Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179697
ทั้งหมด:13490929
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

โครงการทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 76, 77, 78  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/06/2015 11:09 pm    Post subject: Reply with quote

นี่ครับหน้าตาแนวทางจากเชียงใหม่ไปเชียงรีายที่เขาคิดกัน ดูมันทะแม่งๆกระไรอยู่

kenos wrote:
ถ้าเอาตามแนวนี้ความคุ้มค่าทาง ศก จะคุ้มมากเพราะปริมาณคนเดินทางสายเหนือของเชียงใหม่เข้าออกเมืองเยอะมากโดยเฉพาะจากอำเภอฝาง ไม่ต้องพูดถึงจากแม่แตงกับแม่ริมเข้าออกตัวเมืองต่อวันอีก จะโปรโมทเป็นเส้นทางท่องเที่ยวก็ได้ ไม่ผ่านป่าเยอะเยอะด้วยเพราะมีพื้นที่ราบเยอะ เส้นทางนี้ไม่ทับกับมอเตอร์เวย์ด้วย

https://fbcdn-sphotos-d-a.akamaihd.net/hphotos-ak-xpt1/v/t1.0-9/11666169_435558896627827_7848932055814488081_n.jpg?oh=18dbfd24aeec546031aae0fde59fca52&oe=56262D67&__gda__=1444335715_5cc7aa3f3134b9639b769cd2d705fb60
Back to top
View user's profile Send private message
mirage_II
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 05/01/2011
Posts: 2591

PostPosted: 29/06/2015 1:43 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
ใช่ครับจากแผนภาพนี้ ดูแปลกๆ ว่าทำไมไม่ให้ สถานีเชียงใหม่ เป็นสถานีชุมทางไปเลย เพราะคนจากเชียงใหม่จะไปเชียงราย ต้องล่องไปต่อรถที่ ชุมทางสารภี ผมเคยเห็นคลิ๊ปโครงการ ว่าเขาจะต่อจากเชียงใหม่ ไปดอยสะเก็ด แล้วเลี้ยวซ้ายขึ้นไปพะเยา เชียงราย (หรือผมจำผิดนั่นเป็นถนนเส้นใหม่ที่เขาจะตัดจาก เด่นชัย นะครับ)

แต่กลับมาดูภาพข้างบน ที่เกี่ยวกับความสูงต่ำของพื้นที่ ก็ OK นะครับสำหรับการไม่ต้องตลุยเขา แต่ช่วงแม่อายไป แม่จัน กับ ผ่านดอยหลวงเชียงดาว ก็ภูเขาอ่วมเหมือนกัน อย่างไรอยู่ภาคเหนือก็หนีภูเขาไม่พ้น เชียงใหม่เหมือนอยู่ก้นอ่างกระทะ ผมเคยไปอยู่มา 5 ปี มองไปทางไหนก็มีแต่ภูเขา ท้องฟ้าไม่เคยโล่งตาเหมือนภาคกลาง ผมคิดว่าทางผู้สร้าง ก็คงต้องคำนึงถึงความคุ้มทุน ในการขนส่งผู้คนไปทำงาน หรือ ขนส่งสินค้านะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 29/06/2015 9:40 am    Post subject: Reply with quote

^^^^
นี่ครับเนื้อหาของข่าว ประกอบแผนที่

Chiang Mai City Update wrote:
จากการที่กระทรวงคมนาคมสั่งชะลอโครงการรถไฟทางคู่ เด่นชัย-เชียงราย โดยให้ความสำคัญกับรถไฟทางคู่ กรุงเทพ-เชียงใหม่ เป็นลำดับแรกก่อน และยังสั่งการให้ศึกษาการเชื่อมต่อรถไฟทางคู่ เชียงใหม่-เชียงราย ด้วย โดยจะมีการศึกษาเส้นทางในปีงบประมาณ 2559 นี้ โดยในขั้นต้น สนข. ได้มีแนวคิดในการเชื่อมต่อทางรถไฟจากเชียงใหม่ ไปยังเชียงราย โดยใช้แนวเส้นทางคล้อยไปตามทางหลวงหมายเลข 118 ในปัจจุบัน (เชียงใหม่-ดอยสะเก็ด-เวียงป่าเป้า-แม่สรวย-เชียงราย)

