทุนราว 4 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2015 2:29 am    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม' ย้ำรถไฟ 'ไทย-จีน' เป็นประโยชน์
by Phakaphong Udomkalayalux
Voice TV
6 มีนาคม 2558 เวลา 12:23 น.
รมว.คมนาคมชี้ลงทุนรถไฟไทย-จีนชัดเจนสัปดาห์หน้า
Written by: กอง บก.ข่าวเศรษฐกิจ
6 มีนาคม 2558 เวลา 14:34 น.


กระทรวงคมนาคม เตรียมหารือความร่วมมือพัฒนารถไฟทางคู่กับจีนในสัปดาห์หน้า พร้อมย้ำ ไทยได้รับประโยชน์แน่นอน

ความคืบหน้าโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ ขนาดราง 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ รวม 873 กิโลเมตร ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทยและจีน ล่าสุด ได้ประชุมร่วมกันไปแล้ว 2 ครั้ง

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 10 และ 11 มีนาคมนี้ ที่กรุงเทพฯ และจังหวัดหนองคาย เพื่อสรุปรูปแบบการลงทุนทางการเงินที่ชัดเจน ทั้งส่วนการก่อสร้าง การดำเนินการ และการบำรุงรักษา ซึ่งเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ยกเว้นงานก่อสร้างอุโมงค์ การวางระบบราง และระบบอาณัติสัญญาณ ที่จีนเป็นผู้ดำเนินการ โดยเรียกรูปแบบการลงทุนนี้ว่า EPC หรือ Engineering Procurement Construction

พลอากาศเอกประจิน ยืนยันว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการเป็นผู้ก่อสร้างโครงสร้าง และได้เรียนรู้ระบบเทคโนโลยีจากจีน แต่ยอมรับว่า ไทยมีจุดอ่อนเรื่องการก่อสร้างราง ล้อ และรถจักร

ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างเส้นทางรถไฟเชื่อมท่าเรือปากบาราและท่าเรือสงขลานั้น ล่าสุด เตรียมของบประมาณส่วนกลาง 50 ล้านบาท เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างและรูปแบบการลงทุน คาดว่าจะบรรจุในแผนได้ในปลายปีนี้ และเริ่มก่อสร้างในปี 2559
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 07/03/2015 5:55 pm    Post subject: Reply with quote

จีนได้เปรียบเต็มๆ จากความร่วมมือเรื่องรถไฟระหว่างไทยจีนจริงหรือ?


โดย Zheng Xin
7 มีนาคม 2558 16:36 น. (แก้ไขล่าสุด 7 มีนาคม 2558 16:37 น.)


วันก่อนหนังสือพิมพ์ไทยฉบับหนึ่งได้ตีพิมพ์บทความในคอลัมน์พิเศษภายใต้หัวเรื่อง “มีแต่ขาดทุน” หยิบยกเอากรณีความร่วมมือเรื่องรถไฟระหว่างไทยจีน ลำดับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เรียกว่า “ฝ่ายจีนเรียกร้องฝ่ายไทยกู้เงินจากธนาคารจีนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก” “ประเทศจีนขอรับผิดชอบออกแบบโครงการเอง ก่อสร้างเอง และ เดินรถเอง” ตลอดจนฝ่ายจีนขอสิทธิในการพัฒนาและใช้สอยที่ดิน 2 ข้างทางรถไฟระยะทาง 873 กิโลเมตร” ทั้งได้ข้อสรุปว่า “จีนได้เปรียบประเทศไทยเต็ม ๆ” แต่ว่า “ข้อเท็จจริง” เป็นเช่นนี้จริง ๆ หรือ?

ประการแรก เกี่ยวกับเรื่องที่ฝ่ายจีนขอให้ฝ่ายไทยกู้เงินจากธนาคารจีนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก ข้อเท็จจริงคือ การใช้รูปแบบวิธีการใดในการระดมทุนเป็นสิทธิเสรีภาพของไทย ขอเพียงแต่สามารถระดมเงินทุนที่ใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟได้ ฝ่ายจีนไม่สนใจว่าไทยจะใช้รูปแบบและวิธีการใดในการระดมทุน ฝ่ายไทยอาจยื่นความจำนงต่อฝ่ายจีนขอเงินกู้พิเศษหรือเรียกว่า Preferential Export Buyer’s Credit หรือจะใช้วิธีส่วนหนึ่งหาแหล่งทุนจากนานาชาติอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากฝ่ายจีน หรือจะใช้วิธีกู้ยืมแบบผสมผสานจากนานาชาติก็ได้ ฝ่ายไทยสามารถอาศัยความจำเป็นเลือกวิธีระดมทุนที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติตนได้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว

ประการต่อมา เกี่ยวกับเรื่องที่ประเทศจีนขอรับผิดชอบออกแบบโครงการเอง ก่อสร้างเอง และเดินรถเอง ข้อเท็จจริงคือ ฝ่ายจีนเสนอให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือด้วยรูปแบบ EPC ซึ่งก็คือฝ่ายไทยรับผิดชอบจัดหาเงินทุน ประเทศจีนรับเหมาก่อสร้างเสร็จแล้วมอบให้ฝ่ายไทยเดินรถ แม้แต่โครงการก่อสร้างก็ไม่ใช่ว่าบริษัทจีนรับเหมาทั้งหมด ฝ่ายไทยอาจรับผิดชอบงานก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบงานวิศวกรรมด้านเทคนิค เช่น สัญญาณ ระบบการควบคุมเป็นต้นซึ่งมีเนื้องานค่อนข้างสูง กล่าวได้ว่าไทยจีนสองฝ่ายร่วมมือกันดำเนินงานก่อสร้าง

ประการสุดท้าย เกี่ยวกับเรื่องที่ฝ่ายจีนเรียกร้องสิทธิในการพัฒนาและใช้สอยที่ดิน 2 ข้างทางรถไฟระยะทาง 873 กิโลเมตรนั้น ข้อเท็จจริงคือ ฝ่ายจีนไม่เคยมีข้อเรียกร้องอันไร้เหตุผลเช่นนี้มาก่อน และต่อไปก็จะไม่มีข้อเสนอนี้ แน่นอน ถ้าหากรัฐบาลไทยจะทำโครงการด้านการเกษตรหรือทำ เขตอุตสาหกรรมตามเส้นทางรถไฟ และยินดีให้บริษัทจีนเข้าร่วมด้วย นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

“ข้อเท็จจริง” ที่บทความลำดับให้เห็นนั้นไม่ตรงกับความเป็นจริงโดยสิ้นเชิง ข้อสรุปที่ได้ คือ รัฐบาลไทยยินยอมให้จีนใช้ดินแดนไทยเป็นทางผ่านเพื่อขนสินค้าจีนไม่จำกัดจำนวน โครงการนี้ จีนได้ประโยชน์มากกว่าไทยหลายเท่าตัว และไทยมีแต่ขาดทุนนั้นก็ฟังไม่ขึ้น ข้อวิพากษ์วิจารณ์ชนิดนี้ ไม่เพียงแต่บิดเบือนความจริงของความร่วมมือเรื่องรถไฟระหว่างไทยจีนเท่านั้น ยังบิดเบือนความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างจีนไทยอีกด้วย

จีนไทยไม่ใช่อื่นไกลพี่น้องกัน ประชาชนทั้ง 2 ประเทศมีความรักความผูกพันประหนึ่งพี่น้องกัน ปัจจุบัน ความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่กันในปริมณฑลด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า การเงิน การซื้อขายพืชผลการเกษตรระหว่างไทยจีนกำลังพัฒนาไปอย่างคึกคัก ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่นำเข้าพืชผลการเกษตรของไทยมากที่สุดประเทศหนึ่ง คนจีนจะไม่ปล่อยให้พี่น้องและคนในครอบครัวของตัวเองเสียเปรียบแน่นอน ความจริงแล้วหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น การก่อสร้างทางรถไฟของจีนเปรียบเทียบตามราคา คุณภาพของจีนจะสูงที่สุด รูปแบบยืดหยุ่นคล่องตัวที่สุด ในความร่วมมือก่อสร้างทางรถไฟกับไทยนั้น ประเทศจีนยังจะถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องให้แก่ไทย ช่วยประเทศไทยฝึกอบรมบุคลากรการรถไฟ เหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอันยาวไกลของประเทศไทยทั้งสิ้น

ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์ไทยฉบับหนึ่งยังเคยตีพิมพ์บทความเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ญี่ปุ่นเสนอแก่ไทยนั้นดีกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของจีน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงเป็นมิตรที่แท้จริงของไทย แน่นอน ในหลายสิบปีมานี้ ขณะที่ญี่ปุ่นทำความร่วมมือกับประเทศในเอเซียตะวัตออกเฉียงใต้นั้น จะสนองเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกว่า 2% ตลอดมา แต่ในโลกนี้ไม่มีอาหารมื้อกลางวันฟรีแน่นอน ค่าตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ค่อนข้างต่ำก็คือจะต้องนำเข้าอุปกรณ์ส่วนใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น ค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ที่มีราคาสูงบวกกับค่าก่อสร้างและค่าบำรุงรักษาต่อจากนั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายของโครงการทั้งโครงการเป็นมหาศาล อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ประเทศจีนให้กู้แก่ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถึงแม้จะสูงกว่าของญี่ปุ่นนิดหน่อย แต่อุปกรณ์ของจีนราคาถูกคุณภาพดี ต้นทุนก่อสร้างโครงการและต้นทุนซ่อมบำรุงจะต่ำกว่าของญี่ปุ่นมาก ฉะนั้นถ้าให้จีนสนองเงินกู้และดำเนินการก่อสร้างโครงการจะได้เปรียบมากกว่า และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า ฟิลิปปินส์ต่างเลือกใช้เงินกู้จากประเทศจีน อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของตระกูลเงินเยน ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารนำเข้าและส่งออกของจีนเป็นอัตราดอกเบี้ยของตระกูลเงินเหรียญสหรัฐฯ ความได้เปรียบเสียเปรียบของอัตราดอกเบี้ยจะแตกต่างกัน จะถือเอาความสูงต่ำของอัตราดอกเบี้ยมาเปรียบเทียบกันแบบง่ายๆ ไม่ได้ ต่อปัญหานี้เชื่อว่าผู้เชี่ยวชาญการเงินจะมีความเข้าใจเป็นอย่างดี ความร่วมมือในโครงการก่อสร้างทางรถไฟ ก็คำนึงจากมิตรไมตรีฉันพี่น้องของจีนไทยทั้งสองประเทศ รัฐบาลจีนจึงยินดีเสนองินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่ไทย ความร่วมมือชนิดนี้ได้ประโยชน์และได้กำไรทั้งสองฝ่าย ไม่น่าให้บางคนเกิดข้อเคลือบแคลงสงสัย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 1:32 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่"คอนเฟิร์ม! ดึง"ซี.พี.-ไทยเบฟ-BTS" ลงทุนไฮสปีด "พัทยา-หัวหิน"

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 มีนาคม 2558 เวลา 18:00:17 น.


"บิ๊กตู่" เร่งเครื่องรถไฟฟ้าหลากสี ตัดริบบิ้นสายสีม่วง มี.ค.59 จี้ รฟม. เจรจา BMCL เดินรถสีน้ำเงินต่อขยาย เฟิร์มแล้วดึง "ซี.พี.-ไทยเบฟ-บีทีเอส" ลงทุนไฮสปีด "พัทยา-หัวหิน"

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเปิดเดินเครื่องหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาอุโมงค์ที่สอง (Eastbound TBM Launching Ceremony) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สัญญา 2 ช่วงสถานีสนามไชย-สถานีท่าพระว่า ขณะนี้งานก่อสร้างคืบหน้ากว่า 60% จะแล้วเสร็จเปิดใช้ได้ประมาณไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ซึ่งได้เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการเรื่องการเดินรถให้เสร็จโดยเร็ว โดยให้ไปเจรจากับผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินสายเดิม คือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าต่อเนื่อง ประชาชนจะได้มีความสะดวก หากข้อเสนอที่เอกชนเสนอมาไม่เป็นประโยชน์ ก็ให้เปิดประมูลใหม่

"ตอนนี้โครงการล่าช้ามากว่า 1 ปี ทำให้เลื่อนเปิดใช้จากเดิมปี 2560 เป็นปีปลายปี 2561 เพราะมีปัญหาสัญญาต่าง ๆ ผมก็อยากจะเร่งรัดให้มันเร็วขึ้น ผมก็บอกให้ทำทุกอย่างให้ถูกต้องและเร็วขึ้น ส่วนรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ก็ยังเป็นไปตามโรดแมปเดิม พยายามทำให้ครบทั้งหมด 10 เส้นทาง ตอนนี้มีรอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี 3 เส้นทาง คือ สีชมพู เหลือง และแดง ส่วนรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางซื่อ-บางใหญ่คาดว่าจะตัดริบบิ้นทันรัฐบาลชุดนี้ เปิดให้บริการเดือนมีนาคม 2559"

นายกรัฐมนตรียังกล่าวถึงโครงการรถไฟไทย-จีนว่า ปัจจุบันยังเดินไปตามแผนงานและเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี ยังไม่เห็นมีปัญหาอะไร ซึ่งขณะนี้อยู่ขั้นตอนการต่อรองกันกับรัฐบาลจีนถึงเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งการสำรวจเส้นทาง ออกแบบรายละเอียดและการร่วมทุน จะใช้รูปแบบไหน นำเงินจากที่ไหนมาก่อสร้าง

สำหรับรถไฟความเร็วสูง พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า จากที่มีแนวคิดจะให้เอกชนไทยที่มีศักยภาพมาร่วมลงทุนไปแล้วนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจากับเอกชนที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ซี.พี. หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์, บริษัท ไทยเบฟฯ และบริษัท บีทีเอสฯ โดยมี 2 เส้นทางที่จะเร่งดำเนินการให้ทันในรัฐบาลนี้ ได้แก่ กรุงเทพฯ-พัทยา และกรุงเทพฯ-หัวหิน

ซึ่งแนวคิดคือ ทางเอกชนจะไปกู้เงินก้อนใหญ่มาก่อสร้างให้ โดยอาจจะร่วมกันหลายบริษัทเป็นลักษณะโฮลดิ้ง อาจจะเป็นการกู้เงินจากต่างประเทศบ้าง ในประเทศบ้าง ก็แล้วแต่เอกชนจะดำเนินการ จากนั้นจะเข้ามาร่วมกับภาครัฐบาล และมาเจรจาว่าจะลงทุนในสัดส่วนเท่าไหร่ เช่น 70:30 หรือ 50:50 หรือรับสัมปทาน แบ่งปันผลประโยชน์ จะมาคุยในรายละเอียดกันต่อ

"เงินก่อสร้างเป็นแสนล้านบาท ไม่ใช่เงิน 5 บาท 10 บาท เขากำลังตัดสินใจกันอยู่ เพื่อหาข้อเสนอให้เหมาะสม ถ้าไม่เหมาะสม เขาก็ไม่ทำ ก็จบ ปีนี้จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน" นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำ

//-----------------------------------

"เจริญ-ซีพี-BTS" ชิงไฮสปีด ดอดพบ "ประจิน" ขอร่วมทุน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 มีนาคม 2558 เวลา เวลา 15:14:57 น.


3 เจ้าสัว "ซี.พี.-ไทยเบฟ-บีทีเอส" ซุ่มเงียบเจรจา รมว.คมนาคม ลงทุนรถไฟความเร็วสูง"กรุงเทพ-หัวหิน, กรุงเทพ-ระยอง" ต่อยอดธุรกิจโลจิสติกส์-อสังหาฯ รับเออีซี "บิ๊กจิน" คาดสิ้นปีเคาะรูปแบบสัมปทาน PPP บิ๊กบีทีเอส-คีรี กาญจนพาสน์ ลั่นพร้อมลงทุนผ่านอินฟราสตักเจอร์ฟันด์ จับตาต่อรองเรตดอกเบี้ยเงินกู้รถไฟไทย-จีน มี.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งให้ศึกษาแนวทางการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพฯกับแหล่งท่องเที่ยว เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา โดยสร้างคู่ขนานกับรถไฟราง 1 เมตร และรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร โดยเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม เชิญเอกชนทั้งในและต่างประเทศที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุน โดยเฉพาะภาคเอกชนของไทยที่รวยเยอะ ๆ ได้เข้ามาร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ

"เรามีที่ดินอยู่ ถ้าเศรษฐีไทยมาร่วมลงทุน และต่างประเทศมาร่วมหุ้นบ้างน่าจะดี ซึ่งไทยมีโอกาสสูงที่จะก่อสร้าง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวไว้ก่อนหน้านี้



ซี.พี.-ไทยเบฟฯ-บีทีเอสสนใจ

ล่าสุด พล.อ.อ.ประจิน จั่นตองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้มีภาคเอกชนไทย 3 ราย ได้แก่ กลุ่ม ซี.พี. หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์, บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอส ให้ความสนใจร่วมลงทุนโครงการรถไฟ และอยู่ระหว่างขอข้อมูลเพื่อไปศึกษารายละเอียด ทั้งรถไฟทางคู่ราง 1 เมตร รถไฟราง 1.435 เมตร วิ่งความเร็วปานกลาง (มินิไฮสปีดเทรน) 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง และรถไฟความเร็วสูง วิ่งความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง

"หลังนายกรัฐมนตรีมีแนวคิดอยากให้บริษัทเอกชนไทยที่มีศักยภาพมาร่วมลงทุน ก็มีเอกชนมาขอข้อมูลและขอทราบว่ากระทรวงคมนาคมมีแผนงานที่ชัดเจนเรื่องระบบขนส่งทางรางโดยรวมยังไง ซึ่งได้แลกเปลี่ยนข้อมูลว่ามียุทธศาสตร์โครงข่ายที่วางไว้อย่างไร และก็มีบางส่วนให้เขาไปศึกษามา โดยมอบให้รองปลัดคมนาคมด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นหัวหน้าชุดในส่วนของกระทรวง เพื่อประสานงานร่วมกับบริษัทเอกชนทั้ง ซี.พี. ไทยเบฟฯ และบีทีเอส"

ตั้งหัวหน้าทีม ปลัด-รองปลัด

พล.อ.อ.ประจินกล่าวอีกว่า แผนลงทุนรถไฟราง 1.435 เมตร ความเร็ว 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในยุทธศาสตร์มีประมาณ 3,000 กิโลเมตร ได้แก่ 1.หนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ 873 กิโลเมตร 2.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 700 กิโลเมตร 3.กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ 1,000 กิโลเมตร

