Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179996
ทั้งหมด:13491228
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 45, 46, 47 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2015 7:43 pm    Post subject: Reply with quote

ทีม พีอาร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย รายงานข่าวเรื่องคณะผู้แทนจากจีนเดินทางศึกษาดูงานโรงรถจักรแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
ทีม พีอาร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย wrote:
คณะผู้แทนจากจีนเดินทางศึกษาดูงานโรงรถจักรแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
วันนี้(30 มิถุนายน 2558) นายวิโรจน์ เตรียมพงศ์พันธ์ รองผู้ว่าการกลุ่มยุทธศาสตร์และอำนวยการ พร้อมด้วยผู้บริหาร เป็นตัวแทนการรถไฟฯ ให้การต้อนรับคณะกรรมการร่วมเพื่อสร้างความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เดินทางมาศึกษาดูงานการรถไฟแห่งประเทศไทย ณ โรงรถจักรแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

https://www.facebook.com/pr.railway/posts/1107105215971015


ส่วนการสำรวจชั้นดินรถไฟไทยจีน ดูที่นี่
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Na1Xu34jnDo


Last edited by Wisarut on 02/07/2015 12:36 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/07/2015 8:04 pm    Post subject: Reply with quote

^^^
เมื่อวานตอนเช้า (30 มิ.ย. 58) เห็นขบวนจัดเฉพาะจอดอยู่ที่ชาน 5 ครับ ขบวน 356 ที่ผมนั่งมาเข้ามาจอดต่อท้าย ส่งผู้โดยสารเสร็จก็กลับออกไป

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2015 11:26 pm    Post subject: Reply with quote

จีน-ญี่ปุ่นชิงดำวางระบบรถไฟชุมทาง"ภาชี" ส้มหล่น2สถานีใหม่"ปางอโศก-โคกสะอาด"บิ๊กตู่ขอดูแบบส.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
2 กรกฎาคม พ.ศ.2558 เวลา 22:04:24 น.



อัพเดตเมกะโปรเจ็กต์ "บิ๊กตู่" ตีกรอบ ส.ค.นี้ ขอดูรูปแบบการลงทุนโครงการหลังจีนชั่งใจนาน ขณะที่จีนลงสำรวจพื้นที่มินิไฮสปีดเฟสแรก "กทม.-แก่งคอย-โคราช" ผงะท่อก๊าซ ปตท.ขวางหวั่นเขตทางไม่พอวางราง รื้อแบบจอดป้ายเพิ่ม 2 สถานีใหม่ "ปางอโศก-โคกสะอาด" รับขนคน-สินค้า วงในเผยหวั่นไม่ทันตอกเข็ม ต.ค. 58 ด้าน "ญี่ปุ่น" เริ่มคิกออฟไฮสปีดเทรน กทม.-เชียงใหม่ ก.ค.นี้ แต่ขอเวลา 2 ปีศึกษา+ออกแบบ รักษามาตรฐานโลก ลุ้นชิงดำวางระบบช่วง กทม.-ภาชี 81 กม.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 30 มิ.ย.-1 ก.ค. 2558 คณะกรรมการร่วมไทย-จีนประชุมครั้งที่ 5 จ.นครราชสีมา ติดตามความคืบหน้ารถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ 873 กม. เช่น การสำรวจพื้นที่ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รูปแบบลงทุน กรอบวงเงิน การฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้น กลาง ยาว การถ่ายทอดเทคโนโลยี และข้อตกลงกรอบการทำงาน (Framework Agreement)

เพิ่มสถานี-ส่งรายงานบิ๊กตู่

รายละเอียดทั้งหมดจะสรุปได้ ส.ค.นี้ หลังผลศึกษาความเป็นไปได้และแบบรายละเอียดเสร็จ เพื่อทราบเงินลงทุน จึงจะกำหนดรูปแบบลงทุนระหว่างรัฐบาลไทยและจีน วงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย โดยจะรายงานให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีรับทราบ ส.ค.นี้

"จะเน้นสำรวจกรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราชก่อน มีผลศึกษาไฮสปีดเทรนเดิมซึ่งจีนต้องปรับความเร็วลงรองรับขนส่งสินค้า เพิ่มจุดที่ตั้งสถานี 2-3 สถานี เพื่อหลีกและรับผู้โดยสารด้วย ส่วนหนองคายเป็นสถานีปลายทาง ปรับมาให้บริการในประเทศและระหว่างประเทศ รับรถไฟจีน-ลาวที่เวียงจันทน์"

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การลงทุนมี 2 รูปแบบ โดยรูปแบบแรก ไทยรับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานและงานระบบไฟฟ้า จ้างจีนบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง โดยจีนเป็นผู้รับผิดชอบหลักช่วง 3 ปีแรก ปีที่ 4-7สองฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบ 50 : 50 หลังปีที่ 7 ไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

ลุ้นจีนร่วมลงทุนเดินรถ

ทั้งนี้ ไทยอยากให้จีนร่วมลงทุนการเดินรถ โดยตั้งบริษัทใหม่ร่วมกันตั้งแต่ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า จัดซื้อขบวนรถ บริหารจัดการเดินรถ และซ่อมบำรุง เพื่อช่วยทำการตลาดดึงคนและสินค้าจากจีนตอนใต้มาใช้บริการ หากว่าจ้างจีนเดินรถอย่างเดียว เท่ากับไทยจะต้องทำตลาดฝ่ายเดียว โอกาสคุ้มค่าจะน้อย

รูปแบบที่ 2 ไทยและจีนร่วมลงทุนทั้งงานโครงสร้างพื้นฐาน เดินรถ และระบบรถ เพื่อรับผิดชอบหาแหล่งเงินลงทุน

"ตอนนี้ยังสรุปอะไรไม่ได้ รอผลสำรวจและแบบ แต่การแบ่งความรับผิดชอบ หาแหล่งเงิน การให้เงินกู้ จีนไม่ขัดข้อง เช่น ใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศใช้เงินกู้ไทย ทางจีนพร้อมให้กู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษซื้อระบบรถ ต้องคุยรายละเอียดต่อ จีนยังไม่ให้คำตอบใด ๆ ทั้งสิ้น"

หวั่นพื้นที่-เทคนิคทำให้ช้า

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าจีนลงสำรวจพื้นที่และพบปัญหาช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี มีการก่อสร้างหลายโครงการ ทั้งสายสีแดง แอร์พอร์ตลิงก์และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ของญี่ปุ่นทำให้เขตทางก่อสร้างอาจจะไม่พอ และช่วงคลอง 1-คลองพุทรา อยู่ใกล้แนวท่อน้ำมันและก๊าซ ปตท. อาจจะไม่ปลอดภัย ต้องสร้างห่างออกไปจากแนวเดิม 13 เมตร

อีกทั้งคอนเซ็ปต์โครงการต่างจากรถไฟความเร็วสูง เช่น ความเร็ว การบริการ เพราะรถไฟความเร็วสูงเน้นผู้โดยสารเป็นหลัก แต่รถไฟไทย-จีนจะมีการขนส่งสินค้าด้วย จึงต้องสร้างสถานีเพิ่มเพื่อรอหลีกการเดินรถในระยะแรกจาก กรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทางรวม 271.5 กม. ได้แก่ สถานีภาชี สถานีแก่งคอย สถานีปางอโศก และสถานีโคกสะอาด กับต้องปรับรูปแบบสถานีสระบุรี และการใช้งานโครงสร้างช่วงสถานีบางซื่อ-รังสิตใหม่ พยายามไม่ให้เปลี่ยนแปลงมากเพื่อจะได้ใช้ผลศึกษาเดิมของไฮสปีดเทรนมาใช้ ลดเวลาจัดทำรายงานอีไอเอ