*แต่อาจมีการเสนอจากทางท้องถิ่น ให้ใช้แนวเส้นทางใหม่ (ตามภาพ) คือไปตามอำเภอทางเหนือของเชียงใหม่ ก่อนจะเข้าสู่เชียงรายทางอำเภอแม่จัน ซึ่งจะเป็นเส้นทางรถไฟที่ตัดผ่านหลายอำเภอที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของเชียงใหม่ เช่น ดอยหลวงเชียงดาว ดอยอ่างขาง ซึ่งในฤดูท่องเที่ยวคาดว่าจะมีการเดินทางมาท่องเที่ยวอย่างหนาแน่น และผ่านอำเภอที่มีประชากรมาก เช่นอำเภอฝาง เส้นทางนี้อาจนับว่ามี Demand สูงกว่าเส้นทางที่จะทำไปทางดอยสะเก็ด (ซึ่งจะซ้ำซ้อนกับมอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงราย ในอนาคตด้วย) ซึ่งเส้นทางที่อาจมีการเสนอนี้ จะช่วยให้การเดินทางระหว่างอำเภอทางเหนือของเชียงใหม่ กับตัวเมืองเชียงใหม่ทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น ด้วยระบบรถไฟทางคู่และขบวนรถชานเมือง ที่จะมาเสริมระบบขนส่งมวลชนระหว่างอำเภอของเชียงใหม่ ให้มีความหลากหลายมากขึ้น และยังสามารถเดินทางไปยัง จ.เชียงรายได้สะดวกอีกด้วย

อนึ่ง ทาง สนข. จะสามารถสรุปรูปแบบโครงการนี้ได้ ภายในปี 2559-2560 นี้ ว่าจะใช้แนวเส้นทางใด

ขอเชิญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวเส้นทางใหม่นี้ และโครงการรถไฟทางคู่ เชียงใหม่-เชียงราย ครับ


https://www.facebook.com/chiangmaicityupdate/photos/a.129495183900868.1073741829.129484707235249/435558896627827/?type=1
Back to top
View user's profile Send private message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 29/06/2015 2:27 pm    Post subject: Reply with quote

mirage_II wrote:
Click on the image for full size
ใช่ครับจากแผนภาพนี้ ดูแปลกๆ ว่าทำไมไม่ให้ สถานีเชียงใหม่ เป็นสถานีชุมทางไปเลย เพราะคนจากเชียงใหม่จะไปเชียงราย ต้องล่องไปต่อรถที่ ชุมทางสารภี ผมเคยเห็นคลิ๊ปโครงการ ว่าเขาจะต่อจากเชียงใหม่ ไปดอยสะเก็ด แล้วเลี้ยวซ้ายขึ้นไปพะเยา เชียงราย (หรือผมจำผิดนั่นเป็นถนนเส้นใหม่ที่เขาจะตัดจาก เด่นชัย นะครับ)

แต่กลับมาดูภาพข้างบน ที่เกี่ยวกับความสูงต่ำของพื้นที่ ก็ OK นะครับสำหรับการไม่ต้องตลุยเขา แต่ช่วงแม่อายไป แม่จัน กับ ผ่านดอยหลวงเชียงดาว ก็ภูเขาอ่วมเหมือนกัน อย่างไรอยู่ภาคเหนือก็หนีภูเขาไม่พ้น เชียงใหม่เหมือนอยู่ก้นอ่างกระทะ ผมเคยไปอยู่มา 5 ปี มองไปทางไหนก็มีแต่ภูเขา ท้องฟ้าไม่เคยโล่งตาเหมือนภาคกลาง ผมคิดว่าทางผู้สร้าง ก็คงต้องคำนึงถึงความคุ้มทุน ในการขนส่งผู้คนไปทำงาน หรือ ขนส่งสินค้านะครับ


ดูแล้วการลงทุนก่อสร้างสูงนะครับ เพราะตัดผ่านภูเขาหลายอยู่ หากเปรียบเทียบกับสายเด่นชัย - แพร่ - พะเยา - เชียงราย แล้ว หากจะเน้นในด้านเศรษฐกิจและการขนส่งโดยสาร เส้นทางเด่นชัย - แพร่ - พะเยา - เชียงราย สุดปลายทางเชียงแสนและเชียงของ สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศพม่าและประเทศลาวได้ ช่วยส่งเสริมในด้านเศรษฐกิจได้ครับ
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2015 5:45 am    Post subject: Reply with quote

เกาะติดเขต ศก.พิเศษเชียงราย พบใกล้ลงตัว-เตรียมโปรเจกต์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชุดใหญ่


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
7 กรกฎาคม 2558 14:07 น. (แก้ไขล่าสุด 7 กรกฎาคม 2558 14:26 น.)


