RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264112
ทั้งหมด:13575395
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวแผนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของประเทศ 2558-65
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 68, 69, 70 ... 121, 122, 123  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2016 8:29 am    Post subject: Reply with quote

หวั่น‘รถไฟไทย-จีน’แท้ง เศรษฐกิจแดนมังกรหด-เจรจาอืด
เดลินิวส์ วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 6:12 น.

หวั่น‘รถไฟไทย-จีน’แท้ง เศรษฐกิจแดนมังกรหด-เจรจาอืด มีหลายฝ่ายมองว่าการที่ไทยเดินหน้าโครงการรถไฟไทยจีน เนื่องจากจีนเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทำให้หลายประเทศต้องร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนจากจีน

รายงานข่าวแจ้งว่า สัปดาห์ที่ผ่านมานายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม พร้อมนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เดินทางไปจีนอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อขอให้ตัวแทนรัฐบาลจีนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนโครงการพัฒนารถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน และไทยได้เสนอให้จัดตั้งบริษัทร่วมทุน หรือนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) ขอให้จีนเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นมากขึ้น จากที่จีนถือหุ้น 60% และไทย 40% เนื่องจากไทยต้องใช้งบประมาณลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจำนวนมากจึงต้องการลดภาระการลงทุน ซึ่งตัวแทนรัฐบาลจีนจะนำเสนอรัฐบาลจีนต่อไป ยังไม่มีท่าทีตอบรับกับข้อเสนอของไทย

“มีความเป็นห่วงว่าการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของจีนอาจเป็นไปได้ยาก เนื่องจากเศรษฐกิจจีนอยู่ในภาวะชะลอตัวลง โดยปีนี้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตอยู่ที่ 6.3% จากปีก่อนหน้านี้ที่เติบโต 7% ดังนั้นการที่จีนมีปัญหาด้านเศรษฐกิจถดถอยอาจทำให้จีนต้องลดการลงทุนลง การที่ไทยขอให้จีนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนอาจเป็นไปได้ยาก และที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดคือการประชุมร่วมไทย-จีนครั้งที่ 10 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็นทางการในปลายเดือนก.พ.นี้ แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะอยู่ในเมกะโปรเจคท์ 20 โครงการยักษ์ด้านการขนส่งทั้งระบบที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางโครงข่ายคมนาคมขนส่งของอาเซียนก็ตาม หากการประชุมครั้งต่อไปไม่มีความคืบหน้าใด ๆ อีก อาจทำให้โครงการนี้แท้งก็เป็นไปได้” แหล่งข่าวด้านคมนาคมขนส่ง แสดงความเห็น

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า มีหลายฝ่ายมองว่าการที่ไทยเดินหน้าโครงการรถไฟไทยจีน เนื่องจากจีนเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทำให้หลายประเทศต้องร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนจากจีน นอกจากนี้ที่ผ่านมากองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือไอเอ็มเอฟ ได้ทำนายว่า จีนจะผงาดแซงหน้าสหรัฐอเมริกาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในปีนี้ยิ่งเป็นการสำทับว่าจีนเริ่มมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก แม้หากโครงการรถไฟไทยจีนล้มเหลว แต่การได้ร่วมหารือกับรัฐบาลจีนในความร่วมมือก็เท่ากับแสดงถึงความพยายามของไทยแล้ว.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2016 8:35 am    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคมยืนยันรถไฟไทย-จีนยังเดินหน้า
INN News วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 20:13 น.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยัน รถไฟไทย - จีน ยังเดินหน้าต่อ แม้จะเหลือรางเดี่ยว พร้อมชะลอสร้างช่วงแก่งคอย - มาบตาพุด

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ที่ไทยร่วมมือกับสาธารณรัฐประชาชนจีน จะยังเดินหน้าต่อแม้จะต้องปรับช่วงการก่อสร้างช่วงที่ 4 นครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตรให้เหลือเพียงรางเดี่ยว และชะลอให้ช่วงที่ 2 แก่งคอย - มาบตาพุด 246.5 กิโลเมตร ไปอยู่ในเฟส 2 เนื่องจากการหารือร่วมกับจีนพบว่าทั้ง 2 ช่วงน่าจะยังไม่มีความคุ้มทุน

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตหากความต้องการใช้สูงขึ้น ก็มีโอกาสที่จะปรับมาใช้ทางคู่ได้ ส่วนการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องค่าก่อสร้างที่ไม่สอดคล้องกับการดำเนินการ ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปมูลค่าของโครงการ ยังต้องมีการศึกษาต่อ ยืนยันว่าจะไม่เกินกรอบวงเงินที่ยอมรับได้แน่นอน และจะเน้นการใช้วัสดุในประเทศ และการชะลอก่อสร้างช่วงแก่งคอย - มาบตาพุด ออกไปเฟส 2 และบีบทางรถไฟช่วงนคราชสีมา - หนองคาย จะทำให้กรอบวงเงินที่จะใช้ในการก่อสร้างลดลงไปอีกประมาณ 1.6 แสนล้านบาท

