RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264574
ทั้งหมด:13575857
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 135, 136, 137 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/06/2015 9:33 am    Post subject: Reply with quote

จี้รฟม.ต่อรถไฟฟ้าไปสาย4 ขยายสายสีน้ำเงินจากบางแค-แนะซอยสัญญาให้งานเร็ว
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 18 มิ.ย. 2558 05:01

ชาวบ้านเร่ง รฟม.สร้างรถไฟฟ้าไปถึงพุทธมณฑลสาย 4 แก้รถติดถนนเพชรเกษม แนะซอยสัญญาประกวดราคาเพื่อความรวดเร็ว

รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า เมื่อวันที่ 14 มิ.ย.58 ที่ผ่านมา ที่สำนักงานเขตหนองแขม รฟม.ได้มีการจัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มย่อย ครั้งที่ 1 ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 โดยเชิญประชาชนที่อยู่ตามแนวสายทางในพื้นที่เขตหนองแขม พุทธมณฑลสาย 2, 3 เข้าร่วมประมาณ 30 คน โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการก่อสร้าง เนื่องจากไม่มีการเวนคืนที่ดิน เพราะก่อสร้างไปตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม โดยประชาชนได้เร่งรัดให้ รฟม. ก่อสร้างโดยเร็ว พร้อมเสนอแนะให้แบ่งย่อยสัญญาการประกวดราคา เพื่อความรวดเร็วในการก่อสร้าง เพราะปัจจุบันถนนเพชรเกษมมีปัญหาการจราจรหนาแน่น ดังนั้น หากมีรถไฟฟ้าก็จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังกังวลในระหว่างการก่อสร้างว่าอาจจะเกิดปัญหาฝุ่นละออง และมีผลกระทบต่อผู้ค้าบริเวณริมทางเท้า ซึ่งในส่วนของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม บริษัทที่ปรึกษาจะมีการพิจารณาและวางแผนการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบกับประชาชนและสิ่งแวดล้อมมากที่สุด รวมทั้งจะมีการกำหนดชื่อสถานีให้สอดคล้องกับที่ตั้งด้วย โดยจะมีการประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการดังกล่าวอีกครั้งเดือน ก.ค.2558

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 มีระยะทางทั้งหมด 8 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นทางที่ต่อเนื่องจาก รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค มีแนวสายทางไปตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษมเริ่มต้นที่สถานีหลักสองมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกและไปสิ้นสุดที่บริเวณจุดตัดถนนพุทธมณฑลสาย 4 รูปแบบโครงสร้างเป็นแบบยกระดับตลอดแนวเส้นทาง ซึ่งการก่อสร้างโดยส่วนใหญ่ไม่มีการเวนคืน เนื่องจากก่อสร้างไปตามแนวถนนและทางเท้า.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2015 7:15 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จี้รฟม.ต่อรถไฟฟ้าไปสาย4 ขยายสายสีน้ำเงินจากบางแค-แนะซอยสัญญาให้งานเร็ว
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 18 มิ.ย. 2558 05:01


เร่งสร้างรถไฟฟ้าไปถึง”สาย4”
เดลินิวส์
วันพฤหัสที่ 18 มิถุนายน 2558 เวลา 13:20 น.
ชาวบ้านเร่งรฟม.สร้างรถไฟฟ้าไปถึงพุทธมณฑลสาย 4แก้รถติดถนนเพชรเกษม แนะประกวดราคาหลายเจ้าเพื่อความรวดเร็ว

รายงานข่าวแจ้งว่าเมื่อวันที่ 14มิ.ย.58ที่ผ่านมาการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)ได้มีการจัดประชุมสัมนารับฟังความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มย่อยครั้งที่1ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณฑลสาย4โดยประชาชนที่อยู่ตามแนวสายทางส่วนใหญ่ประชาชนไม่ได้มีความเห็นขัดแย้งเนื่องจากแนวเส้นทางไม่มีจุดที่จะดำเนินการเวนคืนซึ่งประชาชนได้เสนความเห็นให้รฟม.เร่งรัดการดำเนินการให้เร็วยิ่งขึ้นโดยการแบ่งการประกวดราคาของเป็นหลายสัญญาเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าเพราะปัจจุบันสภาพการจราจรในถนนเพชรเกษมมีการปัญหาการจราจรหนาแน่นดังนั้นหากมีรถไฟฟ้าก็จะสามารถช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้ดีขึ้นอย่างไรก็ตามประชาชนยังมความกังวลในระหว่างการก่อสร้างว่าอาจจะเกิดปัญหาฝุ่นละอองและมีผลกระทบต่อแม่ค้าที่ขายของบริเวณริมทางเท้าซึ่งในส่วนของการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้มบริษัทที่ปรึกษาจะมีการพิจารณาและวางแผนการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบกับประชาชนและสิ่งแวดล้มมากที่สุดรวมทั้งจะมีการกำหนดชื่อสถานีให้สอดคล้องกับที่ตั้งด้วยทั้งนี้ส่วนต่อขยายบางแค-พุทธมณณณฑลสาย4มีระยะทางทั้งหมด8 กิโลเมตรซึ่งเป็นเส้นทางที่ต่อเนื่องจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแคมีแนวสายทางไปตามแนวเกาะกลางถนนเพชรเกษม“
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/06/2015 7:16 pm    Post subject: Reply with quote

เล็งพีพีพีลงทุนร่วมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
เดลินิวส์
วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2558 เวลา 18:00 น.

คลังลุยแผนพีพีพี คาดปีนี้ดึงเอกชนลงทุนร่วมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 22,100 ล้านบาท ชี้ระยะเวลา 5 ปี 67 โครงการ วงเงิน 1.41 ล้านล้านบาท

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยในงานสัมมนาเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2558-2562 (พีพีพี) ว่า ภายในปีนี้จะคัดเลือกเอกชนและลงนามในโครงการที่สำคัญ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) มูลค่าการลงทุนทั้งหมด 82,500 ล้านบาท ซึ่งจำนวนนี้คาดว่าจะเป็นเงินจากเอกชนที่ร่วมลงทุนด้วย 22,100 ล้านบาท และโครงการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่อง (ไอซีดี) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มูลค่าการลงทุน 2,900 ล้านบาท ซึ่งจำนวนนี้คาดว่าจะเป็นเงินจากเอกชนที่ร่วมลงทุนด้วย 1,580 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีโครงการในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) อีก 2 โครงการที่กำลังเสนอขออนุมัติโครงการ ได้แก่ โครงการกำจัดขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นนทบุรี มูลค่าการลงทุน 4,140 ล้านบาท และโครงการกำจัดขยะมูลฝอยของ เทศบาลนครราชสีมา มูลค่าการลงทุน 2,250 ล้านบาท สำหรับแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2558-2562 นั้น ได้ผ่านความเห็นชอบจากครม.ไปแล้วเมื่อวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา และกำลังอยู่ในขั้นตอนการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะมีกิจการที่อยู่ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ฯ นี้ 6 ประเภทกิจการ ประกอบด้วย