เชียงราย - เจ้ากรมกิจการชายแดนทหารยกคณะตามติดความคืบหน้าเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเมืองพ่อขุนฯ ล่าสุดใกล้ลงตัวแล้ว ขณะที่คณะทำงานฯ เตรียมแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชุดใหญ่ ทั้งรถไฟรางคู่ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง สถานีขนส่ง รวมถึงมอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงราย แต่ยังเจอปัญหากลไกการบริหารไร้ระเบียบรองรับ

วันนี้ (7 ก.ค.) พล.ท.บุญชู เกิดโชค เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะเลขานุการกองอำนวยการปฏิบัตินโยบายชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เป็นประธานในการประชุมกองอำนวยการปฏิบัตินโยบายชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (กอ.นชท.) สัญจร ครั้งที่ 2 ปี 58 ที่ห้องเชียงรุ้ง โรงแรมเวียงอินน์ อ.เมืองเชียงราย

โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ วังเสมอ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์สั่งการชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านด้านลาว-พม่า จ.เชียงราย นำคณะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกิจการชายแดนด้าน จ.เชียงราย เข้าร่วม

พล.ท.บุญชูกล่าวว่า การประชุม กอ.นชท.สัญจร ครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกดำเนินการไปแล้วที่ จ.ตาก ในฐานะพื้นที่จัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฟส 1 ซึ่งที่ประชุมจะเน้นการหารือเรื่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและเรื่องความมั่นคง โดยเฉพาะในปัจจุบันที่บริบทของพื้นที่ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ทาง กอ.นชท.จึงต้องมารับทราบปัญหาและแนะแนวเรื่องการประสานงานกับหน่วยงานจากส่วนกลางที่จะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น

ด้านนายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ได้มีประกาศ กนพ.ฉบับที่ 1 และ 2/2558 กำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 10 พื้นที่

โดยในส่วนของ จ.เชียงรายได้กำหนดให้พื้นที่ 21 ตำบล ใน 3 อำเภอ คือ แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจฯ ตั้งแต่วันที่ 24 เม.ย.เป็นต้นมานั้น ที่ผ่านมา จ.เชียงรายได้ตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นระดับพื้นที่ทั้ง 3 อำเภอ, ตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (0SS) และจ้างบริษัทที่ปรึกษาทำร่างแผนแม่บทแล้ว

ล่าสุดจนถึง 30 มิ.ย.ได้กำหนดให้พื้นที่ อ.แม่สายเป็นตลาดชายแดนไทย-พม่า และเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า หรือ Trading City, อ.เชียงแสน เป็นเมืองท่าเรือสู่ประเทศจีน และการท่องเที่ยวสามเหลี่ยมทองคำ หรือ Port City และ อ.เชียงของ เป็นประตูการค้าสู่ประเทศจีน และเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมเมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว หรือ Logistic City

พร้อมกันนั้น คณะทำงานฯ ได้สรุปเลือกพื้นที่เหมาะสมใน 3 อำเภอแล้ว คือ อ.แม่สาย 1,646 ไร่ 1 งาน 78 ตารางวา อ.เชียงแสน 4,547 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา และ อ.เชียงของ 4,390 ไร่ 1 งาน 68 ตารางวา กำหนดให้มีกิจการเพื่อการลงทุน 10 กิจการ ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร, ประมงและกิจการที่เกี่ยวข้อง, อุตสหากรรมสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มและเครื่องหนัง, อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน, อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ, การผลิตเครื่องมือแพทย์, การผลิตพลาสติก, การผลิตยา, กิจการลอจิสติกส์, นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และกิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ยังเตรียมแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระยะเร่งด่วนมากมายโดยเฉพาะการจัดทำผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะชุมชนชายแดน โครงข่ายถนนทางหลวงเชื่อมอำเภอชายแดน ปรับปรุงด่านพรมแดน ศูนย์ราชการ ฯลฯ

