RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181786
ทั้งหมด:13493025
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 136, 137, 138 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/08/2015 2:53 pm    Post subject: Reply with quote

เวนคืนที่แนวรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วง'บางซื่อ-ท่าพระ' อีก 4 ปี
แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558, 14.07 น.

วานนี้ 5 ส.ค. 58 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 72 ก เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนที่ดินในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2558
Arrow http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/072/37.PDF

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรกําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมรถไฟฟ้า ตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 22 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กับมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกอบกับมาตรา 35 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558"

มาตรา 2 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

มาตรา 3 พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกําหนดสี่ปี

มาตรา 4 ที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสําหรับผู้โดยสาร และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวบางซื่อ-ท่าพระ

มาตรา 5 ให้ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 6 เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ภายในแนวเขต ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้

มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทยได้ทําการสํารวจที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 เพื่อดําเนินกิจการรถไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสําหรับผู้โดยสาร และกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้า ยังไม่แล้วเสร็จ สมควรกําหนด เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสํารวจ และเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอนในบริเวณดังกล่าวต่อไปได้อีกสี่ปี จึงจําเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2015 5:11 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.หักสภาพัฒน์เจรจารายเดิมไม่เปิดประมูลเดินรถไฟฟ้า
เดลินิวส์ วันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2558 เวลา 20:55 น.


บอร์ดรฟม.ยันเจรจาตรงบีเอ็มซีแอลหักมติสภาพัฒน์ไม่เปิดประมูล อ้างดำเนินการได้รวดเร็วกว่า เตรียมเสนอกระทรวงคมนาคมเจรจาแบบ PPP Nect Cost พร้อมเปลี่ยนมาใช้พรบ.ร่วมทุน 56 ลดขั้นตอนการพิจารณา


เมื่อวันที่ 4 ส.ค.58 ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการบริหารกิจการ(บอร์ด)รฟม. กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบอร์ดรฟม. ว่า ในที่ประชุมได้มีการรายงานบอร์ดให้ทราบถึงผลการพิจารณาวิธีการหาเอกชนเข้ามาให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระ จากที่ได้มีมติบอร์ดสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือสภาพัฒน์ได้มีมติให้เปิดประกวดราคาให้เอกชนมีการแข่งขันยื่นข้อเสนอในการเดินรถนั้น รฟม.ขอยืนยันว่าหากเปิดประกวดราคาจะส่งผลให้การสรรหาเอกชนเข้ามาเดินรถช้ากว่าแผนเดินที่กำหนดไว้คือจะเปิดให้บริการปี 2562 และจะไม่ทันกับงานโยธาที่จะเสร็จในปี 2560 ซึ่งรฟม.จะต้องเสียค่าดูแลโครงสร้างให้แก่เอกชนรวมทั้งหากมีการเปิดประกวดราคาแล้วจะต้องมาพิจารณาว่าจะสามารถกำหนดในร่างขอบเขตการทำงานหรือทีโออาร์ได้หรือไม่ว่าจะต้องเดินรถแบบต่อเนื่องหากไม่สามารถกำหนดในทีโออาร์ได้ก็จะต้องมีการเปิดประกวดราคาแบบอิสระซึ่งจะต้องมีการสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงใหม่ จัดหาระบบเดินรถ ห้องควบคุมสัญญาณร่วมทั้งบุคคลกรซึ่งจะส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท แต่หากใช้วิธีการเจรจาจะไม่ต้องเสียเงินในส่วนดังกล่าว

พล.อ.ยอดยุทธ กล่าวต่อว่า ดังนั้นบอร์ดจึงยืนยันการเจรจากับเอกชนที่เดินรถเดิมโดยจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในรูปแบบPPP Net Cost โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนและบริหารจัดการการเดินรถเองทั้งหมดและเจรจาแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้แก่รัฐ แทนการเจราจรแบบ PPP Gross Cost คือรัฐเป็นผู้รับความเสี่ยงรายได้ทั้งหมด รวมทั้งจะมีการพิจารณาให้ใช้พรบ.ร่วมทุนปี 56แทน พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 35 ซึ่งสศช.ได้มีการกำหนดไว้อยู่แล้วว่าหากต้องการเปลี่ยนแปลงสาระให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงได้เลย โดยภายหลังจากนี้บอร์ดจะส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาและส่งเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ครม.เป็นผู้อนุมัติว่าจะดำเนินการแบบใด โดยหากเปลี่ยนเป็นพรบ.ร่วมทุนปี 56 จะต้องเปลี่ยนคณะกรรมการมาตรา 13 เป็นคณะกรรมมาตรา 35 ซึ่งจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาประมาณ 8-9คน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)เพื่อมาพิจารณาข้อดีข้อเสียหากคณะกรรมการมาตรา 35และสคร.เห็นชอบก็จะสามารถดำเนินการเจรจาได้ทันที โดยหากเจรจาเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีเสนอครม.ถึงผลการเจรจาก่อนเซ็นสัญญาเท่านั้น โดยหาเปลี่ยนมาใช้พรบ.ร่วมทุนปี56 จะไม่จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาจากสศช. ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวก็จะสามารถลดระยะเวลาการสรรหาเอกชนมาเดินรถให้ทันในปี 62 ได้ซึ่งก็จะทำให้ลดระยะเวลาจ่ายค่าบำรุงรักษาโครงสร้างได้ด้วย อย่างไรก็ตามหากครม.เห็นชอบคาดว่าประมาณกลางปี 59 จะสามารถเซ็นสัญญากับเอกชนได้.

