RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264969
ทั้งหมด:13576252
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 126, 127, 128 ... 278, 279, 280  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2016 4:53 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คาดว่าโครงการ PPP fast Track รถไฟสายสีชมพูและสีเหลือง จะเสนอ ครม.เดือนมีนาคมนี้
27 ม.ค. 2559

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ PPP ว่าโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP fast Track) มีโครงการใหญ่ของกระทรวงคมนาคม 5 โครงการ จะสามารถเสนอโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง ให้คณะกรรมการ PPP พิจารณาได้ตามกำหนดเดือนกุมภาพันธ์ 2559 และเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาเดือนมีนาคมนี้ ก่อนเสนอคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาเอกสารการคัดเลือกเอกชนเดือนพฤษภาคม 2559 ส่วนโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางประอิน – นครราชสีมา และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ – กาญจนบุรี อยู่ระหว่างทดสอบความสนใจของภาคเอกชน คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์นี้

ขณะที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ มีความล่าช้าในกระบวนการตรวจสอบข้อมูล จึงทำให้เสนอคณะกรรมการ PPP เพื่อพิจารณาล่าช้ากว่ากำหนด ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาศึกษาโครงการ และพิจารณารูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กรุงเทพ - ระยอง งบลงทุน 1 แสน 5 หมื่น 2 พันล้านบาท ว่าจะให้รัฐบาลลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบเดินรถ แล้วให้เอกชนเป็นผู้เดินรถอย่างเดียว หรือให้รัฐบาลลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน แล้วเอกชนลงทุนในระบบเดินรถ หรือให้เอกชนลงทุนทั้งหมด โดยให้นำเสนอที่ประชุม PPP ครั้งต่อไป

อย่างไรก็ตาม ช่วงครึ่งปีแรกปีนี้ คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญาลงทุนโครงการขนาดใหญ่ได้ มูลค่ารวมประมาณ 9 แสนล้านบาท โดยจะเบิกจ่ายเงินได้จริงราว 6 หมื่นล้านบาท และเน้นย้ำให้เอกชนตื่นตัวกับการลงทุนในประเทศ ที่รัฐบาลทยอยลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : กริช รวิวรรณ
ผู้เรียบเรียง : คณิต จินดาวรรณ / สวท. คณิต จินดาวรรณ / สวท.
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2016 5:40 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม ชงไฮสปีดเทรน กทม.-ระยอง เข้า PPP Fast Track โครงการที่ 6
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 27 ม.ค. 2559 14:53

ขุนคลัง ถกคณะกรรมการนโยบาย PPP เผย คมนาคม ชงไฮสปีดเทรน กทม.-ระยอง เข้า PPP Fast Track เป็นโครงการที่ 6 อยู่ระหว่างพิจารณาหาแนวทางให้เอกชนร่วมลงทุน ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศสูงสุด จ่อหารือประชุมครั้งหน้า...

เมื่อวันที่ 27 ม.ค. นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ว่า กระทรวงคมนาคมได้รายงานแผนความคืบหน้าเรื่องการพัฒนารถไฟ และรถไฟฟ้า รวมทั้งความคืบหน้าโครงการตามมาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) และกระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ความเร็ว 250 กม./ชั่วโมง นำเข้า PPP Fast Track เป็นโครงการที่ 6

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้ชี้แจงความเป็นไปของโครงการ ซึ่งได้ศึกษาไปมากแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในลักษณะใด ใน 3 แนวทาง โดยแนวทางแรกให้เอกชนลงทุนทั้งหมด แนวทางที่ 2 เอกชนลงทุนระบบเดินรถ ส่วนรัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แนวทางที่ 3 รัฐบาลลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบเดินรถ และให้เอกชนลงทุนบริการเดินรถ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมให้กระทรวงคมนาคมไปพิจารณาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด จะกลับมาเสนอต่อที่ประชุมในคราวหน้า

ส่วนโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) มี 5 โครงการ รวมมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้นประมาณ 334,207 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี มีมูลค่าโครงการ 56,725 ล้านบาท
2. โครงรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง มีมูลค่าโครงการ 54,768 ล้านบาท
3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแคและช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มีมูลค่าโครงการ 82,600 ล้านบาท
4. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา มีมูลค่าโครงการ 84,600 ล้านบาท และ
5. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี มีมูลค่าโครงการ 55,620 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 31/01/2016 3:08 am    Post subject: Reply with quote


คิดทำทางรถรางและเดินเรือ ตามคลองบางกอกน้อย เชื่อมกะ รถรางสองสาย ในเกาะรัตนโกสินทร์ - และ สองสายที่ว่าไม่เดินวนรอบเกาะรัตนโกสินทร์ด้วย และ จะทำท่าน้ำเชื่อมสถานีสายใต้ที่ปินเกล้าเข้ากะ ท่าเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ชะรอยถ้าไม่ใช่ท่าช้างวังหลวงก็ท่ามหาราชเป็นแน่)
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=KCDH9iKS0xs#t=0
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2016 7:07 pm    Post subject: Reply with quote

คาดรถไฟสายสีชมพู-เหลืองเข้าพีพีพี ก.พ.นี้
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 27 มกราคม 2559, 18:15
อ่านแล้ว 3,185 ครั้ง
ชาวลาดพร้าว-มีนบุรีเตรียมเฮ! คณะกรรมการกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และสายสีชมพู (มีนบุรี-แคราย) เตรียมเข้าพิจารณาการลงทุนแบบ PPP ก.พ.นี้ และให้ ครม.พิจารณาอนุมัติในเดือน มี.ค. คาดเริ่มก่อสร้างได้ในปี 60
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2016 1:42 pm    Post subject: Reply with quote

อาคมเผยฝรั่งเศสสนใจร่วมทุนโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูง-รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ
โพสต์ทูเดย์ 04 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08:01 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังหารือกับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย ว่า ฝรั่งเศสสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย ทั้งรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และรถไฟฟ้ารางเบา (Tram Way) จ.ภูเก็ต เนื่องจากฝรั่งเศสเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง

