RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181432
ทั้งหมด:13492670
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าว รฟท จาก หนังสือพิมพ์
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 253, 254, 255 ... 471, 472, 473  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 15/05/2015 8:45 pm    Post subject: Reply with quote

unique wrote:
เท่าที่สังเกตลักษณะโครงหน้าเจ้า+หลังคาโค้ง SDA4
ถ้าเปลี่ยนตะแกรงช่องลมใต้กระจกเป็นแบบเดี่ยวกับHenschel
ถ้าปรับโคมไฟหน้าด้านบนเป็นแบบยื่น อาจจะไม่เป็นรูปวงกลม ผมเชื่อว่าหลายๆคนชอบความมีเสน่ห์ของโคมไฟบนแบบยื่น
ถ้าใส่แถบทองเหลืองรูปตัวVด้านหน้า และเเถบด้านข้าง ถ้าเปลี่ยนเป็นอะลูมิเนียมเหมือนฮิตาชิ6XX ดูตัดกับสีเหลืองด้านหน้าไม่ถูกสีเหลืองกลืน เก๋อีกแบบ
กระจกเป็นแบบใช้ยางขอบนูน ผมว่าใกล้เคียงกับ Henschel นะครับ


ดูข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้องกะรถจักร SDA-4 ของ CSR-Zhiyang (南车资阳) ที่ TPI สั่งมาใช้ที่นี่
http://www.csrgc.com.cn/g1924/s4529/t253051.aspx
http://www.csrgc.com.cn/zy/tabid/1924/sourceId/4562/infoid/252819/Default.aspx
http://www.csrgc.com.cn/zy/tabid/1924/sourceId/4562/infoid/252818/Default.aspx
http://www.csrgc.com.cn/zy/tabid/1924/sourceId/4562/infoid/252816/Default.aspx
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/05/2015 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มสร้างแล้วสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ฝั่งไทย กำหนดแล้วเสร็จปลายปีนี้
ทีมงานบ้านเรา กิมหยงดอทคอม 16 พ.ค. 58

เริ่มก่อสร้างแล้วครับสำหรับโครงการสร้างสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ฝั่งไทย เพืออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารเพราะปัจจุบันคนไทยที่ใช้บริการรถไฟเดินทางมาหาดใหญ่หรือไปไหนต้องไปขึ้นหรือลงรถที่สถานีปาดังเบซาร์ ฝั่งประเทศมาเลเซีย

ตอนนี้มาเลเซีย สร้างรถไฟรางคู่มาถึงฝั่งไทยแล้วและสร้างแถมมาถึงเขตปาดังเบซาร์ด้วย ขณะที่บ้านเราก็กำลังสร้างอยู่เช่นกันแต่เป็นการสร้างสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ฝั่งไทย ต่อไปจะทำให้การเดินทางไปปาดังเบซาร์ทำได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันต้องมีหนังสือเดินทางครับถึงจะใช้บริการสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ได้

ชาวบ้านแถบนี้เขาบอกว่าแต่ก่อนคนไทยก็ไปขึ้นรถไฟที่สถานีปาดังได้ปกติแต่อยู่เมื่อมีการแบ่งเขตแดนใหม่สถานีรถถกลับอยู่เขตมาเลเซียเต็มพื้นที่ทำให้ฝั่งไทยไม่มีรถไฟมาหลายปีแล้ว ล่าสุดในสมัยผู้ว่าฯ กฤษฎา ท่านได้ผลักดันให้มีการสร้างสถานีรถไฟฝั่งไทยขึ้นและกำลังดำเนินการสร้างแล้วเสร็จในปลายนี้

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2015 1:37 am    Post subject: Reply with quote

ปัดฝุ่นตั้งโรงซ่อมศรีราชา - ร.ฟ.ท.ยกเครื่องใหญ่/เล็งเพิ่มศูนย์ธุรกิจ/รับเดินรถสายสีแดง

