RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13270818
ทั้งหมด:13582107
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวและภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 148, 149, 150 ... 228, 229, 230  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT)
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2016 2:25 pm    Post subject: Reply with quote

BEM ยัน พร้อมเดินรถเชื่อมต่อรถไฟฟ้า
15 สิงหาคม 2559 15:45 น.

BEM ยืนยัน ความพร้อมเดินรถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย รอเจรจา รฟม. ถึงข้อสัญญา

นางพเยาว์ มริตตนะพร กรรมการผู้จัดการบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งตามมาตรา 44 ให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งเจรจาและว่าจ้าง BEM มูลค่า 693 ล้านบาท ให้ทำการเดินรถ ในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลําโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ และเร่งรัดการเปิดเดินรถในช่วงระหว่างสถานีเตาปูน ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง เชื่อมต่อไปยังสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทาง 1 กิโลเมตรก่อน เพื่อบรรเทาปัญหาการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้า 2 สายของประชาชน ขณะนี้ รฟม. และกระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการเจรจา และข้อตกลงสัญญา และเมื่อได้ข้อสรุป จะมีการหารือร่วมกันกับ BEM อีกครั้ง โดยยืนยันว่า BEM มีความพร้อมทั้งงบประมาณและกำลังคน และพร้อมเข้ามาช่วยเหลือด้านการ

เดินรถ แต่ทั้งนี้จะต้องมีการตกลงเรื่องข้อสัญญาให้ชัดเจน ซึ่งเชื่อว่าขณะนี้ทุกฝ่ายได้เร่งดำเนินการให้มีการเดินรถเชื่อมต่อระหว่าง 1 สถานีให้ได้เร็วที่สุด หากกระบวนการต่าง ๆ เป็นไปตามขั้นตอน และไม่มีปัญหาติดขัด จะสามารถเข้าไปติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณได้ในเดือนกันยายนนี้ และเริ่มเปิดเดินรถไฟฟ้าเชื่อมต่อได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคมปีหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2016 2:34 am    Post subject: Reply with quote

กลางวันผ่านแยกบรมฯได้ตามปกติ ตำรวจปรับแผนใหม่หลังทำรถติดหนัก
เดลินิวส์
พฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2559 เวลา 10.54 น.

ตำรวจสั่งยกเลิกแผนปิดอุโมงค์บรมราชชนนี ให้ผู้รับเหมาทำงานช่วงกลางคืนเท่านั้น
หลังทำรถติดยาวถุงแยกท่าพระ


พ.ต.ท.วรพจน์ วีเปลี่ยน รองผกก.จร.สน.บางยี่ขัน กล่าวว่า
ตามที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
จะปิดการจราจรห้ามรถลงอุโมงค์ทางลอดแยกบรมราชชนนี ถนนจรัญสนิทวงศ์
เพื่อก่อสร้างเสาตอม่อทางวิ่งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วง บางซื่อ-ท่าพระ
เวลา 10.0-15.00 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมาระยะเวลา 40 วัน
พบว่าการจราจรหลังปิดอุโมงค์วันแรก ส่งผลกระทบต่อการจราจรมีปัญหาติดขัดอย่างมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนจรัญฯ ฝั่งขาออก ท้ายแถวติดขัดสะสมถึงบริเวณแยกท่าพระ
ส่วนฝั่งขาเข้าเกือบถึงบริเวณแยกบางพลัด
ดังนั้นทางสน.จึงได้สั่งยกเลิกปิดอุโมงค์ทันที
โดยจะอนุญาตให้ผู้รับเหมาปิดอุโมงค์ทำงานได้เฉพาะกลางคืน เวลา 22.00-05.00 น.
เท่านั้น

พ.ต.ท.วรพจน์ กล่าวว่า สำหรับแผนการก่อสร้างเสาตอม่อทางวิ่งรถไฟฟ้าจุดดังกล่าว
ยังคงเดิม กล่าวคือ ผู้รับเหมาจะปิดถนนจรัญฯ ฝั่งขาเข้า ช่องทางคู่ขนาน
โดยจะเปิดช่องทางพิเศษฝั่งขาเข้า เพื่อระบายรถที่มาจากสะพานพระปิ่นเกล้า
เลี้ยวซ้ายไปบางขุนนนท์พร้อมปิดทางลงอุโมงค์ฝั่งขาเข้า
เพื่อให้รถในช่องทางพิเศษเบี่ยงกลับเข้าสู่ช่องทางปรกติ ใช้เวลาประมาณ 10 วัน
หลังจากนั้นจะสลับมาปิดช่องทางคู่ขนาน ฝั่งขาเข้า รถที่มาจากบางขุนนนท์
ที่ประสงค์จะเลี้ยวซ้ายไปบรมราชชนนี หรือ
เลี้ยวขวาไปขึ้นสะพานพระปิ่นเกล้าจะบังคับให้ลงอุโมงค์
ไปกลับรถย้อนกลับมาเลี้ยวซ้ายและขวาที่แยกบรมราชชนนี เข้าสู่เส้นทางตามปรกติ
โดยจะใช้เวลาอีกประมาณ 10 วัน ทั้งนี้
การปิดจราจรช่วงกลางคืนจะไม่กระทบต่อการจราจร เพราะปริมาณรถน้อย
อย่างไรก็ตามเพื่อความสะดวกแนะนำให้หลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทนจะสะดวกกว่า.


