RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181674
ทั้งหมด:13492912
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 200, 201, 202 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/08/2016 7:20 pm    Post subject: Reply with quote

พัฒนาที่ดินรถไฟเร็วสูง กทม.-ระยอง
NOW26 Published on Aug 21, 2016

พิกัดข่าวเที่ยง ช่วง พิกัดเศรษฐกิจ : พัฒนาที่ดินริมรถไฟเร็วสูง กทม.-ระยอง "NOW26" 22-8-59


https://www.youtube.com/watch?v=xKSXYRNTXgE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 24/08/2016 9:57 am    Post subject: Reply with quote

“นายกฯ”กำชับเร่งสร้างเร็วที่สุด รถไฟความเร็วสูง ก.ย. นี้
มติชน
วันที่: 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา: 20:16 น.

“นายกฯ” ย้ำ เร่งสร้างรถไฟความเร็วสูง ก.ย. นี้ ครม. เห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือไทย-จีน

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ตึกทำเนียบรัฐบาล พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ร่างกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558 -2565 ฉบับใหม่ วันนี้ได้มีการเห็นชอบร่างกรอบความร่วมมือฉบับดังกล่าว ซึ่งเมื่อวันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมาได้มีการหารือระหว่างผู้นำ 2 ประเทศ ได้ข้อตกลงว่าในการดำเนินการโครงสร้างความร่วมมือรถไฟไทย-จีน คือฝ่ายไทยจะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างทั้งหมด โดยการก่อสร้างจะเป็นระบบรถไฟความเร็วสูงเริ่มต้นที่กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นที่แรก ซึ่งในสัญญาเรามีกรรมสิทธิ์ทั้ง 2 ฉบับที่ทำ

พล.ต.วีรชน กล่าวอีกว่า มีกรอบที่เปลี่ยนแปลงไปจากฉบับเดิมคือจะให้ความสำคัญช่วงระยะกรุงเทพฯ-แก่งคอย และช่วงที่สาม แก่งคอย-นครราชสีมา นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังได้มีการเน้นย้ำให้มีการก่อสร้างอย่างเร็วที่สุด ซึ่งในขั้นต้นได้มีการวางกรอบระยะเวลาเริ่มก่อสร้างโครงการในระยะแรกภายในเดือนกันยายนนี้ และส่วนใดที่มีปัญหานายกฯก็ได้ย้ำว่าให้รีบดำเนินการให้ชัดเจนและรีบลงมือปฏิบัติได้เลย

//---------

รื้อบอร์ดรถไฟขันนอตประมูลทางคู่ "อาคม"บินไปปักกิ่งถกไฮสปีดไทย-จีน คาดตอกเข็มไม่ทันก.ย.นี้

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่: 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา: 18:01:02 น.

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 ส.ค. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ใหม่ จำนวน 7 คน เนื่องจากบอร์ดชุดเดิมหมดวาระเมื่อวันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา

ประกอบด้วย นายพิชิต อัคราทิตย์ ประธาน, นายคณิศ แสงสุพรรณ กรรมการ, นายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการ, นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ กรรมการ, รองศาสตรจารย์ธัชวรรณ กนิษฐ์พงศ์ กรรมการ, นางอัญชลี เต็งประทีป กรรมการ, นายอำนวย ปรีมนวงศ์ กรรมการ

"ผมจะเดินทางไปมอบนโยบายให้กับบอร์ดชุดใหม่วันที่ 25 ส.ค. เวลา 09.00 น. ถือเป็นการประชุมครั้งแรกหลังได้รับการแต่งตั้ง"

นายออมสินกล่าวว่า จะมอบนโยบายในเรื่องสำคัญที่รัฐบาลมีนโยบายเร่งด่วน เช่น รถไฟความเร็วสูงที่เข้าโครงการ PPP Fast track ของกระทรวงการคลัง, การออกทีโออาร์รถไฟทางคู่ที่เหลือ 5 เส้นทาง จะเร่งให้สามารถประมูลได้ภายในปีนี้ ขณะนี้เส้นทางที่กำลังก่อสร้าง ได้แก่ ชุมทางจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กิโลเมตร วงเงิน 26,004 ล้านบาท, ฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงิน 10,524 ล้านบาท กำลังออกทีโออาร์ประมมูลมีสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,290 ล้านบาท

อีก 3 เส้นทางเพิ่งผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) วันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้แก่ ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้าน, นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร วงเงิน 20,026 ล้านบาท และหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กิโลเมตร วงเงิน 9,437 ล้านบาท รอเข้าการพิจารณาของ ครม.ประมาณต้นเดือน ก.ย. 59 พร้อมกับสายมาบกะเบา-ชุมทางจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 29,853 ล้านบาท ส่วนสายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กิโลเมตร วงเงิน 20,036 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

"การออกทีโออาร์ทางคู่ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ที่ล่าช้า หลังทำประชาพิจารณ์ไป 2 ครั้ง เนื่องจากทีโออาร์เดิมเปิดกว้างไป จึงต้องปรับให้แคบลง ตอนนี้รองนายรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ก็ได้เห็นชอบร่างทีโออาร์แล้ว รถไฟคงดำเนินการต่อไป" นายออมสินกล่าว และว่า นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้รายงานผลการดำเนินการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรอบความร่วมมือในการดำเนินการระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน FOC (Framework of Cooperation) ให้กับ ครม.รับทราบ รวมทั้งการประชุมครั้งที่ 13 ที่จะจัดที่เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

