RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179739
ทั้งหมด:13490971
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 190, 191, 192 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2015 12:35 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนนี้ญี่ปุ่นฮือฮาว่าจะใช้รถไฟชิงกังเซเดินรถจากสถานีกลางบางซื่อ ไป เชียงใหม่
http://asia.nikkei.com/Japan-Update/Japan-s-bullet-trains-may-link-Bangkok-Chiang-Mai
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2015 6:31 pm    Post subject: Reply with quote

นัดประชุมผุดไฮสปีดเทรน2เส้น "หัวหิน-พัทยา" เล็งสร้างปี′59
มติชน
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลา 12:25:31 น.


นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 206 กิโลเมตร (กม.) ว่าได้ศึกษาออกแบบโครงการเสร็จแล้วและเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา คาดใช้วงเงินลงทุนทั้งหมด 81,000 ล้านบาท ส่วนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) สนข.อยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมปรับปรุงแก้ไขอีไอเอ จากที่เคยเสนอไปแล้วแต่ไม่ผ่าน ให้เสร็จในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อส่งให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมพิจารณารายละเอียดให้ทันตามแผนคือ จัดทำเงื่อนไขประกวดราคา (ทีโออาร์) เดือนสิงหาคม เริ่มก่อสร้างต้นปี 2559" นายพีระพลกล่าว

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา ระยะทาง 193 กม. คาดจะก่อสร้างได้ปี 2559 เพราะศึกษาและออกแบบเสร็จแล้ว และคาดว่าจะผ่านอีไอเอเดือนมิถุนายนี้ ใช้เงินลงทุน 150,000 ล้านบาท เพราะต้องทำทางยกระดับผ่านแนวภูเขาเกือบตลอดแนวเส้นทาง "เส้นนี้รัฐบาลได้เปิดให้เอกชนชาวไทยเข้ามาลงทุน เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อให้โครงการเริ่มได้เร็ว เป็นทางเลือกให้ประชาชนในการเดินทางและส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวด้วย" นายวุฒิชาติกล่าว

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะมีการประชุมโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 2 เส้นทางในสัปดาห์หน้า เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เกิดเร็วที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2015 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

ลงพื้นที่รถไฟเร็วสูงเชียงใหม่
โดย ไทยรัฐออนไลน์
5 มิถุนายน 2558 เวลา 07:35


พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายในเดือนนี้จะประชุมคณะกรรมร่วมไทย-ญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก เพื่อตั้งคณะทำงานพัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ร่วมกัน โดยญี่ปุ่นให้ความสนใจรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่เป็นโครงการแรก คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน เพื่อหาข้อสรุปในการจัดทำแผนงาน ทั้งแหล่งเงินลงทุนและการพัฒนาบุคลากร

รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมยืนยันว่า ปลายปีนี้จะมีความชัดเจน เพราะคณะกรรมการร่วมไทย-ญี่ปุ่นจะเริ่มสำรวจพื้นที่ประมาณปลายเดือนกรกฏาคมนี้ เนื่องจากมีผลศึกษาโครงการเดิมของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ที่สามารถนำมาทบทวนรายละเอียดได้ คาดว่ากลางปี 2559 จะเริ่มก่อสร้าง และแล้วเสร็จในปี 2563 โดยใช้เงินลงทุน 426,800 ล้านบาท

สำหรับการสำรวจพื้นที่จะแบ่งเป็นช่วง ๆ เหมือนรถไฟไทย-จีน เช่น ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก, พิษณุโลก-อุตรดิตถ์ ตามสภาพพื้นที่ เนื่องจากเกี่ยวกับการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้โครงการได้เริ่มต้นเร็วขึ้น

โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นความร่วมมือก่อสร้างระหว่างไทย-ญี่ปุ่นโดยใช้เทคโนโลยีชินคันเซ็น แบ่งออกเป็นสองระยะ

มีทั้งรูปแบบทางราบระดับพื้น สลับกับสะพานยกระดับในบางช่วง ในกรณีที่มีน้ำท่วมซ้ำซากสามารถระบายน้ำออกไปได้ และทำเป็นอุโมงค์ลอดใต้ตัวเมืองลพบุรีระยะทาง 5 กิโลเมตร

ส่วนระยะที่สอง เริ่มต้นจากอำเภอเมืองพิษณุโลก ถึงอำเภอเมือง เชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ผ่าน 4 จังหวัด 5 สถานี คือ สุโขทัย ศรีสัชชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ รวมระยะทางทั้งสิ้น 288กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 24 นาที

โดยเฉพาะในช่วงอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย จังหวัดแพร่ ได้ทำเป็นอุโมงค์เพื่อลอดพื้นที่อุทยานแห่งชาติอีกด้วย
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=yunanAD9HNQ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44319
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/06/2015 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

เทียบฟอร์มญี่ปุ่น-จีน ใครมีลุ้นโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มิถุนายน 2558 06:33 น.

Click on the image for full size
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงในประเทศไทย เป็นที่หมายตาของเจ้าของเทคโนโลยีหลายประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและจีน ซึ่งมีแนวโน้มจะได้รับสัมปทานในโครงการนี้มากที่สุด ทั้งสองประเทศต่างมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน และรัฐบาลทั้งญี่ปุ่นและจีนต่างพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ได้สิทธิ์ในโครงการนี้

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของไทย ได้พบกับนายอะกิฮิโระ โอตะ รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค คมนาคม และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม และมีพิธีลงนามแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศมีการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง

Click on the image for full size
รายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นเปรียบเทียบศักยภาพรถไฟญี่ปุ่นกับจีน
รายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นได้วิเคราะห์ศักยภาพของรถไฟแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมระบุว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นโครงการที่ญี่ปุ่นมีความหวังมากที่สุด ซึ่งหากรถไฟเส้นทางนี้ใช้เทคโนโลยีชินคันเซน ประเทศไทยจะถือเป็นประเทศที่ 2 ในโลก ต่อจากไต้หวันที่ใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่น

Click on the image for full size

ชินคันเซน ปลอดภัยสูงสุด

ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของชินคันเซน คือ เรื่องความปลอดภัย โดยนับตั้งแต่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1964 ถึงปัจจุบันนานกว่า 50ปี ไม่เคยมีอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตแม้แต่ครั้งเดียว