__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/08/2016 10:02 am    Post subject: Reply with quote

"ไซต์สายสีน้ำเงิน" ป่วน รับเหมาขยายเวลา งบบานพันล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 27 ส.ค. 2559 เวลา 08:30:10 น.
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต

หลัง "รัฐบาล คสช." ใช้ ม.44 ยุติปัญหาการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย "บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค" ระยะทาง 27 กม. เพื่อสางปมรถไฟฟ้าฟันหลอ 1 สถานี "เตาปูน-บางซื่อ" ให้เปิดบริการโดยเร็ว

แต่ดูเหมือนวิบากกรรมของสายสีน้ำเงินยังไม่ทุเลา เพราะถึงขณะนี้ยังไม่สามารถเดินหน้าได้ ถึง "ม.44" จะเปิดทางให้เจรจารายเดิม "BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ" และปลดล็อกขั้นตอนต่าง ๆ จบใน 105 วัน

แต่เรื่องยังตกค้างอยู่ที่กระทรวงคมนาคม ยังไม่รู้จะใช้เวลาอีกนานแค่ไหนกว่าจะฝ่าด่านมาได้

จาก "ปมเดินรถ" ที่ทำให้โครงการล่าช้า ล่าสุดสายสีน้ำเงินกำลังมีปมใหม่ อาจจะเป็นโดมิโนกระทบต่อแผนการเปิดบริการขยับออกไปจากเป้าที่ตั้งไว้กลางปี 2562

เมื่อผู้รับเหมาทั้ง 5 สัญญาตบเท้าขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก ผนวกกับการก่อสร้างบางจุดมีพื้นที่ทับซ้อนกับโครงการอุโมงค์ทางลอดของ "กทม.-กรุงเทพมหานคร" อาจจะฉุดให้การก่อสร้างดีเลย์ออกไปอีก

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ผู้รับเหมาทั้ง 5 สัญญาได้รับการอนุมัติให้ขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีกประมาณ 2-3 ปี พร้อมกับขอค่าชดเชยเพิ่มกว่า 1,000 ล้านบาท ตามที่ยื่นเสนอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

เนื่องจาก รฟม.ส่งมอบพื้นที่ให้ไม่ทันตามกำหนด แยกเป็น สัญญา 1 งานอุโมงค์ใต้ดิน (หัวลำโพง-สนามไชย) ของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ขอขยายเวลาออกไป 270 วัน จากเดิมจะสิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 2559 เป็นวันที่ 2 มี.ค. 2560 ขอค่าชดเชย 300 ล้านบาท

สัญญา 2 งานอุโมงค์ใต้ดิน (สนามไชย-ท่าพระ) ของ บมจ.ช.การช่าง ขอขยายเวลา 3 เดือน เดิมสิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 2559 เป็นวันที่ 3 ก.ย. 2559 แต่ไม่ขอค่าชดเชย

สัญญา 3 ทางวิ่งยกระดับ (เตาปูน-ท่าพระ) ของกลุ่ม บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ขอขยายเวลา 810 วัน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 29 ก.ย. 2558 เป็นวันที่ 11 ก.ย. 2562 ขอค่าชดเชย 690 ล้านบาท

สัญญา 4 ทางวิ่งยกระดับ (ท่าพระ-หลักสอง) ของ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น ขอขยายเวลา 480 วัน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 29 ก.ย. 2558 เป็นวันที่ 18 ก.ย. 2560 ขอค่าชดเชย 390 ล้านบาท

และสัญญา 5 งานวางรางทั้งโครงการของ บมจ.ช.การช่าง ขอขยายเวลาไป 3 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 2559 เป็นวันที่ 31 ธ.ค. 2561 ขอค่าชดเชย 500 ล้านบาท เพราะต้องรอการก่อสร้างทั้ง 4 สัญญาเสร็จถึงจะเริ่มวางราง