โดยครั้งนี้จะหารือในประเด็นแบบการก่อสร้างช่วงที่ 1 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร จากสถานีกลางดง-สถานีปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ให้ชัดเจน เนื่องจากมี 3-5 จุดที่ยังต้องหารือด้านวิศวกรรมอยู่ จากนั้นถึงจะถอดแบบรายละเอียด เพื่อเปิดหาผู้รับเหมาก่อสร้างได้ คาดว่าจะไม่ทันเดือน ก.ย. 59

นอกจากนี้ยังมีการเจรจาร่างสัญญางานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (EPC-2) หลังจากการประชุมครั้งที่ 11 แยกสัญญา EPC-2 ออกเป็น 3 สัญญา ได้แก่ งานออกแบบการก่อสร้าง จ้างที่ปรึกษาที่ควบคุมงาน หาตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ซ่อมบำรุงและฝึกอบรม โดยจะเร่งทำสัญญาการออกแบบก่อนเพื่อสามารถเริ่มก่อสร้างได้

สำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะทาง 250 กิโลเมตร วงเงิน 179,000 ล้านบาท แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ตอน คือ ช่วงแรกที่สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร, ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร, ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นคราชสีมา ระยะทาง 120 กิโลเมตร และช่วงที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กิโลเมตร โดยช่วงที่ 2 และ 3 จากเดิมส่งแบบรายละเอียดเดือน ต.ค.เลื่อนส่งมาในเดือน พ.ย. 59 ช่วงที่ 4 ส่งแบบรายละเอียดในเดือน ก.พ. 60
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2016 12:46 am    Post subject: Reply with quote

เคาะรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน นายกฯสั่งให้เริ่มก่อสร้างภายในปลายปีนี้
แนวหน้า
วันพุธ ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559, 06.00 น.


นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน หลังจากเสนอที่ประชุม ครม.มาแล้วหลายครั้ง เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือการสร้างรถไฟฟ้า ช่วงแรกเน้นการสร้างรถไฟฟ้าเส้นกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยกำหนดการลงนามกรอบความร่วมมือกับรัฐบาลไทย-จีน โดยวันที่ 24 ส.ค. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เตรียมเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือเกี่ยวกับร่างสัญญาการออกแบบก่อสร้าง ระบบการเดินรถ อาณัติสัญญาณ

สำหรับเนื้อหากรอบลงนามเน้นการสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นอันดับแรก ส่วนโครงการอื่น คือ เส้นทาง แก่งคอย-นครราชสีมา, แก่งคอย-มาบตาพุด และนครราชสีมา-หนองคาย จะพิจารณาเพิ่มอีกครั้ง โดยรัฐบาลไทยมีสิทธิโดยสมบูรณ์ คาดว่าจะเร่งดำเนินการก่อสร้างในช่วงปลายปีนี้ โดยรัฐบาลจีนรับผิดชอบด้านการศึกษาความเหมาะสมโครงการ การสำรวจการออกแบบ ส่วนไทยวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนความเห็นการเวนคืนที่ดิน การก่อสร้างแบ่งเป็น 2 ส่วนสัญญา คือ สัญญาส่วนแรก คือ การสร้างระบบโยธา การจัดซื้อจัดจ้างไทยรับผิดชอบ เพื่อคัดเลือกผู้รับเหมาในการดำเนินการ ส่วนสัญญาที่ 2 คือ การวางราง ระบบไฟฟ้า เครื่องกล ขบวนรถไฟ ไทย-จีนร่วมกันดำเนินการ

ส่วนเงินทุนมาจากหลายแหล่ง ทั้งการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาลไทย การเงินกู้ในประเทศ และต่างประเทศ เช่น การกู้เงินจากธนาคารส่งออกนำเข้าของจีน จึงต้องหารือเรื่องอัตราดอกเบี้ยเพิ่ม ยอมรับว่าอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าหลายประเทศ สำหรับกรอบความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง เช่น การพัฒนาบุคลากร การถ่ายทอดความรู้ พัฒนา ฝึกอบรม โดยมหาวิทยาลัยการขนส่งปักกิ่งพร้อมถ่ายทอดความรู้ต่างๆ และจะเป็นผู้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดในช่วง 3 ปีแรก

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้เร่งดำเนินการให้ได้ภายในปลายปีนี้ เพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ออกไปยังต่างจังหวัดเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและเป็นการเปิดหัวเมืองหลักเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2016 9:55 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
พัฒนาที่ดินรถไฟเร็วสูง กทม.-ระยอง
NOW26 Published on Aug 21, 2016


เปิดแนวไฮสปีดเทรนปั้นเงิน ‘สมคิด’ดันรอบ 18 สถานีสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,186 วันที่ 25 – 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เปิดแนวไฮสปีดเทรนปั้นเงิน ‘สมคิด’ดันรอบ 18 สถานีสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ
เปิดโรดแมปพื้นที่เชิงพาณิชย์ 4 เส้นทางไฮสปีดเทรน 18 สถานีรวมพื้นที่ภายในสถานีกว่า 1.8 หมื่นตร.ม. ส่วนพื้นที่ย่านสถานีกว่า 1,043 ไร่ รวมทั้งพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ-กม.11 ตามนโยบาย “สมคิด” หวังสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาที่สามารถนำมาคืนทุนและมีผลตอบแทนทางการเงินดีขึ้น เน้นช่วยขยายการเติบโตของเมือง จี้ประสานผังเมืองเพื่อโอกาสการพัฒนาให้เป็น CBD และ TOD แต่ละสถานี เผยประมาณการรายได้ 30 ปีรวมกว่า 1.89 แสนล้าน ครบทั้งที่ดิน ร.ฟ.ท. ที่ดินราชพัสดุและที่ดินอื่นๆ

