Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181432
ทั้งหมด:13492670
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม(บางซื่อ-รังสิต และ บางซื่อ-หัวลำโพง)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 43, 44, 45 ... 147, 148, 149  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2016 11:52 am    Post subject: Reply with quote

ทำสกายวอร์คข้ามวิภาวดี
เดลินิวส์
อังคารที่ 16 สิงหาคม 2559 เวลา 23.59 น.

วันนี้ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วง บางซื่อ-รังสิต ทั้งนี้อนาคต 6 สถานี ได้แก่ สถานีวัดเสมียนนารี บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะ ดอนเมือง ที่อยู่ขนานถนนวิภาวดี รฟท.ได้ตั้งงบประมาณสร้างสกายวอล์ก


         ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันที่ 17 ส.ค.นี้ นายวุฒิชาติ กัลยาณ มิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะนำสื่อ มวลชนลงพื้นที่ติดตามการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วง บางซื่อ-รังสิต เพื่อประชาสัมพันธ์ความก้าวหน้าของโครงการที่สถานีทุ่งสองห้อง ต้นแบบก่อสร้างสถานีรถไฟยกระดับ เพื่อชมชั้นที่ 2 ชั้นจำหน่ายตั๋ว และชั้นที่ 3 ชั้นชานชาลา จากนั้นจะไปดูสถานีกลางบางซื่อ ชมการก่อสร้างชั้นที่ 1 พื้นที่จำหน่ายตั๋ว โถงพักคอยและรับผู้โดยสาร รวมถึงพื้นที่พาณิชยกรรม ร้านค้า และชั้นใต้ดินพื้นที่จอดรถได้ 1,700 คัน ซึ่งมีทางเดินเชื่อมกับสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคลหรือรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ด้วย
         รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า สำหรับผลงานการก่อสร้างสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ อาคารซ่อมบำรุง และสถานีจตุจักร มีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสยู (บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง มูลค่า 34,141 ล้านบาท คืบหน้า 45.54% จากแผนที่วางไว้ 77.61% ล่าช้า 32.07%
         ส่วนสัญญาที่ 2 งานทางวิ่งรถไฟยกระดับและระดับดิน พร้อมอาคารสถานี 8 สถานี ได้แก่ วัดเสมียนนารี บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะ ดอนเมือง หลักหก และสถานีรังสิต มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง มูลค่า 24,587 ล้านบาท คืบหน้า 64.27% จากแผนงาน 67.30% ล่าช้า 3.03% ทั้งนี้ในส่วนของสถานีสัญญาที่ 2 นั้นคาดว่าในปีนี้จะมีสถานีที่สร้างเสร็จ 6 สถานี ได้แก่ วัดเสมียนนารี บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะ และหลักหก ส่วนอีก 2 สถานี ดอนเมือง กับรังสิต คาดจะก่อสร้างเสร็จกลางปี 60 ล่าช้าเนื่องจากที่ผ่านมาติดปัญหาการขอคืนพื้นที่ เนื่องจากทั้ง 2 สถานีนี้เป็นสถานีใหญ่ ส่วนการเปิดให้บริการนั้น นายวุฒิชาติ จะประกาศความชัดเจนหลังติดตามความคืบหน้าแล้วว่าจะเปิดให้บริการในปี 62 หรือ 63
         ทั้งนี้อนาคต 6 สถานี ได้แก่ สถานีวัดเสมียนนารี บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะ ดอนเมือง ที่อยู่ขนานถนนวิภาวดี รฟท.ได้ตั้งงบประมาณสร้างสกายวอล์ก (ทางเดินยกระดับหรือทางเดินลอยฟ้า) เชื่อมสถานีกับฝั่งตรงข้ามทั้งหมดเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการไปใช้รถไฟฟ้าสายสีแดง รวมทั้งเชื่อมกับสนามบินดอนเมืองด้วย โดยขณะนี้เริ่มสร้างข้ามทางรถไฟแล้ว แต่การสร้างข้ามไปอีกฝั่งยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้เนื่องจากติดปัญหาการขอพื้นที่จากกรมทางหลวง (ทล.) เจ้าของถนนวิภาวดี
         ด้านนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งการนายวุฒิชาติ สรุปรายงานปัญหาภาพรวมในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ล่าช้าทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณรฟท.ล่าช้าจากการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง เนื่องจากติดปัญหาการรื้อย้ายท่อน้ำมันของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ หรือเอฟพีที ฟ้องร้องในชั้นศาลกับ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ล่าสุดได้รับแจ้งว่า บมจ.อิตาเลียนไทย ขอขยายเวลาก่อสร้างเพิ่มอีกหลายร้อยวัน กำลังพิจารณารายละเอียดว่าเหมาะสมหรือไม่ รวมทั้งให้เร่งแก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายเงินค่าติดตั้งระบบเครื่องกั้นจุดตัดทางรถไฟที่ล่าช้าด้วยทำให้เอกชนบางรายรอนานถึง 6 เดือน ขณะที่นายวุฒิชาติ กล่าวว่า กำลังเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2016 12:03 pm    Post subject: Reply with quote

ออมสิน"จี้รฟท.สางปมสายสีแดง
เดลินิวส์
พุธที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 04.01 น.

