Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264516
ทั้งหมด:13575799
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - บันทึกจาก Black express
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

บันทึกจาก Black express
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 12, 13, 14  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 01/10/2013 10:51 pm    Post subject: Reply with quote

เฮ้อ...ผมว่าคงหง่อมไปไหนไม่ไหวกระมัง ? กว่าทางรถไฟพวกนี้จะเปิดเดินครับ Sad

ที่หัวหินนั้น เป็นลักษณะ Box Culvert มากกว่า แต่มันใหญ่โตจนคิดว่าเป็นอุโมงค์ครับ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
Noomrattana
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 24/06/2013
Posts: 53

PostPosted: 02/10/2013 7:39 am    Post subject: Reply with quote

ภาพผนังภายในอุโมงค์พระพุทธฉาย เส้นทางการก่อสร้างสระบุรี-แก่งคอย เป็นผนังสำเร็จรูป โค้งรูปเกือกม้า

Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us
Back to top
View user's profile Send private message
Noomrattana
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 24/06/2013
Posts: 53

PostPosted: 02/10/2013 7:40 am    Post subject: Reply with quote

รายละเอีดยของอุโมงค์

Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us
Back to top
View user's profile Send private message
Noomrattana
3rd Class Pass
3rd Class Pass


Joined: 24/06/2013
Posts: 53

PostPosted: 02/10/2013 7:43 am    Post subject: Reply with quote

ภาพรถไฟออกจากอุโมงค์ สวย ๆ

Click on the image for full size

Uploaded with ImageShack.us
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 03/10/2013 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

ผนังอุโมงค์ที่เป็นลักษณะนั้น จะเป็นช่วงอุโมงค์เทียมซึ่งสร้างต่อจากอุโมงค์จริงเพื่อกันหินร่วงมาทับทางรถไฟ

ภายในอุโมงค์จริงจะกรุด้วยตาข่าย แล้วพ่นซีเมนต์ทับครับ

Click on the image for full size

เมื่อปี 2534 การรถไฟฯ ได้ดำเนินการโครงการจัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้า จำนวน 22 คัน บทค. 180 คัน และ บทต. 132 คัน เพื่อทดแทนของเดิมและให้บริการขนส่งสินค้าบรรจุตตู้คอนเทนเนอร์ในเส้นทางสายสัตหีบ และระหว่างบางซื่อกับบัตเตอร์เวอร์ธ รวมทั้งขบวนรถ Orient Express

รถจักรดีเซลไฟฟ้าที่จัดหามาในครั้งนี้ ได้มาถึงกรุงเทพฯ และการรถไฟฯ นำมาใช้งานตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา คือรถจักรดีเซล Hitachi (HID)จากประเทศญี่ปุ่น หรือที่เรามักเรียกด้วยความคุ้นปากว่า "ฮิบ่งาม" ครับ

นอกจากนี้ ครม.ยังมีมติอนุมัติให้การรถไฟฯ จัดหารถจักรดีเซลไฟฟ้าพร้อมอะไหล่ จำนวน 38 คัน และ บทต.อีก 99 คัน เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2535 ซึ่งรถจักรดีเซลดังกล่าวคือรถจักรดีเซล GEA นั่นเอง

Click on the image for full size

เป็นสัญญาณไฟสี ที่สถานีชุมพร ตามโครงการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณไฟสี 109 สถานี ซึ่งผลการดำเนินงานในช่วงปีงบประมาณ 2536 ได้ดำเนินการติดตั้งและเปิดใช้งานในเส้นทางสายใต้และเส้นทางสายเหนือทั้งหมดแล้ว ส่วนเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดใช้งานได้ทั้งหมด ในเดือนกันยายน 2537

นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการอบรมพนักงานผู้เกี่ยวข้องให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาณัติสัญญาณไฟสีแบบใหม่แล้ว

Click on the image for full size

การรถไฟฯ สรุปรายงานว่า ในปี 2536 ได้จัดหารถปรับอากาศนั่งและนอนชั้น 2 (บนท.ป.) ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ.2525 - 2529 จำนวน 17 คัน

รถปรับอากาศดังกล่าว บริษัท Daewoo Corporation ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ได้ส่งมอบถึงท่าเรือกรุงเทพ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2535