พื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์แนวรถไฟความเร็วสูง
พื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์แนวรถไฟความเร็วสูง
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าหลังจากมอบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและรถไฟเส้นทางต่างๆ ที่จะขับเคลื่อนออกมาให้กับกระทรวงคมนาคมแล้วนั้น โดยต้องการให้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นพื้นที่ที่สามารถนำมาคืนทุนให้กับโครงการและทำให้โครงการมีผลตอบแทนทางการเงินดีขึ้น เพื่อจะดึงดูดความสนใจภาคเอกชนในการร่วมลงทุนในโครงการ เพราะโครงการรถไฟความเร็วสูงผ่านพื้นที่หรือเมืองจะสามารถสร้างความเจริญเติบโตให้กับเมืองที่มีโครงการลงไป

โดยแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ในขอบเขตและบริเวณสถานีเป็น Central Business District : CBD และ Transit Oriented Development : TOD โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง สายเหนือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กิโลเมตร สายใต้ กรุงเทพฯ-หัวหิน 225 กิโลเมตร สายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กิโลเมตร และสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ระยอง 194 กิโลเมตรซึ่งจะต้องประสานกับกรมโยธาธิการและผังเมืองอย่างใกล้ชิดต่อไป

“ในวันที่ 31 สิงหาคม นี้ จะนำคณะกระทรวงคมนาคมเข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อรายงานความคืบหน้าเรื่องการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวรถไฟ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลเร่งผลักดัน”
นายสมคิดกล่าวอีกว่า จะนำเสนอเรื่องการใช้ประโยชน์ตามแนวรถไฟและรถไฟฟ้า ให้สามารถเห็นภาพชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะความต้องการให้สอดคล้องกับการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจในโซนภาคตะวันออก ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปข้อมูลแต่ละพื้นที่ในการจัดทำเป็นรูปแบบแอนิเมชันเพื่อให้เห็นภาพการพัฒนาได้ชัดเจนว่าจะออกมารูปแบบใดบ้าง เช่นเดียวกับการพัฒนาเพื่อการเชื่อมโยงเออีซี อาทิ รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือจุกเสม็ด และท่าเรือเฟอร์รี่ โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง คาดว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ประมาณเดือนตุลาคมนี้

“อยากเห็นว่างานเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ เนื่องจากปี 2560 จะเห็นหลายโครงการเกิดการพัฒนา ประการสำคัญปลายปีนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)จะจัดการประชุมนัดสำคัญเรื่องการลงทุนภายในประเทศไทย จึงต้องการให้แล้วเสร็จทันกับการประชุมดังกล่าว โดยเมื่อสามารถนำเข้าครม.ในเดือนตุลาคมคมนี้ก็จะเร่งผลักดันเปิดประมูลโดยเร็วต่อไป”

สำหรับการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามแนวรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา คัดเลือกไว้ 3 สถานี คือ สถานีสระบุรี พื้นที่ภายในอาคารสถานี 1,200 ตร.ม. พื้นที่บริเวณย่านสถานี 141 ไร่ พื้นที่ใกล้เคียงที่พัฒนาได้ 97 ไร่ สถานีปากช่อง พื้นที่อาคาร 1,200 ตร.ม. พื้นที่ย่านสถานี 396 ไร่ พื้นที่ใกล้เคียง(พื้นที่ทหารบก(ทบ.) 541 ไร่ สถานีนครราชสีมา พื้นที่ในอาคาร 1,400 ตร.ม. พื้นที่ย่านสถานี 63.94 ไร่ เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก คัดเลือกไว้ 5 สถานี คือ สถานีอยุธยา พื้นที่ในอาคาร 450 ตร.ม. พื้นที่ย่านสถานี 2.21 ไร่ สถานีลพบุรี พื้นที่ในอาคาร 450 ตร.ม. พื้นที่ย่านสถานี 50 ไร่ พื้นที่ใกล้เคียง(ของทบ.) 2,589 ไร่ สถานีนครสวรรค์ พื้นที่ในอาคาร 900 ตรม. พื้นที่ย่านสถานี 7.74 ไร่ พื้นที่ใกล้เคียง(ของทบ.) 6,120 ไร่ และของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) 3,385 ไร่ สถานีพิจิตร พื้นที่ในอาคาร 450 ตร.ม. พื้นที่ย่านสถานี 50 ไร่ พื้นที่ใกล้เคียง(กรมชลประทาน) 165 ไร่ และสถานีพิษณุโลก ภายในสถานี 900 ตร.ม. พื้นที่ย่านสถานี 10.39 ไร่ และพื้นที่ใกล้เคียง(ของทหารอากาศ) 9,323 ไร่

เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีนครปฐม พื้นที่ในสถานี 1,948 ตร.ม. ย่านสถานี 9.33 ไร่ สถานีราชบุรี ภายในสถานี 1,948 ตร.ม. ย่านสถานี 19 ไร่ พื้นที่ใกล้เคียง(เวนคืน) 141 ไร่ สถานีเพชรบุรี ภายในสถานี 1,214 ตร.ม. ย่านสถานี 110 ไร่ พื้นที่ใกล้เคียง 385 ไร่ และสถานีหัวหิน ภายในสถานี 1,214 ตร.ม. ย่านสถานี 20 ไร่ และพื้นที่ใกล้เคียง 145 ไร่

เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จำนวน 6 สถานี ได้แก่ สถานีลาดกระบัง ในสถานี 65 ตร.ม. สถานีฉะเชิงเทรา ในสถานี 200 ตร.ม. ย่านสถานี43.65 ไร่ สถานีชลบุรี พื้นที่ภายในอาคาร 211 ตร.ม. สถานีศรีราชา ภายในอาคาร 211 ตร.ม. ย่านสถานี 40 ไร่ สถานีพัทยา พื้นที่อาคาร 4,638 ตร.ม. ย่านสถานี 56.25 ไร่ และสถานีระยอง พื้นที่ในอาคาร 174 ตร.ม. และพื้นที่ย่านสถานี 21.6 ไร่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 26/08/2016 10:14 am    Post subject: Reply with quote

ทางฝั่งมาเลย์พูดถึงรถไฟความไวสูง กรุงเทพ (บางซื่อ) - พิษณุโลก - เชียงใหม่ จนตั้งวงวิจารณ์กัน
http://www.hmetro.com.my/node/157363
https://www.facebook.com/harianmetro/posts/10154378164232052?comment_id=10154378275862052&comment_tracking=%7B%22tn%22%3A%22R0%22%7D
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/09/2016 12:17 pm    Post subject: Reply with quote

"สมคิด" ชงไฮสปีดกรุงเทพฯ-ระยอง รับ EEC แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16:58:34 น.



"สมคิด" บูมเขตเศรษฐกิจตะวันออก เอกชนขอขยายสัมปทานไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-ระยอง เป็น 50 ปี เพิ่มพื้นที่เชิงพาณิชย์พันไร่ กนอ.เคลียร์ที่ดิน 3 หมื่นไร่ รับลงทุนแสนล้าน

เมื่อเวลา 11.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังประชุมโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือ EEC ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง และการจัดการอสังหาริมทรัพย์พื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ว่า ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน EEC ได้นำเสนอรายละเอียดความคืบหน้ารูปแบบครบวงจรของโครงการ EEC ต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีพอใจเป็นอย่างมาก โดยหลังจากนี้คณะทำงานจะนำข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรีเพิ่มเติมในรายละเอียด และจะใส่ไว้เป็นแผนแม่บทและบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้งคณะทำงาน 1 ชุด เพื่อขับเคลื่อนแผนแม่บทไปสู่การปฏิบัติ โดยให้ทยอยนำโครงการต่าง ๆ เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติ เช่น โครงการรถไฟฟ้า ท่าเรือและสนามบิน

รายงานความคืบหน้าครั้งนี้ได้ให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นำไปเป็นเครื่องมือประกอบการเดินทางไปโรดโชว์ในต่างประเทศเพื่อเชิญชวนนักลงทุนเข้ามาลงทุน นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีให้กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ไปประเมินแผนแม่บทว่าจะต้องมีระบบไฟแนนซ์ซิ่งอย่างไร อาทิ งบประมาณและภาระหนี้ในอีก 10 ปีเพื่อให้เศรษฐกิจเดินหน้าไปได้ ไม่เป็นภาระงบประมาณ โดยมีภาครัฐและภาคเอกชนทำงานร่วมกัน

การประชุมครั้งนี้เป็นการติดตามผลการดำเนินงาน หลังจากนายกรัฐมนตรีให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และคณะทำงาน ไปศึกษาพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ในโครงการรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ จำนวน 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นตะวันออก (กรุงเทพฯ-ระยอง) กรุงเทพฯ-โคราช กรุงเทพฯ –หัวหิน และกรุงเทพฯ-พิษณุโลก มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง กี่สถานี พื้นที่ใดบ้างเพื่อพัฒนาพื้นที่ ในเรื่องอัตราการตอบแทนด้านการเงินเป็นอย่างไร เนื่องจากต้องออกประกาศทีโออาร์เพื่อเชิญชวนภาคเอกชนมาร่วมลงทุน โดยนายกรัฐมนตรีให้ข้อสังเกต สนข.ให้ไปศึกษาการพัฒนาในพื้นที่แนวดิ่งด้วยนอกเหนือจากแนวราบ อาทิ ตึกสูง ซึ่งจะเป็นตัวเพิ่มรายได้ในอนาคตข้างหน้า

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ ฯ-ระยอง เป็นเครื่องมือตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่ในโครงการ EEC อย่างมาก โดยเส้นทางดังกล่าวเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี แต่จากการรับฟังจากภาคเอกชนได้เสนอขอเพิ่มระยะเวลาสัมปทานเป็น 50 ปี ซึ่ง สนข.ก็เห็นด้วย เนื่องจากระบบรถไฟความเร็วสูงเส้นทางดังกล่าวมีมูลค่าโครงการสูงถึง 1.5 แสนล้านบาท ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาระยะยาวเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน

นอกจากนี้ภาคเอกชนยังเสนอขอขยับสถานีไปในพื้นที่ที่มีเนื้อที่จำนวนมากขนาดตั้งแต่ 1 พันไร่ขึ้นไป เพื่อที่จะสามารถพัฒนาได้ในระยะยาว เนื่องจากพื้นที่เวนคืนตามแนวทางที่ สนข.ศึกษาไว้เป็นสถานีเดิมตามเส้นทางของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีเนื้อที่จำนวนไม่มาก ทำให้เอกชนมองว่าผลตอบแทนทางธุรกิจมีน้อยและไม่คุ้มทุน เช่น บางสถานีมีพื้นที่โดยรอบ 20-30 ไร่ ถึงแม้จะพัฒนาพื้นที่ในแนวดิ่งแล้วก็ตาม

