Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181439
ทั้งหมด:13492677
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

รวมข่าวรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคตตามนโยบายรัฐบาล
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 127, 128, 129 ... 277, 278, 279  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/02/2016 2:55 am    Post subject: Reply with quote

เส้นทางรถไฟฟ้าผ่านไม่ต้องมีที่จอดรถบีบใช้รถขนส่งสาธารณะ
เดลินิวส์
วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 9:50 น.

เส้นทางรถไฟฟ้าผ่านไม่ต้องมีที่จอดรถบีบใช้รถขนส่งสาธารณะ อาคารไม่ต้องมีที่จอดรถกทม.เล็งออกกฎคุมตลอดแนวรถไฟฟ้าบีบให้ใช้ระบบขนส่งมวลชนแก้รถติด

รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร (กทม.)อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดการควบคุมที่จอดรถยนต์ (Off-street Parking Control) หรือการจัดช่องจอดรถซึ่งแยกอยู่นอกตัวอาคารหรือนอกเขตทาง ซึ่งเป็นมาตรการเชิงลบที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในต่างประเทศ เนื่องจากเป็นมาตรการที่ใช้เพื่อการแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองที่กำลังมีการปรับเปลี่ยนจากการคมนาคมขนส่งที่ใช้รถยนต์เป็นหลักมาเป็นการใช้ระบบขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งจะบังคับให้อาคารมีที่จอดรถในปริมาณที่สอดคล้องกับผู้ใช้บริการและพื้นที่ที่มีการบริการของระบบขนส่งมวลชน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น เพราะหาที่จอดยากมากขึ้น ซึ่งเมื่อทำการศึกษาเรียบร้อยแล้ว กทม.จะเปิดผลการศึกษาเพื่อรับฟังความคิดเห็นอีกครั้ง ก่อนออกเป็นกฎหมาย โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน ก.พ. 2557 กทม. ได้จัดระดมความคิดเห็นมาตรการ “ควบคุมที่จอดรถยนต์ (Parking Control)” เพื่อศึกษาและพัฒนามาตรการ กลไก และเครื่องมือทางผังเมืองเพื่อควบคุมที่จอดรถยนต์ ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งทางผังเมืองในการแก้ไขปัญหาการจราจรและจัดการจราจรให้เป็นระเบียบเรียบร้อย โดยในต่างประเทศเริ่มมีการใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองที่เน้นการขนส่งด้วยระบบขนส่งมวลชนทางราง เพื่อให้สิ่งแวดล้อมของเมืองน่าอยู่และประหยัดพลังงาน ซึ่งจะนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ดำเนินการร่วมกัน ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวถือเป็นการควบคุมพื้นที่จอดรถที่แตกต่างจากในอดีต ที่มีการกำหนดให้มีที่จอดรถให้เพียงพอ ดังจะเห็นได้จากที่กฎหมายที่มีการบังคับใช้มาก่อนหน้านี้ อาทิ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง อาคารจอดรถยนต์ พ.ศ.2521 และล่าสุดคือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 โดยระบุในหมวดที่ 9 กำหนดให้มีอาคารจอดรถ ที่จอดรถ ที่กลับรถ และทางเข้าออกของรถ ในอาคาร 18 ประเภท ซึ่งได้แก่ โรงมหรสพ โรงแรม อาคารที่อยู่อาศัยรวมหรืออาคารชุด ภัตตาคาร อาคารสรรพสินค้า สำนักงาน ตลาด โรงงาน คลังสินค้า อาคารเก็บของ ตึกแถว สถานพยาบาล สถานศึกษา สถานบริการ อาคารแสดงสินค้า อาคารขนาดใหญ่ ห้องโถง และอาคารพาณิชย์ ต้องจัดให้มีที่จอดรถยนต์ตามเกณฑ์ที่ได้กำหนด ส่วนในพื้นที่ต่างจังหวัดก็มีการออกข้อกำหนดให้อาคารต่างๆต้องมีที่จอดรถให้เพียงพอด้วยเช่นกัน โดยบังคับในอาคาร 8 ประเภท.“
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2016 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมผุดแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะ 2 ต่อโครงข่ายเชื่อมจังหวัดรอบ กทม.
โดย MGR Online 10 กุมภาพันธ์ 2559 17:45 น. (แก้ไขล่าสุด 10 กุมภาพันธ์ 2559 18:13 น.)

“คมนาคม” เตรียมจ้างที่ปรึกษาเพืิ่อศึกษาและออกแบบ “แผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะ 2” เน้นวางโครงข่ายเป็นใยแมงมุมและต่อเชื่อมเส้นทางเดิมออกไปยังเมืองบริเวารโดยรอบ กทม. ทั้ง อยุธยา, ฉะเชิงเทรา, นครปฐม, สมุทรสาคร ดึงที่พักอาศัย กระจายออกนอก กทม. ลดแออัดในเขตเมือง พร้อมสร้างจุดเชื่อมต่อย่อยระหว่างรถไฟฟ้าแต่ละสายเพื่อย่นระยะเวลาเดินทาง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมกำหนดกรอบแนวคิด ในการจัดทำแผนแม่บทรถไฟฟ้า ระยะ 2 ว่าสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ตั้งงบประมาณปี 2560 เพื่อว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและออกแบบโครงข่ายแล้ว โดยจะทำให้รถไฟฟ้าสายทางต่างๆ เชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายใยแมงมุม เพิ่มทางเลือกในการเดินทาง และทำจุดเชื่อมต่อของระบบรถไฟฟ้าในแต่ละสายเพิ่มเติม จากโครงการในแผนแม่บทระยะแรกที่มีจุดเซ็นเตอร์ที่สยาม และบางซื่อ โดยจะต้องวิเคราะห์ความหนาแน่นของประชากรและความต้องการในการเดินทางการเชื่อมต่อในแต่ละพื้นที่ ซึ่งแผนแม่บทระยะที่ 2 นี้จะเป็นแนวทางในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสำหรับให้รัฐบาลชุดต่อๆ ไปใช้เป็นแนวทาวปฎิบัติได้ ดังนั้นจะต้องศึกษาและวางโครงข่ายให้ดี ไม่ให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวไปมาเหมือนที่ผ่านมาซึ่งทำให้โครงการล่าช้า

โดยกรอบแนวคิดแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ประกอบด้วย
1. โครงข่ายจะต้องเชื่อมต่อไปยังเมืองรอบนอกกรุงเทพฯ เพื่อกระจายที่อยู่อาศัยออกไปด้วย ซึ่งจะเป็นการวางโครงข่ายไปด้านเหนือถึงพระนครศรีอยุธยา ด้านตะวันออกถึงฉะเชิงเทรา ด้านใต้ ถึงสมุทรสาคร และนครปฐม และสมุทรปราการ โดยให้สามารถเดินทางเข้า กทม.ได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมง
2. โครงข่ายจะต้องเชื่อมต่อรถไฟฟ้าใน กทม.กับรถไฟชานเมือง
3. โครงข่ายจะต้องเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าในเมืองกับรถไฟระหว่างเมือง ทั้งรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง และเชื่อมไปยังถนนวงแหวนรอบนอก
4. มีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างประโยชน์จากพื้นที่ตามแนวเส้นทาง
5. ใช้ประโยชน์ศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) ร่วมกัน เพื่อลดต้นทุนค่าก่อสร้าง เช่น สายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ จะไม่มีเดปโป้ที่ปลายทางราษฎร์บูรณะ โดยให้ใช้เดปโป้คลองบางไผ่ร่วมกับรถไฟฟ้าสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งการเดินรถจะเป็น รูปแบบ PPP-Gross Cost หรือจ้างบริหารเดินรถ รัฐเป็นเจ้าของ สามารถจัดสรรการใช้รางและระบบอาณัติสัญญาณร่วมกันหลายรายได้
6. ใช้วัสดุที่ผลิตภายในประเทศ (Local Content) ให้มากที่สุด ทั้งสถานีและตัวรถไฟฟ้า ลดการออกแบบที่หรูหราฟุ่มเฟือย ใช้วัสดุที่เหมาะสมและจำเป็น แต่จะต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าในแผนแม่บทระยะที่ 1 จำนวน 10 สาย จะดำเนินการก่อสร้างและประกวดราคาได้หมดภายในรัฐบาลชุดนี้ โดยยังเหลือสายสีส้ม ส่วนตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 21.2 กม. วงเงิน 95,108 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับลดวงเงินค่าก่อสร้าง ,สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 56,690.99 ล้านบาท และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กม. วงเงิน 54,644 ล้านบาท เสนอคณะไปยังคณะกรรมการ PPP เพื่อเข้า PPP Fast track แล้ว, สายสีส้ม ด้านตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม ระยะทาง 17.5 กม.อยู่ในขั้นตอนการเสนอผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

ส่วนสายสีเขียวจะมีการเสนอเพื่อต่อขยายส่วนเหนืออีก 4 สถานี จากคูคต-ลำลูกกา ระยะทาง 7 กม. และส่วนใต้อีก 4 สถานี จากสมุทรปราการ-บางปู ระยะทาง 7 กม. ส่วนสายสีแดง จากหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัยระยะทาง 38 กม.นั้น เนื่องจากติดปัญหาไม่ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนจึงให้พับแผนไว้ก่อน

สำหรับรถไฟฟ้าสายสีทอง และสีเทา ที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ดำเนินการศึกษานั้น ขณะนี้ได้ส่งเรื่องมาที่ สนข.แล้ว เพื่อรวบรวมเสนอที่ประชุม คจร.รับทราบว่า กทม.ได้ศึกษา 2 เส้นทางนี้ แต่จะได้รับการบรรจุไว้ในแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาในภาพรวมว่าสายสีเทาและสีทองที่ กทม.ศึกษา มีการเชื่อมโยงกับเส้นทางอื่นเป็นโครงข่ายหรือไม่ และการลงทุนมีความคุ้มค่าหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/02/2016 4:32 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดโลกลานเกียร์ จัดส้มมนาในห้วข้อเรื่อง "แนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตรถไฟฟ้า­ขนส่งมวลชนและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง"
ภายใต้การร่วมมือระหว่าง กระทรวงคมนาคม และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศสตร์และเทคโนโลยีแห่งช­าติ(สวทช)
ในวันศุกร์ที่ 22 มกราคม 2559 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น2 อาคารเจริญวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

Arrow https://www.youtube.com/playlist?list=PLmB7S3pD-s_zkyqWtESimfqTnnJeOcIRJ

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/02/2016 8:58 pm    Post subject: Reply with quote

