RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180262
ทั้งหมด:13491496
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 142, 143, 144 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2016 4:10 pm    Post subject: Reply with quote

เบี่ยงจราจรถนนจรัญสนิทวงศ์ ติดตั้งบันไดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
เดลินิวส์ วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9:40 น.

เบี่ยงการจราจรถนนจรัญสนิทวงศ์ช่วงซอย 79-83/1 นาน 1 เดือน ติดตั้งบันไดรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

รายงานข่าวจากการ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งว่า บริษัท ยูนิค เเอนด์ เอ็นจีเนียริ่ง จำกัด ผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จะดำเนินการติดตั้งบันไดขึ้นสถานีบางพลัด

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเบี่ยง การจราจรในถนนจรัญสนิทวงศ์ขาออกมุ่งหน้าพระราม 7 ตั้งแต่ซอยจรัญสนิทนวงศ์ 79-83/1 จำนวน1 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 200 เมตร

สำหรับการจัดการจราจรนั้นจะเป็นการเปิดรีเวิร์สซิเบิลเลนในถนน จรัญสนิทวงศ์ขาเข้า 1 ทาง เพื่อทดแทนพื้นผิวการจราจรในช่องขาออกที่ทางผู้รับเหมาต้องปิดเพื่อดำเนินการติดตั้งบันไดสถานี

ทั้งนี้สำหรับรถใหญ่ให้ใช้การจราจรช่องซ้ายสุด ส่วนรถเล็กให้ใช้ช่องขวาสุดในการเดินรถ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุโดยผู้ที่ใช้ทางเบี่ยงจะต้องกลับเข้าเส้นทางปกติบริเวณซอยจรัญสนิทวงศ์ 83/1

อย่างไรก็ตามในวันที่8 ก.พ. 59 ที่ผ่านมาทางผู้รับเหมาจะเริ่มทะยอยปรับพื้นผิวการจราจรและนำอุปกรณ์ขนาดใหญ่เข้าพื้นที่ ทั้งนี้จะเริ่มเบี่ยงการจราจรได้ตั้งแต่วันที่ 11 ก.พ. - 11 มี.ค. 59 โดยหลังจากติดตั้งบันไดสถานีฝั่งขาออกเสร็จสิ้นแล้วผู้รับเหมาจะย้ายฝั่งไปติดตั้งบันไดด้านถนนจรัญสนิทวงศ์ขาเข้าต่อเนื่อง โดยรูปแบบการจัดการจราจรจะดำเนินการในลักษณะคล้ายกัน

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะถึงจุดเบี่ยงการจราจรทางผู้รับเหมาจะนำป้ายประชาชน สัมพันธ์แจ้งจุดเบี่ยงการจราจรเพื่อแจ้งให้ทราบ แนะประชาชนที่ใช้เส้นทางดังกล่าวขับรถด้วยความระวัง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2016 6:57 pm    Post subject: Reply with quote

“ประวิตร” จี้หาสาเหตุทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงต่อขยายล่าช้า
โดย MGR Online 16 กุมภาพันธ์ 2559 16:38 น. (แก้ไขล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2559 17:48 น.)

“ประวิตร” จี้คมนาคมเร่งทำความเข้าใจกับเอกชน แจงโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงต่อขยายให้ชัดเจน หลังพบความล่าช้า คมนาคมอ้างติดขัดการเจรจาโดยตรง-ข้อกฎหมาย ด้าน “สมคิด” สั่งคมนาคมถกคลังหาผู้ร่วมทุนกระจายคามเสี่ยง

วันนี้ (16 ก.พ.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ซึ่งเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ได้ปรารภว่าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีความล่าช้า ขอให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการให้ชัดเจน

โดยกระทรวงคมนาคมได้ชี้แจงว่า โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในส่วนต่อขยายที่ล่าช้ามาจาก 2 สาเหตุ คือ การเจรจาโดยตรง ซึ่งต้องใช้เวลา 8 เดือนตามข้อกฎหมายต่างๆ ที่กำหนดไว้ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงต้องมาดำเนินการในอีกแนวทางหนึ่ง คือ ยกเลิกมติ ครม.เดิมแล้วมาดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 56 เพื่อเปิดทางให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน

“ปัญหา 2 ส่วนคือการเจรจาโดยตรง และติดขัดในส่วนของข้อกฎหมายโดยมีการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีและกลับมาใช้พระราชบัญญัติการร่วมทุนปี 2556 ดังนั้น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จะมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อให้เดินหน้าหาเอกชนเข้ามาร่วมโครงการและยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต”

ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมชี้แจงเพิ่มเติมว่า จากเดิมการเดินรถกำหนดไว้เป็นรูปแบบ PPP-Gross Cost หรือจ้างเอกชนบริหารเดินรถ โดยที่รัฐเป็นเจ้าของก็ปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบ NET คือให้เอกชนรับความเสี่ยง แต่เอกชนที่เกี่ยวข้องมีข้อสังเกตว่ารับความเสี่ยงได้แต่ขอให้รัฐชดเชย

ด้านนายสมคิดย้ำว่า ได้ให้กระทรวงคมนาคมรีบดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อเสนอต่อให้กระทรวงการคลังดำเนินการหาผู้ร่วมทุน แต่กระทรวงคมนาคมจะต้องคุยให้ได้ข้อยุติว่าเอกชนจะต้องรับความเสี่ยงตามกฎกติกา ไม่ใช่รับความเสี่ยงแต่มีข้อแม้ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักสากล ซึ่ง รมว.คมนาคมได้รับเรื่องไปดำเนินการให้ชัดเจนขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2016 2:40 am    Post subject: Reply with quote

ดูหน้าตาการออกแบบทั้งภายนอกและภายใน สถานีสามยอด ที่ ต่อ Interchange กะ สายสีม่วง - ดูแล้ว เราประยุกต์การออกแบบฝรังสมัย ร.5 และ ร.6 เพื่ให้เขากับเกาะรัตนโกสินทร์ ได้ที่นี่
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1040418892645985.1073741899.802468283107715&type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2016 11:04 pm    Post subject: Reply with quote

คุณ BKKTrains รายงานการเปลี่ยนชื่อสถานี รถไฟใต้ดิน เส้นที่ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ดั่งนี้


Quote:
[Blue Line Extension Discovery : สำรวจเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน]
ตอนที่ 4 : การเปลี่ยนชื่อสถานี
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ประกาศเรื่องการเปลี่ยนแปลงชื่อสถานีอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะมีสถานีจำนวน 2 สถานีที่มีการเปลี่ยนชื่อจากแผนเดิมที่มีการกำหนดไว้
สถานีแรกคือ สถานีวังบูรพา (BS11) เปลี่ยนชื่อเป็น "สถานีสามยอด (BS11)" ซึ่งเราก็ได้ทราบกันไปแล้วเมื่อวานนี้ครับ
ส่วนอีกสถานีหนึ่งที่มีการเปลี่ยนชื่อซึ่งก็ไม่เชิงเปลี่ยนเสียทีเดียว แต่เป็นการเปลี่ยนชื่อให้ "สั้นลง" นั่นคือ สถานีวัดมังกรกมลาวาส (BS10) ซึ่งต่อไปนี้ ชื่อสถานีอย่างเป็นทางการ จะเรียกสั้นๆ เหลือแค่ "สถานีวัดมังกร (BS10)" ตามความเห็นของราชบัณฑิตยสถาน นอกจากนี้ "สถานีวัดมังกร" จะมีการเพิ่มเติมชื่อภาษาจีนเข้ามาครับ

https://www.facebook.com/bkktrains/photos/a.486600744796379.1073741829.485999144856539/820699681386482/?type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/02/2016 2:33 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“ประวิตร” จี้หาสาเหตุทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงต่อขยายล่าช้า
โดย MGR Online 16 กุมภาพันธ์ 2559 16:38 น. (แก้ไขล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2559 17:48 น.)