ในรายการโทรทัศน์ได้เปรียบเทียบให้เห็นว่า รถไฟชินคันเซนที่แล่นด้วยความเร็วถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นมีความนิ่ง ถึงขนาดที่สามารถวางเหรียญตั้งไว้บนขอบหน้าต่างของรถได้

ความปลอดภัยไม่ใช่เรื่องของอุบัติเหตุเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการออกแบบที่เป็นเหมาะสมกับผู้โดยสารด้วย โดยนักออกแบบของญี่ปุ่นได้ถูกเชิญให้ไปออกแบบภายในรถไฟใต้ดินของนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ที่ได้ชื่อว่ามีการเกิดอาชญากรรมบนรถไฟสูงที่สุด โดยนักออกแบบของญี่ปุ่นได้ตกแต่งบรรยากาศภายในรถไฟใต้ดินใหม่ และช่วยลดการเกิดอาชญากรรมอย่างได้ผล

Click on the image for full size


Click on the image for full size
มูลค่าการส่งออกเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีน นำหน้าทุกประเทศอย่างไม่เห็นฝุ่น

ชินคันเซนแพงกว่าจีน 3เท่าตัว
อุปสรรคที่สำคัญของรถไฟความเร็วสูงจากญี่ปุ่นคือราคาที่สูงมาก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีเทคโนโลยีนี้ คือ แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส และจีนนั้น ต้นทุนการก่อสร้างของรถไฟชินคันเซนสูงที่สุด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับรถไฟความเร็วสูงของจีนแล้ว ชินคันเซนแพงกว่าถึง 3 เท่าตัว

จีนคือเจ้าตลาดตัวจริง
วิทยากรในรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นยังได้แสดงถึงมูลค่าที่ประเทศสำคัญๆ ส่งออกเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง โดยจีนคือเจ้าตลาดที่ทำเงินจากเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงได้ถึง 3.7 ล้านล้านเยน ขณะที่ แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส ทำรายได้ได้ไม่ถึง 1 ล้านล้านเยน ส่วนรถไฟชินคันเซนของญี่ปุ่น ทำรายได้จากการส่งออกเทคโนโลยีได้ไม่ถึง 0.5 ล้านล้านเยนด้วยซ้ำ

Click on the image for full size
ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของรถไฟชินคันเซน
บริษัทเอกชนญี่ปุ่นแข่งกับรัฐวิสาหกิจจีน
ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นยอมรับว่า อุปสรรคที่รถไฟญี่ปุ่นที่ไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ไม่ใช่เรื่องของเงินทุนหรือความทันสมัย แต่เป็นรูปแบบการบริหารจัดการ โดยบริษัทที่ผลิตรถไฟชินคันเซนมี 2 ราย คือ ฮิตาชิ และคาวาซากิ

หากแต่ ทางฝั่งจีน ผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูงคือรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของคณะรัฐมนตรีจีนโดยตรง โดยแต่เดิมมี 2 บริษัท คือ “หนานเชอ” 中國南車 และ “เป่ยเชอ” 中國北車 แต่ในปี 2015รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งได้ควบรวมกิจการกันเป็นบริษัท CRRC Corporation Limited หรือ จงกั๋วจงเชอ 中国中车 ซึ่งเป็นกิจการรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

การแข่งขันเรื่องรถไฟความเร็วสูงระหว่างญี่ปุ่นจีนนั้น จึงไม่ใช่การแข่งขันระหว่างบริษัทเอกชน แต่เป็นการแข่งขันระหว่างรัฐบาลของ 2 มหาอำนาจแห่งเอเชีย

Click on the image for full size
แผนที่โครงการ "รถไฟเชื่อมเอเชีย" ของรัฐบาลจีน
ศึกการค้า ศึกการเมือง
รัฐบาลทั้งญี่ปุ่นและจีนได้ใช้ความพยายามทางการทูตและการเมืองในหลายมิติ เพื่อให้ได้สิทธิ์ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย โดยเฉพาะรัฐบาลจีนที่นายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียง เคยประกาศอย่างชัดเจนในระหว่างการเยือนประเทศไทยว่า “ปรารถนาจะสร้างรถไฟเชื่อมภูมิภาคเอเชียให้ได้” แน่นอนว่ารัฐบาลแดนมังกรจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นจริง

ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นยังยกตัวอย่างการจัดตั้ง ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย หรือ AIIB ที่จีนเป็นผู้ริเริ่มและมี 57 ประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกนั้น เป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญของโครงการทางรถไฟเชื่อมเอเชีย ซึ่งการออกแรงผลักดันโดยตรงจากรัฐบาลเช่นนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นไม่อาจจะทำได้เพราะติดขัดเรื่องข้อกฎหมาย แตกต่างจากฝ่ายจีนที่รัฐบาลสามารถสั่งการได้ทุกอย่าง

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการเดินรถไฟตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่จนถึงวันนี้รถไฟของไทยยังคงล้าหลังเหมือนเช่นเมื่อ 130 ปีก่อน จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าการพัฒนาการขนส่งทางรางเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง

อภิมหาโครงการที่มีมูลค่ามหาศาลนี้ไม่เพียงเป็น “ชิ้นปลามัน” ที่ใครๆต่างก็ปรารถนา หากแต่ยังเกี่ยวพันถึงดุลอำนาจของประเทศต่างๆในภูมิภาค รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องพิจารณาทั้งมิติของการลงทุน, สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเมืองระหว่างประเทศให้รอบคอบ.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 08/06/2015 12:42 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เทียบฟอร์มญี่ปุ่น-จีน ใครมีลุ้นโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มิถุนายน 2558 06:33 น.