4.เส้นระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก ด้านบนจากแม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-มุกดาหาร 900 กิโลเมตร ด้านล่างจากบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง เชื่อมขนส่งท่าเรือทวายกับแหลมฉบัง และด้านใต้ท่าเรือปากบารา-ท่าเรือสงขลา 150 กิโลเมตร เป็นแลนด์บริดจ์สำคัญข้ามมายังอ่าวไทยตอนบนกับจีนตอนใต้

สำหรับรถไฟความเร็วสูง มอบให้ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาแนวทางลงทุน 2 เส้นทาง ได้แก่ สายกรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง คาดว่าจะได้ข้อสรุปในปีนี้ รวมถึงจะเชิญทางรัฐบาลญี่ปุ่นมาหารือด้วย

"จะเชิญเอกชนมาหารือข้อตกลงในหลักการ เส้นทาง หลักการจะคล้ายกับรถไฟไทย-จีน แต่คงจะเร่งรัดเร็วมากไม่ได้ ต้องทำให้ถูกต้องตามกฎกติกา พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 2556" พล.อ.อ.ประจินกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานะรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กิโลเมตร ลงทุน 98,399 ล้านบาท อยู่ระหว่างขออนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ส่วนกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง เพิ่งศึกษาเสร็จ 196 กิโลเมตร ลงทุน 152,000 ล้านบาท

จุดพลุ 2 เส้นไปพัทยา-หัวหิน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวเพิ่มเติมว่า หลังนายกรัฐมนตรีมีแนวคิดจะให้เจ้าสัวเมืองไทยมาร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูง มีความเคลื่อนไหวของกลุ่ม ซี.พี. ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ และไทยเบฟเวอเรจ ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่มาขอข้อมูลรายละเอียดโครงการไปศึกษา

ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการสภาพัฒน์ ได้แจ้งในที่ประชุมคณะหนึ่งว่า ทางนายกรัฐมนตรีเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา ให้เจ้าสัวของประเทศไทยพิจารณาว่าจะร่วมลงทุนหรือไม่

"รัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ โมเดลที่น่าจะเป็นไปได้คือรัฐและเอกชนร่วมกันลงทุน โดยเอกชนมีเงินมากจะลงทุนไปก่อน อาจจะไม่ก่อสร้างเอง หลังจากนั้นให้รัฐบาลชำระภายหลัง ทั้ง ซี.พี.และไทยเบฟฯมีธุรกิจในเครือเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า มีศูนย์กระจายสินค้าและอสังหาริมทรัพย์ สามารถต่อยอดโครงการได้"

คีรีแบไต๋พร้อมร่วมทุน

นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เปิดเผยว่า สนใจลงทุนโครงการรถไฟตามนโยบายรัฐบาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง เพราะเป็นธุรกิจหลักของบริษัท อะไรที่เป็นโอกาสก็เริ่มศึกษา เนื่องจากมีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้ามา 16 ปี บุคลากรก็พร้อม ฐานะการเงินเข้มแข็งน่าจะช่วยแบ่งเบาภาระรัฐบาลได้

"บริษัทจะลงทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางรางบีทีเอสโกรทที่ตั้งมาได้ 2-3 ปี ซึ่งเราเตรียมเม็ดเงินที่จะลงทุนไว้พร้อม" นายคีรีกล่าวย้ำ

เปิดพอร์ต ซี.พี.-ไทยเบฟฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับกลุ่ม ซี.พี. มีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ภายใต้ บมจ.ซี.พี.แลนด์ ได้แก่ คอนโดมิเนียม บ้านจัดสรร ศูนย์การค้าฟอร์จูน ออฟฟิศให้เช่า ซี.พี.ทาวเวอร์ และโรงแรมแกรนด์เมอร์เคียวฟอร์จูน แผนธุรกิจปี 2557-2559 จะลงทุนออฟฟิศ 10 โครงการ ในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ใช้งบฯกว่า 3.7 พันล้านบาท เช่น ย่านนอร์ธปาร์ค วิภาวดี, พิษณุโลก, ขอนแก่น, อุดรธานี, นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี ฯลฯ กับลงทุนคอนโดฯในต่างจังหวัดต่อเนื่อง ส่วนธุรกิจอสังหาฯของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี คือ 1.กลุ่มทีซีซี ลงทุนโรงแรม ค้าปลีก ในกรุงเทพฯและจังหวัดหัวเมือง 2.บมจ.ยูนิเวนเจอร์, บมจ.แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ และ บจ.แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ ทำออฟฟิศ บ้าน คอนโดฯ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลตามแนวรถไฟฟ้าและชุมชนโดยเจ้าสัวเจริญสะสมที่ดินไว้มากมายทั่วประเทศ หนึ่งในแปลงใหญ่คือที่ดินชะอำใกล้หาดปึกเตียนร่วม 1 หมื่นไร่ มีแผนแบ่งเฟสแรก 1 พันไร่ พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและที่อยู่อาศัยเชิงอนุรักษ์

คืบหน้ารถไฟไทย-จีน

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ 873 กิโลเมตร แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 3 วันที่ 10-11 มีนาคมนี้ จะหารือจีนด้านการเงินและรูปแบบการลงทุน

ทั้งนี้ ข้อเสนอทางการเงินนั้น ทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เห็นด้วยกับอัตราเงินกู้ผ่อนปรนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีน (ไชน่าเอ็กซิมแบงก์) ที่ให้อัตรา 2% เมื่อเทียบกับองค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) กับเงินกู้ในประเทศแล้วใกล้เคียงกัน ทั้งอัตราระยะปลอดหนี้และชำระคืน แต่จะขอเพิ่มเวลาปลอดหนี้ จากเดิมจีนให้ 5 ปี เป็น 6 ปี และชำระคืน 20 ปี

อีกทั้งขอให้จีนใช้อนุญาโตตุลาการเป็นสากล เช่น เกาะฮ่องกง ให้เกิดความเป็นกลาง หากได้ข้อสรุปจะมีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOC) เพื่อเดินหน้าในรายละเอียดต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 1:37 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่”เร่งสรุปไฮสปีดสาย”เจ้าสัว”ปีนี้ คมนาคมรับลูก ชงครม.ลงทุน 2 สายในพ.ค.


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มีนาคม 2558 18:35 น.



“นายกฯ”เปิดทาง”เจ้าสัวเมืองไทย” เสนอเงื่อนไขลงทุนผุดรถไฟความเร็วสูงเต็มที่ ด้าน“ประจิน”เดินหน้าเจรจา “เจ้าสัวซีพี- ไทยเบฟ-คีรี”ลงทุน 2 สายกรุงเทพ-หัวหิน ,กรุงเทพ-พัทยา เชื่อมเมืองท่องเที่ยวลดแออัดบนถนน เชื่อผู้โดยสารมากพอ คืนทุนหลัง 10 ปี เตรียมสรุปแผน เสนอครม.อนุมัติพ.ค.นี้ ดันประมูลก่อนเลือกตั้ง และเพิ่มลงในแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานไทย เตรียมข้อมูลประชุมร่วมรถไฟไทย-จีน เสนอเงื่อนไขเงินกู้จีนปลอดหนี้ 5-7ปีแรก ระยะเวลาผ่อน 20 ปี

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพฯกับแหล่งท่องเที่ยว เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา ว่า มีนักลงทุนไทยสนใจ ทั้งบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ กลุ่ม ซีพี และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งกำลังพูดคุยกัน โดยสามารถหาผู้ร่วมลงทุนรวมกลุ่มมา หาแหล่งเงินทั้งในประเทศต่างประเทศแล้วมาเจรจากับรัฐบาลเรื่องสัดส่วนการลงทุน ว่าจะเป็น 70-30 หรือ 50-50 หรือแบ่งปันผลประโยชน์ สัมปทานแต่หลักการจะสรุปภายในปีนี้

ด้านพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างรวบรวมแผนงานโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางคือ กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติในหลักการในเดือนพฤษภาคมนี้ พร้อมกันนี้จะบรรจุโครงการเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 อีกด้วย เนื่องจากโครงการมีความจำเป็นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สร้างโอกาสในด้านการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว โดยเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ช่วยลดปัญหาการจราจรทางถนน ,ลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน, ลดงบประมาณซ่อมบำรุงถนนและลดระยะเวลาในการเดินทาง ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

ทั้งนี้ กลุ่มซี.พี.และไทยเบฟ ได้เข้ามาข้อข้อมูลไปแล้ว ส่วนบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS นั้นได้ส่งหนังสือขอประสานมาแล้วอยู่ระหว่างนัดหารือ โดย 3 กลุ่มจะเป็นผู้รับงานหลัก และหาผู้ร่วมทุนในแต่ละส่วนเข้าร่วม หรือถ้าเป็นไปได้ 3 กลุ่มจะจับมือร่วมกันทำโครงการเพื่อประเทศก็ยิ่งดี