ขอญี่ปุ่นสรุปผลระบบลงทุนราง-การเดินรถเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เหตุทับกับจีน
โพสต์ทูเดย์ 05 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 06:46 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือกับ นายสึโตมุ ชิมูระ รองอธิบดีกรมการรถไฟ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ถึงแนวทางในการพัฒนาเส้นทางรถไฟแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตกตอนใต้ (Lower East-West Corridor) เส้นทางกาญจนบุรี (บ้านพุน้ำร้อน)-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ 574 กิโลเมตร ว่า ได้ขอให้ทางญี่ปุ่นศึกษารายละเอียดในระบบรางในเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เนื่องจากเส้นทางมีความทับซ้อนกับโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ตั้งแต่บ้านภาชี-สถานีบางซื่อ

ดังนั้น ญี่ปุ่นต้องกลับไปจัดทำรายละเอียดกลับมานำเสนอถึงข้อดี ข้อเสียในการประชุมครั้งหน้าว่าควรจะเลือกแนวทางใด

นายอาคม ชี้แจงว่า ในการประชุมครั้งนี้ทางญี่ปุ่นเสนอมาให้แยกรางการเดินรถของแต่ละโครงการ และเมื่อมีการแยกรางแล้ว ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ต้องมาดูว่า พื้นที่จากบ้านภาชี-ดอนเมือง มีพื้นที่ใดที่จะต้องแบ่งปันกัน เพราะบางพื้นที่จะต้องมีการแบ่งปันการใช้พื้นที่ หรือบางส่วนจะต้องมีการจัดหาพื้นที่เพิ่มเติม

รมว.คมนาคม ชี้แจงว่า สำหรับพื้นที่บริเวณรังสิต-บางซื่อ-ดอนเมือง พื้นที่มีจำกัด ดังนั้น ต้องพิจารณาว่าเมื่อแยกราง แยกโครงสร้างพื้นฐานแล้วจะมีพื้นที่เพียงพอหรือไม่ โดยในประเด็นนี้ทางญี่ปุ่นเสนอมา 4 ทางเลือก คือ
1.แยกรางเฉพาะ โดยโครงการแอร์พอร์ตลิงค์อาจวิ่งไม่ถึงดอนเมือง โดยจะก่อสร้างเฉพาะเส้นทางจากพญาไท-บางซื่อ และช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง อาจใช้ระบบของรถไฟไทย-จีน หรือไทย-ญี่ปุ่น

2.แชร์แพลตฟอร์มของแอร์พอร์ตลิงค์ คือ รางของญี่ปุ่น และมีรางของแอร์พอร์ตลิงค์

3.แชร์แทร็ก คือ รางอยู่ตรงกลาง แต่แพลตฟอร์มคนละแพลตฟอร์ม และ

4.ญี่ปุ่นสร้างทางแยกออกมา ซึ่งจะต้องเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม ซึ่งเป็นแนวทางที่เป็นไปได้ยากที่สุด


ด้านเส้นทางกาญจนบุรีกรุงเทพฯ-สระแก้ว-แหลมฉบัง ทางญี่ปุ่นได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาสภาพเส้นทางว่าจะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง โดยอนาคตจะปรับปรุงเป็นทางคู่ เป็นเส้นทางที่ต่อเชื่อมไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

นายอาคม กล่าวว่า การเดินรถสินค้านั้นทางญี่ปุ่นจะเข้ามาช่วยดูว่าจะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง และจะลงพื้นที่ไปดูในวันที่ 5 ก.พ. 2559 ที่จะใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเล็กเข้ามาขนส่งสินค้ารองรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยเพื่อขนส่งสินค้า และจะใช้สถานีหนองปลาดุกเป็นต้นแบบ เชื่อมจากหนองปลาดุกแยกไป จ.สุพรรณบุรี ลงไปทางใต้และจะทดลองเดินรถ และต่อไปจะทดลองเดินรถไปในเส้นทางเหนือ ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย ในส่วนของเส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร ทางญี่ปุ่นยังไม่ได้ศึกษา โดยทางญี่ปุ่นขอให้ไทยสรุปเรื่องทางเลือก ทางร่วมเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ก่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2016 12:43 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“อาคม” เผยชะลอแก่งคอย-มาบตาพุด ช่วยลดต้นทุนรถไฟไทย-จีนลง 1.6 แสนล้าน


โดย MGR Online

4 กุมภาพันธ์ 2559 18:58 น.



ตอนนี้ จีนก็ทราบข่าวว่า ทางช่วงโคราช - หนองคายท่าจะเป็นทางเดี่ยวซะแล้ว
http://www.hnntv.cn/html/2016/gj_0204/143134.html
http://intl.ce.cn/sjjj/qy/201602/04/t20160204_8744745.shtml
http://world.people.com.cn/n1/2016/0204/c1002-28111489.html
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2016 1:44 pm    Post subject: Reply with quote

คิกออฟแล้ว! รถไฟไทย-ญี่ปุ่น ทดสอบเดินรถขนส่งสินค้าจากสถานีหนองปลาดุก-บางซื่อ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 05 ก.พ. 2559 เวลา 13:07:00 น.