//-------------------

แฉแก๊งประมูลรถไฟฟ้า ใช้สภาพัฒน์ดันประมูลสีน้ำเงิน คนใช้เดือดร้อน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 สิงหาคม 2558 16:16 น. (แก้ไขล่าสุด 7 สิงหาคม 2558 16:19 น.)


จับตากลุ่มหาผลประโยชน์ประมูลรถไฟฟ้า เดินหน้าใช้สภาพัฒน์เป็นเครื่องมือ อ้างความโปร่งใสและการแข่งขันให้ประมูลรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายโดยไม่ต่อเนื่องกับสายสีน้ำเงินเดิม ประเคนผลประโยชน์กลุ่มการเมืองเก่า ไม่หวั่นประชาชนเดือดร้อนต้องเปลี่ยนรถที่สถานีขึ้นลง และเดินทางไม่สะดวก

หลังจากที่นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แจ้งมติให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดประมูลคัดเลือกเอกชนเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ซึ่งไม่ตรงกับมติของคระกรรมการมาตรา 13 พ.ร.บ.ร่วมลงทุน 2535 และความเห็นของ รฟม. และกระทรวงคมนาคม ที่เห็นควรให้เจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เพื่อให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย โดยเดินรถแบบต่อเนื่อง (Through Operation) กับสายสีน้ำเงินเดิม (เฉลิมรัชมงคล) เพราะจะทำให้ประชาชนเดินทางได้โดยสะดวก ไม่ต้องเปลี่ยนรถที่สถานีหัวลำโพง และเตาปูน ทำให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ประหยัดและสามารถเปิดให้บริการได้โดยเร็ว โดยเห็นควรให้ใช้รูปแบบ PPP Net Cost ในการเจรจา จึงให้ รฟม.เร่งสรุปข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างการประมูลแบบเดินรถไม่ต่อเนื่องในรูปแบบ PPP Gross Cost ตามแนวทางที่ สศช.มีความเห็น กับการเจรจากับ BMCL เพื่อเดินรถต่อเนื่องในรูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุน 2556 เพื่อเสนอ ครม.พิจารณา และเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 58 บอร์ด รฟม.ได้มีมติยืนยันการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายแบบต่อเนื่องตลอดทั้งสายเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด โดยใช้รูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งสามารถใช้วิธีเจรจาตรงกับ BMCL ได้ตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุน 2556 และจะเร่งจัดทำข้อมูลส่งให้แก่กระทวงคมนาคมโดยเร็ว

แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า การที่ สศช.มีความเห็นให้ประมูลเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายแบบไม่ต่อเนื่องกับสายเดิม ถือเป็นการขัดนโยบายของกระทรวงคมนาคม และรัฐบาลอย่างชัดเจน เพราะที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ยืนยันนโยบายการเดินรถแบบต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บริการระบบรถไฟฟ้าได้โดยสะดวก ไม่ต้องเปลี่ยนรถไปมาหลายครั้ง ซึ่ง ครม.ได้มีมติรับทราบแนวทางดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 2558 และได้มอบหมายให้คณะกรรมการมาตรา 13 ไปพิจารณาดำเนินการ โดย สศช.เห็นว่าการเดินรถต่อเนื่องไม่มีความจำเป็นเพราะการเปลี่ยนขบวนรถ (เดินรถไม่ต่อเนื่อง) ถือเป็นเรื่องปกติ ความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนสามารถแก้ไขได้ทางเทคนิค การประมูลจะทำให้รัฐมีโอกาสพิจารณาข้อเสนออื่นๆ มากขึ้น