"งานโยธาฯจะเสร็จอีก 3 ปี หรือปี′62 ที่ผ่านมาการก่อสร้างมีบางจุดส่งมอบพื้นที่ช้า ตั้งแต่ปี′54 และสะสมมาถึงปัจจุบัน มีปัญหามากที่สุดงานสัญญาที่ 3 และ 4 ของยูนิคและซิโน-ไทยฯ บริเวณแยกท่าพระและแยกไฟฉาย ที่ทับซ้อนกับงานก่อสร้างของ กทม." แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ในเบื้องต้นประเมินว่างานก่อสร้างจะเสร็จพอดีกับงานติดตั้งรางและการเดินรถ คือกลางปี 2562 แต่การเปิดใช้อาจจะไม่จอดที่สถานีสามแยกไฟฉาย

เนื่องจากปัจจุบันงานก่อสร้างยังติดปัญหาที่ต้องสร้างร่วมกับอุโมงค์ทางลอดของกทม.ซึ่งอาจจะทำให้การก่อสร้างล่าช้าจากแผนไปพอสมควร

อย่างไรก็ตามคาดว่าการเปิดใช้บริการแบบเต็มรูปแบบและจอดทุกสถานีอย่างเร็วปลายปี2562อย่างช้าก็ในปี2563

ด้านนายประสงค์ สุวิวัฒน์ธนชัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้หารือร่วมกับ รฟม.จะสามารถเร่งงานเร็วขึ้นอีกจากเดิมปี 2562 เป็นปลาย 2560 ได้หรือไม่ เพื่อให้ทันการเดินรถจะเริ่มทยอยเปิดบริการช่วงเตาปูน-ท่าพระ ในปี 2561

"เรายังไม่รับปาก เพราะพื้นที่เราทับซ้อนกับอุโมงค์ทางลอดของ กทม.ที่แยกบางพลัด แยกไฟฉาย และมีปัญหาเยอะมาก ต้องปรับแบบให้ตอม่อรถไฟฟ้าลงได้ เพราะถนนค่อนข้างแคบ รวมถึงการรื้อย้ายไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ต้องหาพื้นที่รองรับ เพราะการย้ายจะต้องกระทบต่อผิวจราจรอีก"

เป็นอุปสรรคปัญหาที่ไม่จบไม่สิ้นของรถไฟฟ้าสายน้ำเงิน ต้องวัดใจ "รัฐบาล คสช." กันต่อไป จะสางปมยังไงให้ทุกอย่างฉลุย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 29/08/2016 12:23 am    Post subject: Reply with quote

กก.ร่วมฯเดินสีน้ำเงิน เร่งเคาะกรอบเจรจาBEM หาจุดลงตัวอายุสัมปทาน
โดย MGR Online
27 สิงหาคม 2559 11:50 น.

คณะกก.ร่วมฯ เดินรถสายสีน้ำเงิน ถกนัดแรก เร่งทำข้อมูลเพิ่มเติม วิเคราะห์การเดินรถต่อเนื่อง โครงสร้างค่าโดยสาร ต้นทุนแท้จริงกรณีใช้เดปโป้ร่วม และอายุสัญญาที่เหมาะสม ตั้งเป้าสรุป16 ก.ย. พร้อมเรียกBEM เจรจา จบใน30 วันตามคำสั่ง ม.44

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน(สายเฉลิมรัชมงคล) ตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 เปิดเผยว่า คณะกรรมการมาตรา 43 และคณะกรรมการมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ 2556โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง -บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ ได้ประชุมร่วมกันครั้งแรก เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ซึ่งเป็นไปตามคำสั่ง ม44 เรื่องการเดินรถสายสีน้ำเงินเดิมและส่วนต่อขยาย แบบต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation ) ซึ่ง ล่าสุด นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบหลักเกณฑ์ ตามที่คณะกรรมการ (บอร์ด)รฟม.เสนอแล้ว โดยให้นำความเห็นของ 4 หน่วยงานคือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต มาพิจารณาประกอบด้วย ตามคำสั่ง ม.44

ทั้งนี้ ที่ประชุมร่วมคณะกรรมการ มาตรา 43 และมาตรา 35 ได้มีข้อสังเกตในส่วนของงานส่วนต่อขยาย ที่คณะกรรมการมาตรา 35 ได้เคยพิจารณาไว้เดิม โดยให้ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับการเดินรถต่อเนื่อง โดยให้ทำรายละเอียดวิเคราะห์ แต่ละแนวทาง (scenario) ในกรณีต่างๆ เช่น การสิ้นสุดสัญญาที่สอดคล้องกันของสายเฉลิมรัชมงคลและสายสีน้ำเงินต่อขยาย ซึ่งจะต้องทำตัวเลขเปรียบเทียบระหว่าง 1. สิ้นสุดพร้อมกับสัญญาสายเฉลิมรัชมงคลในปี 2572 หรือ2. สิ้นสุดที่ปี 2592 ซึ่งเป็นสัญญาของส่วนต่อขยาย (อายุสัญญา 30 ปี โดย คิดที่จุดเริ่มสัญญาปี 2562) หรือ 3. พบกันครึ่งทาง โดยพิจารณาแนวทางที่จะเป็นประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ยังมีประเด็นโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร,ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น กรณีใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงร่วมกันที่ห้วยขวาง จะประหยัดค่าใช้จ่ายลงอย่างไร อีกด้วย