โดยกระทรวงคมนาคมจะเสนอรูปแบบการร่วมลงทุน PPP ซึ่งทำได้ทั้งการเจรจากับผู้สนใจ เหมือนโครงการรถไฟไทย-จีน หรือเปิดประมูลแข่งขันซึ่งจะไม่มีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส โดยคาดว่าจะประมูลกรุงเทพฯ-หัวหิน ได้ก่อนเนื่องจากการร้องเรียนเรื่องการเดินทางไม่สะดวกมาก ดังนั้นเชื่อว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก และทำให้โครงการมีความคุ้มทุน ซึ่งแนวคิดของรัฐบาลเห็นว่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงยิ่งระยะทางยาว ยิ่งใช้เงินมาก และคืนทุนยาก เพราะเมื่อลงทุนสูงจะกำหนดค่าโดยสารสูงผู้โดยสารจะน้อย ขณะที่หากเน้นเส้นทางที่จะมีผู้โดยสารมาก แบ่งสัดส่วนการลงทุนและการหารายได้ให้เหมาะสมโดยจากเดินรถประมาณ 40% และการบริการที่สถานี,พัฒนาชุมชนใหม่ที่ต่อเนื่องกับสถานีอีก 60% จะคืนทุนได้หลังปีที่ 10 ไปแล้ว

ซึ่งรูปแบบของรถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 เส้นทางจะมีความเร็วมากกว่า 200 กม./ชม.ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของผู้ลงทุน โดยค่าก่อสร้างเบื้องต้นหากความเร็วระหว่าง 200-250 กม./ชม.นั้น จะอยู่ที่ประชุม 350 ล้านบาท/กม. บวกความยากหรือง่ายของการก่อสร้างและขึ้นกับสภาพภูมิประเทศที่เส้นทางผ่าน โดยจะนำข้อมูลที่มีประโยชน์ของผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงเดิม เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ,กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง มาใช้ร่วมด้วย

“หลักคิดในการลงทุนรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นจะเป็นการเชื่อมเมืองกับชนบทและสร้างเมืองใหม่ พัฒนาท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมควบคู่กันไป ของไทย มี 2 เมืองที่เหมาะสม คือ พัทยาและหัวหิน ที่เมืองมีการพัฒนาทั้งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมแล้ว แต่มีปัญหาการเดินทางเชื่อมต่อไม่สะดวก ใช้รถยนต์มีปัญหาเรื่องอุบัติเหตุ ดังนั้นหลักของไทย คือ เน้นส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ สังคมและท่องเที่ยว ร่วมกัน โดยรัฐบาลตั้งเป้าเปิดประมูลก่อนมีการเลือกตั้ง”

เตรียมเสนอเงื่อนไขเงินกู้จีนปลอดหนี้ 5-7ปีแรก ระยะเวลาผ่อน 20 ปี

และวันนี้ (9 มี.ค.) พล.อ.ประจินได้ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคมนี้ โดยมีการกำหนดรายละเอียดเรื่องรูปแบบความร่วมมือ EPC ,รูปแบบการลงทุน สัดส่วนด้านการเงิน และการฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่จะเจรจากับจีนและตกลงในกรอบเบื้องต้นก่อน โดยรูปแบบการลงทุนและแหล่งเงิน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Civil Work ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า) ด้านระบบรถ การเดินรถและการบำรุงรักษาระบบ (Rolling Stocks/Operation/O&M) ซึ่งภาระงานของแต่ละฝ่ายมีแล้วแต่ยังบอกรายละเอียดสัดส่วนการลงทุนไม่ได้เนื่องจากต้องรอสำรวจออกแบบก่อน ซึ่งตอนนี้ทางจีนเองแม้จะมีความชำนาญด้านการก่อสร้างรถไฟมากแต่ยังไม่กล้าระบุความชัดเจนเนื่องจากมีเรื่องสภาพภูมิประเทศที่เส้นทางตัดผ่านเป็นจุดเสี่ยงที่จะส่งผลต่อวงเงินค่าก่อสร้าง โดยจะมีที่ปรึกษาที่เป็นกลางมาช่วยดู ทั้งภาพรวมโครงการ เรื่องออกแบบ และก่อสร้าง

โดยเรื่องการลงทุนนั้น ข้อเสนอทางการเงินของจีนมี 2 แบบคือ เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน (PBC) อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% บวกค่าธรรมเนียมแล้วจะไม่เกิน 2.37% และเงินกู้เชิงพาณิชย์ (Buyer’s Credit) อัตราดอกเบี้ย 4% บวกค่าธรรมเนียมแล้วจะไม่เกิน 4.25% โดยฝ่ายไทยมีแผนสำรองด้านการเงิน ทั้งกู้ในประเทศ กู้ต่างประเทศ ออกพันธบัตร โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 2.88-4.66% ซึ่งจะเป็นแนวทางใดและสัดส่วนเท่าไรนั้นขึ้นกับการเจรจา เงื่อนไขทางการเงินทั้งอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งโครงการ และระยะเวลากู้ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะจะสามารถใช้ได้ทั้งเงินสกุลหยวน ยูเอสดอลล่าร์ และไทย โดยไทยจะเสนอระยะเวลาปลอดหนี้ระหว่าง 5-7 ปี และผ่อนชำระอีก 20 ปี รวมไม่เกิน 25 ปี โดยฝ่ายจีนจะให้คำตอบในวันที่ 10 มีนาคมนี้

โดยรูปแบบลงทุนจะมีรายละเอียดภายในเดือนมีนาคม-เมษายนนี้แน่นอน ส่วนสัญญาก่อสร้างช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. และช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม. จะเริ่ม ในเดือนกันยายน 58 ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. เริ่มในเดือนธันวาคม 58 ซึ่งตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ คณะสำรวจออกแบบของจีนจำนวน 20 คนได้เดินทางมาถึงไทยแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมและเริ่มสำรวจออกแบบในมีนาคมนี้แน่นอน

//----------

ชงครม.เคาะรถไฟเร็วสูงกทม.-พัทยา-หัวหินพ.ค.นี้
โพสต์ทูเดย์
09 มีนาคม 2558 เวลา 21:25 น.

"ประจิน" เสนอโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-พัทยา-หัวหิน ให้ครม.พิจารณาเดือนพ.ค.นี้

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ความเร็วมากกว่า200 กม./ ชม เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน และกรุงเทพ-พัทยา เป็นเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการท่องเที่ยว จะมีการสรุปรายละเอียดและรูปแบบการลงทุนภายในต้นเดือน พ.ค.นี้ จาก นั้นจะเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในกลางเดือน พ.ค.นี้ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนที่เข้ามาดำเนินการภายในปีนี้ พร้อมกับระบุว่าโครงการนี้ถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนและจะบรรจุเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 ของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีด้วย

ส่วนความคุ้มค่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงนั้น จากข้อมูลที่มีการศึกษาพบว่า ผลตอบแทนจากการเดินรถอยู่ที่ 40% ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานถึง 10 ปี อาจไม่คุ้มค่าการลงทุนของเอกชน ดังนั้นจะมีการพิจารณาเรื่องผลตอบแทนเชิงพาณิชย์จาก 2 ปัจจัย คือ การให้บริการในเขตพื้นที่สถานีและการพัฒนาชุมชนเมืองใหม่ที่เกิดขึ้น ในส่วนนี้จะมีผลตอบแทน 60% หลังจากปีที่ 10 ไปแล้ว จึงมีความเป็นไปได้ที่จะจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนได้ “ผมเร่งให้กระทรวงคมนาคมกลับไปศึกษาความเป็นไปได้รถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 เส้นทาง ให้นำผลการ ศึกษาฉบับเดิมของ สำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ที่เคยศึกษาไว้มาเปรียบเทียบ แผนที่ชัดเจนจะสรุปเสนอ .ครม.ภายในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีบอกชัดเจนว่า ทุกอย่างจะเกิดก่อนการเลือกตั้ง เพราะต้องการให้มีเปิดประมูลให้ได้ภายในรัฐบาลนี้เลย ”พล.อ.อ.ประจินกล่าว

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ที่มาของโครงการนี้ เกิดจากการที่นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นและเห็นว่าประเทศญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็วเพราะมีรถไฟความเร็วสูง ทำให้เกิดเมืองใหม่ เมืองอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว จึงเป็นที่มาของการผลักดันโครงการนี้ โดยจะต้องพิจารณาในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมและท่องเที่ยวควบคู่ไปด้วย แต่เป้าหมายหลักคือเน้นการขนคนหรือนักท่องเที่ยว จากตัวอย่างในญี่ปุ่นที่มีรถไฟความเร็วสูงทำให้ชุมชนเจริญ เมืองเจริญ ในขณะที่ประเทศไทยพบว่าเมืองได้เติบโตขึ้นมาแล้ว จึงเหลือแต่การผลักดันโครงการเพื่อเชื่อมต่อเมืองเข้าด้วยกัน แก้ปัญหาจราจรติดขัดได้ ลดอุบัติเหตุ รวมทั้งยังเป็นการสร้างเมืองใหม่ และกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนบริเวณเส้นทางรถไฟด้วย เพราะทั้งหัวหินและพัทยาก็มีปัญหาเรื่องการจราจรหากไม่แก้ไขปล่อยทิ้งไว้จะเกิดปัญหาตามมาในอนาคตอย่างไรก็ตาม

