Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13270576
ทั้งหมด:13581865
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 203, 204, 205 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2016 6:35 pm    Post subject: Reply with quote

เชื่อรถไฟไทย-จีนไม่สะดุด ‘สมคิด’เมินจีนคิดดอกเบี้ยแพงกว่า 3%/จ่อพึ่งเงินกู้ในปท.
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,200 วันที่ 13 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เชื่อรถไฟไทย-จีนไม่สะดุด ‘สมคิด’เมินจีนคิดดอกเบี้ยแพงกว่า 3%/จ่อพึ่งเงินกู้ในปท.
“สมคิด” ยันโครงการรถไฟไทย-จีนไม่สะดุด แม้จีนยืนกรานคิดดอกเบี้ยเกินกว่า 3% ขณะที่ไทยมองเป็นโครงการจีทูจี ฟากสบน. รับนโยบายขุนคลัง เจรจาขอลดไม่เกิน 2% แย้มเตรียมแผนสอง เดินหน้าแผนกู้ในประเทศแทน ระบุโครงการก่อสร้าง 5 ปี สามารถกู้ได้ตามความคืบหน้าของโครงการ มั่นใจต้นทุนถูกกว่า ฟากสคร.เผยปี 2560 โครงการพีพีพี มีเค้กก้อนใหญ่ร่วม 7 แสนล้านบาท

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผย ฐานเศรษฐกิจ ระหว่างกล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา “Sino-Thai Business Investment Forum 2016 จัดโดย ธนาคาร ICBC ประเทศจีน” ว่า ขั้นตอนตลอดจนความคืบหน้าโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน นั้น ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบรูปแบบโครงการ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญและจะต้องใช้ระยะเวลาเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ระหว่างการเจรจา ซึ่งทางการไทยต้องการในอัตราที่ต่ำเกิน 2% นั้นก็เป็นโจทย์สำคัญ แต่ได้รับรายงานว่าแม้จะมีการประชุมเพื่อหาข้อยุติแต่ก็ยังไม่สามารถเจรจาอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวได้ ทั้งนี้ยืนยันว่า ไทยจะเดินหน้าโครงการดังกล่าวอย่างแน่นอน ส่วนในอนาคตหากทางการจีน ยังยืนยันจะไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามที่ไทยเจรจา ก็อาจเป็นไปได้ว่าจะใช้แหล่งเงินอื่นแทนการกู้จากจีน

สุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
สุวิชญ โรจนวานิช
ผู้อำนวยการสานักงานบริหารหนี้สาธารณะ
นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสานักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. กล่าวว่า ขณะนี้ ได้รับนโยบายมาจากนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ว่า ไม่ว่าจะเป็นการกู้สกุลเงินหยวน เยน หรือดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ยจะต้องคิดไม่เกิน 2% จากปัจจุบันที่ทางการจีนเสนอมากกว่า 3% โดยเร็วๆ นี้ สบน. จะเริ่มเจรจาโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยสำหรับโครงการการลงทุนรถไฟไทย-จีน เป็นครั้งที่ 15 หลังจาก 14 ครั้งแรกไม่สำเร็จ

“การที่โครงการเกิดขึ้นช้า ส่วนหนึ่งมาจากเจรจาหรือตกลงดอกเบี้ยกันไม่ได้ ดังนั้นทางออกคือ สบน.เตรียมแผนที่จะกู้เงินสำหรับลงทุนจากภายในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันมีสภาพคล่องส่วนเกินมากกว่า 2 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ดีการเจรจาครั้งล่าสุดทางการจีนเริ่มมีทีท่าที่อ่อนลงเรื่อยๆ และข้อดีของการกู้ภายในประเทศคือ ไม่ต้องมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน”

ทั้งนี้กรอบการกู้จะแบ่งตามระยะหรือห้วงเวลาตามการก่อสร้างที่คืบหน้าไปได้ โดยโครงการกำหนดว่าจะต้องก่อการสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 5 ปี (รถไฟความเร็วสูง ระยะทาง 250 กิโลเมตร) ถือเป็นโครงการลงทุนที่มีมูลค่ากว่า 1.7 แสนล้านบาท แต่หากไม่สามารถเจรจากันหรือปล่อยให้โครงการยืดเยื้อนานเท่าไหร่ก็จะส่งผลต่อต้นทุนการก่อสร้าง เพราะต้นทุนขึ้นอยู่กับปัจจัยการผลิต ยิ่งก่อสร้างช้าต้นทุนก็จะแพงขึ้น ส่งผลต่อเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาที่สามารถปรับราคาได้ หรือ ค่า Kที่สูงตามเศรษฐกิจที่ขยายตัว อย่างใดก็ตามหากก่อสร้างช้าแน่นอนการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น เดิมรถไฟมีขีดจำกัดสามารถวิ่งที่ความเร็วที่ 250 กม.ต่อชั่วโมง ก็สามารถพัฒนาให้วิ่งได้เร็ว 280 กม.ต่อชม.

“ตอนนี้โจทย์ รมว.คลังบอกให้ไปต่อรองดอกเบี้ย ซึ่งจีนระบุ 3%กว่าคิดในอัตราตลาด (Market Rate) ส่วนทางการไทยต้องการให้เป็นแบบ “จีทูจี” ในลักษณะของการแลกกับการให้ธุรกิจจีนเข้ามาลงทุนในไทยด้านการก่อสร้าง ส่วนแบบที่ยังไม่เสร็จอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบแบบ โดยเป็นบริษัทจีนที่รับออกแบบโครงการ ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่ผ่านในส่วนของโครงสร้างการก่อสร้าง รูปแบบตัวสถานี บันไดเลื่อน-ลิฟต์ที่จะต้องให้ชัดเจนก่อนจึงจะสามารถก่อสร้างได้”