อย่างไรก็ตาม เมื่อยึดตามแนวเส้นทางเดิมของ ร.ฟ.ท.รัฐจึงไม่ต้องเวนคืน แต่หากเอกชนเสนอขอปรับแนวเส้นทางจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแนวจากเส้นทางเดิม และทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มและกระทบกับมูลค่าโครงการเดิมที่กำหนดไว้เพราะรัฐต้องไปจ่ายค่าเวนคืนซึ่งราคาค่อนข้างแพง ซึ่งจะทำให้โครงการไม่มีความเป็นไปได้ นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ใหม่

"เป็นเรื่องของเอกชนที่จะเป็นผู้เสนอมา แต่ สนข.มีเพียงข้อมูลให้ว่าเส้นทางเดิมมีกี่สถานี พื้นที่ขนาดเท่าไร เพื่อให้เอกชนไปคำนวณความคุ้มค่า ถ้ามองว่าไม่คุ้มค่าจะขอปรับเส้นทางสถานีออกมาเล็กน้อย เช่น สถานีพัทยา โดยเอกชนเป็นผู้จัดหาพื้นที่เองและสร้างเมืองเองก็เป็นเรื่องของเอกชน แต่รัฐไม่สามารถเป็นคนเสนอได้เพราะรัฐต้องการต้นทุนที่ต่ำที่สุด"

ดังนั้นจึงได้เสนอกต่อที่ประชุม ว่าหลักการการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงกับการพัฒนาพื้นที่รอบโครงการ สามารถทำควบคู่กันได้เพราะจะลดภาระการลงทุนของภาครัฐแต่ควรให้เอกชนเข้ามาร่วมดำเนินโครงการและได้ผลประโยชน์ตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุน

"ส่วนข้อเสนอของเอกชนให้ปรับเปลี่ยนเส้นทางจะทำให้โครงการดำเนินได้ตามแผนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของเอกชนในการจัดหาพื้นที่ อย่างไรก็ตามโครงการนี้มีแผนก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี พร้อมกับโครงการ EEC ทั้งนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการ PPP จะเป็นผูู้ตัดสินใจ รวมถึงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน"

นอกจากนี้ สนข.มีแนวคิดต้องการเชื่อมโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ให้เข้ากับแอร์พอตร์ลิงค์เพื่อเชื่อมกันสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมืองและปลายทางไปถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา

ทั้งนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง จะสามารถเพิ่มรายได้ให้กับ ร.ฟ.ท.จากการเช่าพื้นที่และค่าธรรมเนียมมูลค่าเป็นแสนล้านภายในระยะเวลา 30 ปี

ด้านนายวีรพงษ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีรับทราบแผนและให้ไปเร่งดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามขั้นตอนให้เป็นไปตามแผนโครงการ EEC สำหรับพื้นที่ที่ กนอ.รับผิดชอบ คือ พื้นที่ของนิคมอุตสาหกรรม 5 ปีแรก จำนวน 3 หมื่นไร่ คิดเป็นปีละ 6 พันไร่ แบ่งเป็นพื้นที่นิคมที่พร้อมให้เอกชนเข้ามาลงทุนได้ทันที 1.5 หมื่นไร่ ซึ่งนักลงทุนต่างจากต่างประเทศจะเดินทางมาสำรวจพื้นที่ประมาณปลายเดือนกันยายนนี้ อีกพื้นที่เป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาสาธารณูปโภคอีก 1.5 หมื่นไร่ คาดว่าจะใช้เวลาพัฒนาและพร้อมให้เอกชนเข้ามาลงทุนประมาณ 1 ปี นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาต่อหลังจาก 5 ปี อีก 8 หมื่นไร่

//---------------

เอาเนื้อที่พันไร่มันจะไม่กลายเป็น Beetroot station หรือครับเจ้านาย!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2016 11:12 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดพื้นที่ 6 แสนไร่รับ EEC จุดพลุ "ระยอง" เมืองใหม่ไฮสปีด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
1 กันยายน 2559 เวลา 21:00:33 น.


วันที่ 31 ส.ค.นี้เป็นครั้งแรกที่ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ตรวจการบ้านพิมพ์เขียวพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) พ่วงแผนพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานีไฮสปีดเทรน

หลังสั่งการให้ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกฯ เร่งงานทำรายงานฉบับสมบูรณ์เสนอ "บิ๊กตู่" พิจารณา

แผนงาน EEC มีคมนาคม กองทัพเรือ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมจัดทำให้ไทยเป็นฮับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของ "เออีซี-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน"

แนวคิดพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จะสร้างพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมโดยใช้ศักยภาพพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นพื้นที่หลักพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย

โดยให้"ฉะเชิงเทรา"เป็นเมืองน่าอยู่รองรับการขยายของกรุงเทพฯฝั่งตะวันออก

"ชลบุรี" เป็นศูนย์กลางการศึกษาและพัฒนาทักษะนานาชาติ "ศรีราชา-แหลมฉบัง" เป็นเมืองอุตฯ การผลิตสมัยใหม่เชื่อมสู่การผลิตภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน

ส่วน "พัทยา-สัตหีบ-อู่ตะเภา" เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงธุรกิจครอบครัว สุขภาพและสันทนาการระดับโลก รวมถึงศูนย์ธุรกิจการบินและโลจิสติกส์แห่งอาเซียน และยกระดับ "มาบตาพุด-ระยอง" เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดในอาเซียน และอุตฯ พลังงานเคมี ชีวภาพ วิจัยอาหารและไบโออีโคโนมี