"ไทยมีโครงการที่ต้องการให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนแบบพีพีพีหลายโครงการ ซึ่งฝรั่งเศสบอกว่าสนใจที่จะร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูง รถรางที่ จ .ภูเก็ต และรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ หลายเส้นทาง อาทิ รถไฟฟ้ารางเดี่ยว (โมโนเรล) สายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง รวมทั้งรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี" นายอาคม กล่าว

นายอาคม กล่าวว่า ได้ย้ำกับทูตฝรั่งเศสว่า ในเร็วๆ นี้จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติจัดตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยาน หลังจากบริษัท แอร์บัส ได้หารือกับบริษัท การบินไทย เกี่ยวกับการตั้งศูนย์ซ่อมอากาศยานขนาดเบา ในพื้นที่บริเวณสนามบินอู่ตะเภา เพื่อรองรับเครื่องบินจากยุโรป จากปัจจุบันที่เครื่องบินจากยุโรปจะใช้บริการศูนย์ซ่อมที่สิงคโปร์และจีน

"แอร์ฟรานส์ เคแอล กับบริษัท การบินไทย จะเร่งพิจารณาเข้าหุ้นกันจัดตั้งบริษัทใหม่ เพื่อทำศูนย์ซ่อมอากาศยาน โดยกระทรวงอยู่ระหว่างการหารือกับกองทัพเรือในการเข้าใช้พื้นที่" นายอาคม กล่าว

----

ดีเดย์ระบบตั๋วร่วมทางด่วน-รถไฟฟ้าส.ค.นี้ "บีทีเอส"จูบปาก"บีอีเอ็ม"ต่อยอดธุรกิจสร้างพันธมิตรใหม่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 05 ก.พ. 2559 เวลา 14:30:02 น.

คมนาคมดีเดย์ ส.ค.กดปุ่ม "ระบบตั๋วร่วม" นำร่อง "รถไฟฟ้า-ทางด่วน" คาดสิ้นปีระบบสมบูรณ์ บัตรใบเดียวใช้ร่วมทางด่วน มอเตอร์เวย์ รถเมล์ เตรียมชง ครม.ไฟเขียวดึงเอกชน ด้านขนส่งร่วมทุนบริษัทกลางบริหาร สัมปทาน 15-20 ปี จับตาสองยักษ์ระบบราง BTS-BEM ปาดเค้กต่อยอดธุรกิจ

นายเผด็จ ประดิษฐ์เพชร ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 จะนำโครงการลงทุนระบบบริหารจัดการกลางของระบบตั๋วร่วมให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ โดยจะใช้รูปแบบรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน หรือ PPP ในการเลือกเพื่อจัดตั้งบริษัท ตั๋วร่วม จำกัด เป็นผู้บริหารจัดการและบำรุงรักษาตั๋วร่วม (CTC) ร่วมกัน

Click on the image for full size

ดึงเอกชนตั้งบริษัทกลางบริหาร

ในหลักการรัฐถือหุ้นไม่เกิน 50% เพื่อไม่ให้เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยร่วมทุน 3 ฝ่าย คือ 1.ภาครัฐ ถือหุ้นประมาณ 40% 2.ภาคเอกชนที่ให้บริการเดินรถไฟฟ้า เช่น บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ BTS, บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM สัดส่วนประมาณ 20% และ 3.ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการระบบ จากต่างประเทศ สัดส่วนประมาณ 40% ใช้วิธีเปิดประกวดราคานานาชาติ ซึ่งสัดส่วนหุ้นดังกล่าวยังไม่สรุป อยู่ระหว่างประเมินความเหมาะสม

"บริษัทนี้จะดูเรื่องการจัดการค่าใช้บริการของแต่ละระบบ ทำหน้าที่เป็นผู้เก็บเงิน และแบ่งสรรเงินให้กับระบบขนส่งสาธารณะประเภทต่าง ๆ จะมีรายได้จากการคิดค่าฟี โดยรัฐจะให้สัมปทานเป็นระยะเวลา 15-20 ปี ส่วนกระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้ควบคุมค่าฟรีจะไม่ให้เกิน 1.5% ของค่าขนส่งและกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร จะมี 3 รูปแบบ คือ 1.คิดอัตราเดียว เช่น 20 บาท 30 บาท 40 บาท 2.เก็บตามระยะทาง โดยคิดค่าแรกเข้าครั้งเดียว 3.เก็บตามระยะทาง ลดค่าแรกเข้าครั้งที่ 2 เช่น 10-30% อยู่ที่นโยบายรัฐบาล" นายเผด็จกล่าวและว่า สำหรับการจัดตั้งบริษัทใช้ทุนเริ่มต้น 600 ล้านบาท ในจำนวนนี้จะใช้เป็นเงินปรับปรุงระบบเดิมวงเงิน 244 ล้านบาท เพื่อรองรับระบบตั๋วร่วม จะเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้และให้แล้วเสร็จใน 6 เดือน ประกอบด้วย ค่าปรับปรุงระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน 80 ล้านบาท ระบบบีทีเอส 60 ล้านบาท รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 60 ล้านบาท ที่เหลือจะเป็นเงินทุนหมุนเวียน และค่าบริหารจัดการอีกกว่า 160 ล้านบาทต่อปี และค่าจัดตั้งสำนักงาน

6 เดือนนำร่องรถไฟฟ้า-ทางด่วน

"6 เดือนจากนี้จะทดสอบระบบที่ติดตั้งเสร็จ ปรับปรุงระบบเดิม คือ ระบบบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน แอร์พอร์ตเรลลิงก์ และ Easy Pass ของทางด่วน ให้รองรับระบบตั๋วร่วมที่ออกแบบเป็นมาตรฐานกลาง ให้เริ่มใช้บริการในเดือนสิงหาคมนี้ โดยจะเป็นการทยอยใช้ตามความพร้อมของระบบที่ปรับปรุงเสร็จ ส่วนระบบใหม่จะเปิดใช้ปีนี้ เช่น รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตกหรือรถเมล์เอ็นจีวีที่ซื้อใหม่ก็สามารถนำระบบไปติดตั้งได้เลย คาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในปีนี้คือรถไฟฟ้าและทางด่วน"