สำหรับแผนการก่อหนี้รวมถึงเงินกู้ปี 2560 นั้น สบน.เตรียมแผนกู้เงินไว้ที่ 1.7 ล้านล้านบาท ประกอบไปด้วยหน่วยงานที่เตรียมลงทุนก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 20 โครงการ ส่วนใหญ่จะเป็นการกู้ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อาทิ การไฟฟ้า ทั้ง 3 หน่วยงาน, การประปา, การเคหะแห่งชาติ, การรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2559 บนพื้นฐานการทำงบประมาณขาดดุลที่ 3.9 แสนล้านบาท

สอดคล้องกับนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ปี 2560 ทางคณะกรรมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ( PPP )ได้พิจารณาแล้วว่าจะมีโครงการลงทุนที่มีขนาดใหญ่และกลางที่มีมูลค่ามากกว่า 5พันล้านบาท จะมีมูลค่าโครงการสูงถึง 7 แสนล้านบาท ครอบคลุมโครง การลงทุนรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีม่วง โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงค์ และโครงการท้องถิ่นอีกหลายโครงการ อาทิ รถไฟความเร็วสูงระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน, มอเตอร์เวย์ โครง การกำจัดขยะเทศบาล ตามแผนลงทุนของท้องถิ่น

สำหรับโครงการลงทุนที่ต้องใช้วงเงินกู้ทั้งในหรือต่างประเทศ เป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาท ในมุมของ สคร.เองมองว่า อาจใช้รูปแบบกระจายในรูปการขายหน่วยลงทุนให้แก่นักลงทุนที่เป็นสถาบันทั้งในและต่างประเทศ ส่วนกลุ่มที่มองว่ามีศักยภาพและสนใจมาก คือ กลุ่มธุรกิจประกันชีวิต โดยการันตีผลตอบแทนที่ชัดเจนในระยะ 30 ปี สามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนที่ต้องการแสวงหาผลตอบแทนมากกว่าการลงทุนในพันธบัตรหรือเงินฝากปกติที่ดอกเบี้ยต่ำมาก ทั้งนี้หากมองในมุมของสภาพคล่อง จะพบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีสภาพคล่องส่วนเกินสูงถึง 2 ล้านล้านบาท ซึ่งสามารถระดมเงินเหล่านี้ไปลงทุนในมอเตอร์เวย์เส้นใหม่ รวมถึงโครงการอื่นๆได้อีกหลายสิบโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 21/10/2016 7:30 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง สาย กรุงเทพ - พิษณุโลก ผ่านการอนุมัติของ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.)แล้ว เหลือเพียงการอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.)
http://www.onep.go.th/eia/images/6interest/4EIAtransport/4eia_09_59.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 24/10/2016 1:06 pm    Post subject: Reply with quote

ระทึกตอกเสาเข็มรถไฟไทย-จีนปลายปี ลุ้นเจรจารอบ15 ขู่ไม่ยอมลดดอกเบี้ย กู้ที่อื่นแทน
มติชน
วันที่: 22ตุลาคม 2559 เวลา: 10:47 น.

เคาะรถไฟไทย-จีน ใช้เงินกู้ 5.3 หมื่นล้านบาท ลุ้นเจรจาจีนครั้งที่ 15 ปลาย ต.ค.นี้ ยื่นคำขาดไม่ลดดอกเบี้ย เปลี่ยนกู้เงินในประเทศแทน กำหนดตอกเสาเข็มยังไม่ชัด เริ่ม ธ.ค.ได้ชัวร์หรือไม่

วันที่ 21 ตุลาคม ที่กระทรวงคมนาคม มีการประชุมเตรียมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.5 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ครั้งที่ 15 ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 26-28 ตุลาคมนี้

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเสร็จสิ้นการประชุมว่า การประชุมคณะกรรมการฯที่จะจัดขึ้น จีนจะเสนอเงื่อนไขสัญญาเงินกู้ วงเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นทางการให้ฝ่ายไทยพิจารณานำไปใช้ในการซื้อตัวรถ และระบบอาณัติสัญญาณจากจีน จากก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยืนยันว่าอัตราดอกเบี้ยไม่ควรเกิน 2% ส่วนวงเงินกู้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 53,823 ล้านบาท หรือคิดเป็นวงเงินไม่เกิน 30% ของวงเงินลงทุนทั้งโครงการที่ 179,412 ล้านบาท ทั้งนี้ หากเงื่อนไขเงินกู้ที่จีนเสนอมายังไม่สอดคล้องกับความต้องการของไทย ฝ่ายไทยจะหันมากู้เงินในประเทศแทน เพราะหากกู้จากจีนทั้งที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าภายในประเทศรัฐบาลจะตอบสังคมไม่ได้ว่าทำไมต้องกู้

นายพีระพลกล่าวว่า ทั้งนี้ ที่ประชุมจะหารือเพื่อติดตามความคืบหน้าการทำงานของคณะทำงาน 3 ด้าน คือ คณะทำงานด้านเทคนิคการออกแบบก่อสร้าง ร่างสัญญา และการเงิน โดยการประชุมครั้งที่แล้วฝ่ายจีนได้จัดส่งรายละเอียดแบบก่อสร้าง ตอนที่ 1 (สถานีกลางดง-ปางอโศก) ระยะทาง 3.5 กม. มาให้ไทยพิจารณา แต่ยังไม่สมบูรณ์ ในการประชุมครั้งที่ 15 จีนจะนำกลับมาเสนอใหม่

นายพีระพลกล่าวว่า สำหรับรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ช่วง กทม.-บ้านภาชี ได้รับความเห็นชอบแล้ว ส่วนช่วงบ้านภาชี-นครราชสีมา สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างจัดทำเอกสารเพื่อชี้แจงเพิ่มเติมไปยังผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม

นายพีระพลกล่าวว่า ในส่วนของขั้นตอนเสนอขออนุมัติโครงการจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) สนข.กำลังสรุปรายละเอียดโครงการ โดยอยู่ในขั้นตอนสอบถามความเห็นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้นจึงจะนำเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการได้ ตั้งเป้าหมายเสนอ ครม.และเปิดประมูลเดือนพฤศจิกายน เริ่มก่อสร้างในเดือนธันวาคมนี้ แต่ก็ต้องรอดูความชัดเจนในการประชุมครั้งที่ 15 ก่อน ว่าจะได้ข้อยุติเรื่องการถอดแบบก่อสร้างและการร่างสัญญาหรือไม่

