Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263283
ทั้งหมด:13574566
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

อนาคตระบบรถไฟฟ้า กทม. คาด ผู้ว่าฯ เลือก Mono Rail
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 31, 32, 33  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/04/2016 9:59 am    Post subject: Reply with quote


วิดีโอรถไฟฟ้าสายสีเทา
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=vZxWuzIz2Zw
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 20/04/2016 9:11 pm    Post subject: Reply with quote

ใกล้เป็นจริงรถไฟฟ้าสายสีทอง"ไอคอนสยาม-กทม."แจ้งเกิดโครงการเฟสแรก"กรุงธนบุรี-ประชาธิปก"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
20 เมษายน 2559 เวลา 20:00:42 น.

ใกล้เป็นจริงรถไฟฟ้าสายสีทอง "กทม.-ไอคอนสยาม" แมตชิ่งธุรกิจ แจ้งเกิดโครงการเฟสแรก "กรุงธนบุรี-ประชาธิปก" จ้างกรุงเทพธนาคม-บีทีเอสก่อสร้างพ่วงเดินรถ วงเงินกว่า 2.5 พันล้าน งัด ม.44 ประมูลคู่ขนานขออีไอเอ เร่งตอกเข็มปลายปีนี้ เปิดใช้ปี′60 รองรับศูนย์การค้ายักษ์-หอชมเมือง-แหล่งท่องเที่ยวริมน้ำ

แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แผนการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองจากบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี-ถนนประชาธิปก) ระยะทาง 2.7 กม. มี 4 สถานี ใช้เงินลงทุนรวม 3,845.70 ล้านบาท จะเป็นการพัฒนารูปแบบแมตชิ่งธุรกิจระหว่างกลุ่มไอคอนสยามกับ กทม.พัฒนาโครงการระยะแรก ระยะทาง 1.8 กม. มี 3 สถานี เงินลงทุน 2,512 ล้านบาท จะทำให้โครงการเดินหน้าได้เร็วขึ้น เพราะไม่ต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ที่จะใช้เวลาร่วม 1 ปีกว่าจะได้รับการอนุมัติโครงการ

"วิธีการ คือ เอกชนคือกลุ่มไอคอนสยามจะสนับสนุนเงินลงทุนให้กว่า 2 พันล้านบาทให้ กทม.เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมดทั้งทำผลการศึกษาโครงการ ออกแบบและประมูลก่อสร้าง โดยจะจ้างกรุงเทพธนาคม รัฐวิสาหกิจของ กทม.เป็นผู้ดำเนินการ ส่วนการเดินรถ คาดว่าจะจ้างบีทีเอสเป็นผู้เดินรถให้ ส่วนกลุ่มไอคอนสยามนอกจากจะได้รถไฟฟ้าเพื่อรองรับการเดินทางคนเข้าไปในโครงการแล้ว ยังจะได้สิทธิ์พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และโฆษณาภายในสถานีและตัวรถไฟฟ้า ซึ่งจะแปลงรายได้ส่วนนี้มาเป็นการลงทุนงานโยธา"

นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและการขนส่ง (สจส.) กล่าวว่า ขณะนี้ผลการศึกษาโครงการเสร็จสมบูรณ์แล้ว เตรียมจะเสนอให้ผู้บริหาร กทม.รับทราบและเห็นชอบในเดือน เม.ย.นี้ ทั้งนี้หลังพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งใช้มาตรา 44 ในการดำเนินโครงการคู่ขนานกับรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA)

ล่าสุด กทม.ได้เตรียมจะนำใช้กับโครงการรถไฟฟ้าสายสีทองด้วย โดยระหว่างรอการอนุมัติอีไอเอจะเสนอโครงการให้กระทรวงมหาดไทยและคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้เร็วขึ้นอาจจะเริ่มได้ภายในปลายปีนี้ เพื่อให้แล้วเสร็จในปี 2560 หรืออย่างช้าในปี 2561

เนื่องจากโครงการมีระยะทางสั้นและเป็นรูปแบบรถไฟฟ้าโมโนเรล ทำให้การก่อสร้างไม่ยุ่งยากและไม่มีเวนคืนที่ดิน ขณะเดียวกัน กทม. ต้องหารือกระทรวงมหาดไทยขอยกเว้นพื้นที่รัศมี 25 ตร.กม.รอบเกาะรัตนโกสินทร์ เนื่องจากแนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ดังกล่าว

นายทวีศักดิ์กล่าวอีกว่า สำหรับการก่อสร้างและการเดินรถไฟฟ้าทางบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด รัฐวิสาหกิจของ กทม.มีความสนใจจะลงทุนโครงการเอง โดยใช้งบประมาณจากบริษัทและกลุ่มผู้สนับสนุน คือ กลุ่มไอคอนสยามที่สนใจจะลงทุนในเฟสแรก โดยเป็นการทำธุรกิจร่วมกันภายใต้กรอบโครงการที่ กทม.กำหนด ทำให้การลงทุนขนาดใหญ่เกิดขึ้นได้เร็วขึ้น