"จากปัญหาด้านเทคนิคการก่อสร้าง อาจจะทำให้โครงการล่าช้า ถ้าแบบไม่เสร็จก็นำไปสู่การพิจารณารูปแบบลงทุนและความคุ้มทุนโครงการไม่ได้ ถ้าไม่คุ้มจะทำยังไง ต้องให้จีนเข้ามาช่วยลงทุนเยอะ ๆ แต่จีนยังไม่ให้คำตอบ แต่ทาง พล.อ.อ.ประจินยังคาดหวังว่าจะเริ่มสร้างได้ ต.ค.นี้ตามแผน อาจจะเริ่มช่วงที่ไม่เปลี่ยนรายละเอียดมาก เช่น ช่วงแก่งคอย ให้โครงการเริ่มต้นทันรัฐบาลชุดนี้" แหล่งข่าวกล่าว

ออกแบบสายเชียงใหม่ 2 ปี

ขณะที่ความคืบหน้ารถไฟไทย-ญี่ปุ่น นายอาคมกล่าวว่า วันที่ 26 มิ.ย.มีประชุมครั้งแรกร่วมกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น (MLIT) ตั้งคณะทำงาน 3 ทีม กำหนดประชุมทุก 3 เดือน ได้แก่

1.ศึกษาและออกแบบรายละเอียดรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม.
2.ศึกษาความเหมาะสมรถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก ช่วงกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี, กรุงเทพฯ-สระแก้ว และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 574 กม. และ
3.พัฒนาระบบการขนส่งสินค้าทางรางพื้นที่ภาคตะวันออก

"ก.ค.นี้ ญี่ปุ่นจะนำผลศึกษาไฮสปีดเทรนเดิมไปศึกษาเป็นฉบับเต็มให้ไทย กำหนดเสร็จกลางปี"59 เมื่อได้ข้อสรุปเบื้องต้นเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ จากนั้นปี"60 ศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบรายละเอียด คาดว่าเริ่มสร้างปี"61 ใช้เวลา 4-5 ปี เสร็จในปี"64-65 ญี่ปุ่นย้ำว่ารถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่นมีความปลอดภัยที่สุดในโลก ต้องใช้เวลาออกแบบรอบคอบและได้มาตรฐาน ส่วนรูปแบบลงทุนยังไม่สรุป ฝ่ายไทยอยากให้เป็นรูปแบบ PPP"

นายอาคมกล่าวอีกว่า ฝ่ายไทยขอให้ญี่ปุ่นลงพื้นที่ สำรวจ ก.ค.นี้ แบ่งก่อสร้างเป็น 2 ช่วง คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กม. กับพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กม. ซึ่งแนวเส้นทางช่วงที่ 2 ยังไม่สรุปว่าพาดผ่านสุโขทัยหรืออุตรดิตถ์ เบื้องต้นไทยยืนยันใช้ผลศึกษาของสนข. โดยให้ผ่านสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยว ทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 426,898 ล้านบาท

"ญี่ปุ่นมองว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะมีคนมาใช้น้อย เราบอกว่าตลอดเส้นทางมีเมืองท่องเที่ยว อนาคตจะมีรถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตกเชื่อมจากแม่สอด-มุกดาหารมาเสริมโครงข่ายการเดินทางมากขึ้น"

ญี่ปุ่นขอวางระบบ กทม.-ภาชี

แหล่งข่าวกล่าวว่า ท่าทีญี่ปุ่นไม่ได้เร่งรัดโครงการเหมือนอย่างไทย เนื่องจากเน้นมาตรฐานจึงใช้เวลาศึกษานานกว่า 2 ปี การก่อสร้างและระบบทางญี่ปุ่นยืนยันเป็นชินคันเซน อีกทั้งขอความชัดเจนพื้นที่ทับซ้อนกับรถไฟจีน ช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ระยะทาง 81.8 กม.จะใช้ระบบอาณัติสัญญาณของใคร แม้ว่า สนข.จะบอกว่าใช้ระบบยุโรปเนื่องจากหลายประเทศใช้กัน

"ญี่ปุ่นขอให้เราใช้ระบบของเขาช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ เพราะเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงจากภาชี-เชียงใหม่ และภาชี-หนองคาย ถ้าญี่ปุ่นได้วางระบบ รายอื่นก็ต้องใช้ระบบญี่ปุ่นด้วย รวมทั้งขอให้ไทยรับผิดชอบก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน ส่วนการเดินรถจะนำบริษัทเอกชนญี่ปุ่นมาร่วมกับไทย" แหล่งข่าวกล่าว
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=diD9L84G-Ak
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/07/2015 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมแบ่ง 4 สัญญาก่อสร้างรถไฟไทย-จีน คัดพิเศษรับเหมาไทยรับงานโยธา 70%
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 2 กรกฎาคม 2558 20:10 น.

“คมนาคม”เร่งชง สผ.เคาะ EIA รถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ- แก่งคอย ,แก่งคอย-มาบตาพุด ,แก่งคอย –โคราช, โคราช-หนองคาย ทั้งโครงการในส.ค.แบ่งก่อสร้าง 4 สัญญา จ่อประมูลพิเศษเลือกผู้รับเหมาไทยรับงานโยธา 70% ตั้งเป้าทำพิธีเปิดเริ่มต้นก่อสร้าง 23 ต.ค. 58 ที่แก่งคอย

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วม รถไฟไทย-จีนครั้งที่ 5ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกการประชุมร่วมกับ Mr.Wang Xiaotao หัวหน้าคณะฝ่ายจีน เมื่อวันที่2 ก.ค. ว่า การทำข้อตกลงกรอบการทำงาน (Frame Work Agreement) นั้นจะมีการตั้งคณะทำงาน 2 ฝ่ายขึ้นพิจารณาความเหมาะสมและเนื้อหาของการทำงาน โดยกรอบจะแล้วเสร็จได้ในวันที่ 29 ส.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในวันที่ 10 ก.ย. พิจารณาก่อนลงนาม โดยโครงการ รถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ- แก่งคอย ,แก่งคอย-มาบตาพุด ,แก่งคอย –โคราช, โคราช-หนองคาย ระยะทาง 873 กม. จะดำเนินการสำรวจ ออกแบบรวดเร็วกว่าโครงการทั่วไป เพราะมีแนวเส้นทางรถไฟเดิม และมีการศึกษาไว้ก่อนแล้ว ซึ่งหากเปรียบเทียบเส้นทางรถไฟ สปป. ลาว-จีน เส้นทางในประเทศลาวระยะทาง 471 กม.ใช้เวลาในการสำรวจมากถึง 2 ปี เนื่องจากไม่มีแนวเส้นทางรถไฟเดิม และเส้นทางผ่านพื้นที่ป่าแลภูเขาเขากว่า 70% ดังนั้น ไทยใช้ข้อมูลเดิมประกอบการใช้เทคโนโลยีการสำรวจใหม่ทำให้รวดเร็วขึ้น จาก 1 ปีเหลือ 6 เดือนเท่านั้น

ส่วนหลักการก่อสร้าง จะแบ่งเป็น 4 สัญญา คือ
สัญญา 1(ช่วงกรุงเทพ- แก่งคอย)
สัญญา 2 (ช่วง แก่งคอย-มาบตาพุด)
สัญญาที่ 3 (ช่วงแก่งคอย –โคราช) และ
สัญญาที่ 4 (ช่วง โคราช-หนองคาย)
โดยจะแบ่งทีมก่อสร้างออกเป็น 2 คู่ คือ สัญญา 1 ,3 และสัญญา 2,4 เพื่อสามารถเปรียบเทียบผลงานและมาตรฐานกันได้ โดยจีนจะส่ง 2 ทีมมาก่อสร้าง โดยในส่วนของผู้รับเหมาไทยได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว จะรับผิดชอบงานก่อสร้างพื้นราบสัดส่วนประมาณ 70% ส่วนผู้รับเหมาจีนจะก่อสร้างทางผ่านภูเขาและสะพาน สัดส่วนประมาณ 30% ซึ่งคาดว่าจะประกวดราคาได้ในเดือนก.ย.นี้ เพื่อเริ่มก่อสร้างใน ต.ค. โดยอาจจะต้องใช้วิธีพิเศษ แต่จะต้องให้มีความโปร่งใสมากที่สุด