“ออมสิน” สั่งผู้ว่ารฟท.สรุปภาพรวม-มาตรการแก้ปัญหาการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตล่าช้า   ด้านอิตาเลียนไทยขอขยายเวลาการก่อสร้างเพิ่ม

นายออมสิน  ชีวะพฤกษ์  รมช.คมนาคม  เปิดเผยว่า  ได้สั่งการให้นายวุฒิชาติ  กัลยาณมิตร  ผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  สรุปรายงานปัญหาภาพรวม และแนวทางในการแก้ไขรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต  หลังจากที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีได้ออกมาระบุว่าการเบิกจ่ายงบประมาณรฟท.ล่าช้า โดยเฉพาะปัญหาเรื่องการส่งมอบพื้นที่การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง   เพราะติดปัญหาการรื้อย้ายท่อน้ำมันของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ หรือเอฟพีที  ฟ้องร้องในชั้นศาลกับ บมจ.อิตาเลียนไทย  ล่าสุดได้รับแจ้งว่าบมจ.อิตาลเลียนไทยขอขยายระยะเวลาในการก่อ สร้างเพิ่มขึ้นอีกหลาย 100 วัน    ซึ่งกำลังพิจารณารายละเอียดว่ามีความเหมาะสมหรือไม่   รวมทั้งให้เร่งแก้ไขปัญหาการเบิกจ่ายเงินค่าติดตั้งระบบเครื่องกั้นจุดตัดทางรถไฟที่มีความล่าช้า เนื่องจากเอกชนดำเนินงานเสร็จแล้ว  แต่ รฟท.ไม่ยอมเบิกจ่ายเงินให้เอกชน และบางรายรอนานถึง 6 เดือน
 
นายวุฒิชาติ    กล่าวว่า   กรณีที่ บมจ.อิตาเลียนไทย ขอขยายระยะเวลาในการก่อสร้าง  เนื่องจากติดปัญหายืดเยื้อเรื่องการไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ตามกำหนดนั้น  ฝ่ายบริหารที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา  ส่วนเรื่องการเบิกจ่ายเงินล่าช้านั้น  รฟท.มีขั้นตอนกระบวนของการส่งมอบงานและจะต้องมีการตรวจประเมินก่อนตรวจรับงานด้วย  และเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในร่างทีโออาร์  โดยจะเร่งรัดเบิกจ่ายให้เร็วที่สุด.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 17/08/2016 6:04 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งเครื่องสายสีแดง! ดีเลย์แล้วกว่า20% เหตุร.ฟ.ท.ส่งมอบพท.ช้า รับเหมายื่นขอขยายสัญญาก่อสร้างกว่า1ปี
โดย MGR Online
17 สิงหาคม 2559 เวลา 17:28 น.
คืบหน้ารถไฟฟ้าสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" เร่งสร้างเสร็จใช้งานจริง ปี′62
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
17 สิงหาคม 2559 เวลา 20:30:08 น.
จี้ผู้รับเหมาเร่งสร้างสายสีแดง
ไทยโพสต์
18 สิงหาคม 2559 เวลา 00:00:00 น
ผู้ว่าฯ รฟท. ยอมรับโครงการรถไฟชานเมืองบางซื่อ-รังสิต บางส่วนยังล่าช้า
เศรษฐกิจ
จส. 100
17 สิงหาคม 2559, 13:06น.
สร้างรถไฟฟ้าสีแดงดีเลย์
โพสต์ทูเดย์
17 สิงหาคม 2559 เวลา 13:20 น.



“ผู้ว่าฯร.ฟ.ท.”นัดถก”ซิโน-ไทยและอิตาเลียนฯ” 22 ส.ค.นี้ เคาะขยายสัญญาก่อสร้างรถไฟสายสีแดงซึ่งล่าสุดงานล่าช้ากว่า 20% แล้ว ขณะที่ผู้รับเหมาได้สิทธิ์ต่อสัญญา 5 ด.ตามมติครม.อยู่แล้ว โดยล่าสุดขอขยายเวลาก่อสร้างอีกกว่า 1 ปี ส่วนจะเพิ่มอีกเท่าไรต้องพิสูจน์ส่งมอบพื้นที่ล่าช้าจนกระทบก่อสร้างจริง ลั่นงานโยธา 2 สัญญาต้องเสร็จปี 61 เพื่อทดสอบระบบปี 62 และเปิดเดินรถปี 63 จากที่เริ่มก่อสร้างปี 56 เท่ากับใช้เวลาดำเนินการถึง 7 ปี
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจความก้าวหน้าการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต บริเวณสถานีทุ่งสองห้องและสถานีกลางบางซื่อ ว่า ขณะนี้ภาพรวมการก่อสร้างมีความล่าช้ากว่า 20% เนื่องจากมีปัญหาในการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างและการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อให้รองรับรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และเพิ่มทางวิ่งจาก 3 ทางเป็น 4 ทาง ซึ่ง

สัญญาที่ 1 (งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) ถึงวันที่ 25 ก.ค. 59 แผนงานกำหนดที่ 60% แต่มีความคืบหน้า 47.26% ล้าช้ากว่าแผนกว่า 10%
สัญญาที่ 2(งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ–รังสิต) แผนงานกำหนดที่ 90% งานคืบหน้า 67.73% ล้าช้ากว่าแผนกว่า 20%