"เป้าหมายภายในสิ้นปี 2559 ระบบตั๋วร่วมจะสมบูรณ์แบบ ตามแผนงานจะมีการใช้ระบบตั๋วร่วมครอบคลุมทั้ง รถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ มอเตอร์เวย์ ทางด่วน และรถเมล์ ขสมก. ในระยะแรกจะเน้นใช้ตั๋วร่วมกับระบบขนส่งเป็นหลักก่อน"

นายเผด็จกล่าวว่า สำหรับร้านสะดวกซื้อที่ไม่ใช่ธุรกิจขนส่งจะเป็นลำดับถัดไป เช่น บัตรสมาร์ทเพิร์สของบริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด ธุรกิจในเครือของกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ที่มีฐานลูกค้าเป็นสมาชิกใช้ซื้อสินค้าในร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น หากสนใจก็สามารถเข้าได้ ในเดือนมีนาคมนี้เป็นต้นไป จะเชิญผู้ประกอบการภาคธุรกิจค้าปลีกหรือที่เกี่ยวข้องมารับฟังความพร้อมของระบบที่สนข.ติดตั้งเสร็จ ซึ่งการดำเนินการจะทำคู่ขนานกันไปกับการคัดเลือกเอกชนมาบริหารจัดการ

Click on the image for full size

BTS-BEM สนร่วมลงทุน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างติดตั้งระบบตั๋วร่วมที่ประมูลชนะวงเงิน 338 ล้านบาทให้ สนข. คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จากนั้นใช้เวลา 6 เดือนในการทดสอบ และใช้ระบบได้ในเดือนสิงหาคมนี้

ขณะเดียวกันบริษัทมีความสนใจจะเข้าร่วมลงทุนระบบการบริหารจัดการกลาง ที่ สนข.จะเปิดประมูลด้วย เนื่องจากบีทีเอสให้บริการบัตรแรบบิทอยู่แล้วภายใต้บริษัท บางกอกสมาร์ทซิสเต็มส์ จำกัด หรือบีเอสเอส ปัจจุบันมีผู้ถือบัตรอยู่ประมาณ 5 ล้านใบที่จะสามารถนำมาใช้ร่วมกับบัตรตั๋วร่วมแมงมุมได้ ซึ่งบริษัทเตรียมเซตระบบให้รองรับด้วยกันได้

"เราออกบัตรแรบบิทมาเพื่อจะเข้าร่วมระบบตั๋วร่วม ที่จะใช้ร่วมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน และมีเซ็น MOU กันไปก่อนหน้านี้ เพื่อความสะดวกของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ ไม่ต้องถือบัตรหลายใบ และสามารถนำบัตรแรบบิทไปซื้อของตามร้านค้าที่เข้าร่วมได้ ถึงแม้ว่าขณะนี้ทางรถไฟฟ้าใต้ดินยังไม่ได้เข้าร่วม แต่เมื่อรัฐมีนโยบายเรื่องระบบตั๋วร่วมชัดเจน ก็มีความเป็นไปได้สูงที่บีทีเอสจะร่วมกับ BEM ลงทุนระบบตั๋วร่วม เพราะมีความร่วมมือที่จะทำร่วมกันอยู่แล้ว และขณะนี้เรากำลังคุยกับซีพีอาจจะมีการทำธุรกิจร่วมกันเพราะซีพีมีบัตรสมาร์ทเพิร์ส" นายสุรพงษ์กล่าว

นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ.ช.การช่าง กล่าวว่า มีความสนใจจะให้ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพหรือ BEM เข้าร่วม PPP ระบบตั๋วร่วมของ สนข.ด้วย รอทางรัฐบาลกำหนดทีโออาร์ที่ชัดเจนจะให้เอกชนเข้าร่วม เพื่อบริหารระบบตั๋วให้เป็นเอกภาพ อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคมนี้จะเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วง สามารถใช้ตั๋วร่วมกับรถไฟฟ้าใต้ดินเดิมได้ ส่วนทางด่วนสายใหม่ศรีรัช-วงแหวนรอบนอกตะวันตกที่จะเปิดใช้เดือนกรกฎาคมนี้จะยังไม่มีระบบตั๋วร่วม มีแต่ระบบบัตร Easy Pass โดยจะเก็บค่าผ่านทาง 50 บาท

ยลโฉม "MANGMOOM" ขยุ้มการเดินทางด้วยบัตรใบเดียว

ได้รูปแบบ "บัตรตั๋วร่วม" ที่จะนำมาใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลัง "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ได้ผู้ชนะผู้ออกแบบบัตรพร้อมกับชื่อภายใต้แนวคิด "One for All Better" (ดี๊ดี...ทุกจังหวะการใช้ชีวิต)

โฉมหน้าบัตรเป็นผลงานของ "นางสาววรรธิชา อเนกสิทธิสิน" กราฟิกดีไซน์รุ่นใหม่ไฟแรงจากรั้วมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มีชื่อว่า "MANGMOOM (แมงมุม)"

ผลงาน "MANGMOOM" เกิดจากการนำเอาลักษณะทางกายภาพของแมงมุมมาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ ทั้งชื่อ และตราสัญลักษณ์ จึงได้ออกมาเป็นบัตร

เพราะแมงมุมเป็นสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ และดำรงชีวิตอยู่ด้วยการสร้างเส้นใยเชื่อมต่อกันไป ซึ่งเส้นใยนอกจากจะช่วยในการดักจับอาหารแล้ว ยังช่วยเป็นเส้นสายในการเดินทางไปสู่จุดต่าง ๆ ได้อีกด้วย