ตั้งเป้าภายใน 5 ปีนี้จะมีการลงทุนในกลุ่มอุตฯ เป้าหมายจากนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านล้านบาท โดยใช้มาตรฐานด้านสิทธิประโยชน์และระบบบริการครบวงจรเป็นแม่เหล็กดูดลงทุน เช่น ที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษเช่าหรือให้เช่าได้มีกำหนดเวลา 50 ปี+49 ปี

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เตรียมพื้นที่ที่มีศักยภาพพัฒนาระยะเริ่มต้นใน 3 จังหวัดไว้ 631,163 ไร่ มี จ.ระยอง 356,753 ไร่ ให้เป็นเมืองใหม่

จัดสรรให้ด้านการบินอยู่โดยรอบสนามบินอู่ตะเภา มีความต้องการพื้นที่ปีที่ 1-5 จำนวน 20,000 ไร่ ปีที่ 6-10 จำนวน 10,000 ไร่ ด้านโลจิสติกส์ย่านแหลมฉบังและมาบตาพุด ต้องการพื้นที่ปีที่ 1-5 จำนวน 20,000ไร่ ปีที่ 6-10 จำนวน 10,000 ไร่

จ.ฉะเชิงเทรา และชลบุรี รองรับกลุ่มอุตฯ ยานยนต์สมัยใหม่ ต้องการพื้นที่ปีที่ 1-5 จำนวน 4,259 ไร่ ปีที่ 6-10 รวม 20,000 ไร่ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ปีที่ 1-5 จำนวน 1,500 ไร่ ปีที่ 6-10 อีก 15,000 ไร่ และกลุ่มหุ่นยนต์ ปีที่ 1-5 จำนวน 1,500 ไร่ ปีที่ 6-10 อีก 5,000 ไร่

ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ย่านมาบตาพุด ใช้พื้นที่ปีที่ 1-5 รวม 18,000 ไร่ ปีที่ 6-10 อีก 15,000 ไร่ กลุ่มอุตฯ แปรรูปอาหาร เกษตร เทคโนโลยีชีวมวล ปีที่ 1-5 รวม 1,500 ไร่ ปีที่ 6-10 อีก 15,000 ไร่ เชื้อเพลิงชีวภาพ ปีที่ 1-5 รวม 20,000 ไร่ ปีที่ 6-10 อีก 10,000 ไร่

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนาดใหญ่จะครบทุกโหมดรวม 62 โครงการ 309,755 ล้านบาท เริ่มปี 2560 เป็นต้นไป

โดยทางอากาศพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบแห่งที่ 3 พร้อมศูนย์ซ่อมอากาศยานที่ บมจ.การบินไทย จะเป็นผู้ลงทุน

ทางเรือมีท่าเรือพาณิชย์สัตหีบจะพัฒนาเป็นท่าเรือเฟอร์รี่ ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ท่าเรือคลองใหญ่ จ.ตราด ท่าเรือมาบตาพุด ถนนมีมอเตอร์เวย์ สายกรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด, แหลมฉบัง-นครราชสีมา ปรับปรุงถนนบริเวณอู่ตะเภาและมาบตาพุด ถนนเลียบชายฝั่งทะเลในพื้นที่ จ.ระยอง และชลบุรี

ส่วนทางรางมีรถไฟทางคู่ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ปรับปรุงทางรถไฟเชื่อมท่าเรือจุกเสม็ด ก่อสร้างสถานีรถไฟที่อู่ตะเภา และพัฒนาระบบรางเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออกทั้งหมด

เทศบาลเมืองพัทยามีแผนจะลงทุนรถไฟรางเบา(แทรม)ภายในเทศบาล พัฒนาผ่านถนนเลียบชายหาดและสาย 2 ระยะทาง 8 กม. ค่าก่อสร้าง 8,000 ล้านบาท

และลงทุนอีก 83 โครงการ 92,336 ล้านบาท พัฒนาเมือง พลังงาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ด้านสิ่งแวดล้อมเมือง สาธารณสุข และท่องเที่ยว

ส่วนการพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง จะเสนอเป็นภาพรวมทั้ง 4 เส้นทาง 18 สถานี แยกเป็นกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. 3 สถานี สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา รวม 1,239.59 ไร่

กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 384 กม. 5 สถานี ที่อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก 21,702.35 ไร่ กรุงเทพฯ-หัวหิน 225 กม. 4 สถานี ที่นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน 159.96 ไร่ และกรุงเทพฯ-ระยอง 194 กม. 6 สถานี มีลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และระยอง 162 ไร่ นอกจากนี้มีสถานีบางซื่อแปลง A-D และย่าน กม.11 จำนวน 543 ไร่

แบ่งเป็น 2 รูปแบบ พื้นที่ภายในอาคารสถานีให้เอกชนเช่า 5 ปี ส่วนที่ดินย่านสถานีให้เอกชนเช่าพัฒนาเชิงพาณิชย์ระยะยาว 30 ปี รูปแบบ PPP และวิธีจัดรูปที่ดิน นำร่องสายกรุงเทพฯ-ระยองรับ EEC

ทั้ง 4 เส้นทาง คาดว่าจะมีรายได้ 30 ปี 189,000 ล้านบาท เพื่อคืนทุนให้กับโครงการ นอกเหนือจากค่าโดยสาร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2016 2:03 am    Post subject: Reply with quote