ทั้งนี้ ผู้รับจ้าง สัญญา 1 กิจการร่วมค้า เอสยู ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มูลค่าสัญญา 29,826,973,512 บาทและสัญญา 2 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) มูลค่าสัญญา 21,235,400,000 บาท ได้ขอขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไปอีกกว่า 1 ปี จากที่เริ่มสัญญาวันที่ 4 มี.ค. 2556-10 ก.พ. 2560 (1,440 วัน) โดยในวันที่ 22 ส.ค.นี้ จะประชุมร่วมกับผู้รับจ้างทั้ง 2 สัญญา เพื่อพิจารณารายละเอียดในประเด็นดังกล่าว ซึ่งเบื้องต้น ผู้รับจ้างจะได้สิทธิ์ในการต่อสัญญาก่อสร้างออกไปอีก 5 เดือนอยู่แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อช่วยเหลือเรื่องน้ำท่วม โดยจะสิ้นสุดที่เดือนก.ค. 2560
ส่วนจะมีการขยายเวลาก่อสร้างออกไปเพิ่มเติมอีกหรือไม่อย่างไร จะต้องพิจารณาปัญหาอุปสรรคเช่น สัญญา 1 ติดเรื่องแนวท่อบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) โดยเพิ่งได้ข้อยุติเมื่อต้นปี 2559 หรือสัญญา 2 มีปัญหาการรื้อย้ายชุมชน เป็นต้นดังนั้นต้องพิสูจน์เหตุผลและหาจุดลงตัวว่าปัญหาอุปสรรคต่างๆ ทำให้ผู้รับจ้างทำงานในพื้นที่ไม่ได้จริงกระทบเวลาเท่าไร ต้องคำนวณหักลบกันไปตามจริงและประเมินว่า เนื้องานที่เหลือจะใช้เวลาอีกเท่าไร ต้องประมวลทั้งหมดเพื่อสรุปภายในเดือนส.ค.นี้ ยึดกรอบการก่อสร้างงานโยธาจะต้องเสร็จภายในปี 2561 และในปี 2562 จะเป็นการทดสอบระบบเพื่อเปิดเดินรถในปี 2563 พร้อมทั้งต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน ของสัญญา1,2และสัญญา 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาตู้รถไฟฟ้า) ขณะที่สัญญากำหนดค่าปรับสำหรับการก่อสร้างที่ล่าช้ากว่าสัญญาที่ อัตรา 0.01% ของมูลค่าสัญญา
สำหรับการเดินรถสายสีแดงนั้นร.ฟ.ท.กำลังศึกษารายละเอียดเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการเดินรถเองโดยตั้งบริษัทลูก หรือการว่าจ้างเอกชน ซึ่งในส่วนของสัญญา 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้าบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน)นั้น ร.ฟ.ท.ได้ลงนามกับกิจการร่วมค้า MHSC (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation) ให้เป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟ, ระบบไฟฟ้าและส่งกำลัง, ระบบอาณัติสัญญาณ, ระบบติดต่อสื่อสาร, ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถโดยสาร มูลค่าสัญญา 32,399.99 ล้านบาท เริ่มงานเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2559 ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (48 เดือน) คาดว่าจะเปิดใช้งานได้จริงประมาณต้นปี2563 เนื่องจากติดปัญหาการเข้าพื้นที่ของสัญญาที่3ที่ล่าช้า
โดยจัดหารถจำนวน 130 ตู้ โดยตามผลศึกษา จะจัดรถออกเป็น 2 ชุด ประกอบด้วย 1.ขบวนละ 4 ตู้ จำนวน 10 ขบวน วิ่งให้บริการช่วงบางซื่อ-รังสิต (รวม40ตู้) 2. ขบวนละ 6 ตู้ จำนวน 7 ขบวน ให้บริการช่วงบางซื่อ-รังสิต และอีก 8 ขบวนให้บริการ ช่วง บางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยอาจจะมีการปรับใหม่อีกครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับการจัดความถี่ในการเดินรถ ซึ่งโดยคาดว่าในปีที่เกิดให้บริการสายสีแดงจะมีผู้โดยสารประมาณ 129,000 คน/วัน/ทิศทาง และเพิ่มขึ้นเป็น 230,000 คน/วัน/ทิศทางในปี 2585

สำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต มีจุดเริ่มต้นโครงการที่สถานีบางซื่อกม.6+000 (จากหัวลำโพง) บริเวณแยกประดิพันธ์ ประมาณ1.8กิโลเมตร ทางทิศใต้ของสถานีบางซื่อ ไปตามแนวเขตทางรถไฟสายเหนือผ่านเขตจตุจักร บางเขน หลักสี่ ดอนเมือง และไปสิ้นสุดที่สถานีรังสิต จังหวัดปทุมธานี ระยะทางรวมประมาณ 26.3 กิโลเมตร มี10สถานี ประกอบด้วย

สถานีกลางบางซื่อ,
สถานีจตุจักร,
สถานีวัดเสมียนนารี,
สถานีบางเขน,
สถานีทุ่งสองห้อง,
สถานีหลักสี่,
สถานีการเคหะ,
สถานีดอนเมือง,
สถานีหลักหก, และ
สถานีรังสิต

***สถานีบางซื่อ,ทุ่งสองห้องเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง
โดยเฉพาะงานก่อสร้างของสถานีทุ่งสองห้อง มีความก้าวหน้า 70.89% โดยสถานีแบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นพื้นดิน (Ground Floor Level) เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถรับ-ส่งผู้โดยสาร ชั้นที่ 2 (Concourse Level) เป็นชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และ ชั้นที่ 3 (CT Platform Level) เป็นชั้นชานชลา มี4 ทางวิ่ง โดย 2 ทางวิ่งด้านข้างรองรับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ส่วน 2 ทางตรงกลางรองรับรถไฟทางไกล โดยมีชานชลาอยู่ด้านข้างสองฝั่ง (Side Platform)

สถานีกลางบางซื่อ (Grand Station) แบ่งเป็นชั้นใต้ดิน สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน ชั้น1 จะเป็นชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร ซึ่งมีโถงเชื่อมต่อจากพื้นที่จอดรถไปยังรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีบางซื่อด้วย โดยคืบหน้า 38.24% ซึ่งล่าช้ากว่าแผนเนื่องจากติดการรื้อย้ายท่อส่งน้ำมัน ส่วนชั้น 2 เป็นชานชลามี 12 ทางวิ่ง โดยรองรับสายสีแดง 4 ชานชลา รองรับรถไฟทางไกล 8 ชานชลา และชั้นที่ 3 ก่อสร้างโครงสร้างไว้เผื่อ12ทางวิ่ง รองรับขบวนรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ในอนาคต