กิจการคมนาคมและขนส่ง 8 กิจการ รวม 27 โครงการ,
กิจการการสื่อสาร รวม 8 โครงการ,
กิจการอาคารโครงสร้างพื้นฐาน รวม 1 โครงการ,
กิจการการจัดการคุณภาพน้ำชลประทานและสิ่งแวดล้อม 3 กิจการ รวม 10 โครงการ,
กิจการการศึกษา สาธารณสุข และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 4 กิจการ รวม 20 โครงการ และกิจการอาคารโครงสร้างพื้นฐาน 1 โครงการ คิดเป็นจำนวนทั้งหมด 20 กิจการ โครงการรวมทั้งสิ้น 67 โครงการ มูลค่าการลงทุนประมาณ 1.41 ล้านล้านบาท“
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/06/2015 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

เยาวราช-ตลาดน้อย เส้นขนานบนรอยทางและรางรถไฟ

โดย Suwatcharee Por...
Goto Manager
วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน 2558 เวลา - 13:55


ในห้วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย รวมไปถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในหลายมิติ แม้ความล้ำสมัยของวิทยาการคือตัวแปรสำคัญที่สร้างให้เกิดพลวัตอันจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาในสังคม แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจหมายถึงการคืบคลานเข้ามาแทนที่วัฒนธรรมทางสังคมดั้งเดิม ซึ่งอาจหมายถึงเสน่ห์แห่งวิถีชีวิตของชุมชนที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น

เยาวราช ถนนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2434–พ.ศ.2443 เพื่อให้เยาวราชเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้า เดิมชื่อ “ถนนยุพราช” และได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “ถนนเยาวราช” ซึ่งมีชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เคยได้ชื่อว่าเป็นย่านธุรกิจการค้าที่สำคัญตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์

นอกเหนือไปจากเยาวราช ยังมีอีกหนึ่งชุมชนที่เป็นสถานที่อันเต็มไปด้วยวัฒนธรรมและเสน่ห์ที่ชวนให้ค้นหา แฝงตัวอยู่ในตรอกเล็กๆ บนถนนเจริญกรุง “ตลาดน้อย” ชุมชุนเล็กๆ ที่มีชาวจีนขยายตัวมาจากสำเพ็งเมื่อครั้งที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง ด้วยทำเลที่ไม่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยามากนัก สร้างความสะดวกในการสัญจร ประกอบกับมีถนนเจริญกรุงตัดผ่าน อีกทั้งคลองผดุงกรุงเกษมไหลผ่าน จึงไม่แปลกหากย่านนี้จะเคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ที่สามารถรองรับการค้าได้ทั้งทางบกและทางน้ำ

ห้องแถวไม้สองชั้นมีจำนวน 20 กว่าห้อง ที่บรรพบุรุษเคยอาศัยอยู่และใช้พื้นที่หน้าบ้านเป็นแหล่งค้าขายทั้งอาหารพื้นถิ่น โรงน้ำแข็ง โรงกลึง ธุรกิจเซียงกง อัตลักษณ์ที่ทำให้คนภายนอกรู้จักและจดจำตลาดน้อยได้มากขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันตรอกนี้จะไม่มีตลาดให้เห็น แต่เมื่อถึงหน้าเทศกาลไหว้บะจ่าง เทศกาลถือศีลกินผัก วันตรุษจีน ชาวตลาดน้อยยังสืบทอดวิถีเดิมจนกระทั่งปัจจุบัน

ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ไชน่าทาวน์ไม่ใช่ย่านธุรกิจที่สำคัญของไทยอีกต่อไป อีกทั้งการขยายตัวของระบบคมนาคมแบบรางที่กำลังแทรกตัวเข้ามาแบบก้าวกระโดด แม้ความก้าวหน้าในด้านการคมนาคมจะมีส่วนช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวช่วยสำคัญในการย่นระยะทางและเครื่องมือในการช่วยประหยัดเวลาได้อย่างดี คำถามในนาทีนี้คือการเข้ามาแทรกตัวของรถไฟใต้ดินท่ามกลางถนนที่อุดมไปด้วยวัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้หรือไม่อย่างไร

แม้ปัจจุบันจะมีเพียงเส้นทางรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินเท่านั้นที่กำลังก่อสร้างอยู่ หากแต่ในอนาคตอันใกล้ โครงการรถไฟสายสีม่วง และสายสีแดง ที่กำลังรอการอนุมัติในหลักการและงบประมาณ กำลังเข้ามาล้อมกรอบชุมชนต่างๆ ทั้งเยาวราช ตลาดน้อย และพื้นที่ต่อเนื่อง ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นจุดตัดของรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง ที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างระบบรางและการคมนาคมทางน้ำ อีกความหมายหนึ่งคือ ย่านนี้จะมีผู้คนสัญจรผ่านจำนวนมากในอีก 5 ปีข้างหน้า

หากมองในมิติของความเจริญที่กำลังห้อมล้อมทุกทิศทาง พื้นที่ดังกล่าวอาจเป็นที่น่าจับตามองสำหรับการเก็งกำไรของนักค้าที่ดิน ที่อาจส่งผลต่อราคาที่ดินที่จะถีบตัวสูงขึ้นในอนาคต แต่ต้องมองในความเป็นจริงว่าย่านดังกล่าวอสังหาริมทรัพย์คงไม่สามารถเติบโตได้อีก นั่นเป็นเพราะความแออัดของพื้นที่ที่มีอยู่เป็นทุนเดิม

ในขณะที่ข้อกำหนดใหม่ของผังเมืองที่กำหนดให้พื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้ารัศมี 500 เมตรจากสถานี สามารถพัฒนาศักยภาพของอสังหาริมทรัพย์คือ FAR 7:1 +20% ในขณะที่ปัจจุบันกำหนดที่ FAR 3:1 นั่นคือความสูงของอาคารเมื่อเทียบกับพื้นที่ดิน สิ่งนี้เองจะเป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่จะทำให้ภาครัฐและเอกชนรายใหญ่มองเห็นโอกาสในการพัฒนาที่ดินริมน้ำและพื้นที่โดยรอบ

