Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13261364
ทั้งหมด:13572644
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 204, 205, 206 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2016 2:52 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นประมูลส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์ปี 60 สศช.ดันสร้างไฮสปีดเทรนระยอง-บ้านภาชี
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 21 พฤศจิกายน 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,211 วันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน 2559

“วุฒิชาติ” โยกส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงค์(พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง) ประมูลปี 60 หลัง สศช.ตีกลับช่วงพญาไท-บางซื่อเหตุไม่ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์ที่คมนาคมเสนอ แถมจะแย่งผู้โดยสารสายสีแดงช่วง missing link แนะสร้างมินิคันเซนยืดเส้นระยอง-บ้านภาชีช่วยประหยัดได้กว่าแสนล้าน

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง ที่จะต้องนำกระบวนการเดินรถปฏิบัติตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปีพ.ศ.2556 ว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ให้จัดทำข้อมูลเพิ่มเติมช่วงพญาไท-บางซื่อซึ่งร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณา เนื่องจากจะต้องนำเข้าสู่การปฏิบัติตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี พ.ศ.2556 ตามที่บริษัทที่ปรึกษาได้นำเสนอรายละเอียดให้ร.ฟ.ท.แล้วนั้นดังนั้นจะต้องนำเสนอระดับนโยบายเคาะความชัดเจนต่อไป

“การร่วมทุนครั้งนี้ภาครัฐโดยนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีต้องการให้ลงทุนครอบคลุมทั้งการก่อสร้างและการเดินรถ โดยกระบวนการหลังจากที่กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้วก็จะต้องเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)พิจารณาถึงรูปแบบการร่วมลงทุนที่เหมาะสมต่อไป”

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้ส่งเรื่องแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายช่วงพญาไท-บางซื่อให้สศช.พิจารณามาก่อนหน้านี้แล้วแต่ได้ส่งเรื่องกลับคืนมา เนื่องจากเห็นว่าไม่ตอบโจทย์ตามที่กระทรวงคมนาคมต้องการคือเชื่อมระหว่าง 2 สนามบิน แต่ที่นำเสนอก่อสร้างเฉพาะช่วงพญาไท-บางซื่อ ซึ่งสศช.เห็นว่าเป็นการซ้ำซ้อนกับสายสีแดงช่วงมิสซิ่งลิงค์ที่จะแย่งผู้โดยสารกันอาจไม่คุ้มค่าด้านการลงทุน

Advertisement
นอกจากนั้นแม้ว่าร.ฟ.ท. จะอ้างว่าทำโครงสร้างทางไปพร้อมกับสายสีแดงมิสซิ่งค์ลิงค์(บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมากและบางซื่อ-หัวลำโพง) ระยะทาง 21 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 4.41หมื่นล้านบาทจึงจะประหยัดงบประมาณ หรือหากรัฐบาลจะดำเนินการสร้างรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองแล้วก็ควรจะสร้างให้ช่วงระยอง-สถานีภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะช่วยประหยัดงบประมาณได้อีกกว่าแสนล้านบาท โดยให้โครงการรถไฟไทย-จีนและไทย-ญี่ปุ่นสิ้นสุดแค่สถานีบ้านภาชี โดยส่วนที่จะผ่านสถานีบางซื่อควรจะเป็นเส้นทางกรุงเทพ-ระยองก็จะคุ้มค่ากว่าทั้งผู้โดยสารและการลงทุนโดยจะทำเป็นมินิชินคันเซ็นหรือขบวนด่วนพิเศษ จึงไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างไฮสปีดเทรนให้ซ้ำซ้อนสิ้นเปลืองงบประมาณ

ด้านแหล่งข่าวร.ฟ.ท. รายหนึ่งกล่าวว่า กรณีร่วมทุนแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยายพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง โดยช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองกระทรวงคมนาคมต้องการให้รถไฟไทย-จีนและไทย-ญี่ปุ่นเข้ามาร่วมใช้ทางด้วยแต่การเจรจากันกับทั้ง 2 ประเทศยังไม่ได้ข้อยุติ

“เหตุผลของสศช.ก็มีส่วนที่น่าคิดหลายประการเพราะลดความซ้ำซ้อน แต่กรณีร่วมทุนคาดว่าคงจะใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 1 ปี ผลเสียของนโยบายภาครัฐไม่ชัดเจนก็จะส่งผลต่อความล่าช้าของโครงการดังที่เห็นในปัจจุบัน โดยเฉพาะงบประมาณจากเดิมใช้วงเงินราว 1.7 หมื่นล้านบาทปัจจุบันเพิ่มเป็น 3.11หมื่นล้านบาทดังนั้นหากล่าช้าไปอีกงบประมาณจะเพิ่มขึ้นอีกมาก”

ด้านนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่า เรื่องนี้ผ่านการพิจารณาของสนข.ไปแล้ว และวันที่ 21 พฤศจิกายนนี้นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม จะนัดประชุมหารือสรุปความชัดเจนของกระทรวงคมนาคมก่อนที่จะนำเสนอสคร.และคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(คณะกรรมการพีพีพี) ต่อไป

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า มั่นใจว่าสคร.และคณะกรรมการพีพีพีจะพิจารณาได้เร็ว หลังจากนั้นก็จะส่งต่อให้ร.ฟ.ท. เร่งนำไปปฏิบัติได้ คาดว่าคงไม่ล่าช้าจนเกินไป ทั้งนี้เมื่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.)เคาะความชัดเจนเรื่องการร่วมลงทุนก็จะต้องนำเสนอสคร.เคาะรูปแบบการร่วมลงทุนแบบ NET Cost ที่เหมาะสมและให้เอกชนลงทุนสนใจจริงๆโดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐตามที่เอกชนต้องการและคงต้องรอระดมความเห็นของเอกสารประกวดราคาอีกครั้งว่าเอกชนจะเสนออย่างไรบ้างเพื่อนำไปปรับปรุงทีโออาร์ก่อนเปิดประมูลอย่างเป็นทางการต่อไป