สำหรับแนวเส้นทางระยะแรก มีระยะทาง 1.8 กม. จำนวน 3 สถานี คือ 1.สถานีกรุงธนบุรีต่อเชื่อมกับบีทีเอส 2.สถานีเจริญนคร ตั้งอยู่บริเวณสะพานข้ามคลองวัดทองเพลง และ 3.สถานีคลองสาน เยื้องกับโรงพยาบาลตากสิน มีทางเดินหรือ Sky Walk เดินทางเข้าสู่โรงพยาบาลตากสินได้โดยตรง และจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (หัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย) ใช้เงินลงทุน 2,512 ล้านบาท มีผู้ใช้บริการ 47,300 เที่ยวคนต่อวัน

ส่วนระยะที่ 2 ระยะทาง 0.9 กม. มี 1 สถานี คือ สถานีประชาธิปก อยู่บริเวณซอยสมเด็จเจ้าพระยา 6 กับซอยสมเด็จเจ้าพระยา 8 อนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ตามแผนจะแล้วเสร็จปี 2566 ใช้เงินลงทุน 1,333 ล้านบาท คาดมีผู้ใช้บริการ 81,800 เที่ยวคน/วัน

"หลังรถไฟฟ้าสร้างเสร็จ นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการจราจร ยังจะช่วยให้การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ที่บริเวณนี้จะมีหอชมเมืองอยู่ติดกับศูนย์การค้าไอคอนสยามด้วย" ผอ.สจส.กล่าวย้ำ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 25/04/2016 10:54 am    Post subject: Reply with quote


ความคืบหน้าโมโนเรลสายสีทอง
http://www.now26.tv/view/75516
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=FzeB4_m9-0g
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2016 1:49 pm    Post subject: Reply with quote

*กทม.เตรียมเร่งดำเนินการรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 3 สาย*

ที่มา นิตยสารบ้านพร้อมอยู่
วันที่บันทึกข้อมูล 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 15:05:13
วันที่แก้ไข 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 15:05:13

*กทม.เร่งสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 3 สาย จาก 8 โครงการที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร ซึ่งทั้ง 8 เส้นทางนั้นมีดังนี้*

1.วัชรพล-พระโขนง-พระราม 9-ท่าพระ
2.ดินแดง-สาทร
3.สนามกีฬา-ยศเส
4.รามคำแหง-ทองหล่อ
5.บางนา-สุวรรณภูมิ
6.สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-คลองสาน-ประชาธิปก
7.บางหว้า-ตลิ่งชัน
8.ศาลาว่าการ กทม. 2 –ถนนโยธี


สำหรับ 3 เส้นทางที่กรุงเทพมหานคร มีนโยบายเร่งรัดในการดำเนินการ คือ


1.รถไฟฟ้า สายสีเทา
จุดเริ่มต้นที่วัชรพล ยาวไปจนถึงท่าพระ ระยะทาง 39.91 กิโลเมตร มี 39 สถานี แบ่งออกเป็น 3 ช่วงดังนี้
-ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ ระยะทาง 16.25 กิโลเมตร มี 15 สถานี
-ช่วงพระโขนง-พระราม 3 ระยะทาง 12.17 กิโลเมตร มี 15 สถานี
-ช่วงพระราม 3-ท่าพระ ระยะทาง 11.49 กิโลเมตร มี 9 สถานี
ทั้งนี้ กทม.มีแผนจะดำเนินการช่วงวัชรพล-ทองหล่อก่อน


2.รถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย บางหว้า-ตลิ่งชัน
แนวเส้นทางต่อจาก รถไฟฟ้า BTS สถานีบางหว้า ไปตามแนวเกาะกลางของถนนราชพฤกษ์ สิ้นสุดที่บริเวณจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะทาง 7 กิโลเมตร มี 6 สถานี
ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสม คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณปี 2560 กำหนดเปิดให้บริการปี 2562



3.รถไฟฟ้า LRT สายบางนา-สุวรรณภูมิ
แนวเส้นทางจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้า BTS ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท (อ่อนนุช-แบริ่ง) ระยะทาง 14.4 กิโลเมตร มี 12 สถานี


ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน คือรถไฟฟ้าโมโนเรล สายศาลาว่าการกทม.2-ถนนโยธี แต่จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ต้องรอดูกันอีกที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2016 10:52 am    Post subject: Reply with quote

หารูปแบบลงทุนโมโนเรลสายสีเทา เอกชนยกที่ดินให้กทม.สร้างเดปโป้
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 05:01

รายงานข่าวจากศาลาว่าการ กทม. แจ้งความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเทา ช่วงวัชรพล-สะพานพระราม 9 ว่า ขณะนี้ผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งมีการประเมินงบประมาณที่จะใช้ในการก่อสร้างประมาณ 2.7 หมื่นล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการลงทุนว่าจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนหรือให้สัมปทาน คาดว่าปลายเดือน มิ.ย.นี้จะได้ข้อสรุป สำหรับปัญหาพื้นที่การสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง หรือเดปโป้ ก่อนหน้านี้ กทม.มีแนวคิดจะใช้พื้นที่ร่วมกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่มีโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-มีนบุรีนั้น ล่าสุดมีบริษัทเอกชนรายหนึ่ง ได้แก่ ศูนย์การค้าซีดีซี คริสตัล ได้เสนอที่ดินบริเวณถนนประดิษฐมนูธรรมให้ กทม.ใช้ก่อสร้างเดปโป้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอเรื่องคณะกรรมการจัดการระบบการจราจรทางบก (คจร.) พิจารณา.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2016 10:31 am    Post subject: Reply with quote