ส่วนระยะต่อไป เป็นการเตรียมจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเชียงของพื้นที่ 462 ไร่ ที่ ต.สถาน อ.เชียงของ ปัจจุบันการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้เชิญบริษัทเมืองเงิน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เอกชนที่สนใจให้เข้าไปลงทุน โครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323 กิโลเมตร งบประมาณ 77,000 ล้านบาท ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาความเห็นชอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับทำรถไฟรางคู่ขนาด 1.435 เมตร

ขณะเดียวกัน สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาเส้นทางเชียงของ-เด่นชัย-บ้านภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา ระยะทาง 655 กิโลเมตร มูลค่า 348,890 ล้านบาท วิ่งด้วยความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำหนดศึกษาแล้วเสร็จปลายปี 2558 นี้

นอกจากนี้ ยังมีโครงการเปลี่ยนถ่ายรูปแบบขนส่งเชียงของ พื้นที่ 280 ไร่ ใกล้สะพานแม่น้ำโขงเชื่อมไทย-สปป.ลาว มูลค่า 2,244 ล้านบาท ปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาตรวจสอบการเวนคืนที่ดินและพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2557, โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าซึ่งกรมการขนส่งทางบกอยู่ระหว่างหาพื้นที่ที่เหมาะสมประมาณ 50-100 ไร่, โครงการมอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงราย ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษา

สำหรับปัญหาที่ทางจังหวัดนำเสนอต่อที่ประชุมมีหลายประการ ได้แก่ กลไกการบริหารงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่ยังไม่ชัดเจน โดยมีเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี รองรับเพียงฉบับเดียว, การขับเคลื่อน OSS ยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่, มีปัญหาราคาที่ดินปรับตัวสูงขึ้นทั้ง 3 อำเภอ เพราะมีการเก็งกำไร, ปัญหาเรื่องผังเมืองรวม เพราะกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จ.เชียงราย ปี 2556 แล้ว แต่สภาพปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ไม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/02/2016 5:31 pm    Post subject: Reply with quote

ลุ้นมาร์เก็ตซาวดิ้งไทย-จีน เล็งจ้างดาวฤกษ์จัดฟังเสียงสะท้อนจังหวัดแนวรถไฟ
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 31 มกราคม 2559

ร.ฟ.ท.หารือ สนข.เล็งจ้าง “ดาวฤกษ์” ในเครือทีมกรุ๊ป เปิดรับฟังความเห็นประชาชนและนักลงทุน ตลอดแนวเส้นทางรถไฟไทย-จีน กับไทย-ญี่ปุ่น ชี้โจทย์ใหญ่ต้องแตกต่างจากยุคที่พรรคเพื่อไทยดำเนินการ ด้านนักวิชาการจุฬาฯหนุนเชื่อมโยงเชียงราย-เชียงใหม่แทนทางคู่เส้นทางเด่นชัย-เชียงของ เหตุอีไอเอส่อแววล้มมานานกว่า 10 ปี

แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)หารือร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เพื่อให้มีการเปิดรับฟังความเห็นประชาชนและนักลงทุน(มาร์เก็ตติ้งซาวดิ้ง) สำหรับโครงการพัฒนารถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-แก่งคอย-กรุงเทพ กับแก่งคอย-แหลมฉบัง และโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ โดยจะว่าจ้างบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด ในเครือกลุ่มบริษัท ทีมกรุ๊ป ให้ดำเนินการเปิดรับฟังความเห็นประชาชนและนักลงทุนเชิงลึกในจังหวัดสำคัญตลอดแนวเส้นทาง

โจทย์สำคัญคือรูปแบบต้องไม่ซ้ำกับช่วงรัฐบาลพรรคเพื่อไทย เนื่องจากต้องการรับฟังความเห็นเชิงลึกสำหรับกลุ่มเป้าหมายจริงทั้งนักลงทุนและประชาชนที่จะได้รับผลดีผลเสียโดยตรงจากการพัฒนาโครงการ ตลอดจนองค์กรที่เกี่ยวข้องต่างๆทั้งส่วนกลางและภูมิภาค