คณะกรรมการร่วมฯ จะประชุมครั้งที่ 2 ในวันที่ 1 ก.ย.นี้ โดยกำหนดกรอบการทำงานว่า จะสรุปหลักเกณฑ์ต่างๆ การแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสารรวมถึงหลักเกณฑ์อื่นเพื่อประโยชน์ในการเชื่อมต่อ ให้จบภายในวันที่ 16 ก.ย. จากนั้นจะต้องเชิญ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM มาเจรจา ให้ได้ข้อยุติภายในระยะเวลา 30 วัน ตามคำสั่ง ม.44 หรือภายในต.ค. จากนั้นจะต้องเสนอขออนุมัติลงนามสัญญาตามขั้นตอนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 30/08/2016 9:56 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าสีนํ้าเงิน หัวลำโพง-ท่าพระ เชื่อมวงแหวนรอบในกทม.-ปริมณฑลโซนใต้ที่บางแค
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,187 วันที่ 28 – 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รถไฟฟ้าสีนํ้าเงิน หัวลำโพง-ท่าพระ เชื่อมวงแหวนรอบในกทม.-ปริมณฑลโซนใต้ที่บางแค
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) นอกจากช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดและคับคั่งบนถนนที่มีพื้นที่จำกัด และไม่อาจขยายออกไปได้ในเขตเมืองชั้นในของกรุงเทพมหานครแล้วเมื่อโครงการแล้วเสร็จสามารถลดปริมาณรถยนต์ที่วิ่งจากชานเมืองเข้ามาในเขตใจกลางเมืองได้อย่างมาก

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแคมีระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งใต้ดิน ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร มีสถานีใต้ดิน 4 สถานี คือ สถานีวัดมังกรกมลาวาส สถานีวังบูรพา สถานีสนามไชย สถานีอิสรภาพ และโครงสร้างทางวิ่งยกระดับในช่วงท่าพระบางแค ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร มีสถานีจำนวน 7 สถานี คือ สถานีท่าพระ สถานีบางไผ่ สถานีบางหว้า สถานีเพชรเกษม 48 สถานีภาษีเจริญ สถานีบางแค และสถานีหลักสอง

ส่วนช่วงบางซื่อ-ท่าพระมีระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับทั้งหมด มี 8 สถานี คือ สถานีบางโพ สถานีบางอ้อ สถานีบางพลัด สถานีสิรินทร สถานีบางยี่ขัน สถานีบางขุนนนท์ สถานีแยกไฟฉาย และสถานีจรัญสนิทวงศ์ เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ผ่านแยกเตาปูนซึ่งเป็นสถานีเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เข้าสู่ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ผ่านสี่แยกบางโพ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนจรัญสนิทวงศ์ บริเวณโรงเรียนเทคโนโลยีพระราม 6 ผ่านแยกบางพลัด แยกบรมราชชนนี แยกไฟฉายและสิ้นสุดที่แยกท่าพระ โดยเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค ณ ที่จุดดังกล่าวนี้

แนวเส้นทางเริ่มต้นจากเส้นทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าหัวลำโพงของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นเส้นทางใต้ดินตามแนวถนนพระรามที่ 4 เข้าสู่ถนนเจริญกรุงผ่านวัดมังกรกมลาวาส ผ่านวังบูรพา เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสนามไชย ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองตลาด ลอดใต้คลองบางกอกใหญ่ เข้าสู่ถนนอิสรภาพ แล้วเปลี่ยนเป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับเข้าสู่สี่แยกท่าพระบรรจบกับช่วงบางซื่อ-ท่าพระแล้ววิ่งไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านบางไผ่ บางหว้า ภาษีเจริญ บางแคไปสิ้นสุดที่ถนนกาญจนาภิเษก ใกล้กับห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขาบางแค

ใช้ระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่เฮฟวี่เรล (Heavy Rail) ที่ให้บริการ MRT ในปัจจุบัน สามารถขนคนได้มากกว่า 5 หมื่นคนต่อชั่วโมง มีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าอยู่บนพื้นที่ประมาณ 90 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณถนนเพชรเกษมใกล้กับสถานีเพชรเกษม 48 โดยมีอาคารจอดรถ 10 ชั้นรองรับได้ 650 คัน และ 8 ชั้นรองรับได้ 350 คันอยู่ช่วงบริเวณสถานีหลักสอง
ปัจจุบัน( ณ 31 กรกฎาคม 2559) โครงการมีความก้าวหน้า 80.86% โดยช่วงหัวลำโพง-บางแคคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2562 และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2563

นับเป็นอีกหนึ่งโครงข่ายรถไฟฟ้าที่ รฟม.อยู่ระหว่างเร่งรัดดำเนินงานให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างครบวงจรกับเส้นทางรถไฟฟ้า MRT ที่เปิดให้บริการในปัจจุบันโดยเฉพาะจากพื้นที่ตามแนววงแหวนในเขตชั้นในเมืองออกไปสู่ย่านปริมณฑลโซนกรุงเทพมหานครด้านใต้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น พื้นที่ย่านเจริญกรุง วังบูรพา ปากคลองตลาด หรืออิสรภาพ บางกอกใหญ่คงกลับมาคึกคักกันอีกครั้ง เช่นเดียวกับย่านถนนจรัญสนิทวงศ์ ช่วงบางพลัด บางขุนนนท์ ท่าพระและถนนเพชรเกษมแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจเริ่มจะเห็นภาพชัดเจนในหลายด้านอีกทั้งน่าจะส่งผลไปได้อีกหลายปี

คงต้องอดใจรออีกสักนิด ปี 2560 รฟม.อยู่ระหว่างการเร่งเปิดให้บริการเชื่อมระหว่างสถานีบางซื่อ-เตาปูนเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงกับสายสีน้ำเงินได้อย่างสะดวก ก่อนที่ช่วงอื่นๆ จะเร่งทยอยทดสอบเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2016 9:57 am    Post subject: Reply with quote

หยุดสร้างอุโมงค์ไฟฉาย1ปี
เดลินิวส์
จันทร์ที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 10.00 น.

อุโมงค์ไฟฉายชะงักต้องปรับแก้แบบให้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินก่อสร้างได้สะดวก

นายจิระเดช กรุณกฤตกุล ผู้อำนวยการกองควบคุมการก่อสร้าง สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
(กทม.)เปิดเผยว่า การก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด บริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ตัดถนนพรานนก
หรืออุโมงค์ไฟฉายนั้น โครงการดังกล่าวมีความล่าช้าจากแผนเดิมที่กำหนดอย่างมาก
เนื่องจากต้องประสานกับหน่วยงานต่างๆในการรื้อย้ายสาธารณูปโภคใต้ดิน อีกทั้ง
กทม.มีความจำเป็นต้องปรับแก้แบบเพื่อให้ สอดคล้องกับงานก่อสร้าง
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ ซึ่ง
ขณะนี้การก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินผ่านบริเวณจุดที่จะมีการสร้างอุโมงค์ไฟฉาย
จากการหารือร่วมกันนั้น กทม.จะต้องหยุดการก่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าว เป็นเวลา 1ปี
ในปี 60 เพื่อไม่ให้กระทบกับงานก่อสร้างรถไฟฟ้า

ซึ่งเมื่อตัวเนื้องานรถไฟฟ้าเสร็จสิ้น กทม.จึงจะเข้าพื้นที่เพื่อก่อสร้างอุโมงค์ต่อไป ทั้งนี้ คาดว่า การก่อสร้างอุโมงค์ จะเสร็จสิ้น สามารถใช้งานได้ในปลายปี61 พร้อมการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินให้สามารถรองรับตัวสถานีรถไฟฟ้าได้ โดยการก่อสร้างอุโมงค์ไฟฉายในขณะนี้ มีความคืบหน้าไปแล้วประมาณร้อยละ 45.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/09/2016 4:52 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับแผนเจรจาเดินรถสายสีน้ำเงิน บีบBEMใช้ตั๋วร่วม42บ.ทั้งโครงข่าย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 20 ก.ย. 2559 เวลา 14:02:55 น.