Click on the image for full size
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงในประเทศไทย เป็นที่หมายตาของเจ้าของเทคโนโลยีหลายประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและจีน ซึ่งมีแนวโน้มจะได้รับสัมปทานในโครงการนี้มากที่สุด ทั้งสองประเทศต่างมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน และรัฐบาลทั้งญี่ปุ่นและจีนต่างพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ได้สิทธิ์ในโครงการนี้

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของไทย ได้พบกับนายอะกิฮิโระ โอตะ รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค คมนาคม และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม และมีพิธีลงนามแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศมีการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง

Click on the image for full size
รายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นเปรียบเทียบศักยภาพรถไฟญี่ปุ่นกับจีน
รายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นได้วิเคราะห์ศักยภาพของรถไฟแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมระบุว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นโครงการที่ญี่ปุ่นมีความหวังมากที่สุด ซึ่งหากรถไฟเส้นทางนี้ใช้เทคโนโลยีชินคันเซน ประเทศไทยจะถือเป็นประเทศที่ 2 ในโลก ต่อจากไต้หวันที่ใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่น

Click on the image for full size

ชินคันเซน ปลอดภัยสูงสุด

ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของชินคันเซน คือ เรื่องความปลอดภัย โดยนับตั้งแต่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1964 ถึงปัจจุบันนานกว่า 50ปี ไม่เคยมีอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตแม้แต่ครั้งเดียว

ในรายการโทรทัศน์ได้เปรียบเทียบให้เห็นว่า รถไฟชินคันเซนที่แล่นด้วยความเร็วถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นมีความนิ่ง ถึงขนาดที่สามารถวางเหรียญตั้งไว้บนขอบหน้าต่างของรถได้

ความปลอดภัยไม่ใช่เรื่องของอุบัติเหตุเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการออกแบบที่เป็นเหมาะสมกับผู้โดยสารด้วย โดยนักออกแบบของญี่ปุ่นได้ถูกเชิญให้ไปออกแบบภายในรถไฟใต้ดินของนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ที่ได้ชื่อว่ามีการเกิดอาชญากรรมบนรถไฟสูงที่สุด โดยนักออกแบบของญี่ปุ่นได้ตกแต่งบรรยากาศภายในรถไฟใต้ดินใหม่ และช่วยลดการเกิดอาชญากรรมอย่างได้ผล

Click on the image for full size


Click on the image for full size
มูลค่าการส่งออกเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีน นำหน้าทุกประเทศอย่างไม่เห็นฝุ่น

ชินคันเซนแพงกว่าจีน 3เท่าตัว
อุปสรรคที่สำคัญของรถไฟความเร็วสูงจากญี่ปุ่นคือราคาที่สูงมาก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีเทคโนโลยีนี้ คือ แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส และจีนนั้น ต้นทุนการก่อสร้างของรถไฟชินคันเซนสูงที่สุด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับรถไฟความเร็วสูงของจีนแล้ว ชินคันเซนแพงกว่าถึง 3 เท่าตัว

จีนคือเจ้าตลาดตัวจริง
วิทยากรในรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นยังได้แสดงถึงมูลค่าที่ประเทศสำคัญๆ ส่งออกเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง โดยจีนคือเจ้าตลาดที่ทำเงินจากเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงได้ถึง 3.7 ล้านล้านเยน ขณะที่ แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส ทำรายได้ได้ไม่ถึง 1 ล้านล้านเยน ส่วนรถไฟชินคันเซนของญี่ปุ่น ทำรายได้จากการส่งออกเทคโนโลยีได้ไม่ถึง 0.5 ล้านล้านเยนด้วยซ้ำ

Click on the image for full size
ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของรถไฟชินคันเซน
บริษัทเอกชนญี่ปุ่นแข่งกับรัฐวิสาหกิจจีน
ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นยอมรับว่า อุปสรรคที่รถไฟญี่ปุ่นที่ไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ไม่ใช่เรื่องของเงินทุนหรือความทันสมัย แต่เป็นรูปแบบการบริหารจัดการ โดยบริษัทที่ผลิตรถไฟชินคันเซนมี 2 ราย คือ ฮิตาชิ และคาวาซากิ

หากแต่ ทางฝั่งจีน ผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูงคือรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของคณะรัฐมนตรีจีนโดยตรง โดยแต่เดิมมี 2 บริษัท คือ “หนานเชอ” 中國南車 และ “เป่ยเชอ” 中國北車 แต่ในปี 2015รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งได้ควบรวมกิจการกันเป็นบริษัท CRRC Corporation Limited หรือ จงกั๋วจงเชอ 中国中车 ซึ่งเป็นกิจการรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

การแข่งขันเรื่องรถไฟความเร็วสูงระหว่างญี่ปุ่นจีนนั้น จึงไม่ใช่การแข่งขันระหว่างบริษัทเอกชน แต่เป็นการแข่งขันระหว่างรัฐบาลของ 2 มหาอำนาจแห่งเอเชีย

Click on the image for full size
แผนที่โครงการ "รถไฟเชื่อมเอเชีย" ของรัฐบาลจีน
ศึกการค้า ศึกการเมือง
รัฐบาลทั้งญี่ปุ่นและจีนได้ใช้ความพยายามทางการทูตและการเมืองในหลายมิติ เพื่อให้ได้สิทธิ์ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย โดยเฉพาะรัฐบาลจีนที่นายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียง เคยประกาศอย่างชัดเจนในระหว่างการเยือนประเทศไทยว่า “ปรารถนาจะสร้างรถไฟเชื่อมภูมิภาคเอเชียให้ได้” แน่นอนว่ารัฐบาลแดนมังกรจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นจริง

ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นยังยกตัวอย่างการจัดตั้ง ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย หรือ AIIB ที่จีนเป็นผู้ริเริ่มและมี 57 ประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกนั้น เป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญของโครงการทางรถไฟเชื่อมเอเชีย ซึ่งการออกแรงผลักดันโดยตรงจากรัฐบาลเช่นนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นไม่อาจจะทำได้เพราะติดขัดเรื่องข้อกฎหมาย แตกต่างจากฝ่ายจีนที่รัฐบาลสามารถสั่งการได้ทุกอย่าง

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการเดินรถไฟตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่จนถึงวันนี้รถไฟของไทยยังคงล้าหลังเหมือนเช่นเมื่อ 130 ปีก่อน จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าการพัฒนาการขนส่งทางรางเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง

อภิมหาโครงการที่มีมูลค่ามหาศาลนี้ไม่เพียงเป็น “ชิ้นปลามัน” ที่ใครๆต่างก็ปรารถนา หากแต่ยังเกี่ยวพันถึงดุลอำนาจของประเทศต่างๆในภูมิภาค รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องพิจารณาทั้งมิติของการลงทุน, สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเมืองระหว่างประเทศให้รอบคอบ.