โมโนเรลสุวรรณภูมิสะดุด
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
3 มิถุนายน 2559 05:01


ทล.ปฏิเสธ กทม.ใช้ที่กลางบางนาตราด-อ้างกลัวทำรถติด

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ว่า ตามที่สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. ได้ทำหนังสือประสานกรมทางหลวง เพื่อขอใช้พื้นที่เขตทางถนนสายบางนา-ตราด สำหรับก่อสร้างเสาตอม่อทางวิ่งรถไฟฟ้า ล่าสุด กรมทางหลวงได้มีหนังสือตอบกลับมาแล้ว โดยขอให้กรุงเทพมหานครใช้พื้นที่เขตทางของเอกชนก่อสร้างแทน เพราะเกรงจะกระทบต่อการจราจรบนถนนบางนาฯ เรื่องนี้ได้รายงานให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. รับทราบแล้ว และมีความเห็นว่า การเวนคืนที่ดินเพื่อนำมาก่อสร้างโครงการอาจจะทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน หากจะดำเนินการจริงต้องศึกษาให้รอบคอบและเหมาะสม

ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เริ่มจากรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีบางนา ผ่านศูนย์ประชุมแห่งชาติไบเทค ไปตามแนวถนนบางนา-ตราด เข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะทาง 18 กม. โดยกรุงเทพมหานครได้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเดือน มี.ค.2559 ที่ผ่านมา เห็นชอบบรรจุโครงการดังกล่าวไว้ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 2 เรียบร้อยแล้ว.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2016 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ใกล้เป็นจริงรถไฟฟ้าสายสีทอง"ไอคอนสยาม-กทม."แจ้งเกิดโครงการเฟสแรก"กรุงธนบุรี-ประชาธิปก"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
20 เมษายน 2559 เวลา 20:00:42 น.


หมายใจว่าจะซื้อรถโมโนเรลเกาหลี ทำรถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีทอง ตามข่าวนี้

โมโนเรลสีทองแซงหน้า "สายสีชมพู-เหลือง" BTS ผนึก "บอมบาดิเอร์-เกาหลี" แจ้งเกิด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

7 มิถุนายน 2559 เวลา 07:00:04 น.

ขณะที่รถไฟฟ้าระบบรางเดี่ยว หรือโมโนเรล 2 สาย 2 สี "ชมพู-เหลือง" ที่รัฐบาล คสช.กำลังรอกดปุ่มประมูลให้ได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ ด้วยการดึงเอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP Net Cost 30 ปี วงเงิน 111,334 ล้านบาท ตามขั้นตอน PPP Fast Track ตั้งเป้าให้ได้ผู้รับเหมาภายในสิ้นปีนี้ เพื่อเริ่มต้นก่อสร้างในเดือน มี.ค. 2560 แล้วเสร็จเดือน มิ.ย. 2563

ถึงขณะนี้ยังเป็นที่จับจ้องการประมูลจะมาตามนัดหรือไม่ ในเมื่อรายละเอียดทีโออาร์ยุบยับ แถมเงินลงทุนก็ค่อนข้างสูง ที่สำคัญประเทศไทยยังไม่เคยมีการลงทุนโครงการโมโนเรล ซึ่งเอกชนต้องเสนอการลงทุนเป็นแพ็กเกจทั้งงานโยธาและงานระบบไปในคราวเดียวกันมาก่อน อาจจะทำให้ขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร

ถึงแผนลงทุนโมโนเรลของรัฐบาลกลางยังไม่สะเด็ดน้ำ แต่ฟาก "กทม.-กรุงเทพมหานคร" ได้ข้อสรุปโครงการโมโนเรลสายสีทองเฟสแรก "กรุงธนบุรี-คลองสาน" ระยะทาง 1.8 กม. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หลัง "กลุ่มไอคอนสยาม" ยื่นข้อเสนอจะลงทุนงานโยธาให้ 2,000 ล้านบาท พร้อมขอสิทธิพื้นที่โฆษณา 3 สถานี 30 ปี เป็นการแลกเปลี่ยน

จากพลังของเอกชนที่ช่วยผลักดัน ทำให้การเดินหน้าโปรเจ็กต์ง่ายขึ้น และยิ่งง่ายขึ้นไปอีก เมื่อ "กทม." มอบให้ "KT-บจ.กรุงเทพธนาคม" วิสาหกิจในสังกัด รับเป็นเจ้าภาพโครงการ

โดยจ้าง "บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ" พันธมิตรเก่า เหมาดำเนินการทั้งงานก่อสร้าง จัดหาระบบ และเดินรถพร้อมซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 30 ปี ซึ่ง "บีทีเอสซี" จะควักเงิน 400 ล้านบาท ลงทุนงานระบบและขบวนรถให้ไปก่อน เหมือนกับส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าบีทีเอส