ไม่ใช่เพียงเวลาเท่านั้นที่ทำให้เยาวราช ตลาดน้อย และพื้นที่ต่อเนื่อง เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ปัจจัยทางกายภาพที่กล่าวมาข้างต้น คือเหตุผลสำคัญที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อยกับย่านที่เคยถูกเรียกขานว่า “ศูนย์กลางการค้า” ของกรุงเทพฯ

“โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่อง” จึงเกิดขึ้น โดยสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ โดยการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาย่านตลาดน้อย เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2558 ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ตัวแทนชุมชนในพื้นที่ศึกษา กลุ่มคนรักตลาดน้อย หน่วยงานเอกชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ หน่วยงานราชการ และนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนมุมมอง พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการกำหนดทิศทางการพัฒนา

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบข้อมูล และตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น พร้อมทั้งวางแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่องได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเมืองของกรุงเทพฯ ก่อนจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาย่านเก่าแก่ โดยสะท้อนความต้องการของชุมชนมากที่สุด

ศรินพร พุ่มมณี หัวหน้าโครงการบอกว่า ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง เนื่องจากเป็นย่านไชน่าทาวน์ที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย มีประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่า ตลอดจนยังปรากฏวิถีชีวิตของชาวชุมชนที่ไม่สูญสลายไปตามการพัฒนา ซึ่งความตื่นตัวของชุมชนจะมีผลต่อการพัฒนาย่านตลาดน้อย ซึ่งอนาคตจะกลายเป็นทำเลทองในมิติเศรษฐกิจ

การประชาสัมพันธ์คือหนึ่งรูปแบบที่หลายหน่วยงานเลือกใช้ เพื่อหวังให้ชุมชนนั้นเป็นที่รู้จักแก่คนภายนอก อาหาร คือสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมของผู้คนในชุมชนได้ดีที่สุด การออกร้านขายอาหารจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นิยมกันมาก อาจเพราะความง่ายที่จะจับเอาความต้องการพื้นฐานของมนุษย์มาใช้ แต่ดูจะเป็นการเข้าใจผิดที่แฝงตลกร้ายเมื่อทุกครั้งที่มีการออกร้านขายอาหาร มักเต็มไปด้วยอาหารที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติรู้จักกันดีอย่างส้มตำไก่ย่าง แทนที่จะเป็น “บะจ่าง” อาหารที่ถูกส่งต่อกรรมวิธีการทำจากบรรพบุรุษของคนในชุมชนตลาดน้อย

แน่นอนว่าการเข้ามาขององค์กรภายนอก ไม่ว่าจะจากภาครัฐ หรือองค์กรที่เรียกตัวเองว่าผู้ไม่แสวงหากำไร ที่ต้องการฟื้นฟูพื้นที่นั้นๆ เพื่อต้องการให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อย่างเต็มรูปแบบเท่าที่จะเป็นไปได้ ในความประสงค์ดีมักแฝงมาด้วยผลประโยชน์ทางธุรกิจ จนบางครั้งอาจมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลในแง่ลบและสร้างความเข้าใจผิดต่อสายตาบุคคลภายนอก จะดีกว่าหรือไม่หากผู้เสนอตัวเข้ามาช่วยพัฒนาจะเปิดตา เปิดใจมอง และรับฟัง พร้อมทั้งทำความเข้าใจว่าอะไรคืออัตลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นอย่างแท้จริง

แม้ความพยายามฟื้นฟูพื้นที่ย่านตลาดน้อยและพื้นที่ต่อเนื่องของอาศรมศิลป์และผังเมืองในรอบนี้ จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากคนในชุมชนมากขึ้นซึ่งนับเป็นเรื่องดีไม่น้อย แม้จะยังเป็นโครงการเล็กๆ และเพิ่งเริ่มตั้งไข่เท่านั้น ก็ยังดีกว่าหากเปรียบเทียบกับโครงการใหญ่ที่พยายามทำให้เกิดขึ้นโดยอิงกระแสสังคม ซึ่งยังไม่มีการเปิดรับฟังหรือระดมความคิดความเห็นจากประชาชน

การพัฒนาพื้นที่ย่านไชน่าทาวน์หากมองผิวเผิน การกระทำดังกล่าวอาจเหมือนแรงกระเพื่อมหนึ่งของกระแสแห่งการพัฒนาที่ไล่เรียงมาตั้งแต่ ท่ามหาราช ตลาดยอดพิมาน ท่าน้ำจักรวรรดิ ถึงท่าเรือสี่พระยา พื้นที่สาธารณะที่เคยเป็นหน้าเป็นตา ที่บัดนี้ถูกปล่อยปละจนเป็นแค่หลังบ้านเท่านั้น ความพยายามครั้งใหม่คงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อปรับให้ท่าน้ำย่านไชน่าทาวน์ 6 แห่งนี้กลับมาเป็นประหนึ่งหน้าบ้านของย่านนี้อีกครั้ง

ขณะที่แรงกระเพื่อมของการพัฒนาได้สะท้อนไปยังฝั่งตรงข้ามอย่างย่านกะดีจีน และย่านคลองสานก็กำลังได้รับการพัฒนาเช่นกัน โดยเฉพาะย่านกะดีจีนที่ถูกจัดวางให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ เพราะมีประวัติศาสตร์ริมน้ำที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ด้วยมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญทางศาสนา บ้านขุนนางเจ้าสัว ตลอดจนวิถีชีวิตของผู้คน

ย่านคลองสานถูกจัดแบ่งเป็นพื้นที่สีเขียว พื้นที่สำหรับขายอาหาร พื้นที่ธุรกิจการค้า แน่นอนว่า “โครงการจัดทำผังแม่บทการฟื้นฟูย่านเมืองเก่าและการอนุรักษ์ฟื้นฟูย่านกะดีจีน-คลองสาน” (โครงการกรุงเทพฯ 250 ) เป็นวาระโครงการฟื้นฟูเมืองกรุงเทพฯ ในวาระครบรอบ 250 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อพลิกฟื้นพื้นที่เมืองชั้นในให้น่าอยู่ และพัฒนาให้เป็นมหานครระดับโลก ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร และ UDDC (ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง)