ขณะทีน่ ายสุรพงษ์ เลาหะอัญญากรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส กล่าวว่า น่าสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนในแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนต่อขยาย แต่ขอดูรายละเอียดต่างๆให้ชัดเจนก่อน ว่ารัฐจะช่วยอย่างไรบ้างเนื่องจากปริมาณผู้โดยสารระดับวันละ 6 หมื่นคนเท่านั้น อีกทั้งระยะทางสั้นๆ และมีแนวเส้นทางซํ้าซ้อนกับสายสีแดงช่วงมิสซิ่งลิงค์อีกด้วย แนวโน้มการขาดทุนมีสูงมากหากรัฐไม่ให้ความช่วยเหลือ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2016 11:44 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นประชุมร่วมครั้งที่16เข็นรถไฟไทย-จีน
เดลืนิวส์
พุธที่ 23 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09.40 น.

ลุ้นประชุมร่วมรถไฟไทย-จีนครั้งที่16 วันที่ 30 พ.ย.-2 ธ.ค.นี้ที่กรุงเทพฯ แนวโน้มปรับแผนงานก่อสร้าง


นายพีระพล ถาวรสุภเจริญรองปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมเตรียมความพร้อมการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนครั้งที่ 16 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.5 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรนว่า  จะจัดประชุมร่วมครั้งที่ 16 วันที่ 30 พ.ย.-2 ธ.ค.นี้ที่โรงแรมแชงกรีล่า กรุงเทพฯ  โดยวันที่ 30 พ.ย.และ1 ธ.ค. จะประชุมคณะทำงานร่วมฝ่ายไทย-จีนและ 2 ธ.ค. ประชุมระดับคณะกรรมการ มีรมว.คมนาคมของ 2ประเทศเป็นหัวหน้าคณะ เพื่อหาข้อสรุปการประชุม

นายพีระพล กล่าวต่อว่า    ก่อนการประชุมฯครั้งที่  16  เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยและจีน จะประชุมนอกรอบร่วมกันวันที่ 24 พ.ย.  นี้  ให้ได้ข้อสรุปเบื้องต้น2 เรื่องสำคัญ ได้แก่

1.แบบก่อสร้างตอนที่ 1 (สถานีกลางดง-ปางอโศก)  อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา  ระยะทาง 3.5 กม. โดยฝ่ายจีนจะนำแบบก่อสร้างภายหลังปรับแก้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานวัสดุก่อสร้างไทยมานำเสนอเพื่อให้ไทยนำไปใช้กำหนดราคากลางเปิดประกวดราคาและ

2.ร่างสัญญาโครงการ ต้องปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎหมายไทย

นายพีระพล กล่าวอีกว่า  สำหรับประเด็นหารือในการประชุมครั้งที่ 16 ประกอบด้วย

1.ติดตามความคืบหน้าภาพรวมโครงการด้านต่างๆเพื่อประเมินกรอบเวลาการดำเนินการว่าเป็นไปตามแผน หรือต้องปรับแผนใหม่

2.เงื่อนไขสัญญาเงินกู้  วงเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ที่ฝ่ายจีนเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาซื้อตัวรถและระบบอาณัติสัญญาณจากจีน ซึ่งก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยืนยันไม่ควรเกิน 2%  และ

3.ร่างสัญญาเกี่ยวกับงานออกแบบและสัญญาควบคุมงานก่อสร้างและติดตั้งงานระบบ    

นายพีระพล   กล่าวด้วยว่า   วันที่  24 พ.ย. นี้  นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ  รมว.คมนาคม   จะเชิญผู้แทนสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท. ) และที่ปรึกษาของ รฟท.มาหารือเกี่ยวกับการจัดทำรายละเอียดประกอบโครงการเตรียมเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) เนื่องจากยังขาดข้อมูลแนวทางการพัฒนาเชิงพาณิชย์รอบสถานีและตลอดแนวเส้นทาง ซึ่ง รฟท.ต้องนำข้อมูลมาเสนอเพิ่มเติม เพราะ รมว.คมนาคมไม่อยากให้โครงการเกิดปัญหาติดขัด และมีข้อซักถามระหว่างการพิจารณาในครม.

นอกจากนี้จะหารือประเมินกรอบเวลาดำเนินโครงการว่าเป็นไปตามแผนเดิมให้เสนอโครงการต่อครม.ภายในเดือนพ.ย.เปิดประมูล และเริ่มก่อสร้างเดือน ธ.ค. 59 ได้หรือไม่หากไม่ได้ต้องปรับกรอบเวลาใหม่ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2016 10:47 am    Post subject: Reply with quote

เจรจามาเลย์ทำไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์
เดลินิวส์
พฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2559 เวลา 00.46 น.