ครม.จี้สรุปเดินรถสายสีน้ำเงิน
ไทยโพสต์
17 กุมภาพันธ์ 2559 - 00:00
ครม.เข้มสั่งคมนาคมเร่งหารือเอกชนร่วมทุนเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย หลังค้างคามานาน จี้ให้ได้ข้อยุติตาม เน้นยึดหลักตามกฎหมายร่วมทุน

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมเร่งแก้ปัญหาความล่าช้าและค้างคาเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

โดยเฉพาะในส่วนของการเดินรถ ที่ได้เห็นชอบให้มีการดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนรัฐและเอกชน พ.ศ.2556 แต่ยังติดปัญหาเรื่องการเจรจา เนื่องจากต้องให้เอกชนเข้ามารับความเสี่ยงจากการดำเนินการเอง แต่เอกชนมีการยื่นขอเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาชดเชยในส่วนนี้ด้วย ซึ่งรัฐบาลมองว่าประเด็นดังกล่าวไม่ใช่หลักการของกฎหมายที่ดำเนินการอยู่

นอกจากนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ยังได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปเร่งเจรจากับภาคเอกชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวให้ได้ข้อยุติ โดยยืนยันว่าเอกชนจะต้องรองรับความเสี่ยงจากการดำเนินงานเองตามกฎหมายกำหนด หลังจากนั้นให้รีบส่งเรื่องมาให้กระทรวงการคลังเพื่อเร่งดำเนินการหาผู้ร่วมทุนต่อไปตามขั้นตอน

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ( รฟม.) ที่มี พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธานเห็นชอบผลการศึกษาการลงทุนเป็นแบบ PPP Net Cost คือการให้สัมปทานเอกชนเดินรถ พร้อมทั้งรับความเสี่ยงค่าโดยสาร หลังจากพิจารณาผลการศึกษาการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียเห็นว่าการเดินรถต่อเนื่องทำให้มีความสะดวก และทำให้มีจำนวนผู้โดยสารมากกว่าการเดินรถแบบแยกอิสระ 5% และประหยัดต้นทุนโครงการตลอดอายุสัมปทาน 30 ปีได้ถึง 16,000 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/02/2016 12:51 am    Post subject: Reply with quote

การออกแบบสถานีวัดมังกร
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1041166859237855.1073741900.802468283107715&type=3
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/02/2016 9:25 am    Post subject: Reply with quote

^^^

4สถานี‘อลังการตระการตา’พลิกโฉมรถไฟฟ้าใต้ดิน
เดลินิวส์ วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 6:12 น.

รฟม.กำลังเร่งก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินหัวลำโพง-บางซื่อ ระยะทาง 20 กม. ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ 13 กม. รวม 10 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.กำลังเร่งก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินหัวลำโพง-บางซื่อ ระยะทาง 20 กม. ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ 13 กม. รวม 10 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด และช่วงหัวลำโพง-บางแค 14 กม. มี 11 สถานี เป็นใต้ดิน 4 สถานี และยกระดับ 7 สถานี รวมตลอดสาย 21 สถานี 27 กม. วงเงินลงทุน 82,592.27 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 54 ขณะนี้งานโยธาคืบหน้าแล้ว 72.62% พร้อมเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาคัดเลือกเอกชนมารับสัมปทานเดินรถให้ทันตามแผนเปิดใช้บริการเดือน เม.ย. 62

นายพีระยุทธ กล่าวต่อว่า สำหรับช่วงหัวลำโพง-บางแค ที่มีสถานีใต้ดิน 4 สถานี ประกอบด้วย1.สถานีวัดมังกร 2.สถานีสามยอด 3.สถานีสนามไชย พื้นที่ชั้นในฝั่งพระนครมีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ และ 4.สถานีอิสรภาพ เป็นสถานีใต้ดินแห่งแรกของฝั่งธนบุรี ผ่านชุมชนเก่ากลางเมือง ฝ่ายสถาปัตยกรรมของ รฟม.ได้ออกแบบอย่างสวยงามกลมกลืนกับประวัติความเป็นมาและสัญลักษณ์เชิงพื้นที่ เรียงตามลำดับดังนี้