เช่นเดียวกับ "ระบบตั๋วร่วม" ที่สามารถเชื่อมโยงทุกการเดินทางไว้ด้วยบัตรเพียงใบเดียว

โดยจะถ่ายทอดออกมาผ่านสัญลักษณ์รูปตัว "M" จำลองลักษณะของขาแมงมุมที่ผูกรวมกันไว้ เสมือนการเชื่อมทุกการเดินทางทั้งในและนอกภาคขนส่งเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง

นับว่าเป็นบัตรที่สื่อได้ตรงจุดเข้ากับโครงข่ายรถไฟฟ้าที่มีหลากสีหลากสายทางกระจาย4 มุมเมือง ตามที่ปรากฏในแผนแม่บทรถไฟฟ้าหรือ M Map จนได้รับฉายาเป็นโครงข่ายแมงมุม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 05/02/2016 3:18 pm    Post subject: Reply with quote

บัตรตั๋วร่วม "MANGMOOM" ไอเดียเฉียบมากครับ ความหมายชัดเจนดีด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2016 9:28 pm    Post subject: Reply with quote

กทพ.หมดหวังสร้างด่วน 3 สายเหนือ ลุ้นสร้างเฉพาะช่วง N2 เชื่อมวงแหวนฯ


โดย MGR Online

8 กุมภาพันธ์ 2559 08:25 น. (แก้ไขล่าสุด 8 กุมภาพันธ์ 2559 10:53 น.)

กทพ.หมดหวังสร้างทางด่วนขั้น 3 สายเหนือ (N1, N2, N3) สนข.เตรียมตั้งงบ 60 จ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์ คาดจะมีระบบรถไฟฟ้าและทางด่วนผสมกัน โดยเน้นแก้คอขวดที่แยกเกษตร ด้าน กทพ.หวังใช้ประโยชน์ตอม่อแนว N2 ที่ลงทุนไปกว่า 1 พันล้านทำเป็นทางด่วนเชื่อมต่อ ถ.วงแหวนเพื่อช่วยระบายรถ

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า สนข.อยู่ระหว่างเสนอของบประมาณปี 2560 ในการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวิเคราะห์ระบบขนส่งมวลชนที่เหมาะสมกับแนวเดิมของโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ช่วง N1, 2, 3 ซึ่งมีปัญหาเดินหน้าโครงการไม่ได้เนื่องจากมีการต่อต้านจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และชุมชน ซึ่ง สนข.ได้รับมอบหมายให้ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบโครงการที่เหมาะสม ความจำเป็นที่จะก่อสร้างเป็นทางด่วนเหมือนเดิม หรือควรเป็นรถไฟฟ้า และการใช้ประโยชน์จากตอม่อที่ได้มีการก่อสร้างไว้แล้ว โดยจะสรุปผลศึกษาในปี 2560 จากนั้นจะนำเสนอระดับนโยบายพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ สนข.จะทำการศึกษาวิเคราะห์ตลอดแนว N1, N 2, N3 ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีทั้งระบบรถไฟฟ้าและทางด่วนผสมกัน โดยประเด็นสำคัญคือ จะต้องแก้ปัญหาบริเวณแยกเกษตรที่ปัจจุบันมีสภาพเป็นคอขวดด้วย

“ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคม, การทางพิเศษฯ, ม.เกษตรฯ, ชุมชน ได้ประชุมร่วมกันหลายครั้ง และเสนอให้ ม.เกษตรฯ วิเคราะห์และทำข้อมูล แต่เนื่องจาก ม.เกษตรฯ ถือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เมื่อประมาณเดือน ส.ค. 58 จึงมอบให้ สนข.วิเคาะห์ ซึ่งขอตั้งงบประมาณปี 59 ไม่ทัน จึงต้องเสนอขอในปี 60”

ด้านนายณรงค์ เขียดเดช ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวว่า แนวคิดเบื้องต้นเห็นว่าในตอน N1 ที่มีผลกระทบต่อ ม.เกษตรฯ นั้น อาจจะปรับเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา (โมโนเรล) ส่วน ตอน N2 ซึ่งก่อนหน้านี้ กทพ.ได้ลงทุนก่อสร้างฐานราก (ตอม่อ) ไปกว่ามูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาทนั้น จะต้องศึกษาหาแนวทางที่จะใช้ประโยชน์จากตอม่อที่มีได้อย่างไร เช่น ต่อ N2 เชื่อมกับถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนตะวันออก) ซึ่งจะห่างจากแยกเกษตรนวมินทร์ประมาณ 2 กม. ขณะที่ตอน N3 ปัจจุบันพบว่าสภาพพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก มีความเป็นไปได้ที่จะปรับแนวเส้นทางใหม่ เป็นต้น

สำหรับทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ (N1, 2, 3) ระยะทาง 42.9 กม. มีเป้าหมายเพื่อรองรับปริมาณจราจร East-West Corridoor ของกรุงเทพฯ โดยช่วง N1 (ถนนวงแหวนรอบนอกด้านตก บริเวณแยกบางใหญ่-แยกเกษตรศาสตร์) ระยะทาง 19.2 กม. ถูกมหาวิทยาลัยเกษตรฯ คัดค้าน ช่วง N2 (แยกเกษตร-ถนนประเสริฐมนูกิจ-ถนนนวมินทร์) ระยะทาง 9.2 กม. และช่วง N3 (นวมินทร์-ถนนเสรีไท-ถนนรามคำแหง
สิ้นสุดที่ถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ บริเวณถนนศรีนครินทร์) ระยะทาง 11.5 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2016 9:27 pm    Post subject: Reply with quote