ดังนั้นการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA )นั้นจะต้องได้รับอนุมัติทั้งโครงการก่อนลงมือก่อสร้าง โดยขณะนี้ได้เสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(สผ.) พิจารณาผลการศึกษา EIA ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-หนองคายเดิม ส่วนบางตอนที่มีการเปลี่ยนแนว หรือสถานีเพิ่มซึ่งเป็นข้อมูลใหม่จะต้องนำเสนอเพิ่มเติม ซึ่งจะมีไม่เกิน 15 % ของเนื้องานทั้งหมด คาดว่าจะเสนอ สผ.และได้รับการพิจารณาในส.ค. สำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่จะใช้ที่แก่งคอย จ.สระบุรี เนื่องจากมีพื้นที่มากและอยู่ในแนวเส้นทางจะมีความสะดวก ส่วนศูนย์ควบคุมการเดินรถ (OCC) จะอยู่ที่เชียงรากน้อย

“จะมีบางช่วงที่มีการเบี่ยงเส้นทางจากเดิม และเพิ่มสถานีใหม่ โดยจะไม่ให้กระทบต่อการเวนคืนมากเกินไปและไม่กระทบสิ่งแวดล้อมเกินไป หากมากไปจะพยายามดึงกลับมาใช้แนวเดิม ส่วนมูลค่าโครงการ ตามการศึกษาเดิมที่เป็นรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-หนองคาย นั้นอยู่ประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ขณะนี้เป็นรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1.345 เมตร ความเร็วปานกลาง โดยการศึกษาผ่านมา 2 ปีเศษแล้ว และมีบางช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มสถานี และเส้นทางเพิ่มเติม ปัจจัยสภาพดิน ดังนั้น มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อประมาณการณ์ค่าก่อสร้างงานโยธาที่จะปรับไปซึ่งต้องรอผลสำรวจออกแบบจบก่อนในเดือนส.ค.นี้ ”พล.อ.อ.ประจินกล่าว

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า รถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตร รถจะเป็นระบบไฟฟ้า ความเร็วปานกลาง ดังนั้นจะก่อสร้างเป็นทางคู่ใหม่ในพื้นที่เขตทางรถไฟ ไม่สามารถใช้ทางร่วม หรือ แชร์แทร็กกับรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตร ซึ่งใช้รถดีเซลได้ แต่ในอนาคตภายในปี 2575 รถไฟจะต้องปรับจากดีเซลเป็นระบบไฟฟ้าทั้งหมด ดังนั้น จะต้องมีการวางแผนในการเชื่อม 3 ระบบที่กลมกลืนกันอย่างสมบูรณ์ คือ ราง 1.435 รถไฟไทย-จีน ราง 1.435 รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น และรถไฟขนาดราง 1 เมตรที่มีอยู่เดิม อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ระบบอาณัติสัญญาณของจีน แต่จะต้องศึกษาว่าระบบของจีน เป็น ระบบเปิด (Open System) เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนผ่านและใช้เทคโนโลยีที่ต่อเนื่องกันได้ทุกประเทศ

อย่างไรก็ตามได้กำหนดตารางการประชุมว่า ในครั้งที่ 7 ว่าจะต้องสรุปเงื่อนไขและข้อตกลง ด้านการเงิน รูปแบบการลงทุน งานสำรวจ ช่วงที่ 1และ 3 งาน EIA ช่วงที่ 1 และ 3 งานเวนคืนแล้วเสร็จคาดว่าจะเป็นช่วง วันที่ 28-30 ส.ค. 2558 และมีการลงนามใน Frame Work Agreement วันที่ 10 ก.ย.2558 ดำเนินการร่างสัญญาการก่อสร้าง ช่วง 11 ก.ย.-19 ต.ค. ลงนามสัญญาก่อสร้าง 20 ต.ค. 2558 เพื่อทำพิธีเปิดโครงการก่อสร้าง ที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี วันที่ 23 ต.ค.2558

นายวรเดช หาญประเสริฐ รองปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การศึกษา สำรวจออกแบบและก่อสร้างคืบหน้าประมาณ70-80% เหลือบางส่วนช่วง แก่งคอย-มาบตาพุด โดยผล Feasibility Study จะเสร็จในกลางเดือน ส.ค.นี้ จะทราบวงเงินโครงการในส่วนของงานก่อสร้างและระบบรถเบื้องต้น ทางจีนยืนยันจะให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ซึ่งเป็นอัตราที่ดีกว่าการที่ไทยจะกู้เองจากแหล่งเงินอื่นๆซึ่งจะมีการพิจารณาในขั้นของการพิจารณาด้านการเงิน โดยเงินทุนจะมาจากหลายแหล่ง คือ จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ใช้งบประมาณ การก่อสร้างงานโยธา ในขอบเขตที่ฝ่ายไทยรับผิดชอบ ใช้เงินกู้ภายในประเทศ ,ขอบเขตงานของฝ่ายจีน (ระบบรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบควบคุม) ใช้เงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน และ/หรือเงินกู้เชิงพาณิชย์จากธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกจากจีน (China EXIM Bank) โดยไทยเสนอตั้งบริษัทร่วมทุนในการเดินรถ การซ่อมบำรุง ระบบรถ และระบบอาณัติสัญญาณ ส่วนการประชุมครั้งที่ 6 ทางไทยและจีน ได้ข้อตกลงร่วมกันว่าจะจัดที่เมืองเฉินตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 6-8 ส.ค. 2558
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2015 6:59 am    Post subject: Reply with quote

'ประจิน'ดีเดย์ 23 ตุลาฯตอกเสาเข็มรถไฟไทย-จีน
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วานนี้(1 ก.ค.)ที่จ.นครราชสีมา มีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 5 โดยฝ่ายไทยมีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นหัวหน้าคณะ ขณะที่ฝ่ายจีนมีนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติเป็นหัวหน้าคณะ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ความคืบหน้าในการลงพื้นที่สำรวจออกแบบก่อสร้างรถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร กรุงเทพ-แก่งคอย-มาบตาพุด -แก่งคอย-แก่งคอย-นครราชสีมาหนองคาย ระยะทาง 867 กิโลเมตร นั้น จากการลงพื้นที่สำรวจของฝ่ายจีนพบว่า มีความคลาดเคลื่อนกับผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ถึง 20% ซึ่งหากคลาดเคลื่อนมากจะส่งผลกระทบต่อการเวนคืนที่ดิน และการศึกษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม รวมการรื้อย้าย ดังนั้นได้มอบหมายให้พล.อ.ท. บรรจง คล้ายนสูตร์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ไปประชุมหาข้อสรุปร่วมกับฝ่ายจีนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 ก.ค.โดยเฉพาะแนวเส้นทางช่วงที่ 1 กรุงเทพ-แก่งคอย และช่วงที่3 แก่งคอย-นครราชสีมา ส่วนการสำรวจและออกแบบกำหนดให้แล้วเสร็จ ภายใน 21 ส.ค. 2558 พร้อมทำข้อตกลงกรอบการทำงานให้เสร็จภายในวันที่ 29 ส.ค.สอดคล้องกับผลการสำรวจออกแบบ กำหนดแนวเส้นทางการก่อสร้าง การควบคุมการเดินรถ เป็นต้น โดยเป็น การสรุปข้อมูลทั้งหมด เสนอครม. ต้นเดือน ก.ย. ก่อนสรุปรูปแบบการลงทุนและเริ่มก่อสร้างในวันที่ 23 ต.ค. 2558

"ความก้าวหน้าเส้นทางนั้นส่วนใหญ่เป็นแนวเส้นทางเดิมที่ สนข.ทำการศึกษาภายในเดือน ก.ค. นี้ต้องสรุปรายละเอียดแนวเส้นทางและสถานี การสำรวจของจีน นั้นต้องมีการเวนคืนที่ดินประมาณ 20% ซึ่งต้องดำเนินการจัดทำรายละเอียดใหม่ให้มีการเวนคืนที่ดินน้อยกว่า 20% หรือประมาณ10% ตามข้อมูลเดิม มั่นใจว่าจะเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดก่อสร้างเดือน ต.ค.2558 แต่ถ้าสำรวจและออกแบบไม่เสร็จเดือน ส.ค. ก็จะให้เวลาออกไปอีก 30 วัน ก่อนเสนอครม.เดือน พ.ย.และเริ่มก่อสร้าง ธ.ค. 2558 อันนี้เป็นแผนสำรอง"