“ฝ่ายไทยได้เสนอขอให้แก้ไขตัวร่างสัญญาให้เป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายไทยแล้ว ก็ต้องรอดูว่าฝ่ายจีนแก้ไขตามที่ไทยเสนอหรือไม่ หากได้ข้อยุติร่วมกัน จะต้องส่งให้อัยการพิจารณารายละเอียดต่อไป ส่วนการถอดแบบก่อสร้าง ขณะนี้ยังไม่เป็นไปตามระเบียบไทย ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จึงให้จีนไปปรับแก้ไขมาเสนอใหม่ในการประชุมครั้งนี้ รวมทั้งร่างสัญญาด้วย คงต้องรอดูว่าจะได้ข้อยุติร่วมกันหรือไม่ หากไม่ได้ข้อสรุปอาจจะกระทบกับแผนดำเนินโครงการ” นายพีระพลกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2016 12:57 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟฟ้าทางคู่ช่วงนครราชสีมา-มาบตาพุด / แก่งคอย-บางซื่อ ลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านยกระดับโลจิสติกส์ไทย
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,203 วันที่ 23 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2559


โครงการพัฒนารถไฟเส้นทางนี้อยู่ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนเร่งดำเนินการตามที่ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือต่อกันเพื่อพัฒนารถไฟทางขนาดทา มาตรฐาน (Standard Gauge) 1.435 เมตรสำหรับการขนส่งสินค้าและบริการผู้โดยสารระหว่างประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนวเส้นทางผ่านสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) เข้าสู่ไทยที่จังหวัดหนองคาย

โดยในเขตพื้นที่ประเทศไทยนั้นสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเร่งดำเนินการเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-แหลมฉบัง-มาบตาพุดด้วยระบบรถไฟฟ้าความเร็วปานกลาง ก่อนที่จะยกระดับไปสู่ระบบรถไฟความเร็วสูงในอนาคตต่อไป

ทั้งนี้ระยะแรกจะเร่งดำเนินการช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมาและแก่งคอย-มาบตาพุด ก่อนจะขยายแนวเส้นทางจากนครราชสีมา-หนองคายในระยะต่อไป โดยช่วงจากบางซื่อ-แก่งคอย มีระยะทาง 133 กิโลเมตร แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร และช่วงแก่งคอย-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 518 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี นครนายก นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง

แนวเส้นทางจะก่อสร้างทางคู่ขนาดมาตรฐานขึ้นมาใหม่ขนานไปกับแนวเส้นทางรถไฟขนาด 1 เมตรในปัจจุบัน รวมทั้งมีทางเชื่อมต่อ(Chord Line) เข้าใช้ทางร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-ระยองอีกด้วย โดยรูปแบบโครงสร้างทางรถไฟมีทั้งรูปแบบทางวิ่งระดับพื้น ทางวิ่งยกระดับช่วงสั้น และรูปแบบอุโมงค์

Advertisement
โดยรถไฟโดยสารนั้นจะเดินรถขนานกับทางรถไฟขนาด 1 เมตร จากหนองคายไปยังสถานีนครราชสีมาเข้าสู่กรุงเทพฯผ่านสถานีปากช่อง สระบุรี อยุธยา ดอนเมือง ไปสิ้นสุดที่สถานีบางซื่อ ส่วนผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางไปยังภาคตะวันออกก็จะเดินรถแยกออกมาจากแก่งคอย ขนานไปกับทางรถไฟขนาด 1 เมตรไปยังสถานีปลายทางฉะเชิงเทรา เพื่อเปลี่ยนไปใช้บริการโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง เดินทางต่อไปยังชลบุรีและระยอง

ส่วนรถไฟเพื่อขนส่งสินค้าจะเดินทางจากหนองคายผ่านนครราชสีมา แก่งคอย ฉะเชิงเทรา แล้วเชื่อมเส้นทางเข้ากับรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยองโดยใช้ทางร่วมกันเพื่อไปยังท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด ระหว่างทางจะมีลานกองเก็บตู้สินค้า หรือคอนเทนเนอร์ยาร์ด(Container Yard) อยู่ที่อำเภอองครักษ์ และจัดให้มีทางหลีกเป็นช่วงๆประมาณ 12 ช่วงเนื่องจากให้รองรับรถไฟความเร็วที่ต่างกันของรถไฟโดยสารและรถไฟขนส่งสินค้านั่นเอง

สำหรับจุดให้บริการสถานีฉะเชิงเทรานั้นจะมีการเชื่อมต่อที่ระดับพื้นดินจึงไม่จำเป็นต้องก่อสร้างสถานีพร้อมกัน ผู้ใช้บริการไฮสปีดเทรนสามารถเข้าชั้นจำหน่ายตั๋วได้สะดวก มีพื้นที่อเนกประสงค์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เมื่อโครงการเปิดให้บริการในระดับภูมิภาคจะช่วยลดน้ำมันเชื้อเพลิงลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม สะดวก รวดเร็วปลอดภัยตรงเวลาลดความแออัดในเมืองหลวง ประหยัดต้นทุนการผลิต กระจายความเจริญเชื่อมโยงที่อยู่อาศัยย่านธุรกิจ แหล่งงาน แหล่งวัตถุดิบ เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการขยายตัวของท่าเรือขนส่งสินค้า

ในส่วนระดับท้องถิ่นนั้นจะเกิดการพัฒนาที่ดินรอบๆสถานี การค้าการลงทุน เสริมสร้างกิจกรรมให้ผู้คนทุกระดับชั้นสามารถอยู่ร่วมกันได้ ลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยว รองรับการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารมากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น โดยตามผลการศึกษาเมื่อเปิดให้บริการกรุงเทพ-หนองคายจะมีปริมาณผู้โดยสารมากกว่า 2.5 หมื่นคน/วัน และขนส่งสินค้าได้ประมาณ 4 หมื่นตัน/วัน