Click on the image for full size

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2559) เวลา 14.00 น. ณ สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายซึโตะมุ ชิมุระ รองอธิบดี กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ได้เป็นประธานร่วมปล่อยขบวนรถสินค้า ทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็กขนาด 12 ฟุต ออกจากสถานีชุมทางหนองปลาดุกสู่สถานีบางซื่อ

เพื่อแสดงสัญลักษณ์ในพิธีเปิดการทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็กภายใต้ความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ในความร่วมมือด้านระบบราง เส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ (กาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง)

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การพัฒนาการขนส่งทางราง เป็นนโยบายที่ทางรัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในการขับเคลื่อนนโยบายให้ปรากฏเป็นรูปธรรม และยังได้รับการสนับสนุนจากมิตรประเทศที่ดีอย่างประเทศญี่ปุ่นที่ได้ถ่ายทอดความรู้ความชำนาญด้านการขนส่งระบบรางให้แก่ประเทศไทย

และด้วยความชำนาญในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีการขนส่งระบบรางของญี่ปุ่น จะทำให้ประเทศไทยได้รับความรู้ทางด้านเทคโนโลยีระบบราง เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการขนส่งทางราง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการขนส่งทางราง สร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการไทย ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตขึ้นในอนาคต

นายซึโตะมุ ชิมุระ กล่าวว่า ในวันนี้สามารถจัดพิธีเปิดโครงการทดลองขนส่งสินค้าทางรางได้ตามแผนการที่วางไว้ ต้องขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องทุกๆ ท่านเป็นอย่างมาก ประเทศญี่ปุ่นมีรถไฟขนส่งสินค้าที่วิ่งด้วยความเร็ว 70 กม./ชม. ถึง 500 ขบวนต่อวัน โดยวิ่งได้ตามกำหนดเวลากว่า 90% เป็นการดีที่ประเทศญี่ปุ่นจะได้นำประสบการณ์ในการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าทางรถไฟ รวมไปถึงการใช้คอนเทนเนอร์

เพื่อช่วยประเทศไทยในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม การลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และการใช้ประโยชน์จากการขนส่งทางราง บริเวณรอบๆ เส้นทางเศรษฐกิจด้านใต้ของประเทศไทยนั้นก็มีโรงงาน และบริษัทญี่ปุ่นอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย การพัฒนาในครั้งนี้จะส่งผลไปถึงการเติบโตของเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนโดยรวมด้วยระบบรถไฟของประเทศญี่ปุ่นนั้น ได้รับการชื่นชมจากนานาประเทศ ว่ามีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ และสะดวกสบายระดับต้นๆ ของโลก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับรถไฟความเร็วสูงที่ญี่ปุ่นได้ริเริ่มเป็นประเทศแรก อย่างชินคังเซ็นนั้น ตั้งแต่เปิดทำการมาจนถึงตอนนี้ ก็ 51 ปีแล้ว ยังไม่เกิดอุบัติเหตุให้ผู้โดยสารถึงแก่ชีวิตเลยสักครั้ง ดังนั้น จึงมีความตั้งใจอยากจะนำระบบชินคังเซ็นมาพัฒนารถไฟสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ และขณะนี้กำลังดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการอยู่ นอกจากชินคังเซ็นแล้ว ที่ประเทศญี่ปุ่นก็มีระบบรถไฟที่ดำเนินการโดยท้องถิ่น หรือบริษัทเอกชนอีกหลายประเภท

"ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีนี้ประเทศไทย จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ที่ใช้ตู้โดยสารที่ผลิตโดยประเทศญี่ปุ่น ทางประเทศญี่ปุ่น ตั้งใจว่าเราจะนำประสบการณ์ในการบริหาร และเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบรถไฟที่เน้นเรื่องความปลอดภัย และความตรงต่อเวลามาช่วยพัฒนา ทั้งด้านระบบและโครงสร้างของการรถไฟในประเทศไทย"

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟฯ กล่าวว่า พิธีเปิดการทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก เป็นโครงการภายใต้บันทึกความร่วมมือ (MOC) เพื่อเร่งดำเนินการความร่วมมือ ด้านระบบราง ตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจด้านใต้ สถานีชุมทางหนองปลาดุกซึ่งเป็นสถานที่ในการประกอบพิธีเปิดโครงการ ในวันนี้ นับว่าเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญยิ่ง

เพราะเป็น "ชุมทาง" ในการเชื่อมต่อแนวเส้นทางระบบรางที่พรั่งพร้อมไปด้วยศักยภาพ นอกจากจะเป็นจุดเชื่อมต่อไปยังท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรีแล้ว ยังเป็นชุมทางในการเชื่อมต่อแนวเส้นทางไปยังท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศพม่า จะช่วยสนับสนุนให้การขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้ การจัดงานในวันนี้เป็นการเริ่มต้นดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation : MOC) ตามที่ได้มีการลงนามร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