สำหรับความเห็นของ สศช.เป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ขัดต่อหลักการของการขนส่งสาธารณะ (Public Transport) เพราะในการเดินทางโดยระบบรถไฟฟ้า การเปลี่ยนขบวนรถควรจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนสายการเดินทางเท่านั้น เช่น สถานีสยามของ BTS เป็นการเปลี่ยนการเดินทางจากสายสุขุมวิทไปสู่สายสีลม แต่ไม่ใช่การเปลี่ยนขบวนรถเพื่อเดินทางในสายเดียวกัน โดยในกรณีสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายนี้จะเชื่อมต่อกับสายน้ำเงินเดิมเป็นลักษณะวงกลมเหมือนสาย Circle Line ในอังกฤษ และ Yamanote Line ในญี่ปุ่น จึงจำเป็นต้องเดินรถแบบต่อเนื่องเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยประชาชนจำเป็นต้องเปลี่ยนรถที่สถานีท่าพระเท่านั้น เพราะมีการเปลี่ยนทิศทางการเดินรถและติดปัญหาการเวนคืน ส่วนสถานีอื่นสามารถเดินทางได้โดยต่อเนื่องทั้งหมด หาก รฟม.ต้องเดินรถแบบไม่ต่อเนื่องตามที่ สศช.ให้ความเห็น ประชาชนที่เดินทางต้องเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีหัวลำโพง และเตาปูนโดยไม่จำเป็น ในกรณีสถานีเตาปูน ประชาชนต้องเปลี่ยนรถ เดินลงไปอีกชั้นเพื่อย้อนกลับมาที่ชานชาลาอีกด้านหนึ่งของชั้นเดิม โดยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที และในกรณีสถานีหัวลำโพง ประชาชนต้องเปลี่ยนรถโดยเสียเวลาอีก 5-6 นาที ลองคิดดูหากประชาชนทั่วไปเดินจากสถานีสามย่านไปวัดมังกรเพียงแค่ 2 สถานี ควรใช้เวลาแค่ 3 นาที กลับต้องใช้เวลาเดินทางเป็น 10 นาที เพราะต้องไปเปลี่ยนรถที่หัวลำโพง เท่ากับทำให้ประชาชนเดือดร้อน ไม่สะดวกในการเดินทางอย่างไม่มีเหตุผล การกำหนดนโยบายแบบนี้กระทรวงคมนาคมและรัฐบาลคงรับไม่ได้ นอกจากนี้ ผู้ที่จะกำหนดนโยบายการเดินรถคือกระทรวงคมนาคมและรัฐบาล มิใช่ สศช.

เป็นที่น่าสังเกตว่า ที่ผ่านมา สศช.เห็นควรให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้ประชาชนเดินทางได้อย่างต่อเนื่อง และให้พิจารณาความเหมาะสมในการเจรจากับ BMCL เพื่อให้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพตามความเห็นของ สศช.เมื่อปี 2551 หรือแม้แต่ในกรณีสายสีเขียวของ BTS ซึ่งเดินรถเป็นเส้นตรงต่อขยายออกไปนอกเมือง กทม.ก็เจรจาให้ BTS เดินรถต่อเนื่องออกไป ทั้งที่เป็นสายเส้นตรง ไม่ได้เป็นวงกลมแบบสายสีน้ำเงินของ รฟม. แต่ สศช.กลับไม่เคยคัดค้านใดๆ แต่กับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สศช.กลับยืนยันให้ใช้วิธีการประมูลแบบเดินรถไม่ต่อเนื่อง