"คมนาคม’ สั่งรฟท. เจรจาต่อยอดโครงการรถไฟความเร็วสูงถึงกัวลาลัมเปอร์ เผยจีน-ญี่ปุ่นเสนอตัวพร้อมช่วยศึกษาความเหมาะสม



นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า มีแผนหารือกับรมว.คมนาคมมาเลเซียโครงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ระหว่างกรุงเทพฯ ถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมอบหมายให้คณะทำงาน หารือกับระดับเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียก่อนจะหารือกันอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับกรอบทำงานและศึกษาความเหมาะสมร่วมกัน เนื่องจากเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางใหม่และมีระยะทางค่อนข้างยาว จึงต้องศึกษาว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งจะศึกษาทั้งเส้นทางหรือแบ่งกันศึกษาคนละครึ่ง เป็นต้น

“มีโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งจะลงภาคใต้อยู่แล้ว จึงต้องศึกษาให้รอบคอบว่าควรต่อยอดจากช่วงหัวหินหรือเป็นเส้นใหม่เลย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดคือต่อยอดจากรถไฟความเร็วสูงหัวหินไปถึงปาดังเบซาร์ จ.สงขลา”

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในการประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมวันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมา นายอาคม มอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทำหน้าที่เป็นผู้เจรจากับคณะทำงานของประเทศมาเลเซียถึงขอบเขตการทำงาน หลังจากนั้นจะศึกษาความเหมาะสมโครงการว่าจะเป็นรูปแบบใด ซึ่งขณะนี้ญี่ปุ่นและจีนแสดงความสนใจพร้อมช่วยศึกษารูปแบบการดำเนินโครงการเบื้องต้นแล้ว

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์ จะมีระยะทางประมาณ 1,400 กิโลเมตร แบ่งเป็นระยะทางในประเทศมาเลเซียประมาณ 400-500 กิโลเมตร ความเร็วอย่างต่ำ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้สามารถเดินทางระหว่างเมืองหลวงของทั้ง 2 ประเทศได้ในระยะเวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง และประเทศไทยจะต้องวางรางขนาด 1.435 เมตรใหม่ เพราะปัจจุบันมีแต่โครงการรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตรเท่านั้น

ซึ่งหากเดินหน้าโครงการจะช่วยต่อยอดโครงการถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างกัวลาลัมเปอร์-ประเทศสิงคโปร์ โดยรัฐบาลมาเลเซียกำลังผลักดัน เพราะหากมีการลงทุนรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์จะเชื่อมต่อไปถึงประเทศลาวและจีนในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44502
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 24/11/2016 2:12 pm    Post subject: Reply with quote

ชี้รถไฟความเร็วสูง‘กทม.-หัวหิน’ ผู้โดยสาร1.3หมื่นคน/วัน-ปลุกศก.ใต้
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 24 November 2559

Click on the image for full size

ล่าสุดผลการศึกษาโครงการดังกล่าวนี้กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(PPP) ในช่วงปลายปีนี้ หลังจากนั้นจะมีการจัดทำทีโออาร์เพื่อเร่งเปิดประมูลไตรมาสแรกของปี 2560 โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 8.11% แต่เมื่อพัฒนาเส้นทางต่อไปและสุดสายปาดังเบซาร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 12.76% จะใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงถึงหัวหิน โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2567

โครงการนี้ภาครัฐและภาคเอกชนต่างเสนอข้อแลกเปลี่ยนด้านความคุ้มค่าการลงทุนด้วยการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั้งในพื้นที่สถานีและโดยรอบสถานีได้มากขึ้นเพื่อลดภาระความเสี่ยงด้านการลงทุนของภาคเอกชน เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้เอกชนลงทุน 100% โดยจะเข้ามาลงทุนเดินรถ จัดหารถและบริหารจัดการ ตลอดจนการก่อสร้างที่จะต้องมีความเป็นมืออาชีพและได้มาตรฐานจริงๆ

ลักษณะโครงการ จะเป็นระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง แบบทางคู่ ระยะทาง 211 กิโลเมตร ระบบราง Standard Gauge กว้าง 1.435 เมตร ใช้ความเร็ว 250 กม./ชั่วโมง งบลงทุนกว่า 9.4 หมื่นล้านบาท ตามผลการศึกษาคาดว่าจะมีผู้โดยสารประมาณ 1.3 หมื่นคน/วัน ค่าโดยสาร 560 บาท/เที่ยว ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี โดยแนวเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน มี 5 สถานี ประกอบด้วย 1.สถานีกลางบางซื่อ 2.สถานีนครปฐม 3.สถานีราชบุรี(บ้านคูบัว) 4.สถานีเพชรบุรี และ 5.สถานีหัวหิน(บ่อฝ้าย)

ทั้งนี้ในช่วงเวลาปกติจะให้บริการ 1 ขบวนต่อ 2 ชั่วโมง ระหว่างสถานีบางซื่อ-หัวหิน และช่วงเร่งด่วน 1 ขบวนต่อ 1 ชั่วโมง ระหว่างสถานีบางซื่อ-หัวหิน

รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน พบว่าการลงทุนจากเส้นทางบางซื่อ-ปาดังเบซาร์จะสูงกว่า 5.3 แสนล้านบาท จำแนกเป็นช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน มูลค่ากว่า 9.8 หมื่นล้านบาท ช่วงหัวหิน-สุราษฎร์ธานี มูลค่ากว่า 2.35 แสนล้านบาท และช่วงสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ มูลค่ากว่า 1.97 แสนล้านบาท

ในส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ(EIRR)เมื่อเปิดให้บริการในปี 2567 นั้น แนวเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน เท่ากับ 6.34% กรุงเทพ-สุราษฎร์ธานี เท่ากับ 9.39% กรุงเทพ-ปาดังเบซาร์ เท่ากับ 10.42% โดยรายได้ของโครงการจะมีทั้งรายได้จากค่าโดยสารและรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์ คือจากพื้นที่ร้านค้า(ในปี 2562 ประมาณ 138 ล้านบาท) พื้นที่จอดรถ(ปี 2562 ประมาณ 1.49 ล้านบาท) โฆษณาภายในขบวนรถ (ปี 2562 ประมาณ 7 ล้านบาท) และภายในสถานี(ปี 2562 ประมาณ 10 ล้านบาท)