จากโมเดลนี้จึงทำให้โครงการนี้รุดหน้าเร็ว จนใกล้ที่จะเป็นจริง ขณะนี้รอการอนุมัติ "อีไอเอ-รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม" ที่ "KT" มั่นใจว่าไม่มีปัญหา เพราะไม่มีเวนคืนที่ดิน และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ เพราะใช้ระบบล้อยาง ที่สำคัญ "กทม." เตรียมใช้มาตรา 44 เปิดประมูลคู่ขนานไปกับการอนุมัติอีไอเอ ตามแผนจะเริ่มสร้างในปีนี้ เปิดหวูดเดือน ธ.ค. 2560 พร้อมกับเปิดศูนย์การค้าไอคอนสยาม

"สุรพงษ์ เลาหะอัญญา" กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.บีทีเอสซี กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทจะเข้าร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีทองให้กรุงเทพธนาคม ในส่วนงานระบบ จัดหาขบวนรถ และเดินรถให้ 30 ปี มีข้อสรุปใช้ระบบอาณัติสัญญาณของบอมบาดิเอร์และรถของวูจิน (Woojin) จากเกาหลีใต้ จำนวน 2 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ รวม 6 ตู้ สามารถจุผู้โดยสารได้ 80-120 คน/ตู้

รูปแบบการลงทุนจะเสนอเป็นแพ็กเกจรวมกับงานก่อสร้างที่กลุ่มไอคอนสยามเป็นผู้ลงทุนให้ เนื่องจากระบบโมโนเรลผู้ก่อสร้างและติดตั้งระบบต้องเป็นรายเดียวกัน ซึ่งในส่วนของผู้รับเหมาก่อสร้าง บริษัทยังไม่ได้ข้อสรุปจะเลือกบริษัทไหน

"เลือกใช้โมโนเรลของเกาหลีเพราะจัดหาได้เร็วและทันเวลาที่ KT กำหนด อีกทั้งราคารถและการซ่อมบำรุงในระยะยาวก็เหมาะสมกับกรอบเงินลงทุน เมื่อเทียบกับระบบของจีน ญี่ปุ่น และยุโรป"

ขณะที่แหล่งข่าวจากแวดวงผู้ผลิตรถไฟฟ้ากล่าวว่า รถโมโนเรลวูจินของประเทศเกาหลีได้รับลิขสิทธิ์จากฮิตาชิ โดยเป็นผู้ผลิตตัวรถโมโนเรลให้กับระบบ Daegu Urban Rail (Line 3) ไลเซนส์จากบริษัท ฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น

เท่ากับตอนนี้ "ประเทศไทย" มีรถไฟฟ้าให้บริการแล้ว 4 แบรนด์ 4 ประเทศ คือ ซีเมนส์จากประเทศเยอรมนี, ซีอาร์อาร์ซีจากประเทศจีน, J-TREC จากประเทศญี่ปุ่น ล่าสุด Woojin จากเกาหลี ที่ตีตลาดรถไฟฟ้าในไทยได้สำเร็จเพิ่มอีกราย

ส่วนรถไฟจากแดนกิมจิจะฝ่าด่านผู้ผลิต "ญี่ปุ่น-จีน-มาเลเซีย-ยุโรป" ชิงเค้ก "สีชมพูและสีเหลือง" ได้สำเร็จหรือไม่ ยังต้องลุ้น

xonez wrote:
สรุปเลือกแล้วเหรอว่าจะใช้ Woojin?

เข้าไปดู spec แล้วถ้าวิ่งใกล้ๆก็โอเค แต่ถ้ามีการต่อออกไปไกลๆไม่น่าจะเวิร์คนะ จุคนได้ 54-60 คนต่อตู้ ความเร็วสูงสุด 40 กม/ชม

Click on the image for full size

http://www.wjis.co.kr/eng/page/e0201_4.php
http://www.wjis.co.kr/SMART%20Monorail_05.pdf


http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1815960&page=7
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 09/06/2016 7:22 pm    Post subject: Reply with quote

'บีอาร์ที' ไปไม่รอด! ขาดทุนพันล้าน
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 08 มิถุนายน 2559, 03:30

"บีอาร์ที" ไปไม่รอด! ขาดทุนพันล้าน กทม. เตรียมเปลี่ยนใช้รถรางไฟฟ้าหลังหมดสัญญา เม.ย.ปี 60 พบยอดผู้โดยสารไม่เข้าเป้า 3 หมื่นคนต่อวัน

ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.) มีรายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้สำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.) อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบระบบรถรางไฟฟ้า (แทรม) ทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมทั้งการพัฒนาเส้นทาง เพื่อทดแทนโครงการรถโดยสารด่วนพิเศษ(บีอาร์ที) สายสาทร-ราชพฤกษ์ เนื่องจากเป็นรูปแบบที่ดีกว่า เพราะในเดือนเม.ย.2560 จะสิ้นสุดสัญญาโครงการและจะยกเลิกโครงการทันที

“ในเบื้องต้นระบบรถรางไฟฟ้า จะใช้แบตเตอรี่และโซลาร์เซลล์สามารถชาร์จไฟที่สถานีได้ ส่วนแนวเส้นทางจะปรับให้เชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสต่อไป ส่วนรถเมล์บีอาร์ทีจะนำไปใช้งานในหน่วยงานของกทม. อาทิ สวัสดิการให้กับข้าราชการและบุคลากรของกทม.หรือรับส่งนักเรียนโรงเรียนในสังกัดกทม.” รายงานข่าวเผย