แหล่งข่าวกล่าวต่อไปว่า การที่ สศช.มีความเห็นเช่นนี้น่าจะเกิดจากกลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องการให้เกิดการประมูลโดยไม่แคร์ความเดือดร้อนของประชาชน เพราะหากมีนโยบายเดินรถไม่ต่อเนื่องแล้ว ส่วนต่อขยายที่เกิดขึ้นก็ไม่ต่อกับสายสีน้ำเงินเดิมทำให้เกิดการประมูลได้ และ รฟม.ก็ไม่จำเป็นต้องเจรจากับ BMCL โดยอ้างความโปร่งใส การแข่งขัน เครือข่ายนี้อาศัยผู้บริหารระดับสูงของ สศช. กระทรวงการคลัง และ รฟม.ที่มีภาพเป็นนักวิชาการ มีความรู้ โปร่งใสแต่แท้ที่จริงแล้วแฝงไปด้วยผลประโยชน์และเกี่ยวข้องกับกลุ่มการเมืองเก่า แม้ว่ากระทรวงคมนาคมสามารถแก้ไขปัญหาในการคัดเลือกเอกชนในคณะกรรมการมาตรา 13 ได้ แต่สุดท้ายก็มาติดปัญหาที่ สศช.และกระทรวงการคลัง นับจากวันที่รัฐบาล คสช.เข้ามาบริหารจัดการและเร่งรัดแก้ปัญหาโครงการนี้กว่า 1 ปีก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หากยังปล่อยไว้เช่นนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายก็คงเป็นมหากาพย์ที่ไม่มีจุดจบต่อไป เมื่อสร้างสถานีเสร็จก็คงไม่มีรถมาวิ่ง เป็นสถานีร้างเป็นปี หรือหากรัฐบาลเดินหน้าประมูลแบบเดินรถไม่ต่อเนื่อง ประชาชนก็คงเป็นแพะรับบาป สังเวยผลประโยชน์ที่แก๊งนี้ต้องการ ซึ่งเกี่ยวโยงกับกลุ่มอำนาจการเมืองเก่ามาโดยตลอด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2015 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

แล้งน้ำใจ! แม่เดือดลูกไม่ได้ที่นั่งรถไฟใต้ดิน ถ่ายรูปประจาน ซัด "ผู้ใหญ่ไร้จิตสำนึก"


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 สิงหาคม 2558 13:15 น.

คุณแม่สุดทน ลูกไปเรียนอนุบาลปัญจทรัพย์ ไม่มีที่นั่งบนรถไฟใต้ดิน ผู้ใหญ่ทำเฉย ถ่ายรูปประจาน พี่น้องช่วยโวยแหลก ไร้จิตสำนึก หัวใจทำด้วยอะไรกัน ทุเรศมากๆ

วันนี้ (7 ส.ค.) เฟซบุ๊ก "Noi Darane Jitthai" ได้โพสต์ภาพเด็กชายคนหนึ่งแต่งกายชุดนักเรียนอนุบาล ยืนจับราวรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล (บางซื่อ-หัวลำโพง) โดยที่ผู้ใหญ่นั่งเฉย พร้อมข้อความระบุว่า "ไร้จิตสำนึก กินอะไรเป็นอาหารกันเนี่ย พวก"ผู้ใหญ่" อายใจกันบ้างนะ หัวใจทำด้วยอะไรกัน ทุเรศมากๆ กรุณาช่วยกันแชร์ให้มากๆเลยนะคะช่วยกันสร้างจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมค่ะ"

ทั้งนี้ ผู้ที่เข้าชมเฟซบุ๊กส่วนใหญ่ต่างแสดงความคิดเห็นตำหนิคนที่นั่งบนเก้าอี้รถไฟฟ้าในภาพทำนองว่า ไม่มีน้ำใจ ทำเป็นก้มหน้า ไม่ยอมลุกให้เด็กนั่ง คนไทยไม่น่าจะใจดำ ฯลฯ บางคนสงสัยว่าภาพนี้ได้มาอย่างไร เจ้าของภาพระบุว่า มีแม่ไปด้วย แม่เป็นคนถ่าย โดยเป็นหลานของตน เรียนที่โรงเรียนปัญจทรัพย์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 15/08/2015 2:57 am    Post subject: Reply with quote

เมื่อเวลาประมาณ 17.05 น. เจ้าหน้าที่กู้ภัย รฟม. ได้รับแจ้งทางวิทยุสื่อสารแม่ข่ายพระรามเก้าว่ามีชายหมดสติ สถานีรถไฟฟ้า MRT พระรามเก้า เจ้าหน้าที่กู้ภัย รฟม. นำรถพร้อม อุปกรณ์ปฐมพยาบาล เครื่องกระตุ้นคลื่นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) จำนวน 2 เครื่อง ถังออกซิเจน เดินทางไปที่เกิดเหตุ
แรกพบผู้ป่วยอยู่บริเวณชั้นชานชาลาสถานี ประเมินอาการเบื้องต้น ผู้ป่วยหมดสติ ไม่รู้สึกตัว ตรวจไม่พบสัญญาณชีพ มีบาดแผล โลหิตไหลออกที่คาง เจ้าหน้าที่ กู้ภัย รฟม. ให้การปฐมพยาบาลตามอาการ ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ กดนวดหัวใจ (CPR) และใช้เครื่องกระตุ้นคลื่นไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (AED) ตามคำแนะนำ จนกระทั่งแพทย์พยาบาลศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถีให้การช่วยเหลือต่อ และนำส่งโรงพยาบาลพระราม 9
ขอขอบคุณ คุณหมอหลายท่านที่โดยสารมากับขบวนรถไฟฟ้าและให้การช่วยเหลือ ไม่ทราบว่าจาก รพ.ใดบ้าง รวมถึง เจ้าหน้าที่ตำรวจที่อำนวยความสะดวกด้านการจราจร จนท. อาสาทุกท่านครับ ขอบคุณมากๆ ครับ