***เดินหน้าต่อขยายโครงข่ายสีแดงเชื่อมเมืองรอบกทม. ฉะเชิงเทรา,อยุธยา,นครปฐม
นายวุฒิชาติกล่าวว่า เมื่อวันที่26 ก.ค. ครม.ได้อนุมัติการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง (Missing Link)
สีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก และ สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.9 กม. วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา (TOR)เพื่อเสนอนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีพิจารณา นอกจากนี้ เพื่อให้การเดินรถไฟฟ้าสายสีแดงเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงการเดินทางจากจังหวัดรอบนอกกรุงเทพเข้ามาได้สะดวกมากขึ้น ร.ฟ.ท.มีแผนจะ

ต่อขยายเส้นทาง จากรังสิต-ม.ธรรมศาสตร์-ชุมทางบ้านภาชี ,
ต่อขยายจากหัวหมาก-ฉะเชิงเทรา และ
ต่อขยายจากตลิ่งชัน-ศาลายา-นครปฐม
https://www.youtube.com/watch?v=d-mhPQW__jk
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2016 9:55 am    Post subject: Reply with quote

คลังชงครม.กู้เงิน"ไจก้า"3หมื่นล้าน สบน.เปิดแผนจ่ายค่าก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
21 สิงหาคม 2559 เวลา10:00:00 น.

สบน.ชง ครม.กู้เงินไจก้างวดสุดท้ายสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดง วงเงิน 3 หมื่นล้าน ยันสิ้นปีงบประมาณ 2559 หนี้สาธารณะอยู่ที่ 44% ตามที่ประมาณการไว้

นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า คลังเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีใน 1-2 สัปดาห์นี้ เพื่อปรับแผนบริหารหนี้สาธารณะปีงบประมาณ 2559 เนื่องจากต้องกู้เงินจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) งวดสุดท้าย เพื่อใช้สร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สายสีแดง) บางซื่อ-รังสิต ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยจะเบิกเงินกู้ตั้งแต่เดือน ก.ย.เป็นต้นไป

เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงการคลังได้กู้เงิน Euro Commercial Paper ให้การรถไฟฯ วงเงิน 12,344 ล้านเยน หรือ 4,152.43 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการดังกล่าว โดยเป็นเงินกู้ระยะสั้น 3 เดือนที่ใช้เป็น Bridge Financing ก่อนที่จะกู้เงินจากไจก้า โดยการรถไฟฯ ได้เบิกจ่ายเงินกู้ ECP Programme ไปเมื่อ 27 ก.ค. 2559 ยอดหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2559 (30 ก.ย. 2559) คาดว่าจะอยู่ที่ 44% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ถือว่าใกล้เคียงกับที่ได้ประมาณการไว้ในการปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2559 ครั้งที่ 2

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วงเงินกู้จากไจก้าลอตสุดท้ายสำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดง คิดเป็นเงินกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้งวดที่ 3 จากก่อนหน้านี้ที่ได้มีการเซ็นสัญญาเงินกู้งวดที่ 2 วงเงิน 38,203 ล้านเยน หรือเทียบเท่าประมาณ 10,697 ล้านบาท ไปเมื่อช่วงเดือน มิ.ย. 2558 ซึ่งงวดที่ 2 เป็นเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนแบบ Preferential Terms มีอัตราดอกเบี้ยสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในอัตรา 0.40% ต่อปี ส่วนค่าจ้างที่ปรึกษา ดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี และค่าธรรมเนียมเงินกู้ 0.20% ของวงเงินกู้ ระยะเวลาการชำระหนี้ 20 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้เงินต้น 6 ปี ส่วนครั้งแรกกู้ในวงเงิน 28,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 1.4% เวลาชำระหนี้ 20 ปีเท่ากัน

"โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง มีการทยอยเบิกจ่ายเรื่อย ๆ ซึ่งตอนนี้วงเงินงวดที่ 2 หมดแล้ว และระหว่างดำเนินการกู้งวดที่ 3 จึงได้กู้ ECP มาเป็น Bridge Financing ช่วงสั้น ๆ ก่อน เพราะยังกู้ไจก้าไม่ทัน ดอกเบี้ยก็ใกล้เคียงกับงวดที่ 2"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/08/2016 6:46 am    Post subject: Reply with quote

สร้างมาราธอน "รถไฟฟ้าสายสีแดง" รับเหมาขอต่อเวลา 3 ปี เลื่อนเปิดหวูดยาว
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 23 ส.ค. 2559 เวลา 21:00:16 น.