ทั้งนี้โครงการดังกล่าวฝ่ายจีนต้องการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟในภูมิภาคนี้อย่างมาก โดยเฉพาะเส้นทางผ่านเมืองยูนนานโซนจีนตอนใต้ ผ่าน สปป.ลาว ทางเมืองบ่อเต็น ผ่านเมืองหลวงพระบาง เมืองเวียงจันทน์ เข้าสู่ไทยทาง จังหวัดหนองคาย ซึ่งรถไฟไทย-จีนได้เปิดตัวสัญลักษณ์โครงการแล้วและอยู่ระหว่างการสรุปต้นทุนโครงการนำไปหารือในการประชุมร่วมไทย-จีนครั้งที่ 10 ช่วงเดือนกุมภาพันธ์นี้

ประการสำคัญยังมีหลายเรื่องไม่ชัดเจน อาทิ ผลการศึกษาด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) การยอมรับของประชาชนในท้องถิ่น สถานีและทำเลที่จะพัฒนาต้องแสดงให้ประชาชนเห็นความชัดเจน ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ จึงต้องลงพื้นที่รับฟังความเห็นจังหวัดในแนวเส้นทาง คือ หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา สระบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี เพื่อให้สอดคล้องกับผังพัฒนาเมืองของแต่ละจังหวัด

“ต้องให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ยอมรับในแนวทางการพัฒนาโครงการ โดยจะให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคมนี้ เพราะต้องเร่งทำหลายจังหวัดโดยเฉพาะเส้นทางรถไฟไทย-จีน เพื่อให้เห็นภาพชัดเรื่องการก่อสร้างในกลางปีนี้ เช่นเดียวกับรถไฟไทย-ญี่ปุ่นที่รัฐบาลมีหลายเส้นทางเสนอญี่ปุ่นให้เลือกดำเนินการ โดยเฉพาะเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ที่มีความเห็นจากหลายฝ่ายว่าควรจะเชื่อมโยงเส้นทางจากเชียงรายมายังเชียงใหม่ เพื่อทดแทนเส้นทางรถไฟทางคู่ที่จะเชื่อมจากเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของที่มีปัญหาเรื่องการผ่านพื้นที่ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่ามีความพยายามดำเนินการตลอดกว่า 10 ปีที่ผ่านมาแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ

“เหตุที่เลือกญี่ปุ่นดำเนินการ เพราะเส้นทางเชียงใหม่สามารถพัฒนาให้เชื่อมโยงมายังพิษณุโลก ผ่านไปแหลมฉบังและระยองซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวทางภาคเหนือ สามารถเชื่อมกับเมืองท่องเที่ยวทางภาคตะวันออก ซึ่งล่าสุดจะมีการเปิดตัวสัญลักษณ์โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่นด้วยการทดลองขนส่งสินค้าเป็นการนำร่องจากกาญจนบุรีไปยังกรุงเทพ ก่อนที่จะทยอยขยายเส้นทางไปยังพื้นที่ภาคอื่นต่อไป”

ด้านศาสตราภิชาน รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากที่มีโอกาสลงพื้นที่ร่วมกับบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด ในการรับฟังความเห็นประชาชนและนักลงทุนในโครงการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อและสถานีสำคัญต่างๆของ ร.ฟ.ท.ซึ่งเสนอให้เร่งเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจากเชียงรายไปยังเชียงใหม่

“ขณะนี้เสียงประชาชนจากเชียงรายขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการ ซึ่งหากเชื่อมโยงทั้ง 2 จังหวัดเข้าด้วยกันจะเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวและโลจิสติกส์อย่างมาก ประกอบกับปัจจุบันนักท่องเที่ยวชาวจีนผ่านมายังเชียงรายจำนวนมากก็จะสามารถเดินทางด้วยรถไฟสู่เชียงใหม่ได้อย่างสะดวกรวดเร็วขึ้นเพราะระยะทางสั้นกว่าช่วงเด่นชัย-เชียงราย ที่สำคัญเส้นทางจากเชียงรายไปจีนตอนใต้ระยะทางน่าจะใกล้กว่าจึงสามารถลงทุนพัฒนาโครงการได้ หากรัฐบาลไทย-รัฐบาลจีนเล็งเห็นความสำคัญเพราะเหมาะสำหรับเส้นทางรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งแตกต่างจากเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพ-แหลมฉบัง และกรุงเทพ-สระแก้วที่มุ่งเน้นเพื่อการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงท่าเรือน้ำลึกทวายในเมียนมามากกว่า”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,126 วันที่ 28 – 30 มกราคม พ.ศ. 2559
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2016 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

กรอ.เชียงราย กระทุ้ง “บิ๊กตู่” อีก ขอเร่งโปรเจกต์ครึ่งศตวรรษทั้งรถไฟ-มอเตอร์เวย์


โดย MGR Online

4 กุมภาพันธ์ 2559 15:02 น. (แก้ไขล่าสุด 4 กุมภาพันธ์ 2559 17:49 น.)