ก่อนหน้านี้ ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุน (Market Sounding) ในเส้นทางกรุงเทพ- พัทยา - มาบตาพุด และกรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ ซึ่งพบว่าการดำเนินโครงการในระยะทางยาวนั้น จะไม่มีผลตอบแทนที่คุ้มค่า มีปริมาณผู้โดยสารน้อย ทำให้ต้องเก็บค่าโดยสารสูง จะไม่มีผู้ใช้บริการมาก ทำให้การลงทุนต้องขาดทุนในที่สุด จึงได้พิจารณาว่าจะดำเนินการช่วงแรกจากกรุงเทพ-หัวหิน ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเริ่มดำเนินการได้ก่อน เนื่องจากมีปริมาณผู้โดยสารที่เป็นนักท่องเที่ยวมากพอ และยังมีการเติบโตของเมืองในระหว่างทางเช่น เพชรบุรี เป็นต้น ส่วนเส้นทางกรุงเทพ-พัทยามีทั้งปริมาณผู้โดยสารและแหล่งอุตสาหกรรมด้วยพล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ในส่วนของกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ของนายเจริญ ศิริวัฒนาภักดีและ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ที่แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง เนื่องจากเป็นนักธุรกิจที่อาจไปร่วมกับบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างเข้ามาประมูลงาน หรืออาจร่วมมือกันเข้ามาดำเนินโครงการเพื่อประโยชน์ของประเทศ ซึ่งทุกแนวทางเป็นไปได้ แต่การดำเนินการจะใช้วิธีการเปิดประมูลให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนแบบ พีพีพีนอกจากนี้ ส่วนประเทศญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการการตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ รางขนาด 1.435 เมตร ใน 3 เส้นทาง คือ
1.แม่สอด จ.ตาก – มุกดาหาร
2. พุน้ำร้อน-กาญจนบุรี -กรุงเทพ –ฉะเชิงเทรา - อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และฉะเชิงเทรา - แหลมฉบัง จ.ชลบุรี ซึ่งเชื่อมฝั่งตะวันออก-ตะวันตก
3. กรุงเทพ –เชียงใหม่ เชื่อมแนวเหนือใต้

ดังนั้นมีความเป็นไปได้หากประเทศญี่ปุ่นเลือกเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ อาจปรับเปลี่ยนมาเป็นรถไฟความเร็วสูงแทนได้

//--------------

"บิ๊กจิน"เร่งดันไฮสปีดเทรนสายกทม.-หัวหิน อ้างคุ้มค่า เผยซีพี-ไทยเบฟสนใจร่วมชิงเค้ก
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 19:54 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา ตามแนวคิดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว จะสรุปรายละเอียดและรูปแบบการลงทุนภายในต้นเดือน พ.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอขออนุมัติจาก ครม. ภายในกลางเดือน พ.ค. คาดว่าสามารถเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนที่เข้ามาดำเนินการภายในปีนี้ โดยโครงการนี้ถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน และจะบรรจุเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 ด้วย

ความคุ้มค่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงนั้น พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า จากข้อมูลที่ศึกษาพบว่า ผลตอบแทนจากการเดินรถอยู่ที่ 40% ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานถึง 10 ปี ดังนั้นจะพิจารณาเรื่องผลตอบแทนเชิงพาณิชย์จาก 2 ปัจจัย คือ การให้บริการในเขตพื้นที่สถานีและการพัฒนาชุมชนเมืองใหม่ที่เกิดขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะจูงใจให้เอกชนเข้ามาร่วม

"ผมเร่งให้กระทรวงคมนาคมกลับไปศึกษาความเป็นไปได้รถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 เส้นทาง ให้นำผลการศึกษาฉบับเดิมของ สนข. ที่เคยศึกษาไว้มาเปรียบเทียบ แผนที่ชัดเจนจะสรุปเสนอ ครม.ภายในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งนายกฯบอกชัดเจนว่าทุกอย่างจะเกิดก่อนการเลือกตั้ง เพราะต้องการให้มีเปิดประมูลให้ได้ภายในรัฐบาลนี้เลย”

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนโครงการดังกล่าวนั้น จะใช้วิธีเปิดประมูลให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนแบบพีพีพี

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัทเอกชนไทย ได้แก่ ครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มไทยเบฟฯ สนใจเข้าร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-พัทยา และกรุงเทพฯ-หัวหิน โดยอยู่ระหว่างการหาแหล่งทุนเพื่อร่วมลงทุนกับรัฐ ซึ่งจะมีความชัดเจนภายในปีนี้ ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วปานกลางอยู่ระหว่างการต่อรองการกู้เงินกับจีน

//---------------

"บิ๊กจิน"เร่งดันไฮสปีดเทรนสายกทม.-หัวหิน อ้างคุ้มค่า เผยซีพี-ไทยเบฟสนใจร่วมชิงเค้ก
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 19:54 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา ตามแนวคิดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยว จะสรุปรายละเอียดและรูปแบบการลงทุนภายในต้นเดือน พ.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอขออนุมัติจาก ครม. ภายในกลางเดือน พ.ค. คาดว่าสามารถเปิดประมูลคัดเลือกเอกชนที่เข้ามาดำเนินการภายในปีนี้ โดยโครงการนี้ถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน และจะบรรจุเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 ด้วย

ความคุ้มค่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงนั้น พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า จากข้อมูลที่ศึกษาพบว่า ผลตอบแทนจากการเดินรถอยู่ที่ 40% ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานถึง 10 ปี ดังนั้นจะพิจารณาเรื่องผลตอบแทนเชิงพาณิชย์จาก 2 ปัจจัย คือ การให้บริการในเขตพื้นที่สถานีและการพัฒนาชุมชนเมืองใหม่ที่เกิดขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะจูงใจให้เอกชนเข้ามาร่วม

"ผมเร่งให้กระทรวงคมนาคมกลับไปศึกษาความเป็นไปได้รถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 เส้นทาง ให้นำผลการศึกษาฉบับเดิมของ สนข. ที่เคยศึกษาไว้มาเปรียบเทียบ แผนที่ชัดเจนจะสรุปเสนอ ครม.ภายในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งนายกฯบอกชัดเจนว่าทุกอย่างจะเกิดก่อนการเลือกตั้ง เพราะต้องการให้มีเปิดประมูลให้ได้ภายในรัฐบาลนี้เลย”

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (บีทีเอส) ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนโครงการดังกล่าวนั้น จะใช้วิธีเปิดประมูลให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนแบบพีพีพี

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัทเอกชนไทย ได้แก่ ครือเจริญโภคภัณฑ์ และกลุ่มไทยเบฟฯ สนใจเข้าร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-พัทยา และกรุงเทพฯ-หัวหิน โดยอยู่ระหว่างการหาแหล่งทุนเพื่อร่วมลงทุนกับรัฐ ซึ่งจะมีความชัดเจนภายในปีนี้ ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วปานกลางอยู่ระหว่างการต่อรองการกู้เงินกับจีน


Last edited by Wisarut on 10/03/2015 4:15 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 1:43 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟทางคู่ ไทย-จีน ใกล้เป็นจริง?
by Phakaphong Udomkalayalux
Voice TV
9 มีนาคม 2558 เวลา 17:40 น.

การก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435 เมตร ระหว่างไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพฯ-แก่งคอย และ หนองคาย -มาบตาพุด ระยะทาง 873 กิโลเมตร วงเงินรวม 4 แสนล้านบาท ใกล้มีข้อสรุป หลังจะมีการเรจาในวันที่ 10-11 มีนาคมนี้

โดยรูปแบบการลงทุน คือ ENGINEERING PROCUREMENT CONSTRUCTION หรือ EPC ร่วมกันฝ่ายละ ร้อยละ 50 ฝ่ายไทย จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเวนคืนที่ดินและศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ส่วนจีน รับผิดชอบการสำรวจและออกแบบโครงการ ซึ่งจีนยินดีถ่ายทอดเทคโนโลยีการก่อสร้างระบบรางให้ไทยเต็มที่

สาเหตุที่จีนจะร่วมลงทุนก่อสร้างให้ไทย นอกเหนือจากได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จากการสนับสนุนทางการเงิน การขายรถไฟฟ้าและเทคโนโลยี รวมทั้งการก่อสร้างแล้ว ยังทำให้จีนสามารถใช้เส้นทางนี้ขนส่งสินค้าจากลาว และออกทะเลมายังไทย ช่วยลดต้นทุนการขนส่งสินค้าจากจีน และขยายตลาดการค้าด้วย

อย่างไรก็ตาม การลงทุนแบบ EPC แม้จะทำให้ไทยเป็นเจ้าของโครงการ แต่การต้องรับความเสี่ยงด้านการเงิน การลงทุน การก่อสร้าง และเงื่อนไขที่ยกให้กับจีน คือสิ่งที่ต้องคิด

โดยเฉพาะเงื่อนไขเงินกู้ของรัฐบาลจีน ที่สูงกว่าญี่ปุ่นในการสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ทั้งดอกเบี้ย - ระยะเวลาปลอดหนี้ และ ระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลไทยกำลังเสียเปรียบ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยอมรับว่า ไทยอาจต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากจีน แต่ยืนยันว่า ไทยจะไม่เสียประโยชน์จากการลงทุนครั้งนี้

การลงทุนครั้งนี้ที่เดิมพันด้วยเงินลงทุน การเป็นหนี้ ไปจนถึงที่ดินตามแนวเส้นทางของไทย ให้กับจีน เหมาะสมหรือไม่ และควรเจรจากับจีนอย่างไร ให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ติดตามได้ในตอนต่อไป

//-------------

"ดิศนัดดา"จี้ชะลอสร้างรถไฟฟ้า อ้างเศรษฐกิจไม่เอื้อ-คนยังเป็นหนี้กันเยอะ
ข่าวสดออนไลน์
วันที่ 09 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 21:14 น.


ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขามูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวทางพระราชดำริ และประธานสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระฯ กล่าวว่าการบริหารเศรษฐกิจในปัจจุบันมีปัญหาหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกที่ลดลงจากในอดีต ทำให้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันเหลือถึง 40% ส่งผลให้รายได้แรงงานลดลง ส่งผลต่อปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นยังรวมถึงหนี้สินของเกษตรกรที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น

ม.ร.ว.ดิศนัดดา กล่าวว่า ข้อมูลล่าสุดพบว่าเกษตรกรมีรายจ่ายเฉลี่ยกว่า 89% ของรายรับ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงส่งผลให้ระดับการออมต่ำ แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่ทุกรัฐบาลได้ดำเนินการมาตลอด ไม่ใช่ทางออกในการแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องประชาชนอย่างแท้จริง เพราะทุกโครงการที่ทำไป ผู้ที่ได้ประโยชน์เป็นเพียงคนส่วนน้อยที่อยู่ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายสายที่จะเกิดขึ้น หากรัฐบาลชะลอโครงการออกไปสัก 3-5 ปี แล้วนำเงิน 300,000-400,000 ล้านบาท มาพัฒนาชนบทจะสร้างความยั่งยืนให้เศรษฐกิจประเทศได้มากกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 9:48 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่”เร่งสรุปไฮสปีดสาย”เจ้าสัว”ปีนี้ คมนาคมรับลูก ชงครม.ลงทุน 2 สายในพ.ค.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
9 มีนาคม 2558 18:35 น.



“นายกฯ”เปิดทาง”เจ้าสัวเมืองไทย” เสนอเงื่อนไขลงทุนผุดรถไฟความเร็วสูงเต็มที่ ด้าน“ประจิน”เดินหน้าเจรจา “เจ้าสัวซีพี- ไทยเบฟ-คีรี”ลงทุน 2 สายกรุงเทพ-หัวหิน ,กรุงเทพ-พัทยา เชื่อมเมืองท่องเที่ยวลดแออัดบนถนน เชื่อผู้โดยสารมากพอ คืนทุนหลัง 10 ปี เตรียมสรุปแผน เสนอครม.อนุมัติพ.ค.นี้ ดันประมูลก่อนเลือกตั้ง และเพิ่มลงในแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานไทย เตรียมข้อมูลประชุมร่วมรถไฟไทย-จีน เสนอเงื่อนไขเงินกู้จีนปลอดหนี้ 5-7ปีแรก ระยะเวลาผ่อน 20 ปี

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางเชื่อมต่อกรุงเทพฯกับแหล่งท่องเที่ยว เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา ว่า มีนักลงทุนไทยสนใจ ทั้งบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ กลุ่ม ซีพี และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งกำลังพูดคุยกัน โดยสามารถหาผู้ร่วมลงทุนรวมกลุ่มมา หาแหล่งเงินทั้งในประเทศต่างประเทศแล้วมาเจรจากับรัฐบาลเรื่องสัดส่วนการลงทุน ว่าจะเป็น 70-30 หรือ 50-50 หรือแบ่งปันผลประโยชน์ สัมปทานแต่หลักการจะสรุปภายในปีนี้

ด้านพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างรวบรวมแผนงานโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางคือ กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติในหลักการในเดือนพฤษภาคมนี้ พร้อมกันนี้จะบรรจุโครงการเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 อีกด้วย เนื่องจากโครงการมีความจำเป็นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สร้างโอกาสในด้านการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว โดยเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ช่วยลดปัญหาการจราจรทางถนน ,ลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน, ลดงบประมาณซ่อมบำรุงถนนและลดระยะเวลาในการเดินทาง ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

ทั้งนี้ กลุ่มซี.พี.และไทยเบฟ ได้เข้ามาข้อข้อมูลไปแล้ว ส่วนบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS นั้นได้ส่งหนังสือขอประสานมาแล้วอยู่ระหว่างนัดหารือ โดย 3 กลุ่มจะเป็นผู้รับงานหลัก และหาผู้ร่วมทุนในแต่ละส่วนเข้าร่วม หรือถ้าเป็นไปได้ 3 กลุ่มจะจับมือร่วมกันทำโครงการเพื่อประเทศก็ยิ่งดี

โดยกระทรวงคมนาคมจะเสนอรูปแบบการร่วมลงทุน PPP ซึ่งทำได้ทั้งการเจรจากับผู้สนใจ เหมือนโครงการรถไฟไทย-จีน หรือเปิดประมูลแข่งขันซึ่งจะไม่มีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส โดยคาดว่าจะประมูลกรุงเทพฯ-หัวหิน ได้ก่อนเนื่องจากการร้องเรียนเรื่องการเดินทางไม่สะดวกมาก ดังนั้นเชื่อว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก และทำให้โครงการมีความคุ้มทุน ซึ่งแนวคิดของรัฐบาลเห็นว่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูงยิ่งระยะทางยาว ยิ่งใช้เงินมาก และคืนทุนยาก เพราะเมื่อลงทุนสูงจะกำหนดค่าโดยสารสูงผู้โดยสารจะน้อย ขณะที่หากเน้นเส้นทางที่จะมีผู้โดยสารมาก แบ่งสัดส่วนการลงทุนและการหารายได้ให้เหมาะสมโดยจากเดินรถประมาณ 40% และการบริการที่สถานี,พัฒนาชุมชนใหม่ที่ต่อเนื่องกับสถานีอีก 60% จะคืนทุนได้หลังปีที่ 10 ไปแล้ว

ซึ่งรูปแบบของรถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 เส้นทางจะมีความเร็วมากกว่า 200 กม./ชม.ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของผู้ลงทุน โดยค่าก่อสร้างเบื้องต้นหากความเร็วระหว่าง 200-250 กม./ชม.นั้น จะอยู่ที่ประชุม 350 ล้านบาท/กม. บวกความยากหรือง่ายของการก่อสร้างและขึ้นกับสภาพภูมิประเทศที่เส้นทางผ่าน โดยจะนำข้อมูลที่มีประโยชน์ของผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงเดิม เช่น เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ,กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง มาใช้ร่วมด้วย

“หลักคิดในการลงทุนรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นจะเป็นการเชื่อมเมืองกับชนบทและสร้างเมืองใหม่ พัฒนาท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมควบคู่กันไป ของไทย มี 2 เมืองที่เหมาะสม คือ พัทยาและหัวหิน ที่เมืองมีการพัฒนาทั้งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมแล้ว แต่มีปัญหาการเดินทางเชื่อมต่อไม่สะดวก ใช้รถยนต์มีปัญหาเรื่องอุบัติเหตุ ดังนั้นหลักของไทย คือ เน้นส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ สังคมและท่องเที่ยว ร่วมกัน โดยรัฐบาลตั้งเป้าเปิดประมูลก่อนมีการเลือกตั้ง”

เตรียมเสนอเงื่อนไขเงินกู้จีนปลอดหนี้ 5-7ปีแรก ระยะเวลาผ่อน 20 ปี

และวันนี้ (9 มี.ค.) พล.อ.ประจินได้ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคมนี้ โดยมีการกำหนดรายละเอียดเรื่องรูปแบบความร่วมมือ EPC ,รูปแบบการลงทุน สัดส่วนด้านการเงิน และการฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่จะเจรจากับจีนและตกลงในกรอบเบื้องต้นก่อน โดยรูปแบบการลงทุนและแหล่งเงิน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Civil Work ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า) ด้านระบบรถ การเดินรถและการบำรุงรักษาระบบ (Rolling Stocks/Operation/O&M) ซึ่งภาระงานของแต่ละฝ่ายมีแล้วแต่ยังบอกรายละเอียดสัดส่วนการลงทุนไม่ได้เนื่องจากต้องรอสำรวจออกแบบก่อน ซึ่งตอนนี้ทางจีนเองแม้จะมีความชำนาญด้านการก่อสร้างรถไฟมากแต่ยังไม่กล้าระบุความชัดเจนเนื่องจากมีเรื่องสภาพภูมิประเทศที่เส้นทางตัดผ่านเป็นจุดเสี่ยงที่จะส่งผลต่อวงเงินค่าก่อสร้าง โดยจะมีที่ปรึกษาที่เป็นกลางมาช่วยดู ทั้งภาพรวมโครงการ เรื่องออกแบบ และก่อสร้าง

โดยเรื่องการลงทุนนั้น ข้อเสนอทางการเงินของจีนมี 2 แบบคือ เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน (PBC) อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% บวกค่าธรรมเนียมแล้วจะไม่เกิน 2.37% และเงินกู้เชิงพาณิชย์ (Buyer’s Credit) อัตราดอกเบี้ย 4% บวกค่าธรรมเนียมแล้วจะไม่เกิน 4.25% โดยฝ่ายไทยมีแผนสำรองด้านการเงิน ทั้งกู้ในประเทศ กู้ต่างประเทศ ออกพันธบัตร โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 2.88-4.66% ซึ่งจะเป็นแนวทางใดและสัดส่วนเท่าไรนั้นขึ้นกับการเจรจา เงื่อนไขทางการเงินทั้งอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งโครงการ และระยะเวลากู้ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะจะสามารถใช้ได้ทั้งเงินสกุลหยวน ยูเอสดอลล่าร์ และไทย โดยไทยจะเสนอระยะเวลาปลอดหนี้ระหว่าง 5-7 ปี และผ่อนชำระอีก 20 ปี รวมไม่เกิน 25 ปี โดยฝ่ายจีนจะให้คำตอบในวันที่ 10 มีนาคมนี้