ส่วนการก่อสร้างนั้นในเดือน ต.ค. นี้จะดำเนินการก่อสร้าง ช่วงที่1 กรุงเทพแก่งคอย และช่วงที่3 แก่งคอย-นครราชสีมา ส่วนอีก 2 ช่วง คือ ช่างที่2 มาบตาพุดแก่งคอย และช่วงที่4 นครราชสีมา - หนองคาย จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างประมาณ ธ.ค. 2558 ส่วนศูนย์ซ่อมมีข้อสรุปด้วยกันว่าจะใช้พื้นที่สถานีแก่งคอยพัฒนาเป็นศูนย์ซ่อมใหญ่การเดินกรุงเทพ-แก่งคอย ขณะเดียวกันยังมีการกำหนดรูปแบบการฝึกอบรม และการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยมีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทย และผู้เชี่ยวชาญจีน จะเดินทางมาให้ความรู้เรื่องการขนส่งทางราง เรื่องรถไฟความเร็วสูง และเทคโนโลยีการก่อสร้าง ขณะที่ไทยจะเชิญ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรถไฟที่มีอยู่เดิมกับผู้เชี่ยวระบบรถไฟเทคโนโลยีใหม่ไปอบรมที่ประเทศจีน เพื่อนำแนวความคิดในการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมในประเทศไทย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม กล่าวว่า รูปแบบการลงทุนได้มีการหารือเพิ่มเติมจากการประชุมครั้งก่อน โดยฝ่ายไทยเสนอว่า ควรมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในส่วนของการเดินรถและการบำรุงรักษา รวมทั้งควรมีการร่วมทุนในส่วนขบวนรถและระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งฝ่ายจีนขอไปศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพราะกฎหมายส่วนของไทยและจีนจะมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ดี ฝ่ายจีน ยืนยันว่าจะให้ดอกเบี้ยที่เป็นประโยชน์ต่อไทยมากที่สุด ซึ่งข้อสรุปเรื่องการลงทุนและการร่วมทุนทั้งหมดจะทราบแน่ชัดเมื่อผลการสำรวจออกแบบแล้วเสร็จ และฝ่ายไทยโดยกระทรวงการคลังจะเข้ามาดูรายละเอียดราคาประเมินว่ามีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร "ฝ่ายจีนยืนยันว่าเงินสกุลหยวนมีเสถียรภาพมากที่สุด แต่ฝ่ายไทยจะพิจารณาแหล่งเงินกู้จากหลายๆแห่ง คง ไม่ใช้เงินสกุลหยวนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งภายในเดือนส.ค.ฝ่ายไทยจะหารือกับฝ่ายจีนเกี่ยวกับรายละเอียดความคืบหน้าของผลสำรวจออกแบบและแหล่งเงิน"

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ฝ่ายจีนได้เสนอให้สร้างศูนย์สั่งการ การเดินรถและควบคุมรถไฟทั่วประเทศบริเวณสถานีกลางบางซื่อ แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีการใช้ประโยชน์เต็มพื้นที่ ดังนั้นจึงเสนอให้ใช้พื้นที่บริเวณเชียงรากน้อยแทน สำหรับการประชุมความร่วมมือรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 6 กำหนดประชุมระหว่างวันที่ 6-8 ส.ค. ที่เมืองซีอาน ประเทศจีน

'การสำรวจของจีนต้องมีการเวนคืนที่ดินประมาณ20%' ประจิน จั่นตอง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2015 7:23 am    Post subject: Reply with quote

แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 และแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2558(Action Plan)
Arrow http://www.otp.go.th/index.php/pr-news/5986.html

1. หนังสือแจ้งมติ ครม.

2. แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2558 (Action Plan)

3. เอกสารประชาสัมพันธ์

4. เอกสารการนำเสนอ ครม. 27 มี.ค. 2558

5. เอกสารสรุปโครงการ 2558-2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44323
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/07/2015 6:53 am    Post subject: Reply with quote

'วิศวฯ จุฬาฯ' ถึงรถไฟ 'ไทย-จีน'
ไทยโพสต์ Monday, July 6, 2015 - 00:01

วันนี้คุยกันเรื่องรถไฟ "ไทย-จีน" หน่อย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม บอกสรุปกับจีนลงตัวแล้ว ผมดูบทสรุป แหม...ถึงใจอยากให้ลงมือวันนี้-พรุ่งนี้

แต่ขอสะกิด "เพื่อประโยชน์ชาติ" ซักนิดเถอะ!
ที่จะลงมือ "รางคู่" ๒ เส้นทาง ความกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร "หนองคาย-มาบตาพุด" ๗๓๔ กม.เชื่อมรถไฟจีนที่มาจากคุนหมิงผ่านทางลาว
และอีกเส้น "แก่งคอย-บ้านภาชี" มากรุงเทพฯ ที่ "บางซื่อ" ๑๓๓ กม.!
เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ๑๖๐-๑๘๐ กม./ชม.ใช้ทั้งขนส่งสินค้าและขนส่งผู้โดยสาร
ตามแผนจะพัฒนาไปเป็นความเร็วสูงในอีก ๑๕-๒๐ ปีข้างหน้า หมายถึง รอดู "ผลสำเร็จ-ล้มเหลว" จากโครงการนี้ก่อน

ตามแผนลงทุน ๕ ปีนี้ ไทยต้องจ่ายประมาณ ๕ แสนกว่าล้าน ยังไม่นับด้านอุปกรณ์-เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ก่อนเปิดใช้ อีกเป็นแสนล้าน!
ใจหนึ่งนั้น ...ดีใจ พูดมาเป็นสิบๆ ปี "เป็นจริง" เสียที ยิ่งลงมือตอนนี้ ภาพสัมพันธ์ "ไทย-จีน" จะสื่อให้สังคมโลกจินตนาการได้กว้างขวาง
แต่นั่นแหละ เมื่อลงมือแล้ว "แก้ไขยาก" ดังนั้น ในช่วงพอแก้ไขได้ ผมอยากเสนอว่า............
ก่อนทั้งสองฝ่ายจะลงนามเห็นชอบ และส่ง ครม.อนุมัติ เดือนกันยา ๕๘ นี้ ปรารถนาด้วยเร่าร้อน
อยากให้ท่านนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ รมว.คมนาคม "พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง"
โปรดใคร่ครวญด้วยข้อมูลนี้อีกซักนิดเถอะ!

คือในภาพรวม รถไฟไทย-จีน จากหนองคาย-มาบตาพุด และแยกจากแก่งคอย-บ้านภาชี เข้ากรุงเทพฯ ที่บางซื่อ
เกือบ ๑๐๐% ประโยชน์จีนโดยตรง ในการขนสินค้าจากจีนตอนใต้เข้าไทย พูดชัดๆ เท่ากับจีน ได้เจาะทะลุไทยออกทะเลควบ ๒ มหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก
ทำไมต้องมาบตาพุด ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรม แทนที่จะไป "ท่าเรือแหลมฉบัง" มันซ่อนประเด็นอยู่มากทีเดียว
แต่นั่นแหละ ตรงแหลมฉบัง-มาบตาพุด เส้นทางอีสต์-เวสต์ คอริดอรส์ ด้วยแลนด์ บริดจส์ จะเป็นศูนย์กลางขนส่ง "ควบ ๒ มหาสมุทร" โดยไม่ต้องพึ่งช่องแคบมะละกา
จีนได้เส้นทางนี้...... ยิ่งกว่ามังกรได้น้ำ!