รายการนี้จะจบลงเมื่อผลประโยชน์ลงตัวครับ Laughing

ถ้าต้องรถไฟความเร็วสูงจริงๆ ถามว่าบ้านเราอยากได้แบบไหนกันแน่?
ชินกังเซนสุดยอด ในเรื่องสุนทรียภาพในการเดินทางครับ ใช่ แต่ ถ้าหมายที่จะให้มีศักยภาพในการขนส่งสินค้าด้วย ชินกังเซนไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้ครับ แล้วเราต้องการแบบไหนกันแน่?

ผมเองไม่อยากเห็นภาพพี่น้องชาวไทยโดนเอาเปรียบแบบสมยอม อย่างที่เห็นๆกันอยู่เหมือนกับระบบรถไฟฟ้าในบ้านเรา ค่าเดินทางแพงกว่าชาวบ้าน เมื่อเทียบกับประเทศอื่นอย่างสิงคโปร์ ฮ่องกง ที่ต้นทุนค่าแรงงานในการก่อสร้างสูงกว่า(ผมเชื่อว่าค่าก่อสร้างบ้านเราถูกกว่า ปูนเผาเอง มีโรงรีดเหล็เส้นเอง) ค่าครองชีพสูงกว่าบ้านเรา แต่ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกกว่า ทำไม?????!!!!!!!

นั่งรถไฟฟ้า ไปสำโรง จากอนุสาวรีย์ 4-50 บาท แต่ต้องแออัด เผลอๆโดนยืนตลอดสาย
ต่อให้แพงกว่านี้คนก็ยังแน่น BTS ฟันกำไรสบายใจไป

เป็นแบบนั้น ผมนั่งรถตู้ไม่ดีกว่าเหรอครับ? ได้นั่งด้วยงีบได้ด้วย

ตกลงประเทศไทยเราสร้างระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชลเพื่อให้เป็นทางหลักหรือเป็นทางเลือกกันแน่?

เป็นคนไทยต้องอดทนมากเลยใช่มั้ยครับ?

ถ้าเป็นทางหลัก ราคาในปัจจุบันนี้ตอบโจทย์นั้นได้มั้ยครับ?


เรื่องรถไฟความเร็วสูง
เทียบกับญี่ปุ่น รายได้ต่อหัว (GDP per capita) ข้อมูลจาก Wold Bank 2013
http://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?page=1

Japan รายได้ต่อหัว (GDP per capita) อยู่ที่ $38,633.7 คิดเป็นเงินไทย ประมาณ 1.3 ล้านบาทต่อปี

Thailand รายได้ต่อหัว (GDP per capita) อยู่ที่ $ 5,779.0 คิดเป็นเงินไทย ประมาณ 1.9 แสนบาทต่อปี

ลองเปิดค่าโดยสาร ชินกังเซ็น https://www.jreast.co.jp/e/charge/
นั่งจาก Tokyo ไป Shin-Aomori เส้นทาง Tohoku Shinkansen ระยะทาง 713.7 Km เกือบพอจะเทียบจาก กทมไปเชียงใหม่
ถ้านั่งตัวE5 Hayabusa รถตัวท๊อปของเส้นทาง ค่าเดินทางอยู่ที่ 17,350 เยน เทียบเป็นเงินไทย (อัตราตอนนี้ที่ 100 เยนประมาณ 27 บาท) อยู่ที่ ประมาณ 4,700 บาท ที่ราคานี้ค่าตั๋วแพงกว่าเครื่องด้วยซ้ำ
แล้วใครล่ะที่นั่งประจำ? รายได้ต่อหัวเท่าไหร่ที่จะนั่งประจำได้? แล้วคนที่มีปัญญาจะนั่งรถไฟความเร็วสูงได้มีกี่คนกัน?

แต่ถ้าลองเทียบบัญญัติไตรยางค์เพื่อให้เป็นราคาที่เหมาะสมกับค่าครองชีพของไทย ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 700 บาทเท่านั้น เทียบเป็นความรู้สึกของเงินที่ต้องเสียไป 700 บาท นั่งชินกังเซนไปเชียงใหม่ ความเร็ว สุนทรียภาพในการโดยสาร ไม่เเพงเลย หากรัฐมีเป้าหมายให้รถไฟความเร็วสูงเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางจริงๆ ผมจะไม่แปลกใจเลยถ้าจะมีคนใช้ชินกังเซนเยอะมาก แต่ถามว่าลงทุนไปแล้ว เก็บที่ 700 บาทได้มั้ยละครับ?
Embarassed Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 08/06/2015 7:44 pm    Post subject: Reply with quote


เปิดกประเด็น เรื่อง รถไฟความไวสูงกะธนาคาร AIIB
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=kmSBDaJ5lPE

"สามารถ" แห้ว จีนไม่ร่วมลงทุนสร้างรถไฟกับไทย !!
T-News

7 มิถุนายน 2558 เวลา 14:24:53 tag
"สามารถ ราชพลสิทธิ์"ผิดหวัง! จีนไม่ร่วมลงทุนรถไฟไทย-จีน
มติชน
วันที่ 08 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 09:47:00 น.

"ดร.สามารถ" วอน จีนร่วมลงทุนก่อสร้าง เหตุเพราะได้รับประโยชน์ด้วย - เชื่อ มีผู้โดยสารมาใช้บริการเยอะแน่ !!



วันนี้ (7 มิ.ย.) ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์รูปภาพและข้อความลงบนเฟซบุ๊คเพจ "ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์" ระบุถึงกรณีที่ประเทศจีนไม่ลงทุนสร้างรถไฟร่วมกับประเทศไทย ว่า


หลายคนคงเข้าใจว่าจีนจะมาช่วยพัฒนารถไฟไทยให้ทันสมัย พูดง่ายๆ ก็คือรัฐบาลจีนจะมาร่วมลงทุนก่อสร้างรถไฟให้ไทยตามเส้นทางที่รัฐบาลไทยเห็นชอบ นั่นคือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุด โดยจะออกแบบให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งไม่ใช่รถไฟความเร็วสูงแต่เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง เส้นทางนี้จะทำหน้าที่ขนทั้งผู้โดยสารและสินค้า



ผมไม่ติดใจในความสามารถด้านการพัฒนารถไฟของจีน แม้ว่าจีนได้เริ่มพัฒนารถไฟความเร็วสูงได้มาไม่นาน แต่จีนก็สามารถก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงได้ระยะทางรวมยาวที่สุดในโลก