"นายกฯ" แจงความคืบหน้ารถไฟฟ้า 10 เส้นทางในกทม.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 12 ก.พ. 2559 เวลา 20:50:01 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ออกอากาศวันที่ 12 กุมภาพันธ์ โดยนายกฯได้สรุปรายละเอียดรถไฟฟ้า 10 เส้นทางใน กทม. ดังนี้ สายสีม่วง บางใหญ่ – เตาปูน สร้างเสร็จแล้วจะทดลองเดินรถเต็มรูปแบบ พฤษภา 59 แล้วเปิดบริการ สิงหา 59 สายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และบางซื่อ – ท่าพระ ก่อสร้างไปแล้ว 70 % มีทั้งแบบใต้ดินและยกระดับ มีอุโมงค์ลอดแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งแรกของไทยจะเปิดให้บริการ เมษา 62 ตนไปดูแล้วการเจาะอุโมงค์นี่ มีความทันสมัยมาก

สายสีเขียว (ตอนใต้) ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ ก่อสร้างแล้ว 70 % จะเปิดให้บริการ ก.พ. 61 และส่วนต่อขยาย สายสีเขียว (ตอนเหนือ) ช่วงหมอชิต – คูคต ะเปิดให้บริการ ก.พ. 63 สายสีแดง ช่วงบางซื่อ – รังสิตก่อสร้างคืบหน้ากว่า 50 % จะเปิดให้บริการ กันยา 63

สายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ – พญาไท – มักกะสัน – หัวหมาก และสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ – หัวลำโพง ยังอยู่ระหว่างการศึกษาและการพิจารณาของ สศช.

สายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี ครม. มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อปลายปี 58 อยู่ระหว่างการจัดทำราคากลาง จะเริ่มประกวดราคา มกรา 59 เริ่มก่อสร้าง มีนา 60 มีแผนจะเปิดให้บริการปลายปี 63

สำหรับสายสีส้มจะเป็นโครงข่ายเส้นแรก เชื่อมแนวขวางของกรุงเทพฯ เรียกว่า East-West เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วเราสามารถจะใช้เส้นนี้เชื่อมโยงเข้ากับโครงการรถไฟฟ้าสายอื่น อีก 4 สาย ได้แก่สายสีแดง สีน้ำเงิน แอร์พอร์ตเรลลิงค์ นะครับ และสายสีชมพู จะสามารถรองรับผู้โดยสาร ราว 5 แสนคน/วันได้

สายสีชมพู มีนบุรี – แคราย และสายสีเหลือง ลาดพร้าว – สำโรง โดยสองสายนี้เป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว ซึ่งพยายามผลักดันให้เปิดบริการในปี 63 เป็นโครงการที่เอกชนร่วมทุนกับรัฐ กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ PPP

และสายส่วนต่อขยายสายสีม่วงลงทางใต้ เตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ผ่านเกาะรัตนโกสินทร์ชั้นใน สถานที่ท่องเที่ยว และสถานที่สำคัญ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการ EIA และเกาะรัตนโกสินทร์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/02/2016 9:38 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมชงครม.ขยายรถไฟฟ้าเพิ่ม6สายเชื่อมจังหวัดปริมณฑล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 15 ก.พ. 2559 เวลา 21:30:43 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ภายในรัฐบาลชุดนี้จะเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า 10 สายที่อยู่ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯและปริมณฑลระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จทั้งหมด ทั้งเปิดบริการ เริ่มก่อสร้างและขออนุมัติประกวดราคา ในปีนี้จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายอีก 6 สาย ได้แก่ 1.สีเขียวช่วงสมุทรปราการ-บางปู 7 กม. 4 สถานี 2.สีเขียวช่วงคูคต-ลำลูกกา 7 กม. 4 สถานี 3.น้ำเงินช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 ระยะทาง 7 กม. 4 สถานี 4.สีแดงเข้มช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ 10 กม. 4 สถานี 5.สีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน 14 กม. 13 สถานี 6.สีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ 23.6 กม. 17 สถานี

"ส่วนที่เหลือมีบางส่วนต้องชะลอโครงการ เช่น สายสีแดงเข้มช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย เพราะมีปัญหาประชาชนไม่เห็นด้วย ส่วนสายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียด เพื่อจะได้นำไปเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 รวมถึงรถไฟสายสีใหม่ ๆ เช่น สายสีน้ำตาลแคราย-มีนบุรี หรือสีทองอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานครด้วย"

สำหรับแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 ขณะนี้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กำลังจะจ้างที่ปรึกษามาดำเนินการวงเงิน 30 ล้านบาท จะแล้วเสร็จปี 2560-2561 เป็นแผนงานส่งต่อให้รัฐบาลชุดต่อไป จะกำหนดแผนการพัฒนาไว้ 10-20 ปีนับจากปี 2562

"แนวคิดให้มีเส้นทางเป็นวงแหวนเพื่อเชื่อมส่วนต่อที่ยังขาดการเชื่อมต่อให้สะดวกยิ่งขึ้น และต่อขยายจากเส้นทางเดิมให้เป็นขาใยแมงมุม เน้นเชื่อมกรุงเทพฯกับเมืองบริวาร เช่น พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ที่เป็นแหล่งอยู่อาศัยและอุตสาหกรรมเชื่อมกับรถไฟชานเมืองและรถไฟวิ่งระหว่างเมือง เช่น รถไฟทางคู่ ให้คนที่อยู่ชานเมืองใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 1 ชั่วโมงเข้ามาทำงานในเมืองได้ เป็นการกระจายความเจริญ การอยู่อาศัยและแหล่งงานออกไปนอกเมืองมากขึ้น"