โดยมีรายละเอียด ความร่วมมือ 4 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนา/การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบรางเส้นทางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ (กาญจนบุรี – กรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา – อรัญประเทศ, กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา – แหลมฉบัง)

2) ด้านการพัฒนาบุคลากร เช่น การฝึกอบรมสำหรับบุคลากรของการรถไฟแห่งประเทศไทย ด้านการซ่อมบำรุงรักษาและบริหารจัดการขบวนรถไฟ การซ่อมบำรุงรักษาทาง ระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม และการศึกษาดูงานสำหรับผู้บริหารระดับสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

3) ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนบุคลากรด้านระบบราง โดยฝ่ายญี่ปุ่น ได้แสดงเจตจำนงในการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งระบบรางตามที่ฝ่ายไทยได้ร้องขอไว้

และ 4) การให้บริการขนส่งสินค้าทางราง เป็นการให้บริการขนส่งสินค้าทางรางรูปแบบใหม่ตามแนวเส้นทางปัจจุบันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (State Railway of Thailand : SRT) ด้วยเทคนิคการให้บริการขนส่งทางรางของญี่ปุ่น โดยทั้งสองประเทศได้เริ่มต้นดำเนินการตาม MOC บันทึกความร่วมมือในโครงการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการขนส่งตู้สินค้า (คอนเทนเนอร์) ขนาด 12 ฟุต

สำหรับการทดลองการขนส่งสินค้าทางรางด้วยตู้สินค้า (คอนเทนเนอร์) ขนาด 12 ฟุต นี้ เป็นการดำเนินงานตามบันทึก ความร่วมมือข้อ 2 ด้านการขนส่งสินค้าทางราง ซึ่งเป็นการทดลองขนส่งด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเล็กครั้งแรกในประเทศไทยช่วยให้การขนส่งและขนถ่ายสินค้ามีความคล่องตัว เนื่องจากมีขนาดเล็ก การเชื่อมต่อการขนส่งทางรางด้วยรถบรรทุกสามารถเข้าถึงผู้รับสินค้าได้สะดวกมากขึ้น แม้ในพื้นที่คับแคบ อีกทั้งยังประหยัดพื้นที่จัดเก็บ และลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

ซึ่งการรถไฟฯจะทดลองขนส่งสินค้าทางรางด้วยตู้สินค้า ขนาด 12 ฟุต ใน 2 เส้นทาง ที่เปิดใช้บริการได้จริง และมีศูนย์กระจายสินค้าคือ

เส้นทางที่ 1 เส้นทางบางซื่อ – ลำพูน – บางซื่อ โดยกำหนดให้สถานีลำพูนเป็นพื้นที่กระจายสินค้าในภาคเหนือ เปิดให้ทดลองใช้บริการระหว่างวันที่ 8 – 12 กุมภาพันธ์ 2559

เส้นทางที่ 2 เส้นทาง บางซื่อ – กุดจิก (จ.นครราชสีมา) – ท่าพระ (จ.ขอนแก่น) – กุดจิก (จ.นครราชสีมา) – บางซื่อ โดยมีสถานีกุดจิก และสถานีท่าพระ เป็นพื้นที่กระจายสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามโครงการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการขนส่งตู้สินค้า (คอนเทนเนอร์) ขนาด 12 ฟุต โดยทางรถไฟ ซึ่งจะสามารถสรุปผลการศึกษาได้ประมาณกลางปี 2559
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2016 1:51 pm    Post subject: Reply with quote

สมคิด เผยรถไฟไทย-จีนยังอยู่ในขั้นตอนเจรจาหลักการ ยังไม่มีข้อสรุปร่วมกัน
RYT9 ข่าวเศรษฐกิจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย -- ศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 12:56:16 น.

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการความร่วมมือไทย-จีนในการพัฒนาขนส่งระบบรางว่า ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน ยังคงต้องเจรจากันต่อไป ซึ่งฝ่ายไทยอยากให้ฝ่ายจีนเข้ามามีส่วนรับผิดชอบเรื่องการก่อสร้างรางด้วย จากเดิมที่จีนจะรับผิดชอบเฉพาะขบวนรถและระบบการเดินรถเท่านั้น เพราะไทยถือว่าเป็นโครงการที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ควรคำนึงเฉพาะเรื่องผลกำไรเพียงอย่างเดียว

"ยังไม่มีข้อสรุป ยังต้องเจรจากันต่อไป...จะเจรจากันไปจนกว่าจะตกลงกันได้ ตอนนี้ยังเป็นเพียงหลักการ" นายสมคิด กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 05/02/2016 3:12 pm    Post subject: Reply with quote

แบบว่า...ตอนนี้เป็นเรื่องผลประโยชน์ที่กำลังต่อรองล้วนๆ ล่ะครับ ถ้าเงื่อนไขมัดตัวนักก็ชะลอโครงการออกไปก่อน อย่าไปมองว่าสองประเทศจะตามใจเราเสมอไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2016 5:05 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมลุยทดสอบรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ขยายเส้นทางศก.
TNN24 5 ก.พ. 59, 16.22 น.