แนะปรับสีผัง3ทำเลทอง รองรับเมืองขยาย/แนวรถไฟฟ้าพาดผ่าน
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,129 วันที่ 7 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คอลลิเออร์ เปิด 3 พื้นที่เร่งด่วนที่ควรปรับสีผังเมืองใหม่ หวังรองรับความเจริญและเส้นทางรถไฟฟ้า ชี้ ตลิ่งชันจุดเชื่อมต่อส่วนต่อขยายบางหว้า – ตลิ่งชันกับสายสีแดง ผังเดิมไม่สอดคล้องการเปลี่ยนแปลง ส่วนฝั่งถนนศรีนครินทร์และรามอินทรา ปัจจุบันผู้อยู่อาศัยหนาแน่นกลับจำกัดการเกิดคอนโดฯ

นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีแนวคิดที่จะให้ผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับที่ใช้อยู่ ณ ปัจจุบันที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2556 ไม่มีวันหมดอายุ แต่จะปรับเปลี่ยนข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของชุมชน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นหลายโครงการในปัจจุบันและในอนาคต ทำให้หลายพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงและเกิดความน่าสนใจมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาผังเมืองกรุงเทพมหานคร มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ในที่ดินให้สอดคล้องกับความเป็นจริงปัจจุบัน รวมทั้งช่วยรองรับให้แต่ละพื้นที่มีการขยายตัว รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงและน่าสนใจมากขึ้น โดยพื้นที่ตัวอย่างที่น่าสนใจที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบด้วย

1. พื้นที่บางส่วนของเขตตลิ่งชันที่มีข้อจำกัดในการพัฒนาคือ ถูกกำหนดให้เป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทะแยงสีเขียว) ทำให้มีข้อกำหนดค่อนข้างมากในการพัฒนาที่ดิน เพราะไม่สามารถพัฒนาคอนโดมิเนียม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หรือทาวน์เฮ้าส์ อาจมีโครงการบ้านจัดสรรที่มีขนาดที่ดินไม่น้อยกว่า 100 ตร.ว. ส่งผลให้เขตตลิ่งชัน มีโครงการบ้านจัดสรรเปิดขายอยู่ประมาณ 550 หน่วยเท่านั้น อัตราการขายประมาณ 60% ขณะที่ในอนาคตกรุงเทพมหานคร จะมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายบางหว้า – ตลิ่งชัน ตามแนวถนนราชพฤกษ์ ที่ขยายมาจากสถานีบางหว้าในปัจจุบัน ซึ่งในเขตตลิ่งชันยังมีสถานีปลายทางของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ – ตลิ่งชันด้วย ทำให้ในเขตตลิ่งชันจะเป็นปลายทางของเส้นทางรถไฟฟ้า2 สาย ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ผังเมืองจริง ก็จะช่วยให้มีโครงการบ้านจัดสรรขนาดเล็กหรือว่าคอนโดมิเนียมรวมทั้งโครงการค้าปลีกต่างๆ เกิดขึ้นในอนาคต

2.พื้นที่ตามแนวถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน และสวนหลวงที่ผังเมืองปัจจุบันกำหนดให้เป็นสีเหลือง (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) แต่ว่าพื้นที่นี้อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองที่มีความเป็นไปได้ในการพัฒนาค่อนข้างสูง อีกทั้งพื้นที่ตามแนวถนนศรีนครินทร์ช่วงทางใต้ลงไปได้ปรับเป็นสีส้ม (ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) หมดแล้ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก แต่ในพื้นที่นี้ยังเป็นสีเหลืองอยู่ ทำให้ไม่เห็นการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่ หรือโครงการค้าปลีกขนาดใหญ่ เพื่อรองรับปริมาณคนที่อยู่ในพื้นที่นี้ ซึ่งมีจำนวนมากจากการสำรวจล่าสุด ณ สิ้นปี 2558 พบว่า มีบ้านจัดสรรเปิดขายอยู่ใน 2 แขวงนี้ประมาณ 3,650 หน่วย และขายไปได้ประมาณ 80% โดยประมาณ 2,680 หน่วยเป็นทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งหากเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองมีความชัดเจนและถ้ามีการเปลี่ยนสีผังเมืองให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะตามมาในอนาคต น่าจะช่วยให้พื้นที่นี้มีความน่าสนใจมากขึ้น

3.พื้นที่ตามแนวถนนรามอินทรา เป็นอีกทำเลที่น่าจับตา ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะปัจจุบันพื้นที่ตามแนวถนนรามอินทราเกือบตลอดเส้นทาง ถูกกำหนดเป็นผังสีเหลือง แต่ว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่แนวเส้นทางส่วนใหญ่อยู่บนถนนรามอินทรา ก็น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เนื่องจากปัจจุบันตลอดแนวถนนรามอินทรามีโครงการที่อยู่อาศัยที่เป็นบ้านจัดสรรเท่านั้น อาจจะมีโครงการคอนโดมิเนียมบ้าง แต่ไม่ได้มากนักและแค่บางทำเลที่ผังเมืองอนุญาตให้สร้างได้เท่านั้น แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจริง อาจจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆด้านตามมาในอนาคต จากที่ปัจจุบันมีบ้านจัดสรรเปิดขายอยู่ประมาณ 2.9 พันหน่วย ขายไปได้ประมาณ 78% ประมาณ 50% เป็นทาวน์เฮ้าส์ที่มีราคาขายไม่เกิน 6 ล้านบาท และอีกประมาณ 40% เป็นบ้านเดี่ยวที่ส่วนใหญ่มีราคาขายมากกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป

“แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของผังสีในอนาคต แต่ก็ต้องดูว่าข้อกำหนดอื่นๆ ยังมีผลต่อการพัฒนาในพื้นที่หรือไม่ เช่น เรื่องของอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR :Floor Area Ratio) ที่เป็นตัวควบคุมขนาดของอาคาร รวมทั้งเรื่องข้อกำหนดในการพัฒนาอื่นๆ ที่ระบุในผังเมือง เช่น ถ้าจะพัฒนาอาคารที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่มากกว่า 1 หมื่น ตร.ม. ต้องติดกับถนนที่มีเขตทางมากกว่า 30 เมตรเป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาร่วมกันกับการเปลี่ยนสีผังเมืองด้วย”นายสุรเชษฐ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2016 9:32 pm    Post subject: Reply with quote