พร้อมทั้งให้คำนึงถึงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ อาคารจอดรถตลอดแนวเส้นทาง และเน้นใช้วัสดุที่ผลิตในประเทศก่อสร้างตามนโยบายของรัฐบาล เช่น ภายในสถานีไม่ต้องใช้วัสดุก่อสร้างหรูหรา เช่น สีน้ำเงินเดิมปูผนังด้วยแกรนิต ให้เปลี่ยนใช้กระเบื้องแทน รวมถึงการกำหนดอาคารศูนย์ซ่อมบำรุง (ดีโป) ให้มีจุดเดียวใช้ร่วมกันได้ เพื่อประหยัดงบลงทุน ล่าสุดให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ลดขนาดดีโปสายสีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ใช้ร่วมกับดีโปที่สถานีคลองบางไผ่ของสายสีม่วง (เตาปูน-บางใหญ่)

สำหรับความคืบหน้ารถไฟฟ้ากำลังก่อสร้าง ประกอบด้วย สีม่วงเตรียมเปิดใช้อย่างเป็นทางการเดือน ส.ค.นี้ สายสีน้ำเงินต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) คืบหน้า 72.06% สายสีเขียวแบริ่ง-สมุทรปราการ คืบหน้า 77.25% และช่วงหมอชิต-คูคตคืบหน้า 3.20%

ส่วนสายใหม่สายสีส้มมีนบุรี-ศูนย์วัฒนธรรม กำลังปรับลดค่าก่อสร้าง ส่วนช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรี อยู่ในระหว่างทำความเข้าใจกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ขณะที่สายสีม่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ อยู่ระหว่างพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และเสนอคณะกรรมการจัดการระบบจราจรทางบก (คจร.) ให้พิจารณาเส้นทางเพิ่มขึ้น 5 กม. จากราษฎร์บูรณะ-วงแหวนรอบนอก และปรับลดขนาดดีโป

สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) และสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) เสนอคณะกรรมการ PPPอนุมัติเพราะโครงการอยู่ใน PPP Fast Track คาดว่าจะพิจารณาเดือน ก.พ.นี้ และต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท) กำลังปรับรายละเอียดโครงการ เนื่องจากต้องใช้รางร่วมกับรถไฟไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น จะแบ่งการก่อสร้างเป็นเฟส เริ่มจากช่วงพญาไท-บางซื่อก่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/02/2016 6:19 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวคลองสานไม่เอารถไฟฟ้าส่อเอื้อเอกชน
เดลินิวส์ วันพฤหัสที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 17:14 น.

ชาวคลองสานค้านสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง เหตุเอื้อเอกชน ไม่ใช่เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ด้านกทม.ยัน ไอคอนสยาม ยังสนันสนุนโครงการ พร้อมเดินหน้า คาดตามแผนเกิดได้ปี 61

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 18ก.พ. ที่โรงแรมมิลเลนเนียม ฮิลตัน เขตคลองสาน นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร(กทม.) เป็นประธานการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการศึกษาความเหมาะสม โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง

นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า พื้นที่ย่านฝั่งธนบุรี เป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาที่อยู่อาศัยจำนวนมาก มีประชาชนเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรในพื้นที่ โดยพื้นที่ในเขตคลองสานและเขตธนบุรีปัจจุบันมีปริมาณจราจรโครงข่ายในพื้นที่สูงถึง 220,000 คันต่อวัน ซึ่งพื้นที่ถนนเจริญนคร เป็นพื้นที่หนึ่ง ที่มีการพัฒนาที่อยู่อาศัย และอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ปัจจุบันถนนเจริญนคร มีปริมาณรถหนาแน่น กว่า 7,000 คัน ต่อชั่วโมง ในขณะที่ถนนนั้นสามารถรองรับรถได้เพียง 6,700 คันต่อชั่วโมงเท่านั้น จึงส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด และเมื่อมีการพัฒนาที่อยู่อาศัย อีกทั้งจะเกิดศูนย์การค้าขนาดใหญ่ จะมีประชาขนเข้าสู่พื้นที่มากยิ่งขึ้น ปัญหาการจราจรบนถนนดังกล่าว ก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กทม.ได้ทำการศึกษาแนวทางเพิ่มระบบขนส่วนมวลชนระบบรอง เพื่อเชื่อมต่อกับระบบหลักคือรถไฟฟ้าสายสีเขียว และรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่กำลังจะแล้วเสร็จ เพื่อเป็นการรองรับการเติบโตของประชาชนและเมือง ลดปัญหาการจราจร โดยเรียกว่าระบบรถไฟฟ้าสายสีทอง

นายทวีศักดิ์กล่าวต่อว่า รถไฟฟ้าสายสีทองจะเป็นรถไฟฟ้าสายรอง ในรูปแบบเบาหรือโมโนเรล ซึ่งจะก่อสร้างในพื้นที่เกาะกลางถนน จึงไม่มีการเวนคืนพื้นที่จากประชาชนในการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ ตามที่กทม.ได้รับการประสานจากภาคเอกชนคือกลุ่มบริษัทไอคอนสยาม ซึ่งกำลังก่อสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ในพื้นที่ จึงจะสนับสนุนการก่อสร้างโครงการดังกล่าวนั้น ขณะนี้ทางกลุ่มบริษัทไอคอนสยาม ก็ยังคงยืนยันที่จะให้การสนับสนุนโครงการเช่นเดิม แต่การสนับสนุนโครงการจะเป็นไปในรูปแบบใดนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษาแนวทางในการลงทุนโครงการ ซึ่งจะได้ผลการศึกษาที่แน่ชัดในปลายเดือนมี.ค.นี้