ส่วนที่ว่า ด้วยรถไฟ "ไทย-จีน" จะขนคนจีนเข้ามาเที่ยวไทยเป็นล้านๆ คน เป็นเพียง "มโนภาพ" เพราะด้วยความเร็ว ๑๖๐-๑๘๐ กม./ชม.
ระยะทางกว่า ๒,๐๐๐ กิโลฯ นั่งรถไฟจากคุนหมิงมาไทย ใช้เวลาไม่หนี ๑๘-๒๐ ชม.ค่าโดยสารตีซะว่า กม.ละ ๒.๕๐ บาท ก็ตกประมาณ ๕,๐๐๐ บาท!

ถามว่า...แล้วใครจะมา?
นั่งเรือบิน งีบเดียวก็ถึงกรุงเทพฯ แล้ว แถมตั๋วมีให้เลือกตั้งแต่ ๑,๐๐๐-๔,๐๐๐ บาท!
สรุป ทางรถไฟ "ไทย-จีน" นี้ ถ้าสร้าง แทนที่ไทยต้องจ่าย ๔-๕ แสนล้าน
ควรจะได้แปะเจี้ยจากจีน ๔-๕ แสนล้าน เป็นค่า "เปิดประตู" ให้มังกรลงทะเลด้วยซ้ำ!
เพราะไทยไม่ได้ประโยชน์เลย แถมยังเสียหายมหาศาล เพราะเส้นทางนี้ใช้ราง ๑.๔๓๕ เมตร

ในขณะที่ไทย รางรถไฟที่ใช้อยู่ "ทั้งหมด-ทั้งประเทศ" เป็นระบบ "เมตรเกจ" คือความกว้างราง ๑.๐๐ เมตร ยาวกว่า ๔,๐๐๐ กม.
ดังนั้น รถไฟ "ไทย-จีน" ด้านขนสินค้า จีนก็ใช้ขนสินค้าออกทะเลทางไทยคนเดียว ด้านขนผู้โดยสาร "ด้วยเวลา-ค่าโดยสาร"
ยากส์...ที่ว่าจะมีมาเป็นล้านๆ คน!
ตามแผน เป็นทางใช้ร่วมทั้งรถขนสินค้าและขนคนโดยสาร นั่นหมายถึง จะต้อง "รอหลีก" เป็นระยะๆ
ไม่ตอบโจทย์ "โลจิสติกส์" เลย!

เป้าหมายที่ไทยปฏิรูปรถไฟ มีแผนสร้าง "ทางคู่" เพิ่มอีก ๓,๔๐๐ กิโลฯ ใน ๒๐-๒๕ ปี ก็เพื่อพัฒนาขนส่งระบบราง จาก ๒% เป็น ๒๐% ลดการขนส่งทางรถยนต์ ซึ่งต้นทุนแพงมาก
และที่สำคัญ ในเส้นทางที่ ๒ "แก่งคอย-บ้านภาชี-บางซื่อ" มูลค่ากว่า ๖ หมื่นล้านนั้น
"เปล่าประโยชน์" โดยสิ้นเชิง!
เพราะซ้ำซ้อนกับทางคู่ "แก่งคอย-บ้านภาชี-บางซื่อ" ระบบราง ๑.๐๐ เมตรที่เรามีอยู่แล้ว
ยิ่งกว่านั้น ซ้ำซ้อนกับรถไฟฟ้า "สายสีแดง" ที่กำลังทำอยู่ขณะนี้"!

เรื่องราง ๑.๐๐ เมตร ที่เรียก "เมตรเกจ" กับราง ๑.๔๓๕ ที่เรียก "สแตนดาร์ดเกจ" มีคนพยายามสร้างความเข้าใจผิดเสมอมาว่า สแตนดาร์ดเกจ ดีกว่าเมตรเกจ
ความจริง "ไม่เกี่ยวกันเลย" จะ ๑.๐๐ เมตร หรือ ๑.๔๓๕ เมตร ด้วยความเร็ว ๑๖๐-๑๘๐ กม./ชม. ขึ้นอยู่กับ "ตัวเริ่ม" บนความสะดวกในการเชื่อมต่อของแต่ละภูมิภาคตะหาก
อย่าง ๑.๔๓๕ เมตร ประเทศในยุโรปใช้ เมื่อจะเชื่อมกัน ก็ต้องวางระบบ ๑.๔๓๕ เมตร กลายเป็น "ยูโรเปียน สแตนดาร์ดเกจ" พวกบูชาฝรั่งเห็นฝรั่งใช้ ก็เลยนึกว่าระบบนี้ดีกว่า
แต่จริงๆ แล้ว รถไฟทั้งโลก รวมความยาวแล้ว เป็นระบบ ๑.๐๐ เมตร มากกว่า ๑.๔๓๕ เมตร และประเทศที่เคยหลงตาม ต่างหันกลับมาใช้ ๑.๐๐ เมตร มากต่อมาก

กระทั่งจีนและญี่ปุ่นก็เถอะ!
ระบบ ๑.๐๐ เมตร เป็นความกว้างมาตรฐานอาเซียน ไปดูเถอะ ไทย-มาเลย์-เขมร-พม่า-ลาว-อินโดฯ-เวียดนาม ใช้ราง "เมตรเกจ" กว้าง ๑.๐๐เมตร เหมือนกันหมด!
ความจริง เราสร้างทางรถไฟรางกว้าง ๑.๐๐ เมตร จากไทยไปลาวถึง "ท่านาแล้ง" แล้ว ทำต่ออีกราวๆ ๙ กิโลฯ ก็ถึงเวียงจันทน์
นั่นคือ รถไฟ "ไทย-จีน" จากคุนหมิงมาลาว ถ้าใช้ระบบ ๑.๐๐ เมตร เชื่อมไทยได้ทันที ประหยัดเงินทุน ประหยัดเวลา มีแต่ได้กับได้สถานเดียว

ที่ไทยต้องตระหนักอีกข้อ ด้วยระบบราง ๑.๐๐ เมตร เรามีสัญญาความร่วมมือในการเชื่อมต่อโครงข่ายการเดินรถไฟกับอาเซียน มีเส้นทาง Singapore-Kunming Rail Link นำร่องอยู่แล้ว
เราเชื่อมมาเลย์ถึงสิงคโปร์แล้วตอนนี้ เวียดนาม-เขมร กำลังสร้างทางช่วงที่ขาด เมื่อเสร็จ ด้วยรถไฟระบบราง ๑.๐๐ เมตร "ทั้งภูมิภาค" เชื่อมต่อไปถึงคุนหมิงได้ทันที
ที่ยกมาคร่าวๆ จะเห็นว่า "ไม่จำเป็นเลย" ที่รถไฟ "ไทย-จีน" ต้องสร้างด้วยระบบราง ๑.๔๓๕ เมตร ขึ้นใหม่ มีข้อเสนอว่า....

"ให้ลงทุนสร้างทางคู่ขนาด ๑.๐๐ เมตรชุดใหม่ พร้อมระบบไฟฟ้า แยกใช้เป็นทางรถไฟโดยสารทันสมัย วิ่งความเร็ว ๑๖๐ กม./ชม.
และปรับปรุงทางเดี่ยวเดิมให้เป็น 'รถไฟขนส่งสินค้า' โดยเฉพาะซึ่งเดินรถได้ทั้งวัน และไม่ต้องหยุดรอหลีก สร้างความมั่นใจถึงปลายทางด้วยเวลาแน่นอน"

และที่อยากให้ตระหนักสูงสุด คือ.....
เมื่อมังกรออกทะเล ใครเล่าจะควบคุมได้ ไทยอาจเสีย "ดุลอำนาจ" และประโยชน์มหาศาล จากการควบคุม "ศูนย์กลางขนส่งเชื่อม ๒ มหาสมุทร"....ให้กับจีน!
ถ้านายกฯ ลุงตู่และท่านรัฐมนตรีประจินมองเห็นตรงนี้ ยังมีทางแก้ไข โดยไม่เสียแผนเดิม ไม่เสียเวลา ไม่ผิดสัญญา ไม่เสียน้ำใจ ไม่เสียมิตรภาพไทย-จีน
"ได้ครบ" ทุกอย่าง แต่ประหยัดเงินได้กว่า ๓ แสนล้าน!