สถานีวัดมังกร รูปแบบสถาปัตยกรรมจะผสมระหว่างจีนกับยุโรป เรียกว่าแนว “ชิโนโปรตุกิส” สอดคล้องกับวิถีชีวิต วิถีการค้าชาวจีน สภาพแวดล้อมโดยรอบ เช่น เยาวราช ถนนเจริญกรุง นำ “มังกร” มาเป็นสัญลักษณ์ความสุขความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง มีแนวคิดการออกแบบหลายส่วน อาทิ เสาโครงสร้างสถานี ใช้วัสดุแผ่นเหล็กเฉดสีแดงและคาดลวดลายประแจจีนเฉดสีทอง เนื่องจากสีแดงและสีทองเป็นสีมงคลของชาวจีนแสดงออกถึงชุมชนชาวจีน

ผนังสถานีตกแต่งลวดลายดอกบัวพิมพ์ลายบนกระเบื้องเซรามิก ซึ่งนำลวดลายดอกบัวจากรูปแบบของลวดลายประดับภายใน “วัดมังกรกมลาวาส” ที่ชุมชนชาวจีนนับถือ ฝ้าเพดานนำเอาเฉดสีแดงมาเพิ่มลูกเล่นของฝ้าเพดาน ไฮไลต์จะอยู่ที่ชั้นจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติได้ออกแบบฝ้าเพดานเป็นหัวมังกร ฝ้าเพดานบริเวณบันไดทางลงชั้นจำหน่ายตั๋วนำสัญลักษณ์ท้องมังกรมาตกแต่งเพื่อดึงดูดความสนใจ สำหรับ

สถานีสนามไชย ถือเป็นสถานที่สำคัญ ออกแบบโดย รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม ) เนื่องจากเป็นสถานีประวัติศาสตร์ ตามที่ได้ขุดพบโบราณวัตถุ “คลองราก” หรือฐานรากโครงสร้างพระราชวัง จึงออกแบบอย่างอลังการสร้างความรู้สึกเสมือนเดินเข้าสู่พระราชวัง หรือท้องพระโรงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ให้อารมณ์สัมผัสความงดงามตระการตา ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันสุดวิจิตร ทรงคุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์

นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับที่ตั้งของสถานีสนามไชย สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ตั้งอยู่ในเขตพระนครชั้นในบนเกาะรัตนโกสินทร์แลนด์มาร์คสำคัญแห่งอนาคตของกรุงเทพฯ จะผลักดันให้สถานีสนามไชยเป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านสถาปัตยกรรมแห่งใหม่ที่ผู้ใช้เส้นทางทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเดินทางมาเยี่ยมชมและเชื่อมต่อการเดินทางไปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญภายในเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ อาทิ วัดพระแก้ว, พระบรมมหาราชวัง, มิวเซียมสยาม และวัดโพธิ์ด้วย

สถานีสามยอด รฟม.เน้นสถาปัตยกรรมย้อนยุคตามสไตล์ชิโนโปรตุกิสสอดคล้องกับอาคารริมถนนเจริญกรุงภายในตัวสถานี เริ่มจากโถงทางเข้า ออกแบบให้มีลักษณะโอ่โถง ซุ้มช่องจำหน่ายตั๋วอัตโนมัติและเสาภายในนำรูปทรงและลักษณะของซุ้มประตูสามยอด ประตูทางเข้านำประตูบานเฟี้ยมมาใช้

นอกจากนี้ได้นำรูปแบบประตูตึกแถวเก่ามาดัดแปลง พร้อมนำภาพเก่าเล่าเรื่องราวย่านประตูสามยอดมาถ่ายทอดให้ผู้โดยสารทราบประวัติความเป็นมา ช่วยส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