เมื่อพิจารณาดูแนวเส้นทางดังกล่าวข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าจีนจะได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นเส้นทางที่เปิดทางออกสู่ทะเลให้จีนได้อีกเส้นทางหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ จีนจึงควรร่วมลงทุนก่อสร้างด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นภาระของไทยเพียงฝ่ายเดียว ผมได้โพสต์ความเห็นเช่นนี้ไว้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เรื่อง "เงินกู้จีน-ญี่ปุ่น ชี้ชะตาไฮสปีดไทย" หลังจากนั้นผู้ที่รับผิดชอบได้ให้ข่าวว่าจีนจะร่วมลงทุนด้วย ไม่ใช่ให้เงินกู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้ผมหลงดีใจพร้อมกับโพสต์เรื่อง "รถไฟทางคู่ไทย-จีนคืบหน้าเมื่อจีนยอมควักกระเป๋า" ไว้เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2558 แต่ถึงวันนี้ผมกลับต้องผิดหวังหลังจากได้รับข้อมูลว่าจีนจะไม่ร่วมลงทุนด้วย



การลงทุนรถไฟเส้นทางนี้จะเป็นการลงทุนทั้งหมด 100% โดยรัฐบาลไทย ซึ่งรัฐบาลไทยจะกู้เงินในประเทศบางส่วน และจะกู้เงินจากจีนบางส่วน งานส่วนไหนที่คนไทยทำได้ก็จะใช้ผู้รับเหมาไทย งานส่วนไหนที่คนไทยไม่ถนัดก็จะจ้างจีนทำให้ รวมทั้งจะซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีในประเทศจากจีน เช่น ขบวนรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ และระบบตั๋ว เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จีนก็จะได้ประโยชน์จากการให้กู้เงิน รวมทั้งการก่อสร้างและขายวัสดุอุปกรณ์



ผมไม่ได้คัดค้านการก่อสร้างรถไฟเส้นทางนี้ แต่อยากเรียกร้องให้รัฐบาลเจรจากับรัฐบาลจีนโดยขอให้รัฐบาลจีนร่วมลงทุนด้วย ทั้งนี้ เพื่อความสำเร็จในการบริหารจัดการเดินรถไฟหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ เพราะถ้าจีนร่วมลงทุนด้วยเขาก็จะพยายามหาหนทางที่จะทำให้มีผู้โดยสารและสินค้ามาใช้บริการมาก ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการหรือประเทศชาติโดยส่วนรวม


Last edited by Wisarut on 09/06/2015 12:47 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2015 9:34 am    Post subject: Reply with quote

หน้าตาสถานีรถไฟความไวสูง ที่เชียงใหม่, ลำพูน และ ลำปาง ซึ่งสร้างที่ย่านสถานีเดิม
http://www.oknation.net/blog/akom/2015/06/05/entry-2
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 15/06/2015 6:41 pm    Post subject: Reply with quote

ไม่นานเกินรอ ! รฟท. ลั่นรถไฟไฮสปีด กทม.-หัวหิน ได้ใช้ปี 63
มติชน
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 12:12:35 น.

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่สำรวจเส้นทางการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหินว่า คาดว่าจะเปิดประมูลเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯหัวหิน ได้ภายในสิ้นปี 2558 และใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี หรือเสร็จปี 2563 เมื่อโครงการเสร็จจะช่วยเพิ่มความสะดวกการเดินทาง รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากลดเวลาการเดินของรถไฟ จากปกติใช้เวลา 4-5 ชม. ขณะที่รถยนต์ใช้เวลา 2-3 ชม. เหลือเพียง 1 ชม.ครึ่ง เพราะเป็นรถไฟความเร็วสูง ส่วนการสร้างรถไฟทางคู่จะประมูล 6 เส้นทางได้ภายในปีนี้เช่นกัน โดยรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน อาจจะใช้ลักษณะการลงทุนแบบเปิดกว้าง โดยมีเอกชนไทยสนใจจำนวนมาก หรือแยกการลงทุนเป็นส่วนๆ เช่น ระบบโครงสร้างพื้นฐานให้คนไทยลงทุน การเดินรถใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ

นายวุฒิชาติกล่าวว่า รฟท.ยังมีนโยบายในการเปลี่ยนระบบการเดินรถจากการใช้เชื้อเพลิงดีเซล เป็นพลังงานไฟฟ้าตามนโยบายของ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาการปรับเปลี่ยนเชื้อเพลิงและเส้นทางที่จะนำร่อง 1 เส้นทางในปี 2560 และมีแผนปรับทั้งหมดในปี 2575 ส่วนการจัดหาหัวรถจักรมาใช้ในการเดินรถ จากเดิมที่ ครม.ได้อนุมัติจัดซื้อหัวรถจักรใหม่ 50 คัน ยังต้องเดินหน้าต่อไป แต่จะใช้ระบบการเช่าหัวรถจักรประมาณ 100 หัว พร้อมซ่อมบำรุง 15 ปี เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนและลดต้นทุน พร้อมอัพเดตเทคโนโลยีให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการ รฟท. ได้ติดตามความคืบหน้าแผนฟื้นฟูกิจการที่ผ่านคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสากิจ (คนร.) แล้ว โดยมีแผนฟื้นฟู 7 แผน อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถ การเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร การบริหารทรัพย์สิน การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ รฟท. รวมถึงจะมีการปรับโครงสร้าง รฟท.ให้มีประสิทธภาพ และการปรับโครงสร้างจะไม่มีการปรับลดหรือเพิ่มบุคลากร แต่จะใช้วิธีการปรับตำแหน่งให้เกิดความเหมาะสม เช่น เรื่องบริหารทรัพย์สิน จะลดขั้นตอนการปฏิบัติงานลง จาก 24 ขั้นตอน เหลือเพียง 9 ขั้นตอน แบบ ONE STOP SERVICE เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2015 2:11 am    Post subject: ท่านทูตจีนเปรยว่าควรต่อขยายรถไฟไทยจีนมาเมืองจันทบุรี Reply with quote

ตามทูตแดนมังกรทัวร์เมืองจันท์ "ลงเรือลำเดียวกัน"ไทยเป็นหนึ่งในใจจีน...จริงหรือ?
รายงานพิเศษ
ศิริลักษณ์ หาพันธ์นา
ที่มา มติชนสุดสัปดาห์
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
18 มิถุนายน 2558 เวลา 09:01:55 น.