เพียงนายกฯ ลุงตู่ เรียกคณะ "ชมรมวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (วศ.รปปท.)" ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญระบบขนส่งทางราง มาซักถามในประเด็นเหล่านี้
ที่ผมนำมาพูดนี่ ก็จากได้อ่าน "แนวทางการปฏิรูประบบรถไฟของไทย" ที่คุณวาณี อำไพกิจพาณิชย์ เลขาฯ คณะทำงานระบบราง วศ.รปปท. ศึกษาและวิเคราะห์ไว้
"บริสุทธิ์เหมือนน้ำฝนจากชายคาจาก" เพื่อประโยชน์สูงสุดกับประเทศและคนไทยโดยตรง จึงอยากให้นายกฯ ลุงตู่ได้รับฟังจากคุณวาณีสักครั้ง

"เพียงแต่เราขอเปลี่ยนเนื้อหาการก่อสร้างจากรถไฟทางคู่ชุดใหม่ขนาด ๑.๒๓๕ ม.เป็นทางคู่ชุดใหม่ ขนาด ๑.๐๐ ม.และตัดขอบเขตของการก่อสร้างให้เหลือแต่เฉพาะส่วนที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเส้นทางคู่ ๑.๐๐ ม.ที่เรามีอยู่แล้ว (ช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี-แก่งคอย และช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา) พร้อมทั้งปรับปรุงทางคู่ขนาด ๑.๐๐ ม.ที่มีอยู่แล้วในเส้นทางนี้ให้เป็นระบบไฟฟ้า และเพิ่มทางเดี่ยวอีก ๑ ทางให้กลายเป็นทางที่สาม เพื่อแยกรถไฟขนส่งสินค้าออกจากการขนส่งผู้โดยสาร

ซึ่งทางทูตจีนได้เคยยืนยันกับทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการเสวนาร่วมกันมาแล้วว่า...จีนสามารถผลิตระบบรถไฟขนาด ๑.๐๐ ม.ให้ไทยได้อย่างไม่มีปัญหายุ่งยากแต่อย่างใด เพราะเทคโนโลยีที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่เหนือล้อรถไฟ"

นี่คือ "ความตอนหนึ่ง" ของคุณวาณีในเอกสารศึกษา-วิเคราะห์แนวทางการปฏิรูประบบรถไฟของไทย
"รถไฟ ไทย-จีน" ที่ได้ฤกษ์ลงมือ ถ้าจะว่าเป็นบุญ...นี่คือบุญจาก คสช.
แต่ถ้าผิดพลาด บุญนี้...จะกลายเป็น "บาป" ทันที

เพื่อไม่ให้ผิดพลาด จึงอยากให้ท่านนายกฯ หรือท่านประจิน ฟังชมรมวิศวฯ จุฬาฯ ซักครั้ง...ก่อนตัดสินใจสุดท้าย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/07/2015 7:56 am    Post subject: Reply with quote

ลั่น ก.ย.นี้ดีเดย์ประมูลรถไฟไทย-จีน "ประจิน" ไม่สนไฮสปีด-แค่เร็วปานกลางพอแล้ว
ข่าวสด

05 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 12:40:57 น.


ได้ฤกษ์ ก.ย.นี้เปิดประมูลงานโยธารถไฟไทย-จีน 2 เส้นทาง "ประจิน" เงินลงทุนต่ำกว่า 4.2 แสนล้านที่ประเมินไว้ตอนแรก ยังกั๊กเงินกู้จากจีน ชี้ญี่ปุน-ยุโรปเสนอดอกต่ำกว่า ปัดจีนขอปรับเป็นความเร็วสูง ยันความเร็วปานกลางก็พอแล้ว

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมช.คมนาคม กล่าวถึงโครงการความร่วมมือรถไฟไทยจีนเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด และเส้นทางแก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย ว่า คาดว่าในเดือนก.ย.จะเปิดประกวดราคาก่อสร้างในส่วนของงานโยธาได้ โดยจะใช้วิธีพิเศษคัดเลือกบริษัทผู้รับเหมาจากบัญชีรายชื่อที่ฝ่ายไทยและจีนได้ให้ความเห็นชอบร่วมกันก่อนหน้านี้

โดยผู้รับเหมาไทยจะรับงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหลักคิดเป็น 70% ส่วนอีก 30% ผู้รับเหมาจีนจะรับผิดชอบงานก่อสร้างเฉพาะงานที่ต้องใช้เทคนิคพิเศษ เช่น การก่อสร้างทางลอดอุโมงค์และทางผ่านภูเขา

"ระหว่างนี้ทั้ง 2 ฝ่ายกำลังจัดทำรายละเอียดของกรอบการทำงานร่วมกัน คาดว่าจะให้ความเห็นชอบในกรอบความร่วมมือได้ภายในวันที่ 29 ส.ค.นี้ จากนั้นฝ่ายไทยจะเสนอกรอบการทำงานให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในวันที่ 10 ก.ย.นี้ เพื่อนำไปสู่การจัดทำร่างสัญญาโครงการต่อไป"

ส่วนวงเงินลงทุนทั้งหมดนั้นก่อนหน้านี้บริษัทที่ปรึกษาประเมินไว้เบื้องต้นว่าจะอยู่ที่ 4.2 แสนล้านบาท แต่เป็นการคำนวณบนพื้นฐานรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ 250 ก.ม/ช.ม. แต่ตามมติ ครม.อนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างที่ความเร็วปานกลาง หรือเร็วไม่เกิน 180 ก.ม./ช.ม. ดังนั้น วงเงินลงทุนที่แท้จริงน่าจะต่ำกว่า 4.2 แสนล้านบาท

รมว.คมนาคมกล่าวถึงดอกเบี้ยเงินกู้จากจีนว่า จีนยืนยันว่าจะให้เงินกู้ดอกเบี้ยแบบคงที่ในอัตราพิเศษที่ต่ำกว่าการไปกู้เงินจากแหล่งอื่น และจะไม่กำหนดสกุลเงินกู้ แต่ฝ่ายไทยจะพิจารณาเปรียบเทียบกับแหล่งเงินกู้อื่นๆ เช่น ญี่ปุ่นปล่อยกู้โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง เพียง 1.4% เท่านั้น รวมทั้งยังมีข้อเสนอแหล่งเงินกู้จากยุโรปด้วย

นอกจากนี้ฝ่ายจีนยื่นข้อเสนอให้ฝ่ายไทยปรับความเร็วของรถไฟ จาก 180 ก.ม./ช.ม เป็น 250 ก.ม./ช.ม. แต่ยืนยันว่าจะยึดตามมติครม. เนื่องจากความเร็ว 180 ก.ม./ช.ม.นั้นจะเน้นใช้เพื่อการขนส่งสินค้ามากกว่าขนคน โดยหากรถไฟมีความเร็วมากเกินไปจะสร้างความเสียหายกับตัวสินค้า และอาจเกิดอุบัติเหตุได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2015 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

'วิศวฯ จุฬาฯ' ถึงรถไฟ 'ไทย-จีน'
ไทยโพสต์
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา - 00:01

วันนี้คุยกันเรื่องรถไฟ "ไทย-จีน" หน่อย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม บอกสรุปกับจีนลงตัวแล้ว ผมดูบทสรุป แหม...ถึงใจอยากให้ลงมือวันนี้-พรุ่งนี้

แต่ขอสะกิด "เพื่อประโยชน์ชาติ" ซักนิดเถอะ!

ที่จะลงมือ "รางคู่" ๒ เส้นทาง ความกว้าง ๑.๔๓๕ เมตร "หนองคาย-มาบตาพุด" ๗๓๔ กม.เชื่อมรถไฟจีนที่มาจากคุนหมิงผ่านทางลาว

และอีกเส้น "แก่งคอย-บ้านภาชี" มากรุงเทพฯ ที่ "บางซื่อ" ๑๓๓ กม.!

เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ๑๖๐-๑๘๐ กม./ชม.ใช้ทั้งขนส่งสินค้าและขนส่งผู้โดยสาร

ตามแผนจะพัฒนาไปเป็นความเร็วสูงในอีก ๑๕-๒๐ ปีข้างหน้า หมายถึง รอดู "ผลสำเร็จ-ล้มเหลว" จากโครงการนี้ก่อน

ตามแผนลงทุน ๕ ปีนี้ ไทยต้องจ่ายประมาณ ๕ แสนกว่าล้าน ยังไม่นับด้านอุปกรณ์-เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ก่อนเปิดใช้ อีกเป็นแสนล้าน!

ใจหนึ่งนั้น ...ดีใจ พูดมาเป็นสิบๆ ปี "เป็นจริง" เสียที ยิ่งลงมือตอนนี้ ภาพสัมพันธ์ "ไทย-จีน" จะสื่อให้สังคมโลกจินตนาการได้กว้างขวาง

แต่นั่นแหละ เมื่อลงมือแล้ว "แก้ไขยาก" ดังนั้น ในช่วงพอแก้ไขได้ ผมอยากเสนอว่า............

ก่อนทั้งสองฝ่ายจะลงนามเห็นชอบ และส่ง ครม.อนุมัติ เดือนกันยา ๕๘ นี้ ปรารถนาด้วยเร่าร้อน

อยากให้ท่านนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ รมว.คมนาคม "พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง"

โปรดใคร่ครวญด้วยข้อมูลนี้อีกซักนิดเถอะ!

คือในภาพรวม รถไฟไทย-จีน จากหนองคาย-มาบตาพุด และแยกจากแก่งคอย-บ้านภาชี เข้ากรุงเทพฯ ที่บางซื่อ

เกือบ ๑๐๐% ประโยชน์จีนโดยตรง ในการขนสินค้าจากจีนตอนใต้เข้าไทย พูดชัดๆ เท่ากับจีน ได้เจาะทะลุไทยออกทะเลควบ ๒ มหาสมุทรอินเดีย-แปซิฟิก

ทำไมต้องมาบตาพุด ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรม แทนที่จะไป "ท่าเรือแหลมฉบัง" มันซ่อนประเด็นอยู่มากทีเดียว

แต่นั่นแหละ ตรงแหลมฉบัง-มาบตาพุด เส้นทางอีสต์-เวสต์ คอริดอรส์ ด้วยแลนด์ บริดจส์ จะเป็นศูนย์กลางขนส่ง "ควบ ๒ มหาสมุทร" โดยไม่ต้องพึ่งช่องแคบมะละกา

จีนได้เส้นทางนี้...... ยิ่งกว่ามังกรได้น้ำ!

ส่วนที่ว่า ด้วยรถไฟ "ไทย-จีน" จะขนคนจีนเข้ามาเที่ยวไทยเป็นล้านๆ คน เป็นเพียง "มโนภาพ" เพราะด้วยความเร็ว ๑๖๐-๑๘๐ กม./ชม.

ระยะทางกว่า ๒,๐๐๐ กิโลฯ นั่งรถไฟจากคุนหมิงมาไทย ใช้เวลาไม่หนี ๑๘-๒๐ ชม.ค่าโดยสารตีซะว่า กม.ละ ๒.๕๐ บาท ก็ตกประมาณ ๕,๐๐๐ บาท!

ถามว่า...แล้วใครจะมา?

นั่งเรือบิน งีบเดียวก็ถึงกรุงเทพฯ แล้ว แถมตั๋วมีให้เลือกตั้งแต่ ๑,๐๐๐-๔,๐๐๐ บาท!

สรุป ทางรถไฟ "ไทย-จีน" นี้ ถ้าสร้าง แทนที่ไทยต้องจ่าย ๔-๕ แสนล้าน

ควรจะได้แปะเจี้ยจากจีน ๔-๕ แสนล้าน เป็นค่า "เปิดประตู" ให้มังกรลงทะเลด้วยซ้ำ!

เพราะไทยไม่ได้ประโยชน์เลย แถมยังเสียหายมหาศาล เพราะเส้นทางนี้ใช้ราง ๑.๔๓๕ เมตร

ในขณะที่ไทย รางรถไฟที่ใช้อยู่ "ทั้งหมด-ทั้งประเทศ" เป็นระบบ "เมตรเกจ" คือความกว้างราง ๑.๐๐ เมตร ยาวกว่า ๔,๐๐๐ กม.
ดังนั้น รถไฟ "ไทย-จีน" ด้านขนสินค้า จีนก็ใช้ขนสินค้าออกทะเลทางไทยคนเดียว ด้านขนผู้โดยสาร "ด้วยเวลา-ค่าโดยสาร"

ยากส์...ที่ว่าจะมีมาเป็นล้านๆ คน!

ตามแผน เป็นทางใช้ร่วมทั้งรถขนสินค้าและขนคนโดยสาร นั่นหมายถึง จะต้อง "รอหลีก" เป็นระยะๆ

ไม่ตอบโจทย์ "โลจิสติกส์" เลย!

เป้าหมายที่ไทยปฏิรูปรถไฟ มีแผนสร้าง "ทางคู่" เพิ่มอีก ๓,๔๐๐ กิโลฯ ใน ๒๐-๒๕ ปี ก็เพื่อพัฒนาขนส่งระบบราง จาก ๒% เป็น ๒๐% ลดการขนส่งทางรถยนต์ ซึ่งต้นทุนแพงมาก

และที่สำคัญ ในเส้นทางที่ ๒ "แก่งคอย-บ้านภาชี-บางซื่อ" มูลค่ากว่า ๖ หมื่นล้านนั้น

"เปล่าประโยชน์" โดยสิ้นเชิง!

เพราะซ้ำซ้อนกับทางคู่ "แก่งคอย-บ้านภาชี-บางซื่อ" ระบบราง ๑.๐๐ เมตรที่เรามีอยู่แล้ว

ยิ่งกว่านั้น ซ้ำซ้อนกับรถไฟฟ้า "สายสีแดง" ที่กำลังทำอยู่ขณะนี้"!

เรื่องราง ๑.๐๐ เมตร ที่เรียก "เมตรเกจ" กับราง ๑.๔๓๕ ที่เรียก "สแตนดาร์ดเกจ" มีคนพยายามสร้างความเข้าใจผิดเสมอมาว่า สแตนดาร์ดเกจ ดีกว่าเมตรเกจ

ความจริง "ไม่เกี่ยวกันเลย" จะ ๑.๐๐ เมตร หรือ ๑.๔๓๕ เมตร ด้วยความเร็ว ๑๖๐-๑๘๐ กม./ชม. ขึ้นอยู่กับ "ตัวเริ่ม" บนความสะดวกในการเชื่อมต่อของแต่ละภูมิภาคตะหาก

อย่าง ๑.๔๓๕ เมตร ประเทศในยุโรปใช้ เมื่อจะเชื่อมกัน ก็ต้องวางระบบ ๑.๔๓๕ เมตร กลายเป็น "ยูโรเปียน สแตนดาร์ดเกจ" พวกบูชาฝรั่งเห็นฝรั่งใช้ ก็เลยนึกว่าระบบนี้ดีกว่า

แต่จริงๆ แล้ว รถไฟทั้งโลก รวมความยาวแล้ว เป็นระบบ ๑.๐๐ เมตร มากกว่า ๑.๔๓๕ เมตร และประเทศที่เคยหลงตาม ต่างหันกลับมาใช้ ๑.๐๐ เมตร มากต่อมาก

กระทั่งจีนและญี่ปุ่นก็เถอะ!

ระบบ ๑.๐๐ เมตร เป็นความกว้างมาตรฐานอาเซียน ไปดูเถอะ ไทย-มาเลย์-เขมร-พม่า-ลาว-อินโดฯ-เวียดนาม ใช้ราง "เมตรเกจ" กว้าง ๑.๐๐เมตร เหมือนกันหมด!