เชียงราย - ที่ประชุม กรอ.เชียงราย ลงมติกระทุ้งรัฐบาล “บิ๊กตู่” อีกรอบ ขอเร่งอภิมหาโปรเจกต์ที่ศึกษากันมานานกว่าครึ่งศตวรรษ ทั้งรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย - มอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงราย และแผนพัฒนาเกษตรปลอดภัย แม้นายกฯเลื่อนกำหนดตรวจราชการภาคเหนือ

วันนี้ (4 ก.พ.) นายอนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้า จ.เชียงราย เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ของเชียงราย ครั้งล่าสุด ซึ่งมีนายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย เป็นประธาน ได้มีการหารือกันกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีจะเดินทางลงตรวจราชการภาคเหนือ ที่เดิมมีกำหนดไป จ.น่าน วันที่ 26 ก.พ.นี้้ ถือว่าอยู่ในเขตกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน) ด้วย

โดยผลการหารือก็จะมีการนำเสนอไปยังนายกรัฐมนตรีใน 2 เรื่องใหญ่ๆ คือ การก่อสร้างรถไฟสาย อ.เด่นชัย จ.แพร่-เชียงราย, การพัฒนาเส้นทางมอเตอร์เวย์สาย จ.เชียงใหม่-เชียงราย และการพัฒนาการเกษตรปลอดภัย ทั้งข้าว ชา กาแฟ และปศุสัตว์เพื่อส่งออก

นายอนุรัตน์กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม แม้ต่อมาจะมีข่าวว่านายกรัฐมนตรีได้เลื่อนกำหนดไปตรวจราชการภาคเหนือชั่วคราว แต่จะไปที่ จ.อุทัยธานี ก่อน ทางจังหวัดก็ได้หารือกันไว้ก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมเอาไว้ รวมทั้งทบทวนโครงการหลักๆ ที่ทางจังหวัดตั้งเป้าผลักดันแต่ยังไม่มีการดำเนินการ จึงจะต้องนำเสนอต่อรัฐบาลอย่างต่อเนื่องต่อไป

โดยเฉพาะโครงการรถไฟสาย อ.เด่นชัย จ.แพร่-เชียงรายนั้น ถือว่ายืดเยื้อยาวนานมาร่วม 55 ปีแล้ว ที่ผ่านมามีการออกแบบ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและอื่นๆ จนครบถ้วน เหลือเพียงขั้นตอนการอนุมัติงบประมาณเพื่อการก่อสร้างที่อาจต้องใช้มากขึ้นกว่า 70,000 ล้านเท่านั้น ดังนั้นภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องจึงต้องกระทุ้งให้รัฐบาลได้ดำเนินการต่อไป

นายอนุรัตน์กล่าวอีกว่า สำหรับเส้นทางมอเตอร์เวย์สายเชียงใหม่-เชียงราย ก็เป็นโครงการมาตั้งแต่ปี 2503 มีการศึกษารายละเอียดข้อดีและข้อเสียด้านต่างๆ กันมาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่มีการดำเนินการ ดังนั้น การเสนอต่อรัฐบาลก็เป็นไปในลักษณะเดียวกันเรื่องการผลักดันสร้างเส้นทางรถไฟ ซึ่งจะต้องมีการกระทุ้งกันต่อเนื่องเช่นกัย

ส่วนเรื่องการส่งเสริมภาคการเกษตร เป็นเพราะ จ.เชียงรายมีการค้าและเส้นทางคมนาคมติดต่อกับกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือจีเอ็มเอสอยู่แล้ว ดังนั้นการพัฒนาผลผลิตเหล่านี้ด้วยการแปรรูปเพิ่มมูลค่า และส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านจึงจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนืออย่างมาก
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 05/02/2016 3:00 pm    Post subject: Reply with quote