ทั้งนี้ตามผลการศึกษาคาดว่าจะใช้งบลงทุนกว่า 1.2 แสนล้านบาท ขณะนี้ผ่านการเจรจาร่วมทั้ง 2 ประเทศมาแล้วถึง 14 ครั้งเบื้องต้นนั้นฝ่ายไทย-จีนจะเริ่มตอกเข็มก่อสร้างเป็นการนำร่องก่อน 3.5 กิโลเมตร ช่วงพื้นที่อำเภอกลางดง-ปากช่องช่วงปลายปีนี้ก่อนที่จะเร่งดำเนินการในช่วงอื่นๆต่อเนื่องกันไปให้ครบทุกช่วง โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการก่อสร้างประมาณ 3 ปี ดังนั้นหากสามารถเริ่มก่อสร้างได้ในต้นปีนี้ก็จะได้ใช้บริการประมาณปี 2562 กับรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐานเพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งเพื่อมิติใหม่ ของการคมนาคมไทยกับโครงการรถไฟทางมาตรฐานเส้นทางช่วงนครราชสีมา-มาบตาพุด/แก่งคอย-บางซื่อ

ส่วนเมื่อเปิดให้บริการแล้วจะมีปริมาณผู้โดยสารใช้บริการมากน้อยเพียงใดนั้นคงต้องมีลุ้นกันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 25/10/2016 1:16 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับแผนสร้างรถไฟไทย-จีน แบบไม่เสร็จ-เลื่อนลงเข็มยาว
ประชาชาติธุรกิจ
25 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08:00:54 น.

ปตท.ควัก 100 ล้าน จ่ายค่ารื้อท่อก๊าซเอง เคลียร์ทางรับรางไฮสปีดเทรน กทม.-โคราช ลุ้นผลประชุมครั้งที่ 15 วันที่ 26-28 ต.ค.นี้ จ่อเลื่อนประมูลตอกเข็มยาวถึงต้นปีหน้า "ไทย-จีน" ถอดแบบไม่ลงตัว

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ระหว่างวันที่ 26-28 ต.ค.นี้ จะมีการประชุมความร่วมมือรถไฟไทย-จีน หรือไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250 กม. ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพฯ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ และเจรจาในรายละเอียดแบบก่อสร้าง ราคากลาง และร่างสัญญา EPC เพื่อเดินหน้าโครงการ

ขณะที่มูลค่าลงทุนได้ข้อสรุปแล้วอยู่ที่ 179,421 ล้านบาท แต่เมื่อหักค่ารื้อย้ายท่อก๊าซของ ปตท. ซึ่งบริษัทจะต้องออกค่าใช้จ่ายเองแล้วอยู่ที่ 179,329 ล้านบาท เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับบริษัท ปตท.ที่ขอใช้ที่ดินวางท่อก๊าซช่วงกรุงเทพฯ-ชุมทางบ้านภาชี ระยะทางประมาณ 80 กม. จะออกค่ารื้อย้ายเองประมาณ 90-100 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับค่าก่อสร้างประเมินไว้อยู่ที่ประมาณ 160,000 ล้านบาท ส่วนค่าเวนคืนที่ดินและค่ารื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคอยู่ที่กว่า 13,000 ล้านบาท สูงขึ้นจากเดิมเนื่องจากต้องรื้อย้ายท่อก๊าซของ ปตท.ที่กีดขวางแนวเส้นทางอยู่ประมาณ 80 กม. ช่วงจากกรุงเทพฯ-ภาชี และมีเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างสถานีสระบุรีจะไม่สร้างในตำแหน่งเดิม ขณะที่สถานีตลอดเส้นทางมี 5 สถานี ได้แก่ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปากช่อง และโคราช

ด้านการก่อสร้างแบ่งเป็น 4 ตอน ช่วงแรก 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ช่วงที่ 2 ระยะทาง 10 กม. จากปากช่อง-คลองขนานจิตร ช่วงที่ 3 ระยะทาง 100 กม. จากแก่งคอย-โคราช (เว้นพื้นที่ช่วงแรก) ช่วงที่ 4 ระยะทาง 119 กม. จากกรุงเทพฯ-แก่งคอย โดยค่าก่อสร้างเฉลี่ยอยู่ที่ 500 ล้านบาท/กม.

"ตอนนี้แบบรายละเอียดระยะแรก 3.5 กม. ที่คาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างประมาณ 200 ล้านบาท เพื่อสร้างแนวคิดเพื่อริเริ่มโครงการ ทางฝ่ายจีนยังถอดแบบไม่เสร็จ มีความเป็นไปได้ที่การก่อสร้างจะไม่ทันภายในสิ้นปีนี้ อาจจะเลื่อนไปเป็นต้นปี"60 ครั้งนี้จะเป็นการเลื่อนครั้งที่ 5 นับจากกำหนดการครั้งแรกเดือน ต.ค.ปี′58"

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ผลการประชุมครั้งที่ 14 ที่ผ่านมา มูลค่าโครงการอยู่ที่ 179,412.21 ล้านบาท ตั้งเป้าจะตอกเข็มก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 2559 นี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งถอดราคาวัสดุ และร่างสัญญา EPC เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน ต.ค. เพื่อขออนุมัติโครงการ ซึ่งรอให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง เช่น สภาพัฒน์ และเปิดประกวดราคาเดือน พ.ย.นี้ โดยประมูลแบบธรรมดา ไม่ใช้วิธีพิเศษ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2016 8:04 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนยังไม่ลงตัว "อาคม" เข็นโครงการถกต่อครั้งที่16 ปลายพ.ย.นี้ ยันประมูลทันธ.ค.59
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 18:29:00 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า การประชุมรถไฟไทย-จีนหรือไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทาง 252กม.วงเงิน179,412ล้านบาทในครั้งที่15 ยังไม่มีข้อสรุปรายละเอียดที่ชัดเจน ซึ่งจะต้องมีการหารือกันต่อไปในครั้งที่16ประมาณปลายเดือนพ.ย.นี้