รมว.คมนาคม คาดเสนอผลศึกษาไฮสปีดเทนกทม.-เชียงใหม่เข้า ครม.ปลายปีนี้

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) --
ศุกร์ที่ 2 กันยายน 2559 16:55:23 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานไทย-ญี่ปุ่น ในความร่วมมือการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ร่วมกับรองอธิบดีกรมการรถไฟของญี่ปุ่น ว่า ภายในเดือนพ.ย.นี้ ทางญี่ปุ่นจะส่งรายงานผลการศึกษาขั้นสุดท้ายได้ และสามารถนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบได้ราวปลายปีนี้



จากผลศึกษาสำรวจเส้นทาง ทางญี่ปุ่นพบปัญหาใน 3 สถานี ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก โดยขอให้ไทยพิจารณาและตัดสินใจคือ 1.สถานีกลางบางซื่อ เรื่องแบ่งการใช้รางที่เหมาะสมกับรถไฟแต่ละระบบ เนื่องจากจะมีทั้งรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น, รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์, รถไฟชานเมืองสายสีแดงและรถไฟทางไกล 2.สถานีดอนเมือง มีพื้นที่เขตทางจำกัด ทางญี่ปุ่นเสนอยกระดับรถไฟความเร็วสูง 3.สถานีอยุธยา มีประเด็นทางเทคนิคเรื่องการปรับรัศมีทางโค้งของรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น และรถไฟไทย-จีน ให้สอดคล้องกัน ซึ่งได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปดูสภาพจริงและจัดสรรพื้นที่ให้เรียบร้อย

นอกจากนี้ ไทยได้ขอให้ทางญี่ปุ่นช่วยศึกษาการพัฒนาพื้นที่ภายในสถานี พื้นที่รอบสถานีและพื้นที่เมืองควบคู่ไปด้วย เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงมีการลงทุนสูงแต่ผลตอบแทนต่ำโดยญี่ปุ่นจะให้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ช่วยศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับไทย และทำแผนพัฒนาพื้นที่ควบคู่กับการพัฒนารถไฟอย่างไร โดยในเส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลกมีสถานีที่จะพัฒนา ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา, นครสวรรค์ และพิษณุโลก ซึ่งจะสามารถดึงผู้โดยสารที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาป้อนระบบรถไฟความเร็วได้อีกด้วย

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ได้เสนอแนวคิดในการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง ระยะทาง 193.50 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 152,528 ล้านบาท รวมถึงกรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 165 กม.กรอบวงเงินลงทุน 94,673.16 ล้านบาท ซึ่งจะใช้รูปแบบร่วมทุนกับเอกชน (PPP) โดยให้สิทธิ์เอกชนในการลงทุนก่อสร้างและทำระบบรถไฟ พร้อมสิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ในสถานี พื้นที่รอบสถานี และพัฒนาเมืองไปด้วย จะมีความคุ้มค่าและจูงใจกว่า จากเดิมที่เคยจะแยกสัญญาสัมปทานพัฒนาพื้นที่รอบสถานีออกจากสัมปทานงานก่อสร้างและเดินรถ

"รูปแบบนี้จะคล้ายๆ กับรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง สีชมพู ที่ให้เอกชนร่วมลงทุนแบบ PPP 100% โดยรายใดที่เสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐน้อยที่สุด ได้โครงการไป ซึ่งท่านนายกฯเห็นด้วยกับแนวคิดนี้เพราะการที่รัฐจะใช้งบหลายแสนล้านไปทำโครงการรถไฟความเร็วสูงแล้วขาดทุน จะอธิบายประชาชนไม่ได้ อีกทั้งจะต้องทำให้เห็นว่า หากรัฐต้องลงทุนรถไฟความเร็วสูง เมืองจะเกิดการพัฒนาอย่างไร โดยขอให้ไปดูตัวเลขรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ที่แท้จริง เป็นอย่างไร ซึ่งทางการรถไฟฯ จะต้องทำข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงการทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) ด้วย" นายชัยวัฒน์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2016 2:16 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นส่งแผนไฮสปีดเทรนพ.ย. ชง”บิ๊กตู่”ขอความช่วยเหลือจาก”ไจก้า”แล้ว
มติชน
วันที่: 3 กันยายน 2559 เวลา: 11:53 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะทำงานระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เพื่อดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 669 กิโลเมตร (กม.) วงเงินประมาณ 4.4 แสนล้านบาท ว่าคาดว่าประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ ญี่ปุ่นจะส่งผลการศึกษารายงานขั้นสุดท้ายมาให้กระทรวงคมนาคม แบ่งการก่อสร้างออกเป็น ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 382 กม. และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 287 กม. สำหรับเทคนิคการก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก วงเงินค่าก่อสร้างศึกษาไว้ประมาณ 121,014 ล้านบาท คณะสำรวจและศึกษาของญี่ปุ่นขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาเทคนิคงานก่อสร้าง 3 สถานี คือ บางซื่อ ดอนเมือง และพระนครศรีอยุธยา เป็นสถานีใหญ่ต้องรองรับรถไฟจากทุกเส้นทาง ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟระยะไกล รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ จะต้องแบ่งรางให้เหมาะสม เนื่องจากความถี่ของการให้บริการรถไฟความเร็วสูงจะมีความสัมพันธ์กับการใช้งานของราง