สำหรับผลตอบแทนทางด้านการเงิน(FIRR)นั้น(กรณีทั้งโครงการ) แนวเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน(ต่อระยะเวลาดำเนินการ 30 ปีและ 50 ปี) จะพบว่าช่วงกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ระยะ 50 ปี จะติดลบอยู่ประมาณ 1.17% ส่วนเมื่อเปิดให้บริการถึงปาดังเบซาร์ ระยะ 30 ปี คิดเป็นประมาณลบ 10.32% และระยะ 50 จึงจะเป็นบวก คิดเป็นประมาณ 1.09% แต่หากเป็นกรณีเฉพาะขบวนรถจะพบว่าช่วงกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ระยะ 50 ปีจะเป็นมูลค่า 1.18% และช่วงกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ระยะ 50 ปีจะเพิ่มเป็น 5.18% โดยช่วงกรุงเทพ-หัวหินในปี 2565 คาดว่าจะมีรายได้ค่าโดยสารรวมรายได้อื่นๆไม่เกิน 5,000 ล้านบาท และในปี 2611 คาดว่าจะมีรายได้เพิ่มกว่า 1 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารช่วงกรุงเทพ-หัวหินในปี 2565 จะมีจำนวน 9,571 คนต่อวัน ปี 2572 ประมาณ 1.1 หมื่นคนต่อวัน ปี 2582 ประมาณ 1.3 หมื่นคนต่อวัน และปี 2592 ประมาณ 1.6 หมื่นคนต่อวัน
ดังนั้นคงต้องมีลุ้นว่าท้ายที่สุดแล้วโครงการนี้จะจูงใจและสร้างความเชื่อมั่นให้เอกชนได้มากน้อยเพียงใด แต่หากโครงการนี้แจ้งเกิดได้สำเร็จ จะส่งผลต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคใต้ดีขึ้นแน่นอน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,211 วันที่ 20 – 23 พฤศจิกายน 2559
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2016 10:26 am    Post subject: Reply with quote

'อาคม'ดันจ.ระยอง เมืองใหม่ ชูรถไฟความเร็วสูง-สนามบิน รับนักลงทุน
เดลินิวส์
ศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2559 เวลา 08.10 น.

อาคม ปั้น จังหวัดระยองเป็นเมืองใหม่เน้นอุตสาหรรมไฮเทค เน้นโครงสร้างพื้นฐาน รถไฟความเร็วสูง-สนามบินอู่-ตะเภา รับนักลงทุน

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่24 พ.ย. ที่โรงแรมโกลเด้นซิตี้  อำเภอเมืองระยอง  นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  เป็นประธานเปิดสัมมนาและเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษเรื่อง “EEC  จุดพลุระยอง  เมืองใหม่  High  speed  train”   ซึ่งจัดโดยสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์ จ.ระยอง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจสาขาต่าง ๆ ได้รับทราบถึงการเปลี่ยนเปลงที่จะเกิดขึ้นกับนโยบายระเบียงเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำหนด  ซึ่งจะมีผลต่อการลงทุนและวิถีชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก
          
.นายอาคม เปิดเผยว่าโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ – ระยอง ระยะทาง 193.5 กม.อยู่ในแผนนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว ขณะนี้กระทรวงคมนาคมมีการเตรียมการตั้งแต่ปี 58 ซึ่งโครงการดังกล่าวทาง  จะโดยให้เอกชนดำเนินการทั้งหมด ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ  (คณะกรรมการพีพีพี) พิจารณาและรอการอนุมัติและคาดว่าจะเดินหน้าต่อไปได้ภายในปี60
 
นายอาคมกล่าวต่อว่าทั้งนี้สำหรับจังหวัดระยองซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดในแผนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกก็จะเน้นในเรื่องของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่เป็นอุตสาหกรรมไฮเทค  เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  เช่นอุตสาหกรรมการบิน  เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นเมืองนานาชาติที่มีโครงสร้างพื้นฐานสามารถที่จะดึงดูดและรองรับการลงทุนจากต่างประเทศที่จะเข้ามาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับเมื่อมีรถไฟความเร็วสูงเข้ามาจะสามารถลดเวลาในการเดินทางจากกรุงเทพฯ เหลือเพียงชั่วโมงเศษ  รวมถึงในอนาคตสนามบินอู่ตะเภาจะเปิดให้บริการประชาชนก็จะสามารถพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การเป็นศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ระดับนานาชาติ  ที่พักอาศัย  ธุรกิจโรงแรมต่าง ๆ  ที่จะส่งผลให้จังหวัดระยองเติบโตขึ้นอีก
         
อย่างไรก็ตามการรองรับนักท่องเที่ยวหรือนักลงทุนในอนาคตสำหรับท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ที่ปัจจุบันยังมีสถานที่ไม่กว้างขวาง  ในระยะแรกนี้ได้มีการสร้างอาคารรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก  และในระยะที่สองก็อยู่ในแผนแล้วที่จะต้องสร้างตัวอาคารผู้โดยสารและรันเวย์เพิ่มขึ้นอีก  เพื่อให้อู่ตะเภาเป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่มีศักยภาพมากขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 25/11/2016 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

อัดลงทุน 9 แสนล.ปั่นจีดีพี 1% 36 โครงการเร่งปลายปี "รถไฟฟ้า-ทางคู่เฟส 2"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2559 เวลา 06:30:22 น.