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ขณะเดียวกันตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบันมีผู้โดยสารทั้งสิ้น 33,741,471 เที่ยวต่อคน ปริมาณโดยสารเฉลี่ย 2.3 หมื่นเที่ยวคนต่อวัน ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้คือ 3 หมื่นเที่ยวคนต่อวัน นอกจากนี้ตั้งแต่เปิดให้บริการประชาชนก็พบว่า ขาดทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งกทม.ต้องใช้งบประมาณในการสนับสนุนปีละประมาณ200ล้านบาททุกปีทำให้เสียงบประมาณอย่างไรก็ตามกทม.ได้เริ่มให้บริการรถโดยสารด่วนพิเศษ(บีอาร์ที)เส้นทางช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ระยะทาง15.9กิโลเมตรเมื่อวันที่23พ.ค.2553ด้วยงบลงทุน 2,009,700,000 บาทตามนโยบายของผู้ว่าฯกทม.เพื่อพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่มีในปัจจุบันให้สมบูรณ์แต่ไม่ได้ออกแบบให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนแต่เป็นการสร้างต้นแบบการเดินทางในเมืองให้มีความปลอดภัยมากที่สุดเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการระบบขนส่งมวลชนแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเป็นระบบขนส่งที่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าให้ประชาชนเดินทางเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

“สำหรับสถิติผู้โดยสารตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนถึงวันที่31พ.ค.2559 มีผู้โดยสารทั้งสิ้น 33,741,471 เที่ยวต่อคน ปริมาณโดยสารเฉลี่ย 2.3 หมื่นเที่ยวต่อคนต่อวัน และปริมาณโดยสารสูงสุดอยู่ที่ 2.8 หมื่นเที่ยวต่อคนต่อวัน โดยช่วงที่1 ตั้งแต่วันที่ 29พ.ค.– 31ส.ค.2553 ไม่เก็บค่าโดยสารมีปริมาณผู้โดยสาร 1,423,428 เที่ยวต่อคน ช่วงที่2 ตั้งแต่1ก.ย.53 – 14เม.ย.2556 เก็บค่าโดยสารในอัตรา 10 บาท มีปริมาณผู้โดยสาร 11,894,347เที่ยวต่อคน และช่วงที่3 ตั้งแต่ 15เม.ย. 56 – 31พ.ค.2559 เก็บค่าโดยสารในอัตรา5บาท มีปริมาณผู้โดยสาร20,423,696เที่ยวต่อคน” รายงานข่าวระบุ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2016 5:00 pm    Post subject: Reply with quote

แปลงร่าง BRT เป็นรถรางไฟฟ้า อวสานโปรเจ็กต์หาเสียงนักการเมือง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
16 มิถุนายน 2559, เวลา 14:30:38 น.


เป็นที่แน่นอนภายในปีนี้จะปิดฉากโปรเจ็กต์ล้อยาง "BRT-รถประจำทางด่วนพิเศษ" สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 15.9 กม. มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท โปรเจ็กต์หาเสียงของ "อภิรักษ์ โกษะโยธิน" อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

6 ปีขาดทุนยับพันล้าน

หลังเปิดให้บริการมากว่า 6 ปี นับจากเดือน พ.ค. 2553 แต่ประสบปัญหาขาดทุนมาตลอด เมื่อจำนวนผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้า 3 หมื่นคน/วัน แม้จะลดค่าโดยสารจาก 10 บาทเหลือ 5 บาทแล้วก็ตาม

จากข้อมูลของ กทม.ที่ปรากฏ นับจากเปิดบริการมาถึงปัจจุบัน มีผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 2.3 หมื่นเที่ยวคน/วัน ขาดทุนร่วม 1 พันล้านบาท จากการที่ "กทม." ต้องควักเงินงบประมาณอุดหนุนโครงการปีละ 200 กว่าล้านบาท เพื่อจ่ายค่าจ้างให้ "บีทีเอสซี-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ" ผู้ติดตั้งระบบ จัดหารถ 25 คัน พร้อมเดินรถให้เป็นระยะเวลา 7 ปี จะสิ้นสุด เม.ย. 2560

ย้อนเวลาสำหรับโครงการนี้ ริเริ่มเมื่อปี 2548 สมัย "ผู้ว่าฯ อภิรักษ์" มี "สามารถ ราชพลสิทธิ์" รองผู้ว่าฯ กทม.ช่วยผลักดัน หลัง "ครม.-คณะรัฐมนตรี" อนุมัติเริ่มสร้างปี 2550 กว่าจะเปิดบริการได้ในปี 2553 ในระหว่างทางก็ขลุกขลักพอสมควร ทั้งความไม่โปร่งใสในการซื้อรถราคาคันละ 7.5 ล้านบาท ที่ว่ากันว่าแพงหูฉี่ แต่ก็ทู่ซี้จนโครงการเปิดใช้ในที่สุด