ดูเหมือนทางฟากฝั่งกะดีจีนและคลองสานจะมีความชัดเจนมากกว่าในการจัดการพื้นที่เพื่อฟื้นฟูและพัฒนา ขณะที่ย่านตลาดน้อยก็เต็มไปด้วยอาคารที่ทรงคุณค่า เช่นบ้านจีนโบราณของเจ้าสัว ที่รู้จักกันดีในชื่อ “บ้านโซว เฮง ไถ” เก๋งจีนดังกล่าวมีรูปแบบสี่เรือนล้อมลานมีอายุกว่า 250 ปี ปัจจุบันบ้านหลังนี้อยู่ภายใต้การดูแลของทายาทรุ่นที่ 7 อย่างดวงตะวัน โปษยะจินดา กระนั้นก็ยังมีคำถามถึงความต้องการที่จะพัฒนา คล้ายกับไม่สามารถแยกออกได้ว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่ต้องการการพัฒนา หรือสิ่งไหนควรค่าแก่การอนุรักษ์

เยาวราชและชุมชนเล็กๆ อย่างตลาดน้อย รวมไปถึงพื้นที่ริมน้ำแถวท่าราชวงศ์ ถนนทรงวาด และพื้นที่ต่อเนื่อง กำลังถูกตีกรอบด้วยคมนาคมระบบรางที่เหมือนเป็นการถูกบังคับให้ชุมชนต้องปรับเปลี่ยนตัวเอง แต่ความเข้มแข็งของผู้คนในชุมชนจะสามารถดำรงวิถีชีวิตที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์การค้าที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ได้หรือไม่ หรือจะถูกวัฒนธรรมที่เรียกความเจริญครอบงำ และปล่อยให้ชุมชนย่านนั้นเป็นเพียงหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่หาอ่านได้ตามหนังสือ หรือคำบอกเล่าจากคนเฒ่าคนแก่เท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/07/2015 6:18 am    Post subject: Reply with quote

บางแครถติดหนึบ หลุมยุบ!! กลางเพชรเกษม รถผ่านไม่ได้
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 2 ก.ค. 2558 22:45

Click on the image for full size
เครดิตภาพ อาสากู้ภัย

เกิดหลุมยุบกว้าง 2 ช่องจราจรลึกกว่า 1 เมตร บนถนนเพชรเกษม ขาเข้า ช่วงเลยตลาดบางแคมาประมาณ 100 เมตร ทำให้รถไม่สามารถสัญจรได้ การจราจรติดขัดมาก ไม่จำเป็นอย่าผ่าน โปรดหลีกเลี่ยงใช้ทางอื่น คาดซ่อมเสร็จประมาณ 05.00น....

เมื่อเวลา 22.00น.วันที่ 2 ก.ค.2558 สถานีวิทยุ จส.100 รายงานว่า ถนนเพชรเกษม ขาเข้า ช่วงเลยตลาดบางแคมาได้ 100 เมตรมีถนนทรุดตัวเป็นหลุมลึกประมาณกว่า 1 เมตร ขนาดกว้าง 2 ช่องทางจราจร ทำให้รถยนต์ที่วิ่งในเส้นทางดังกล่าวไม่สามารถผ่านได้ และการจราจรติดขัดหนักมาก

ต่อมาเมื่อเวลา 22.20น. จนท.ตำรวจจราจร ได้เปิดช่องทางพิเศษฝั่งขาออกเพิ่ม 1 ช่องทาง ช่วงแยกท่าเกษตร ถึงแยกพุทธมณฑลสาย 1 เพื่อให้รถได้ระบายออกจากจุดดังกล่าวเป็นการแก้ไขเบื้องต้น

ด้านบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้รับเหมาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ที่อยู่ใกล้เคียงนำเครื่องจักรหนักเข้ามาช่วยพยายามขุดกลบหลุมลึกบนถนน คาดว่าน่าจะสามารถซ่อมได้เสร็จประมาณ 05.00 น.ของวันที่ 3 ก.ค.นี้

ความคืบหน้า กรณีถนนทรุดตัว หน้าตลาดบางแค ถ.เพชรเกษม ขาเข้า ล่าสุด เมื่อเวลา 05.30น.จนท.ดำเนินการแก้ไขเทปูนซีเมนต์พร้อมปูแผ่นเหล็กทับเรียบร้อยแล้ว เตรียมเปิดการจราจรปกติได้ในเวลา 06.00 น.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2015 12:05 pm    Post subject: Reply with quote

เดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายฉลุย คลัง-สศช.ไฟเขียวเจรจา BMCL


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
13 กรกฎาคม 2558 05:34 น. (แก้ไขล่าสุด 13 กรกฎาคม 2558 10:17 น.)



“คมนาคม” เผยคลังและ สศช.เห็นชอบเจรจาตรง BMCL เดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย พร้อมปรับรูปแบบร่วมทุนจาก PPP Gross-Cost หรือจ้างวิ่งเป็น PPP Net-Cost หรือสัมปทานเหมือนสายเฉลิมรัชมงคล เพื่อความสะดวกในการเดินรถหลังครบสัญญาสัมปทานในอนาคต “ประจิน” เตรียมหารือ “หม่อมอุ๋ย” ดันเข้า ครม.ใน 2 เดือนก่อนเปิดโต๊ะเจรจา ส่วนเดินรถ 1 สถานี (บางซื่อ-เตาปูน) ยืนยันเปิดพร้อมสายสีม่วงแน่นอน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม. ว่า ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เห็นด้วยกับแนวทางตามที่คณะกรรมการมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) มีมติให้เจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ระยะทาง 20 กม. เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อเนื่องตลอดสาย (Through Operation) พร้อมทั้งการขอปรับรูปแบบการลงทุน PrivatePublic Partnership (PPP) จากเดิมที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ใช้รูปแบบ PPP-Gross Cost (รัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง โดยรัฐจ่ายค่าจ้างเดินรถ) เป็นรูปแบบ PPP-Net Cost (สัมปทาน โดยเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง พร้อมทั้งรับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ) แล้ว เพื่อการเดินรถต่อเนื่องเป็นไปตามแนวทางให้ประชาชนเกิดความสะดวก

ส่วนทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทราบว่าได้เห็นชอบแนวทางที่กระทรวงคมนาคมเสนอแล้วเช่นกัน เพียงแต่ไม่ทราบขั้นตอนทางเอกสารเป็นทางการว่าดำเนินการถึงไหนแล้ว โดยหลังจากนี้ตนจะหารือกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ถึงขั้นตอนว่าจะต้องเสนอไปที่คณะกรรมการนโยบายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เพื่อพิจารณาก่อนเสนอ ครม. หรือเสนอตรงไปที่ ครม.ได้เลย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนจึงจะเสนอ ครม.พิจารณาได้