บทเรียนรถไฟฟ้าสายสีม่วงผู้โดยสารโหรงเหรง "รฟม." รื้อเป้ารายได้-ผู้โดยสารสายสีน้ำเงินทั้งโครงข่าย จาก 6 แสนเที่ยวคน/วัน เหลือ 4 แสนเที่ยวคน/วัน ก่อนเปิดโต๊ะเจรจา BEM เหมาสัมปทาน 30 ปี 7 หมื่นล้าน บีบเข้าระบบตั๋วร่วม จ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว คิดค่าโดยสารตามระยะทางสูงสุด 42 บาท

แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภายในเดือน ก.ย.นี้จะเริ่มเจรจากับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) เพื่อรับสัมปทานงานเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ระยะทาง 29007 กม. กับสายสีน้ำเงินเดิม (บางซื่อ-หัวลำโพง) ระยะทาง 20 กม. เพื่อให้การเดินรถต่อเนื่องเป็นโครงข่ายเดียวกัน (Through Operation) หลังคณะกรรมการมาตรา 35 (คณะกรรมการคัดเลือก) และคณะกรรมการมาตรา 43 (คณะกรรมการกำกับดูแล) ตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 สรุปกรอบเจรจาแล้วเมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา

เปิดโต๊ะเจรจา BEM

สำหรับรายละเอียดกรอบการเจรจา อาทิ การสิ้นสุดเวลาสัมปทานพร้อมกันปี 2592 กรอบวงเงินลงทุนทั้งสายเก่าและใหม่ เบื้องต้นอยู่ที่กว่า 7 หมื่นล้านบาท แยกเป็นสีน้ำเงินเดิมกว่า 4 หมื่นล้านบาท โดยประเมินจากรายได้สัมปทานที่กำหนดสิ้นสุดปี 2572 และสีน้ำเงินต่อขยาย 4-5 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ได้จัดทำประมาณการผู้โดยสารใหม่ เพราะปริมาณผู้โดยสารเดิมกำหนดไว้หลายปีแล้ว และอยู่บนพื้นฐานมีรถไฟฟ้าสายใหม่เปิดใช้ตามแผน แต่ปัจจุบันยังมีความล่าช้า เช่น สีน้ำเงินเดิมเชื่อมกับสีม่วงที่สถานีเตาปูน ในปีที่กำหนดเปิดใช้ผู้โดยสารตั้งเป้าไว้ 4 แสนเที่ยวคน/วันแต่เปิดจริงมีผู้ใช้บริการ 1.5 แสนเที่ยวคน/วัน จนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 2.7-2.8 แสนเที่ยวคน/วัน

"กว่าจะถึงปีเปิดใช้สีน้ำเงินใหม่ปี"63 คาดว่าผู้โดยสารเพิ่มเป็น 3.2-3.3 แสนเที่ยวคน/วัน เพราะปีหน้าการต่อเชื่อมกับสีม่วงจะแล้วเสร็จ คาดว่ามีผู้โดยสารเข้ามาในระบบสีน้ำเงินเดิมเพิ่มเกือบ 2 หมื่นเที่ยวคน/วัน" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

เขย่าตัวเลขผู้โดยสารใหม่

สำหรับสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จากเดิมได้จัดทำประมาณการผู้โดยสารในการเปิดใช้ปีแรกอยู่ที่กว่า 4 แสนเที่ยวคน/วัน ล่าสุดปรับเหลือ 3 แสนเที่ยวคน/วัน เมื่อหักผู้โดยสารฟีดเดอร์เข้าสู่ระบบต่อเชื่อมสีน้ำเงินเก่าและใหม่ทั้งโครงข่าย คาดว่ามีผู้โดยสาร 4 แสนเที่ยวคน/วัน

"เหตุผลในการปรับประมาณการใหม่เกิดขึ้นหลังผู้โดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงไม่เข้าเป้า จึงต้องประมาณการผู้โดยสารสายสีน้ำเงินใหม่ เพื่อนำไปคำนวณกรอบการลงทุนที่ชัดเจน สำหรับเจรจากับเอกชนให้เกิดประโยชน์ทั้งรัฐและเอกชน"

บีบคิดค่าแรกเข้าครั้งเดียว

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่านอกจากนี้จะเจรจาให้BEM เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวในอัตรา 16 บาท ส่วนค่าโดยสารทั้งโครงข่ายต้องไม่กระทบต่อค่าโดยสารเดิมที่กำหนดอยู่ 16-42 บาท รวมถึงส่วนแบ่งรายได้ที่รัฐจะได้รับต้องพิจารณาจากประมาณการผู้โดยสาร ค่าโดยสาร และผลตอบแทนทางการเงิน ซึ่งสายสีน้ำเงินเก่ามีผลตอบแทนทางการเงิน 14.75% และสีน้ำเงินสายใหม่อยู่ที่ 12%

"การเจรจายังไม่รู้จะจบภายใน 30 วัน ตามคำสั่ง ม.44 หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เกี่ยวพันกับสัมปทานเดิมต้องแก้ไขเพิ่มเติมหาก BEM ลดค่าแรกเข้าเพราะกระทบต่อรายได้ ยังไม่รู้ทาง BEM จะมีข้อต่อรองให้รัฐอุดหนุนรายได้ที่หายไปด้วยหรือไม่ การต่อรองสามารถขอขยายเวลาออกไปได้ โดยรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ หากไม่อนุมัติก็ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อตัดสินใจว่าให้เดินหน้าต่อไปอย่างไร หรือให้เปิดประมูลใหม่"