คมนาคมโหมโรงปี 2560 ปีทองการก่อสร้าง จัดทัพ 36 โครงการยักษ์ เฉียด 9 แสนล้าน ลุยลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนส่งเฟส 2 เชื่อมการเดินทางกรุงเทพฯ ชานเมือง และหัวเมืองภูมิภาค ทะลุประเทศเพื่อนบ้าน ดันจีดีพีเพิ่มปีละ 1% เผยยอดเบิกจ่ายลงทุน 20 เมกะโปรเจ็กต์ วงเงิน 1.4 ล้านล้านฉลุย ทุกโครงการปักหมุดตอกเข็ม ทั้งมอเตอร์เวย์ รถไฟฟ้าส้ม ชมพู เหลือง ทางคู่ 5 สาย ขยายสุวรรณภูมิเฟส 2 คาดเงินสะพัดเข้าระบบเศรษฐกิจ 2 แสนล้าน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การลงทุนโครงการใหญ่ด้านคมนาคม ขนส่งทุกโหมดของกระทรวงคมนาคมทั้งบก ราง น้ำ และอากาศ จะมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจและพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศ ในปี 2560 จะเป็นปีที่มีการเริ่มก่อสร้าง จะมีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการเบิกจ่ายสูงสุด ประมาณ 2 แสนล้านบาท

รมว.คมนาคมกล่าวว่า หลักการลงทุนของปี 2560-2564 ส่วนใหญ่ 80% จะเน้นระบบราง เช่น รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ รถไฟทางคู่เชื่อมระหว่างจังหวัด และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน

เบิกจ่ายงบพุ่ง-ดันจีดีพีเพิ่ม 1%

สำหรับวงเงินลงทุนมาจาก 2 ส่วน คือ โครงการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) กว่า 1 แสนล้านบาท แยกเป็นไตรมาสแรก (ต.ค.-ธ.ค. 59) ประมาณ 10% หรือ 2 หมื่นล้านบาท ไตรมาสที่ 2 (ม.ค.-มี.ค. 60) ประมาณ 30% หรือ 3 หมื่นล้านบาท ไตรมาสที่ 3 (เม.ย.-มิ.ย. 60) ประมาณ 40% หรือ 4 หมื่นล้านบาท และไตรมาสที่ 4 (ก.ค.-ก.ย. 60)ประมาณ 20% หรือ 2 หมื่นล้านบาท กับโครงการใหญ่ในแผนเร่งด่วน (Action Plan) ปี 2559 จำนวน 20 โครงการอีกประมาณ 1 แสนล้านบาท จากทั้งหมดลงทุนกว่า 1.4 ล้านล้านบาท

"ปีนี้ยอดเบิกจ่ายงบประมาณของคมนาคมทำได้ 91% หรือประมาณ 1.2 แสนล้านบาท หลัก ๆ มาจากงานถนนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท ปีหน้าการเบิกจ่ายจะมากช่วงครึ่งปีแรก เพราะเราปรับการเบิกจ่ายใหม่ให้เริ่มตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จากเดิมจะเน้นเบิกจ่ายช่วงท้าย ๆ จะทำให้การเบิกจ่ายเร็วขึ้น ส่วน 20 โครงการใหญ่ มี 16 โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว มีเงินเบิกจ่าย 2 หมื่นล้านบาท ปี′60 จะพุ่งสูงถึง 1 แสนล้านบาท และปี′61 เพิ่มเป็น 1.6 แสนล้านบาท"

นายอาคมกล่าวด้วยว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกมีอัตราการขยายตัวต่ำ การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในส่วนนี้จะเสริมให้เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้น โดยจะมีส่วนสำคัญในการขยายตัวทางเศรษฐกิจปีละ 1% บนพื้นฐานปัจจัยด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ มีเสถียรภาพ เช่น การส่งออก และดัชนีการบริโภค การใช้จ่ายทั้งภาครรัฐและเอกชนมีอัตราขยายตัว

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2559 อัตรา 3.2% ปี 2560 ขยายตัว 3.0-4.0% หากการลงทุน 36 โครงการเป็นไปตามเป้าหมาย จะสนับสนุนให้จีดีพีขยายตัวได้เป็น 4.2% ในปีนี้ และ 4.0-5.0% ในปี 2560

เติมอีก 36 โปรเจ็กต์ 9 แสนล้าน

"ปี′60 กระทรวงไม่หยุดการลงทุน ยังคงมีโครงการใหญ่บรรจุเป็นแผนเร่งด่วนอีก 36 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 8-9 แสนล้านบาท ที่จะเติมเข้าในระบบเศรษฐกิจของประเทศ นอกเหนือจากเงินงบประมาณ ซึ่งปี′61 จะเป็นปีที่เห็นการก่อสร้างและเบิกจ่ายมากที่สุด หลังปีหน้าโครงการได้รับอนุมัติและประมูลเสร็จแล้ว โดย 80% จะเป็นโครงการระบบราง คาดว่าจะเสนอให้ ครม.อนุมัติภายในวันที่ 29 พ.ย.นี้" นายอาคมกล่าวและว่า

"ทั้ง 36 โครงการจะเดินหน้าตามความพร้อม เช่น เปิดประมูล พร้อมก่อสร้าง ขออนุมัติ ครม. ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการในยุทธศาสตร์ 20 ปี (2560-2579) ของกระทรวงคมนาคม จะเริ่มระยะที่ 1 ปี 2560-2564 จากทั้งหมด 4 ระยะ"

ทางคู่เฟส 2 เชื่อมเขต ศก.พิเศษ

โครงการลงทุนจะเป็นโครงการส่วนต่อขยายจากเฟสแรกให้โครงข่ายสมบูรณ์มากขึ้น (ดูกราฟิกหน้า 8) เช่น รถไฟทางคู่ มี 9 เส้นทาง จะเชื่อมการเดินทางไปยังภูมิภาคต่าง ๆ แบบต่อเนื่องตลอดเส้นทาง โดยภาคเหนือจากเฟสแรกสร้างถึงปากน้ำโพ จะสร้างไปถึงเด่นชัย เชียงใหม่ และเชียงราย ภาคใต้จากชุมพรไปถึงสุราษฎร์ธานี และปาดังเบซาร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากขอนแก่นไปยังหนองคาย และอุบลราชธานี