ทั้งนี้ สัญญาของสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะมีระยะเวลา 25 ปี ส่วนสาเหตุที่ต้องมีการปรับรูปแบบการร่วมทุนของสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเป็น PPP Net-Cost เหมือนกับสีน้ำเงินสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งจะครบสัญญาสัมปทานในปี 2572 จะสามารถทำสัญญาให้รายเดิมเดินรถต่อไปได้ และให้หมดสัญญาพร้อมกับส่วนต่อขยาย เป็นรูปแบบที่ช่วยชดเชยการที่เอกชนต้องแบกรับภาระขาดทุนมาตั้งแต่เปิดเดินรถไฟฟ้าเฉลิมรัชมงคล ในขณะที่ในส่วนต่อขยาย เมื่อเปิดเดินรถช่วง 10 ปีแรกจะขาดทุนเพราะเป็นช่วงการใช้คืนเงินลงทุนและดอกเบี้ย ต้องผ่านปีที่ 10-ปีที่ 12 ไปแล้วจึงจะเริ่มมีกำไร ซึ่งจะพอดีกับที่สายสีน้ำเงิน สายเฉลิมรัชมงคล ครบสัญญา จะเป็นการเดินรถเป็นวงกลมต่อเนื่อง 2 ช่วง เป็นรูปแบบเดียวกันไปจนครบ 25 ปี

“ต้องใช้เวลาในการชี้แจงกับ รมว.คลังหลายครั้ง เพราะทางคลังต้องการตรวจสอบให้แน่ใจถึงผลกระทบทุกด้าน จนล่าสุดคลังไม่ขัดข้องแล้วกระทรวงคมนาคมจะเดินหน้าต่อไปตามขั้นตอนได้ ซึ่งผมได้มอบหมายให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม รับผิดชอบ โดยเป้าหมายคือ ต้องเปิดเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายให้ได้เป็นการเดินรถต่อเนื่อง ประชาชนได้รับความสะดวก และไม่สร้างภาระให้รัฐบาลในอนาคต การใช้ PPP Net-Cost เพื่อความสะดวกในเรื่องการต่อสัญญาในอนาคต ซึ่งสายเฉลิมรัชมงคลเหลืออายุอีกประมาณ 13 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าการเสนอเจรจาตรงกับ BMCL ครั้งนี้จะมีข้อผูกมัดเงื่อนไขการต่อสัญญาสายเฉลิมรัชมงคลไปด้วย เพราะจะมีการพิจารณาอีกครั้งเมื่อสายเฉลิมรัชมงคลใกล้หมดสัญญา ครม.นี้จะไม่มีการอนุมัติไว้ก่อน”

ส่วนการเดินรถ 1 สถานีช่วงเตาปูน-บางซื่อนั้น พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ครม.มีมติไปแล้วชัดเจนว่าให้ BMCL เป็นผู้เดินรถ ซึ่งยืนยันว่าจะสามารถเดินรถได้พร้อมกับการเปิดบริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ในปี 2559 แน่นอน

ทั้งนี้ ครม.มีมติให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางซื่อ (งานสัญญาที่ 5) ใช้รูปแบบการลงทุนที่เจรจาตรงกับ BMCL เนื่องจากมีความเหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อภาครัฐ โดยมีระยะเวลาของสัญญาในส่วนนี้จะเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของสายเฉลิมรัชมงคล

//--------------

คลัง-สศช.ไฟเขียวเจรจาBMCLเดินรถส่วนต่อขยายสีน้ำเงิน
Money Channel
13 กรกฎาคม 2558 09.03 น.


คลังและสศช. เห็นชอบให้เจรจากับ BMCL เดินรถสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย พร้อมปรับรูปแบบร่วมทุนเป็น PPP Net-Cost รองรับการเดินรถ หลังครบสัญญาสัมปทานในอนาคต

พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเดินรถไฟฟ้าสายสี น้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตรว่า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคมที่ผ่านมา นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เห็นด้วยกับแนวทาง ตามที่คณะกรรมการมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่า ด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 มีมติให้เจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BMCL ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ช่วงหัวลำโพงบางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อเนื่องตลอดสาย

ขณะที่เดียวกันก็จะมีการปรับรูปแบบการลงทุน Private Public Partnership หรือ PPP จากเดิมที่คณะรัฐมนตรี มีมติให้ใช้รูปแบบ PPP-Gross Cost หรือ รัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง โดยรัฐจ่ายค่าจ้างเดินรถ เป็นรูปแบบ PPP- Net Cost หรือ สัมปทาน โดยเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง พร้อมทั้งรับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ เพื่อการเดินรถต่อเนื่องเป็นไปตามแนวทาง ให้ประชาชนเกิดความสะดวก

ส่วนทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ทราบว่า ได้เห็นชอบแนวทางที่กระทรวงคมนาคมเสนอแล้วเช่นกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/07/2015 8:21 pm    Post subject: Reply with quote

“บอร์ดสภาพัฒน์”มีมติเปิดประมูลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-หักดิบความเห็น”คมนาคม-รฟม.”
มติชนออนไลน์ วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 19:01:27 น.

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ได้แจ้งผลการประชุมคณะกรรมการ สศช. กรณีการคัดเลือกเอกชนลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและรับจ้างดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) โดยเห็นชอบตามมติคณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 เมื่อปี 2557 ที่มีมติให้มีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไปเพื่อหาผู้รับจ้าง โดยหลังจากนี้ สศช. จะเสนอมติดังกล่าวให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบต่อไป

แหล่งข่าว กล่าวว่า หลังจากนี้ ทางกระทรวงคมนาคมและ รฟม. คงจะต้องกลับมาพิจารณาในรายละเอียดถึงมติดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการตามมาตรา 13 และได้เห็นชอบในแนวทางการเจรจาโดยตรงกับเอกชนรายเดิมคือ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ บีเอ็มซีแอล ซึ่งผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ก่อนที่จะเสนอความเห็นดังกล่าวให้ทางสศช.พิจารณา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในกรณีดังกล่าว เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2557 คณะกรรมการตามมาตรา 13 ได้มีมติให้มีการเปิดประมูลเพื่อหาผู้ดำเนินการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงประธานคณะกรรมการชุดดังกล่าว จนกระทั่งเดือนเมษายน 2558 มีความเห็นว่าควรที่จะเปิดเจรจาตรงกับภาคเอกชน โดยพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ รฟม. เคยระบุว่า “จะต้องเจรจาให้จบในปีนี้ มิฉะนั้น ประชาชนเดือดร้อนแน่ เพราะโครงสร้างเสร็จปี 2561 แต่ไม่มีรถวิ่งให้ บริการมีปัญหาแน่นอน ต้องเดินหน้าให้ได้” จนล่าสุด มติของคณะกรรมการ สศช.กลับเห็นควรให่้เปิดการประมูล
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/07/2015 9:46 am    Post subject: Reply with quote

เดินรถสีน้ำเงินติดหล่มสศช.ค้านเจรจา รฟม.เร่งปรับราคากลางเปิดประมูลปลาย58


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
27 กรกฎาคม 2558 07:20 น.



เดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ติดหล่มบอร์ดสศช.สั่งเปิดประมูล”ประจิน”ยอมรับมติชี้เป็นไปตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35 เป้าหมายเดินรถต่อเนื่องถือว่าจบ “อาคม”ยันบอร์ดสศช.พิจารณารอบคอบแล้ว ไม่กระทบล่าช้า ด้าน”ผู้ว่าฯรฟม.”เตรียมรายงานบอร์ด พร้อมเร่ง TOR เพื่อประมูลปลายปี 58 เผยต้องปรับราคากลางใหม่ซึ่งจะสูงจากวิธีเจรจาตรง BMCL แน่นอน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงความคืบหน้าการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม. ว่า จากที่คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) มีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)เปิดประกวดราคาคัดเลือกเอกชนเดินรถซึ่งไม่สอดคล้องกับมติของ คณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35)ที่ให้เจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ดังนั้น รฟม. จะต้องใช้วิธีประกวดราคาและใช้รูปแบบ PPP -Gross Cost (รัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงค่าโดยสารและจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง โดยรัฐจ่ายค่าจ้างเดินรถ) โดยอัตโนมัติ

ทั้งนี้ หาก สศช.เห็นชอบตามมติ มาตรา 13 นั้นกระทรวงคมนาคมจะเสนอครม.พร้อมกับขอเปลี่ยนเป็นรูปแบบ PPP-Net Cost (สัมปทาน โดยเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง พร้อมทั้งรับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ) เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อเนื่องตลอดสาย (Through Operation) แต่เมื่อบอร์ด สศช.ไม่เห็นชอบแนวทางนี้ถือว่าจบแล้ว ต้องส่งเรื่องกลับไปที่คณะกรรมการมาตรา 13 เพื่อให้ดำเนินการประกวดราคา ซึ่งรฟม.รายงานว่า จะใช้เวลาในการร่างขอบเขตของงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคา และยื่นข้อเสนอประมาณ 4 เดือน ( 90-150วัน) กรณีมีการร้องเรียนอาจจะใช้เวลาถึง 6 เดือน (180 วัน)

“เท่ากับตอนนี้ การเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายล่าช้าไปอย่างน้อย 3 เดือน ส่วนทางกระทรวงการคลังนั้น ได้พูดคุยกันก่อนหน้านี้ มีความเห็นเป็นกลาง คือ จะไม่ขัดกับความเห็นของทางกระทรวงคมนาคม แต่อย่าลืมกระทรวงคมนาคม มี รมต. 2 คน คือผมและรมช.อาคมซึ่งเป็นผู้ไปเจรจากับทางกระทรวงการคลังและตอนนี้ยังไม่ได้บอกผลทางคลังว่าเป็นอย่างไร แต่บอร์ดสศช.มีมติออกมาแล้วว่าให้เปิดประมูล การทำงาน การทำหน้าที่จะไม่มีการกดดันกัน”รมว.คมนาคมกล่าว

ส่วนการเดินรถ 1 สถานีช่วงเตาปูน-บางซื่อนั้นพล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ครม.มีมติชัดเจนไปแล้วว่า ให้ BMCL เป็นผู้เดินรถและเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ซึ่งจะเปิดบริการ ในปี 2559 แน่นอน ดังนั้นหากไม่สามารถเปิดเดินรถได้ทันกับสีม่วงบริษัทจะเสียรายได้ เชื่อว่าจะมีวิธีเร่งรัดได้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และในฐานะเลขาธิการ สศช.กล่าวว่า มติของบอร์ดสภาพัฒนฯ พิจารณาอย่างรอบคอบภายใต้เหตุผล ซึ่ง กระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ฯ เป็นหน่วยงานที่จะต้องให้ความเห็น ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35)หากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมีความเห็นต่างจาก มติของ คณะกรรมการมาตรา13แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 จะต้องกลับไปใช้วิธีการประกวดราคาโดยอัตโนมัติตามพ.ร.บ. ร่วมทุนฯ 35 ส่วนข้อกังวลว่า วิธีประกวดราคาจะทำให้การเปิดเดินรถล่าช้าไม่ทันตามกำหนดนั้น ยืนยัน บอร์ดสภาพัฒน์ฯ ได้พิจารณาในประเด็นนี้แล้ว

***รฟม.เร่งออกTOR ประมูลปลายปี 58 คาดใช้เวลา 1 ปี

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า ทราบมติบอร์ดสภาพัฒน์ฯแล้ว ซึ่งตามกฎหมาย รฟม.จะต้องกลับไปใช้รูปแบบการประกวดราคาคัดเลือกเอกชนเข้ามาเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ในการดำเนินการตั้งแต่การกำหนดร่างขอบเขตของงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคา
ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากมีรายละเอียดบางส่วนที่ดำเนินการไว้บ้างแล้ว โดยจะสามารถประกาศ ร่าง TOR เชิญชวนได้ภายในปลายปี 2558 นี้ จากนั้นจะให้เวลาผู้สนใจยื่นข้อเสนอ 90 วัน และเข้าสู่การประกวดราคา และเมื่อเจรจาต่อรองกับผู้ชนะ ซึ่งคาดว่า หากสามารถเริ่มกระบวนการประกวดราคาได้ในปลายปี 2558 จะสรุปผลได้ปลายปี 2559
และเสนอครม.พิจารณาได้ ซึ่งประเมินว่า จะเปิดเดินรถได้ตามแผนเดิมปี 2562 หรือล่าช้าเล็กน้อย

“จะต้องรายงานบอร์ดรฟม.ให้รับทราบ เพื่อเดินหน้าการประกวดราคา ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ซึ่ง คณะกรรมการมาตรา 13 จะดำเนินการตั้งแต่กำหนดเงื่อนไข TOR ประกวดราคาและเจรจาต่อรอง ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีระยะเวลาดำเนินการที่ชัดเจนแต่ในขั้นตอนการเจรจาต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมเรื่องเวลาได้ ว่าจะยืดเยื้อแค่ไหน แต่คร่าวๆหากเริ่มประกาศ TOR ปลายปี 58 อย่างเร็ว จะสรุปผลและเสนอครม.ขออนุมัติในปลายปี 59”นายพีระยุทธกล่าว