ความจริง เราสร้างทางรถไฟรางกว้าง ๑.๐๐ เมตร จากไทยไปลาวถึง "ท่านาแล้ง" แล้ว ทำต่ออีกราวๆ ๙ กิโลฯ ก็ถึงเวียงจันทน์

นั่นคือ รถไฟ "ไทย-จีน" จากคุนหมิงมาลาว ถ้าใช้ระบบ ๑.๐๐ เมตร เชื่อมไทยได้ทันที ประหยัดเงินทุน ประหยัดเวลา มีแต่ได้กับได้สถานเดียว

ที่ไทยต้องตระหนักอีกข้อ ด้วยระบบราง ๑.๐๐ เมตร เรามีสัญญาความร่วมมือในการเชื่อมต่อโครงข่ายการเดินรถไฟกับอาเซียน มีเส้นทาง Singapore-Kunming Rail Link นำร่องอยู่แล้ว

เราเชื่อมมาเลย์ถึงสิงคโปร์แล้วตอนนี้ เวียดนาม-เขมร กำลังสร้างทางช่วงที่ขาด เมื่อเสร็จ ด้วยรถไฟระบบราง ๑.๐๐ เมตร "ทั้งภูมิภาค" เชื่อมต่อไปถึงคุนหมิงได้ทันที

ที่ยกมาคร่าวๆ จะเห็นว่า "ไม่จำเป็นเลย" ที่รถไฟ "ไทย-จีน" ต้องสร้างด้วยระบบราง ๑.๔๓๕ เมตร ขึ้นใหม่ มีข้อเสนอว่า....

"ให้ลงทุนสร้างทางคู่ขนาด ๑.๐๐ เมตรชุดใหม่ พร้อมระบบไฟฟ้า แยกใช้เป็นทางรถไฟโดยสารทันสมัย วิ่งความเร็ว ๑๖๐ กม./ชม.

และปรับปรุงทางเดี่ยวเดิมให้เป็น 'รถไฟขนส่งสินค้า' โดยเฉพาะซึ่งเดินรถได้ทั้งวัน และไม่ต้องหยุดรอหลีก สร้างความมั่นใจถึงปลายทางด้วยเวลาแน่นอน"

และที่อยากให้ตระหนักสูงสุด คือ.....

เมื่อมังกรออกทะเล ใครเล่าจะควบคุมได้ ไทยอาจเสีย "ดุลอำนาจ" และประโยชน์มหาศาล จากการควบคุม "ศูนย์กลางขนส่งเชื่อม ๒ มหาสมุทร"....ให้กับจีน!

ถ้านายกฯ ลุงตู่และท่านรัฐมนตรีประจินมองเห็นตรงนี้ ยังมีทางแก้ไข โดยไม่เสียแผนเดิม ไม่เสียเวลา ไม่ผิดสัญญา ไม่เสียน้ำใจ ไม่เสียมิตรภาพไทย-จีน

"ได้ครบ" ทุกอย่าง แต่ประหยัดเงินได้กว่า ๓ แสนล้าน!

เพียงนายกฯ ลุงตู่ เรียกคณะ "ชมรมวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (วศ.รปปท.)" ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญระบบขนส่งทางราง มาซักถามในประเด็นเหล่านี้

ที่ผมนำมาพูดนี่ ก็จากได้อ่าน "แนวทางการปฏิรูประบบรถไฟของไทย" ที่คุณวาณี อำไพกิจพาณิชย์ เลขาฯ คณะทำงานระบบราง วศ.รปปท. ศึกษาและวิเคราะห์ไว้

"บริสุทธิ์เหมือนน้ำฝนจากชายคาจาก" เพื่อประโยชน์สูงสุดกับประเทศและคนไทยโดยตรง จึงอยากให้นายกฯ ลุงตู่ได้รับฟังจากคุณวาณีสักครั้ง

"เพียงแต่เราขอเปลี่ยนเนื้อหาการก่อสร้างจากรถไฟทางคู่ชุดใหม่ขนาด ๑.๒๓๕ ม.เป็นทางคู่ชุดใหม่ ขนาด ๑.๐๐ ม.และตัดขอบเขตของการก่อสร้างให้เหลือแต่เฉพาะส่วนที่ไม่ซ้ำซ้อนกับเส้นทางคู่ ๑.๐๐ ม.ที่เรามีอยู่แล้ว (ช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี-แก่งคอย และช่วงฉะเชิงเทรา-ศรีราชา) พร้อมทั้งปรับปรุงทางคู่ขนาด ๑.๐๐ ม.ที่มีอยู่แล้วในเส้นทางนี้ให้เป็นระบบไฟฟ้า และเพิ่มทางเดี่ยวอีก ๑ ทางให้กลายเป็นทางที่สาม เพื่อแยกรถไฟขนส่งสินค้าออกจากการขนส่งผู้โดยสาร

ซึ่งทางทูตจีนได้เคยยืนยันกับทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในการเสวนาร่วมกันมาแล้วว่า...จีนสามารถผลิตระบบรถไฟขนาด ๑.๐๐ ม.ให้ไทยได้อย่างไม่มีปัญหายุ่งยากแต่อย่างใด เพราะเทคโนโลยีที่สำคัญส่วนใหญ่อยู่เหนือล้อรถไฟ"

นี่คือ "ความตอนหนึ่ง" ของคุณวาณีในเอกสารศึกษา-วิเคราะห์แนวทางการปฏิรูประบบรถไฟของไทย

"รถไฟ ไทย-จีน" ที่ได้ฤกษ์ลงมือ ถ้าจะว่าเป็นบุญ...นี่คือบุญจาก คสช.

แต่ถ้าผิดพลาด บุญนี้...จะกลายเป็น "บาป" ทันที

เพื่อไม่ให้ผิดพลาด จึงอยากให้ท่านนายกฯ หรือท่านประจิน ฟังชมรมวิศวฯ จุฬาฯ ซักครั้ง...ก่อนตัดสินใจสุดท้าย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2015 6:33 pm    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่”ลั่น โปรเจ็คต์รถไฟไทย-จีน ต้องเกิดในรัฐบาลนี้ แย้ม จะกู้จากไหนก็ต้องกู้
มติชน
วันที่ 07 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 16:14:21 น.

เมื่อเวลา 13.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมครม.ว่า รถไฟที่ลงนามโดยจีทูจี เห็นจากสื่อบางฉบับเขียนว่า จะทำไปทำไม เพราะใช้งบประมาณสูง ซึ่งก็รับฟัง

แต่วันนี้คนเดิมเขียนกลับบอกว่า ทำไมจึงช้า และไม่ทำทันที ติดอะไรตรงไหน ดังนั้น จะอยู่ตรงไหน สิ่งแรกคือสื่อจะต้องวางใจให้ตนทำเพราะทำโดยเปิดเผย ไม่ได้ไปตกลงกับบริษัท แต่เป็นการตกลงกันระหว่างรัฐบาลและรัฐบาลซึ่งต้องใช้เวลา เพราะต้องตกลงกัน 3 ส่วน ไม่ใช่ทำแบบเดิมที่พูดกันครั้งเดียวแล้วเอาไปเลย

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า "วันนี้จะต้องมาพูดกันว่าใครจะเป็นคนสร้างราง ใครจะเดินรถแบ่งปันผลประโยชน์กันอย่างไร มีคณะอีก 4-5 คณะ ซึ่งกับประเทศญี่ปุ่นก็ทำเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะมี 2 ส่วนคือ จีนลงทุน และอีกส่วนคือ เราจะต้องกู้จากที่ไหนก็ได้ จากจีนก็ได้เพื่อที่จะทำรถไฟ เราต้องมาปรับกันว่าจะร่วมทุนกันอย่างไร จะจีทูจีกันได้หรือไม่ ในฝั่งที่เราจะต้องออก จึงได้สั่งให้ไปหามาตรการมา แต่ไม่อยากจะสร้างเป็นภาระระยะยาว รถไฟไทย-จีนมี 2 ช่วง อย่างน้อยรถไฟช่วงแรกก็เกิดในสมัยรัฐบาลนี้ ช่วงต่อไปก็ให้รัฐบาลต่อไปทำต่อ เงินส่วนนี้ก็เป็นเงินกู้ส่วนหนึ่งเป็นระยะยาวดอกเบี้ยต่ำ ตนเป็นกังวลในเรื่องนี้มาก"
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 45, 46, 47 ... 121, 122, 123  Next
Page 46 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©