ค่าโดยสารสูงสุด 42 บาท

สำหรับการเปิดบริการสายสีน้ำเงินทั้งโครงข่ายตามกรอบเวลาของ ม.44 ภายในปี 2562 ขึ้นอยู่กับการอนุมัติงานเดินรถด้วยว่าทำได้เร็วหรือช้า ขณะที่ส่วนต่อเชื่อม 1 สถานี (เตาปูน-บางซื่อ) หากเจรจาเดินรถทั้งโครงการล่าช้าอาจต้องเจรจา BEM เป็นผู้ดำเนินการไปก่อน จากเดิมกำหนดเปิดภายในกลางปี 2560

"การเดินรถสีน้ำเงินทั้งโครงข่ายที่ต้องการให้เป็นรายเดียวเพราะเส้นทางเป็นวงกลม ทำให้ค่าโดยสารถูกลง คิดแบบอัตราค่าโดยสารร่วม หรือ Common Fare ระหว่างสัมปทานเก่ากับใหม่ ผู้โดยสารจ่ายค่าแรกเข้าครั้งเดียว จากนั้นคิดตามระยะทาง สถานีละ 2 บาท สูงสุดเท่ากับสีน้ำเงินเดิม 42 บาท"

ปรับเป้าสายสีม่วงอีกรอบ

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงที่ผู้โดยสารไม่เป็นไปตามแผนที่ศึกษาไว้ ล่าสุดมหาวิทยาลัยนเรศวรซึ่งเป็นที่ปรึกษาได้ทบทวนประมาณการผู้โดยสารใหม่หลังการเปิดใช้ 1 สถานี (บางซื่อ-เตาปูน) ยังไม่เป็นไปตามเป้า อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่มีผู้ใช้ 2 หมื่นเที่ยวคน/วัน โดยปรับจากเดิม 73,440 เที่ยวคน/วัน เหลือ 3 หมื่นเที่ยวคน/วัน

"ขณะนี้ลดราคาเหลือ 14-29 บาท มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 10% จาก 2 หมื่นเที่ยวคน/วัน เป็น 2.2 หมื่นเที่ยวคน/วัน"

เปิด 5 เหตุผลผู้โดยสารเมิน

สาเหตุที่มีผู้ใช้น้อยช่วงแรก มี 5 สาเหตุ 1.การเชื่อมต่อสถานีเตาปูนกับสถานีบางซื่อยังไม่สมบูรณ์ ทำให้กำหนดระยะเวลาการเดินทางที่แน่นอนไม่ได้ ซึ่งจุดขายของรถไฟฟ้าสายสีม่วงคือ ความสะดวกรวดเร็ว และตรงเวลา 2.การให้บริการของสายสีม่วงยังไม่สมบูรณ์แบบ เช่น เดินรถช้าไม่ตรงเวลา จอดแช่ค้างที่สถานี จอดไม่ตรงประตูกั้นชานชาลา ใช้เวลารอรถไฟฟ้านานถึง 10 นาที หากเดินทางสถานีคลองบางไผ่-เตาปูน รวมเวลารอรถใช้เวลา 40-45 นาที ทำให้ผู้โดยสารไม่ใช้เป็นทางเลือกในการเดินทาง

3.อัตราค่าโดยสาร หากใช้สายสีม่วงเพื่อเข้าสู่ใจกลางเมืองต้องเสีย 2 ต่อระหว่างสายสีม่วงกับสีน้ำเงินเดิม ทำให้ไม่จูงใจคนมาใช้บริการ, อัตราค่าโดยสาร 14-42 บาทเป็นราคาที่กำหนดไว้กรณีมีเชื่อมต่อ 1 สถานีแล้ว ที่ผ่านมาทางที่ปรึกษาเสนอค่าโดยสารที่เป็นส่วนลดจูงใจผู้ใช้บริการในช่วงแรกไว้แล้ว แต่ รฟม.กำหนดจัดเก็บอัตราเดิม

คนไม่ชิน-ซื้อตั๋วหยอดเหรียญ

4.การกำหนดโปรโมชั่นหรือส่วนลดค่าโดยสารเป็นสิ่งสำคัญจูงใจคนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาใช้รถไฟฟ้าที่ปรึกษาเสนอราคาบัตรโดยสารประเภทอื่น เช่น บัตรเติมเงิน 30 วัน, บัตร 1 วัน, บัตร 3 วันรวมถึงเสนอลดราคา 15% กับ 30% ค่าโดยสารราคาเดียว 15 บาท และ 20 บาทตลอดสาย