และมีราคา C&F ไม่รวมอะไหล่ คันละ 669,000 US $ จุผู้โดยสาร 40 คน ใช้เหล็กไร้สนิม (Stainless Steel) เป็นวัตถุหลักในการสร้างตัวรถ มีความเร็วสูงสุดที่สามารถวิ่งได้โดยปลอดภัย 120 กม./ชม.
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 14/10/2013 8:24 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ในรอบปี 2541 การรถไฟฯ ได้จัดขบวนรถโดยสารพิเศษรถจักรไอน้ำวิ่งระหว่างกาญจนบุรี - วังโพ - กาญจนบุรี เพื่อสนับสนุนปีท่องเที่ยวไทย

คงเป็นภาพที่หาดูได้ยากแล้วนะครับ เพราะรถจักรไอน้ำรุ่นดังกล่าว มีสภาพเก่าแก่เต็มที และหลังจากปรับปรุงสภาพแล้ว คงวิ่งแต่สายกรุงเทพฯ - อยุธยา เท่านั้น

Click on the image for full size

ในรอบปีงบประมาณ 2536 การรถไฟฯ แจ้งว่า ได้ดำเนินการให้เอกชนเช่าสิทธิ์จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มบนขบวนรถ รวม 50 ขบวน และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากอัตราค่าเช่ารวมเป็นเงิน 72,665,700 บาท

เมื่อเปรียบเทียบกับปีงบประมาณที่ผ่านมาแล้ว จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 11,804,292 บาท อันเป็นผลมาจากสัญญาเดิมได้สิ้นสุดลงและได้ออกประกวดราคาใหม่โดยกำหนดอัตราค่าเช่าขั้นต่ำจากเดิมร้อยละ 35 ซึ่งผลการประกวดราคา ปรากฎว่าผู้เช่ารายใหม๋ได้เสนอราคาสูงกว่าอัตราค่าเช่าขั้นต่ำที่กำหนดไว้

Click on the image for full size

การรถไฟฯ ได้ก่อสร้างทางรถไฟสายสัตหีบ - มาบตาพุด โดยแยกจากเส้นทางเดิมที่สถานีเขาชีจรรย์ เข้าสู่บริเวณท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อ.เมืองระยอง ระยะทาง 42 กม. โดยในชั้นแรกนี้จะสร้างทางรถไฟไปถึงท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะทางประมาณ 24 กม. ก่อน โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1,608,068,000 บาท

ในปีงบประมาณ 2528 - 2536 ได้ขอตั้งงบประมาณไว้ส่วนหนึ่งเป็นเงิน 1,212,363,000 บาท สำหรับในปี 2537 ขอตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการอีกส่วนหนึ่งเป็นเงิน 395,705,000 บาท

น่าเสียดายที่การก่อสร้างไปถึงแค่ท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเท่านั้น ส่วนแนวเส้นทางช่วงมาบตาพุด - ระยอง นั้น ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ จนเอกชนได้ปลูกบ้านจัดสรรทับแนวไปแล้ว และปัจจุบัน มีเพียงขบวนรถสินค้าเดินบนเส้นทางช่วงนี้เพียงเดือนละครั้งเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 10/10/2015 3:48 pm    Post subject: Reply with quote

กลับมาอีกครั้งนะครับด้วยภาพเก่าที่พยายามขัดสีฉวีวรรณให้อยู่นานๆ ซึ่ง อ.ตุ้ย และอีกหลายๆ คน ชิงออกกระทู้ไปล่วงหน้าแล้ว แต่ไม่ว่ากัน เพราะจะมาจากแหล่งใด ใครที่มาอ่าน มาโหลด จะได้รับความรู้และภาพเก่าๆ ไว้คิดต่อยอดเหมือนกัน ขอเพียงว่า ให้เกียรติลงเครดิตกับแหล่งที่มาของภาพ (ถ้าทราบ) ให้ด้วยก็แล้วกัน แฮ่ะๆ Laughing Laughing

ว่าด้วยชุดแรกก่อนครับ เป็นภาพชุดรถไฟสายปากน้ำ อันเป็นเส้นทางรถไฟราษฎร์สายแรกในประเทศไทย

ทางรถไฟสายปากน้ำ เป็นทางรถไฟเอกชนที่เดินรถระหว่างหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร กับเมืองปากน้ำ จ.สมุทรปราการ ระยะทาง 21 กิโลเมตร ตั้งแต่ พ.ศ.2436 ถึง พ.ศ.2503 เป็นทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย

Click on the image for full size

ทางรถไฟสายปากน้ำดำเนินการโดย กอมปานีรถไฟ หรือ บริษัทรถไฟปากน้ำ บริหารงานโดย อังเดร เดอ ริเชอลิเออร์ (พระยาชลยุทธโยธิน) ชาวเดนมาร์ก และแอลเฟรด ยอนลอบเตอด เยฟอานีเอช (พระนิเทศชลธี) ได้รับสัมปทานตั้งแต่วันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2429 เป็นเวลา 50 ปี สิ้นสุด พ.ศ.2479 เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434

Click on the image for full size

แล้วเสร็จและเปิดเดินขบวนรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดบริการ และเสด็จขึ้นประทับโดยสารขบวนรถไฟพระที่นั่ง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ มีวิศวกรเดินรถชื่อ ที.เอ. ก็อตเช่ (Captain T.A. Gottsche) ชาวเดนมาร์ก ต่อมาได้รับราชทินนามเป็น ขุนบริพัตรโภคกิจ ต้นสกุล คเชศะนันทน์

Click on the image for full size

ในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร เส้นทางสายนี้ใช้ความกว้างของทางรถไฟ คือ ขนาด 1.00 เมตร (Metre-Guage) โดยรถโดยสารหนึ่งขบวนจะประกอบด้วย โบกี้โดยสารสี่โบกี้ และโปกี้ห้ามล้ออีกหนึ่งโบกี้ โดยมีชั้นที่นั่งให้เลือกอยู่สองระดับ คือ ชั้นสอง และชั้นสาม

Click on the image for full size

ตลอดระยะทางทั้งหมด ใช้เวลาในการเดินทางหนึ่งชั่วโมง จะต้องข้ามคลองและคูน้ำเป็นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นสะพานไม้ แต่ก็มีบางส่วนที่สร้างจากไม้และเหล็กผสมกัน เส้นทางนี้รองรับความต้องการของผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างมาก และสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้เป็นอย่างดี
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 10/10/2015 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ระหว่าง พ.ศ.2436 ถึง พ.ศ.2459 มีสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี และเพิ่มเป็น 12 สถานีจนสิ้นสุดสัมปทาน หลังจากสิ้นสุดสัมปทานแล้วกรมรถไฟได้ดำเนินการต่อ จนกระทั่งยกเลิกทางรถไฟสายนี้ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2503 ในรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรื้อทางรถไฟสร้างเป็นถนนพระราม 4 และถนนทางรถไฟสายเก่า

Click on the image for full size

การเดินรถในระยะแรก ใช้หัวรถจักรไอน้ำ ผลิตโดยบริษัท เคร้าส์ (Krauss) จากเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมัน

Click on the image for full size

ในภายหลังได้เปลี่ยนเป็นรถรางไฟฟ้าที่ บริษัทไฟฟ้าสยามจัดซื้อและจัดทำให้ และรถรางไฟฟ้าจากบริษัท Nippon Sharyo สั่งมาใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 จนเลิกกิจการ

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 10/10/2015 3:59 pm    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size

ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รถไฟสายปากน้ำได้รับความเสียหายเนื่องจากสายเคเบิลไฟฟ้าถูกตัดขาดที่บริเวณบางจาก แต่ก็ยังคงเปิดดำเนินการอยู่ตามปกติโดยพนักงานรถไฟฟ้าจะต้องปีนขึ้นไปบนหลังคารถแล้วบังคับตัวสาลี่ (pantograph) ให้สามารถรับกระแสไฟฟ้าได้โดยตลอด ในขณะที่รถผ่านบริเวณจุดที่เกิดความเสียหายเพื่อให้รถรางสามารถวิ่งต่อไปได้จนถึงจุดหมายปลายทาง

........................

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ไทย , footage ของภาพยนตร์ Siam to Koria 1931 , แผนที่กรุงเทพ ปี 2450 มาตราส่วน 1:4000 งานวิจัยที่ได้รับทุน สกว. ของคณาจารย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

จบเรื่องสรุปโดยย่นย่อเพียงแค่นี้ครับ Razz
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 16/10/2015 9:36 am    Post subject: Reply with quote

คราวที่หนังสือ "รถจักรและรถพ่วงประวัติศาสตร์" ออกมาจำหน่ายเป็นครั้งแรกนั้น ผมได้มีโอกาสเขียนจดหมายไปยังพี่โมฬีมาศ ฉัตราคม เพื่อแสดงความชื่นชมในหนังสือดังกล่าว (อย่าถามเรื่องบรรดาสื่ออินเตอร์เน็ตที่มีเกลื่อนกลาดจนถึงมือถือในสมัยนี้ เพราะยังไม่มี) ซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับว่าเป็นงานเร่งด่วน ต้องประสานงานกับหลายฝ่ายเพื่อให้หนังสือสำเร็จทันเวลา อย่างไรก็ดียังมีข้อบกพร่องอีกมากที่ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์แก้ไข และก็เป็นจริงในการจัดทำครั้งที่สองซึ่งผมได้สั่งซื้อด้วย