โดย กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
อสังหา REAL ESTATE - คอลัมน์ : อสังหาฯ-คมนาคม
วันศุกร์ที่ 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 09:57 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,051 วันที่ 10 - 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ร.ฟ.ท. เดินหน้าจัดทำแอกชันแพลนตามแผนฟื้นฟู เตรียมยกเครื่องการบริการด้วยรูปแบบสมาร์ท สเตชั่น พร้อมเช่าหัวรถจักร 20 คัน เพิ่มบียูรถไฟสายสีแดง ด้านบริหารทรัพย์สินปรับใหม่เน้นแปลงใหญ่ลดแปลงย่อย ล่าสุดครม.อนุมัติประมูลรถไฟทางคู่เส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่นแล้ว
แหล่งข่าวระดับสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าหลังจากการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการ(Action Plan) ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปี 2558-2559 ใน 7 ยุทธศาสตร์ตามแผนฟื้นฟู ซึ่งกำหนดให้แต่ละหน่วยนำเสนอเพื่อรวบรวมให้นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าร.ฟ.ท.พิจารณานั้น โดยประเด็นหลักมีนโยบายเร่งปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและการกำหนดกรอบอัตรากำลังเพื่อยกระดับการบริการ โดยเฉพาะแผนการปรับโครงสร้างใหม่ให้สอดรับกับปัจจุบันและมีความคล่องตัวมากขึ้น จากที่ปัจจุบันมีอัตราบุคลากรอยู่เกือบ 1.5 หมื่นคน
3701 "หนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญและสามารถพลิกภาพลักษณ์ ร.ฟ.ท.ก็คือ การจัดทำขบวนรถตัวอย่างออกให้บริการในรูปแบบสมาร์ท สเตชันที่ร.ฟ.ท.มีแผนพัฒนาแต่ละสถานีให้สอดคล้องกับการพัฒนาในปัจจุบันที่เน้นความทันสมัยด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เช่นเดียวกับแผนการใช้ขบวนรถ 115 คันที่จะทยอยรับมอบตั้งแต่เมษายน 2559 และจะเริ่มให้บริการในเดือนกรกฎาคม 2559 ต้องชัดเจนว่าจะนำไปใช้เพื่องานอะไรบ้าง อีกทั้งการพัฒนาขบวนรถให้รองรับการท่องเที่ยวก็จะดำเนินการในเส้นทางท่องเที่ยวให้มากขึ้น สะอาดและตรงต่อเวลา"
นอกจากนี้ยังเร่งเดินหน้าแผนการเช่าหัวรถจักรขนาด 20 ตัน/เพลาเพื่อนำไปใช้งานด้านการขนส่งสินค้าเป็นหลัก นอกเหนือจากที่ปัจจุบันร่วมกับภาคเอกชนอย่างปูนซิเมนต์ไทย เบียร์ช้าง ฯลฯ จัดซื้อรถแล้วโอนให้ร.ฟ.ท.บริหารจัดการโดยหักค่าระวางเป็นการแลกเปลี่ยนกับการลงทุน ซึ่งร.ฟ.ท.ได้หัวรถจักรเพิ่มส่วนภาคเอกชนได้ความแน่นอนของการขนส่งสินค้า โดยแผนการซ่อมบำรุงหัวรถจักรต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเดินรถอีกด้วย
ด้านแผนการซ่อมบำรุงต่างๆต้องชัดเจน ต่อนี้ไปต้องมีกรอบดำเนินการแต่ละรายการชัดเจน ประเด็นสำคัญยังนำเสนอให้มีการปัดฝุ่นโครงการก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงรถจักรที่ศรีราชาและลาดกระบังที่อนุมัติให้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินการ เช่นเดียวกับต่อจากนี้ไปแผนการจัดทำคู่มือการบำรุงรักษาทางโครงสร้างหมอนคอนกรีตและราง ตลอดจนประแจต่างๆก็ต้องมีแผนปฏิบัติที่ชัดเจน ตลอดจนการจัดทำฐานระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อใช้ในการบำรุงรักษาทางอย่างเป็นมาตรฐานจริงๆ เพื่อให้คนรุ่นต่อไปสามารถนำไปดำเนินการต่อเนื่องกันไปได้
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ร.ฟ.ท.ยังมีนโยบายยกระดับองค์กรด้านการบริหารทรัพย์สินโดยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพย์สินรายการหลักมากขึ้น และลดรายย่อยพร้อมกับเพิ่มพื้นที่ใหม่มากขึ้น ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ตามแนวรถไฟสายสีแดงให้เกิดมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังมีนโยบายเพิ่มแรงจูงใจให้กับผู้ปฏิบัติงานในหลายด้านอีกด้วยเนื่องจากปัจจุบันอัตราบุคลากรมีจำกัดแต่ปริมาณงานกลับมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
"จะให้มีการจัดตั้งหน่วยธุรกิจ(BU)รถไฟฟ้าและศูนย์พัฒนาบุคลากรพัฒนาระบบรถไฟฟ้าเพื่อรองรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง นอกจากนั้นร.ฟ.ท.ยังเร่งศึกษาทบทวนผลการศึกษาการจัดตั้งศูนย์กองเก็บสินค้า(CY) ตลอดจนศูนย์กระจายสินค้า (ICD) ว่าจะดำเนินการในพื้นที่ใดบ้างจากที่ตามแผนเดิมกำหนดไว้ 3 พื้นที่คือ ทับยาว (กม. 35 สายตะวันออก) องครักษ์ และไอซีดี 2 ลาดกระบัง"
ทั้งนี้ล่าสุดคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้อนุมัติให้เปิดประมูลก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่เส้นทางชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น วงเงินประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาทแล้ว ซึ่งต่อจากนี้ร.ฟ.ท.จะต้องเร่งประกาศทีโออาร์โดยเร็วต่อไป
"จะเน้นกู้เงินภายในประเทศไปดำเนินการตามมติครม. ซึ่งโครงการดังกล่าวมีความคุ้มค่าด้านการลงทุน ช่วยเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้มากขึ้นร.ฟ.ท.จึงต้องเดินหน้าต่อไปหลังจากที่ล่าช้ามานาน ขณะนี้ทีโออาร์เตรียมไว้พร้อมแล้วเนื่องจากมีประสบการณ์จากกรณีทีโออาร์โครงการก่อสร้างทางคู่ เส้นทางคลองสิบเก้า-แก่งคอยมาแล้ว จึงน่าจะดำเนินการประมูลได้เร็วขึ้น"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2015 11:42 am    Post subject: Reply with quote

"วุฒิชาติ"ผ่าตัดใหญ่การรถไฟฯแยกแอร์พอร์ตลิงก์เอกเทศ-ล้างหนี้แสนล้านต.ค.ปักธงทางคู่6สาย-รถไฟไทย-จีน
สัมภาษณ์พิเศษ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 22:01:39 น.




นับจากเริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงวันนี้ กว่า 3 เดือนที่ "วุฒิชาติ กัลยาณมิตร" เข้ามานั่งเป็นเบอร์หนึ่ง รันงาน "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" องค์กรอายุ 119 ปี พ่วงภาระหนี้เฉียด 1 แสนล้านบาท

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "ผู้ว่าการรถไฟ" คนใหม่ แม้เป็นมือใหม่หัดขับ แต่มั่นใจจะนำองค์กรม้าเหล็กฝ่าอุปสรรคได้ ท่ามกลางสถานการณ์เปลี่ยนผ่านที่จะมาถึงอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการที่ "รัฐบาลประยุทธ์" เร่งยกเครื่องและกู้ภาพลักษณ์ เตรียมทัพรับการลงทุนระบบราง

- ความคืบหน้าโปรเจ็กต์รถไฟ

รัฐบาลชุดนี้ให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานระบบรางค่อนข้างมากจะเห็นจากการผลักดันนโยบายหลากหลายรูปแบบทั้งการร่วมมือระหว่างประเทศลงทุนรถไฟไทย-จีนและไทย-ญี่ปุ่น นอกจากนั้นยังมีประเทศเยอรมนีที่ติดต่อจะเข้ามาร่วมด้วย

โครงการที่การรถไฟฯรับผิดชอบมีรถไฟทางคู่ระบบ 1 เมตร ขณะนี้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดให้เปิดประมูลปีนี้ได้อย่างน้อย5 เส้นทาง ขณะนี้พร้อมแล้ว 2 เส้นทาง คือ ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย จะประกวดราคาอีกครั้งเร็ว ๆ นี้ หลังสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) มีข้อท้วงติงเรื่องราคากลางซ้ำซ้อน และสายจิระ-ขอนแก่น ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการแล้ว

