RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180411
ทั้งหมด:13491645
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกเรื่องสะพานข้ามห้วยมวกเหล็ก บนเส้นทางสายอิสาน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกเรื่องสะพานข้ามห้วยมวกเหล็ก บนเส้นทางสายอิสาน
Goto page 1, 2, 3  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 14/04/2015 8:42 pm    Post subject: บันทึกเรื่องสะพานข้ามห้วยมวกเหล็ก บนเส้นทางสายอิสาน Reply with quote

สะพานข้ามห้วยมวกเหล็ก ตั้งอยู่ที่ กม.152+713 บนเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างสถานีมวกเหล็กกับสถานีกลางดง และเนื่องจากห้วยมวกเหล้กนี้เป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี กับ อ.ปากช่อง จ.นตรราชสีมา มีความยาวของสะพาน 37.50 เมตร ดังนั้นสะพานช้ามห้วยมวกเหล็กนี้จึงเป็นสะพานที่เชื่อมต่อทางรถไฟระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย Wink

สำหรับรูปแบบของสะพานข้ามห้วยมวกเหล็กนี้ ปัจจุบันเป็นสะพานเหล็กแบบโครงขึ้น (Through Truss) ที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่เมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา ก่อนหน้านั้นสะพานแห่งนี้เป็นสะพานเหล็กแบบโครงล่าง (Deck Truss) และแม้ว่ารูปแบบสะพานในปัจจุบันจะดูเหมือนกับสะพานโครงขึ้นทั่วไปที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่ แต่ก็มีอะไรบางอย่างที่แตกต่างกันออกไปที่น่าสนใจซึ่งผมจะได้นำมาเสนอต่อไป ก่อนอื่นเรามาเริ่มย้อนอดีตสะพานแห่งนี้กันก่อนนะครับ

ทางรถไฟช่วงที่พาดข้ามห้วยมวกเหล็กนี้ เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2442 จากการเปิดการเดินรถช่วง มวกเหล็ก-ปากช่อง น่าสนใจตรงที่ว่าแรกเริ่มนั้นสะพานมีรูปแบบอย่างไร ซึ่งมีภาพถ่ายเก่าที่มีการระบุว่าถ่ายเมื่อปี 2444 แสดงให้เห็นรูปแบบว่าเป็นสะพานแบบโครงล่าง (Deck Truss) ก็ทำให้เชื่อได้ว่าสะพานแห่งนี้น่าจะเป็นสะพานแบบโครงล่างมาตั้งแต่แรก
Click on the image for full size
(ขออภัยที่ผมจำที่มาของภาพนี้ไม่ได้ครับ)
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 14/04/2015 8:53 pm    Post subject: Reply with quote

สิ่งที่น่าสนใจต่อมาก็คือสะพานที่เห็นในภาพถ่ายเก่านั้นเป็นสะพานตัวเดียวกับสะพานที่เพิ่งถูกเปลี่ยนออกไปเมื่อปี 2556 หรือไม่ เพราะโครงสร้างสะพานมีหน้าตาเหมือนกัน แต่เมื่อสังเกตรายละเอียดบางอย่างก็มีความแตกต่างกันบ้าง

จากภาพถ่ายสะพานเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2555
Click on the image for full size
จะเห็นว่าสะพานในภาพหลังนี้มีแผ่นเหล็กยึดอยู่ตรงจุดที่โครงเหล็กแนวตั้งและแนวเฉียงยึดกับโครงเหล็กแนวนอน ซึ่งมองไม่เห็นในภาพเก่า
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 14/04/2015 9:06 pm    Post subject: Reply with quote

นอกจากนั้น คุณเต้ย (ExtendeD) ได้เคยสำรวจสะพานแห่งนี้เมื่อปี 2551 จากกระทู้ นั่งรถไฟ. . .ไปดูสะพานสายอีสาน ปิดฉากสะพานใต้ ได้พบหลักฐานบางอย่าง ได้แก่

รอยจารึกที่คอนกรีตคอสะพาน ระบุวันที่ 19 มกราคม 2501 ซึ่งน่าจะหมายถึงวันที่การปรับปรุงคอสะพานแล้วเสร็จ
Click on the image for full size

และ nameplate ที่คานรองหมอน ซึ่งระบุปี 2502
Click on the image for full size

Click on the image for full size

Question
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 14/04/2015 9:24 pm    Post subject: Reply with quote

และจากภาพถ่ายที่ผมเคยบันทึกไว้ พบข้อสังเกตบางอย่างจากสะพานโครงล่างตัวเดิม ได้แก่การมีหมุดยึดกับโครงเหล็กถี่กว่าปกติ กับลักษณะของโครงสะพานที่มีเหล็กประกบทับ

ภาพนี้สังเกตว่าจะมีการยึดหมุดติดอยู่ที่โครงสะพานค่อนข้างถี่
Click on the image for full size