แต่แย่หน่อยที่ ผู้โดยสารเสียชีวิตที่โรงพยาบาลพระราม 9
Lokgolf Natnicha wrote:
เราเปนหลาน น้าเสียชีวิตแร้วค่ะT..T

https://www.facebook.com/mrtarescuefanpage/posts/1013397978693043
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/08/2015 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.จ้างBMCL เดินรถเตาปูน-บางซื่อ
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 16 สิงหาคม 2558 19:06 น.

ASTVผู้จัดการรายวัน-รฟม.สรุปผลเจรจา BMCL รับงานเดินรถ 1 สถานี ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ต่อรองค่าลงทุนระบบที่ 740 ล.พร้อมทำสัญญาจ้างเดินรถแบบชั่วคราว 1 ปี ตามรูปแบบ PPP-Gross Cost ช่วงรอยต่อระหว่างรอผลสรุปเดินรถสายสีน้ำเงินต่อขยายก่อนทำสัญญาเต็มไปพร้อมกันเหตุคุ้มค่ากว่า ยอมรับเปิด 1 สถานีไม่ทันกับสายสีม่วง เตรียมแผนสำรองประสาน ขสมก.จัดฟีดเดอร์ เชื่อมช่วงเตาปูน-บางซื่อ

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเดินรถ 1 สถานี ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ว่า คณะกรรมการ ตามมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) ที่มี นายสัจจพงศ์ สนั่นเสียง รองผู้ว่าฯรฟม.(ปฏิบัติการ) เป็นประธานได้ประชุมเมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยได้เชิญ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCLมาเจรจาต่อรองในเรื่องค่าดำเนินการ ค่าติดตั้งระบบ และระยะเวลาในการเดินรถ ซึ่งได้ข้อสรุปแล้ว ซึ่งตามขั้นตอนจะรายงานให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ที่มีพล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธานรับทราบในการประชุมต้นเดือนก.ย.นี้และเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ และลงนามในสัญญากับเอกชนต่อไป

ทั้งนี้ คณะกรรมการมาตรา 13 ได้พิจารณาในประเด็นอายุสัญญาที่เดิมเคยมีแนวทางว่า การเดินรถ 1 สถานีนี้ควรมีระยะเวลาของสัญญาสิ้นสุดในปี 2572 พร้อมกับสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งเท่ากับจะมีระยะเวลาประมาณ 15 ปี ซึ่งหลักธุรกิจแล้วไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนเพราะระยะเวลาน้อยและยังเป็นการเดินรถเพียง 1สถานีเท่านั้นซึ่งกก.มาตรา 13 เห็นด้วยและมีมติว่า ควรจะให้การเดินรถ 1 สถานีหมดอายุสัญญาไปพร้อมกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) จะเหมาะสมกว่า ดังนั้นในระหว่างที่การเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายยังไม่ได้ข้อสรุป เห็นว่า รฟม.ควรจ้าง BMCL เดินรถ 1 สถานีในรูปแบบ PPP-Gross Cost เป็นระยะเวลา 1 ปี ไปก่อน

สำหรับระยะเวลาในการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร ระบบตั๋วโดยสารที่สถานีเตาปูนและการทดสอบนั้น จะต้องใช้เวลา 15 เดือน เนื่องจากหลังลงนามสัญญาจะมีกระบวนการสั่งซื้อก่อน ซึ่งต้องเห็นใจเอกชน และจะเร่งขั้นตอนในการดำเนินงานให้เร็วที่สุด ทั้งนี้ มีแนวโน้มสูงว่าจะเดินรถ 1 สถานีไม่ทันกับที่รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ) เปิดให้บริการในช่วงพ.ค.-ส.ค. 2559 ดังนั้น รฟม.ได้เตรียมแผนสำรองในจัดระบบฟีดเดอร์เพื่ออำนวยความสะดวกกับผู้โดยสารในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูน-บางซื่อ เพื่อใช้ระบบรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลได้ ซึ่งขณะนี้มี 2 แนวทางคือ 1. ประสานกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ในการจัดรถ ขสมก.บริการ หรือ 2 .กรณีที่ ระบบของ ขสมก.ไม่สามารถจัดรองรับให้ได้ รฟม.จะต้องดำเนินการจัดหารถมาเป็นฟีดเดอร์เอง โดยจะประสานกับ BMCL ในการให้บริการ