แต่ถึงจะฝ่าด่าน "ดีเอสไอ-กรมสอบสวนคดีพิเศษ" ได้สำเร็จ ความชุลมุนยังไม่สิ้นสุด เมื่อเส้นทางที่ใช้คิกออฟโครงการ จาก "ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์" ถึงจะกันเลนพิเศษไว้เฉพาะแล้ว แต่ยังมีรถอื่นวิ่งเข้าแทรกตลอดเวลา ที่สำคัญไม่สามารถหลุดพ้นวังวนรถติดบนถนนเส้นนี้ได้

จึงทำให้โครงการไม่เปรี้ยง ! ไม่สามารถตอบสนองความต้องการคนกรุงได้ตรงจุด

สุขุมพันธุ์ชี้ผู้โดยสารหลุดเป้า

"ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์บริพัตร"ผู้ว่าฯกทม.กล่าวว่า สาเหตุที่ยกเลิกรถบีอาร์ที เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารน้อย ไม่เป็นไปตามประมาณการที่วางไว้ ทำให้โครงการขาดทุน แนวโน้มจะนำมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาเฟส 3 พระราม 3-ท่าพระ ที่จะสร้างในอนาคต แต่ระหว่างนี้จะนำระบบอื่นมาวิ่งทดแทนไปก่อน อยู่ระหว่างศึกษา

"ต้องเปลี่ยนเป็นระบบราง ถึงจะดึงคนใช้บริการได้เพิ่มขึ้น คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3-4 พันคน/ชั่วโมง เพราะจุคนได้มากกว่าและไม่เสียเลนถนน"

ด้าน "มานิต เตชอภิโชค" กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) เปิดเผยว่า สัญญาที่จ้างบีทีเอสเดินรถบีอาร์ทีจะหมดเดือน เม.ย.ปี 2560 จะยกเลิกและเปลี่ยนเป็นระบบรางแทน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุป จะใช้รถไฟฟ้ารางเบาขนาดเล็ก (Tram) ที่สามารถวางรางวิ่งร่วมกับรถยนต์บนผิวถนนได้ โดยใช้ระบบแบตเตอรี่และโซลาร์ นอกจากนี้จะปรับให้เชื่อมกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ช่องนนทรีและตลาดพลูด้วย ส่วนรถบีอาร์ทีมีอยู่กว่า 20 คัน จะนำไปใช้เป็นสวัสดิการข้าราชการ กทม.แทน

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางและบรรยากาศการใช้รถบีอาร์ที โดยเริ่มต้นจาก "สถานีรถไฟฟ้าช่องนนทรี" ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาทีถึงสถานีบีอาร์ที จากนั้นซื้อตั๋วโดยสาร ค่าบริการ 5 บาทตลอดสาย เสร็จเรียบร้อยนั่งรอรถประมาณ 10 นาที ได้นั่งรถจากสถานีต้นทาง เพื่อไปยังจุดหมายปลายทางที่สถานีราชพฤกษ์

12 สถานีใช้เวลา 30 นาที

เริ่มออกเดินทางจากสถานีสาทรไปตามถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ผ่านแยกถนนจันทน์ แยกนราราม 3 เลี้ยวขวาเข้าถนนพระราม 3 ลอดใต้สะพานพระราม 9 เข้าสู่ถนนรัชดาภิเษก ขึ้นสะพานพระราม 3 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดที่แยกถนนรัชดาภิเษก-ถนนราชพฤกษ์

จุดจอด 12 สถานีที่สาทร อาคารสงเคราะห์ เทคนิคกรุงเทพ ถนนจันทน์ นราราม 3 วัดด่าน วัดปริวาส วัดดอกไม้ สะพานพระราม 9 เจริญราษฎร์ สะพานพระราม 3 และสิ้นสุดที่สถานีราชพฤกษ์ โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 27 นาที ผู้โดยสารตลอดเส้นทางประมาณ 20-30 คน/เที่ยว

ทั้งนี้สถานีปลายทางจะสามารถเดินทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ "สถานีตลาดพลู" ได้ แต่การเดินทางอาจจะลำบากเล็กน้อย เพราะต้องเดินข้ามทางม้าลาย เนื่องจากยังไม่มีสกายวอล์กต่อเชื่อม หลังจากข้ามทางม้าลายเสร็จก็เดินขึ้นไปบนทางสกายวอล์กของสถานีตลาดพลู ใช้เวลาเดินประมาณ 5 นาที

ขณะที่ขากลับรถจะวิ่งกลับตามแนวเส้นทางเดิม ใช้เวลาประมาณ 34 นาที มีผู้โดยสารตลอดเส้นทางประมาณ 80-90 คน/เที่ยว ค่อนข้างหนาตากว่าตอนขามา อาจจะด้วยจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น การจอดรับ-ส่งจึงใช้เวลานานกว่า

ด้านบรรยากาศการเดินทางตลอดเส้นทาง จะมีรถชนิดอื่นวิ่งเข้ามาใช้เลนเดียวกับรถบีอาร์ทีอยู่ตลอดเวลา ทั้งรถยนต์ทั่วไป แท็กซี่ และมอเตอร์ไซค์ ชวนให้ลุ้นระทึก

นานาทรรศนะจากใจผู้ใช้

ในระหว่างนั่งรถบีอาร์ที ได้สอบถามผู้ใช้บริการ หลังจากที่ กทม.จะยกเลิกโครงการ มีทั้งเสียดายและยกมือเชียร์รถราง