ทั้งนี้ แนวเส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง จะเริ่มจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสกรุงธนบุรี วิ่งไปตามเกาะกลางถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร ข้ามแยกคลองสาน เข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านหน้าโรงพยาบาลตากสิน และสิ้นสุดระยะที่บริเวณจุดตัดกับถนนประชาธิปกโดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกจะมี 3 สถานี ได้แก่
1.สถานนีบริเวณบีทีเอสกรุงธนบุรี
2.สถานีบริเวณถนนเจริญนคร และ
3.สถานีบริเวณโรงพยาบาลตากสิน
ซึ่งจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 2,000ล้านบาท โดยคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี 2561 นี้ ส่วนในระยะที่ 2 มี การก่อสร้างต่อเนื่องไปจนถึงวัดอนงคาราม และก่อสร้างไปเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงในแนวถนนประชาธิปก ซึ่งจะมีการพิจารณาโครงการต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมรับฟังความคิดเห็นประชาชนนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ต่างแสดงความคิดเห็นเป็นกังวลถึงโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีทอง เนื่องจากอาจเป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชน รวมทั้งกังวลเรื่องมลพิษขณะก่อสร้าง อีกทั้งปัญหาผลกระทบเมื่อโครงการเกิดขึ้นจะส่งผลต่อกายภาพของถนนในบริเวณดังกล่าวที่ค่อนข้างแคบ อีกทั้งในบริเวณนี้ยังเป็นย่านพื้นที่เก่าแก่มีวิถีชุมชนดั้งเดิม โดยนายดนัย จิรดี หนึ่งในประชาชนที่ร่วมแสดงความคิดเห็น กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นโครงการที่กทม.อ้างว่า อยู่ในแผนแม่บทของกทม. มาเป็นเวลานานแล้ว โดยทำการศึกษามาตั้งแต่ ปี2552 แต่ในแผนแม่บทผังเมือง กลับไม่มีโครงการดังกล่าวปรากฎอยู่แต่อย่างใด จึงอย่างให้กทม.ชี้แจงว่า รถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อผลประโยนช์ของภาคเอกชน ไม่ใช่เพื่อประชาชนอย่างแท้จริงใช่หรือไม่ อีกทั้งระยะห่างจากสถานีในเส้นทางสายสีทองระยะแรก มีการกำหนดไม่เหมาะสม มีการกำหนดสถานีเอื้อต่อพื้นที่ของเอกชน แต่ละสถานีมีระยะที่ไม่เหมาะสม โดยสถานีที่สองบริเวณถนนเจริญนคร และสถานีที่สามบริเวณโรงพยาบาลตากสิน มีระยะห่างเพียง 200 เมตร เท่านั้น นอกจากนี้ในแนวถนนเส้นทางรถไฟฟ้า เป็นถนนที่มีขนาดเล็ก อาทิ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา มีความกว้างเพียง 4ช่องจราจรไปกลับ การก่อสร้างรถไฟฟ้า จะส่งผลให้เส้นทางแคบลง และอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างมาก ดังนั้นหากกทม.ตั้งใจจะดำเนินโครงการดังกล่าว ภาคประชาชนชาวคลองสานเสนอให้ทำเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินจะเหมาะสมที่สุด

ทั้งนี้สำหรับรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายดังกล่าว เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-เขตคลองสาน-ประชาธิปก) เชื่อมต่อ ระบบการเดินทางด้วย รถ ราง เรือ ได้แก่ การเชื่อมต่อรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่ทั้งหมด 3 สายทาง ประกอบด้วย
รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า (เปิดให้บริการแล้ว)
รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2565)
รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย (คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการปี 2566)

นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อระบบรองอื่นๆ ได้แก่ เรือด่วนเจ้าพระยา เรือข้ามฟาก และรถโดยสารประจำทาง เส้นทางโครงการ ระยะทาง 2.7 กิโลเมตร 4 สถานี

แนวเส้นทางโครงการที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้า BTS กรุงธนบุรี ผ่านแยกคลองสาน ไปยังถนนประชาธิปก ระยะทาง 2.7 กิโลเมตร ประกอบด้วย 4 สถานี โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร มี 3 สถานี เริ่มต้นจากสถานีกรุงธนบุรี (G1) ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายกรุงธนบุรี โดยแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออก บนเกาะกลางถนนกรุงธนบุรี แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเจริญนคร จากนั้นมุ่งหน้าเข้าสู่สถานีเจริญนคร (G2) ตั้งอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองวัดทองเพลง แล้วมุ่งหน้าต่อไปยังแยกคลองสาน เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา โดยแนวเส้นทางจะเบี่ยงไปอยู่เหนือแนวทางเดินเท้าด้านซ้ายฝั่งคลองสมเด็จเจ้า พระยา เข้าสู่สถานีคลองสาน (G3) ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเยื้องกับโรงพยาบาลตากสิน โดยมีทางเดิน (Sky walk) เพื่อให้สามารถเดินทางเข้าสู่โรงพยาบาลตากสินได้โดยตรง และในอนาคตสถานีคลองสาน (G3) จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย

ส่วนระยะที่ 2 ระยะทาง 0.9 กิโลเมตร มี 1 สถานี เริ่มต้นจากสถานีคลองสาน (G3) มุ่งหน้าต่อไปตามแนวทางเดินเท้าของถนนสมเด็จเจ้าพระยา จนไปถึงสถานีประชาธิปก (G4) ตั้งอยู่บริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 8 ซึ่งในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ คาดมีผู้ใช้บริการในระยะที่ 1 ในปี 2561 ประมาณ 47,300 เที่ยวคน/วัน และในระยะที่ 2 ในปี 2566 ประมาณ 81,800 เที่ยวคน/วัน

สำหรับผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจพบว่ามีความเหมาะสมในการลงทุน โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) ร้อยละ 28.5 มูลค่าการลงทุน 3,845.70 ล้านบาท แบ่งเป็น
ระยะที่ 1 มูลค่าการลงทุน 2,512.60 ล้านบาท
ระยะที่ 2 มูลค่าการลงทุน 1,333.11 ล้านบาท

โดยคาดว่าเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2561 จะประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและประหยัดเวลาในการเดินทาง มูลค่าประมาณ 830 ล้านบาท/ปี และเพิ่มขึ้นเป็น 2,417 ล้านบาท/ปี ในปี 2581 โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการในระยะที่ 1 ในปี 2561 ประมาณ 47,300 เที่ยวคน/วัน และในระยะที่ 2 ในปี 2566 ประมาณ 81,800 เที่ยวคน/วัน นอกจากนี้ในอนาคต (พ.ศ.2579) คาดว่าจะมีปริมาณผู้ใช้บริการรวมในโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร ประมาณ 7,680,000 เที่ยวคน/วัน ใช้ระบบรถไฟฟ้าขนาดรอง ไม่ต้องเวนคืน ก่อสร้างได้ง่าย ปลอดภัยและความคล่องตัวสูง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/02/2016 1:37 pm    Post subject: Reply with quote

การเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้า ลงทุนอีกสักนิด เพื่อคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 20 กุมภาพันธ์ 2559

ปัจจุบันโครงข่ายรถไฟฟ้านับว่ามีบทบาทอย่างมากสำหรับการเดินทาง เพราะสามารถรองรับผู้โดยสารจำนวนมาก และเข้าถึงจุดต่างๆ ทั้งในเมือง และเชื่อมต่อไปยังสถานีที่มีโครงข่ายเชื่อมต่อระหว่างเมืองได้ โดยการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าจะต้องเดินทางผสมผสานกับรูปแบบอื่นๆ (mixed-mode commuting) เช่น รถเมล์ รถจักรยาน รถแท็กซี่ รถยนต์ส่วนตัว ฯลฯ

การเดินทางเชื่อมต่อกันให้มีประสิทธิภาพที่ดีนั้นจำเป็นต้องออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับ เพื่อให้ผู้เดินทางสามารถเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และประหยัด เป้าหมายหลักที่สำคัญของการพัฒนาการเชื่อมต่อการเดินทางให้สะดวก ก็เพื่อให้ผู้เดินทางลดการเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว (private car) ให้หันมานิยมเดินทางโดยรถขนส่งสาธารณะ (mass transit) ให้มากขึ้นนั่นเองสำหรับสัดส่วนของค่าลงทุนการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกนี้น้อยมากเมื่อเทียบกับค่าลงทุนก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการเดินทางเชื่อมต่อให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางต่อเนื่องไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างสะดวก

โดยสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่ต้องมีสำหรับผู้เดินทาง ได้แก่ แผนที่ แสดงทิศทางเพื่อไปจุดที่สำคัญๆ ได้แก่ โรงแรม ป้ายรถเมล์ จุดจอดรถแท็กซี่ จุดให้บริการข้อมูล ป้ายบอกเส้นทาง เป็นการให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้เดินทางสามารถเดินไปเชื่อมต่อการเดินทางได้สะดวก การให้บริการข้อมูล (Information service) เนื่องจากในบางสถานีที่มีนักท่องเที่ยวหรือคนต่างถิ่นจำนวนมาก อาจจัดเตรียมจุดบริการให้ข้อมูล ข้อมูลที่จำเป็น ได้แก่ การแนะนำสถานที่ที่สำคัญต่างๆ ของเมือง จุดน่าสนใจ สถานที่ท่องเที่ยว โรงแรม ลิฟต์ ราวจับยึด เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ทุพพลภาพที่จะเดินก้าวขึ้น-ลงต่างระดับ อุปกรณ์เสริมการเดินทางสำหรับผู้พิการทางสายตา แผ่นพื้นกระเบื้องสีเหลืองมีปุ่มนูน เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญให้ผู้พิการทางสายตาใช้ไม้เท้าคลำเพื่อช่วยนำทาง

ส่วน อักษรเบรลล์ (braille) เป็นอักษรที่ใช้คลำเพื่อสื่อภาษา จะใช้ในบางจุด เช่น ลิฟต์ จุดบริการอาหารและเครื่องดื่ม (kiosk) จุดบริการอาหาร เครื่องดื่ม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เดินทางที่ต้องการหยุดพักระหว่างเดินทาง นอกจากนี้ผู้เดินทางยังอาจต้องการซื้อสิ่งของอื่นๆ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ จุดรับฝากสัมภาระ ผู้เดินทางอาจจำเป็นต้องฝากสัมภาระ สิ่งของไว้ที่สถานี เพื่อความคล่องตัวในการเดินทางเพื่อไปประกอบกิจธุระแล้วกลับมาที่สถานีอีก

การเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน

การเดินทางเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้ากับระบบขนส่งมวลชน (mass transit) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางที่สำคัญ ซึ่งระบบขนส่งมวลชนอาจจะเป็นรถไฟฟ้า หรือรถเมล์ เราควรส่งเสริมการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางประเภทนี้มากที่สุด เพราะเป็นระบบที่รองรับผู้โดยสารจำนวนมาก หากมีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับให้ผู้โดยสารอย่างพอเพียงแล้ว จะช่วยให้ผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายรถได้รวดเร็ว การไหลของผู้โดยสารคล่องตัวจะช่วยลดความแออัดที่สถานี

สิ่งอำนวยความสะดวกที่ควรจัดเตรียมเพื่อการเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารกับระบบขนส่งมวลชน ได้แก่ ระยะการเดิน เพื่อต่อรถโดยสารต้องไม่ไกลมากนัก หากรถโดยสารที่ต้องการเปลี่ยนถ่ายอยู่บนชานชาลาเดียวกันกับรถไฟฟ้าที่โดยสารมาก็จะสะดวกมากที่สุด ในกรณีที่สถานีรถโดยสารอยู่ห่างออกไปก็ต้องออกแบบทางเดินเชื่อมต่อรองรับผู้โดยสารให้สามารถเดินได้สะดวก อาจจำเป็นต้องใช้ทางเดินอัตโนมัติ (moving walkway) หรือจัดรถรับ-ส่ง (shuttle bus) หากมีระยะทางไกลมาก เส้นทางเดินรถ ควรเพิ่มเส้นทางเดินรถเมล์ (feeder bus) โดยเฉพาะแนวเส้นทางเดินรถที่ตั้งฉากกับแนวเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสถานีกับชุมชนที่อยู่ห่างจากสถานี ให้สามารถเดินทางได้สะดวกตารางเวลาเดินรถ ตารางเวลาเดินรถที่สอดรับกัน จะไม่ทำให้ผู้โดยสารต้องเสียเวลารอรถนาน หรือรถที่มารอหยุดรับผู้โดยสารเสียเวลาหยุดรอที่สถานีนาน

ในกรณีรถขนส่งมวลชนที่มาเชื่อมต่อมีความถี่มาก อาจไม่จำเป็นต้องมีตารางเวลา ป้ายรถเมล์หรือสถานีจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร สถานีหรือป้ายจอดรถโดยสารต้องชัดเจน และไม่กีดขวางการจราจร ระบบตั๋วค่าโดยสาร ระบบตั๋วโดยสารต่อเนื่องใช้ตั๋วใบเดียว หรือใช้ระบบการ์ดอิเล็กทรอนิกส์ใบเดียวใช้ร่วมกันทั้งระบบรถไฟฟ้าและรถขนส่งมวลชนที่มาเชื่อมต่อ จะช่วยให้ผู้โดยสารไม่ต้องเสียเวลาชำระค่าโดยสารหลายครั้ง

จุดที่ควรออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง เชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าและระบบรถขนส่งมวลชน เช่น จัดรถบริการเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส ที่สถานีสวนจตุจักร กับรถ บขส. ที่สถานีขนส่งสายเหนือ (หมอชิตใหม่) ออกแบบทางเดินเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีเพชรบุรี กับการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ที่สถานีมักกะสันเพื่อเดินทางต่อไปยังสนามบินสุวรรณภูมิคราวหน้าอย่าลืมติดตามเรื่อง การเชื่อมต่อกับโครงข่ายทางจักรยาน-รถยนต์ส่วนตัว ว่าควรจะออกแบบมาอย่างไรจึงจะเหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้ใช้บริการในปัจจุบันเพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นอีกเมืองที่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปสามารถใช้เส้นทางจักรยานได้อย่างปลอดภัย สะดวกสบาย นั่นเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,132 วันที่ 18 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/02/2016 12:44 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ชาวคลองสานไม่เอารถไฟฟ้าส่อเอื้อเอกชน
เดลินิวส์ วันพฤหัสที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 17:14 น.


สร้างแน่”สายสีทอง”ยันใช้เงินเอกชนไม่ใช้”งบหลวง”
เดลินิวส์
วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 08.04 น.