“รฟม.จะพยายามเร่งรัดทาง BMCL ในเรื่องการติดตั้งระบบและทดสอบ ให้เร็วขึ้นจากกรอบเวลา 15 เดือน ซึ่งก็ต้องดูว่ามีอะไรที่เร่งได้ อะไรที่เกินความจำเป็นอาจจะให้ปรับไปทำทีหลัง เร่งที่จำเป็นทำก่อน ซึ่งต้องดูในรายละเอียดของแผนงานกันอีกทีเมื่อได้ลงมือทำ แต่คาดว่าน่าจะเปิดเดินรถ 1 สถานีไม่ทันกับเปิดสายสีม่วงแน่นอน”ผู้ว่าฯรฟม.กล่าว

รายงานข่าวแจ้งว่า คณะกรรมการมาตรา 13 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35 มีที่ นายสัจจพงศ์ สนั่นเสียง รองผู้ว่าฯรฟม.(ปฏิบัติการ) เป็นประธาน ได้เชิญผู้บริหาร BMCL มาเจรจาต่อรอง และได้ข้อยุติในเรื่องค่าลงทุนติดตั้งระบบที่สถานีเตาปูนแล้ว โดยBMCL ลดราคาลงมาอยู่ที่ 740 ล้านบาท จากราคากลางที่ 770 ล้านบาท โดยหลังจากนี้จะรอให้BMCLยืนยันราคากลับมาเป็นทางการอีกครั้ง คณะกรรมการมาตรา 13 จึงจะสรุปรายละเอียดทั้งหมด รายงานบอร์ดรฟม.และเสนอมายังกระทรวงคมนาคมได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2015 12:17 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รฟม.จ้างBMCL เดินรถเตาปูน-บางซื่อ
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 16 สิงหาคม 2558 19:06 น.


รฟม.เสนอแก้ระเบียบเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเจรจาเอกชนแทนประมูล
เดลินิวส์
วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2558 เวลา 8:45 น.
รฟม.เสนอแก้ระเบียบเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเจรจาเอกชนแทนประมูล หวั่นทำโครงการล่าช้ากระทบแผนเดินรถที่จะให้บริการประชาชนในปี2562 เตรียมส่งเรื่องไปให้คมนาคมพิจารณา


นายพีระยุทธ สิงห์พัฒากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บอร์ด รฟม.มีการมีพิจารณาวิธีการหาเอกชนเข้ามาให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระ จากที่มติบอร์ดสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ "สภาพัฒน์" มีมติเปิดประกวดราคา ให้เอกชนมีการแข่งขัน ยื่นข้อเสนอในการเดินรถนั้น ซึ่งที่ประชุมบอร์ดรฟม.ยืนยันว่า จะต้องมีการเจรจากับเอกชนที่เดินรถเดิม โดยจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในรูปแบบ PPP Net Cost โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนและบริหารจัดการการเดินรถเองทั้งหมด และเจรจาแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้แก่รัฐ ซึ่งถ้ามีการเปิดประกวดราคา จะส่งผลให้การสรรหาเอกชนเข้ามาเดินรถช้ากว่าแผนเดิมที่กำหนดไว้ คือจะเปิดให้บริการปี 2562 และจะไม่ทันกับงานโยธาที่จะเสร็จในปี 2560 ทั้งนี้หากเลือกที่จะเจรจาโดยตรงนั้น จะต้องมีการเปลี่ยนไปใช้พ.ร.บ.ปี 56 แทนพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 35 โดยหากเปลี่ยนเป็นพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 56 ซึ่งหมายความว่าจะต้องเปลี่ยนคณะกรรมการ เป็นคณะกรรมการมาตรา 35 แทนมาตรา 13 และในพ.ร.บ.ร่วมทุนนี้ จะมีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานที่จะเป็นตัวพิจารณาด้วย โดยหน่วยงานที่จะพิจารณานั้น คือกระทรวงการคลังและคณะกรรมการ PPP Net Cost ซึ่งจากเดิมพ.ร.บ.ร่วมทุนปี 35 จะเป็น สศช.และกระทรวงการคลังซึ่งภายในสัปดาห์นี้ รฟม.จะส่งเรื่องไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาและส่งต่อไปยังครม.เป็นผู้อนุมัติต่อไป นายพีระยุทธ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บอร์ดได้อนุมัติและได้มีการเรียกบริษัทบีเอ็มซีแอล เจ้าของสัมปทานเดิม ให้มีการเดินรถต่ออีก 1 สถานีซึ่งขณะนี้เตรียมรายงานให้คณะกรรมการมาตรา 13 ทราบ เพื่อเสนอให้กระทรวงคมนาคมอนุมัติการเดินรถต่อเนื่อง สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งจะเปิดการเดินรถปี 59 นี้ ซึ่งหากมีการพิจารณาและอนุมัติไม่ทันนั้นรฟม.ได้มีการพูดคุยกับองค์การขนส่งมวลชน (ขสมก.) เพื่อใช้เป็นระบบเชื่อมต่อหรือฟีดเดอร์ ให้มีการรับ-ส่งประชาชนเพื่อไปยังสถานีต่อไป.“
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/08/2015 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