เป้าของรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วง "บางซื่อ-รังสิต" จะเปิดหวูดในปี 2563 ถึงนาทีนั้นยังต้องลุ้นจะเป็นไปตามที่ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" คาดการณ์หรือไม่ ในเมื่อล่าสุดผู้รับเหมาก่อสร้างทั้ง 2 สัญญา พร้อมใจขอต่อเวลาก่อสร้างออกไปอีก ทั้งที่ปัจจุบันโครงการมีความล่าช้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว นับจากเริ่มตอกเข็มปี 2556

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า งานก่อสร้างสัญญาที่ 1 งานสถานีกลางบางซื่อ อาคารซ่อมบำรุงและสถานีจตุจักรของกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสยู (ซิโน-ไทยฯ และยูนิคฯ) วงเงิน 34,118 ล้านบาท ปัจจุบันมีความก้าวหน้า 47.26% ทางผู้รับเหมาขอขยายเวลา 3 ปี ถึงปี 2563 จากเดิมสิ้นสุด ก.ค. 2560 เพราะติดรื้อย้ายท่อขนส่งน้ำมันของ บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT)

ส่วนสัญญาที่ 2 งานทางวิ่งรถไฟยกระดับ และระดับดิน พร้อมอาคารสถานี 6 สถานี ได้แก่ บางเขน ทุ่งสองห้อง หลักสี่ การเคหะฯ ดอนเมือง และรังสิต มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 24,575 ล้านบาท ความก้าวหน้าของงานอยู่ที่ 67.73% โดยขอขยายเวลาไปอีก 1 ปีถึงปี 2561 จากเดิมจะสิ้นสุดเดือน ก.ค. 2560

"วุฒิชาติ กัลยาณมิตร" ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า งานก่อสร้างสัญญาที่ 1 และ 2 โดยรวมมีความล่าช้าอยู่ที่ 20% เนื่องจากติดปัญหารื้อย้ายท่อส่งน้ำมันของ FPT ทำให้ส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาล่าช้า และปรับปรุงแบบก่อสร้างจากเดิมรองรับรางรถไฟ 3 ราง เป็น 4 ราง และปัญหาอุทกภัย ในวันที่ 22 ส.ค.นี้จะมีการหารือกับผู้รับเหมาทั้ง 2 สัญญาในการขยายระยะเวลาสัญญาการก่อสร้าง จะสามารถให้ตามที่ผู้รับเหมาเสนอมาหรือไม่ เนื่องจากการขยายเวลาจะต้องมีค่างานที่ ร.ฟ.ท.ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น จะเร่งให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน ส.ค.นี้

ทั้งนี้ การขยายเวลาของผู้รับเหมาจะไม่กระทบ แต่แผนงานก่อสร้างและการเปิดให้บริการจะเริ่มทดสอบระบบปลายปี 2562 และเปิดให้บริการได้ต้นปี 2563 เนื่องจากงานสัญญาที่ 3 ติดตั้งระบบไฟฟ้า เครื่องกลและจัดหารถไฟฟ้า ซึ่งลงนามสัญญากับกลุ่มร่วมค้า MHSC (มิตซูบิชิเฮฟวี่-ฮิตาชิ-สุมิโตโม) จากประเทศญี่ปุ่น วงเงิน 32,399 ล้านบาท เพิ่งเริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2559 ปัจจุบันความก้าวหน้าของงานอยู่ที่ 0.83% ตามแผนจะเสร็จปี 2563 พอดี

ขณะที่งานก่อสร้าง 10 สถานี ที่บางซื่อคืบหน้า 38.24% จตุจักร 31.18% วัดเสมียนนารี 55.27% บางเขน 66.61% ทุ่งสองห้อง 70.89% หลักสี่ 53.73% การเคหะฯ 62.49% ดอนเมือง 50.72% หลักหก 38.75% และรังสิต 54.36%

ด้าน "ประสงค์ สุวิวัฒน์ธนชัย" กรรมการ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทจะหารือกับ ร.ฟ.ท.ขอขยายเวลาสัญญางานที่ 1 เพราะที่ผ่านมามีการปรับปรุงแบบก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อใหม่จาก 3 ราง เป็น 4 ราง และติดรื้อย้ายท่อ FPT เพิ่งเสร็จเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา จึงทำให้ไม่สามารถวางฐานรากได้ตามแผนงานที่กำหนด ซึ่งการขยายเวลาดังกล่าวจะไม่กระทบต่อการก่อสร้างให้ล่าช้าเพราะต้องทำงานคู่กับสัญญาที่ 3 ในการวางระบบอาณัติสัญญาณ คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมกันในปี 2563
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2016 1:18 pm    Post subject: Reply with quote

สายสีแดงบางซื่อ-รังสิต สถานีกลางบางซื่อ ศูนย์กลางเชื่อมโยงสู่อาเซียน
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,185 วันที่ 21 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต เป็นอีกหนึ่งโครงการเร่งด่วนในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้รับงบประมาณเพื่อใช้ในการก่อสร้างด้วยเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(JICA) โดยก่อสร้างสัญญาที่ 1 (สถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) ปัจจุบันมีความคืบหน้า 47.26% และสัญญาที่ 2 (งานโยธาช่วงบางซื่อ-รังสิต) คืบหน้า 67.73% และสัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้า สำหรับช่วงบางซื่อ – รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน) มีความคืบหน้า 0.83% คาดว่าจะเปิดใช้งานได้จริงประมาณต้นปี 2563 โดยช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันอาจจะใช้งานได้ก่อนเพราะมีความพร้อมรองรับไว้แล้ว


รถไฟฟ้าสายสรแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต
รถไฟฟ้าสายสรแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต
แนวเส้นทางมีระยะทางรวม 26.3 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณแยกประดิพัทธ์ที่ห่างจากสถานีกลางบางซื่อไปทางทิศใต้ประมาณ 1.8 กิโลเมตรขึ้นไปทางทิศเหนือตามแนวเขตทางรถไฟสายเหนือไปสิ้นสุดที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ยังมีแผนจะต่อขยายแนวเส้นทางไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยก่อสร้างเป็นทางยกระดับจากช่วงบริเวณถนนประดิพัทธ์-ดอนเมือง ระยะทาง 19.2 กิโลเมตร และลดระดับลงมาเป็นทางระดับพื้นดินไปจนถึงสถานีรังสิต ระยะทาง 7.1 กิโลเมตร มีจำนวน 10 สถานีเริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะฯ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก และสถานีรังสิต