ดังที่ทราบกันดี สองชาติมหาอำนาจแห่งเอเชีย อย่างจีนและญี่ปุ่น กำลังแข่งขันกันเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากโครงการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงที่เหล่าประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียกำลังมุ่งให้ความสนใจ

ทางฝ่ายจีนได้ชูโปรโมชั่นการลดแลกแจมแถมทั้งระบบการรถไฟเเละเสนอเงินกู้ระยะยาวมาสร้างความได้เปรียบและดึงดูดใจ

ส่วนญี่ปุ่นเองก็ชูจุดเเข็งในเรื่องมาตรฐานระดับสูงในด้านระบบการทำงานและความปลอดภัย

แม้รถไฟจีนจะมาทีหลังแต่ดูเหมือนจะโตแบบไฮสปีดขยายอย่างรวดเร็ว เจาะตลาดรถไฟความเร็วสูง งัดไม้เด็ดเสนอเงินกู้ก้อนโตพ่วงระบบรถไฟความเร็วสูงของจีนให้คู่ค้าแบบตัดสินใจได้ไม่ยากสำหรับประเทศที่งบฯจำกัด

ประเทศไทยถือเป็นไข่แดงอาเซียนอันเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่สองชาติมหาอำนาจอาเซียนเล็งสร้างโครงข่ายรถไฟฟ้าเชื่อมถึง

โดยทางจีนได้เล็งพัฒนาเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุดและแก่งคอย-กรุงเทพฯ เป็นรถไฟรางมาตรฐาน ความเร็ว 180 ก.ม./ช.ม. หวังเปิดเส้นทางขนส่งสินค้าจีนตอนใต้จากคุนหมิงออกสู่ทะเล ผ่านท่าเรือมาบตาพุดของไทย

ส่วน "ญี่ปุ่น" เล็งพัฒนาระบบรางให้ไทยครบทุกโหมด ทั้งรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, รถไฟราง 1 เมตร 2 เส้นทาง สายแรกจะเชื่อมท่าเรือแหลมฉบังกับทวาย ผ่านเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ-แหลมฉบัง เพื่อเป็นสะพานเชื่อมการค้าไปยังเมียนมาร์ กัมพูชา เวียดนาม

ส่วนสาย แม่สอด-มุกดาหาร กำลังอยู่ในช่วงศึกษาความเป็นไปได้

ดูเหมือนว่าแนวโน้มการเชื่อมต่อ ทั้งความสัมพันธ์ 40 ปี สัมพันธ์ไทย-จีน และรางรถไฟฟ้า ทางการจีนจะคะแนนนำเพราะมีข้อเสนอมากกว่าแค่ราง แต่มีเงินให้ยืมพร้อมสรรพจากธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย หรือ AIIB ที่จีนเป็นหัวเรือใหญ่

ประกอบกับเส้นทางจากคุนหมิงในมณฑลยูนนานผ่านมาไทย มีโอกาสเติบโตเด่นชัดเพราะถนนสายไหมในอดีต ที่จะกลายเป็นทางรถไฟสายใหม่ จะเป็นเส้นทางขนนักท่องเที่ยวจีนมาไทยได้มากกว่าเดิมหลายเท่า เห็นได้จากในไตรมาสแรกของปีนี้ มีนักท่องเที่ยวจีนมาไทยกว่า 2 ล้านคนแล้ว และคาดหมายว่าสิ้นปี 2558 นี้จะมีนักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหลมาไทยไม่ต่ำกว่า 6 ล้านคนอย่างแน่นอน

ตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนมีแต่จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ และกระจายไปหลายจังหวัดในไทย ทำให้เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย "นิ่ง ฟู่ ขุย" ลงพื้นที่ไปสอดส่องแหล่งกิน เที่ยว ช็อป แห่งใหม่ด้วยตัวเองเพื่อโปรโมตให้ชาวแดนมังกรตามมาตะลอนทัวร์ในดินแดนฝั่งตะวันออกของไทย

โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรีที่เอกอัครราชทูตชื่นชอบเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ "ทุเรียน" ที่ยกนิ้วให้พร้อมเอ่ยว่า "อร่อยจริงๆ"



นอกเหนือความอร่อยของผลไม้ไทยที่ถูกใจทูตจีนแล้ว สิ่งที่เอกอัครราชทูต นิ่ง ฟู่ ขุย อยากจะบอกกล่าวก็คือ นโยบาย One Road One Belt ที่จีนจะเป็นผู้เสนอขึ้นมาและลงนามกับหลายประเทศที่สนใจ โดยชี้แจงว่าเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน จีนไม่ได้รับประโยชน์ไปเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น รวมถึงข้อเสนอการร่วมมือสร้างเส้นทางสายไหมทางทะเลเป็นการยกระดับความเจริญของภูมิภาค

"เหมือนเราลงเรือลำเดียวกันหากินร่วมกัน จีนต้องการโลก ต้องการประเทศเพื่อนบ้าน ด้านประเทศเพื่อนบ้านก็ต้องการจีนเช่นกัน ไทยซึ่งมีความพร้อมและความได้เปรียบด้านโครงสร้างพื้นฐานและมีการท่าเรือ การบิน และจีนกับไทยจะเร่งพัฒนาระบบรางรถไฟในไทยเพื่อเพิ่มศักยภาพและความเจริญในภูมิภาคนี้ให้จงได้" คำกล่าวของ "นิ่ง ฟู่ ขุย" เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย



จากคำกล่าวที่ว่าลงเรือลำเดียวกันในครานี้ ทูตจีนเล็งเห็นว่า เมืองจันท์มีความได้เปรียบในการดำเนินการทางเศรษฐกิจ เพราะไม่ไกลจากกรุงเทพฯ อยู่ใกล้ท่าเรือและสนามบินนานาชาติ โดยทางจีนต้องการสร้างความร่วมมือร่วมระหว่างภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการค้าขายระหว่างกัน โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตรและผลไม้ พร้อมร่วมรณรงค์ให้ชาวจีนรู้จักจังหวัดจันทบุรีมากขึ้นและต้องการนำผลผลิตของเมืองจันท์ไปแสดงโชว์ที่งานจัดแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีนที่มณฑลกว่างซีและมณฑลยูนนานด้วย