อุโมงค์ไฟฉายคืบไม่ถึงครึ่งรอยาว! เสร็จพร้อมรถไฟฟ้า
เดลินิวส์ วันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2558 เวลา 10:51 น.

อุโมงค์ไฟฉายคืบไม่ถึงครึ่งรอยาว! เสร็จพร้อมรถไฟฟ้า อุโมงค์ไฟฉายคืบแล้ว 45เปอร์เซ็นต์ กทม.เร่งสร้างให้เสร็จพร้อมรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน คาดเปิดใช้ได้ปี61

นายวสันต์เจือวัฒนา ผู้อำนวยการกองควบคุมการก่อสร้างสำนักการโยธา กรุงทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยถึงโครงการก่อสร้างทางลอดถนนจรัญสนิทวงศ์กับถนนพรานนก หรืออุโมงค์ไฟฉายระยะทางความยาวรวม 1,250 เมตรว่า โครงการดังกล่าวมีความล่าช้ากว่าแผนตามที่ได้กำหนดไว้มากเนื่องจากที่ผ่านมามีปัญหาในการก่อสร้างจากโครงการที่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่นจึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขแบบการก่อสร้างอุโมงค์ไฟฉายเพื่อแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงหัวลำโพง-บางแคและช่วงบางซื่อ-ท่าพระ) ของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)ให้สามารถรองรับกับตัวสถานีของรถไฟฟ้าฯ ที่จะต้องตั้งอยู่บนผนังอุโมงค์ทางลอดดังกล่าว

ซึ่งที่ผ่านมากทม.ก็ได้แก้ไขปรับเปลี่ยนแบบตัวโครงสร้าง เพื่อให้โครงสร้างของอุโมงค์สามารถรับน้ำหนักของสถานีฯได้ซึ่งตัวสถานีมีน้ำหนักมากจึงต้องใช้เวลาในการแก้ไขแบบอย่างมาก โดยขณะนี้ในส่วนการก่อสร้างอุโมงค์ของกทม.ก็กำลังเร่งเดินหน้าก่อสร้างมีความคืบหน้าไปแล้วประมาณ45 เปอร์เซ็นต์แต่สำหรับจากแผนกำหนดเดิมที่คาดไว้ว่าจะสามารถก่อสร้างและเปิดให้ใช้ได้ประมาณปี59นั้น จึงต้องเลื่อนออกไปเนื่องจากการก่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวของกทม. จะต้องดำเนินการก่อสร้างควบคู่ไปกับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านวิศวกรรมโยธา ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้ประชาชนใช้ได้ประมาณปี61.“
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/08/2015 11:14 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าวิ่งไปเตาปูนปี 60
เดลินิวส์ วันพฤหัสที่ 27 สิงหาคม 2558 เวลา 8:26 น.

รถไฟฟ้าวิ่งไปเตาปูนปี60 รฟม.ได้ข้อสรุปจ้างบีเอ็มซีแอลเดินรถต่อ 1สถานีพร้อมลดค่าติดตั้งระบบเหลือ 693 ล้านบาทเร่งเสนอให้ครม.พิจารณา

รายงานข่าวแจ้งความคืบหน้าการเดินรถ 1สถานี ช่วงเตาปูน-บางซื่อว่า คณะกรรมการ ตามมาตรา 13แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐพ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ35) ที่มีนายสัจจพงศ์ สนั่นเสียงรองผู้ว่าฯรฟม.(ปฏิบัติการ)เป็นประธานได้ข้อสรุปในการเจรจาตรงกับบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือ บีเอ็มซีแอลแล้ว