ปิดท้ายกับ สถานีอิสรภาพ ที่สานความฝันสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกของฝั่งธนบุรีให้เป็นจริง มีแนวคิดออกแบบด้วยการใช้หงส์ สัตว์ที่แสดงถึงความเป็นสิริมงคลและศักดิ์สิทธิ์ เป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ ของวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ซึ่งในอดีตวัดแห่งนี้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จฯมาสรงน้ำในพิธีสำคัญของแผ่นดิน สร้างความปลาบปลื้มแก่พสกนิกรมาจนถึงทุกวันนี้

รออีกแค่ 3 ปีเท่านั้น ทุกสายตาจะได้สัมผัสกับสถาปัตยกรรมอันงดงามตระการตาของสุดยอด 4 สถานี.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/02/2016 7:48 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.จี้ “คมนาคม” เร่งงานร่วมทุน PPP เดินรถสายสีน้ำเงินต่อขยายไม่คืบ
โดย MGR Online
23 กุมภาพันธ์ 2559 19:10 น. (แก้ไขล่าสุด 23 กุมภาพันธ์ 2559 23:52 น.)

ครม.เร่ง “คมนาคม” สรุปงานลงทุน PPP เดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย “อาคม” แจง รฟม.เสนอให้สัมปทานลงทุน PPP Net Cost แต่กลับต้องอุดหนุนเอกชนด้วยไม่ได้ ให้ทำข้อมูลใหม่ คาดสรุปสัปดาห์นี้เพื่อเสนอ สคร. และ กก. PPP ได้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 ก.พ.ได้เร่งรัดงานของกระทรวงคมนาคมในส่วนที่เปิดให้เอกชนมีส่วนร่วมดำเนินงานในกิจการของรัฐ (PPP) ทั้งบก, น้ำ, อากาศ, ราง โดยได้เร่งรัดงานระบบรถไฟฟ้าและเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่งก่อนหน้านี้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เสนอรูปแบบการลงทุน PPP Net Cost (รัฐเป็นผู้ลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนเอกชนรับสัมปทานเดินรถและเก็บค่าโดยสารโดยแบ่งส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐ) แต่มีประเด็นที่ต้องให้ภาครัฐอุดหนุนด้วย ซึ่งกระทรวงเห็นว่าไม่เหมาะสมกับรูปแบบ PPP Net Cost เพราะเอกชนต้องรับความเสี่ยงเอง ต่างจากรูปแบบ PPP Gross Cost (รัฐลงทุน 100% และจัดเก็บค่าโดยสาร โดยจ้างเอกชนทำหน้าที่เดินรถ) ที่รัฐรับความเสี่ยง

จึงให้ รฟม.ปรับปรุงรายละเอียดเอกสารเพิ่มเติมพร้อมกับอธิบายเรื่องเอกชนทำการตลาดได้ดีกว่ารัฐทำเอง ซึ่งล่าสุดได้ส่งเรื่องกลับมาที่กระทรวงค่อนข้างชัดเจนแล้วและคาดว่าจะพิจารณาให้เรียบร้อยภายในสัปดาห์นี้ โดยตามขั้นตอนจะต้องส่งเรื่องกลับไปที่ รฟม. เพื่อให้เสนอต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ที่คณะกรรมการ PPP ต่อไป

“การเปิดเดินรถในส่วนต่อขยายสีน้ำเงินนั้นยังเป็นเป้าหมายปี 2562 พยายามไม่ให้ช้ากว่านี้ ซึ่งเห็นว่าหากได้ข้อสรุปเรื่องการคัดเลือกผู้เดินรถแล้วเห็นว่า ในส่วนการผลิตรถนั้นสามารถปรับเร่งไลน์การผลิตได้ เหมือนสายสีม่วงที่สามารถเร่งการผลิตได้” นายอาคมกล่าว