Click on the image for full size

คมนาคมทดสอบระบบขนส่งรถไฟไทย-ญี่ปุ่นขนาดเล็กรองรับเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตอนใต้

วันนี้ (5 ก.พ. 59) มีรายงานข่าวว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายซึโตะมุ ชิมุระ รองอธิบดีกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ร่วมกันเปิดการทดสอบระบบราง ตามโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตอนใต้ โดยใช้หัวรถจักรของญี่ปุ่นบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก ออกจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี สู่สถานีบางซื่อ กรุงเทพมหานครเพื่อทดสอบคุณภาพของรางขนาด 1 เมตร

Click on the image for full size

นายอาคม กล่าวว่า การทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก ในวันนี้เป็นการพัฒนาการขนส่งทางราง ซึ่งเป็นนโยบายที่ทางรัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากญี่ปุ่น โดยได้ถ่ายทอดความรู้ความชำนาญด้านการขนส่งระบบรางให้แก่ไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการให้บริการขนส่งทางราง สร้างประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการไทย ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตขึ้น

Click on the image for full size

ทางด้านนายซึโตะมุ ชิมุระ กล่าวว่า ญี่ปุ่นมีรถไฟขนส่งสินค้าที่วิ่งด้วยความเร็ว 70 กม./ชม. ถึง 500 ขบวนต่อวัน ทำให้ระบบการขนส่งพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็นเรื่องดีที่ทั้งสองฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนโดยรวมเจริญเติบโตตามไปด้วย

สำหรับเส้นทางรถไฟแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกตอนใต้ เริ่มจากสถานีบ้านนำพุร้อน จังหวัดกาญจนบุรี-กรุงเทพมหานคร และเชื่อมต่อไปยังแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี รวมทั้งเส้นทางกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งจะผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษ 4 แห่ง คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (เมียนมา) เขตเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี ซูเปอร์คลัสเตอร์อีสเทิร์นซีบอร์ด เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และเชื่อท่าเรือน้ำลึก 2 แห่ง คือ ท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือทวาย

----

ญี่ปุ่นมาแล้ว! คิกออฟทดลองเดินรถไฟขนตู้สินค้า12 ฟุต ช่วยลดต้นทุน SME
โดย MGR Online 5 กุมภาพันธ์ 2559 17:29 น.

Click on the image for full size

รถไฟไทย-ญี่ปุ่น เริ่มแล้ว เปิดทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก 12 ฟุต จากหนองปลาดุก-บางซื่อ และอีก 2 เส้นทางคือ บางซื่อ – ลำพูนและบางซื่อ-ขอนแก่น เพื่อวิเคราะห๋ก่อนเดินหน้าตั้งบริษัทร่วมทุนเดินรถและลงทุนสร้างทางคู่ ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกตอนใต้ กาญจนบุรี – กรุงเทพฯ – แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ –อรัญประเทศ "อาคม"เผยมินิคอนเทนเนอร์จะช่วยลดต้นทุน SME ไทยและเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางราง

วันที่ 5 ก.พ. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประเทศไทย และนายซึโตะมุ ชิมุระ รองอธิบดี กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ได้เป็นประธานร่วมปล่อยขบวนรถสินค้า เพื่อแสดงสัญลักษณ์ในพิธีเปิดการทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็กภายใต้ความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ที่สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และเป็นการพัฒนาระบบรางแนวเศรษฐกิจด้านใต้ ให้ชุมทางหนองปลาดุกเป็นจุดเชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือทวายของเมียนมา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า การทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุตครั้งแรกในประเทศไทยช่วยให้การขนส่งและขนถ่ายสินค้ามีความคล่องตัว เนื่องจากตู้มีขนาดเล็ก การเชื่อมต่อกับรถบรรทุกสามารถเข้าถึงผู้รับสินค้าได้สะดวก แม้ในพื้นที่คับแคบ ประหยัดพื้นที่จัดเก็บ และลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง โดยได้มีการทดลองยกตู้สินค้าขนาด12 ฟุต จากสถานีหนองปลาดุก-บางซื่อครั้งนี้ อยู่ในเส้นทางกาญจนบุรี-บางซื่อ เพื่อให้เห็นความสะดวกและคล่องตัว และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะทดลองขนส่งสินค้าทางรางด้วยตู้สินค้า (คอนเทนเนอร์) ขนาด 12 ฟุต ใน 2 เส้นทาง ที่เปิดใช้บริการได้จริง และมีศูนย์กระจายสินค้า

คือ เส้นทางที่ 1 เส้นทางบางซื่อ – ลำพูน – บางซื่อ ระยะทาง 722 กม. โดยกำหนดให้สถานีลำพูนเป็นพื้นที่กระจายสินค้าในภาคเหนือ เปิดให้ทดลองใช้บริการระหว่างวันที่ 8 – 12 กุมภาพันธ์ 2559 เส้นทางที่ 2 เส้นทาง บางซื่อ – กุดจิก (จ.นครราชสีมา) – ท่าพระ (จ.ขอนแก่น) – กุดจิก (จ.นครราชสีมา) – บางซื่อ ระยะทาง 433 กม. โดยมีสถานีกุดจิก และสถานีท่าพระ เป็นพื้นที่กระจายสินค้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามโครงการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับการขนส่งตู้สินค้า (คอนเทนเนอร์) ขนาด 12 ฟุต โดยจะสามารถสรุปผลการศึกษาได้ประมาณกลางปี 2559