ดังนั้นหากรถไฟสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อเปิดให้บริการจะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางแห่งใหม่ของประเทศไทยรวมทั้งเป็นจุดเชื่อมโยงการเดินทางที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ให้บริการอย่างครบครันทั้งรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง รถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน(Airport Rail Link) และรถไฟความเร็วสูง คาดว่าเมื่อเดินรถจะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารจากรังสิตสู่บางซื่อไม่น้อยกว่า 3.06 แสนคน/วัน (ในปีที่เปิดดำเนินการ) และเมื่อขยายแนวเส้นทางไปถึงชุมทางบ้านภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา จะเพิ่มเป็นประมาณ 4.49 แสนคน/วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2016 9:35 am    Post subject: Reply with quote

ค่าก่อสร้างสีแดงบาน เหตุแก้แบบ-ส่งพื้นที่ช้า รับเหมาเคลมต้นทุนเพิ่ม
โดย MGR Online
29 สิงหาคม 2559 05:52 น. (แก้ไขล่าสุด 29 สิงหาคม 2559 09:05 น.)


ร.ฟ.ท.ถกขยายสัญญาก่อสร้างรถไฟสายสีแดง เคาะต่อสัญญา 2 ให้ “ITD” 12 เดือน ส่วนสัญญา 1 (สถานีกลางบางซื่อ) กิจการร่วมค้าเอสยูขอขยายเวลาถึง 30 เดือน เหตุเจอปัญหายาว ต้องพิจารณาอีกรอบ ขณะที่ผู้รับเหมาส่อได้ค่างานเพิ่มชดเชยต้นทุน ที่ได้รับผลกระทบจากการขยายเวลาก่อสร้าง

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ได้หารือกับผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต สัญญา 1 และ 2 เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาในการขยายระยะเวลาก่อสร้างหลังจากมีปัญหาในการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างและการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อทำให้กระทบต่อสัญญาเดิม โดยเบื้องต้นจะต้องทำรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงการพิจารณาค่างานเพิ่มเติม ซึ่งจะต้องดูรายละเอียดที่สัญญาเขียนไว้ให้ชัดเจน จะประชุมร่วมกันอีกครั้งในสัปดาห์นี้ให้ได้ข้อยุติภายในสิ้นเดือน ส.ค. จากนั้นจะรวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ เบื้องต้นผู้รับจ้างจะได้สิทธิ์ในการต่อสัญญาก่อสร้างออกไปอีก 5 เดือนตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อช่วยเหลือกรณีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท โดยสัญญา 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ ช่วงบางซื่อ-รังสิต) มีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เป็นผู้รับจ้าง มูลค่าสัญญา 21,235,400,000 บาท เริ่มสัญญาวันที่ 4 มี.ค. 2556-10 ก.พ. 2560 (ระยะเวลาก่อสร้าง 1,440 วัน) เบื้องต้นจะขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก 12 เดือน คือ 5 เดือน (กรณีค่าแรง) และ 7 เดือน จากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า ถึงเดือน ก.พ. 2561

ส่วนสัญญา 1 (งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง) มีกิจการร่วมค้าเอสยู ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้าง มูลค่าสัญญา 29,826,973,512 บาท เริ่มสัญญาวันที่ 4 มี.ค. 2556-10 ก.พ. 2560 (ระยะเวลาก่อสร้าง 1,440 วัน) ผู้รับจ้างขอขยายเวลาก่อสร้าง 30 เดือน เพราะติดรื้อย้ายท่อขนส่งน้ำมันของ บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) ซึ่งยังพิจารณาไม่ยุติ

นายธวัชชัย สุทธิประภา กรรมการรองประธานบริหารอาวุโส บริษัท อิตาเลียนไทยฯ กล่าวว่า บริษัทฯ รับงานสัญญา 2 ซึ่งได้รับผลกระทบจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า โดยเสนอขอขยายเวลาไป 14 เดือน ซึ่งล่าสุดได้ข้อตกลงกันที่ 12 เดือน โดยเป็นสิทธิ์ขยายเวลาก่อสร้างเรื่องค่าแรง 300 บาทตามมติ ครม. จำนวน 5 เดือน และผลกระทบการส่งมอบพื้นที่ล่าช้าจำนวน 7 เดือน ซึ่งต้องยอมรับว่าการขยายเวลาก่อสร้างออกไป ทำให้บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในส่วนของต้นทุนคงที่ต่างๆ เช่น ฝ่ายสนับสนุนต่างๆ เช่น ค่าเช่าสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ซึ่ง ร.ฟ.ท.ให้บริษัทฯ ทำรายละเอียดเสนอเพื่อพิจารณาต่อไป

“โครงการก่อสร้างจะมีต้นทุนคงที่ ซึ่งจะประเมินตามเนื้องานและระยะเวลาก่อสร้าง โดยเฉลี่ยประมาณ 10% ของมูลค่าสัญญา เมื่อมีการขยายเวลาก่อสร้างต้นทุนเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งจะต้องนำรายละเอียดมาพิจารณาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม มั่นใจว่าแม้จะมีการขยายเวลาก่อสร้างงานโยธารถไฟสายสีแดงออกไป แต่จะไม่กระทบต่อการเปิดให้บริการ เนื่องจากการเปิดเดินรถได้เมื่อใดจะต้องขึ้นกับสัญญา 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาตู้รถไฟฟ้า) เป็นหลัก” นายธวัชชัยกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 13/09/2016 8:00 am    Post subject: Reply with quote

เจาะ 10 สถานีรถไฟสายสีแดง "บางซื่อ-ดอนเมือง" สุดอลังการ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 12 ก.ย. 2559 เวลา 20:30:43 น.

ดูเหมือนโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง "บางซื่อ-รังสิต" ที่ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" กำลังเร่งสร้างให้เสร็จเปิดใช้ในปี 2563 จะกลายเป็นจุดศูนย์รวมของความที่สุด

นับจาก "ครม.-คณะรัฐมนตรี" อนุมัติโครงการเมื่อปี 2552 กว่าจะได้ผู้รับเหมาก็ใช้เวลาประมูลนานข้ามปี โดยเฉพาะสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมทั้งจัดซื้อขบวนรถ ที่ใช้เวลาพิจารณาถึง 4 ปี

นอกจากนี้ยังทุบสถิติค่าก่อสร้างบานปลายถึง 4 รอบจาก 59,888 ล้านบาท ทะยานมาแตะ 93,950 ล้านบาท

อีกทั้งยังเป็นโครงการที่ผู้รับเหมาก่อสร้างขอขยายระยะเวลาก่อสร้างยาวนานถึง 3 ปี จนทำให้โครงการใช้เวลาก่อสร้างถึง 7 ปี นับจากวันแรกเริ่มตอกเข็มต้นปี 2556

Click on the image for full size

อีกหนึ่งไฮไลต์เป็นการดีไซน์สถานีทั้ง 10 แห่ง นับว่ามีพื้นที่ใช้สอยสถานีขนาดใหญ่กว่ารถไฟฟ้าสายอื่น ๆ อาจจะเป็นเพราะต้องรองรับรถไฟถึง 3 ระบบในโครงสร้างเดียวกัน ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟฟ้าชานเมือง และรถไฟขนส่งสินค้า

เมื่อเลาะตามรายสถานี จุดแรก "สถานีกลางบางซื่อ" สถานีต้นทางของโครงการ เป็นสถานีมีพื้นที่ใหญ่สุด โดยมีพื้นที่ใช้สอย 3 แสน ตร.ม. เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นศูนย์กลางการเดินทางด้วยระบบรางแห่งใหม่ของประเทศ เพราะจะเป็นสถานีชุมทางของรถไฟทางไกลสายเหนือ สายตะวันออก และสายใต้ ระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง แอร์พอร์ตลิงก์ และรถไฟความเร็วสูงที่จะพัฒนาในอนาคต

รูปแบบสถานีมี 4 ชั้น "ชั้นใต้ดิน" เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถประมาณ 1,700 คัน มีโถงเชื่อมต่อขึ้นไปยังชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และมีทางเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีบางซื่อ

"ชั้นพื้นดิน" เป็นโถงพักคอยและรับผู้โดยสาร มีพื้นที่ชั้นลอยสำหรับควบคุมระบบการเดินรถ และต้อนรับบุคคลสำคัญ พื้นที่จำหน่ายตั๋วโดยสาร และจุดเชื่อมต่อไปยังสถานีบางซื่อรถไฟฟ้าใต้ดิน และพื้นที่พาณิชยกรรม ร้านค้า

"ชั้นที่ 2" เป็นชั้นชานชาลารถไฟทางไกล จำนวน 6 ชานชาลา สามารถตั้งขบวนรถได้ 12 ขบวน และ "ชั้นที่ 3" เป็นชั้นชานชาลารถไฟชานเมือง อยู่ตรงกลาง จำนวน 6 ชานชาลา

Click on the image for full size

ส่วนสถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ และสถานีการเคหะ จะเป็นสถานีที่รองรับรถไฟฟ้าชานเมือง มีพื้นที่ใช้สอยเท่ากันประมาณ 7,200 ตร.ม. ภายในสถานีมี 3 ชั้น ประกอบด้วย "ชั้นพื้นดิน" เป็นพื้นที่สำหรับจอดรถรับ - ส่งผู้โดยสารที่จะใช้บริการ "ชั้นที่ 2" เป็นชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร และเป็นพื้นที่รองรับผู้โดยสาร จะผ่านขึ้นไปยังชานชาลา และ "ชั้นที่ 3" เป็นชั้นชานชาลารถไฟฟ้าชานเมือง

ขณะที่ "สถานีดอนเมือง" มีพื้นที่ใช้สอย 25,000 ตร.ม. ใหญ่เป็นอันดับสองของโครงการ จะรองรับได้ทั้งรถไฟฟ้าชานเมืองและรถไฟทางไกล มีทั้งหมด 4 ชั้น "ชั้นพื้นดิน" เป็นพื้นที่จอดรถรับ - ส่งผู้โดยสารจะมาใช้บริการ ส่วน "ชั้นที่ 2" เป็นชั้นจำหน่ายตั๋ว และเป็นพื้นที่รองรับผู้โดยสารที่จะผ่านขึ้นไปยังชานชาลารถไฟฟ้าชานเมืองและรถไฟทางไกล "ชั้นที่ 3" เป็นชั้นชานชาลารถไฟทางไกล และ "ชั้นที่ 4" เป็นชั้นชานชาลารถไฟฟ้าชานเมือง

สำหรับ "สถานีหลักหก" เป็นสถานีระดับดิน รองรับเฉพาะรถไฟฟ้าชานเมือง มีพื้นที่ใช้สอย 7,800 ตร.ม. โดย "ชั้นพื้นดิน" เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟฟ้าชานเมือง "ชั้นที่ 2" เป็นชั้นจำหน่ายตั๋ว และพื้นที่รองรับผู้โดยสารที่จะผ่านลงไปยังชานชาลา