ประกอบด้วย สายปากน้ำโพ-เด่นชัย, จิระ-อุบลราชธานี, ขอนแก่น-หนองคาย, ชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา, หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ และหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ส่วนทางคู่สายใหม่ มีเด่นชัย-เชียงของ และบ้านไผ่-นครพนม จะรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษและเชื่อมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor)

ด้านรถไฟฟ้า มีสายสีแดง รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์, สีแดง ตลิ่งชัน-ศิริราช-ศาลายา, แอร์พอร์ตลิงก์ต่อขยายดอนเมือง-พญาไท, สีเขียว สมุทรปราการ-บางปู กับคูคต-ลำลูกกา, สีส้ม ศูนย์วัฒนธรรมฯ-ตลิ่งชัน, สีน้ำเงิน บางแค-พุทธมณฑลสาย 4

โครงการทางด่วน มีสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนตะวันตก, ทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือช่วง N 2-3 และสายกะทู้-ป่าตอง ส่วนมอเตอร์เวย์ มีนครปฐม-ชะอำ กับหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ด้านโครงการทางน้ำ มีท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 กับการพัฒนาท่าเรือเฟอรี่เชื่อมอ่าวไทยตะวันออกกับตะวันตก ส่วนทางอากาศจะเป็นการปรับปรุงสนามบินภูมิภาครองรับการท่องเที่ยวที่เติบโต เช่น สนามบินเบตง สนามบินขอนแก่น เป็นต้น

ล้างท่องานปี′59 จบสิ้นปีนี้

สำหรับความคืบหน้าของ 20 โครงการ นายอาคมระบุว่า รถไฟทางคู่ 7 เส้นทางได้รับการอนุมัติหมดแล้ว อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 เส้นทาง คือ จิระ-ขอนแก่น และฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย อีก 5 เส้นทาง ค่าก่อสร้างกว่า 98,160 ล้านบาท กำลังประมูล จะเซ็นสัญญาเสร็จไตรมาสแรก และเริ่มก่อสร้างในปี 2560

ได้แก่ สายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. วงเงิน 16,500 ล้านบาท, นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 19,270 ล้านบาท, ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กม. วงเงิน 23,900 ล้านบาท, มาบกะเบา-จิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 28,500 ล้านบาท และหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. วงเงิน 9,990 ล้านบาท

รถไฟฟ้ากำลังประมูล 3 สายทาง มีสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) ระยะทาง 21.2 กม. จำนวน 6 สัญญา วงเงิน 82,900 ล้านบาท จะเซ็นสัญญาเดือน พ.ค. 2560 สีชมพู (แคราย-มีนบุรี) ระยะทาง 34.5 กม. วงเงิน 53,519.50 ล้านบาท และเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 30.4 กม. วงเงิน 51,931.15 ล้านบาท จะทราบผู้ชนะกลางเดือน ธ.ค.นี้ และเซ็นสัญญาก่อสร้างต้นปี 2560

ด้านโครงการมอเตอร์เวย์ 3 สายทาง เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ต้นปี 2559 คือ พัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กม. วงเงิน 20,200 ล้านบาท กำลังก่อสร้างมีสายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 84,600 ล้านบาท และบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงิน 55,620 ล้านบาท แล้วเสร็จปี 2563

โครงการสุวรรณภูมิ เฟส 2 อยู่ระหว่างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ วงเงิน 12,050 ล้านบาท และระบบสาธารณูปโภค วงเงิน 1,983 ล้านบาท ที่เหลือจะทยอยเปิดประมูลปลายปีนี้ถึงปีหน้า

เอกชนร่วมไฮสปีดระยอง-หัวหิน

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250 กม. วงเงิน 179,412 ล้านบาท เป็นความร่วมมือกับจีน อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด, กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. วงเงิน 233,195 ล้านบาท เป็นโครงการความร่วมมือกับญี่ปุ่น ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) แล้ว รอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งปี 2560 ทางญี่ปุ่นจะออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปี 2561

ขณะที่สายกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม. วงเงิน 152,000 ล้านบาท และกรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กม. 94,600 ล้านบาท คาดว่าในไตรมาส 1/2560 จะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณา เนื่องจากเป็นโครงการที่ให้เอกชนลงทุนรูปแบบ PPP ทั้งโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2016 10:00 am    Post subject: Reply with quote

เคลียร์แยกทางวิ่งไฮสปีดญี่ปุ่น ส่วนจีนใช้ร่วมแอร์พอร์ตลิงก์ แต่ต้องปรับแบบสถานีบางซื่อ
โดย MGR Online
1 ธันวาคม 2559 07:18 น. (แก้ไขล่าสุด 1 ธันวาคม 2559 09:06 น.)


“อาคม” ถกญี่ปุ่นเคาะแยกทางวิ่งรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น ออกจาก “ไทย-จีน” ญี่ปุ่นยัน “ชินคันเซ็น” ใช้ทางร่วมกับใครไม่ได้ พร้อมเสนอให้รถไฟไทย-จีนใช้ทางร่วมแอร์พอร์ตลิงก์ เหตุใช้ระบบอาณัติสัญญาณคล้ายกัน แต่ติดปัญหาต้องปรับปรุงเสริมคานสถานีกลางบางซื่อและมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม สั่ง ร.ฟ.ท.เร่งตรวจคืบหน้าไซต์งานสีแดง ยังปรับแบบได้หรือไม่