เนื่องจากยังถอดแบบก่อสร้างช่วงแรกระยะทาง3.5 กม.จากสถานีกลางดง-ปางอโศกยังไม่สามารถประเมินราคาได้เนื่องจากต้องถอดรหัสวัสดุก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานของไทยเพื่อคำนวณราคากลาง

นอกจากนี้การร่างสัญญาลงนามในกรอบความร่วมมือหรือ Framework of Cooperation (FOC) งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (EPC 1) และ งานระบบและรถไฟฟ้าความเร็วสูง(EPC2) จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ค่าที่ปรึกษาโครงการ(ออกแบบการก่อสร้าง) ค่าจ้างผู้ควบคุมงานทั้งการก่อสร้างและงานระบบรถและระบบอานัติสัญญาณยังต้องหารือกันต่อไป เนื่องจาก ต้องพิจารณาบททั่วไปในการว่าจ้างจีนออกแบบและ ที่ปรึกษาดูงาน รูปแบบอาจจะเป็นบริษัทร่วม หรือ ซับคอนแทรกระหว่างรัฐวิสาหกิจไทยและจีน

ส่วนด้านการเงินที่จะกู้จีนในการซื้อระบบอาณัติสัญญาณและตัวรถ ฝ่ายจีนเสนอกู้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในอัตราดอกเบี้ย 2.3 % สกุลหยวนในอัตราดอกเบี้ย 2.8% ซึ่งกระทรวงการคลังมองว่าค่อนข้างสูง โดยไทยจะต้องกู้เงินในสัดส่วน20%ของมูลค่าโครงการ 179,412.21 ล้านบาทหรือปประมาณ 35,882 ล้านบาท

"ไทยเสนอให้มีการก่อสร้างที่สามารถเปิดเดินรถได้เลย ซึ่งอาจจะให้จีนทำรายละเอียดการก่อสร้างช่วงที่3 ระยะทาง 110 กม.ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมาเพิ่มเติมจากเดิมจะสร้าง3.5กม.เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นก่อน" นายอาคม กล่าวและว่า

ทั้งนี้ในส่วนของขั้นตอนของประเทศไทยในการ ขออนุมัติโครงการและมูลค่าลงทุนโครงการจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) คาดว่าอยู่ในช่วงประมาณพ.ย- ธ.ค.59 จากเดิมกำหนดไว้ต.ค.นี้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขณะที่ผลการศึกษาสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ผ่านการอนุมัติไปแล้วช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชียังเหลือ ช่วงภาชี-นครราชสีมาอยู่ในระหว่างการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.)

"การเปิดประมูลยังคงแผนเดิมภายในเดือนธ.ค. 59 ในการประชุมครั้งที่ 16 ช่วงปลายเดือนพ.ย.คาดว่าจะสามารถถอดแบบราคาได้" นายอาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2016 2:49 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟไทย-จีนยังไม่ลงตัว "อาคม" เข็นโครงการถกต่อครั้งที่16 ปลายพ.ย.นี้ ยันประมูลทันธ.ค.59
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 18:29:00 น.


ถกมาราธอน! รถไฟไทย-จีน ยังถอดราคากลางไม่จบ กู้ซื้อระบบถูกจีนโขกดอกเบี้ย 2.8%
โดย MGR Online
28 ตุลาคม 2559 18:46 น. (แก้ไขล่าสุด 28 ตุลาคม 2559 20:25 น.)


ประชุมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 15 ยังสรุปแบบก่อสร้างช่วงแรก 3.5 กม. ถอดเป็นราคากลางเพื่อเปิดประมูลไม่ได้ “อาคม” ขอจีนรวบออกแบบตอน 2-3 ขยายระยะทางอีกกว่า 100 กม. เร่งทยอยก่อสร้างเพื่อให้สามารถเปิดเดินรถได้ ยันไม่ปรับเป้า ธ.ค. 59 เริ่มต้นโครงการ เผยจีนเสนอดอกเบี้ยเงินกู้ 2.8% คลังชี้ยังสูงกว่าแหล่งอื่น

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 15 ที่กรุงเทพมหานคร ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา (ไฮสปีดเทรน) ระยะทาง 252.5 กม. วันที่ 29 ต.ค. ว่าการเจรจาในประเด็นหลักเรื่องแบบก่อสร้าง, ร่างสัญญา และด้านการเงิน ยังไม่เรียบร้อยและต้องหารือกันต่อไป โดยในส่วนของการปรับรหัสมาตรฐานวัสดุก่อสร้างของจีนมาเป็นรหัสมาตรฐานของไทยเพื่อถอดราคาค่าก่อสร้างกำหนดราคากลาง และเปิดประมูลตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) ยังไม่จบ โดยได้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมการถอดรหัสวัสดุก่อสร้างในส่วนรายการใหญ่ต้องสรุปก่อนเปิดประมูล ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยสามารถไปตกลงกันในขั้นตอนก่อสร้างได้ เพื่อความรวดเร็ว

โดยจากแผนงานแบ่งการก่อสร้าง 4 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) ตอนที่ 2 (ปากช่อง-คลองขนานจิตร) ระยะทาง 11 กม.ตอนที่ 3 (แก่งคอย-โคราช) ระยะทาง 119 กม.ตอนที่ 4 (กรุงเทพฯ-แก่งคอย) ระยะทาง 119 กม. ทั้งนี้เพื่อให้การก่อสร้างมีความต่อเนื่อง และมีระยะทางยาวพอสมควรที่จะสามารถเดินรถได้ ไทยได้ขอให้จีนออกแบบในตอนที่ 2 และตอนที่ 3 ที่อยู่ต่อจากตอนที่ 1 ไปเลยซึ่งจะทำให้มีระยะทางรวม 2 ตอน มากกว่า 100 กม.