พร้อมกับให้คำแนะนำว่า ทางจังหวัดจันทบุรีต้องสร้างแบรนด์ผลไม้ของตนเองขึ้นมา ติดโลโก้ให้ชัดเจนว่าเป็นของจังหวัดจันทบุรี ให้ชาวจีนรู้จักว่าผลไม้ที่ส่งออกเกือบครึ่งหนึ่งจากไทยนั้นมาจากเมืองจันท์ จะเป็นการสร้างชื่อเสียงเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจีนมาเที่ยวชมและทำการค้าขายโดยตรงที่จังหวัดจันทบุรีด้วย

การันตีความฮิตของผลไม้เมืองจันท์ด้วยบริษัทจดทะเบียนที่เข้ามารับซื้อผลไม้จากจันทบุรีกว่า171 บริษัท มีบริษัทจากจีนถึง 50 บริษัท ถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่ทีเดียว

โดยบริษัทของจีนต้องการสั่งซื้อมังคุดและทุเรียนมากขึ้นจากเดิม และเส้นทางผลไม้เมืองจันท์ไปเมืองซานตงของจีนใช้เวลาเพียง 6 วัน โดยการขนใส่ตู้คอนเทนเนอร์ไปแหลมฉบังลงเรือไปขึ้นที่ฮ่องกงแล้วบรรทุกต่อไปปลายทางที่เมืองซานตง

ซึ่งทางจังหวัดจันทบุรีได้เตรียมเร่งสร้างห้องเย็นขนาดใหญ่ไว้เก็บรักษาผลไม้และอำนวยความสะดวกในการรับซื้อและขนส่งผลไม้เพื่อรองรับการซื้อขายที่จะเติบโตขึ้นนี้



ด้วยความเกรงกลัวกำลังซื้อของชาวจีนที่ได้ชื่อว่ากวาดเรียบจึงอดห่วงไม่ได้ที่จะทำให้ราคาทุเรียนในท้องตลาดพุ่งสูงขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ทูตจีนตอบคำถามพร้อมกับยิ้มว่า "ก็ต้องดีใจแทนชาวสวนสิ เป็นเรื่องน่ายินดี และการที่ชาวจีนจะมาซื้อหมดสวนจนไม่มีขายให้คนไทยนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เรื่องนี้ถือเป็นการกระตุ้นให้ชาวสวนหันมาปลูกทุเรียนกันเพิ่มขึ้นให้ทันตามความต้องการของตลาด เมื่อของขายดีขึ้น เกษตรกรก็มีรายได้เพิ่มขึ้น"

พูดจบทูตจีนก็ไปเก็บทุเรียนสดๆ จากต้นมาชิมแล้วเอ่ยทันทีว่า "ทุเรียนไทยอร่อยจริงๆ ไม่น่าแปลกใจที่ชาวจีนจะชื่นชอบทุเรียนไทยขนาดนี้"

นอกจากปากหวานแล้ว ยังแอบส่องเห็นว่าทูตจีนยังมีมุมโรแมนติก หยุดเป็นแชะ!! เพราะชื่นชอบการถ่ายภาพมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะภาพวิวและธรรมชาติ ฝีมือระดับเทพถึงขั้นได้จัดแสดงร่วมในงานแสดงนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ระหว่างการเดินทาง ทูตจีนได้เปิดเจอหนังสือแนะนำการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของภาคตะวันออกพร้อมกับเอ่ยเบาๆ ว่า รู้สึกละอายใจมากที่ทำงานประจำอยู่ประเทศไทยกว่า 2 ปี แต่ไม่เคยมาเยือนภาคตะวันออกสักที ช่างน่าเสียดายจริงๆ และยังได้พูดแซวประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีน และส่งเสริมความสัมพันธ์ (พินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี) ว่า หากรู้มาก่อนว่าจันทบุรีมีอุทยานแห่งชาติที่สวยงามขนาดนี้คงไปเที่ยวและถ่ายรูปแน่ๆ แต่อดีตรองนายกฯ ได้จัดทริปผลไม้ พวกเราก็เลยกินอิ่มกันทั้งทริป

ใกล้เวลาพลบค่ำ พระอาทิตย์เตรียมอัสดงเมื่อมาถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา จู่ๆ ขบวนรถหยุดกะทันหัน ทูตจีนกระโจนลงจากรถพร้อมกล้องคู่ใจ วิ่งไล่ตามพระอาทิตย์ที่กำลังจะลับขอบฟ้า ฉากหน้าเป็นทุ่งหญ้าและบ่อเลี้ยงกุ้ง ท้องฟ้าเจือสีแดงปนชมพู

นับเป็นแสงสุดท้ายของวันที่น่าประทับใจจริงๆ จึงไม่ลังเลวิ่งตามเอกอัครราชทูตลงทุ่งพร้อมคว้ากล้องรัวชัตเตอร์ ไปถึงจุดที่ทูตยืนอยู่ด้วยอาการเหนื่อยหอบ พอทูตจีนหันมายิ้มและโชว์รูปภาพเอ็กซ์คลูซีฟของเส้นขอบฟ้าสีแดงปนชมพูตัดกับขอบทุ่ง พร้อมคำบรรยาย

"แม้พระอาทิตย์จะลับขอบฟ้าไปแล้ว แต่ว่าท้องฟ้าเวลาพระอาทิตย์กำลังตกนี้แหละ สวยที่สุด ว่าไหม?"