รายงานข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.)แจ้งว่า จาก กทม.ได้จัดประชุม รับฟังความคิดเห็นของประชาชน โครงการศึกษาความเหมาะสม โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง เมื่อวันที่ 18 ก.พ.59 ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมรถไฟฟ้าบีทีเอส (สายสีเขียว) เริ่มจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสกรุงธนบุรี วิ่งไปตามเกาะกลางถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร ข้ามแยกคลองสาน เข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านหน้าโรงพยาบาลตากสิน และสิ้นสุดระยะที่บริเวณจุดตัดกับถนนประชาธิปกโดยการศึกษาดำเนินการในระยะแรก3 สถานี ได้แก่ 1.สถานีบีทีเอสกรุงธนบุรี 2.สถานีบริเวณถนนเจริญนคร และ3.สถานีบริเวณโรงพยาบาลตากสิน ซึ่งใช้ก่อสร้างประมาณ 2,000ล้านบาท โดยมีบริษัทเอกชนเจ้าของโครงการดิไอคอนสยามให้การสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง โดยในการับฟังความคิดเห็นในที่ประชุมที่ผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับโครงการเนื่องจากเกรงผลกระทบต่างๆ นั้นปรากฎว่า จากผลตอบแบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม 350 คน มีผู้ที่ตอบแบบสอบถาม ประมาณ 300 คน โดย 230 คนต้องการใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีทอง คิดเป็น 76% ยังไม่ตัดสินใจ 50 คน คิดเป็น 16% และไม่ใช้รถไฟฟ้าสายสีทอง 20 คน คิดเป็น 7% นอกจากนี้ความกังวลของประชาชน ได้แก่ เกรงผลกระทบเรื่องสิ่งแวดล้อมในระหว่างการก่อสร้าง ฝุ่นละออง เสียง การจราจรติดขัด โดยมีข้อเสนอแนะว่าสถานีที่2ที่ใกล้กันเกินไประยะทางเพียง 200 เมตรนั้น แนะให้สร้างเป็นสกายวอลก์แทนสร้างสถานีจะประหยัดงบประมาณได้ ความกังวลเรื่องถนนที่จะทำการก่อสร้างโดยใช้เกาะกลางและทางเท้านั้นจะทำให้ถนนแคบลง ข้อกังวลต่อสภาพวิถีชีวิตที่จะเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นย่านเมืองเก่าเขตคลองสาน เสนอให้หาจุดจอดรถบัส และขอให้การก่อสร้างโครงการเป็นประโยชน์กับคนในชุมชนมากกว่าผู้ที่เข้ามาอยู่ใหม่ ทั้งนี้ทางบริษัทที่ปรึกษาจะนำไปวิเคราะห์และรายงานให้ผู้บริหารกทม.ที่เกี่ยวข้องพิจารณาตามลำดับ สำหรับในส่วนของแผนการดำเนินการที่จะงบประมาณจากภาคเอกชนที่แสดงความจำนงจะให้การสนับสนุนนั้นได้มอบหมายให้บริษัท กรุงเทพธนาคม (เคที) วิสาหกิจของกทม. ไปพิจารณาแนวทางมาเสนอ

ด้านนายมานิต เตชอภิโชค กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม กล่าวว่า สำหรับแนวทางดำเนินโครงการซึ่งจะใช้งบจากภาคเอกชนนั้น ตนยืนยันว่าโครงการระบบขนส่งมวลชนที่เกิดขึ้นจะเป็นประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ และส่งเสริมการพัฒนาเมือง ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ โดยที่ลดภาระการลงทุนของท้องถิ่นและของภาครัฐลงได้ โครงการนี้กทม.จะไม่เสียประโยชน์อย่างแน่นอน ทั้งนี้เตรียมจะเสนอรูปแบบการลงทุนไปยังผู้บริหารกทม.ภายในเดือนมี.ค.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 24/02/2016 10:18 pm    Post subject: Reply with quote

ทำเป็นอุโมงค์ตั้งแต่หัวลำโพงจนเลยโค้งสถานีตลาดพลูแล้วเป็นท้องร่องจากบางสะแกไปโผล่ที่คลองต้นไทรเลยครับ

ถึงจะโผล่ที่ตลาดพลู ก็เจอถนนรัชดาภิเษกอยู่ดี หรือก่อนถึงคลองต้นไทรก็มีถนนราชพฤกษ์อีก
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/02/2016 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐดึงเอกชนลงทุนร่วม30ปี อนุมัติสร้าง "โมโนเรล" สายสีชมพู-เหลือง1.1แสนล้านบาท
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 29 ก.พ. 2559 เวลา 12:58:00 น.

วันนี้ (29 ก.พ.) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ทั้งการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (sola farm), โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง, โครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพูช่วงแคราย-มีนบุรีและสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง

ซึ่งภายหลังการประชุม นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงิน 56,691 ล้านบาท และสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงิน 54,644 ล้านบาท โดยเป็นรถไฟฟ้าระบบโมโนเรล (Monarail) ซึ่งรัฐจะรับผิดชอบค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและให้เอกชนร่วมลงทุนค่างานโยธา ระบบไฟฟ้า ค่าจ้างต่างๆ การบริหารการเดินรถและการซ่อมบำรุง รวมถึงจัดค่าโดยสารและรับความเสี่ยงในด้านจำนวนผู้โดยสาร โดยให้เอกชนร่วมลงทุนเป็นระยะเวลาถึง 30 ปี เพื่อเป็นการดึงดูดภาคเอกชนมาร่วมลงทุน จึงกำหนดให้สนับสนุนเงินแก่เอกชนโดยไม่เกินมูลค่างานโยธา พร้อมมอบให้ รฟม.ปรับกรอบวงเงินให้เหมาะสมเพื่อลดภาระเงินสนับสนุนของรัฐ ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมีนาคมนี้

นอกจากนี้ ยังมีการติดตามความคืบหน้า 3 โครงการ พีพีพี ฟาสแท็ก (PPP Fast track) คือโครงรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ และโครงการมอเตอร์เวย์สายปางประอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี โดยคณะกรรมการ พีพีพี เร่งพิจารณาให้เร็วขึ้น ขณะเดียวกันยังมีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการโรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และโรงงานขยะขนาดเล็ก โดยทำให้ขั้นตอนมีความกระชัยและชัดเจนมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 127, 128, 129 ... 277, 278, 279  Next
Page 128 of 279

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©