ทั้งนี้ ฝ่ายจีนต้องการให้ร่างสัญญาEngineering Procurement and Construction (EPC-2) สรุปก่อน จึงจะออกแบบตอนที่ 2, 3 ได้ เพื่อความมั่นใจเรื่องค่าออกแบบ ขณะนี้การเจรจาร่างสัญญา EPC งานออกแบบ, สัญญาควบคุมงาน และสัญญาจัดหาระบบตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ซ่อมบำรุง และฝึกอบรมจะต้องเป็นสัญญามาตรฐานในบริบทของกฎหมายไทยทนั้นจีนยังพิจารณาไม่เสร็จ โดยเฉพาะบททั่วไปและบทเฉพาะกาล โดยรูปแบบในการว่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานนั้นจะต้องเป็นบริษัทร่วมระหว่างรัฐวิสาหกิจไทยและรัฐวิสาหกิจจีน

ส่วนการเงินซึ่งจะกู้จากจีนในการจัดหาระบบอาณัติสัญญาณ และตัวรถ สัดส่วนประมาณ 20% ของมูลค่าโครงการที่ 179,412 ล้านบาทนั้น จีนเสนอเงินกู้สกุลหยวน อัตราดอกเบี้ย 2.8% สกุลดอลลาร์สหรัฐ อัตราดอกเบี้ย 2.3% ซึ่งทางคลังเห็นว่าอัตรายังสูงกว่าเมื่อเทียบกับแหล่งเงินกู้อื่น

นายอาคมกล่าวว่า ขณะนี้ยังยึดเป้าหมายเริ่มต้นโครงการในเดือน ธ.ค. 59 โดยขั้นตอนการขออนุมัติโครงการนั้น ทางการรถไฟฯ ได้ส่งเรื่องมาแล้วอยู่ระหว่างขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดว่าจะเสนอครม.ได้ใน พ.ย.-ธ.ค. 59 ขณะที่การพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นั้น ช่วงกรุงเทพ-บ้านภาชี ได้รับอนุมัติแล้ว ส่วนช่วงบ้านภาชี-โคราช ยังอยู่ในขั้นการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (คชก.)

อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานจะทำคู่ขนานไป ทั้งการขออนุมัติโครงการ การออกแบบ การร่างสัญญา เรื่องสิ่งแวดล้อม โดยจากนี้คณะทำงาน 2 ฝ่ายจะต้องกลับไปพิจารณา และจะมีการประชุมร่วมครั้งที่ 16 ในช่วงวันที่ 23-25 พ.ย.ซึ่งจะพยายามสรุปเรื่อง แบบก่อสร้าง ถอดรหัสมาตรฐานวัสดุให้จบ โดยแบบตอนที่ 2, 3 นั้น มีกำหนดส่งช่วง พ.ย.และ ก.พ. 60 ขอให้จีนรวบการออกแบบเพื่อเร่งสร้างให้ระยะทางยาวพอที่จะเปิดเดินรถได้ก่อน เพราะช่วง 3.5 กม.นั้น กำหนดเป็นการเริ่มต้นเพื่อให้โครงการเกิด ซึ่งเป้าหมายเดือน ธ.ค. 59 กำหนดเพื่อให้ทุกฝ่ายเร่งทำงาน ซึ่งน่าจะเปิดประมูลได้ ส่วนการเริ่มก่อสร้างอาจจะขยับต่อไปเพราะการประมูลมีขั้นตอนและต้องใช้เวลา

“ช่วง 3.5 กม.เป็นจุดเริ่มต้น หากในการออกแบบสรึปเห็นตรงกันจะทำให้ตอนอื่นไปได้เร็ว แต่จีนอยากให้ลงนามสัญญาจ้างออกแบบได้ก่อน เพราะกังวลว่าจะไม่ได้ค่าออกแบบ โดยขณะนี้จีนได้ทำงานล่วงหน้าในส่วนของ 3.5 กม.ไปโดยไม่มีสัญญาจ้างออกแบบอยู่แล้ว” นายอาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2016 3:35 am    Post subject: Reply with quote

เร่งไฮสปีด กรุงเทพฯ-ระยอง ชงครม.ม.ค. 60

ที่มา ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
วันที่บันทึกข้อมูล 19 ตุลาคม 2559 13:52:28
วันที่แก้ไข 19 ตุลาคม 255915:47:48

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 193.50 กิโลเมตร (กม.) กรอบวงเงิน 152,528 ล้านบาท และสาย กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 165 กม.กรอบวงเงิน 94,673.16 ล้านบาท

ซึ่งจะใช้รูปแบบร่วมทุนกับเอกชน (PPP) ในส่วนของรายละเอียดของการพัฒนาที่ดินรอบสถานีที่ได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม และการต่อเชื่อมกับสนามบินอู่ตะเภาของสายกรุงเทพ-ระยอง มายังกระทรวงคมนาคมแล้ว และทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างประมวลข้อมูล คาดว่าจะเสนอนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เห็นชอบได้ภายในเดือนต.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอไปยัง สำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการ ของรัฐ (PPP) พิจารณาในปลายเดือน ต.ค.