อีก 4 สายมีสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, ลพบุรี-ปากน้ำโพ, นครปฐม-หัวหิน และมาบกะเบา-จิระ อยู่ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จะเร่งเสนอ ครม.และประมูลโครงการให้ทันภายในปีนี้ เริ่มสร้างปีหน้า ใช้เวลา 2-3 ปีเสร็จ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าและโดยสารมากขึ้น

- โครงการที่เริ่มสร้าง ต.ค.นี้

รถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ที่ท่านรัฐมนตรี (พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง) ปักธง 1 ต.ค.นี้ ต้องสร้างแน่ เฟสแรกกรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราช หลังดูความยากง่ายและโอกาส ทันกรอบเวลาที่กำหนดไว้

เพราะนำผลศึกษาและสำรวจเดิมของรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย มาเทียบเคียง แต่เปลี่ยนชื่อโครงการใหม่ ส่วนรายละเอียดไม่แตกต่าง จะลดขั้นตอนหลายเรื่อง แต่กระบวนการตามระเบียบก็ต้องเป็นไปตามนั้น เช่น อีไอเอ-รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เวนคืนที่ดิน อาจจะเป็นภารกิจค่อนข้างยาก ที่เรียกว่า mission impossible แต่คิดว่าถ้าทำงานเต็มที่ ถึงใกล้ ๆ จะเห็นผลเป็นอย่างไร

ส่วนการเวนคืน เนื่องจากเส้นทางเกาะแนวรถไฟเดิม ถ้าไปเจอปัญหาชุมชนก็ไม่ง่ายที่จะโยกย้ายชุมชน อาจจะขีดแนวใหม่เบี่ยงออกแล้วมาบรรจบแนวเดิม ที่ยากคือช่วงสถานีในเมือง เช่น โคราช ขอนแก่น ต้องปรับรัศมีใหม่ ส่วนที่ตั้งสถานีถ้ามีพื้นที่พอจะขยายจากที่เดิม ถ้าไม่มีจะดูพื้นที่ใหม่ แต่ 70-80% จะนำผลศึกษาเดิมมาใช้

- ความคืบหน้าเงินลงทุน

ต้องรอผลสำรวจเสร็จเดือนสิงหาคมนี้ เพราะเมื่อผลศึกษาความเป็นไปได้และแนวเส้นทางที่จีนเป็นผู้รับผิดชอบหลัก ถ้ายังไม่เสร็จจะพูดถึงเรื่องอื่นก็ลำบาก ต้องดูเรื่องความคุ้มทุนก่อน มูลค่าโครงการ ถึงจะกำหนดเรื่องการกู้ในประเทศและกู้จากจีนเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมแต่อย่างอื่นก็ทำคู่ขนานไปได้ เช่น การสำรวจออกแบบประเมินราคา มีทีมจีนร่วมทำ จะมีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยประเมินราคาและสำรวจออกแบบ เพื่อตรวจสอบข้อมูลโครงการ ว่าที่จีนและที่ปรึกษาของเราประเมินสอดคล้องกันหรือไม่ ให้เขา (จีน) คิดฝ่ายเดียวไม่ได้

- รูปแบบการเดินรถ

เป็นไปตามนโยบายของท่านรัฐมนตรีเป๊ะ โครงสร้างพื้นฐานเป็นของไทย ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบการเดินรถ เทคโนโลยีด้านการเดินรถเป็นของจีน จะถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกัน มีการอบรมหลักสูตรระยะสั้น-กลาง-ยาว เริ่มตั้งแต่ 2-3 เดือนถึง 2 ปี มีคนฝึกอบรม 800 คน ขณะนี้จัดอบรมเบื้องต้นแล้วบางส่วน

- ความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น

รอไปลงนามบันทึกความร่วมมือหรือ MOC กับรัฐบาลญี่ปุ่น 26-28 พฤษภาคมนี้ มี 3 เส้นทาง คือ 1.สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะพัฒนาเป็นรถไฟความเร็วสูง ความเร็ว 300 กิโลเมตร/ชั่วโมง รองรับผู้โดยสารเป็นหลัก จะนำผลการศึกษาเดิมมาต่อยอด 70-80%

2.เส้นระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตอนใต้ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง จะก่อสร้างเป็นรถไฟทางคู่ 1 เมตร รองรับการขนส่งสินค้า และ 3.เส้นระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตอนบนสายแม่สอด-มุกดาหาร ที่ญี่ปุ่นจะช่วยศึกษาความเป็นไปได้ เมื่อเซ็น MOC จะเริ่มนับหนึ่งเหมือนรถไฟไทย-จีน ไม่เกินปลายปีนี้น่าจะเริ่มต้น

- แนวทางหารายได้ฟื้นฟูรถไฟ

อย่างแรกเลย กระทรวงการคลังจะนำพื้นที่มักกะสันไปบริหาร จะตัดหนี้สินบางส่วน ขณะนี้ตั้งคณะทำงานร่วมกับคลัง จ้างที่ปรึกษาประเมินมูลค่าทรัพย์สินให้เป็นปัจจุบัน จะได้รู้ว่าที่ดินมีมูลค่าเดิม ปัจจุบัน และอนาคตเท่าไหร่

แต่การรถไฟไม่ได้อยู่เฉย ดูพื้นที่ทำเลไฮไลต์มาพัฒนาเชิงพาณิชย์ให้เกิดรายได้ มีหลายแปลง เช่น สถานีแม่น้ำ, บริเวณ กม.11, สถานีบางซื่อ ฯลฯ และต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ อุบลราชธานี อีกทั้งจะพัฒนาสถานีบรรจุและแยกสินค้า (ICD) และศูนย์รวบรวมสินค้าระบบตู้คอนเทนเนอร์ (CY) ในต่างจังหวัด

- ภาระหนี้จะหมดในยุคนี้

หนี้มีอยู่เกือบ 1 แสนล้านบาท ทั้งหนี้ที่ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและหนี้ตามนโยบายรถไฟฟรี ในยุคผมจะต้องล้างหมด

วิธีการคือ 1.บริหารพื้นที่แต่ละแปลงสร้างรายได้ และ 2.แยกบัญชีให้ดี หนี้ตามนโยบาย หนี้ที่เกิดจากการบริหารและบำนาญ ปัจจุบันการรถไฟฯต้องจ่ายบำนาญปีละ 4 พันล้านบาท แยกบัญชีหนี้ได้แล้ว รายได้กับรายจ่ายจะไม่ต่างกัน ดูแล้วมีอนาคต แต่วันนี้บัญชีรวมกันก็ขาดทุน