ซึ่งคณะกรรมการฯได้ประเมินราคากลางค่าลงทุนติดตั้งระบบที่สถานีเตาปูนที่701 ล้านบาทโดยทางบีเอ็มซีแอลได้ยื่นข้อเสนอราคามาที่740ล้านบาทซึ่งสูงกว่าราคากลางแต่เมื่อได้เจรจาต่อรองกันล่าสุดทางได้ปรับลดราคาลงมาอยู่ที่ 693ล้านบาทซึ่งเป็นตัวเลขที่ตกลงร่วมกันและทางบริษัทได้ทำหนังสือยืนยันราคามาเรียบร้อยแล้ว ส่วนค่าจ้าง เดินรถ 1สถานีในรูปแบบPPP-GrossCost เป็นระยะเวลา1 ปีนั้นตกลงกันที่ประมาณ 60ล้านบาทต่อปีซึ่งหลังจากนี้จะมีการเสนอครม.อนุมัติต่อไปโดยคาดว่าจะเดินรถสายสีน้ำเงินไปยังเตาปูนได้หลังจากนี้ใช้เวลา15เดือนหรือราวกลางปี60.“
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/09/2015 4:54 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม.ภูมิใจเสนอ2สถานีสวย
เดลินิวส์ วันพุธที่ 2 กันยายน 2558 เวลา 11:09 น.

รฟม.ภูมิใจเสนอ2สถานีสวย เนรมิต2สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน เอกลักษณ์ไชน่าทาวน์ รฟม.เผยการก่อสร้างคืบกว่า 64เปอร์เซนต์แล้ว แล้วเสร็จปลายปีหน้า

รายงานข่าวแจ้งความคืบหน้าในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค-บางซื่อ-ท่าพระว่าขณะนี้เนื้องานด้านการก่อสร้างมีความคืบหน้าไปแล้วกว่า64.04เปอร์เซ็นต์ซึ่งทางผู้รับเหมาสัญญาที่1 และสัญญาที่ 2ได้มีการออกแบบตกแต่งตัวสถานีและลงรายละเอียดไปบางส่วนแล้วโดยเฉพาะ2สถานีที่จะออกแบบให้เข้ากับไชน่าทาวน์ประกอบด้วย

สถานีวัดมังกรกมลาวาสจะเน้นการทาสีภายในสถานีเป็นสีแดงซึ่งเป็นสีมงคลของชาวไทยเชื้อสายจีน

ส่วนสถานีวังบูรพาก็จะเน้นการตกแต่งให้สอดคล้องกับตึกอาคาารพานิชย์ที่ตั้งอยู่ในถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบโปรตุเกสคาดว่าในการดำเนินการตกแต่งนั้นก็จะเสร็จประมาณปลายปี59.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2015 8:34 pm    Post subject: Reply with quote

สมคิดเร่งคมนาคมเดินหน้ารถไฟฟ้าสีน้ำเงิน
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ.2558 20:08 น.

รมว.คมนาคม เผย รองนายกฯสมคิด เร่งรัดคมนาคมเดินหน้ารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน จี้สรุปรูปแบบการเดินรถ เปิดประมูล

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ได้เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคมการเดินหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ระยะทาง 27 กิโลเมตร รวมถึงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรียลลิงก์ส่วนต่อขยาย พญาไท-ดอนเมือง ทั้งนี้ ในส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินขณะนี้งานโยธามีความคืบหน้ามากกว่าร้อยละ 60 ขณะที่ในส่วนการเดินรถ มติคณะรัฐมนตรี ครม. ให้สอบถามความเห็นจาก 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สศช. และสำนักงานงบประมาณ กระทรวงการคลัง ซึ่งตอบมาแล้วว่าให้เปิดประมูล ถือว่ามีความชัดเจนที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ควรกลับไปดำเนินการเปิดประมูล เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียเวลา

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของความคืบหน้าโครงการพัฒนาความร่วมมือระบบรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ทั้ง 3 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-แหลมฉบัง และเส้นทาง อ.แม่สอด จ.ตาก-มุกดาหาร เป็นเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ ขณะนี้ทางญี่ปุ่นได้ส่งทีมลงสำรวจพื้นที่และทบทวนเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่แล้ว เพื่อทำการออกแบบและสรุปรูปแบบการลงทุนคาดว่า ภายในสิ้นปีนี้จะได้ข้อสรุป จากนั้นในกลางปี 2559 จะเสนอ ครม. เพื่อขออนุมัติหลักการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 136, 137, 138 ... 228, 229, 230  Next
Page 137 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©