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะทำงานไทย-ญี่ปุ่น ในความร่วมมือการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ร่วมกับรองอธิบดีกรมการรถไฟของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 29 พ.ย. ในการบริหารจัดการพื้นที่วางราง ตั้งแต่สถานีกลางบางซื่อถึงบ้านภาชี เนื่องจากมีพื้นที่เขตทางรถไฟจำกัด โดยที่ประชุมเห็นด้วยในหลักการที่ญี่ปุ่นได้ยืนยันในการแยกระบบของรถไฟความเร็วสูง (ชินคันเซ็น) ของญี่ปุ่นออกจากรถไฟฟ้าทุกระบบ โดยเป็นระบบที่ออกแบบเฉพาะ ไม่สามารถใช้ทางหรือ share track หรือใช้ระบบอาณัติสัญญาณ (signaling) ร่วมกับระบบอื่นได้ เพราะจะทำให้ไม่มั่นใจในการควบคุมดูแล โดยญี่ปุ่นได้ศึกษารูปแบบทางเลือกนำเสนอเบื้องต้นเพื่อให้รถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีนใช้ทางร่วมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ตั้งแต่ออกจากสถานีกลางบางซื่อ โดยจะต้องปรับปรุงโครงสร้างบางส่วน เช่น เสริมคานให้เกิดความแข็งแรงเพื่อรับกับรถไฟไทย-จีนจะวิ่งไปใช้ทางร่วมกับแอร์พอร์ตเรลลิงก์

โดยก่อนหน้านี้ได้ออกแบบโครงสร้างของสถานีกลางบางซื่อ ให้ระบบรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์อยู่ที่ชานชาลาชั้น 3 โดยให้รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ความร่วมมือไทย-จีน) และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น) ใช้ทางร่วมกัน ซึ่งญี่ปุ่นยืนยันว่าระบบชินคันเซ็นใช้ทางร่วมไม่ได้ ต้องแยกเฉพาะ และชี้แจงทางเทคนิคว่าระบบอาณัติสัญญาณของรถไฟความเร็วสูงของจีนคือ CTCS (Chinese Train Control System) ซึ่งจีนได้พัฒนามาจากระบบของยุโรป คือ ETCS (European Train Control System) ซึ่งทางแอร์พอร์ตลิงก์จะปรับไปใช้ระบบ ETCS เพื่อปลดล็อกระบบอาณัติสัญญาณ ดังนั้นระบบควบคุมอาณัติสัญญาณของทั้ง 2 โครงการจะคล้ายกันสามารถใช้ทางร่วมกันได้

ดังนั้น จึงได้มอบให้ทางญี่ปุ่นศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย ระหว่างแนวทางเดิม คือให้รถไฟไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่นใช้ทางร่วมกัน กับแนวทางใหม่แยกรถไฟไทย-ญี่ปุ่น และให้รถไฟไทย-จีนใช้ทางร่วมกับแอร์พอร์ตลิงก์ ขณะที่ให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตรวจสอบแบบการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อกรณีที่ต้องปรับปรุงโครงสร้างบางส่วนตามที่ญี่ปุ่นเสนอ และงานก่อสร้างในปัจจุบันถึงจุดที่จะมีการปรับโครงสร้างดังกล่าวแล้วหรือยัง โดยให้นำเสนอในการประชุมร่วมในช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้

อย่างไรก็ตาม หากต้องมีการปรับปรุงแบบโครงสร้างสถานีกลางบางซื่อเพื่อเสริมความแข็งแรงของคานเพื่อรองรับโครงสร้างรถไฟไทย-จีนตามที่ญี่ปุ่นเสนอนั้นจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนนี้ ซึ่งจะหารือในรายละเอียดต่อไปว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของโครงการใด
Back to top
View user's profile Send private message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 01/12/2016 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เคลียร์แยกทางวิ่งไฮสปีดญี่ปุ่น ส่วนจีนใช้ร่วมแอร์พอร์ตลิงก์ แต่ต้องปรับแบบสถานีบางซื่อ
โดย MGR Online
1 ธันวาคม 2559 07:18 น. (แก้ไขล่าสุด 1 ธันวาคม 2559 09:06 น.)


“อาคม” ถกญี่ปุ่นเคาะแยกทางวิ่งรถไฟความเร็วสูง ไทย-ญี่ปุ่น ออกจาก “ไทย-จีน” ญี่ปุ่นยัน “ชินคันเซ็น” ใช้ทางร่วมกับใครไม่ได้ พร้อมเสนอให้รถไฟไทย-จีนใช้ทางร่วมแอร์พอร์ตลิงก์ เหตุใช้ระบบอาณัติสัญญาณคล้ายกัน แต่ติดปัญหาต้องปรับปรุงเสริมคานสถานีกลางบางซื่อและมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม สั่ง ร.ฟ.ท.เร่งตรวจคืบหน้าไซต์งานสีแดง ยังปรับแบบได้หรือไม่


นี้คงจะเป็นปัญหา ถ้าหากต้องมีการแยกเคลียทางวิ่งที่ญี่ปุ่นจะสร้างทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ไม่ใช้ร่วมกัน จะมีผลต่อการเวนคืนที่ดินในการสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าด้วยหรือไม่ อีกทั้งระบบการควบคุมสัญญาณ การเชื่อมต่อสถานีชุมทางเข้าด้วยกัน การดูแลเรื่องการเดินรถ ถ้าจะเวนคืนที่ดินคงจะเวนคืนตั้งแต่บางซื่อไปจนถึงชุมทางบ้านภาชี ต่อจากนั้นก็เป็นเส้นทางของทางใครทางมัน น่าคิดนะครับ ...
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2016 9:08 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนตอกหมุด มี.ค. 60 "อาคม- สมคิด" บินเซ็น MOU ยืดเส้นทางสร้างถึงหนองคาย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
2 ธันวาคม 2559 เวลา 20:39:00 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมครั้งที่16ความร่วมมือรถไฟไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง250กิโลเมตร วงเงินลงทุน179,412ล้านบาทขณะนี้แบบรายละเอียดการก่อสร้างระยะแรกสถานีกลางดง-ปางอโศกระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ถอดแบบรายละเอียดเพื่อประกวดราคามีความคืบหน้า 90% คาดว่าจะครบ 100% ในเดือนม.ค. 2560