ตอนนี้เร่งทำแผนฟื้นฟูให้เสร็จ ค่อยวิเคราะห์สถานการณ์ในอนาคต ต่อไปทางคู่เสร็จและมีรถจักร รถโดยสารใหม่มาวิ่ง จะมีรายได้ค่าโดยสารและขนส่งสินค้าเพิ่มอีกมาก เมื่อปีที่แล้วมีรายได้ค่าโดยสารกว่า 1,564 ล้านบาท จากรายได้รวมทั้งปี 9,000-10,000 ล้านบาท

- ความปลอดภัยจุดตัดรถไฟ

ไม่เกินสิ้นปี"59 จุดตัดทั้งหมด 538 จุด จะหมดไป แต่ไม่เกี่ยวกับจุดใหม่ที่เพิ่มขึ้นปัจจุบันได้ปรับความร่วมมือกับส่วนท้องถิ่นมาช่วยกันพัฒนาปรับจุดตัด เช่น กำหนดระยะการเตือนที่ก่อนถึงทางรถไฟ 20-30 เมตร ส่วนจุดตัดในเมืองเมื่อรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-รังสิตเสร็จ พื้นที่ในเมืองจะยกรางขึ้นทั้งหมด ลดจุดตัด เช่น ช่วงวัดเสมียนนารี

- เป้าหมายผลงาน 6 เดือน

เคพีไอหรือตัวชีวัดผลการปฏิบัติงานผมล้อไปกับตัวชี้วัดองค์กร ถ้าองค์กรดีแล้วผมไม่ดี ไม่ได้ ผมบอกแต่วันแรกจะเร่งปรับภาพลักษณ์รถไฟ เรื่องแผนฟื้นฟูก็อยู่ในเคพีไอ ทำเสร็จแล้ว จะเสนอบอร์ดพิจารณา 2 มิถุนายนนี้ แผนฟื้นฟูได้กำหนดหัวข้อแล้วจากการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ขณะนี้เห็นตรงกัน 7 หัวข้อที่รถไฟต้องทำเร่งด่วน ได้แก่

1.พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี
2.พัฒนาบุคลากรเพื่อการจัดการสมัยใหม่
3.ปรับปรุงการบริการและเพิ่มปริมาณการขนส่งสินค้าพัฒนาระบบโลจิสติกส์ทางราง
4.ปรับปรุงบริการเพิ่มจำนวนผู้โดยสาร
5.ปรับปรุงระบบการบริหารทรัพย์สิน แก้ไขทางการเงินจากการดำเนินการในอดีต
6.ลดอุบัติเหตุการเดินรถและยกระดับความปลอดภัยในขบวนรถและสถานี และ
7.พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มรายได้ระยะยาวและส่งเสริมระบบ

- แก้ปัญหาแอร์พอร์ตลิงก์อย่างไร

ต้องแยก 2 อย่าง ถ้าพูดเรื่องความสำเร็จการดำเนินงานถือว่าดี เพราะผู้โดยสารเพิ่มขึ้น แต่การซ่อมบำรุง อะไหล่ และซื้อรถไฟใหม่ยังติดขัด ขณะนี้อยู่ในกระบวนการอีก 7 ขบวนที่จะเข้ามา

- การทำงานร่วมกับคนรถไฟ

จริง ๆ ระบบรถไฟไทยดีนะ ต้องให้ความเป็นธรรมกับการรถไฟ ดูลึก ๆ เลย มาตรฐานความปลอดภัยดีมาก แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคการพัฒนาคืองบประมาณ มีอย่างจำกัดจำเขี่ย และมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ก็ต้องยอมรับ

ถ้าอยากจะให้รถไฟดี โครงสร้างพื้นฐานก็ต้องดี แต่งบประมาณจำกัด เวลาทำอะไรทีก็ต้องกู้เงิน แล้วมาคิดอยู่ในเงินทุน แต่ละโปรเจ็กต์ 3-4 หมื่นล้าน กลายเป็นหนี้ แต่เมื่อเทียบกับตัวรายได้ไม่ต่างเท่าไร ขาดทุนไหมก็ขาดทุน แต่ก็ไม่ถึงขนาดนี้ ถ้าแยกบัญชี

- ปัญหาบุคลากรจะจัดการอย่างไร

ผมเชื่อมั่นว่าคนรถไฟยังมีศักยภาพ แต่อาจบริหารภายใต้ข้อจำกัดบางเรื่อง ขณะนี้โอกาสเปิดกว้างขึ้นให้คนรถไฟได้พิสูจน์ฝีมือ ภายใต้การสนับสนุนที่แข็งแรงจริงจังของรัฐบาลชุดนี้

ผมกำลังจะปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ วันนี้ยังไม่เอาใครออก เพราะมติ ครม.เรื่องจำกัดการรับคนเข้าออกก็ลำบากอยู่แล้ว แต่ถ้าโครงสร้างองค์กรใหม่เสร็จ ดูประสิทธิภาพของคน ถ้าไม่ไหวก็ต้องปรับกันไป จะทำเป็นเคพีไอผู้บริหาร อย่างผมถ้าไม่ผ่านเคพีไอ ก็ต้องไป

- โครงสร้างใหม่จะปรับอะไร

ต้องแยกให้ชัด ธุรกิจหลักของการรถไฟ เดินรถ ซ่อมบำรุง และมีหน่วยสนับสนุน เพื่อลดความซับซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพความคล่องตัวการทำงาน จะแยกแอร์พอร์ตลิงก์เป็นเอกเทศให้บริหารเอง แต่รถไฟถือหุ้น 100% หรือเอกชนมาถือหุ้น ส่วนรถไฟฟ้าสายสีแดงจะอยู่กับการรถไฟฯ ให้เอกชนเข้ามาช่วย แบบนี้รถไฟดีกว่าเดิมแน่ !