ด้วยความเป็นกันเองบวกความอารมณ์ดีของทูตจีนและการต้อนรับอย่างอบอุ่นของสมาคมความสัมพันธ์ไทย-จีนทำให้การเดินทางเยือนเส้นทางสายไหมทางทะเล ถิ่นบรูพาครั้งนี้สร้างความประทับใจให้ชาวคณะไม่น้อย

ในบริบทโลกปัจจุบันที่จีนแม่ทัพแห่งแดนมังกรกำลังขยายอิทธิพลไปทั่วโลกเศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภูมิภาคอาเซียนจะพร้อมเติบโตไปกับจีนหรือไม่ เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 จะประสบความสำเร็จเพียงใด

และไทยก็ยังคงเป็นประเทศหนึ่งในใจจีน (จริงหรือ?) เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องติดตามกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/06/2015 4:17 pm    Post subject: Reply with quote

หัวหินเล็งสถานี‘ไฮสปีดเทรน’ เตรียมปั้นแลนด์มาร์กแห่งใหม่
Home Business
ฐานเศรษฐกิจ
วันพฤหัส ที่ 18 มิถุนายน, 2558


“วุฒิชาติ” ควงนายกเทศมนตรีเมืองหัวหินสำรวจพื้นที่สร้างสถานีรถไฟทางคู่ “นครปฐม–หัวหิน” และไฮสปีดเทรน “กรุงเทพฯ–หัวหิน” ยันเตรียมพื้นที่รองรับไว้พร้อมแล้วด้านตรงข้ามสถานีหัวหินปัจจุบัน ส่วนไฮสปีดเทรนจัดพื้นที่ราว 3 แสนตร.ม.ตรงข้ามสนามบินบ่อฝ้าย ด้านนายกเทศมนตรีเมืองหัวหินเตรียมผลักดันสถานีไฮสปีดเทรนให้เป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่

นายวุฒิชาติกัลยาณมิตรผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความพร้อมในการจัดประมูลโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางนครปฐม–หัวหิน และเส้นทางประจวบคีรีขันธ์–ชุมพรรวมถึงเตรียมพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟหัวหินให้เป็นสถานีรองรับ โดยจะก่อสร้างช่วงพื้นที่ฝั่งตรงข้ามสถานีหัวหินปัจจุบัน ล่าสุดได้ร่วมหารือกับนายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหัวหิน ด้านการพัฒนาพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างถนนเชื่อมโยงตลอดจนการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับการพัฒนารถไฟฟ้าจึงเตรียมดึงภาคเอกชนทั้งในพื้นที่และส่วนกลางกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องความเจริญรองรับไว้ตั้งแต่วันนี้

“จัดพื้นที่พร้อมรองรับไว้แล้ว โดยรางรถไฟที่เปิดให้บริการปัจจุบันจะอยู่ด้านซ้ายสุดติดกับสถานี ส่วนพื้นที่รางช่วงกลางจะเป็นทางวิ่งของไฮสปีดเทรน และช่วงขวาสุดจะเป็นทางวิ่งของรถไฟทางคู่ ซึ่งก่อสร้างยกระดับขึ้นไป โดยพื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างสถานีรถไฟทางคู่ที่หัวหินนี้จะใช้พื้นที่ประมาณ 6,352 ตารางเมตร มีความยาวของสถานีประมาณ 1 กิโลเมตร โดยเป็นพื้นที่อาคาร 450 เมตร และกำหนดแนวเส้นทางยกระดับประมาณ 5 กิโลเมตร ขณะนี้เป็นพื้นที่ของร.ฟ.ท.ประมาณ 80 เมตร จากแนวรางปัจจุบัน และจะใช้พื้นที่นอกย่านร.ฟ.ท.อีกประมาณ 40 เมตร”

ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ–หัวหินมีมูลค่าการลงทุนรวม 9.8 แสนล้านบาท(ค่าก่อสร้าง 8.3 หมื่นล้านบาท ค่าระบบรถไฟฟ้า 9,324 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 1,905 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 4,100 ล้านบาท) มีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ช่วงกรุงเทพฯ–หัวหิน 8.11% แต่เมื่อพัฒนาเส้นทางต่อไปและสุดสายปาดังเบซาร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 12.76% อัตราค่าโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2.50-3 บาทต่อกิโลเมตร ประมาณ 522-627 บาทต่อเที่ยว (ขึ้นอยู่กับชั้นโดยสาร)จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง

“มี 4 สถานีประกอบด้วย 1.สถานีนครปฐม(อยู่ในจุดสถานีรถไฟเดิม เนื่องจากมีพื้นที่เพียงพอ) 2.สถานีราชบุรี(อยู่ที่ใหม่ ต.คูบัว อ.เมืองราชบุรี ห่างจากตัวเมืองราชบุรี 3 กิโลเมตร) 3.สถานีเพชรบุรี (อยู่ที่ใหม่ใกล้เขาหลวง ต.ธงชัย อ.เมืองเพชรบุรี ถนนเพชรเกษม ห่างจากในเมือง 1.5 กิโลเมตร)และ 4.สถานีหัวหิน (อยู่ที่ใหม่ ด้านหน้าสนามบินบ่อฝ้าย ต.บ่อฝ้าย อ.หัวหิน บริเวณหัวหินซอย 2 ห่างจากสถานีหัวหินเดิม 7 กิโลเมตร และถนนเพชรเกษม 300 เมตร)”

นายนพพรวุฒิกุลนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองหัวหินกล่าวว่าเทศบาลเมืองหัวหินได้เตรียมพร้อมการรับมือทั้งรถไฟทางคู่และไฮสปีดเทรนไว้แล้วโดยมีนโยบายจัดเตรียมความพร้อมพื้นที่เอาไว้โดยเฉพาะเรื่องของระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่รองรับให้สะดวก รวดเร็ว โดยการให้บริการรถสองแถวของเอกชนที่มีอยู่สนับสนุนให้เข้ามาวิ่งบริการเพื่อไม่ให้กระทบต่อวิถีชีวิตคนที่ประกอบอาชีพ เป็นการช่วยเสริมให้ทุกคนได้มาใช้รถขนส่งสาธารณะกันมาก
ขึ้น

“หัวหินปัจจุบันเจริญรุดหน้าอย่างมาก เพราะฉะนั้นกรณีที่รถไฟและรถไฟฟ้ามาถึงหัวหินจะทำให้พื้นที่เมืองมีความหนาแน่นขึ้น ขณะนี้เรื่องผังเมืองยังไม่กำหนดออกมาเลย ยังรออยู่ คาดว่าจะเสร็จตั้งแต่สิ้นปีที่ผ่านมา แต่นี่ล่วงเข้าสู่ช่วงกลางปีนี้ก็ยังไม่เสร็จ ไม่ทราบว่าจะเสร็จเมื่อไร ในส่วนเรื่องของสถานีไฮสปีดเทรนจะใช้ตรงพื้นที่บ่อฝ้าย คาดว่าเมื่อเปิดให้บริการแล้วจะเป็นแลนด์มาร์กหนึ่งของหัวหิน”
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 190, 191, 192 ... 542, 543, 544  Next
Page 191 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©