"ปัจจุบันการขนส่งสินค้าของไทย จำเป็นต้องลดต้นทุนและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาจราจร ดังนั้นเป้าหมายของรัฐบาลคือ หาทางส่งเสริมและจูงใจให้ผู้ประกอบการหันมาใช้รถไฟในการขนส่งสินค้าแทนรถบรรทุก โดยในการทดลองนี้ทางญี่ปุ่นจะมีการวิจัยถึงระยะเวลาในการโหลดสินค้า การขนส่ง การปรับปรุงตารางเวลาเดินรถให้เหมาะสม ให้สินค้ามีความปลอดภัยและใช้เวลาน้อยที่สุด ซึ่งขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างการปรับปรุงเพื่อเสริมความแข็งแรงของทางรถไฟ และบางช่วงจะก่อสร้างเป็นทางคู่"

นายอาคมกล่าวว่า ส่วนการเดินรถขนส่งสินค้าตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตกตอนใต้ (Lower East – West Corridor) เส้นทางกาญจนบุรี (บ้านพุน้ำร้อน) – กรุงเทพฯ – แหลมฉบังและกรุงเทพฯ –อรัญประเทศ ระยะทาง 574กม.นั้น จะเกิดขึ้นหลังจากมีการทดลองและสรุปการศึกษาก่อนนอกจากนี้ จะต้องมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อบริหารจัดการเดินรถ ทำการตลาด และลงทุนในการขยายเป็นระบบทางคู่รวมถึงการเดินรถโดยสาร คาดว่าจะสรุปในปีนี้ ซึ่งมีบริษัทญี่ปุ่นสนใจเข้าร่วมทุนด้วย

ทั้งนี้ การใช้ตู้ขนาด 12 ฟุตในประเทศไทย จะมีข้อดี 5 ข้อ คือ 1. มีความคล่องตัวในการขนส่งเข้าเมือง ชุมชน เข้าถึงโรงงานแหล่งกระจายสินค้าได้สะดวก 2. ช่วยลดต้นทุน ผู้ประกอบการรายย่อย (SME) ที่สามารถใช้บริการตู้ขนาดเล็กลงจากเดิมที่มีตู้ขนาด 20 และ 40 ฟุต ซึ่งอาจจะเสียเวลารอและมีค่าใข้จ่ายสูงกว่า 3. สามารถเชื่อมโยงในการขนส่งสินค้า ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งลาว มาเลเซีย กัมพูชา เมียนมา ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจเล็กกว่าไทยได้สะดวกขึ้น 4.ใช้รางขนาด1 เมตรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยบริหารจัดการตารางการเดินรถให้ตรงต่อเวลา เกิดประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้ใช้บริการ 5. เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากญี่ปุ่น

นายซึโตะมุ ชิมุระ รองอธิบดี กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น กล่าวว่า ประเทศญี่ปุ่นมีรถไฟขนส่งสินค้าความเร็ว 70 กม./ชม. ถึง 500 ขบวนต่อวัน และวิ่งได้ตามกำหนดเวลากว่า 90% ซึ่งญี่ปุ่นจะได้นำประสบการณ์ในการบริหารจัดการการขนส่งสินค้าทางรถไฟ รวมไปถึงการใช้คอนเทนเนอร์ เพื่อช่วยประเทศไทยในเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อม การลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และการใช้ประโยชน์จากการขนส่งทางราง บริเวณรอบๆ เส้นทางเศรษฐกิจด้านใต้ของประเทศไทยนั้นก็มีโรงงาน และบริษัทญี่ปุ่นอยู่มาก การพัฒนาในครั้งนี้จะส่งผลไปถึงการเติบโตของเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนโดยรวมด้วย

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะทางรางอย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถด้านเศรษฐกิจช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาทต่อปี ลดระยะเวลาในการเดินทางทางรถไฟ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ เพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรางจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 5 จึงเร่งผลักดันให้เกิดความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบรางไทย-ญี่ปุ่นขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการขนส่งทางรถไฟของไทยและพัฒนาการให้บริการขนส่งทางราง โดยการพัฒนาเส้นทางรถไฟปัจจุบันเป็นระบบทางคู่หรือระบบไฟฟ้า

Click on the image for full size

Click on the image for full size

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2016 6:19 pm    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคมเปิดทดลองขนส่งสินค้ารถไฟ ไทย-ญี่ปุ่น
http://www.krobkruakao.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/3819/%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A7-%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F-%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%8D%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99.html
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2016 9:56 am    Post subject: Reply with quote


https://www.youtube.com/watch?v=OQIlafIPB9g


https://www.youtube.com/watch?v=ndkgdjURcv8


Last edited by Mongwin on 06/02/2016 1:31 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2016 1:28 pm    Post subject: Reply with quote

แบ่งเค้กรถไฟ
โพสต์ทูเดย์ 06 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 06:44 น.