ที่เขาลากเส้นทางผ่าน อ.ฝาน อ.ไชยปราการและ อ.ฝาง นั้น อาจเป็นเพราะมีผลผลิตการเกษตรมากพอที่จะป้อนเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมลำพูน ส่วนการก่อสร้างนั้น เทคโนโลยีปัจจุบันไม่มีปัญหาครับ ขนาดเจาะอุโมงค์ลอดใต้ภูเขายาวนับ 10 กม.เป็นเรื่องหมูๆ แล้ว

ที่เห็นๆ กันอยู่ เขาไม่เน้นเรื่องขนส่งผู้โดยสารที่สร้างรายได้น้อยกว่าขนส่งสินค้าเสียอีก ก็น่าคิดเหมือนกัน

แต่ใจผมยังเชียร์สายเด่นชัย - เชียงรายอยู่ดี เขาไม่คิดถึงหัวอกชาวล้านนาตะวันออกบ้างหรือไร ? เพราะเส้นทางสั้นกว่า แถมรอมาตั้ง 55 ปีแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2016 9:23 pm    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:
ที่เขาลากเส้นทางผ่าน อ.ฝาน อ.ไชยปราการและ อ.ฝาง นั้น อาจเป็นเพราะมีผลผลิตการเกษตรมากพอที่จะป้อนเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมลำพูน ส่วนการก่อสร้างนั้น เทคโนโลยีปัจจุบันไม่มีปัญหาครับ ขนาดเจาะอุโมงค์ลอดใต้ภูเขายาวนับ 10 กม.เป็นเรื่องหมูๆ แล้ว

ที่เห็นๆ กันอยู่ เขาไม่เน้นเรื่องขนส่งผู้โดยสารที่สร้างรายได้น้อยกว่าขนส่งสินค้าเสียอีก ก็น่าคิดเหมือนกัน

แต่ใจผมยังเชียร์สายเด่นชัย - เชียงรายอยู่ดี เขาไม่คิดถึงหัวอกชาวล้านนาตะวันออกบ้างหรือไร ? เพราะเส้นทางสั้นกว่า แถมรอมาตั้ง 55 ปีแล้ว


เป็นเรื่องของคนเชียงใหม่ที่ถือตัวเองว่าเป็นศูนย์กลางจักรวาลของภาคเหนือ ส่วนคนล้านนาที่เหลื่อซึ่งไม่ใช่คนเชียงใหม่ ช่างหัวมันเหอะ อย่าไปเห็นหัวไปรกสายตาไปดีกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44318
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/02/2016 11:41 am    Post subject: Reply with quote

เชียงรายกระทุ้งรัฐ ลุยเมกะโปรเจ็กต์ "รถไฟ-มอเตอร์เวย์-เกษตรส่งออก"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 11 ก.พ. 2559 เวลา 11:00:50 น.

ภาคเอกชนเชียงรายรุดหารือผู้ว่าฯ กระทุ้งรัฐฟื้นเมกะโปรเจ็กต์หวั่นยืดเยื้อ งบฯบานปลาย ชี้โครงการรถไฟค้างเติ่ง 50 ปี งบฯก่อสร้างพุ่ง 70,000 ล้าน มอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงรายรอแค่อนุมัติงบฯ ชงรัฐหนุนแปรรูปส่งออก 4 พืชเกษตรปลอดภัย

นายอนุรัตน์ อินทร ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางภาครัฐและเอกชน นำโดยหอการค้าจังหวัดเชียงรายและสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ได้ร่วมประชุมกับนายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อสรุปประเด็นเสนอไปยัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับโครงการขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจ็กต์ที่ภาครัฐและเอกชนในจังหวัดเชียงรายเห็นว่าควรมีการดำเนินการ โดยจะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน (กรอ.) จังหวัดเชียงราย เพื่อจัดทำข้อเสนออย่างเป็นทางการต่อไป

ทั้งนี้ โครงการขนาดใหญ่ดังกล่าว ได้แก่ โครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงราย เชื่อมมาจากอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ไปยังจังหวัดเชียงราย และโครงการถนนมอเตอร์เวย์เชื่อมจังหวัดเชียงใหม่-เชียงราย