จุดตัดรถไฟฟ้าทำเลทองใหม่ 5 สถานีหลักศักยภาพสูงราคาคอนโดฯ จ่อขยับเพิ่ม
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 31 มกราคม 2559 14689
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,126 วันที่ 28 – 30 มกราคม พ.ศ. 2559

จุดตัดรถไฟฟ้าทำเลทองใหม่ 5 สถานีหลักศักยภาพสูงราคาคอนโดฯ จ่อขยับเพิ่ม
การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มักขยายตามแนวระบบสาธารณูปโภค ระบบคมนาคมและโดยเฉพาะแนวเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายต่างๆ ทั้งที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน และอีกหลายสายที่จะทยอยก่อสร้างเพิ่มเติมในอนาคต เส้นทางเหล่านี้ทำให้เกิดจุดตัดหรือสถานีร่วมของเส้นทางรถไฟฟ้าสายใหม่ที่จะต้องมีแนวเส้นทางมาบรรจบกัน หรือว่ามีสถานีร่วมในบริเวณเดียวกัน รวมทั้งมีบางเส้นทางที่ใช้สถานีร่วมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายเดิมที่เปิดให้บริการอยู่แล้ว ทำให้พื้นที่รอบๆ สถานีที่เป็นจุดตัดหรือว่าจุดเชื่อมต่อเหล่านี้กลายเป็นทำเลทองที่ผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้ซื้อสนใจจับตามองมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

นายสุรเชษฐ กองชีพ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยบริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า สถานีเชื่อมต่อหรือสถานีที่เป็นจุดตัดของเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและสายใหม่ๆ ปัจจุบันเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะตลาดคอนโดมิเนียมที่มีการเปิดขายโครงการใหม่ๆ มากขึ้น และจากการสำรวจของฝ่ายวิจัย พบว่าพื้นที่จุดตัดที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีศักยภาพ ประกอบด้วย 5 สถานีคือ

เริ่มจากสถานีเตาปูน เป็นสถานีที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา โดยมีคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่จำนวนมาก เพราะเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วง มีคอนโดมิเนียมที่เปิดขายตั้งแต่ปี 2554 จำนวนกว่า 5 พันหน่วย ปัจจุบันมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายรวม 3,055 หน่วย แต่ขณะนี้โครงการเปิดขายใหม่เริ่มชะลอตัว เนื่องจากมีจำนวนหน่วยเหลือขายค่อนข้างมาก สำหรับราคาขายเฉลี่ยในพื้นที่รอบๆ สถานีนี้อยู่ที่ประมาณ 9 หมื่นบาทต่อตร.ม. แต่มีบางโครงการที่ราคาขายมากกว่า 1 แสนบาทต่อตร.ม. ขณะที่ราคาขายของโครงการช่วงก่อนหน้าอยู่ที่ประมาณ 7 หมื่นบาทต่อตร.ม.

สถานีบางหว้า จุดตัดของสายสีเขียวและสีน้ำเงิน ปัจจุบันมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายในพื้นที่รอบสถานีจำนวน 2,377 หน่วย และขายไปได้ค่อนข้างสูงคือเกือบ 100% โดยคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่จะเปิดขายในช่วงก่อนหน้านี้ 3 – 5 ปี ทั้งนี้ ราคาขายได้ปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก โดยก่อนที่รถไฟฟ้าส่วนต่อขยายจะเปิดให้บริการ ราคาขายของคอนโดมิเนียมในพื้นที่นี้อยู่ที่ประมาณ 5.5 หมื่นบาทต่อตร.ม. แต่หลังจากสถานีบางหว้าเปิดให้บริการแล้ว ราคาขายเฉลี่ยของโครงการเดียวกันขึ้นไปมากกว่า 7 หมื่นบาทต่อตร.ม. เพิ่มขึ้นมากกว่า 25% ในขณะที่โครงการคอนโดมิเนียมโครงการใหม่ที่เปิดขายหลังจากสถานีบางหว้าเปิดให้บริการนั้นมีราคาขายเฉลี่ยมากกว่า 7 หมื่นบาทต่อตร.ม. ทำให้ผู้ประกอบการหลายรายสนใจที่จะพัฒนาคอนโดมิเนียมในบริเวณนี้มากขึ้น

สถานีลาดพร้าว : สถานีที่เป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟใต้ดินและสถานีเริ่มต้นของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลืองในอนาคต ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมเปิดขาย 5 โครงการจำนวนหน่วยรวมทั้งหมดประมาณ 997 หน่วย อัตราการขายเฉลี่ยของทุกโครงการอยู่ที่มากกว่า 96% ค่อนข้างสูง แม้ว่าจะมีโครงการที่เพิ่งเปิดขายในราคาขายมากกว่า 1 แสนบาทต่อตร.ม.เมื่อปี 2558 ก็ตาม แต่ก็ได้รับความนิยมอย่างสูง ทำให้มีคอนโดมิเนียมเหลือขายออยู่ในบริเวณนี้ไม่มากนัก และคาดว่าบริเวณนี้จะมีโครงการคอนโดมิเนียมใหม่ๆ เปิดขายมากขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน เพราะว่ารถไฟฟ้าสายสีเหลืองเริ่มชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ

สถานีท่าพระ : สถานีที่เป็นจุดตัดของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทั้ง 2 เส้นทางเริ่มมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายมากขึ้นแบบเห็นได้ชัดในช่วง 3 -4 ปีที่ผ่านมา แต่ยังมีจำนวนไม่มากนัก ปัจจุบันมีประมาณ 3,698 หน่วย และมีอัตราการขายที่ประมาณ 86% เพราะมี 2 โครงการขนาดใหญ่ที่เปิดขายในช่วงปี 2557 – 2558 ราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 5.5 หมื่นบาทต่อตร.ม.เท่านั้น แต่คาดว่าจะมากขึ้นในปี 2559 เพราะจะมีโครงการใหม่เปิดขายในราคาที่มากกว่า 1.1 แสนบาทต่อตร.ม.