นอกจากนี้ ในส่วนของราคากลางกรณีที่วิธีเปิดประกวดราคานั้น จะต้องมีการปรับปรุงจากราคากลางเดิมที่ประเมินไว้สำหรับการเจรจาตรงกับ BMCL ที่จะถูกกว่า การประกวดราคา เนื่องจากการเจรจา จะลดค่าใช้จ่ายในส่วนของระบบควบคุมการเดินรถ ที่ศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) ที่หลักสอง ปลายสายทาง
เพราะสามารถใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายในเรื่องบุคลากร เป็นต้น

//-------------------

ประจินยอมรับ มติสศช.ค้าน เดินรถสีน้ำเงิน


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
26 กรกฎาคม 2558 21:20 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงความคืบหน้าการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กม. ว่า จากที่คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (บอร์ด สศช.) มีมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)เปิดประกวดราคาคัดเลือกเอกชนเดินรถซึ่งไม่สอดคล้องกับมติของ คณะกรรมการตามมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35)ที่ให้เจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL ดังนั้น รฟม. จะต้องใช้วิธีประกวดราคาและใช้รูปแบบ PPP -Gross Cost (รัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงค่าโดยสารและจ้างเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง โดยรัฐจ่ายค่าจ้างเดินรถ) โดยอัตโนมัติ
ทั้งนี้ หาก สศช.เห็นชอบตามมติ มาตรา 13 นั้นกระทรวงคมนาคมจะเสนอครม.พร้อมกับขอเปลี่ยนเป็นรูปแบบ PPP-Net Cost (สัมปทาน โดยเอกชนเป็นผู้เดินรถและซ่อมบำรุง พร้อมทั้งรับความเสี่ยงค่าโดยสาร และจ่ายผลตอบแทนให้รัฐ) เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินต่อเนื่องตลอดสาย (Through Operation) แต่เมื่อบอร์ด สศช.ไม่เห็นชอบแนวทางนี้ถือว่าจบแล้วต้องส่งเรื่องกลับไปที่คณะกรรมการมาตรา 13 เพื่อให้ดำเนินการประกวดราคา ซึ่งรฟม.รายงานว่า จะใช้เวลาในการร่างขอบเขตของงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคา และยื่นข้อเสนอประมาณ 4 เดือน ( 90-150วัน) กรณีมีการร้องเรียนอาจจะใช้เวลาถึง 6 เดือน (180 วัน)
“เท่ากับตอนนี้ การเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายล่าช้าไปอย่างน้อย 3 เดือน ส่วนทางกระทรวงการคลังนั้น ได้พูดคุยกันก่อนหน้านี้ มีความเห็นเป็นกลาง คือ จะไม่ขัดกับความเห็นของทางกระทรวงคมนาคม แต่อย่าลืมกระทรวงคมนาคม มี รมต. 2 คน คือผมและรมช.อาคมซึ่งเป็นผู้ไปเจรจากับทางกระทรวงการคลังและตอนนี้ยังไม่ได้บอกผลทางคลังว่าเป็นอย่างไร แต่บอร์ดสศช.มีมติออกมาแล้วว่าให้เปิดประมูล การทำงาน การทำหน้าที่จะไม่มีการกดดันกัน”รมว.คมนาคมกล่าว
ส่วนการเดินรถ 1 สถานีช่วงเตาปูน-บางซื่อนั้นพล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ครม.มีมติชัดเจนไปแล้วว่า ให้ BMCL เป็นผู้เดินรถและเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ ซึ่งจะเปิดบริการ ในปี 2559 แน่นอน ดังนั้นหากไม่สามารถเปิดเดินรถได้ทันกับสีม่วงบริษัทจะเสียรายได้ เชื่อว่าจะมีวิธีเร่งรัดได้
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และในฐานะเลขาธิการ สศช.กล่าวว่า มติของบอร์ดสภาพัฒนฯ พิจารณาอย่างรอบคอบภายใต้เหตุผล ซึ่ง กระทรวงการคลังและสภาพัฒน์ฯ เป็นหน่วยงานที่จะต้องให้ความเห็น ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35)หากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งมีความเห็นต่างจาก มติของ คณะกรรมการมาตรา13แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 จะต้องกลับไปใช้วิธีการประกวดราคาโดยอัตโนมัติตามพ.ร.บ. ร่วมทุนฯ 35 ส่วนข้อกังวลว่า วิธีประกวดราคาจะทำให้การเปิดเดินรถล่าช้าไม่ทันตามกำหนดนั้น ยืนยัน บอร์ดสภาพัฒน์ฯ ได้พิจารณาในประเด็นนี้แล้ว

***รฟม.เร่งออกTOR ประมูลปลายปี 58

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า ทราบมติบอร์ดสภาพัฒน์ฯแล้ว ซึ่งตามกฎหมาย รฟม.จะต้องกลับไปใช้รูปแบบการประกวดราคาคัดเลือกเอกชนเข้ามาเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ในการดำเนินการตั้งแต่การกำหนดร่างขอบเขตของงาน (TOR) และเอกสารประกวดราคา
ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากมีรายละเอียดบางส่วนที่ดำเนินการไว้บ้างแล้ว โดยจะสามารถประกาศ ร่าง TOR เชิญชวนได้ภายในปลายปี 2558 นี้ จากนั้นจะให้เวลาผู้สนใจยื่นข้อเสนอ 90 วัน และเข้าสู่การประกวดราคา และเมื่อเจรจาต่อรองกับผู้ชนะ ซึ่งคาดว่า หากสามารถเริ่มกระบวนการประกวดราคาได้ในปลายปี 2558 จะสรุปผลได้ปลายปี 2559และเสนอครม.พิจารณาได้ ซึ่งประเมินว่า จะเปิดเดินรถได้ตามแผนเดิมปี 2562 หรือล่าช้าเล็กน้อย
“จะต้องรายงานบอร์ด รฟม.ให้รับทราบ เพื่อเดินหน้าการประกวดราคา ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 ซึ่ง คณะกรรมการมาตรา 13 จะดำเนินการตั้งแต่กำหนดเงื่อนไข TOR ประกวดราคาและเจรจาต่อรอง ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีระยะเวลาดำเนินการที่ชัดเจนแต่ในขั้นตอนการเจรจาต้องยอมรับว่า เป็นเรื่องที่ไม่สามารถควบคุมเรื่องเวลาได้ ว่าจะยืดเยื้อแค่ไหนแต่คร่าวๆหากเริ่มประกาศ TOR ปลายปี 58 อย่างเร็ว จะสรุปผลและเสนอครม.ขออนุมัติในปลายปี 59” นายพีระยุทธกล่าว
นอกจากนี้ ในส่วนของราคากลางกรณีที่วิธีเปิดประกวดราคานั้น จะต้องมีการปรับปรุงจากราคากลางเดิมที่ประเมินไว้สำหรับการเจรจาตรงกับ BMCL ที่จะถูกกว่า การประกวดราคา เนื่องจากการเจรจา จะลดค่าใช้จ่ายในส่วนของระบบควบคุมการเดินรถ ที่ศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) ที่หลักสอง ปลายสายทางเพราะสามารถใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายในเรื่องบุคลากร เป็นต้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/07/2015 4:39 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าคร่อมคู่ขนานไม่คืบ
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 30 ก.ค. 2558 07:45