นายอนุรัตน์กล่าวว่า โครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงรายนั้นมีอายุโครงการกว่า 55-56 ปีแล้ว ถือว่าเป็นโครงการที่ยืดเยื้ออย่างมาก และหลายฝ่ายก็เรียกร้องกันมานาน เพราะสามารถเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมเหนือ-ใต้ที่สมบูรณ์ รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงไปจนถึงมณฑลยูนนาน จีนตอนใต้ แต่เมื่อไม่มีการก่อสร้างจึงทำให้งบประมาณบานปลายขึ้นเรื่อย ๆ กระทั่งปัจจุบันเชื่อว่าต้องใช้งบประมาณมากกว่า 70,000 ล้านบาทในการก่อสร้าง ทั้งที่มีการศึกษาไปหมดแล้ว เหลือเพียงการอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการเท่านั้น

"ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของจังหวัดที่จะต้องผลักดันหรือกระทุ้งโครงการไปยังแต่ละรัฐบาลให้มีความต่อเนื่องต่อไป ไม่เช่นนั้นก็จะยืดเยื้อซ้ำรอยเดิมต่อไปอีก สำหรับโครงการถนนมอเตอร์เวย์เชื่อมจังหวัดเชียงใหม่-เชียงราย ก็มีการผลักดันกันมานานหลายปีแล้วเช่นกัน แต่ก็เป็นเพียงโครงการที่อยู่ในแผน แต่ไม่มีการอนุมัติงบประมาณเพื่อดำเนินการเหมือนกัน" นายอนุรัตน์กล่าว

นอกเหนือจาก 2 โครงการดังกล่าวแล้ว ยังมีการหารือกับทางจังหวัดเกี่ยวกับการเสนอไปยังรัฐบาลให้ส่งเสริมโครงการพัฒนาการเกษตรปลอดภัย 4 ชนิดของจังหวัดคือ ข้าว กาแฟ ชา และปศุสัตว์ เพื่อให้มีการแปรรูปและมีขีดความสามารถในการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีการค้าชายแดนเชื่อมกับจังหวัดเชียงราย

Click on the image for full size
ยืดเยื้อ - โครงการรถไฟสายเด่นชัย-เชียงรายจะเชื่อมจากอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ไปยังจังหวัดเชียงราย ผลักดันกันมานานกว่า 50 ปี ล่าสุดภาคเอกชนเชียงรายออกมากระทุ้งให้รัฐบาลเดินหน้าอีกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่าสำหรับโครงการรถไฟเด่นชัย-เชียงราย รัฐบาลไทยมีการศึกษาตั้งแต่ปี 2503 ต่อมาปี 2512 ได้มีการสำรวจเส้นทางเพื่อก่อสร้างโดยใช้เส้นทางจากอำเภอเด่นชัย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เชื่อมกับอำเภอเชียงม่วน อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เพื่อให้เข้าสู่อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย รวมระยะทางประมาณ 273 กิโลเมตร ต่อมาปี 2537-2538 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาอีกครั้ง และเปลี่ยนเส้นทางมาเป็นอำเภอเด่นชัย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เชื่อมกับอำเภองาว จังหวัดลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงราย โดยย่นระยะทางเหลือประมาณ 246 กิโลเมตร

ต่อมาในปี 2539-2541 มีการคำนวณว่าต้องใช้งบประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท และทาง ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างเอกชนให้สำรวจ ออกแบบและศึกษาผลกระทบ จนมีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินในปี 2544 แต่ปีใน 2547 รัฐบาลขณะนั้นได้ให้ศึกษาความเหมาะสมอีกครั้งเพื่อให้เชื่อมกับจีนตอนใต้ และปี 2551 ได้ศึกษาเพื่อให้เชื่อมชายแดนจังหวัดเชียงราย และให้เหมาะสมกับระบบรางของจีน

กระทั่งในปี 2553-2557 มีการศึกษาเรื่องรถไฟแบบรางคู่ใช้ระบบรางกว้าง 1.453 เมตร เชื่อมจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปยังท่าเรือแม่น้ำโขง อำเภอเชียงแสน และสะพานข้ามแม่น้ำโขง อำเภอเชียงของ รวมระยะทาง 323.1 กิโลเมตร โดยประเมินว่าต้องใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 77,275 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 23, 24, 25 ... 76, 77, 78  Next
Page 24 of 78

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©