นอกจากนี้ โครงการที่ต้องดำเนินการ PPP ของกระทรวงคมนาคมยังมี ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพฯ-บ้านฉาง ช่วงพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 31.159 กม. ในส่วนของการจัดเก็บค่าผ่านทางและงานซ่อมบำรุงซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประกวดราคาก่อสร้างงานทาง ที่ใช้งบประมาณลงทุนวงเงิน 14,200 ล้านบาท โดยทำสัญญาแล้ว 7 ตอนจากทั้งหมด 13 ตอน, โครงการที่เป็น PPP 100% คือ เอกชนลงทุนก่อสร้าง เดินรถ ซ่อมบำรุง โดยรัฐเป็นผู้จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 56,690.99 ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กม. วงเงิน 54,644 ล้านบาท ซึ่งได้เสนอไปยังคณะกรรมการ PPP เพื่อเข้า PPP Fast track แล้วตั้งแต่เดือน ต.ค. 2558 ส่วนรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม. อยู่ในขั้นตอนเตรียมเสนอคณะกรรมการ PPP
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/03/2016 6:31 pm    Post subject: Reply with quote

ผู้ใช้รถไฟฟ้าใต้ดินเฮ! ดัชนีผู้บริโภคลด ยังไม่ปรับค่าโดยสาร2ปี -3สถานีลดค่าโดยสาร
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 01 มี.ค. 2559 เวลา 17:53:00 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 1 มี.ค. 2559 เห็นชอบร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลแห่งประเทศไทย(รฟม.) จัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน(บางซื่อ-หัวลำโพง) จำนวน 17 สถานีที่มีบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีอีเอ็ม ตามสัญญาสัมปทาน จะปรับทุก 2 ปี ซึ่งจะครบกำหนดจัดเก็บค่าโดยสารใหม่วันที่ 3 ก.ค. 2559 แต่จะต้องประกาศให้ผู้โดยสารรับทราบล่วงหน้า 30 วัน หรือต้องประกาศอัตราใหม่วันที่ 4 มิ.ย. นี้

ทั้งนี้ การปรับค่าโดยสารจะต้องนำดัชนีผู้บริโภค(CPI) มาพิจารณาประกอบด้วย ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบ CPI เดือนก.ย. ปี 2544 กับเดือนก.ย. 2558 พบว่า CPI อยู่ที่ 15.7% ปรับลดลงจากเดิม ทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินยังไม่ปรับขึ้นในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ยังคงอัตราเดิม 16-42 บาท

อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณระยะทางแล้ว พบว่ามี 3 สถานีที่ค่าโดยสารจะปรับลดลง 1 บาท คือ สถานีรัชดาภิเษก จาก 26 บาท เหลือ 25 บาท สถานีศูนย์วัฒนธรรมจาก 33 บาท หลือ 32 บาท และสถานีสุขุมวิทจาก 40 บาท เหลือ 39 บาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/03/2016 3:07 pm    Post subject: Reply with quote

จ้าง BEM เดินรถ 1 สถานี! บีบรัฐอาจต้องเลือกเจรจาตรงเดินรถสีน้ำเงินต่อขยาย
โดย MGR Online
11 มีนาคม 2559 07:57 น. (แก้ไขล่าสุด 11 มีนาคม 2559 08:22 น.)