5.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเดินทาง คาดว่าใช้เวลา 3-5 ปี เพราะช่วงแรกคนยังไม่เคยชิน รฟม.เองก็ยังขาดการประชาสัมพันธ์ เช่น ค่าโดยสารกรณีใช้บัตรเติมเงินลดค่าแรกเข้า 14 บาท, นั่งสุดสาย(บางใหญ่-หัวลำโพง) มีค่าใช้จ่าย 70 บาทแต่ประชาชนไม่ทราบ ทำให้ยังมีผู้ใช้การจ่ายค่าโดยสารโดยซื้อตั๋วแบบหยอดเหรียญถึง 68%

เรื่องเดียวกันนี้ นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า ขณะนี้ผู้โดยสารสายสีม่วงยังไม่นิ่ง แต่หลังลดราคามีผู้ใช้เพิ่ม 10% เป็น 2.2 หมื่นเที่ยวคน/วัน เร็ว ๆ นี้เตรียมจัดโปรโมชั่นดึงดูดให้คนใช้บริการเพิ่ม เช่น บัตรรายเดือน เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2016 7:33 pm    Post subject: Reply with quote

คนกรุงป่วนหนักMRTขัดข้อง ผู้โดยสารตกค้างเพียบ
เดลินิวส์
พฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2559 เวลา 08.49 น.
ด่วน!รถไฟฟ้า MRT ขัดข้องที่สถานี "ศูนย์วัฒนธรรม" มีประชาชนตกค้างในสถานีจำนวนมาก เจ้าหน้าที่กำลังเร่งแก้ไข
http://www.dailynews.co.th/bangkok/525424


รถไฟฟ้า MRT ขัดข้องสถานีศูนย์วัฒนธรรม มีคนตกค้าง เดินรถตามปกติแล้ว
โดย ไทยรัฐออนไลน์
22 กันยายน 2559 เวลา 09:20
http://www.thairath.co.th/content/730354
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2016 4:18 pm    Post subject: Reply with quote

รฟม. มั่นใจเจรจา BEM เดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจบเดือนนี้
ข่าวหุ้น
3 ตุลาคม 2559 11:10:00

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้คณะกรรมการมาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ.2535 และคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ตามมาตรา 43 ภายใต้ พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ.2556 นัดหารือเจรจากับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ BEM เกี่ยวกับการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และ หัวลำโพง-บางแค รวมส่วนเชื่อมต่อ 1 สถานี คือสถานีเตาปูน-สถนีบางซื่อ

ทั้งนี้ รฟม.เชื่อมั่นว่าการเจรจาดังกล่าวคาดจะได้ข้อยุติทันตามกำหนดเวลาของประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ที่ใช้มาตรา 44 แก้ไขข้ออุปสรรค และขีดเส้นการเจรจาให้แล้วเสร็จภายในกลางเดือน ต.ค.นี้ จากนั้นคาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญาการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายกับ BEM ได้ภายในดือน พ.ย.นี้

"ตอนนี้ BEM นำข้อเสนอของเขามาให้ทางเราแล้วก็ได้พิจารณากัน และจะเจรจากันในส่วนที่เห็นแตกต่างกัน ส่วนค่าโดยสาร รฟม.ได้กำหนดตายตัวไว้อยู่แล้ว คือเพดานสูงสุดที่ 42 บาท แต่การปรับขึ้นราคาค่าโดยสารก็ต้องมาดูว่าจะใช้ดัชนี CPI มาเป็นเกณฑ์หรือเปล่า"นายพีระยุทธ กล่าว

พร้อมกันนั้น ผู้ว่าการ รฟม.ระบุว่า จะมีการหารือเพื่อเร่งการเดินรถ 1 สถานีเชื่อมต่อระหว่างสถานีบางซื่อไปสถานีเตาปูนเพื่อดำเนินการให้เร็วที่สุดว่าจะแยกสัญญาออกมาเป็นส่วนเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิจารณากันอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2016 10:11 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้า MRT บางซื่อระบบแตะเหรียญขัดข้อง
โดย MGR Online
4 ตุลาคม 2559 09:31 น. (แก้ไขล่าสุด 4 ตุลาคม 2559 09:37 น.)

เกิดเหตุประตูรถไฟใต้ดิน MRT บางซื่อเสีย 1 ช่อง และระบบแตะเหรียญขัดข้อง โดยผู้ใช้งานต้องต่อคิวเข้าแถวยาว ขณะนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งแก้ไขเร่งด่วน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> รถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 148, 149, 150 ... 228, 229, 230  Next
Page 149 of 230

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©