สถานีห้าแยกลาดพร้าว/พหลโยธิน : จุดตัดของรถไฟใต้ดินกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต – คูคต) ที่ห้าแยกลาดพร้าว ตั้งแต่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวเริ่มการก่อสร้าง ก็มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นในปัจจุบัน แม้ว่าจะไม่มากเหมือนรอบๆ สถานีหมอชิต แต่บริเวณนี้ในปัจจุบันมีความพร้อมค่อนข้างมาก เนื่องด้วยมีทั้งศูนย์การค้าขนาดใหญ่ อาคารสำนักงานหลายอาคาร สวนสาธารณะ และมีรถไฟใต้ดินที่เปิดให้บริการแล้ว อีกทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากศูนย์คมนาคมพหลโยธิน หรือสถานีกลางบางซื่อที่จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งในอนาคต สำหรับราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมในบริเวณนี้ปัจจุบันมากกว่า 1แสนบาทต่อตร.ม. และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต

“พื้นที่รอบๆ สถานีต่างๆ เหล่านี้ บางพื้นที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงแล้ว โดยเฉพาะในตลาดคอนโดมิเนียมเพราะผู้ประกอบการต่างก็ต้องการชิงกำลังซื้อในตลาดระดับกลาง – ล่างก่อนที่ราคาที่ดินจะปรับขึ้นไปมากกว่านี้ เมื่อการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ามีความคืบหน้ามากขึ้น โดยสถานีที่มีความน่าสนใจที่สุดในขณะนี้คือ สถานีห้าแยกลาดพร้าว/พหลโยธิน”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2016 9:35 pm    Post subject: Reply with quote

INTERCHANGE แห่งอนาคต
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 9 กุมภาพันธ์ 2559 44
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,129 วันที่ 7 – 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

“การพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชน รถไฟฟ้าจำนวน 10 สายในกรุงเทพฯ ปริมณฑล กำลังขยายเส้นทางจากในเมืองออกไปยังนอกเมืองหลายสาย เช่น สายสีม่วงบางซื่อ-บางใหญ่ สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค สายสีแดงบางซื่อ-รังสิต สายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ สายสีเขียวหมอชิต-คูคต สายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี สายแอร์พอร์ตลิงค์ ที่เปิดใช้อยู่แล้ว ผนวกกับเส้นทางในแนวรถไฟฟ้าแนววงแหวน เช่น สายสีชมพู ปากเกร็ด-สุวินทวงศ์ สายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ เป็นต้น ทำให้จะมีจุดตัด จุดเชื่อมต่อสำคัญของการเดินทางในอนาคต มาดูกันว่าจะมี Interchange ขนาดใหญ่เกิดขึ้นที่ใดบ้างในอนาคตโดยเฉพาะในเขตชั้นกลางและชั้นนอก โดยไม่นับรวมจุดเชื่อมต่อในใจกลางเมืองที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน”

1. จุดแรก Interchange ย่านพหลโยธิน บางซื่อ สวนจตุจักร ห้าแยกลาดพร้าว ที่กล่าวไปหลายครั้งแล้วแต่จะไม่กล่าวถึงก็ไม่ได้ ทำเลนี้จะเป็น Hub สำคัญของการเดินทางในอนาคต ที่เคยว่าไว้หลายครั้งแล้ว ทำเลนี้เป็นจุดเชื่อมต่อของรถไฟฟ้าถึง 7 สาย (2 สายปัจจุบันกับ 5 สายในอนาคต) และเป็นสถานีต้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ ที่สถานีบางซื่อ จุดตัดของรถไฟฟ้า 2 สายมีอยู่แล้ว คือ รถไฟฟ้าบีทีเอสกับรถไฟฟ้าใต้ดิน ส่วนอีก 5 สายในอนาคต คือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ โครงการสายสีน้ำเงินต่อขยาย บางซื่อ-ท่าพระ โครงการสาย
สีแดง (บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-ตลิ่งชัน) และโครงการสายสีเขียว หมอชิต-สะพานใหม่ อนาคตจุดเชื่อมต่อที่ใหญ่ที่สุดในเขตเมือง ราคาที่ดินโดยรอบทำเลย่านนี้ในปัจจุบัน ที่ดินติดถนนพหลโยธิน ถนนลาดพร้าว ถนนวิภาวดีรังสิต จากเดิมเมื่อ 4-5 ปีก่อนตารางวาละ 100,000-150,000 บาท ปัจจุบันราคาปรับเพิ่มเป็นตารางวาละ 3-4 แสนบาท (บางแปลงประกาศขาย 6-7 แสนบาทแล้ว ในอนาคตคาดว่าจะมีศักยภาพสูงขึ้นยิ่งไปอีกเนื่องจากโครงการต่างๆ ดังกล่าว

2. Interchange ต่อมา คือ ย่านถนนอโศก และรัชดาภิเษกช่วงต้น ที่มีรถไฟฟ้าใต้ดิน ปัจจุบัน ตัดกับแอร์พอร์ตลิงค์ และในอนาคตยังมีโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ (หรืออาจเป็นแยกพระราม9)-มีนบุรี ที่เป็นศูนย์ธุรกิจแห่งใหม่ ที่มีทั้งอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งใหม่เป็น Magnet ของศูนย์ธุรกิจใหม่แห่งนี้ การสร้างอาคารซูเปอร์ ทาวเวอร์ ทุบสถิติ สูงที่สุดในอาเซียน 125 ชั้นของกลุ่มจีแลนด์ โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์ในอนาคตที่มีพื้นที่ก่อสร้างกว่า 6.00 ล้านตารางเมตร ที่จะมีทั้งศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ศูนย์ประชุม อาคารสำนักงาน โรงแรม เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ เป็นการพัฒนาที่มีราคาที่ดินต่ำเพียงแห่งเดียวในใจกลางเมือง