ทั้งนี้ โครงการจะเข้า PPP Fast Track มีขั้นตอนพิจารณาใน 60 วัน ซึ่งจะทำให้สามารถนำเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในเดือน ม.ค. 2560 จากนั้นจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 เพื่อเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาต่อไป

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ในการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง นั้น มีผลตอบแทนทางการเงินไม่มาก แต่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกมีศักยภาพสูง และเป็นส่วน หนึ่งของแผนงานโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐบาลผลักดัน โดยจะใช้รูปแบบร่วมทุนกับเอกชน (PPP) โดยให้สิทธิเอกชนในการลงทุนก่อสร้างและบริหารเดินรถ ร่วมลงทุนแบบPPP 100% คล้ายๆ กับ รูปแบบการลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลืองและสาย สีชมพู ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยได้รับสิทธิในการพัฒนาพื้นที่ในสถานี พื้นที่รอบสถานี รายใดที่เสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐน้อยที่สุดจะเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก

ทั้งนี้ ตลอดแนวเส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-ระยอง การรถไฟฯ มีพื้นที่ในแต่ละสถานีไม่มากนัก และแนวเส้นทางอยู่นอกเขตเมือง เนื่องจากเดิมเส้นทางรถไฟสายตะวันออกถูกเน้นไปในการขนส่งสินค้ามากกว่าโดยสาร ดังนั้น การพัฒนาเพื่อนำรายได้จากเชิงพาณิชย์มาอุดหนุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอาจจะไม่คุ้มค่าและไม่จูงใจเอกชนมากนัก ซึ่งเอกชนที่จะเข้ามาร่วมลงทุน จะต้องมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาที่ดิน รวมถึงอาจจะต้องลงทุนจัดหาที่ดินเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นแปลงใหญ่สามารถพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้

โดยเส้นทางรถไฟช่วงกรุงเทพฯระยอง ระยะทาง 194 กม. การรถไฟฯ มีพื้นที่สามารถพัฒนาได้ 6 สถานี คือ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา ระยอง แบ่งเป็นพื้นที่พัฒนาภายในสถานีรวม 5,499 ตารางเมตร พื้นที่ย่านสถานี 162 ไร่ ประมาณการรายได้ 15,857 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 04/11/2016 10:28 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ รับมี 20 โครงการไม่ผ่าน EIA ลั่นรถไฟไทยจีน - ระเบียง ศก.ตะวันออกเริ่มปี 60
โดย MGR Online
4 พฤศจิกายน 2559 16:22 น. (แก้ไขล่าสุด 4 พฤศจิกายน 2559 17:51 น.)

นายกรัฐมนตรี เผยถกคมนาคมมาดูแผนพัฒนาให้สอดคล้องยุทธศาสตร์ 20 ปี รับบางโครงการเร่งรัดไม่ได้ มี 20 โครงการไม่ผ่าน EIA ยันรถไฟไทย-จีนเริ่มแน่ปีหน้า ส่วนระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกเริ่มปี 60 ห่วงคนไม่เข้าใจทำแผนเดินไม่ได้ อ้างคนในอยากได้แต่เจอคนนอกพื้นที่ต้าน ระบุถ้าส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ก็น่าทำ ให้ขยายเวลาเจรจาเดินรถไฟฟ้าสายน้ำเงินอีก 30 วัน ยังไม่ใช้ ม.44 ไล่ที่ให้เกิดความขัดแย้ง

วันนี้ (4 พ.ย.) ที่กระทรวงคมนาคม เมื่อเวลา 10.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เดินทางมาประชุมร่วมกับนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม เพื่อติดตามความคืบหน้าของโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล

จากนั้นเวลา 12.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า โครงการต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของกระทรวงคมนาคมบางอย่างก็เร่งรัดได้ แต่บางอย่างไม่สามารถเร่งรัดได้ ต้องเข้าใจว่าโดยเฉพาะโครงการรถไฟทางการไทยและจีนได้คุยกันตลอด ปัญหาอยู่ที่เราเองที่บางโครงการอีไอเอไม่ผ่าน มีการต่อต้านทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ แต่เส้นทางก่อสร้างชัดเจนแล้ว อย่างไรก็ต้องดำเนินการแน่นอน ทั้งนี้ต้องเห็นผลเริ่มเดินหน้าในปี 2560 การมาประชุมครั้งนี้เพื่อมาดูเรื่องแผนการพัฒนาส่วนของเส้นทางคมนาคม ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 20 ปี ตอนนี้ได้รับการปรับไปตามแผนแล้วโดยสอดคล้องกับงบประมาณ

นายกฯ กล่าวด้วยว่า แต่ขออย่าโทษกันไปมาเพราะกฎหมายมีอยู่แล้ว ส่วนเรื่องระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกจะเริ่มภายในปี 2560 แผนผังออกมาแล้ว ตั้งแต่ถนน เส้นทางรถไฟ ไปสู่ท่าอากาศยาน เป็นโครงข่ายทั้งหมด อะไรที่เดินได้ก็เดินเลย เพื่อให้ทุกคนได้ประโยชน์ตอนนี้เป็นห่วงในเรื่องความไม่เข้าใจทั้งคนในและนอกพื้นที่ มันก็เดินไม่ได้ ทั้งหมดนี้รัฐบาลพร้อมทำทุกอย่าง แต่ต้องไม่เกิดปัญหา โดยเฉพาะเรื่องของงบประมาณ ทั้งนี้หลายอย่างเราจะทำให้เร็วทันทีไม่ได้ จะต้องพัฒนาเป็นช่วงๆ ตนเห็นว่าเส้นทางต่างๆ ถ้ากระทบส่วนน้อยแต่ส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ ก็น่าจะทำ ทำไมต้องให้เราไปบังคับ รัฐบาลมุ่งหวังให้ประชาชนทุกระดับได้จากสิ่งที่เราทำ เราเลือกทำให้เฉพาะกลุ่มไม่ได้ กฎหมายก็มีไว้อยู่ โดยการจะดำเนินการอะไรก็ตามต้องดูว่ารายได้มาจากไหน โดยดูรายได้ของประเทศ จึงมีการปรับรื้อโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ แต่ก็มีผลกระทบเยอะ ดังนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไป ถ้าเราไม่ทำระบบโลจิสติกมันจะไม่เกิดอะไรขึ้นเลย ทั้งเมืองใหม่ เมืองเก่าก็แออัด จึงอยากให้ประชาชนช่วยกันคิด

ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาอีไอเอจะทำอย่างไรให้เกิดความราบเรียบ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มี ต้องเป็นไปตามกฎหมาย วิธีการพูดคุย รัฐบาลที่ผ่านมาก็ทำ ก็ยังไม่ผ่านเพราะมันมีการเคลื่อนไหวของคนนอกพื้นที่ พวกเอ็นจีโอซึ่งอาจหวังดี โครงการเดินหน้าไม่ได้ก็ไม่รู้เหมือนกันจะทำอย่าง สื่อต้องไปช่วยบอกให้เขาร่วมมือ ส่วนกรณีการเจรจาเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่ยังไม่จบ เบื้องต้นได้ขยายเวลาไปอีก 30 วัน ยืนยันว่าต้องทำ ยืนยันว่าต้องทำขอย่ามองว่าเอื้อประโยชน์

“ผมติดตามงานของกระทรวงคมนาคมตลอด เพราะแต่ละเรื่องติดตามผ่านที่ประชุม ครม. จึงรู้หมด และยอมรับว่ามีหลายโครงการเดินหน้าไม่ได้เพราะติดอีไอเอ ประชาชนไม่ยอมออกจากพื้นที่ที่จะก่อสร้างเส้นทาง เมื่อไม่ออกก็สร้างไม่ได้ หากประชาชนออกจากพื้นที่รัฐบาลก็หาที่อยู่ให้ การอยู่แบบผิดกฎหมายมีความสุขไหม สื่อต้องช่วยบอกประชาชนแบบนี้ ทั้งนี้รัฐบาลต้องการจัดระเบียบให้ดีขึ้น แต่อาจไม่มีใครชอบ เพราะคนไทยไม่ค่อยชอบ ตอนนี้อย่างต่ำมีประมาณ 20 โครงการที่ไม่ผ่านอีไอเอ ที่ไม่ผ่านไม่ใช่รัฐผิด แต่อยู่ระหว่างการดำเนินการและยังมีบางโครงการที่จะผ่านในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าไม่ทันก็ยืดเวลาออกไปเพื่อสร้างการรับรู้ให้คนเข้าใจ สื่อก็ต้องช่วยด้วย โดยหลายอย่างคนในพื้นที่เริ่มร้องเรียนว่าอยากได้แต่คนภายนอกไปต่อต้าน งานก็เลยเดินไม่ได้” นายกฯ กล่าว

เมื่อถามว่า ประชาชนที่บุกรุกพื้นที่จะไม่ใช้มาตรา 44 ให้ออกจากพื้นที่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า วันนี้ใช้วิธีการเจรจาขอร้อง แม้แต่คลองลาดพร้าว ตนไปไล่ประชาชนหรือเปล่า 2 ปีมาแล้วที่ใช้การขอร้องทำความเข้าใจ ตนจะไปใช้มาตรา 44 ไล่จับคนได้ไหม หากใช้กลับมาที่ตนคนเดียว ตนไม่ได้กลัวแต่ไม่อยากสร้างความขัดแย้งกับประชาชน นั่นคือปัญหาที่ทำให้ติดกับดักทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล ข้าราชการ ประชาชน ติดกับดักความคิดตัวเองหมด ฝากคิดถ้าโลจิสติกไม่เกิด ขนส่งไม่เกิด โครงการทั้งหมดที่รัฐบาลทำไว้นับร้อย ไม่เกิดจะทำอย่างไร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 05/11/2016 10:17 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ เร่งคมนาคมเคลียร์ปัญหาบุกรุก-EIA เหตุทำโครงการล่าช้า
โดย MGR Online
4 พฤศจิกายน 2559 17:48 น. (แก้ไขล่าสุด 4 พฤศจิกายน 2559 18:58 น.

“รถไฟไทย-จีน” ไม่คืบ แจงปัญหาออกแบบและร่างสัญญา ยังไม่เข้าหลักกฎหมายไทย

นายอาคมกล่าวว่า ได้รายงานความคืบหน้าโครงการรถไฟไทย-จีนให้นายกฯ รับทราบแล้ว ซึ่งนายกฯให้สร้างความรับรู้ในเรื่องของความจำเป็นในการแบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ตอน ว่าไม่ได้หมายความว่าจะสร้างแค่ระยะทาง 3.5 กม. แต่เป็นจุดที่ไม่มีปัญหาที่ดิน เป็นพื้นที่ของรถไฟ จะก่อสร้างได้เร็วและต้องเร่งเดินหน้าด้วยความรอบคอบ โดยขณะนี้ยังติดเรื่องการถอดแบบก่อสร้างและร่างสัญญาที่มีความสำคัญอย่างมาก ถ้าหากถอดแบบระยะทาง 3.5 กม.ซึ่งเป็นตอนแรกของการก่อสร้างไม่ได้จะเริ่มต้นโครงการไม่ได้ ตอนต่อไปทำไม่ได้ เพราะแบบที่จะนำมาประมูลก่อสร้างจะต้องเป็นไปตามกฎระเบียบการประมูลของประเทศไทย หากรหัสวัสดุก่อสร้างยังเป็นของจีนจะประมูลไม่ได้

สำหรับเป้าหมาย เริ่มต้นการก่อสร้างได้ยืนยันกับนายกฯ ว่าไม่อยากปรับเวลาไปเรื่อยๆ แม้ยังมีความยุ่งยากใน 2 เรื่องดังกล่าว แต่หากสามารถเริ่มต้นตอนแรกได้ ตอนต่อไปจะทำได้เร็ว ซึ่งยังขีดเส้นเป้าหมายที่เดือน ธ.ค. 2559 ไว้เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีเป้าในการทำงาน แต่หากตรงไหนเสร็จไม่ทันจริงๆ สามารถขอเพิ่มเวลาปรับเวลาได้ ซึ่งได้หารือกับจีนแล้ว หากในเดือน พ.ย.นี้ จุดไหนไม่พร้อมจะต้องปรับเวลา เบื้องต้นจีนเข้าใจเพราะเงินลงทุนโครงการเป็นของไทย ดังนั้นกฎกติกาต้องเป็นของไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 203, 204, 205 ... 547, 548, 549  Next
Page 204 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©