Click on the image for full size

ถึงตอนนี้โครงการความร่วมมือรถไฟในเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ที่เป็นความร่วมมือไทย-จีน ดูเหมือนจะสับสนอลหม่านมาก ถึงขนาดมีการปรับลดการสร้างลงเหลือแค่กรุงเทพฯ-นครราชสีมา

สาเหตุหลักมาจากงบประมาณในการก่อสร้างระยะทาง 875 กม. บานปลายจากเดิมที่คาดว่าจะใช้แค่ 3.69 แสนล้านบาท ทะลุไป 5.3 แสนล้านบาท จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักในเรื่องต้นทุนที่เพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่า ถ้ามูลค่าลงทุนไม่ลดลง โอกาสสร้างเหลือน้อยมาก

ประเด็นที่สอง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ต้องมีการเจรจากันในรอบถึง 9 ครั้ง และต้องเจรจานอกรอบอีกหลายครั้ง กว่าจีนจะรับปากว่าจะยอมลดดอกเบี้ยจาก 2.5% เหลือ 2% ตามที่รัฐบาลไทยต้องการ

แต่อย่าลืมว่ายังแพงอยู่เมื่อเทียบกับรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ที่ให้แค่ 1.35% และหากกู้ในประเทศดอกเบี้ยมีค่าเฉลี่ย 2.78% แต่ไม่มีความเสี่ยงจากค่าเงิน

ประการที่สาม สัดส่วนการลงทุน ซึ่งเป็นการรับภาระการก่อสร้าง ไทยต้องการเปิดให้จีนเข้ามาถือหุ้นในบริษัทร่วมทุนเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันจีน 60% ไทย 40% เป็น จีน 70% และไทย 30% เพื่อให้จีนเข้ามาร่วมรับความเสี่ยงโครงการขนาด 5 แสนล้านบาท

ประการที่สี่ เป็นเรื่องความคุ้มทุนของโครงการ ข้อมูลในทางลึกระบุว่า ข้อทักท้วงของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ระบุว่า โครงการต้องมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนทางการเงิน (FIRR) ไม่น้อยกว่า 12% จึงจะคุ้มทุน และสุดท้ายรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ยังไม่ผ่าน

นี่จึงเป็นสาเหตุที่ต้องปรับลดลง อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ยอมรับว่า ทางการจีนเสนอให้ปรับลดเส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย จากเส้นทางรถไฟทางคู่เป็นทางเดี่ยว แต่เมื่อความต้องการเพิ่มขึ้นก็ค่อยสร้างเป็นทางคู่ และจีนยังระบุว่า หากไทยคิดว่าต้นทุนโครงการนี้สูงเกินไปก็ต้องลงทุนเป็นระยะ และให้ชะลอการก่อสร้างช่วงแก่งคอย-มาบตาพุด ไปก่อน

อย่างไรก็ตาม อาคม ชี้แจงว่า ไทยได้ขอให้จีนเปรียบเทียบข้อมูลเส้นทางในช่วงนครราชสีมา-หนองคายว่า ระหว่างการก่อสร้างทางเดี่ยวและทางคู่ให้ชัดเจนว่าต้นทุนจะแตกต่างกันมากแค่ไหน ส่วนช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะเป็นทางคู่แน่นอน

“การให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศก็จำเป็นจะต้องนำผู้โดยสารจากจีนเข้ามา ซึ่งยังไม่แน่ใจว่า การเดินทางของกลุ่มนี้จะมีมากน้อยขนาดไหน รถไฟจะออกทุก 5 นาทีหรือไม่ ถ้าไม่ถึงขนาดนั้น หากทำเป็นทางเดี่ยวในเส้นทางนครราชสีมา-หนองคายก็จะต้องสับหลีกที่สถานี ต้องจัดเวลาให้ดี”

อาคม ยืนยันว่า ในการประชุมครั้งที่ 10 ที่กรุงปักกิ่ง ในปลายเดือน ก.พ.นี้ จะเห็นเรื่องสัดส่วนการลงทุน การตั้งบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจ (เอสพีวี) ส่วนการจัดการพื้นที่รอบสถานีรถไฟไทย-จีน นั้น ผู้ที่จะเข้ามาพัฒนาเป็นบริษัทร่วมทุน ซึ่งก็คือเอสพีวี ไทย-จีน ไม่ได้ยกให้จีนทำ

นั่นหมายถึงว่า การลากเส้นทางรถไฟเชื่อมจากหนองคาย-มาบตาพุด ที่จะขนส่งสินค้าจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเชื่อมต่อไปยังลาวและจีนตอนใต้กำลังกลายเป็นหมัน

ไม่เฉพาะไทยเท่านั้นที่มีปัญหา แม้โครงการความร่วมมือรถไฟจีน-อินโดนีเซีย จีน-ฟิลิปปินส์ จีน-อินเดีย ก็มีปัญหา