โดยรูปแบบลงทุนจะมีรายละเอียดภายในเดือนมีนาคม-เมษายนนี้แน่นอน ส่วนสัญญาก่อสร้างช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. และช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม. จะเริ่ม ในเดือนกันยายน 58 ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. เริ่มในเดือนธันวาคม 58 ซึ่งตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ คณะสำรวจออกแบบของจีนจำนวน 20 คนได้เดินทางมาถึงไทยแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมและเริ่มสำรวจออกแบบในมีนาคมนี้แน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 7:16 pm    Post subject: Reply with quote

'ประจิน'ถกรถไฟไทย-จีนครั้งที่3
ข่าวเศรษฐกิจ
INN News
วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2558 10:42น.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นั่งประธานฝ่ายไทย ถกรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 3
บรรยากาศความเคลื่อนไหวที่กระทรวงคมนาคมในเช้านี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม มีกำหนดการเป็นประธานฝ่ายไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงการรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 3 ณ อาคารสโมสรกระทรวงคมนาคม โดยการประชุมในวันนี้เป็นการประชุมถึงความคืบหน้าของโครงการฯ ร่วมกัน 2 ฝ่ายในการลงนามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างไทย-จีน หรือ MOC ในการฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยี

ทั้งนี้ สำหรับประเด็นที่สำคัญในการหารือคือรูปแบบของความร่วมมือในรายละเอียด แบบ EPC หรือ ระบบการก่อสร้างแบบเบ็ดเสร็จ รูปแบบความร่วมมือด้านการลงทุนและการเงิน และสุดท้ายจะเป็นแผนการฝึกอบรบการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาบุคลากร

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้แทนจากฝ่ายไทยและฝ่ายจีนได้เดินทางมาเข้าร่วมประชุมแล้ว ด้านสื่อมวลชนจากสำนักต่างๆ ก็ได้ทยอยเดินทางติดตามความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง

//-------------

รมว.คมนาคม ถกกรอบรูปแบบลงทุน-ความร่วมมือรถไฟไทย-จีน 10-11 มี.ค.

ข่าวเศรษฐกิจ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
-- อังคารที่ 10 มีนาคม 2558 08:59:30 น.
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม ได้ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคมนี้ โดยมีการกำหนดรายละเอียดเรื่องรูปแบบความร่วมมือ EPC ,รูปแบบการลงทุน สัดส่วนด้านการเงิน และการฝึกอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยี ที่จะเจรจากับจีนและตกลงในกรอบเบื้องต้นก่อน โดยรูปแบบการลงทุนและแหล่งเงิน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Civil Work ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า) ด้านระบบรถ การเดินรถและการบำรุงรักษาระบบ (Rolling Stocks/Operation/O&M) ซึ่งภาระงานของแต่ละฝ่ายมีแล้วแต่ยังบอกรายละเอียดสัดส่วนการลงทุนไม่ได้เนื่องจากต้องรอสำรวจออกแบบก่อน ซึ่งตอนนี้ทางจีนเองแม้จะมีความชำนาญด้านการก่อสร้างรถไฟมากแต่ยังไม่กล้าระบุความชัดเจนเนื่องจากมีเรื่องสภาพภูมิประเทศที่เส้นทางตัดผ่านเป็นจุดเสี่ยงที่จะส่งผลต่อวงเงินค่าก่อสร้าง โดยจะมีที่ปรึกษาที่เป็นกลางมาช่วยดู ทั้งภาพรวมโครงการ เรื่องออกแบบ และก่อสร้าง

ส่วนเรื่องการลงทุนนั้น ข้อเสนอทางการเงินของจีนมี 2 แบบคือ เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน (PBC) อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 2% บวกค่าธรรมเนียมแล้วจะไม่เกิน 2.37% และเงินกู้เชิงพาณิชย์ (Buyer’s Credit) อัตราดอกเบี้ย 4% บวกค่าธรรมเนียมแล้วจะไม่เกิน 4.25%

ทั้งนี้ฝ่ายไทยมีแผนสำรองด้านการเงิน ทั้งกู้ในประเทศ กู้ต่างประเทศ ออกพันธบัตร โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 2.88-4.66% ซึ่งจะเป็นแนวทางใดและสัดส่วนเท่าไรนั้นขึ้นกับการเจรจา เงื่อนไขทางการเงินทั้งอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งโครงการ และระยะเวลากู้ รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะจะสามารถใช้ได้ทั้งเงินสกุลหยวน ยูเอสดอลล่าร์ และไทย โดยไทยจะเสนอระยะเวลาปลอดหนี้ระหว่าง 5-7 ปี และผ่อนชำระอีก 20 ปี รวมไม่เกิน 25 ปี โดยฝ่ายจีนจะให้คำตอบในวันที่ 10 มีนาคมนี้

โดยรูปแบบลงทุนจะมีรายละเอียดภายในเดือนมีนาคม-เมษายนนี้แน่นอน ส่วนสัญญาก่อสร้างช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กม. และช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กม. จะเริ่ม ในเดือนกันยายน 58 ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กม. และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. เริ่มในเดือนธันวาคม 58 ซึ่งตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ คณะสำรวจออกแบบของจีนจำนวน 20 คนได้เดินทางมาถึงไทยแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมและเริ่มสำรวจออกแบบในมีนาคมนี้แน่นอน

อินโฟเควสท์ โดย คคฦ/เสาวลักษณ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq03/2111028
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 11:16 pm    Post subject: Reply with quote

คนเมืองเพชรบูรณ์ ต้องการให้มีทางรถไฟผ่าน - อาการ Field of Dreams Syndrome กำเริบใจแท้ๆ เลยหละซ

ชาวเพชรบูรณ์ผลักดันสร้างทางรถไฟผ่านจว.


โพสเมื่อ: วันจันทร์ 9 มีนาคม 2558
ชาวเพชรบูรณ์ผลักดันสร้างทางรถไฟผ่านจังหวัด ทำสื่อรณรงค์หลากหลาย แจงเหตุผลคุ้มค่าต่อการลงทุน

หลังจากทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างให้บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ สำรวจความเหมาะสม เพื่อเป็นเส้นทางเลือกก่อสร้างเส้นทางรถไฟระหว่างสายจัตุรัส ชัยภูมิ เลย หนองบัวลำภู หรือ “สายลำนารายณ์-เพชรบูรณ์-เลย-หนองบัวลำภู” พร้อมมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นชาวเพชรบูรณ์ไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น ล่าสุด ชาวเพชรบูรณ์ได้มีการรณรงค์เคลื่อนไหว เพื่อผลักดันให้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย พิจารณาเลือกก่อสร้างเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ โดยมีการจัดทำป้ายแบนเนอร์ ทำสปอตประชาสัมพันธ์ พร้อมแต่งเพลงคนเพชรบูรณ์ต้องการรถไฟ เผยแพร่ และยังมีการใช้เฟซบุ๊กชี้แจงและสนับสนุนถึงเหตุผลด้านความเหมาะสม ตั้งแต่ความคุ้มค่าทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การเชื่อมโยงกับ AEC และยังเป็นการกระจายโอกาสให้แก่ชาวเพชรบูรณ์ที่ยังไม่มีเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์

นอกจากนี้ยังชี้ด้วยว่า จำนวนผู้โดยสารทั้งชาวเพชรบูรณ์และนักท่องเที่ยวจะใช้บริการรถไฟแบบ 100% หากเทียบเคียงกับจังหวัดชัยภูมิซึ่งผู้ใช้บริการน้อยกว่า เนื่องจากปัจจุบันมีเส้นทางรถไฟผ่านอยู่แล้วถึง 4 อำเภอ และหากเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ถูกก่อสร้างขึ้น ด้วยสภาพภูมิประเทศก็จะเอื้อให้เป็นเส้นทางรถไฟที่สวยที่สุดในประเทศอีกด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=nwhjMy6NVeU&feature=player_detailpage
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1066865236673376&set=a.100247576668485.361.100000497284129&type=1&theater


เหตุผลที่ควรจะสร้างทางรถไฟไปเพชรบูรณ์
https://wisonk.wordpress.com/2014/12/05/328/
https://www.youtube.com/watch?v=wB68v7QJjaM

ชาวเพชรบูรณ์ผลักดันสร้างทางรถไฟผ่านจว.
ข่าวภูมิภาค
INN News
วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2558 16:33น.
ชาวเพชรบูรณ์ผลักดันสร้างทางรถไฟผ่านจังหวัด ทำสื่อรณรงค์หลากหลาย แจงเหตุผลคุ้มค่าต่อการลงทุน



หลังจากทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างให้บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ สำรวจความเหมาะสม เพื่อเป็นเส้นทางเลือกก่อสร้างเส้นทางรถไฟระหว่างสายจัตุรัส ชัยภูมิ เลย หนองบัวลำภู หรือ “สายลำนารายณ์-เพชรบูรณ์-เลย-หนองบัวลำภู” พร้อมมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นชาวเพชรบูรณ์ไปก่อนหน้านี้แล้วนั้น ล่าสุด ชาวเพชรบูรณ์ได้มีการรณรงค์เคลื่อนไหว เพื่อผลักดันให้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย พิจารณาเลือกก่อสร้างเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ โดยมีการจัดทำป้ายแบนเนอร์ ทำสปอตประชาสัมพันธ์ พร้อมแต่งเพลงคนเพชรบูรณ์ต้องการรถไฟ เผยแพร่ และยังมีการใช้เฟซบุ๊กชี้แจงและสนับสนุนถึงเหตุผลด้านความเหมาะสม ตั้งแต่ความคุ้มค่าทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การเชื่อมโยงกับ AEC และยังเป็นการกระจายโอกาสให้แก่ชาวเพชรบูรณ์ที่ยังไม่มีเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์

นอกจากนี้ยังชี้ด้วยว่า จำนวนผู้โดยสารทั้งชาวเพชรบูรณ์และนักท่องเที่ยวจะใช้บริการรถไฟแบบ 100% หากเทียบเคียงกับจังหวัดชัยภูมิซึ่งผู้ใช้บริการน้อยกว่า เนื่องจากปัจจุบันมีเส้นทางรถไฟผ่านอยู่แล้วถึง 4 อำเภอ และหากเส้นทางรถไฟผ่านเพชรบูรณ์ถูกก่อสร้างขึ้น ด้วยสภาพภูมิประเทศก็จะเอื้อให้เป็นเส้นทางรถไฟที่สวยที่สุดในประเทศอีกด้วย

นี่ครับเอกสารของ รฟท. ที่ว่านี้
http://www.railway.co.th/auction/system/download/2557/N2014796761.pdf


Last edited by Wisarut on 11/03/2015 2:31 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/03/2015 11:31 pm    Post subject: Reply with quote

“ประจิน”ควง'จีน'ลงหนองคาย
วันอังคาร 10 มีนาคม 2558 เวลา 19:35 น.

ออกสำรวจพื้นที่ก่อสร้างรถไฟกึ่งเร็วสูงไทย-จีน ครั้งแรก พร้อมแบ่งสัดส่วนลงทุน ขณะที่ ครม.ทบทวนแผนเจรจา เดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 11 มี.ค.นี้ คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน จะเดินทางไปประชุมความร่วมมือครั้งที่ 3 จ.หนองคาย พร้อมกับลงพื้นที่ เพื่อเยี่ยมชมการก่อสร้างสะพานสำหรับรถไฟแห่งใหม่ เพื่อเชื่อมทางรถไฟระหว่างหนองคาย-เวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะใช้สำรวจก่อสร้างรถไฟกึ่งความเร็วสูงไทย-จีนด้วย ขณะเดียวกันจะลงนามบันทึกการประชุมด้วย

ส่วนการประชุมความร่วมมือรถไฟไทย-จีน เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมาได้ ที่ประชุมได้สรุปรูปแบบการลงทุนจะใช้แบบอีพีซี โดยรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของโครงการ ส่วนจีนจะออกแบบ จัดหาระบบและก่อสร้าง จัดหาเครื่องมือและส่งเจ้าหน้าที่พิเศษลงพื้นที่ โดยแบ่งความรับผิดชอบให้ฝ่ายไทยดูแลเรื่องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม การเวนคืนที่ดินเพื่อสนับสนุนการสำรวจของฝ่ายจีนและจุดแนวที่จะวางสถานี ส่วนจีนจะสำรวจออกแบบและจัดเครื่องมือและเจ้าหน้าที่พิเศษลงพื้นที่ และเดินหน้าตามแผนเดิมเริ่มก่อสร้าง ช่วงแรกเดือนต.ค.นี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม กล่าวว่า การจัดหาแหล่งเงินเพื่อก่อสร้างจะระดมทุนหลายรูปแบบ การเวนคืนที่ดินจะใช้เงินงบประมาณรัฐบาล การก่อสร้างจะใช้เงินกู้ภายในประเทศ ระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้าเทคโนโลยีจะใช้เงินกู้จากจีน เพราะต้องสั่งซื้อสินค้าจากจน และจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ส่วนเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้จากจีน ไทยได้ข้อ 2% แต่ขอขยายเวลาผ่อนชำระหนี้คืน จากเดิมที่จีนเสนอ 20 ปี ปลอดหนี้ 5–7 ปี ไปเป็นขอใช้คืน 25–30 ปี ปลอดหนี้ 7–10 ปี รวมทั้งขอลดค่าธรรมเนียมการกู้และค่าทำสัญญาเงินกู้ แต่รายละเอียดของวงเงินกู้ และสัดส่วนการลงทุนจะรู้ชัด ต้องรอการสำรวจ และสรุปแบบก่อสร้างในเดือน ส.ค.นี้

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ที่ประชุม ครม.วันที่ 10 มี.ค.มีมติให้ทบทวนการเจรจาเอกชนรายเดิม เข้ามาเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค โดยให้คงตามมติครม.เดิมปี 53 คือเป็นการให้เอกชนร่วมทุนแบบการลงทุนแบบเอกชนร่วมทุน (พีพีพี กรอสส์ คอสต์) โดยรัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง โดยมีรัฐเป็นผู้จ่ายค่าจ้างเดินรถ พร้อมกับให้กระทรวงคมนาคมไปพิจารณาทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนเอกชนปี 35 โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 13 เป็นผู้พิจารณาว่าจะเปิดประมูลใหม่ หรือ เรียกเอกชนที่เดินรถรายเดิมคือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล เข้ามาเจรจา ซึ่งแนวทางคณะกรรมการมาตรา 13 จะต้องเร่งสรุปโดยเร็ว

คมนาคม เริ่มสำรวจ-เตรียก่อสร้าง รถไฟฟ้า กรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด มี.ค.นี้
โดย เมธา สกาวรัตน์
ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ
วันอังคารที่ 10 มีนาคม 2015 เวลา 19:33 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การประชุมร่วมไทย-จีน เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า ครั้งที่ 3 ได้หารือเกี่ยวกับการขอกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 20 ปี แต่ไทยได้ขอขยายเวลาการชำระหนี้ออกไปเป็น 30 ปี และยังขอขยายเวลาปลอดดอกเบี้ยให้มากกว่า 7 ปี โดยการประชุมในครั้งต่อไปจะหารือเกี่ยวกับวงเงินลงทุน สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าเส้นทาง กรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด โดยกระทรวงคมนาคมจะเริ่มสำรวจและเตรียมแผนก่อสร้างในเดือนมีนาคมนี้ และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างแบบรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ได้ในเดือนตุลาคมปี 58 นี้ และการประชุมตั้งต่อไปจะหารื่อร่วมกันเพิ่มเติมอีกหลายด้าน

ไทยขอจีนขยายระยะเวลาเงินกู้รถไฟทางคู่
by Phakaphong Udomkalayalux
Voice TV
10 มีนาคม 2558 เวลา 18:27 น.

กระทรวงคมนาคม หารือการก่อสร้างรถไฟทางคู่ไทย-จีน เบื้องต้นไทยเสนอให้จีนขยายเวลาเงินกู้และการปลอดหนี้ คาดจะเริ่มระยะที่ 1 ในเดือนตุลาคมนี้ ส่วนการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยผลการประชุมร่วมครั้งที่ 3 ระหว่างไทยและจีน ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทาง หนองคาย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กิโลเมตร เบื้องต้นยืนยันรูปแบบการลงทุน EPC

ส่วนการเดินรถจะเป็นบริษัทร่วมทุนของ 2 ประเทศ โดยจะใช้งบประมาณแผ่นดิน เงินกู้ในประเทศ รวมทั้งเงินกู้และเทคโนโลยีของจีน โดยไทยได้ขอทางการจีน เสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษ แม้ในกฎหมายจีนถือว่าเงินกู้ต่างประเทศ สำหรับโครงสร้างพื้นฐานต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 การขยายเวลาเงินกู้จาก 20 ปี เป็น 25-30 ปี และการปลอดหนี้ระยะเวลา 5-7 ปี เป็น 7-10 ปี และขอลดค่าบริหารจัดการกับค่าทำสัญญาเงินกู้ ร้อยละ 0.5 รวมทั้งการใช้กฎหมายของไทย

ทั้งนี้ จะมีการประชุมร่วม และการลงพื้นที่ก่อสร้างจังหวัดหนองคาย ในวันพรุ่งนี้ (11 มี.ค.) และจะมีการประชุมอีกครั้งในเดือนเมษายน - พฤษภาคมนี้ เพื่อให้เริ่มการก่อสร้างในเดือนตุลาคมปีนี้ ระยะเวลาก่อสร้าง 30 เดือน ส่วนระยะที่ 3 และ 4 จะเริ่มก่อสร้างต้นปี 2559 ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน

ส่วนการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ของ รฟม. ซึ่งเดิมจะเจรจาตรงกับเอกชนรายเดิมที่เดินรถ แต่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (10 มี.ค.) ให้ใช้ตามมติคณะรัฐมนตรีปี 2553 และพ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ.2535 แทน แม้จะทำให้โครงการล่าช้าจากปี 2561 แต่จะพยายามเปิดเดินรถให้เร็วที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 34, 35, 36 ... 121, 122, 123  Next
Page 35 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©