นายอาคมกล่าวว่า ในส่วนของสถานีดอนเมืองนั้น เนื่องจากพื้นที่มีจำกัด เพราะใช้รางเพื่อรับรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ จะต้องแบ่งรางกัน ดังนั้น จะต้องยกระดับสถานีให้สูงขึ้นอีก ขณะที่สถานีพระนครศรีอยุธยา จะมีรัศมีทางโค้งเพื่อรับรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เป็นความร่วมมือกับฝ่ายจีนด้วย ดังนั้น อาจมีประเด็นทางเทคนิคต้องพิจารณาตัดสินใจ ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปดูสภาพข้อเท็จจริงและจัดสรรเส้นทางให้เรียบร้อย

“พื้นที่ทางราบมีน้อย ดังนั้น สถานีจำเป็นต้องยกระดับขึ้นมา โดยเฉพาะสถานีดอนเมือง บางพื้นที่อาจต้องปรับรัศมีทางโค้ง เพราะรถไฟความเร็วสูงต้องโค้งน้อยที่สุด และรัศมีทางโค้งต้องสอดคล้องกับเส้นทางกรุงเทพฯ-โคราชด้วย ปัจจุบันสถานีพระนครศรีอยุธยายังรอแบบก่อสร้างจากจีน เมื่อแบบจากจีนมา ต้องมาดูให้สอดคล้องกัน โดย ร.ฟ.ท.ต้องไปดูให้ 2 เส้นทางดังกล่าวไปด้วยกันได้ คาดว่าจะใช้เวลาสรุปประมาณ 1-2 สัปดาห์” นายอาคมกล่าว

นายอาคมกล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่สองข้างทางโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ฝ่ายไทยได้ขอความช่วยเหลือจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ในการศึกษาพัฒนาพื้นที่ในสถานี พื้นที่รอบสถานี และพื้นที่เมือง ได้เสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แล้วเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา จากนั้นจะเหลือเพียงการทำแผนพัฒนาพื้นที่ควบคู่กับการพัฒนารถไฟอย่างไร และจะกำหนดตารางเวลาดำเนินการอีกครั้ง

//-----------------------------

ซอย2ช่วงไฮสปีดญี่ปุ่น นำร่องกทม.-พิษณุโลก
ไทยโพสต์
3 กันยายน 2559 เวลา:- 00:04
ได้ข้อสรุป ซอย 2 ช่วงรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คมนาคมเล็งนำร่องช่วง กทม.-พิษณุโลกเข้า ครม.ก่อน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะทำงานเพื่อพัฒนารถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ว่า ขณะนี้ผลการศึกษาชัดเจนแล้วว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะในการพัฒนา คือ ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และพิษณุโลก-เชียงใหม่ โดยคาดว่าในช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ ทางญี่ปุ่นจะส่งผลการศึกษาขั้นสุดท้าย ก่อนจะรายงานขออนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในช่วงเดือน พ.ย.นี้

จากผลศึกษาสำรวจเส้นทาง ทางญี่ปุ่นพบปัญหาใน 3 สถานี ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก โดยขอให้ไทยพิจารณาและตัดสินใจคือ 1.สถานีกลางบางซื่อ เรื่องแบ่งการใช้รางที่เหมาะสมกับรถไฟแต่ละระบบ เนื่องจากจะมีทั้งรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น, รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์, รถไฟชานเมืองสายสีแดงและรถไฟทางไกล

2.สถานีดอนเมือง มีพื้นที่เขตทางจำกัด ญี่ปุ่นเสนอยกระดับรถไฟความเร็วสูง และ 3.สถานีอยุธยา มีประเด็นทางเทคนิคเรื่องการปรับรัศมีทางโค้งของรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น และรถไฟไทย-จีน ให้สอดคล้องกัน ซึ่งได้มอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปดูสภาพจริง และจัดสรรพื้นที่ให้เรียบร้อย

นอกจากนี้ ไทยได้ขอให้ทางญี่ปุ่นช่วยศึกษาการพัฒนาพื้นที่ภายในสถานี พื้นที่รอบสถานี และพื้นที่เมืองควบคู่ไปด้วย เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงมีการลงทุนสูง แต่ผลตอบแทนต่ำ โดยญี่ปุ่นจะให้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจกา) ช่วยศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับไทย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2016 2:19 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมฟุ้งเกาหลีจีบ ขอร่วมทำไฮสปีดเทรน
ไทยโพสต์

5 กันยายน 2559 เวลา: - 00:00
คมนาคมเนื้อหอม เกาหลีสนใจร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง และกรุงเทพ-หัวหิน หลังรัฐบาลเปิดกว้างลงทุนแบบ "พีพีพี"

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกันระดับเจ้าหน้าที่ระหว่างคณะทำงานของกระทรวงคมนาคมไทย และเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 2 ก.ย.ที่ผ่านมา ว่า เกาหลีใต้แสดงความสนใจเสนอตัวเป็นผู้ลงทุนโครงการระบบราง โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งขณะนี้มีหลายประเทศให้ความสนใจ

ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้แจ้งให้เกาหลีใต้ทราบว่า โครงการดังกล่าวได้มีการกำหนดรูปแบบการลงทุนไว้เป็นแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือ PPP ซึ่งเอกชนของไทยสามารถหาพันธมิตรผู้ร่วมทุนที่มีเทคโนโลยีจากต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนได้

โดยขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียด และต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเศรษฐกิจ เป็นประธาน คาดว่ากระบวนการต่างๆ ของฝ่ายไทย น่าจะแล้วเสร็จภายในต้นปี 2560 เพื่อหาผู้ลงทุนในโครงการต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 200, 201, 202 ... 542, 543, 544  Next
Page 201 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©