“อาคม” เผยจ้าง BEM เดินรถ 1 สถานีต้องสอดคล้องเปิดสีน้ำเงินส่วนต่อขยายปี 62 ล่าสุด รฟม.เสนอจ้างเป็น 2 ปี ขณะที่ส่วนต่อขยายต้องรวมงาน 1 สถานีไปด้วย จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของ กก.มาตรา 35 ในการตัดสินใจเลือกเจรจาตรงหรือประมูล เผยการเจรจา BEM จะสะดวกในการเชื่อมต่อมากที่สุด ส่วนประมูลหากได้รายใหม่จะติดปัญหาอาณัติสัญญาณคนละระบบที่จะกระทบบริการได้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาผลการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญา 5 (งานเดินรถ 1 สถานี) ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ระยะทาง 1 กม. ของคณะกรรมการ มาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 35) กับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ซึ่งได้เสนอขยายเวลาจ้าง BEM จาก 1 ปี เป็น 2 ปี หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ม.ค.ไม่เห็นด้วยกับการจ้าง 1 ปี โดยต้องการให้การว่าจ้าง 1 สถานีสอดคล้องกับเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ที่จะเปิดให้บริการประมาณปี 2562 ด้วย ซึ่งหากไม่มีความเห็นเพิ่มหรือท้วงติงจะเตรียมเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ มติ ครม.เดิมให้เจรจากับ BEM ให้สอดคล้องกับการเดินรถสายเฉลิมรัชมงคลที่สัญญาจะครบในปี 2572 แต่ทาง BEM ไม่ยอม ซึ่งเดินรถ 1 สถานีถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสายสีน้ำเงินต่อขยาย เพียงแต่มีการนำการก่อสร้างไปรวมกับสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ทาง BEM ยืนยันไม่สามารถรับจ้างเดินรถ 1 สถานีได้ถึงปี 2572 ซึ่งการเจรจาคำนึงถึงรอยต่อกับสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่จะเปิดเดินรถในปี 2562 จึงขยายเวลาจ้างเดินรถเป็น 2 ปี โดยทราบว่าสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ส่งเรื่องมาที่กระทรวงแล้ว หาก ครม.เห็นชอบจะทำการลงนามสัญญา และติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสารระบบตั๋วโดยสารที่สถานีเตาปูน วงเงินลงทุน 693 ล้านบาท ระยะเวลา 15 เดือน บริหารการเดินรถ 24 เดือน หรือ 2 ปี วงเงินค่าจ้างปีละ 52 ล้านบาท ซึ่งประเมินว่าในช่วง 2 ปีการพิจารณาผู้เดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะชัดเจน

สำหรับการเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายนั้น ผู้เดินรถจะต้องรับงานระบบและการเดินรถ 1 สถานีไปด้วย ซึ่งหากใช้การเจรจาตรงกับ BEM จะทำให้ผู้เดินรถทั้งสายเฉลิมรัชมงคล และช่วง 1 สถานี และส่วนต่อขยายเป็นรายเดียวกัน จะมีความสะดวกสำหรับการเดินรถต่อเนื่อง แต่หากเปิดประมูลและได้ผู้เดินรถรายใหม่ ทาง BEM พร้อมโอนระบบให้และรับค่าลงทุนคืน ขณะที่ระบบอาณัติสัญญาณของส่วนต่อขยายจะเป็นอีกระบบ ซึ่งการเชื่อมต่อกับ 1 สถานีจะต้องมีค่าใช้จ่ายและมีความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดพลาดของการสื่อสารที่เป็นคนละระบบ และหากเกิดปัญหาจะกระทบการบริการอย่างมาก ซึ่ง รฟม.จะแจ้งข้อมูลทางเทคนิคทั้งหมดให้คณะ กก.มาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ทราบ เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดเงื่อนไขในการคัดเลือกผู้เดินรถส่วนต่อขยายต่อไป

ด้าน พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. กล่าวว่า ขณะนี้กังวลเรื่องเดินรถส่วนน้ำเงินต่อขยายเพราะงานโยธาคืบหน้าไป 70% แล้ว คาดว่าจะเสร็จปลายปี 61 แล้วด้ผู้เดินรถเลย จะไม่เสียค่าบำรุงรักษา (Care of Work) ซึ่งมีบทเรียนจากสายสีม่วงที่สร้างเสร็จแล้วไม่มีรถวิ่งทันที ประชาชนเสียโอกาส ดังนั้นจึงอยากให้หาข้อยุติผู้เดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายและเซ็นสัญญาภายในปีนี้ เพราะหลังจากนั้นต้องใช้เวลาอีก 36 เดือนกว่าจะเดินรถได้ หากปีนี้ไม่จบต้องมีค่าเสียเวลาแน่นอน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 142, 143, 144 ... 228, 229, 230  Next
Page 143 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©