- มีแผนพัฒนาตลาดนัดจตุจักร

กำลังดูอยู่ ดูตัวเลขค่าใช้จ่ายกับรายได้แล้วไม่แฮปปี้ สมมุติมีรายได้100 บาท ค่าใช้จ่าย 99 บาท ไม่เมกเซนส์ จะต้องคิดใหม่ อาจจะไม่ได้บริหารโดยตัวรถไฟ แต่เอาใครก็ได้ที่มาบริหารให้กำไรดีกว่านี้ ก็อยากจะพัฒนาตลาดจตุจักรให้ดีขึ้น แต่คงเอกลักษณ์เดิมไว้ เพราะเป็นตลาดระดับโลก


นั่งเก้าอี้ผู้ว่าการการรถไฟฯได้ 3 เดือน ถือว่าก้นยังไม่ทันร้อน แต่รัฐบาลยุค "นายกฯตู่" ต้องมีผลงานรวดเร็ว เมื่อถูกถามถึงตัวชี้วัดผลงานที่จะเกิดขึ้นที่จะถูกประเมินผลในรอบ 6 เดือน

หนึ่งในสิ่งที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้คือเรื่องการปรับปรุงภาพลักษณ์ "ห้องน้ำ" การรถไฟฯ ที่ผ่านพ้นช่วงการทำงาน 3 เดือนแรกได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ในเรื่องการทำความสะอาดห้องสุขาที่สถานีหัวลำโพง ซึ่งถือเป็นหน้าตาเรื่องบริการประชาชนทั้งคนไทยและต่างชาติ

-----------------
ยกเครื่องซื้อ"หัวรถจักร" ปรับโฉมห้องน้ำโบกี้โดยสาร

ล่าสุด กำลังอยู่ระหว่างดำเนินปรับปรุงขบวนรถ ห้องสุขาบนขบวนรถ จาก 160 กว่าตู้ เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมที่เกิดบนรถโดยสาร สร้างความปลอดภัยให้กับประชาชน การจัดระเบียบสถานี ไม่ว่ารถแท็กซี่ รถตุ๊กตุ๊กคนจรจัด

ส่วนปัญหารถไฟตกราง ถึงแม้มารับตำแหน่งผู้ว่าการแล้วยังเกิดเหตุอยู่ แต่ "วุฒิชาติ" ระบุว่าไม่ขอการันตีว่าจะไม่มีปัญหารถไฟตกราง แต่มั่นใจว่าจะเกิดเหตุน้อยลง

ภารกิจอีกส่วนที่ถูกจับตาคือการจัดซื้อหัวรถจักรเพื่อยกระดับบริการการขนส่งสินค้า ปัจจุบันได้ดำเนินการจัดซื้อหัวรถใหม่ 20 คัน ในจำนวนนี้เข้ามาแล้ว 10 คัน และถูกนำมาใช้งานแล้ว 2 คัน

ส่วนอีก 8 คัน อยู่ระหว่างช่วงทดสอบ ทั้งสำหรับหัวรถจักรทั้ง 10 คัน นำมาวิ่งลากจูงรถขนส่งสินค้าจากไอซีดีหรือสถานีบรรจุและแยกสินค้าลาดกระบัง-แหลมฉบัง ภายในเดือนพฤษภาคมจะรับมอบทั้งหมด และนำมาวิ่งบริการขนส่งสินค้าเส้นทางสายภาคอีสาน

ส่วนรถโดยสารใหม่ 115 คัน ผู้ว่าการการรถไฟฯระบุว่า จะรับมอบขบวนรถเดือนเมษายนปี"59 จากนั้นในเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจะทยอยนำมาวิ่งบริการทั่ว ๆ ไป จะพอดีกับช่วงที่รถไฟทางคู่เสร็จ ต่อไปความเร็วรถจะดีขึ้นเป็น 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง

เพื่อปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์การรถไฟที่เคยถูกมองว่าถึงก็ช่างไม่ถึงก็ช่างให้เป็นระบบขนส่งทางรางในใจประชาชน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/05/2015 7:19 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟฯ จัดตู้โดยสารเพิ่ม 4 ขบวน ร่วมงานศพหลวงพ่อคูณ
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 22 พ.ค. 2558 17:15

การรถไฟฯ เพิ่มจำนวนตู้โดยสารฟรี 4 ขบวน อำนวยความสะดวก ให้กับประชาชนที่ไปร่วมงานศพหลวงพ่อคูณ ระหว่างวันที่ 23 – 24 พ.ค. นี้

เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 58 นายวุฒิชาติ กลัยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรถไฟฯ ได้จัดตู้โดยสารพ่วงเพิ่มไปกับขบวนรถท้องถิ่นในเส้นทางสายตะวันออกเฉียง เหนือ เพื่อรองรับประชาชนที่ต้องการไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลสรีระสังขาร ของ พระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างวันที่ 23 – 24 พ.ค. 2558 จำนวน 4 ขบวน ซึ่งเป็นขบวนรถไฟฟรีทั้งหมด

ทั้งนี้ ประกอบด้วย เที่ยวไป ขบวนที่ 431 แก่งคอย-ขอนแก่น 05.00 -12.00 น., ขบวนที่ 415 นครราชสีมา-ขอนแก่น 06.20- 09.40 น. ส่วนเที่ยวกลับ ขบวนที่ 432 ขอนแก่น – แก่งคอย 13.55- 20.30 น., ขบวนที่ 418 หนองคาย-ขอนแก่น 13.04 15.54 น.

สำหรับพิธีสวดพระอภิธรรมศพหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 17-23 พ.ค. เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ประกอบพิธีสวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศลโดยศิษยานุศิษย์และประชาชน ผู้เคารพศรัทธา ระหว่างวันที่ 18-23 พ.ค. เวลา 09.00 น. ประกอบพิธีทำบุญถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ เปิดให้เคารพศพเวลา 06.00-22.00 น. และในวันที่ 24 พ.ค. 2558 เป็นวันเคลื่อนย้ายสรีระสังขารของ หลวงพ่อคูณ ไปทำการดองในโหลแก้ว โดยจังหวัดนครราชสีมาได้จัดเตรียมรถบัสโดยสาร ไว้จำนวน 10 คัน ออกเดินทาง เวลา 10.00 น.