ภาพนี้จะเห็นการประกบเหล็กที่โครงสร้างสะพาน
Click on the image for full size

จากการที่ผมได้เห็นการปรับปรุงสะพานเหล็กเก่าหลายแห่งที่ยังมีโครงสร้างแข็งแรงให้สามารถรองรับพิกัดน้ำหนักได้สูงขึ้น ทำให้ผมเชื่อว่าสะพานโครงล่าง ข้ามห้วยมวกเหล็กตัวเก่านั้น เป็นสะพานเดียวกับที่ปรากฏในภาพถ่ายเก่า เพียงแต่ได้รับการปรับปรุงเมื่อปี 2502 ให้สามารถรองรับพิกัดน้ำหนักรถไฟได้สูงขึ้น โดยโครงสร้างหลักได้รับการประกบเหล็กเพื่อเพิ่มพื้นที่หน้าตัดให้สามารถรับแรงได้มากขึ้น ทำให้ต้องมีการยึดหมุดเพิ่มที่โครงสะพาน ส่วนโครงสะพานที่อยู่ใต้หมอนซึ่งมี nameplate ระบุปี 2502 น่าจะเป็นส่วนที่ได้รับการเปลี่ยนใหม่เพียงส่วนเดียว ไม่ได้เปลี่ยนสะพานทั้งหมดครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 14/04/2015 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

ต่อไปเราก็จะมาดูการเปลี่ยนแปลงสะพานโครงล่างเป็นสะพานโครงขึ้นกับวิธีการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมที่ไม่พบในสะพานแห่งอื่นครับ

เริ่มจากภาพสะพานเก่าแบบเดิมๆที่ชออนุญาตใช้ภาพที่คุณเต้ยถ่ายไว้นะครับ

ถ่ายภาพหันหน้าไปทางปากช่อง
Click on the image for full size

ถ่ายภาพหันกลับมาทางมวกเหล็ก
Click on the image for full size


มุมมองจากบนรถไฟ มองมาทางสถานีมวกเหล็ก
Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 14/04/2015 9:46 pm    Post subject: Reply with quote

สำหรับการเปลี่ยนสะพานนั้น ครั้งแรกผมก้ไม่ได้คิดว่าจะมีการพลิกเปลี่ยนรูปแบบสะพานจากสะพานโครงล่าง มาเป็นสะพานโครงขึ้น เพราะสะพานโครงล่างจะมีบ่ารองรับตัวสะพานค่อนข้างลึก ซึ่งในกรณีของสะพานข้ามห้วยมวกเหล็นี้ บ่ารองโครงสร้างสะพานอยู่ลึกลงไปเกือบ 5 เมตร ในขณะที่สะพานโครงขึ้น บ่ารองจะอยู่ลึกประมาฯเมตรเศษๆเท่านั้น ซึ่งเมื่อผมเห็นการปรับปรุงในช่วงแรกก็เห็นแต่การปรับปรุงคอสะพานเดิมเท่านั้น ไม่ได้ทำคอสะพานใหม่แต่อย่างใด
Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 14/04/2015 9:51 pm    Post subject: Reply with quote

แต่เมื่อได้ผ่านไปอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2556 ก็พบว่า สะพานกำลังจะถูกเปลี่ยนเป็นสะพานโครงขึ้น แต่ตอนนั้นก็ยังไม่ได้นึกเอะใจสงสัยอะไร
Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 14/04/2015 9:57 pm    Post subject: Reply with quote

หลังจากนั้น ในวันที่ 8 มิถุนายน 2556 ผมได้กลับไปที่มวกเหล็กเพื่อทำการสำรวจสะพานจากภาคพื้นดิน ก็เลยได้เห็นอะไรที่แปลกตาออกไป นั่นคือโครงที่สร้างเสริมลงไปด้านล่างของสะพานตัวใหม่สำหรับรองรับตัวสะพาน
Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 14/04/2015 10:07 pm    Post subject: Reply with quote

โครงเหล็กด้านล่างนี้ ปกติเราจะไม่พบในสะพานโครงขึ้นตัวอื่น ซึ่งตัวสะพานจะวางลงบนบ่าลึกลงไปราวเมตรเศษๆเท่านั้น แต่เนื่องจากสะพานโครงขึ้นข้ามห้วยมวกเหล็กตัวใหม่นี้ จะใช้คอสะพานเคิมของสะพานโครงล่างที่มีความลึกเกือบ 5 เมตร ทำให้ต้องสร้างโครงเสริมด้านล่างมารองรับตัวสะพาน Arrow ผมเข้าใจว่าที่เลือกใช้วิธีนี้จะสะดวกและประหยัดเวลากว่าการสร้างคอสะพานขึ้นใหม่ เพราะเส้นทางช่วงดังกล่าวมีการเดินรถหนาแน่น อีกทั่งระดับคันทางอยู่สูงจากลำห้วยมาก ไม่สะดวกในการทำงาน โดยเฉพาะช่วงเปลี่ยนสะพาน แต่วิธีนี้สามารถใช้รางเลื่อนชุดเดียวกันเลื่อนเปลี่ยนสะพานได้เลย
Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Nakhonlampang
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 29/03/2006
Posts: 3291
Location: เสนานิคม1-คลองหลวง

PostPosted: 14/04/2015 10:15 pm    Post subject: Reply with quote

เนื่องจากผมไม่ทราบว่าจะมีการเปลี่ยนสะพานวันไหน จึงขอนำเสนอภาพการเตรียมการก่อนการเปลี่ยนสะพานและภาพสะพานที่เปลี่ยนใหม่เสร็จสมบูรณืแล้วมานำเสนอนะครับ Wink

ภาพนี้จะเห็นร่องรอยการตัดเหล็กโครงสะพานเก่า ผมไม่แน่ใจว่าคอนกรีตคอสะพานน่าจะหนากว่าเดิมหรือเปล่านะครับ เลยทำให้ต้องตัดปลายสะพานออกเล็กน้อย
Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงสร้างทางวิศวกรรมที่เกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page 1, 2, 3  Next
Page 1 of 3

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©