"นายปวริศ ชายทวีป" ชายหนุ่มอายุ 15 ปี บอกว่า หากใช้ระบบรางเข้ามา มองว่าไม่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะพื้นที่มีจำกัด รวมถึงรถที่วิ่งบนถนนมีขนาดแตกต่างกันมาก จะเสี่ยงในการใช้เกินไป คิดว่าบีอาร์ทีมีความเหมาะสมในการใช้อยู่แล้ว แต่ควรเพิ่มจำนวนเส้นทางและสถานีให้มากกว่านี้

ขณะที่ "นางสาวบุษกร ไทยแท้" อายุ 19 ปี มองว่า ระบบรางอาจจะยุ่งยากไป การก่อสร้างรางใหม่น่าจะใช้เวลาหลายปี ส่งผลทำให้รถติดได้ ระบบบีอาร์ทีที่ใช้อยู่ตอนนี้ก็ดีอยู่แล้ว

ด้านผู้ใช้บริการรายหนึ่งไม่ขอออกนาม ระบุว่า ระบบนี้ดีอยู่แล้ว เพราะสามารถแชร์ถนนใช้กับรถส่วนตัวที่สามารถวิ่งเข้ามาได้ในเวลาไม่มีรถบีอาร์ทีวิ่งอยู่ ถ้าเป็นระบบรางอาจจะไม่ามารถทำได้ ใช้ต่อไปไม่น่าจะมีอะไร นอกจากนี้หากก่อสร้างรางอาจทำให้เกิดปัญหารถติดได้

นางสมใจ ศรีหิรัญ อายุ 50 ปี กล่าวว่า ใช้ระบบนี้ก็ดีอยู่แล้ว รวดเร็วดี ถ้าใช้รางก็วิ่งได้เฉพาะรางอย่างเดียว รถอื่นไม่สามารถวิ่งเข้ามาได้ สำหรับในช่วงเวลาที่ไม่มีรถบีอาร์ทีวิ่ง

สอดคล้องกับ นางรัชดา เกตุศักดิ์ อายุ 43 ปี กล่าวว่า ใช้ระบบบีอาร์ทีดีอยู่แล้ว สะดวก รวดเร็ว และค่าบริการก็ไม่แพง คิดว่าน่าจะใช้ระบบนี้ต่อไป

นายวุฒิชัย บุตรพิลา อายุ 19 ปี มองว่า หากเปลี่ยนการเดินทางอาจลำบากกว่านี้ ระบบนี้ที่ใช้อยู่ก็ดีอยู่แล้ว รถไม่ติดในเส้นทาง การบริการก็รวดเร็วดี

นางสาวอรจิรา สาระบูรณ์ อายุ 24 ปี กล่าวว่า เปลี่ยนเป็นระบบรางก็ดีนะ เพื่อป้องกันรถชนิดอื่นวิ่งเข้ามาปะปน โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์ มักจะมาวิ่งในเลน ทำให้เกิดอันตรายได้

นางสาวเบญมาศ ทองศรี อายุ 27 ปี บอกว่า ถ้าสามารถทำได้จริงก็เป็นเรื่องที่ดี หากมาตรฐานระบบที่นำมาได้เทียบกับต่างประเทศที่ใช้อยู่ได้ รวมถึงคุ้มค่ากับงบประมาณที่ลงทุนไป นอกจากนี้การนำนวัตกรรมใหม่มาใช้ย่อมต้องดีกว่าของเดิม ระบบบีอาร์ทีบางครั้งอาจเกิดการขัดข้องบ้าง ส่วนระบบใหม่ดีกว่าระบบเดิมย่อมถือเป็นเรื่องที่ดี

ปิดท้ายที่ผู้ใช้บริการอีกรายที่ขอสงวนชื่อ ที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้างทั้ง 2 โครงการ เนื่องจากผิวจราจรก็คับแคบอยู่แล้ว การก่อสร้างอาจกระทบกับการจราจร ขอให้ยกเลิกไปเลยทั้ง 2 ระบบ เพราะทำให้การจราจรมีปัญหา รถคันอื่นก็วิ่งเข้ามาในเลน ทั้งรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ที่ตัดหน้า อาจทำให้เกิดอันตรายได้

งานนี้อาจารย์สามารถโดนหักหน้ากันก็คราวนี้เอง
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1010297595705449&set=p.1010297595705449&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2016 9:58 am    Post subject: Reply with quote

โมโนเรลสายสีทอง เชื่อมรถไฟฟ้า 4 เส้นทาง
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,170
วันที่ 30 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สถิติข้อมูลปริมาณการจราจรโดยสำนักการจราจรและขนส่ง(สจส.)กรุงเทพมหานคร(กทม.) พบว่าโซนพื้นที่คลองสาน-ธนบุรีมีรถยนต์ใช้บริการประมาณ 2.2 แสนคันต่อวัน ผู้โดยสารทางเรือทั้งเรือด่วนและเรือโดยสารข้ามฟากประมาณ 3.5 หมื่นคนต่อวัน ผู้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสประมาณ 5.02 หมื่นคนต่อวัน ดังนั้นแม้ว่ารัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคม และกทม. จะเร่งดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เส้นทางสีลม(สนามกีฬา-บางหว้า)หรือบีทีเอส ให้บริการไปจนถึงพื้นที่บางหว้า อีกทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)ยังมีแผนก่อสร้างรถไฟสายสีแดงจากหัวลำโพงไปสิ้นสุดที่มหาชัย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) อยู่ระหว่างเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย(หัวลำโพง-บางแค) แล้วยังมีแผนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ใต้(เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) ในเร็วๆ นี้ก็ตามเชื่อว่ายังไม่ทำให้การเดินทางเชื่อมโยงสะดวกรวดเร็วหรือครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าวได้