ทั้งนี้ หากประชาชนที่ต้องการเดินทางไปกับรถบัสที่ทางจังหวัดนครราชสีมา ได้จัดเตรียมไว้ สามารถลงชื่อแจ้งความประสงค์เดินทางไปร่วมสวดพระอภิธรรมบำเพ็ญกุศลสรีระสังขารของ หลวงพ่อคูณ ได้ที่บริเวณชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา สำหรับผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟฟรี จะต้องนำบัตรประชาชนติดต่อขอรับตั๋วโดยสารที่สถานีรถไฟก่อนขบวนรถออกทุกครั้ง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2015 11:56 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
การรถไฟฯ จัดตู้โดยสารเพิ่ม 4 ขบวน ร่วมงานศพหลวงพ่อคูณ
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 22 พ.ค. 2558 17:15


เวอร์ชัน ASTV ดูที่นี่

ร.ฟ.ท.เพิ่มตู้โดยสารให้ ปชช.ร่วมเคารพศพหลวงพ่อคูณ ไม่เสียค่าใช้จ่าย


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
22 พฤษภาคม 2558 15:32 น.

รถไฟฟรี ขบวนไหว้ 'พ่อคูณ' แน่นจนต้องยืน เพิ่มพรุ่งนี้อีก 4 เที่ยว
โดย ไทยรัฐออนไลน์
23 พฤษภาคม 2558 17:05


รฟท.เผย ขบวนรถไฟฟรี เดินทางร่วมงานบำเพ็ญกุศลสรีระสังขาร หลวงพ่อคูณ ในวันที่ 23 พ.ค. แน่นขนัด จนต้องยืนไป ส่วนวันที่ 24 พ.ค. เปิดฟรีอีก 4 เที่ยว ไป-กลับ ติดต่อรับบัตรล่วงหน้าด้วยบัตร ปชช. ที่สถานี...

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2558 นางนวลอนงค์ วงศ์จันทร์ หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า จากการที่รถไฟได้จัดตู้โดยสารพ่วงเพิ่มไปกับขบวนรถท้องถิ่น ซึ่งเป็นรถไฟฟรี ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรองรับประชาชนที่ต้องการไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลสรีระสังขาร พระเทพวิทยาคม หรือ หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 58 ไปกลับ 4 เที่ยว พบว่ามีประชาชนมาใช้บริการเต็มทุกที่นั่งไม่ต่ำกว่า 2,200 คน จนให้ประชาชนบางส่วนต้องยืนโดยสารไป โดยผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นประชาชนใกล้เคียง จ.ขอนแก่น ส่วนประชาชนที่อยู่พื้นที่ไกลส่วนมากจะขับรถยนต์ส่วนตัว หรือเหมารถตู้ไปกันเอง


คลื่นมหาชนที่จะเดินทางไปร่วมงานบำเพ็ญกุศลสรีระสังขารหลวงพ่อคูณ

หน.กองประชาสัมพันธ์ รฟท. กล่าวด้วยว่า ส่วนในวันที่ 24 พ.ค. ซึ่งเป็นวันเคลื่อนย้ายสรีระสังขารของหลวงพ่อคูณ ไปทำการดองในโหลแก้ว การรถไฟฯ ยังเปิดให้บริการรถไฟฟรี
ขบวนท้องถิ่นเที่ยวไป 431 แก่งคอย-ขอนแก่น ออกเวลา 05.00 น. ถึง 12.00 น. และ
ขบวน 415 นครราชสีมา ออก 06.20 น. ถึง 09.40 น.
ส่วนเที่ยวกลับ 432 ขอนแก่น-แก่งคอย ออก 13.55 น. ถึง 20.30 น. และ
ขบวน 418 หนองคาย-ขอนแก่น ออก 13.04 น. ถึง 15.54 น. รวม 4 เที่ยวอีก 1 วัน

ผู้โดยสารที่เดินทางโดยรถไฟฟรี ต้องนำบัตรประชาชนติดต่อขอรับตั๋วโดยสารที่สถานีรถไฟก่อนขบวนรถออกทุกครั้ง หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 ตลอด 24 ชั่วโมง

//----------------------

'คลื่นมหาชน' แห่ร่วมพิธีส่งมอบสรีระสังขาร 'หลวงพ่อคูณ'
เดลินิวส์
วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2558 เวลา 17:58 น.

ประชาชนจากทั่วสารทิศ เดินทางโดยรถยนต์ รถไฟ เนืองแน่น แห่กราบไหว้ ร่วมพิธีส่งมอบสรีระสังขาร 'หลวงพ่อคูณ' ชาวบ้านเชื่อบารมีคุ้มหัว ได้กราบไหว้ก็หายเหนื่อย

เมื่อวันที่ 23 พ.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สถานีรถไฟขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้มีประชาชนจำนวนมาก ที่เดินทางมากับขบวนรถไฟท้องถิ่นขาขึ้น จากนครราชสีมา–หนองคาย และแก่งคอย–ขอนแก่น และขาล่องจากขอนแก่น–แก่งคอย และหนองคาย –กรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละขบวนมีประชาชนมาใช้บริการจำนวนมาก นางบุญสม ภูมิกลาง อายุ 64 ปี ชาว จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ตนพร้อมญาติพี่น้องรวม 4 คน เดินทางโดยรถไฟมากราบหลวงพ่อคูณเป็นครั้งสุดท้าย ออกจากนครราชสีมาตอน 06.30 น. มาถึงขอนแก่น 09.45 น.

จากนั้นได้เหมารถตุ๊ก ๆ 100 บาท ให้ไปส่งที่ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์ กาญจนาภิเษก ซึ่งมีคนเยอะมากต้องเข้าแถวต่อคิวนานกว่า 1 ชม.แม้จะใช้เวลานานและเหนื่อยจากการเบียดเสียดผู้คนแทบจะเป็นลม แต่เมื่อได้เข้าใกล้ก็รู้สึกชุ่มชื้นและหายเหนื่อยทันที ซึ่งตนเชื่อว่าเป็นเพราะบารมีของหลวงพ่อคูณ นายศักรินทร์ แสงอรุณ นายสถานีรถไฟขอนแก่น กล่าวว่า เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่จะเดินทางมาร่วมงานบำเพ็ญกุศลสรีระสังขารหลวงพ่อคูณที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดรถไฟฟรีไว้บริการ 4 ขบวน ขบวนละ 4 ตู้ แต่ละขบวนมีประชาชนมาใช้บริการจำนวนมาก จนที่นั่งไม่พอต้องยืนมาตลอดเส้นทาง ขณะเดียวกันได้ประสานกับทางสำนักานขนส่ง จ.ขอนแก่นให้จัดรถมาช่วยในการบริการประชาชนได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งตนเชื่อว่าในวันพรุ่งนี้ (24 พ.ค.) ซึ่งเป็นวันส่งมอบสรีระสังขารให้กับภาควิชากายภาคศาสตร์ ม.ขอนแก่น จะมีประชาชนเดินทางมาร่วมพิธีจำนวนมาก ส่วนบรรยากาศการจราจรทั่วเมืองขอนแก่น ตลอดจนถนนสายมิตรภาพขอนแก่น-อุดรธานี และขอนแก่น-เลย ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านหน้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีปริมาณหนาแน่น ทำให้การจราจรติดขัดเป็นระยะแต่ยังพอเคลื่อนตัวได้..“