ทั้งนี้แผนภาพรวมรถไฟไทย-จีนทั้งโครงการเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย อยู่ระหว่างการทำรายละเอียดเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) ในเดือนธ.ค.2559 จากนั้นจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อรุมัติโครงการและลงนามสัญญา งานระบบและรถไฟฟ้าความเร็วสูง(EPC2) ประกอบด้วยค่าที่ปรึกษาโครงการ(ออกแบบการก่อสร้าง) ค่าจ้างผู้ควบคุมงานทั้งการก่อสร้างและระบบรถ ระบบเหนือโครงสร้างพื้นฐาน ในเดือนม.ค.2560 คาดว่าจะประกวดราคาหาเอกชนก่อสร้างระยะทาง 3.5 กิโลเมตรภายในเดือนก.พ. 2560 และเริ่มก่อสร้างเดือน มี.ค. 2560

ขณะที่ด้านเงินลงทุนที่จะกู้จีนในการซื้อระบบอาณัติสัญญาณและตัวรถ ฝ่ายจีนยังคงเสนอกู้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในอัตราดอกเบี้ย 2.3 % สกุลหยวนในอัตราดอกเบี้ย 2.8% ซึ่งที่ประชุมได้ให้จีนทำข้อเสนอเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาของกระทรวงการคลังต่อไป

ทั้งนี้ในวันที่ 9 ธ.ค.2559 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ จะเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน และจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง(MOC) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับจีนและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าโครงการนี้จะก่อสร้างตั้งแต่กรุงเทพฯ-หนองคายเพื่อกับรถไฟจีน-ลาวในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44502
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/12/2016 7:12 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รถไฟไทย-จีนตอกหมุด มี.ค. 60 "อาคม- สมคิด" บินเซ็น MOU ยืดเส้นทางสร้างถึงหนองคาย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
2 ธันวาคม 2559 เวลา 20:39:00 น.

เลื่อนตอกเสาเข็มรถไฟไทย-จีนเป็นมี.ค.ปีหน้า"
โพสต์ทูเดย์ 02 ธันวาคม 2559 เวลา 19:42 น.

คมนาคมปรับแผนโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เลื่อนการก่อสร้างไปเป็นเดือนมี.ค.60

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับแผนการดำเนินงานของโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมาระยะทาง 252.5กิโลเมตรวงเงิน 1.79แสนล้านบาทใหม่จากเดิมวางแผนจะเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้เลื่อนเป็นเดือนมี.ค. 2560 แทน

กรอบใหม่คือกระทรวงคมนาคมจะเร่งสรุปโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งหมด 252.2กิโลเมตรภายในสิ้นปีก่อนเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)และคณะรัฐมนตรี (ครม.)เห็นชอบตามลำดับ

จากนั้นจะลงนามในสัญญาจ้างออกแบบและที่ปรึกษาควบคุมงานได้ภายในเดือนม.ค. 2560 เปิดประมูลในเดือนก.พ.และเริ่มก่อสร้างในเดือนมี.ค. ตามลำดับขณะเดียวกันจะเร่งรัดการพิจารณารายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งคณะกรรมการผู้ชำนาญการอยู่ระหว่างขอข้อมูลเพิ่มเติม

"จะจัดประชุมคณะกรรมการร่วมฯที่กรุงปักกิ่งประเทศจีนระหว่างวันที่ 16-18ม.ค. 2560 เพื่อหาข้อสรุปทั้งหมดก่อนเริ่มเปิดประมูลช่วงแรก 3.5กิโละเมตรในเดือนก.พ. ส่วนด้านความล่าช้าเนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นรูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องพูดคุยมาก"นายอาคมกล่าว

อย่างไรก็ตามฝ่ายจีนยอมลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อจัดซื้อขบวนรถได้ต่ำสุดที่ 2.3%แต่ก็ยังสูงกว่าอัตราอ้างอิงของกระทรวงการคลังซึ่งอยู่ที่ 2%ดังนั้นฝ่ายไทยจึงขอให้จีนพิจารณานำเสนอผลประโยชน์หรือข้อเสนอต่างๆเพื่อชดเชยกับอัตราดอกเบี้ย

นายอาคมกล่าวถึงความคืบหน้าการถอดแบบโครงการว่า ฝ่ายจีนได้ถอดแบบรถไฟความเร็วสูงช่วงแรกระยะทาง 3.5กิโลเมตรเส้นทางสถานีกลางดง-ปางอโศกแล้วเสร็จและเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาแล้วโดยตรวจสอบแบบคืบหน้าแล้ว 90%

นอกจากนี้ฝ่ายจีนได้ออกแบบช่วงที่ 2 ระยะทาง 11กิโลเมตรให้ล่วงหน้าแต่ฝ่ายจีนยังกังวลว่าหากออกแบบระยะทางที่ 3และ 4ระยะทางรวม 220กิโลเมตรล่วงหน้าจะไม่ได้ค่าตอบแทนเนื่องจากโครงการยังไม่มีการลงนามในสัญญา

ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมได้เตรียมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยกรอบความร่วมมือ (MOC) เรื่องการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ -หนองคายระหว่างการร่วมคณะกับนายสมคิดจาตุศรีพิทักษ์รองนายกรัฐมนตรีเดินทางไปโร้ดโชว์ที่ประเทศจีนระหว่างวันที่ 7-12ธ.ค.นี้เพื่อสร้างความมั่นใจกับทางการจีนอีกครั้งว่าโครงการก่อสร้างจะไปถึงหนองคายอย่างแน่นอนเพราะปัจจุบันมีการพูดคุยและออกแบบแค่ช่วงจ.นครราชสีมาเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 204, 205, 206 ... 545, 546, 547  Next
Page 205 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©