เนื่องจากเป็นที่ดินเช่าไม่แพงเท่ากับที่ดินซื้อที่เริ่มแตะไม่ไหวแล้ว จะทำให้ทำเลย่านนี้เป็นแหล่งงานที่มีอุปสงค์จำนวนมาก ส่วนราคาที่ดินซื้อก็ยังต่ำเพียงครึ่งหนึ่งของเขตธุรกิจชั้นใน (ปัจจุบันราคาตารางวาละ 1.5-1.9 ล้านบาทเข้าไปแล้ว) แต่ย่านนี้ตารางวาละ 5-6 แสนบาทเท่านั้น โอกาสของราคาที่ดินตารางวาละ 1 ล้านบาทน่าจะได้เห็นกันในทำเลนี้

ส่วนช่วงบนจุดตัดถนนรัชดาภิเษกกับถนนลาดพร้าวมีรถไฟฟ้าใต้ดินตัดกับสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง อันจะเป็นจุดขนถ่ายคนเดินทางจากกรุงเทพฯ ตะวันออก ย่านลาดพร้าว บางกะปิ เลียบทางด่วน มีนบุรี เข้าเมืองมา อีกทั้งยังมีโครงการสวนลุมไนท์ บาซาร์ แห่งใหม่ที่เป็นแหล่งรวมของนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เปิดทำการกันแล้ว จะยิ่งมีความคึกคักสูงใน

3. Interchange ต่อมา คือ ย่านเพชรเกษม บางหว้า บางแค จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางแค รถไฟฟ้าบีทีเอส ตากสิน-บางหว้า ที่จะมีส่วนต่อขยายไปยังตลิ่งชัน จุดเชื่อมต่อย่านบางหว้า ต่อเนื่องไปยังเพชรเกษม-บางแค แม้จะมีรถไฟฟ้าแค่ 2 สาย แต่เป็น 2 สายหลักเชื่อมคนฝั่งธนบุรี มายังแหล่งงานในใจกลางเมือง อันจะทำให้เป็นจุดเชื่อมสำคัญของคนฝั่งธนบุรี ด้านราคาที่ดิน รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินได้พลิกฟื้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ฝั่งธนบุรีชั้นในที่ซบเซามานานนับ 10 ปี ให้คึกคักอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากที่ดินริมถนนจากตารางวาละ 1 แสนบาท ปรับเพิ่มเป็น 2-3 แสนบาทในวันนี้ อนาคตน่าจะไปได้ถึง 4-5 แสนบาท”

4. มาดู Interchange ฝั่งเหนือตอนบนของกรุงเทพฯ กันบ้าง คือ ทำเลจุดตัดรถไฟฟ้าสายสีชมพูปากเกร็ด-สุวินทวงศ์ กับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-คูคต ย่านสี่แยกหลักสี่ กับจุดตัดรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิตย่านหลักสี่-แจ้งวัฒนะ ทำเลบริเวณนี้น่าจะมีความสำคัญระดับรอง เนื่องจากเป็นเส้นทางผ่านไปยังทำเลหลักของการเชื่อมต่อการเดินทางสำคัญอื่นมากกว่า เช่น สี่แยกหลักสี่ ที่การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าน่าจะไปลงยังย่านตลาดสะพานใหม่ ที่เป็นใจกลางของแหล่งที่อยู่อาศัย มีศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมแหล่งจับจ่ายใช้สอย ก่อนแยกย้ายเดินทางต่อไปยัง ที่พักอาศัยโดยรอบสะพานใหม่ สายไหม วัชรพล กม.11 อีกทั้งที่ดินโดยรอบเหลือน้อยเป็นสถานศึกษา สถานที่ราชการต่างๆ ไปแล้ว ส่วนย่านแจ้งวัฒนะ-หลักสี่ ก็ในทำนองเดียวกัน คนส่วนใหญ่น่าจะเดินทางไปยังดอนเมือง รังสิต หรือย่านถนนแจ้งวัฒนะ ปากเกร็ดมากกว่า

5. Interchange ฝั่งตะวันออกที่สำคัญของกรุงเทพฯ คือ ย่านบางกะปิ ลำสาลี หัวหมาก ที่เป็นจุดตัดรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลาดพร้าว-สำโรง กับรถไฟฟ้าสายสีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี และจุดใกล้เคียงบริเวณ หัวหมาก รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ตัดกับแอร์พอร์ตลิงค์ เนื่องจากทำเลย่านนี้บริเวณโดยรอบเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่น ทั้งย่านบางกะปิ รามคำแหง สุขาภิบาล 1,2,3 ย่านถนนศรีนครินทร์ ที่มีปริมาณการดินทางสูงมาก และมีศักยภาพในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ริมทรัพย์สูง โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม ราคาที่ดินย่านนี้ก็นับว่ายังต่ำในหลัก 2-3 แสนบาท สำหรับที่ดินติดถนน ส่วนที่ดินในซอยยังมีราคาไม่เกิน 1 แสนบาทอยู่เลย ประกอบกับประชากรหนาแน่น จึงน่าจะเป็นทำเลที่มีการพัฒนาคอนโดมิเนียมกันมากแห่งหนึ่งในอนาคต รอเพียงรถไฟฟ้าสายสีเหลือง กับสายสีส้ม เท่านั้น ที่ว่ามาเป็น Interchange ของเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นหลัก ยังไม่ได้กล่าวคือ ทำเลที่เป็น Hub สำคัญของการเดินทางในเขตชั้นนอก ที่อาจมีรถไฟฟ้าเพียงสายเดียว แต่จะเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญของการเดินทางเข้าเมืองโดยรถไฟฟ้าในอนาคต เช่น บางใหญ่ (รถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่) รังสิต (รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต) ลำลูกกา (รถไฟฟ้าสายสีเขียว หมอชิต-คูคต) เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 126, 127, 128 ... 278, 279, 280  Next
Page 127 of 280

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©