ดังนั้นกทม.จึงเร่งดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนเสริม(Feeder) หรือระบบรองนำผู้โดยสารในพื้นที่ป้อนให้กับระบบขนส่งมวลชนหลักเพื่ออำนวยความสะดวกด้วยการเร่งศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดโครงการรถไฟฟ้าสายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-เขตคลองสาน-ประชาธิปก) อำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง จูงใจให้ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและหันมาเดินทางเชื่อมต่อรถ เรือ ราง มากยิ่งขึ้น

“รถไฟฟ้าสายสีทอง” แนวเส้นทางเริ่มต้นที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีกรุงธนบุรี จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแนวถนนกรุงธนบุรี สู่ทางแยกกรุงธนบุรี-ถนนเจริญนคร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจริญนคร มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ผ่านแหล่งชุมชน ร้านค้า สถานศึกษา วัด ห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม โรงแรมแล้วจึงเข้าสู่ถนนสมเด็จเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดโครงการก่อนถึงวัดอนงคารามวรวิหาร รวมระยะทาง 2.7 กิโลเมตร มีจำนวน 4 สถานี

โดยสถานีกรุงธนบุรี จะอยู่บริเวณรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนคร อยู่บริเวณข้ามคลองวัดทองเพลง สถานีคลองสาน อยู่บริเวณหน้าโรงพยาบาลตากสิน(จะเชื่อมกับรถไฟสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย) โดยจะมีทางเดินสกายวอล์กเข้าสู่โรงพยาบาลได้โดยตรงอีกด้วย และสถานีประชาธิปก อยู่บริเวณก่อนถึงวัดอนงคารามวรวิหาร(จะเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง) รูปแบบทางยกระดับทั้งเส้นทาง เสาตอม่อตั้งอยู่เกาะกลางถนนและทางเท้า ศูนย์ซ่อมจะอยู่บริเวณใกล้ๆกับสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสกรุงธนบุรี

ตามผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจพบว่ามีความเหมาะสมในการลงทุน มีอัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(Economic Internal Rate of Return : EIRR 28.5%) มูลค่าการลงทุนทั้งเส้นทาง 3,845 ล้านบาท คาดว่าเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2561 จะช่วยประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและประหยัดเวลาในการเดินทางคิดเป็นมูลค่าประมาณ 830 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มเป็น 2,417 ล้านบาทต่อปีในปี 2581(คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการในระยะที่ 1 ในปี 2561 ประมาณ 4.7 หมื่นคนต่อเที่ยว-วัน และในระยะที่ 2 ในปี 2566 ประมาณ 8.1 หมื่นคนต่อเที่ยว-วัน)

รถไฟฟ้าเส้นทางนี้จะใช้ระบบขนส่งมวลชนระบบรอง(โมโนเรล) นำทางอัตโนมัติ(AGT) ที่ควบคุมการเดินรถด้วยระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบไฟฟ้า ใช้ล้อยางจึงไม่เกิดเสียงดัง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1 ตู้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 80-100 คนหรือขนส่งผู้โดยสารได้ 4,000-1.2 หมื่นคนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ซึ่ง 1 ขบวนสามารถต่อพ่วงได้ 6 ตู้ โดยตามแผนจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะคือระยะที่ 1 วงเงินลงทุน 2,512 ล้านบาท ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร คาดแล้วเสร็จ ปี 2561 และระยะที่ 2 วงเงินลงทุน 1,333 ล้านบาท ระยะทาง 0.9 กิโลเมตรเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2566

โครงการนี้นอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดแล้วยังลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ลดมลภาวะ เพิ่มทางเลือกในการเดินทาง และประหยัดเวลาการเดินทาง แต่ยังมีลุ้นว่าท้ายที่สุดแล้วเอกชนโดยกลุ่มไอค่อนสยามจะลงทุนให้กทม. หรือกทม.จะต้องควักเงินลงทุนเองทั้งเส้นทางกันแน่

หากกทม.ยอมควักเงินลงทุนเพิ่มก่อสร้างส่วนต่อขยายไปเชื่อมสายสีม่วงใต้ แล้วขยายแนวผ่านแยกบ้านแขกเลี้ยวขวาเข้าถนนอิสรภาพไปบรรจบกับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย(หัวลำโพง-บางแค)ที่สถานีอิสรภาพจะช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางให้ประชาชนได้อีกมาก เชื่อมรถไฟฟ้า 4 เส้นทางคุ้มกว่ากันไหม ???
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 9, 10, 11 ... 31, 32, 33  Next
Page 10 of 33

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©