Last edited by Wisarut on 05/06/2015 1:09 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2015 10:33 pm    Post subject: Reply with quote

9 สถาบัน จับมือพัฒนา 'ระบบขนส่งราง'
by Weeranan Kanhar
Voice TV
24 พฤษภาคม 2558 เวลา 17:12 น.

Open House ประจำวันที่ 24 พฤษภาคม 2558

'ระบบขนส่งทางราง' เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล เพื่อยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย จึงถือเป็นอีกหนึ่งภาคส่วน ที่ต้องการบุคลากรคุณภาพจำนวนมาก ดังนั้น 9 สถาบันระดับอุดมศึกษา จึงร่วมกันพัฒนาหลักสูตรนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/05/2015 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

การปรับปรุงคุณภาพบริการ และ ภาพลักษณ์ของรถไฟไทย เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่รถไฟไทยต้องทุ­่มงบประมาณให้ ก่อนจะก้าวไปสู่การให้บริการระดับสากล โดยเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ คือ ห้องน้ำ ติดตามได้จากรายงานคุณเขมิกา พรมพันใจ
ไทยรัฐทีวี 26 พ.ค. 58

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2015 12:31 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.อนุมัติงบ 3.9 ล้านสร้างสะพานแม่น้ำเมย 2 และเห็นชอบ ร.ฟ.ท.จ่ายบำเหน็จกว่า 2.6 หมื่นล้าน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
2 มิถุนายน 2558 17:51 น. (แก้ไขล่าสุด 2 มิถุนายน 2558 18:00 น.)


เห็นชอบแก้ปัญหาจุดตัดรถไฟ 2,517 แห่งเสร็จในปี 60

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ที่ประชุม ครม.ยังเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนนจำนวน 2,517 แห่ง โดยเป็นจุดตัดที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือทางลักผ่าน 584 แห่ง (สายใต้ 456 แห่ง สายเหนือ สายอีสาน และสายตะวันออก 128 แห่ง) ดำเนินการในปี 2558-2559 งบประมาณ 470 ล้านบาท ซึ่งระยะเร่งด่วน (ปี2558) จะเป็นการติดตั้งป้ายหยุด ป้ายรูปรถไฟ พร้อมจัดทำสัญญาณเตือนไฟกะพริบตลอดเวลา เนินชะลอความเร็ว และป้ายเตือน ระยะที่ 2 (ปี 2559) ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เสริมเพิ่มสัญญาณจราจร “สัญญาณไฟแดงวาบพร้อมเสียงเตือน” บริเวณป้ายหยุดทั้ง 2 ด้าน ซึ่งทำงานด้วยระบบตรวจสอบขบวนรถไฟที่ระยะ 300 เมตร ก่อนถึงจุดตัดผ่าน พร้อมกันนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะต้องสำรวจจุดตัดทางรถไฟที่ไม่ได้รับอนุญาต (ทางลักผ่าน) ด้วย

ส่วนจุดตัดที่ได้รับอนุญาต 1,933 แห่ง ยังเหลือประมาณ 1,500 แห่งที่ต้องติดตั้งระบบเครื่องกั้นอัตโนมัติ หรือทำเป็นทางลอด ทางข้าม โดยอยู่ในความรับผิดชอบของ ร.ฟ.ท. กรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) วงเงินรวม 24,000 ล้านบาท ดำเนินการภายในปี 2559-2560 พร้อมทั้งให้ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กรณีที่จะมีการทำถนนผ่านทางรถไฟจะต้องขออนุมัติและประสานงานให้ชัดเจนก่อน

นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบจ่ายค่าบำเหน็จพนักงาน ร.ฟ.ท. ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ปี 2546 โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. พนักงานที่เกษียณอายุแล้ว ประมาณ 12,000 ราย คิดเป็นเงินประมาณ 19,000 ล้านบาท โดยใช้เงินรายได้จากค่าเช่าที่ดินการรถไฟฯ และ
2. พนักงานที่ยังไม่เกษียณอายุ ซึ่งจะมีการจ่ายค่าบำเหน็จในระหว่างปี 2558-2582 รวม 25 ปี คิดเป็นเงินประมาณ 7,000 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 300 ล้านบาทต่อปี โดยในส่วนนี้ให้ใช้เงินรายได้จากการเดินรถ โดยค่าบำเหน็จนั้นคิดจาก 15 เท่าของเงินเดือน แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท หลังจากนี้จะต้องหารือกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ร.ฟ.ท.เพื่อปรับโครงสร้างใหม่และยกเลิกบำเหน็จ เนื่องจากขณะนี้เหลือ ร.ฟ.ท.เพียงหน่วยเดียว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2015 1:10 am    Post subject: Reply with quote

จ้างรัฐวิจัยแผ่นยางรองรางรถไฟเพิ่มมูลค่ายางพารา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 มิถุนายน 2558 13:54 น. (แก้ไขล่าสุด 3 มิถุนายน 2558 14:17 น.)