ล่าสุด ประธานาธิบดี โจโก วิโดโด ของอินโดนีเซีย ที่ได้วางศิลาฤกษ์โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกรุงจาการ์ตาและเมืองบันดุง ซึ่งร่วมลงทุนกับจีน 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 1.95 แสนล้านบาท) ไปเมื่อวันที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา ก็ยอมรับว่าโครงการดังกล่าวจะต้องชะลอออกไป

ธนาคารเพื่อการพัฒนาของจีน (ซีดีบี) ที่ให้การสนับสนุนเงินทุนแก่โครงการดังกล่าวระงับการปล่อยเงินกู้ชั่วคราว เนื่องจากมีความกังวลต่อช่วงเวลาในการดำเนินโครงการ โดยจะปล่อยเงินกู้อีกครั้งหากมีการกำหนดระยะเวลาในการก่อสร้างที่แน่นอน เพราะซีดีบีต้องการความแน่นอนในการสัมปทาน 50 ปี ที่ทางบริษัทร่วมทุนระหว่างจีนและอินโดนีเซีย พีที เคอเรตา อาพิ เซอปัต อินโดนีเซีย-ไชน่า (เคซีไอซี) จะได้รับ

หันมาดูความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ถือว่าได้คิกออฟตัดริบบิ้นเปิดทดลองเดินรถในเส้นทาง “กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-สระแก้ว-แหลมฉบัง” เพื่อขนส่งสินค้าและผู้โดยสารตามแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านตะวันออกและตะวันตกด้านใต้ โดยเปิดหวูดวิ่ง 100 กม. จากสถานีบางซื่อ-หนองปลาดุก

โครงการนี้มี 3 ระยะ โดยระยะแรก จะปรับปรุงทางเดิมขนาด 1 เมตร ตั้งแต่กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-สระแก้ว-แหลมฉบังรวมถึงปรับปรุงจุดตัดทางรถไฟเพื่อให้เดินรถได้เร็วขึ้น ซึ่งได้เปิดเดินรถไปแล้ว

ระยะที่สอง จะร่วมทุนเดินรถผ่านการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (เอสพีวี) ของสองประเทศ เพื่อบริหารจัดการระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับบริษัทญี่ปุ่น บริษัทร่วมทุนนี้ ทางญี่ปุ่นเปิดทางให้ฝ่ายไทย คือ รฟท. ถือหุ้นในสัดส่วนมากที่สุด โดยจะร่วมกับบริษัทญี่ปุ่น เช่น บริษัท โตโยต้า ทูโช (ประเทศไทย) บริษัท นิปปอนโคอิ บริษัทคามิกูมิ และบริษัท JR-Freight

ระยะสุดท้าย จะลงทุนขยายเส้นทางรถไฟทางเดี่ยว เชื่อมต่อไปยังประเทศเมียนมาและกัมพูชา ได้แก่ เส้นทางกาญจนบุรี-พุน้ำร้อน 36 กม. และคลองลึก จ.สระแก้ว-ปอยเปต 6 กม. โดยจะขยายบางช่วงให้เป็นรถไฟทางคู่ เน้นขนส่งสินค้าเป็นหลัก

อาคม กล่าวว่า โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเส้นนี้จะเป็นราง 1 เมตร ขนานไปกับแนวรถไฟเดิม และสร้างบนพื้นที่ใหม่ มูลค่า 1.75-1.85 แสนล้านบาท ซึ่งจะรองรับนิคมอุตสาหกรรมใน จ.ระยอง ทะลุไปท่าเรือพนมเปญกับท่าเรือโฮจิมินห์ของเวียดนาม

โครงการที่ 2 ที่ไทยกับญี่ปุ่นจะเดินหน้าต่อไป คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ขนาดราง 1.435 เมตร ที่เป็นรถไฟความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีชินคันเซ็น ความเร็วกว่า 200 กม./ชม. ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือ (MOC) ระหว่างรัฐบาลไปแล้ว หลักการและรูปแบบการลงทุนจะเหมือนกับรถไฟไทย-จีน เช่น ใช้เทคโนโลยีญี่ปุ่นก่อสร้าง แหล่งเงินจากญี่ปุ่น

ว่ากันว่า โครงการนี้มีการสรุปชัดเจนในเรื่องดอกเบี้ยที่ต่ำแค่ 1.3-1.5% แต่ไทยขอสรุปผลศึกษาให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจ

โครงการที่สาม คือ รถไฟเส้นทางแม่สอด-พิษณุโลก-มุกดาหาร ที่เป็นอีสต์เวสต์ คอริดอร์ ญี่ปุ่นกำลังศึกษาและอาจปรับลดเส้นทางลงมา จากเดิมที่ตัดผ่านพิษณุโลก จะเปลี่ยนเ ป็นนครสวรรค์แทน ส่วนใครจะสร้างรัฐบาลไทยจะเป็นผู้ตัดสินใจ

รถไฟญี่ปุ่นนำจีนไป 2-3 ก้าวแล้ว...
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 68, 69, 70 ... 121, 122, 123  Next
Page 69 of 123

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©