พอหลังจากมีอินเตอร์เน็ตแพร่หลายขึ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งรวมถึง facebook ด้วย) เริ่มมีผู้สนใจค้นหาข้อมูลภาพ และแหล่งที่มา เช่นรถจักรไอน้ำ นตท. ที่เคยเข้าใจว่าเป็นรถตรวจทางนั้น กลับเป็นของโรงงานน้ำตาลไทยเกาะคา จ.ลำปาง และภาพฝรั่งยืนท้าวสะเอวพร้อมรถจักรไอน้ำบนสะพานข้ามคลองแห่งหนึ่ง ซึ่งรู้กันภายหลังว่าเป็นสะพานข้ามคลองสามวัง อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี หรือรถไฟราษฎร์สายบางบัวทองนั่นเอง

เรามาดูเรื่องราวของรถไฟสายบางบัวทองกันสักหน่อยเป็นไร ?

Click on the image for full size

ทางรถไฟสายบางบัวทอง เป็นทางรถไฟราษฎร์ที่เดินรถระหว่าง อ.บางพลัด จ.ธนบุรี (ในขณะนั้น) กับ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ตั้งแต่ พ.ศ.2452 ถึง พ.ศ.2485 ดำเนินการโดยบริษัทรถไฟสายบางบัวทอง จำกัดสินใช้ ของเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เดินรถด้วยรถจักรไอน้ำ ใช้รางขนาดเล็ก กว้าง 0.75 เมตร

ต่อมาได้ขยายเส้นทางรถไฟไปสิ้นสุดที่ ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี เมื่อ พ.ศ.2469

Click on the image for full size

สถานีต้นทางอยู่บริเวณซอยรถไฟพระยาวรพงษ์ (ปัจจุบันคือซอยจรัญสนิทวงศ์ 46) ใกล้วัดลิงขบ ตรงข้ามกับปากคลองผดุงกรุงเกษม ตัดขวางกับทางรถไฟสายใต้ที่สถานีรถไฟบางบำหรุ อ.บางใหญ่ (บางกรวยปัจจุบัน) จ.นนทบุรี ผ่าน อ.ตลาดขวัญและ อ.บางแม่นาง ไปสิ้นสุดที่ อ.บางบัวทอง โดยมีเส้นทางแยกออกจากทางหลักที่ตำบลบางสีทองไปยังท่าน้ำบางศรีเมือง ฝั่งตรงข้ามศาลากลางจังหวัดนนทบุรี (หลังเก่า) และที่ ต.บางเลน ไปยังคลองบางกอกน้อย ฝั่งตรงข้ามที่ว่าการอำเภอบางแม่นาง

Click on the image for full size

ปัจจุบันแนวทางรถไฟกลายเป็นซอยจรัญสนิทวงศ์ 46 แยก 19, ซอยจรัญสนิทวงศ์ 46 (พระยาวรพงษ์), ซอยจรัญสนิทวงศ์ 57 (วัดรวก), ถนนเทอดพระเกียรติ, ถนนบางกรวย-ไทรน้อย (ช่วงทางแยกเทอดพระเกียรติถึงโค้งสามวัง และช่วงทางแยกการไฟฟ้าบางใหญ่ถึงคลองบางกอกน้อย), ถนนเทศบาลบางศรีเมือง 1, ถนนบางศรีเมือง (ช่วงทางแยกบางศรีเมืองถึงท่าน้ำบางศรีเมือง), ถนนบางศรีเมือง-วัดโบสถ์ดอนพรหม (ช่วงต้น), ซอยบางเลน ซอย 21 (วัดบางเลนเจริญ) และถนนเทศบาล 14 (สามวัง)

ส่วนระยะทางที่เหลือตั้งแต่ตัว อ.บางบัวทอง ไปจนถึงตัว อ.ลาดหลุมแก้ว ยังเหลือร่องรอยคันทางเก่าตัดผ่านท้องนาให้เห็นอยู่บ้าง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> สาระความรู้วิชาการรถไฟและประวัติศาสตร์รถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 5, 6, 7 ... 12, 13, 14  Next
Page 6 of 14

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©