ดร.ไพโรจน์ จิตรธรรม นักวิจัยหน่วยวิจัยโพลิเมอร์ ห้องปฏิบัติการยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

บริษัทเอกชนจ้าง สวทช.-วว.ร่วมวิจัยยางรองรถไฟจากยางพารา แก้ปัญหาราคายางตกต่ำ ทดแทนแผ่นยางสังเคราะห์และพลาสติกพิเศษราคาแพงที่นำเข้าจากเยอรมนี คาดว่าผลิตได้ใน 3-4 เดือนและออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ใน 1 ปี ชี้เป็นมิติใหม่ในการทำวิจัยเชิงพาณิชย์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จับมือบริษัท ไอ อาร์ ซี (เอเซีย) รีเสิร์ซ จำกัด ลงนามความร่วมมือในหัวข้อ "การเพิ่มมูลค่ายางพาราธรรมชาติโดยการผลิตเป็นชิ้นส่วนใช้ในระบบราง" เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.58 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธานในพิธี

พิธีลงนามดังกล่าวเป็นความร่วมมือในการวิจัยแผ่นยางรองรางรถไฟระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชน โดย ดร.ไพโรจน์ จิตรธรรม นักวิจัยหน่วยวิจัยโพลิเมอร์ ห้องปฏิบัติการยาง ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ระบุกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า เดิมทีแผ่นรองรางรถไฟทำได้จากวัสดุหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้คือแผ่นยางสังเคราะห์และพลาสติกชนิดพิเศษที่นำเข้าจากประเทศเยอรมนีซึ่งมีราคาสูงมาก ขณะที่ยางพาราของไทยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นแผ่นยางรองรางรถไฟได้ และภาคเอกชนที่ต้องการเปิดตลาดแผ่นรองรางรถไฟได้ติดต่อมายังเอ็มเทคเพื่อจ้างวิจัยพัฒนาสูตรยางพาราสำหรับการผลิตเป็นแผ่นรองรางรถไฟขึ้น

“ผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็จะเป็นสิทธิบัตรเฉพาะของบริษัทผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นมิติใหม่สำหรับการทำวิจัยในเชิงพาณิชย์ โดยนักวิจัยเอ็มเทคจะคิดค้นและพัฒนาทั้งในส่วนการพัฒนาสูตรยาง และการออกแบบแผ่นยาง เรามีนักวิจัยและห้องปฏิบัติการพร้อม จึงมั่นใจว่าจะพัฒนาเป็นแผ่นรองรางรถไฟจากยางธรรมชาติเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 3-4 เดือน และน่าจะผลิตในระดับอุตสาหกรรมเป็นชิ้นงานได้ภายใน 1 ปี” ดร.ไพโรจน์ระบุ

นอกจากพัฒนาแผ่นยางรองรางรถไฟแล้ว ดร.ไพโรจน์เผยอีกว่า ยังมีแผนผลิตชิ้นส่วนข้อต่ออื่นๆ ที่ใช้ในระบบรางอีกหลายชนิด ซึ่งหากเป็นไปตามเป้าจะช่วยระบายยางพาราดิบของไทยได้เป็นจำนวนมาก ราคายางพาราก็จะดีขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศ และจะช่วยรัฐบาลประหยัดรายจ่ายได้จากการนำเข้าแผ่นยางจากต่างประเทศได้ถึงครึ่งต่อครึ่ง

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ไทยผลิตน้ำยางพาราดิบได้มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่นำน้ำยางดิบไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางชนิดอื่นได้เพียง 12.5% เมื่อความต้องการยางพาราในรูปวัตถุดิบลดลง เกษตรกรจึงได้รับผลกระทบจากภาวะราคายางตกต่ำไปด้วย รัฐบาลจึงมีมาตรการกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำน้ำยางพาราดิบไปแปรรูปเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีราคาสูงขึ้น

“สวทช.โดยเอ็มเทค ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยด้านวัสดุระดับชาติ จึงเริ่มโครงการพัฒนาวัตถุดิบยางพาราในประเทศให้มีมูลค่าสูงขึ้น ด้วยการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนระบบราง โดยประสานความร่วมมือกับ วว. และภาคเอกชนที่จะเข้ามาช่วยด้านการทดสอบและการนำไปใช้ประโยชน์จริง” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว

ส่วน ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. เผยว่า ภายใต้โครงการความร่วมมือนี้ วว.จะเข้ามามีบทบาทในการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นยางรองรางรถไฟ ตามมาตรฐาน ISO 17025 ซึ่ง วว.มีห้องปฏิบัติการและนักวิจัยที่พร้อมสำหรับการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ทางด้านวัสดุศาสตร์ และได้นำชิ้นส่วนรองรางรถไฟที่ใช้ในปัจจุบัน มาวัดค่าสำหรับเป็นดัชนีในการประเมินผลผลิตภัณฑ์เป็นที่เรียบร้อย จึงมั่นใจว่าทันทีที่ผลิตภัณฑ์จากต้นน้ำที่ สวทช.ผลิตขึ้นเสร็จสิ้น วว.จะสามารถรับช่วงต่อในการทดสอบคุณภาพได้ทันที เพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ยางธรรมชาติไทยได้นำออกใช้ในระบบรางของประเทศ

ขณะที่ นางพิมพ์ใจ ลี้อิสสระนุกุล ประธานคณะกรรมการ บริษัท ไอ อาร์ ซี (เอเซีย) รีเสิร์ซ จำกัด หวังว่าความร่วมมือครั้งนี้นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำได้ได้แล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับยางพาราไทยได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งการนำยางธรรมชาติมาประยุกต์ใช้กับโครงการพัฒนาระบบการขนส่งระบบรางของประเทศ ยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดเทคโนโลยีระบบยางในประเทศด้วย

"เราเป็นบริษัทคนไทยที่ทำธุรกิจด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ยางสำหรับผู้อุปโภคโดยตรง ทั้งในการผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ ตลอดจนผลิตภัณฑ์ยางในระบบชลประทานและอุตสาหกรรมก่อสร้าง หลังจากนี้เรามีเป้าหมายเดินหน้าธุรกิจชิ้นส่วนยางในการขนส่งระบบรางมากขึ้น เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือครั้งนี้ ทั้งส่วนของต้นน้ำที่ สวทช.ผู้คิดค้น และส่วนกลางน้ำอย่าง วว.ฝ่ายทดสอบ กับส่วนปลายน้ำคือไออาร์ซีผู้นำผลงานออกไปใช้จริง จะประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี เกิดเป็นนวัตกรรมระบบรางใหม่ๆ ช่วยยกระดับยางธรรมชาติของไทยให้ดีขึ้นด้วยผลิตภัณฑ์ที่คนไทยทำขึ้นเพื่อคนไทยเอง" นางพิมพ์ใจกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 253, 254, 255 ... 471, 472, 473  Next
Page 254 of 473

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©