ขอตำรวจขยายเวลาห้ามรถสูงวิ่งผ่าน-รับเหมาสายสีน้ำเงิน

พ.ต.ท.ศรีรัชพล ค้าขาย สว.งานสายตรวจ 3 กก.1 บก.จร. เปิดเผยว่า กิจการร่วมค้า เอสเอช-ยูเอ็น ผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ สัญญาที่ 3 อยู่ระหว่างก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าคร่อมทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี โดยมีการจำกัดความสูงห้ามรถที่มีความสูงเกินกว่า 3 เมตร ขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้าฯ ตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 58 ที่ผ่านมา ซึ่งจะครบกำหนดตามที่ขออนุญาต วันที่ 31 ก.ค. นี้ ล่าสุดผู้รับเหมาได้มีการประสานเพื่อเตรียมขอขยายเวลาการจำกัดความสูงในเส้นทางดังกล่าวออกไปอีก ขณะนี้ผู้รับเหมาอยู่ระหว่างจัดทำเอกสาร ผลการทำงาน เพื่อเสนอกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พิจารณาเห็นชอบ เพราะต้องประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนครบกำหนด ส่วนระยะเวลาที่จะขยายออกไปนั้นยังไม่ทราบ ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็น

พ.ต.ท.ศรีรัชพล กล่าวว่า จากการตรวจสอบการก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าบริเวณก่อสร้างคร่อมทางคู่ขนานลอยฟ้าฯ โครงสร้างทั้งสองฝั่งยังไม่ได้เชื่อมต่อกัน ซึ่งระยะเวลาก่อสร้างจุดดังกล่าวตามที่ขออนุญาตกำหนดแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน แต่จนถึงขณะนี้การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ทางผู้รับเหมาอาจจะมีปัญหาอุปสรรค.

----

ภาพล่าสุดจากประชาสัมพันธ์ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Arrow https://www.facebook.com/prpmc.blueline/posts/945051855516023
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/08/2015 3:51 am    Post subject: Reply with quote

โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.กําหนดพื้นที่รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน “หัวลําโพง-บางแค” - ”บางซื่อ-ท่าพระ”


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 สิงหาคม 2558 19:26 น. (แก้ไขล่าสุด 5 สิงหาคม 2558 20:06 น.)



โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.กําหนดพื้นที่รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน “หัวลําโพง-บางแค” - ”บางซื่อ-ท่าพระ”
ภาพแผนที่ จากเวปไซต์ราชกิจจานุเบกษากําหนดพื้นที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลําโพง-บางแค

โปรดเกล้าฯ พ.ร.ฎ.กําหนดพื้นที่รถไฟฟ้าสีน้ำเงิน “หัวลําโพง-บางแค” - ”บางซื่อ-ท่าพระ”
ภาพแผนที่ จากเวปไซต์ราชกิจจานุเบกษากําหนดพื้นที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วง บางซื่อ-ท่าพระ



โปรดเกล้าฯ พระราชกฤษฎีกากําหนดพื้นที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 2 สาย “ช่วงหัวลําโพง - บางแค” “ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ” สายแรกผ่านท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค ส่วนสายที่สอง ผ่าน เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี

วันนี้ (5 ส.ค.) มีรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๘

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการ เพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เพื่อประโยชน์ ในการดําเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลําโพง - บางแค

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๘”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกําหนดสี่ปี
มาตรา ๔ ที่ดินที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามพระราชกฤษฎีกานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลําโพง - บางแค
มาตรา ๕ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานที่ดําเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๖ เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามพระราชกฤษฎีกานี้อยู่ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ทําการสํารวจที่ดินเพื่อดําเนินการกิจการขนส่งมวลชนตามพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินช่วงหัวลําโพง - บางแค ยังไม่แล้วเสร็จ สมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตพระนคร เขตธนบุรี เขตบางกอกใหญ่ เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง และเขตบางแค กรุงเทพมหานคร เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดําเนินการสํารวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ลักษณะ และการเข้าใช้ประโยชน์บน เหนือ หรือใต้พื้นดิน หรือพื้นน้ำเพื่อการวางแผน หรือออกแบบกิจการขนส่งมวลชนในบริเวณดังกล่าวต่อไปได้อีกสี่ปี จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

วันเดียวกัน ได้มีเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ยังเผยแพร่พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๘

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๒๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. ๒๕๔๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๘”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกําหนดสี่ปี
มาตรา ๔ ที่ดินที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ
มาตรา ๕ ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่ดําเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๖ เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชนตามพระราชกฤษฎีกานี้อยู่ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ทําการสํารวจที่ดินเพื่อดําเนินการกิจการขนส่งมวลชนตามพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อประโยชน์ในการดําเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ ยังไม่แล้วเสร็จ สมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะดําเนินการเพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจดําเนินการสํารวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ลักษณะ และการเข้าใช้ประโยชน์บน เหนือ หรือใต้พื้นดินหรือพื้นน้ำ เพื่อการวางแผน หรือออกแบบกิจการขนส่งมวลชนในบริเวณดังกล่าวต่อไปได้อีกสี่ปี จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

http://www.naewna.com/local/172472
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/072/37.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/072/34.PDF
http://www.naewna.com/local/172474


Last edited by Wisarut on 08/08/2015 6:08 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 135, 136, 137 ... 228, 229, 230  Next
Page 136 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©