สุดท้าย "สถานีรังสิต" เป็นสถานีถูกออกแบบให้มีทั้งยกระดับ รองรับรถไฟฟ้าชานเมือง และระดับดิน รองรับรถไฟทางไกล มีพื้นที่ใช้สอย 21,000 ตร.ม. ถึงจะมีขนาดไซซ์ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 แต่รูปแบบของสถานีจะไม่ต่างจากสถานีอื่น ๆ โดย "ชั้นพื้นดิน" เป็นชั้นชานชาลารถไฟทางไกล และพื้นที่จอดรถรับ - ส่งผู้โดยสาร "ชั้นที่ 2" เป็นชั้นจำหน่ายตั๋ว และพื้นที่รองรับผู้โดยสารที่จะผ่านไปยังชานชาลารถไฟทางไกล และรถไฟฟ้าชานเมืองและ "ชั้นที่ 3" เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟฟ้าชานเมือง

โดย "ร.ฟ.ท." ประเมินว่าเมื่อเปิดเดินรถในปีแรกจะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารจากรังสิตสู่บางซื่อไม่น้อยกว่า 306,608 เที่ยวคนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2016 6:30 pm    Post subject: Reply with quote

รับทราบดำเนินการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะ3
ฐานเศรษฐกิจ
27 กันยายน 2559

ที่ประชุม ครม. รับทราบกรณีกระทรวงการคลังกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อมาปล่อยกู้ให้ ร.ฟ.ท.ใช้ดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะที่ 3 วงเงิน 1.66 แสนล้านเยน (5.73 หมื่นล้านบาท) โดยโครงการดังกล่าวได้รับอนุมัติหลักการจาก ครม.เมื่อปี 50 วงเงินค่าก่อสร้าง 6.5 หมื่นล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ก.พ.59 ครม.ได้อนุมัติให้ขยายวงเงินค่าก่อสร้างเป็น 9 หมื่น 3 พันล้านบาท โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณ 105 ล้านบาท ใช้เงินกู้ในประเทศ 1.5 หมื่นล้านบาท และเงินกู้ต่างประเทศ 8.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นมาแล้วสองงวด คือ เมื่อปี 52 และปี 58 วงเงินรวม 1.01 แสนล้านเยน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2016 1:51 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รับทราบดำเนินการก่อสร้างรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะ3
ฐานเศรษฐกิจ

ขุนคลังเซ็นกู้เงิน "ไจก้า" กว่า 5 หมื่นล้านบาท เฟสสุดท้ายรถไฟชานเมืองสายสีแดง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
30 กันยายน 2559 เวลา 13:22:04 น.


ขุนคลังเซ็นกู้เงิน "ไจก้า" กว่า 5 หมื่นล้านบาท เฟสสุดท้ายรถไฟชานเมืองสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต แจงดอกเบี้ยเท่ากับกู้ครั้งก่อนแต่ญี่ปุ่นแถมความรู้ให้

วันนี้ (30 กันยายน 2559) นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ H.E. Mr. Shiro Sadoshima เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะที่ 3 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้งได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้สำหรับโครงการดังกล่าวกับ Mr.Hiroo Tanaka หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ณ กระทรวงการคลัง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ภายใต้ความร่วมมือทางการเงินครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงให้รัฐบาลไทยโดยกระทรวงการคลังกู้เงินผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency : JICA) วงเงิน 166,860 ล้านเยน หรือเทียบเท่าประมาณ 53,479 ล้านบาท สำหรับการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต

โดยเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนแบบ Preferential Terms มีอัตราดอกเบี้ยสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในอัตราร้อยละ 0.30 ต่อปี และสำหรับส่วนค่าจ้างที่ปรึกษา อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี และมีค่าธรรมเนียมเงินกู้ (Front-End Fee) ร้อยละ 0.20 ของวงเงินกู้ กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ 15 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้ 5 ปี ระยะเวลาเบิกจ่ายภายใน 6 ปี เพื่อรองรับการดำเนินโครงการจนเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ ให้สามารถจัดซื้อสินค้าและบริการได้จากทุกประเทศ โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ

"เงื่อนไขเงินกู้เท่ากับการกู้ครั้งที่ 2 ที่ผ่านมา แต่สิ่งที่เขาแถมให้คือ ความรู้ที่จะให้เพิ่มเติม ขณะที่การเบิกจ่าย ก็จะเบิกตามผลงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีที่เขาไม่ได้ให้เบิกทีเดียวทั้งก้อน" นายอภิศักดิ์กล่าว

สำหรับโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2563 ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารสามารถใช้ประโยชน์จากการเดินรถระบบรถไฟชานเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สะดวก ทันสมัย ตรงเวลา โดยคาดว่าเมื่อเดินรถระบบรถไฟฟ้าจะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารจากรังสิตสู่บางซื่อไม่น้อยกว่า 300,000 คน/วัน ในปีที่เปิดดำเนินการ นอกจากนี้ ยังจะทำให้สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเป็นสถานีต้นทางของโครงการกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางรางแห่งใหม่ของประเทศ รวมทั้งเป็นสถานีชุมทางของรถไฟทางไกลสายเหนือ สายอีสาน สายตะวันออก และสายใต้ และเป็นสถานีศูนย์กลางของระบบรถไฟชานเมือง ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม สีแดงอ่อน และแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ รวมถึงรถไฟขนาดทางมาตรฐาน (Standard Gauge) ในอนาคต

ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูปเงื่อนไขผ่อนปรนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2511 จนถึงปัจจุบันมีวงเงินกู้รวมทั้งสิ้น 2,369,468 ล้านเยน ซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งให้ความช่วยเหลือในโครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคมขนส่ง และการศึกษา รวมทั้งโครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในอนาคต All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 43, 44, 45 ... 147, 148, 149  Next
Page 44 of 149

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©